ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
เรียนถาม ชาดกเรื่องพระเตมีย์ http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=35978 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | จัทร์เพ็ญ [ 23 ธ.ค. 2010, 13:53 ] |
หัวข้อกระทู้: | เรียนถาม ชาดกเรื่องพระเตมีย์ |
จันทร์เพ็ญ อ่านแล้วติดใจ คือ เป็นการบำเพ็ญบารมี อันไหนกันแน่ ระหว่าง ขันติกับเนกขัมมบารมี เพราะพระองค์ต้องแกล้งเป็นใบ้เป็นง่อยนอนบนเตียงนานตั้ง ๑๖ ปี น่าจะเป็นการใช้ขันติมากกว่า เรียนถามท่านผู้รู้คะ ![]() ![]() |
เจ้าของ: | student [ 23 ธ.ค. 2010, 15:17 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรียนถาม ชาดกเรื่องพระเตมีย์ |
ผมก็คิดว่าเป็นการใช้ ขันติ ครับ |
เจ้าของ: | ชิดชัย [ 24 ธ.ค. 2010, 16:04 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรียนถาม ชาดกเรื่องพระเตมีย์ |
เนกขัมม ถูกแล้วละครับ เพราะจุดประสงค์ของพระองค์ คือ ต้องการบวช ไม่ต้องการเป็นกษัตริย์ จึงต้องใช้หลายๆ บารมีเข้ามาเสริม เช่น ขันติ สัจจะ อธิษฐาน ฯลฯ ต่างจากคนเราที่แย่งกันเป็นใหญ่เป็นโต ฆ่าคนก็เอา ![]() |
เจ้าของ: | หมาน้อย [ 24 ธ.ค. 2010, 20:01 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรียนถาม ชาดกเรื่องพระเตมีย์ |
บำเพ็ญเนกขัมมบารมี.... ![]() เมื่อมีประสงค์ในสิ่งใดก็สมควรมุ่งมั่นตั้งใจกระทำตามความมุ่งหมายนั้นอย่างหนักแน่น อดทนอย่างเพียรพยายามเป็นที่สุด และความพากเพียรอันเด็ดเดี่ยวแน่วแน่นั้นย่อมนำบุคคลนั้นนไปสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง (จันทชาดก ชาติที่ 7บำเพ็ญขันติบารมี) ![]() |
เจ้าของ: | ภูพิงค์ [ 24 ธ.ค. 2010, 22:46 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรียนถาม ชาดกเรื่องพระเตมีย์ |
พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน มูคผักขจริยาที่ ๖ ว่าด้วยพระจริยาวัตรของมูคผักขกุมาร [๒๖] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากาสี ชนทั้งหลายเรียกเราโดยชื่อว่ามูคผักขกุมารบ้าง เตมิยกุมารบ้าง ในกาลนั้น พระสนมนางในหมื่นหกพัน ไม่มีพระราชโอรส โดย วันคืนล่วงไปๆ เราบังเกิดผู้เดียว พระบิดารับสั่งให้ตั้งเศวตฉัตร ให้เลี้ยงดูเราผู้เป็นบุตรสุดที่รัก อันได้ด้วยยากเป็นอภิชาตบุตร ทรง ไว้ซึ่งความรุ่งเรือง บนที่นอน ในกาลนั้น เรานอนอยู่บนที่นอนอัน อ่อนนุ่ม ตื่นขึ้นแล้วได้เห็นเศวตฉัตรอันเป็นเหตุให้เราไปสู่นรก ความสะดุ้งหวาดกลัวเกิดขึ้นแล้วแก่เรา พร้อมกับได้เห็นฉัตร เรา ถึงความวินิจฉัยว่า เมื่อไรหนอ เราจึงจะเปลื้องธุลีนี้ได้ เทพธิดา ผู้เป็นสาโลหิตของเรามาก่อน ผู้ใคร่ประโยชน์ต่อเรา นางเห็นเราผู้ ประกอบไปด้วยทุกข์ จึงแนะนำให้เราประกอบในเหตุ ๓ ประการ ว่าท่านจงอย่าแสดงความเป็นบัณฑิต จงแสดงความเป็นคนโง่แก่ชน ทั้งปวง ชนทั้งหมดนั้นก็จะดูหมิ่นท่าน ประโยชน์จักมีแก่ท่านด้วย อาการอย่างนี้ เมื่อเทพธิดากล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนนางเทพธิดา ข้าพเจ้าจะทำตามคำที่ท่านกล่าวกะเราฉะนั้น ท่าน เป็นผู้ปรารถนาประโยชน์ เป็นผู้ใคร่ความเกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า แม่ เทพธิดา ครั้นเราได้ฟังคำของเทพธิดานั้นแล้ว เหมือนดังได้พบฝั่ง ในสาคร ร่าเริงดีใจ ได้อธิษฐานองค์ ๓ ประการ คือ เราเป็นคนใบ้ เป็นคนหูหนวก เป็นคนง่อยเปลี้ยเว้นจากคติ เราอธิษฐานองค์ ๓ ประการนี้อยู่ ๑๖ ปี ครั้งนั้น เสนาบดีเป็นต้นตรวจดูมือเท้า ลิ้น และช่องหูของเราแล้ว เห็นความไม่บกพร่องของเรา ติเตียนว่าเป็น คนกาฬกิณี ทีนั้นชาวชนบท เสนาบดี และปุโรหิตทั้งปวงร่วมใจกัน ทั้งหมด พลอยดีใจการที่รับสั่งให้นำไปทิ้ง เรานั้นได้ฟังความประสงค์ ของเสนาบดีเป็นต้นนั้นแล้ว ร่าเริงดีใจว่า เราประพฤติตบะมาเพื่อ ประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นจะสำเร็จแก่เรา ราชบุรุษทั้งหลายอาบน้ำ ให้เรา ไล้ทาด้วยของหอม สวมราชมงกุฏราชาภิเษกแล้ว มีฉัตรที่ บุคคลถือไว้ให้ทำประทักษิณพระนครดำรงเศวตฉัตรอยู่ ๗ วัน พอ ดวงอาทิตย์ขึ้นนายสารถีอุ้มเราขึ้นรถ เข้าไปยังป่า นายสารถีหยุดรถ ไว้ ณ โอกาสหนึ่งปล่อยรถเทียมม้าพอพ้นมือ ก็ขุดหลุมเพื่อจะฝัง เราเสียในแผ่นดิน พระมหากษัตริย์ทรงคุกคามการอธิษฐาน ที่เรา อธิษฐานไว้ด้วยเหตุต่างๆ แต่เราก็ไม่ทำลายการอธิษฐานนั้น เพราะ เหตุแห่งโพธิญาณนั่นเอง เราจะเกลียดพระมารดาพระบิดาก็หามิได้ เราจะเกลียดตนเองก็หามิได้ แต่พระสัญพัญญุตญาณ เป็นที่รักของ เรา เพราะฉะนั้นแหละ เราจึงอธิษฐานองค์ ๓ ประการนี้ เรา อธิษฐานองค์ ๓ ประการนี้อยู่ ๑๖ ปี ผู้เสมอด้วยอธิษฐานของเรา ไม่มี นี่เป็นอธิษฐานบารมีของเรา ฉะนี้แล. จบมูคผักขจริยาที่ ๖ อรรถกถา มูคผักขจริยาที่ ๖ ... เทพธิดาสิงสถิตอยู่ ณ เศวตรฉัตร ในครั้งนั้นได้เป็นนางอุบลวรรณา ในครั้งนี้. สารถี คือ พระสารีบุตรเถระ. พระมารดาพระบิดา คือ ตระกูล มหาราช. บริษัททั้งหลาย คือ พุทธบริษัท. เตมิยบัณฑิต คือ พระโลกนาถ. อธิษฐานบารมีของพระมหาสัตว์นั้น ถึงที่สุดในจริยานี้. แม้บารมี ที่เหลือ ก็พึงเจาะจงกล่าวตามสมควร. อนึ่ง พึงประกาศคุณานุภาพมีอาทิ อย่างนี้ คือ ความกลัวนรกตั้งแต่ประสูติได้หนึ่งเดือน. ความกลัวบาป. ความรังเกียจราชสมบัติ. การอธิษฐานความเป็นใบ้เป็นต้น อันมีเนกขัมมะ เป็นนิมิต และความไม่หวั่นไหวแม้ในการประชุมวิโรธิปัจจัย (ข้าศึก, ผู้ทำร้าย). จบ อรรถกถามูคผักขจริยาที่ ๖ |
เจ้าของ: | ทักทาย [ 24 ธ.ค. 2010, 23:29 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรียนถาม ชาดกเรื่องพระเตมีย์ |
พระเตมีย์ บำเพ็ญเนกขัมมะบารมี พระมหาชนก บำเพ็ญวิริยะบารมี พระสุวรรณสาม บำเพ็ญเมตตาบารมี พระเนมิราช บำเพ็ญอธิษฐานบารมี พระมโหสถ บำเพ็ญปัญญาบารมี พระภูริทัต บำเพ็ญศิลบารมี พระจันท บำเพ็ญขันติบารมี พระนารท บำเพ็ญอุเบกขาบารมี พระวิฑูร บำเพ็ญสัจจบารมี พระเวสันดร บำเพ็ญทานบารมี อ้างอิง http://www.dhammathai.org/chadok/legend01.php http://www.learntripitaka.com/Chadok/Chadok01.html http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97% ... 4%E0%B8%81 http://www.youtube.com/watch?v=IpRfti6K ... re=related http://www.youtube.com/watch?v=_AdAa1Am ... re=related เจริญในธรรม ![]() |
เจ้าของ: | จัทร์เพ็ญ [ 25 ธ.ค. 2010, 08:45 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรียนถาม ชาดกเรื่องพระเตมีย์ |
ภูพิงค์ เขียน: การอธิษฐานความเป็นใบ้เป็นต้น อันมีเนกขัมมะ เป็นนิมิต ตกลงเป็นเนกขัมมะแล้วมีอีกหลายบารมีเข้าช่วยนะค่ะ โมทนานกับ คุณภูพิงค์ คุณTaktay และทุกๆ ท่านคะ สาธุ ![]() ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |