วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 18:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2011, 09:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... rdseen#new

Quote Tipitaka:
"ครั้นเราบริโภคอาหาร มีกำลังขึ้นแล้ว ก็สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน...ทุติยฌาน...ตติยฌาน...จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่"

ต่อจากนั้น พระโพธิสัตว์ก็ได้ทรงเสวยอาหารหยาบ จนมีกำลังขึ้นแล้ว ทรงบำเพ็ญฌานจนบรรลุจตุตถฌาน และได้ตรัสรู้”

เมื่อปฏิบัติถึงฌานที่ 4 (จตุตถฌาน) สุขทุกข์ไม่แล้ว มีแต่อุเบกขาและเอกัคคตา (ฌานที่ 4 มีทั้งอุเบกขาและเอกัคคตา) สติสัมปชัญญะจะแจ่มชัด แล้วก็ใช้ภาวะจิตเช่นนี้แหละเข้าถึงธรรม หรือ มองเห็นธรรมคืออริยสัจ หรือจะพูดว่าเห็นปฏิจจสมุปบาทก็ได้ มีสาระเดียวกัน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2011, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะ ( ฌาน ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา สมถะยังไม่ใช่วิปัสสนา แล้วจะขึ้นสู่วิปัสสนาได้อย่างไร ?
http://larndharma.or...b8%aa%e0%b8%99/


ที่นี่มีการกล่าวถึงการยกฌาณขึ้นสู่วิปัสสนา ซึ่งไม่มีในพระไตรปิฎก

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2011, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=940.0


เบื้องต้นควรทำความเข้าใจจุดเริ่มต้นให้ชัดก่อน ศีล สมาธิ ปัญญา เวลาทำงานจะหนุนเนื่องกัน โดยเฉพาะ สมาธิกับปัญญา แต่เขาเข้าใจองค์ธรรมขาดเป็นท่อนเป็นบั่น ไม่ต่อเนื่องกันหยิบศัพท์ไหนขึ้นมาพูดก็จมอยู่กับศัพท์นั้น สมาธิ ปัญญาเป็นนามธรรม ไม่ใช่โต๊ะ เก้าอี้ จะได้หยิบแบกไปทีละอย่างได้

อีกอย่างหนึ่งที่พึงรู้ ก็คือชื่อเรียก สมถะ สาระ คือ สมาธิ ปัญญาสาระ ได้แก่ วิปัสสนา วิปัสสนา เป็นอีกชื่อหนึ่งของปัญญา

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2011, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=940.0

จะให้ดูตัวอย่างที่โพธิปักขิยธรรมทั้งหมดรวมอยู่ในขณะจิตเดียว (ถ้าปฏิบัติถูกวิธี) พิจารณาดู

ตัวอย่างพุทธพุทธวจนะแสดงวิธีปฏิบัติธรรมแนวหนึ่ง ซึ่งให้เห็นการที่โพธิปักขิยธรรมทั้งหมดเนื่องอยู่ด้วยกันกับมรรคมีองค์ 8 และเป็นวิธีปฏิบัติที่มองเผินๆ อาจว่าง่าย ไม่มีอะไรมาก คือสำหรับผู้พร้อมแล้วก็ง่าย แต่ผู้ไม่พร้อมอาจยาก และอาจต้องปฏิบัติอะไรๆอื่นอีกมาก เพื่อทำให้พร้อม
“ภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ตามเป็นจริง ซึ่งจักษุ...ซึ่งรูปทั้งหลาย...ซึ่งจักขุวิญญาณ...ซึ่งจักขุสัมผัส...ซึ่งเวทนา สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข ที่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ติดใคร่ใน (จักขุ เป็นต้นที่กล่าวมาแล้วนั้น) เมื่อเขาไม่ติดใคร่ ไม่ผูกรัดตัว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ อุปาทานขันธ์ 5 ย่อมถึงความไม่เติบขยายไป ตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ ซึ่งประกอบด้วยความกำหนัดยินดี คอยเพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ก็ถูกละได้
ความกระวนกระวายกายก็ดี ความกระวนกระวายใจก็ดี ความแผดเผาทางกายก็ดี ความแผดเผาทางใจก็ดี ความเร่าร้อนกายก็ดี ความเร่าร้อนใจก็ดี ก็ถูกละได้ เขาไม่ได้เสวยทั้งสุขทางกาย ทั้งสุขทางใจ
บุคคลที่เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด ความเห็นนั้นก็เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความดำริใด ความดำรินั้นก็เป็นสัมมาสังกัปปะ มีความพยายามใด ความพยายามนั้นก็เป็นก็เป็นสัมมาวายามะ มีสติใด สตินั้นก็เป็นสัมมาสติ มีสมาธิใด สมาธินั้นก็เป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขาย่อมบริสุทธิ์ดีตั้งแต่ต้นทีเดียว มรรคมีองค์ 8 อันเป็นอริยะของเขา ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ได้ ด้วยอาการอย่าง

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2011, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


“เมื่อเขาเจริญมรรคมีองค์ 8 อันเป็นอริยะนี้อยู่อย่างนี้ แม้สติปัฏฐาน 4 ก็ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ แม้สัมมัปปธาน 4 ...แม้อิทธิบาท 4 ...แม้อินทรีย์ 5 ...แม้พละ 5 ...โพชฌงค์ 7 ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ เขาย่อมมีธรรม 2 อย่าง คือ สมถะและวิปัสสนา เข้าเคียงคู่กันเป็นไป
ธรรมเหล่าใด พึงกำหนดรู้ด้วยอภิญญา เขาก็กำหนดรู้ด้วยอภิญญาซึ่งธรรมเหล่านั้น
ธรรมเหล่าใด พึงละรู้ด้วยอภิญญา เขาก็ละด้วยอภิญญาซึ่งธรรมเหล่านั้น
ธรรมเหล่าใด พึงให้เกิดมีด้วยอภิญญา เขาก็ทำให้เกิดมีด้วยอภิญญาซึ่งธรรมเหล่านั้น
ธรรมเหล่าใด พึงให้ประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญา เขาก็ประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญาซึ่งธรรมเหล่านั้น”

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2011, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จะนำหลักให้ดูพร้อมความหมายคำว่า เอกัคคตา,องค์ธรรม,องค์ฌาน สังเกตดู

เอกัคคตา แปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ได้แก่ ตัวสมาธินั่นเอง

คำว่า องค์ฌาน หมายถึงองค์ธรรมที่ประกอบอยู่เป็นประจำในฌานนั้นๆ และเป็นเครื่องกำหนดแยกฌานแต่ละขั้นออกจากกันให้รู้ว่า ในกรณีนั้นเป็นฌานขั้นที่เท่าใดเท่านั้น ไม่ใช่หมายความว่าในฌานมีองค์ธรรมทั้งหมดอยู่เพียงเท่านั้น ความจริงองค์ธรรมอื่นๆที่ประกอบร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเรียกว่าสัมปยุตธรรม แต่เกิดขึ้นประจำบ้าง ไม่ประจำบ้าง และไม่ใช่เป็นตัวกำหนดแบ่งขั้นของฌาน ยังมีอีกมาก เช่น สัญญา เจตนา ฉันทะ วิริยะ สติ มนสิการ เป็นต้น

ฌานสูงขึ้นๆ สติสัมปชัญญะ จะยิ่งแจ่มชัดขึ้นด้วย พิจาณาดู

ในพระสูตร ระบุองค์ธรรมที่เน้นพิเศษอีก เช่น ในตติยฌาน เน้นสติสัมปชัญญะเป็นตัวทำหน้าที่ชัดเจนมากกว่าในฌานสองขั้นต้น ซึ่งก็มีสติสัมปชัญญะด้วยเช่นกัน และในจตุตถฌานย้ำว่า สติบริสุทธิ์แจ่มชัดกว่าในฌานก่อนๆ ทั้งหมด ทั้งนี้เพราะอุเบกขาแจ่มชัดบริสุทธิ์เป็นเหตุหนุน ไม่เฉพาะสติเท่านั้นที่ชัด แม้สัมปยุตธรรมอื่นๆก็ชัดขึ้นด้วยเหมือนกัน (ตัดอ้างอิงออก)

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2011, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัดมา เืพื่อให้ดูว่าพระพุทธเจ้าหลังจากเสวยกระยาหารจนร่างกายสมบูรณ์แล้วอาศัยฌานใดแล้วบรรลุอาสวขยญาณ

หลังจากที่พระโพธิสัตว์ (สิทธัตถะ) บำเพ็ญตะบะ (ทุกรกิริยา) ทรมานตนตามวิธีของนิครนถ์ จนร่างกายผ่ายผอมก็ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงเกิดความคิดใหม่ คือ กลับมาเสวยอาหาร

"เรานั้นไ้ด้มีความคิดดังนี้ว่า การที่บุคคล ผู้มีร่า่งกายผ่ายผอมเหลือเกิดอย่างนี้ จะบรรลุความสุขอย่างนั้น มิใช่จะทำได้ง่ายเลย ถ้ากระไรเราพึงบริโภคอาหารหยาบ คือ ข้าวสุก และขนมสดเถิด"

ต่อจากนั้น พระโพธิสัตว์ก็ได้ทรงเสวยอาหารหยาบ จนมีกำลังขึ้นแล้ว ทรงบำเพ็ญฌานจนบรรลุจตุตถฌาน และได้ตรัสรู้"

ม.ม.13/488-508/443-461

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2011, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูหลักครับ ตัดเอาตอนที่เมื่อพระพุทธเจ้าเลิกทำทุกรกิริยากลับมาเสวยอาหาร

"ครั้นเราบริโภคอาหาร มีกำลังขึ้นแล้ว ก็สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน...ทุติยฌาน...ตติยฌาน...จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่"

ม.มู.12/317-326/317-333ฯลฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2011, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าเล่าให้โพธิราชกุมารฟังตั้งแต่พระองค์เสด็จออกบรรพชา ทรงศึกษาในสำนักของอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบส รามบุตร จนจบความรู้ของสำนักทั้งสองแล้ว เสด็จต่อไปจนถึงอุรุเวลาเสนานิคม แล้วทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ทรมานพระองค์ด้วยวิธีการต่างๆ จนในที่สุดทรงอดอาหาร จนร่างกายซูบผอมอย่างยิ่ง อย่างนักบวชมีนิครนถ์เป็นต้นทำกัน...ในที่สุดดำริว่า

“สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลาย เหล่าหนึ่งเหล่าใด ในอดีตกาล ในอนาคต ในปัจจุบัน ได้เสวยทุกขเวทนาอันเผ็ดร้อนแรงกล้าที่เกิดเพราะความเพียร อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้ และด้วยทุกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้ เราก็หาบรรลุญาณทัศนะวิเศษที่สามารถทำคนให้เป็นอริยะ ซึ่งเหนือกว่าธรรมของมนุษย์สามัญได้ไม่ มรรคาเพื่อความตรัสรู้คงจะมีเป็นอย่างอื่นกระมังหนอ

ฯลฯ

“เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า การที่บุคคลผู้มีร่างกายผ่ายผอมเหลือเกินอย่างนี้จะบรรลุความสุขอย่างนั้นมิใช่จำทำได้ง่ายเลย ถ้ากระไรเราพึงบริโภคอาหารหยาบ คือ ข้าวสุกและขนมสดเถิด”

ต่อจากนั้น พระโพธิสัตว์ก็ได้ทรงเสวยอาหารหยาบ จนมีกำลังขึ้นแล้ว ทรงบำเพ็ญฌานจนบรรลุจตุตถฌาน และได้ตรัสรู้”

ม.ม.13/488-508/443-461)

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2011, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


วางแบบ คือ องค์ธรรมที่ประกอบร่วม ที่ใช้เป็นตัววัดองค์ฌานแต่ละขั้นๆ วิตก วิจาร ปีติ สุข อุเบกขา เอกัคคตา (= เจตสิก ที่เป็นสังขารขันธ์)

พึงปฏิบัติให้ถึงความสุข แล้วเหนือสุขขึ้นไปยังมีองค์ธรรมซึ่งไม่ติดในสุขและทุกข์ คือ อุเบกขา แล้วอาศัยอุเบกขาซึ่งเปรียบเสมือนยานข้ามไปอีก
แม้แต่ผู้ที่ปฏิบัติสติปัฏฐานหรือวิปัสสนาก็ทำนองนี้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2011, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พึงทราบความสุขประณีตในระดับตั้งแต่ฌานสุขขึ้นไป ว่ามีเค้าความรู้สึกอย่างไร ดังที่ท่านแสดงไว้โดยอุปมา สรุปมาพิจารณากันดูต่อไปนี้

ก้าวสุดท้าย ก่อนจะบรรลุฌาน ก็ คือ การละนิวรณ์ 5 ได้ ผู้ละนิวรณ์แล้ว จะมีความรู้สึกปลอดโปร่งโล่งเบาสบาย และอิ่มใจเกิดขึ้นเป็นพื้นนำของการจะได้ความสุขในฌานต่อไป ดังที่ท่านอุปมาไว้ 5 ประการ

1. เปรียบเหมือนการเกิดความปราโมทย์มีโสมนัสชื่นฉ่ำใจของคนที่เคยกู้ยืมเงินคนอื่นมาประกอบการงาน แล้วประสบความสำเร็จ ใช้หนี้สินได้หมดแล้วและยังมีเงินเหลือไว้เลี้ยงครอบครัว

2. เปรียบเหมือนการเกิดความปราโมทย์มีโสมนัสชื่นฉ่ำใจของคนที่ฟื้นหายจากความเจ็บป่วยเป็นไข้หนักกินข้าวกินปลาได้ มีกำลังกายแข็งแรง

3. เปรียบเหมือนการเกิดความปราโมทย์มีโสมนัสชื่นฉ่ำใจของคนที่พ้นจากการถูกจองจำไปได้โดยสวัสดี ไม่มีภัย และไม่ต้องเสียทรัพย์สิน

4. เปรียบเหมือนการเกิดความปราโมทย์มีโสมนัสชื่นฉ่ำใจของคนที่หลุดพ้นจากความเป็นทาส อาศัยตนเองได้ ไม่ขึ้นกับคนอื่น เป็นไทแก่ตัว จะไปไหนก็ไปได้ตามใจปรารถนา

5. เปรียบเหมือนการเกิดความปราโมทย์ มีโสมนัสชื่นฉ่ำใจของคนมั่งมีทรัพย์ ผู้เดินทางข้ามพ้นหนทางไกลกันดาร ที่หาอาหารได้ยากและเต็มไปด้วยภยันตราย มาถึงถิ่นบ้านอันเกษมปลอดภัยโดยสวัสดี

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2011, 09:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อแต่นั้น ก็จะได้ประสบความสุขสบายในฌานที่ประณีตดียิ่งกว่านั้นขึ้นไปอีกตามลำดับ กล่าวคือ

ในฌานที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ผู้ปฏิบัติทำกายของตนให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติ และความสุข ไม่มีส่วนใดของกายทั่วทั้งตัว ที่ปีติ และความสุขจะไม่ถูกต้องเปรียบเหมือนแป้งสีกาย ที่เขาเทใส่ภาชนะสำริด เอาน้ำพรมปล่อยไว้ พอถึงเวลาเย็น ก็มียางซึมไปจับติดถึงกันทั่วทั้งหมด ไม่กระจายออก

ในฌานที่ 2 ซึ่งประกอบด้วยปีติ สุข และเอกัคคตา ผู้ปฏิบัติทำกายให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและความสุขที่เกิดจากสมาธิ อย่างทั่วไปหมดทั้งตัว เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึก ที่น้ำผุดขึ้นภายใน ไม่มีน้ำไหลจากที่อื่นหรือแม้แต่น้ำฝนไหลเข้ามาปน กระแสน้ำเย็นผุดพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้น ทำให้ห้วงน้ำนั้นเองชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมเยือกเย็นทั่วไปหมดทุกส่วน

ในฌานที่ 3 ซึ่งประกอบด้วยสุข และเอกัคคตา ผู้ปฏิบัติทำกายให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยความสุขที่ปราศจากปีติทั่วไปหมดทุกส่วน เปรียบเหมือนกอบัวเหล่าต่างๆ ที่เติบโตขึ้นมาในน้ำ แช่อยู่ในน้ำและน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ย่อมชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นทั่วไปหมดทุกส่วน ตั้งแต่ยอดตลอดเหง้า

ในฌานที่ 4 ซึ่งประกอบด้วยอุเบกขา และเอกัคคตา ผู้ปฏิบัติแผ่จิตอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วไปทั่วทั้งกาย เหมือนเอาผ้าขาวล้วนบริสุทธิ์ มานุ่งห่มตัว ตลอดหมดทั้งศีรษะ

สังเกตฌานยิ่งสูงองค์องค์ประกอบร่วมของฌาน จะลดลงๆ ฌานที่ 4 มีแต่อุเบกขา กับ เอกัคคตา

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2011, 09:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


นิวรณ์ 5 อย่าง คือ

1. กามฉันท์ ความอยากได้อยากเอา (แปลตามศัพท์ว่า ความพอใจในกาม) หรืออภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้ หมายถึง ความอยากได้กามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นกิเลสพวกโลภะ จิตที่ถูกล่อด้วยอารมณ์ต่างๆ คิดอยากได้โน่น อยากได้นี่ ติดใจโน่นติดใจนี่ คอยเขวออกไปหาอารมณ์อื่น ครุ่นข้องอยู่ ย่อมไม่ตั้งมั่น ไม่เดินเรียบไป ไม่อาจเป็นสมาธิได้

2. พยาบาท ความขัดเคืองแค้นใจ ได้แก่ ความขัดใจแค้นเคือง เกลียดชังความผูกใจเจ็บการมองในแง่ร้าย การคิดร้ายมองเห็นคนอื่นเป็นศัตรู ตลอดจนความโกรธ ความหงุดหงิดฉุนเฉียวความรู้สึกขัดใจ ไม่พอใจต่างๆ จิตที่มัวกระทบนั่นกระทบนี่ สะดุดนั่นสะดุดนี่เดินไม่เรียบ ไม่ไหลเนื่อง ย่อมไม่อาจเป็นสมาธิ

3. ถีนมิทธะ (ถีน+มิทธะ) ความหดหู่ และเซื่องซึมหรือเซ็งและซึม แยกเป็นถีนะ ความหดหู่ ห่อเหี่ยว ถดถอย ระย่อ ท้อแท้ ความซบเซา เหงาหงอยละเหี่ย ที่เป็นอาการของจิตใจ
กับมิทธะ ความเซื่องซึม เฉื่อยเฉา ง่วงเหงาหาวนอน โงกง่วง อืดอาด มึนมัว ตื้อตัน อาการซึมๆ เฉาๆ ที่เป็นไปทางกาย จิตที่ถูกอาการทางกาย และ ทางใจอย่างนี้ครอบงำย่อมไม่เข็มแข็ง ไม่คล่องตัว ไม่เหมาะแก่การใช้งาน จึงไม่อาจเป็นสมาธิได้

4. อุทธัจจกุกกุจจะ (อุทธัจจะ + กุกกุจจะ) ความฟุ้งซ่านและเดือดร้อนใจแยกเป็น อุทธัจจะ ความที่จิตฟุ้งซ่าน ไม่สงบ ส่าย พร่าพล่านไป
กับ กุกกุจจะ ความวุ่นวายใจ รำคาญใจ ระแวง เดือดร้อนใจ ยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ จิตที่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ ย่อมพล่าน ย่อมคว้างไป ไม่อาจสงบลงได้จึงไม่เป็นสมาธิ

5. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ได้แก่ความเคลือบแคลง ไม่แน่ใจ สงสัยเกี่ยวกับพระศาสดาพระธรรม พระสงฆ์ เกี่ยวกับสิกขา เป็นต้น
พูดสั้นๆว่า คลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย ตัดสินไม่ได้ เช่นว่า ธรรมนี้ สมาธิภาวนานี้ดีจริงหรือ การปฏิบัติเช่นนี้ๆ ได้ผลจริงหรือ มีคุณค่า มีประโยชน์ควรแก่การปฏิบัติหรือไม่ จะได้ผลหรือไม่ คิดแยกไปสองทาง กำหนดไม่ลง จิตที่ถูกวิจิกิจฉา ขัดไว้ให้ค้างให้พร่า ลังเลอยู่ย่อมไม่อาจแน่วแน่เป็นสมาธิ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2011, 09:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สมดั่งพระพุทธพจน์ที่ตรัสว่า

สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้

เมื่อครั้งพุทธกาล ผู้บรรลุ เจโตวิมุติ(ผู้ได้ฌาน) น้อยกว่าปัญญาวิมุตติ แนวทางทั้งสอง แตกต่างกันอย่างไร ?
http://larndharma.or...b9%80%e0%b8%88/



นี่ก็บิดเบือนพระพุทธพจน์มานานมาก

จริงๆแล้ว
อ้างคำพูด:
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้

หมายความสั้นๆว่า

ผู้บำเพ็ญธรรมปฎิบัติกรรมฐานแล้วได้เอกัคคตาจิตมีจำนวนน้อย

ในจำนวนน้อยนั้นจึงจะมีโอกาสเข้าถึงวิมุติสุข

แต่กลับถูกบิดเบือยด้วยอัตตโนมัติของตนเองว่า

ผู้ที่ปฎิบัติกรรมฐานแล้วได้เอกัคคตาจิตจะบรรลุวิมุติ น้อยกว่าผู้ไม่ได้เอกัคตาจิต

สรุปว่าถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็ไม่ต้องฝึกสมาธิกัน จะได้มีโอกาสเข้าถึงวิมุติมากกว่า

เท่ากับว่า สมาธิในอริยะมรรคที่มีองค์แปดนั้นผิด


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2011, 11:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42:คนไม่รู้จริงก็พูดกันไป ดุจคนตาบอดโดยกำเหนิด 2คน คนหนึ่งก็พร่ำพรรณา ถึงความงามของท้องฟ้า(เปรียบดังเจโตวิมุติ) ส่วนบอด2ก็พร่ำพรรณา ถึงความงดงามของธรรมชาติใต้สมุทร(เปรียบดังปัญญาวิมุติ) โดยทั้ง2ยังไม่สามรถละได้แม่แต่สักกายะทิฐิ แถมยังมัวเมาอยู่กับวิจิกิจฉา และหมกมุ่นอยู่กับบทสวดและพิธีกรรมต่างๆอยู่(ลีลัพพรตปรามาส)......ส่วนพวกอลัชชีทั้งหลาย ก็อาศัยความไม่รู้ อาสัยศรัทธาของพุทธบริษัท บิดเบือนคำสอนอย่างที่ว่าแล้วตั้งตน เป็นเจ้าลัทธิเจ้าทฤษฏีใหม่ สายนั้นสายนี้ คนพวกนีก็เทวทัติเราดีๆนีแหละ แต่เป็นเพราะพทธศาสนามันเป็นปัจจัตตัง เขาจึงหาลาภ สักการะ จากความศรัทธาบนความไม่รู้อันเป็นธรรมชาติของชาวพุทธที่ยังเป็นปุถุชนหรือเป็นพระเสขะอยู่ กอบโกยประโยชน์ ผ่องถ่ายผ่านเครือข่ายร่ำรวยกันไป
....ความจริงแล้วพทธศาสนา ก็มีสายเดียวเท่านั้น ก็คือมรรค8 หรือย่อได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา แค่นี้เท่านั้น ที่เป็นรากแก้ว และลำต้น ของพุทธศาสนา ส่วนข้อธรรมอื่นๆ ก็แตกออกไปเป็นกิ่ง เป็นใบเท่านั้น แต่ศีลสมาธิ ปํญญา นี้เป็นหัวใจสำคัญ โดยทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งอรหันต์ฝ่ายเจโตวิมุติ และปัญญาวิมุติ ก็ต้องผ่านทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง2 ฝ่ายนั่นแหละ แต่เนื่องจากการทำฌาณที4 นี้เป็นเรื่องยาก ถึงแม้พระพทธองค์ และอัครสาวกทั้งหลาย เช่นพระรีบุตร พระโมคคัลลานะ จะบรรลุธรรมด้วยวิธีเจโตวิมุติ(ยืนยันทุกคำภีร์อย่าให้อลัชชีมันหลอกเอาอีก) พระพุทธองค์ท่านทรงปรีชาด้านปัญญา ท่านจึงค้นพบวิธี ปัญญาวิมุตติ โดย ปัญญาวิมุตินี้ มีวิธิที่ต่างจากเจโตวิมุตินิดหน่อยเท่านั้นดังนี้คือ.....ตอหน้าถัดไป.....เจโตวิมุติ/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 58 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร