ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

กลัวผี และอยู่คนเดียวไม่ค่อยได้ จะปฎิบัติธรรมยังไงครับ
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=36749
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  deecup [ 12 ก.พ. 2011, 18:07 ]
หัวข้อกระทู้:  กลัวผี และอยู่คนเดียวไม่ค่อยได้ จะปฎิบัติธรรมยังไงครับ

เป็นโรคขี้เหงาหรือเปล่าไม่รู้ แถมกลัวสิ่งที่มองไม่เห็น เวลามีอะไรแกกๆ ก็จะผวากลัว

อย่างถ้าเราไปปฎิบัติแบบวัดสายป่า ก็จะวังเวง น่ากลัว แล้วส่วนใหญ่ก็จะให้อยู่สันโดด ไม่ให้สุงสิงกับใคร

ตอนเล่นเนทก็อยากจะไปบ้าง แต่พอจะเอาจิงๆ ไปเห็นสถานที่ กับหวาดกลัวขึ้นมา

อย่างผมเคยเข้าวัดธรรมกาย จะไม่น่ากลัวเท่าไหร่เพราะคนเยอะแยะมากเลย ไปนอนกรดสีขาว ก็อยู่เรียงๆกัน

ปฎิบัติธรรมก็มีญาติธรรมเยอะแยะไปหมดเลย มีอะไรก็เรียกก็ช่วยกัน แต่ถ้าให้ไปอยู่แบบตนเป็นที่พึ่งแห่งตนแล้ว ความหวาดกลัวปรากฎชัดเลย

แบบนี้จะแก้อย่างไรดี

เจ้าของ:  หัสพล พวงแก้ว [ 13 ก.พ. 2011, 00:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กลัวผี และอยู่คนเดียวไม่ค่อยได้ จะปฎิบัติธรรมยังไงครับ

:b42: การจะขจัดความกลัวนั้น(กลัวผี)ก็พยายามใช้สติพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นรอบ ๆตัวเราอย่าเพิ่งไปปรุงแต่งให้จิตเกิดความกลัวขึ้นมา ให้หาเหตุที่มันเกิดขึ้นว่ามาจากสาเหตุอะไรค่อยดูแบบมีสติแล้วคุณก็จะพบกับความจริงว่าที่แท้จริงแล้วมันไม่มีอะไร(หมายถึงผี) อาจจะเป็นลมพัดก็ได้ พูดง่าย ๆก็คือให้หาเหตุผลสิ่งที่เกืดขึ้นมาเพราะถ้าเรารู้ว่ามันเกิดมาจากธรรมชาติเราก็จะเริ่มมีความกลัวน้อยลงและควรหลีกเลี่ยงการดูหนังผีหรือหนังสยองขวัญด้วยเพราะยิ่งดูจิตของเราจะจำเก็บภาพเอาไว้เพื่อฉายตอนที่เราได้ไปเจอบรรยากาศใกล้เคียงกับในหนัง และที่สำคัญสิ่งสุดท้ายนั่นก็คือให้พยายามนั่งสมาธิแผ่เมตตาโดยให้นึกถึงบุญกุศลที่เราได้เคยทำมาในปัจจุบันนี้ พอนึกได้ก็ให้แผ่เมตตาออกไปให้แก่เจ้ากรรมนายเวร สรรพสัตว์น้อยใหญ่ เพราะถ้าเรามีจิตที่มีเมตตากับทุกสรรพสิ่งแล้วเราก็จะปลอดภัยจากสิ่งต่างๆทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาได้ ขอให้มีความพากเพียรต่อไปนะครับอย่าท้อ เพราะผมเองก็เคยเป็นแบบคุณมาก่อน แต่พอผมใช้วิธีนี้ความกลัวก็ลดลงไปมากเลยกล้าเผชิญกับความจริงมากขื้น แต่ถ้าถามว่าในใจยังกลัวอยู่มั๊ย ผมก็ตอบว่ายังกลัวอยู่ แต่การกลัวครั้งนี้จะประกอบไปด้วยสติเข้ามาเป็นตัวทำให้เกิดปัญญาขึ้นมาด้วยครับ และจริง ๆแล้วพวกผีหรือสัมภเวสีนั้นตามปกติเขาก็จะมีภพภูมิของเขาอยู่ไม่สามารถที่จะมากวนเราได้ นอกเสียจากว่าเขาผูกพันกับเรามากหรือเราไปทำให้เขาโกรธแค้นหรือเขาก็มาขอให้เราอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับเขา เพราะเขารู้ว่าการที่มีผู้มาปฎิบัติธรรมนั้นก็จะเป็นผู้ที่มีบุญมากพอที่จะให้กับเขาได้ ก็เหมือนกับคนถ้าเราไม่มีเงินเราก็ต้องไปขอคนที่มีเงินมากกว่าเรา คงไปขอคนที่จนหรือไม่มีก็คงจะไม่ได้ก็ทำนองนี้แหละครับ :b39:

เจ้าของ:  ศรีสมบัติ [ 13 ก.พ. 2011, 10:45 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กลัวผี และอยู่คนเดียวไม่ค่อยได้ จะปฎิบัติธรรมยังไงครับ

แรกๆ ถ้า เกิดความกลัว (กลัวผี) :b5: พระพุทธเจ้า ตรัสบอก
ให้ นึกถึง พระองค์ ท่าน ก่อน นึกถึงพระพุทธเจ้า
ปฏิบัติใหม่ๆ อินทรีย์ ยังไม่แก้กล้า ควรหา เพื่อน ร่วมปฏิบัติอยู่ใกล้ๆ ด้วย
อาจจะสัก คน หรือ สอง คน อยู่ห่างๆ กันพอมองเห็นกัน แสงไปแว็บๆ ก็ยังใจชื้น
สัญญา ความจำ ความเคย มันหลอกเราให้กลัว เจอความมืด ความเงียบ ทีไร
ต้องนึกถึงแต่เรื่องน่ากลัว กลัวผี กลัวสัตว์ ต่างๆฯลฯ
ความกลัว ก็เป็นกิเลสอย่างหนึ่ง จัดอยู่ในประเภท โทสะ...เป็นจิตฝ่ายอกุศล อกุศลาธรรมา
ต้องกำหนดรู้ความกลัว...ก่อนเกิด มันจะต้องมี ผัสสะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ตา หู
จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตน ภายใน ภายนอก มากระทบกัน เราจะต้อง พิจารณา กำหนดรู้ ความกลัวอันนี้
ตั้งสติ สัมปะชัญญะ ระลึกรู้ ความกลัว...นี้ ว่ามีลักษณะอย่างไร เกิด ดับ อย่างไร ความกลัวก็ไม่เที่ยง
เป็นกำลังใจ ในการปฏิบัติให้ได้ผลและมีผลมากที่สุดครับ
เจริญในธรรม :b8:

เจ้าของ:  tonnk [ 14 ก.พ. 2011, 11:53 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กลัวผี และอยู่คนเดียวไม่ค่อยได้ จะปฎิบัติธรรมยังไงครับ

ก็ฝึกในที่ๆสบายก่อนอย่าพึ่งฝืน พอคิดว่ากำลังของจิตได้ระดับถึงเข้าไปฝึก

ความจริงแล้วมันก็เป็นเหมือนการสอบอารมณ์โดยธรรมชาตินั่นแหละ เปรียบเสมือนครู

เจ้าของ:  ปลีกวิเวก [ 14 ก.พ. 2011, 13:12 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กลัวผี และอยู่คนเดียวไม่ค่อยได้ จะปฎิบัติธรรมยังไงครับ

tongue สวัสดีค่ะ คุณจขกท

ที่สุดของความกลัว...ของมนุษย์คือ "กลัวตาย" ...อย่างเดียวเท่านั้น...เมื่อความกลัวเกิดขึ้น..
...คุณลองพิจารณาดูให้ดีสิ..ที่มาของความกลัว..คืออะไร..คุณกลัวผี...เพราะอะไร?
ถ้าคุณไม่กลัวตาย...ความกลัว....ดังที่คุณกล่าวจะหมดไป....
...ดังนั้นการพิจารณาความตาย..เป็นอารมณ์หรือเรียกว่า เจริญมรณานุสสติ สามารถช่วยลดความกลัวตายได้

ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม :b8:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/