วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 05:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2011, 19:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


ยกตัวอย่างเช่น วัดสายหลวงปู่มั่น ท่านจะให้ฝึกสมถะ เช่นพุทธ-โธๆ ไปเรื่อยๆให้ได้ก่อน แล้วค่อยเคลื่อนมาพิจารณาอารมณ์วิปัสสนาสติปัฎฐาน4

แต่มีคนบอกว่าในตัวสติปัฎฐาน4 ก็ทำให้เกิดสมถะ คือสมาธิได้ไปในตัวเช่นกัน

แล้วบางคนฝึกอารมณ์สมถะมาหลายปีเลย บางคนมากกว่าห้า-สิบปี แล้วค่อยไปพิจารณาวิปัสสนาสติปัฎฐาน4 ทำไมเราไม่เอาเวลาที่ฝึกสมถะไปฝึกสติปัฎฐาน4ไปเลยละ จะเสียเวลาไปฝึกสมถะกรรมฐานอยู่ทำไม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2011, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.พ. 2011, 05:39
โพสต์: 2


 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: เคยคิดว่า กินข้าวก็อิ่มอร่อยได้ ทำไมต้องไปกินผัดไทยใส่ไข่ ในเมื่อก็อิ่มอร่อยได้เหมือนๆ กัน ครับ สวัสดี. cool


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2011, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมคิดว่าเพื่อเป็นการสร้างความละเอียดของจิต ยังผลให้การพิจารณาวิปัสสนาได้ตามลำดับแต่การพิจารณาวิปัสสนาก็ทำได้ในเวลาเดียวกันครับผม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2011, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ว่าจะไม่พูดแล้ว พูดแล้วเหมือนทำตัวรู้มากกว่าคนอื่น อุเบกขาต้องไม่เข้ามาอ่าน ถ้าอ่านเจอบางเรื่องมันอุเบกขาต่อไม่ได้ อย่างเรื่องนี้ คำว่าวิปัสนา มันทำเพื่อให้เห็นพระไตรลักษณ์(คือเห็นว่า ทุกสิ่งอย่างนี้ มันเป็นอนิจจัง ทุขขัง อนัตตา) ทีนี้อยู่ดีๆ คนเราจะมามองทุกอย่างให้เป็นอนัตตาได้นั้น มันเป็นไปไม่ได้ เพราะกิเลส นิวรณ์ มันบังจิตให้ขุ่นมัวอยู่(เหมือนกระจกฝ้า) จิตมันมองไม่เห็นอนัตตา ฉะนั้นที่เขาว่าน่ะใครว่า ทำวิปัสนาเลยก็ได้ มันใช่แค่เจตนา ผลของมันเป็นแค่วิปัสนึก มันไม่มีทางเห็นอนัตตา ผ่านกระจกฝ้าได้ การจะเห็นอนัตตา ต้องทำจิตให้สงบจากกิเลสและนิวรณ์เสียก่อน จิตก็จะสะอาดเหมือนกระจกใส(กิเลสมันสงบชั่วคราว)จะด้วยวิธิสมรรถะกรรมฐานก็ได้ เจริญกายคตาสติ ตามรู้กาย ตามรู้อิริยาบท ให้จิตอยู่กับปัจจุบันขณะอย่างต่อเนื่องนานๆก็ได้ เมื่อกิเลสมันสงบ ความรู้สึกตื่นรู้ของจิตมันก็เกิดขึ้น นั่นแหละพร้อมทำวิปัสนาแล้ว ก็ไล่ไปทีละหมวด คือหมวดกาย หมวดเวทนา หมวดจิต และหมวดธรรมมนุปัสนา อย่าไปทำย้อนอีกล่ะ
......ไปอ้างครูบาอาจารย์มั่นโน่น เดี๋ยวความไม่รู้จะไปล่วงเกินครูบาอาจารย์ท่านได้ ทีนี้เราขออ้างบ้าง หลวงพ่อชาท่านว่าธรรมะนี้พูดลำบาก พูดไปมันก็ขัดใจญาตฺโยม เหมือนคอยตำหนิญาติโยม ทำอย่างนั้นก็ผิด ทำอย่างนี้ก็ไม่ดี มันก็เรื่องจริง เพราะถ้าพุดไปแล้วมันถูกใจ ตรงใจญาติโยม โยมทำอย่างที่พูดที่สอนอยู่แล้ว ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ไม่ต้องสอนธรรมะกันแล้ว แสดงว่าโยมเข้าใจธรรมะกันดีอยู่แล้ว ไม่ต้องสอนแล้ว ท่านว่าเมื่อโยมยังไม่เข้าใจธรรมะสอนกันมันก็ขัดใจกัน ไม่พอใจกัน แต่ว่าทีสอนที่กล่าวนั้นเมตตาล้วนๆ แม้แต่ที่ดุนั่นก็เมตตาไม่มีอย่างอื่น...../เจโตวิมุติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2011, 23:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 07:51
โพสต์: 132

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนบางคนมีพื้นฐานร่างกายดีก็สามารถออกเดินทางได้โดยไม่ต้องเตรียมพร้อมมาก
คนบางคนมีพื้นฐานร่างกายไม่ดีนักก็ต้องฝึกฝนตระเตรียมตัวก่อนที่จะออกเดินทาง

คนที่ออกเดินทางเดินเลยโดยไม่เตรียมตัวก่อนก็สามารถที่จะฝึกตนระหว่างการเดินทางได้
หากแต่ว่าอาจจะต้องล้มลุกคลุกคลานมากกว่าคนที่มีการเตรียมตัวที่ดีกว่า แต่ถ้าไม่ท้อซะก่อนก็ถึงที่หมายได้

คนที่เน้นการฝึกฝนที่เข้มงวดเพื่อเสริมสร้างกำลังให้พร้อมกับการเดินทาง
หากไม่ท้อล้มเลิกการฝึกฝน และไม่ล้มเลิกการเดินทางไปเสียก่อน ก็ถึงที่หมายได้เช่นกัน (แถมการเดินทางอาจจะราบรื่นกว่าคนแรกด้วย)

ทั้งสองทางมีข้อดี และข้อเสียที่แตกต่างกัน
หากเข้าใจแล้วว่าทางไหนดีอย่างไร เสียอย่างไร ก็สามารถเลือกวิธีที่เหมาะกับพื้นฐานของตนได้

ปล. ที่สำคัญคนทั้งสองคนต้องมีแผนที่ที่บอกทางไปสู่เป้าหมายที่ถูกต้องด้วยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2011, 15:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึก สมถะ ได้ สมถะ
วิปัสสนา ได้ วิปัสสนา
แล้วแต่ จริต ของใครของมัน
เพราะคน มีเหตุปัจจัย มาไม่เหมือนกัน
บางคนสร้างพื้นฐานมาดี แต่ปางก่อน มันก็เลยดูง่าย ไว
เพราะมี บารมีเกื้อหนุนมา คนสมัยพระพุทธกาล เพียงได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
ได้ฟังธรรมเทศนาจากพระองค์ ก็ได้บรรลุธรรมกันแล้ว
แต่ผู้ที่ยังฝึกใหม่ ๆก็ต้องอาศัย สมถะ นี่แหละ เป็นบาท เป็นฐาน
แล้วค่อยไต่ขึ้นสู่ วิปัสสนา เรียกว่า จาก สมมติบญญัติ ขึ้นไปสู่ ปรมัตถ์
เจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2011, 18:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณทุกท่านครับที่ให้ความรู้ หลวงพ่อก็ให้รายละเอียดดีมากครับ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2011, 04:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การฝึกสมถะควบวิปัสสนานั้นเป็นการฝึกที่ได้ผลรวดเร็วและยิ่งใหญ่มากกว่าใช้สมถะอย่างเดียวหรือวิปัสสนาอย่างเดียว ถ้าใครศึกษาพระไตรปิฎกจะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงสอนให้ฝึกทั้งสมถะและวิปัสสนาพร้อมกัน เพราะมันเนื่องกันอยู่ มันเป็นเหตุและผลของกันและกันเพียงแต่มีอาการต่างกัน จึงเรียกสองอย่างแต่อยู่ร่วมกันแน่นอน คนวิปัสสนาได้ผลย่อมได้สมถะแน่นอน คนฝึกสมถะได้ผลก็ย่อมได้วิปัสสนาแน่นอน ส่วนคนที่เข้าใจกลไกดี ฝึกทั้งสองอย่างควบกันไปอย่างเข้าใจก็ได้ผลเร็วและยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้น

สมถะคืออะไร วิปัสสนาคืออะไร
สมถะคือทำจิตให้นิ่ง วิปัสสนาคือทำจิตให้โล่ง
ตลอดสายสมถะและวิปัสสนามีกระบวนการรู้อย่างต่อเนื่อง ยกเว้นนิโรธของพระอนาคามีและพระอรหันต์ ท่านดับตัวรู้ไปชั่งขณะเพื่อพักอย่างสมบูรณืแบบ นอกนิโรธนี่จิตไม่ค่อยได้พักเลย ยกเว้นในภาวะหลับแบบตาย และในภาวะสลบ แต่นั่นเป้นการพักอย่างไม่จงใจและควบคุมไม่ได้ แต่นิโรธเป็นการพักอย่างจงใจและควบคุมได้

แต่ในทุกระดับต้องอาศัยทั้งการนิ่งและการละจนโล่งทั้งสิ้น และแม้ความนิ่งและการละก็ต้องอาศัยกันและกัน ถ้าไม่ละจะนิ่งได้อย่างไร และถ้าไม่นิ่งจะละอะไรได้แค่ไหนกัน

ดังนั้นสมถะและวิปัสสนาเป็นเกลอไปด้วยกัน อย่าเถียงกันอีก อย่าดูหมิ่นกัน มันแตกแยกจะไม่ได้ผลยิ่งใหญ่ เหมือนพ่อกับแม่ต้องอยู่ร่วมกัน ลูกอันคือสมาธิ ปัญญาและวิมุตติจึงจเกิด สมถะคือแม่ วิปัสสนาคือพ่อ

เราจะฝึกสมถะกับวิปัสสนาควบกันอย่างไร ต้องจับกาย จิตและใจ ให้ผสานเป็นหนึ่งเดียวกันทั้งสามส่วน หรือสองส่วนในบางกรณี และแยกส่วนกันเด็ดขาดเลยถ้าต้องการเข้านิโรธ

แต่ในระดับพวกเรา เอาผสานพลังกาย จิต และใจในภาวะที่เหมาะสมก่อน ถ้าทำได้แค่นี้ก็พอเอาตัวรอดได้หรอก

การผสานกายจิตใจให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างมีพลังนั้นมีสามขั้นตอน 1. ปลดปล่อยให้อิสรภาพแก่กัน 2. เพิ่มอำนาจในแต่ละส่วน 3. ผสานพลังอำนาจกัน

ปลดปล่อยให้อิสรภาพแก่กัน นี่เป็นวิปัสสนา ให้จิตดูกายอยู่ปล่อยให้มันเป็นไปตามกลไกของมัน อย่าเข้าไปแทรกแซง มันจะเป็นอย่างไรก็รู้อยู่ รู้แล้วละวางทันที รู้เพื่อละนะไม่ใช่รู้เพื่อรู้ รู้ที่ละไม่ได้ยังไม่เกิดประโยชน์ รู้แล้วละให้อิสรภาพแก่มันอย่างที่มันเป็นไปตามกลไก เดี๋ยวมันก็เกิดดับเองตามธรรมชาติ

จากนั้นให้น้อมจิตรู้ใจ รู้ให้ชัด ใจทำงานอย่างไร เกิดอาการใดในใจก็รู้ชัด รู้อาการทางใจแล้วก็ละเช่นเดียวกับอาการทางกาย ปล่อยวางมัน รู้ใจที่ละไม่ได้ยังไม่บังเกิดอิสรภาพ ต้องละได้จึงอิสระ

พอละวางได้จริง จิตรู้กายอยู่ เป็นอิสระอยู่ในรู้ จิตรู้ใจอยู่เป็นอิสระในรู้ เมือต่างเป็นอิสระจากกันพอประมาณนี่แหละ ปกติมันจะพล่านซ่านไปด้วยกันจนแยกไม่ออก หยุดไม่ได้ จึงนิ่งไม่เป้น ทำให้นิ่งคือทำให้มันรู้จักพอและอยู่กับตัวมันเอง พอทำให้นิ่งสงบอยู่ในฐานของตนแล้วนี่คือสมถะ สมถะแปลว่ามันไม่อยากเอาอะไรที่วุ่นแล้ว มันยินดีสงบนิ่งของมันอยู่อย่างนั้นหรือนิ่งยิ่งกว่า

จากนั้นจึงผสานพลังทั้งสามเข้าด้วยกันแล้วพัฒนาให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพราะนิ่งและสงบก็มีอีกหลายระดับ ก็ทำให้มันนิ่งในนิ่ง สงบในสงบเข้าไปอีก ทำอย่างไร ก้กำหนดด้วยใจและด้วยภาวะของสิ่งนั้นเองนั่นแหละ ตอนนี้ต้องใช้ทั้งสมถะและวิปัสสนาควบกัน เพราะวิปัสสนานั่นแหละจึงได้สมถะเข้าได้ลึกขึ้น และเพราะสมถะนั่นแหละจึงได้วิปัสสนาญาณยอมละจริงเพื่อสงบจริงยิ่งขึ้น

ยิ่งนิ่งสงบภายในได้มากเท่าใด ระบบทั้งสามมันก็จะ restore ตัวมันเองและเริ่มมีพลังมากขึ้นเท่านั้น
ที่สุดของความนิ่งคือความว่าง ที่สุดของความสงบคือความบริสุทธิ์ ไปให้ถึงหรือใกล้ที่สุดเท่าที่ทำกันได้

On the way เราจะเห็นอะไรมากมายที่ทำให้ชีวิตเราไม่นิ่ง ไม่สงบ ทำให้ร่างกายเราไม่นิ่ง ไม่สงบ ทำให้จิต ทำให้ใจของเราไม่นิ่งไม่สงบ ซึ่งต้องละไปโดยลำดับ ซึ่งก็จะมีทั่งความไม่พอดีในปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ความไม่รู้จักและไม่เข้าใจในกรรม หรือมารบางประเภท กิเลส ตัณหาในตัวเอง การยึดถือความทะยานอยาก การรบกวนจากสิ่งเร้าแวดล้อม และสารพัดมันจะโผล่มาให้เห็นซึ่งเราต้องจัดการกับมัน

ตลอดกระบวนการจัดการกับมัน เราก็จะเห็นภาวะต่าง ๆ ของชีวิตจิตใจและร่างกาย บางภาวะมีพลัง บางภาวะอ่อนพลัง ทำอย่างไรจึงจะหลีกภาวะที่อ่อนพลังและเสริมสร้างพลังเพื่อจะได้มีกำลังเดินไปถึงเป้าหมาย หรือมีกำลังตัดในสิ่งที่ควรจะตัด ต่อในสิ่งที่ควรต่อ ซึ่งเราจะได้เห็นกันทุกคน ยิ่งอดนอนด้วยยิ่งเห็นชัด

การรู้จักภาวะความเป็นจริงต่าง ๆ ในชีวิตจิตใจทุกระดับความล้ำลึกนี่เเหละคือธัมมานุปัสสนา เมื่อเกิดธัมมานุปัสสนาญาณแล้ว ต้องบริหารให้เกิดประโยชน์ทันที คือปรับโครงสร้างในจิต ในใจ ในร่างกาย ในพฤติวัตร ในพฤติกรรม ในวิถีชีวิตของเราใหม่ เพื่อเสริมสร้างพลังในทุกระบบให้เดินตรงไปสู่เป้าหมายอย่างรวดเร็ว

การปรับนั้นต้องปรับตั้งแต่โครงสร้างในใจ ความคิด การพูดจา อิริยาบถ กายกิจ บุคลิกภาพ พฤติกรรม วิถีชีวิต และโครงสร้างความสัมพันธ์กับธรรมชาติทั้งหมด ซึ่งค่อย ๆทำกันไป ถ้าทำได้สมบูรณ์ก็จะเป็นชีวิตแห่งธรรม ผู้ดำรงชีวิตแห่งธรรมคือผู้ทรงธรรม ผู้เดินตรงทางสู่ความบริสุทธิ์

ซึ่งในกระบวนการปรับนั้นต้องใช้ทั้งอำนาจสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปเสมอ สมถะกับวิปัสสนามันแยกกันไม่ได้ ถ้าวิปัสสนาอย่างเดียวไม่มีสมถะ มันก็บ้าความรู้แต่เข้าไม่ลึก ถ้ามีสมถะแต่ไม่มีวิปัสสนามันก็บ้าความสงบแต่ไม่รู้รอบ ทั้งสองกรณีมันไม่สมบูรณ์ ก็เมื่อองค์บรมครูของเราให้เรามาทั้งสองอย่างก็ควรใช้ประโยชน์จากทั้งสองอย่างให้เต็มที่จึงจะได้ชื่อว่าเป็นธรรมทายาทที่ดี

ถาม สมถะกับวิปัสสนาเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ถ้าฝึกอย่างเดียวได้ไหม

ตอบ เหมือนกันตรงที่เป็นกลไกการพัฒนาจิตใจเหมือนกัน ต่างกันที่อาการ

คืออย่างนี้ สมถะเป็นอาการที่จิตดิ่งลึกลงไป วิปัสสนาเป็นตัวล้าง

เวลาฝึกต้องฝึกร่วมกัน ฝึกอย่างเดียวอาจพอถู ๆไถ ๆ ไปได้แต่ไม่สำเร็จสูงสุด เปรียบง่ายอย่างนี้ เหมือนเราขุดน้ำบาดาลตัวหัวเจาะคือสมถะ ตัวขูดและปั่นดินออกมาคือวิปัสสนา ซึ่งต้องทำงานร่วมกัน หากเจาะดันไปอย่างเดียวไม่ชะเอาดินออกจะไปได้ไม่ไกล ค้างอยู่ที่ภาวะใดภาวะหนึ่ง ไม่ถึงตาน้ำใสอันเป็นเป้าหมายสักที ซึ่งโดยความเป็นจริงมักจะค้างอยู่ที่ความเข้าใจ คือพิจารณามากเข้าใจธรรมะหมดแต่ไม่ถึงสภาวะธรรมสักที

ดังนั้นสมะกับวิปัสสนาโดยศัพท์แยกกันตามอาการและหน้าที่ แต่โดยการทำงานต้องร่วมกันแยกกันไม่ได้ ขืนแยกจะไปไม่ถึงไหน จะบรรลุธรรมได้ต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาเสมอ ไม่แยกกันแต่จะเอาอะไรเป็นตัวนำก็ได้ ใครแยกกันแสดงว่ายังครึ่ง ๆ กลาง ๆ อยู่ จะยังไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็นที่สุด

ที่มา: การปฏิบัติธรรมสำหรับผู้นำและผู้บริหาร
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
kokorado

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2011, 03:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณค่าของสมถะและวิปัสสนา



พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้ วิปัสสนาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้จึงชื่อว่าปัญญาวิมุต ฯ”




ลองดูใน http://guru.google.co.th/guru/thread?ti ... 04253ebefd


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2011, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b12: แต่มีคนบอกว่าในตัวสติปัฎฐาน4 ก็ทำให้เกิดสมถะ คือสมาธิได้ไปในตัวเช่นกัน

แล้วบางคนฝึกอารมณ์สมถะมาหลายปีเลย บางคนมากกว่าห้า-สิบปี แล้วค่อยไปพิจารณาวิปัสสนาสติปัฎฐาน4 ทำไมเราไม่เอาเวลาที่ฝึกสมถะไปฝึกสติปัฎฐาน4ไปเลยละ จะเสียเวลาไปฝึกสมถะกรรมฐานอยู่ทำไม

ถ้าเราเชื่อพระพุทธเจ้า เราคงต้องเชื่อกฏแห่งกรรม เชื่อเรื่องความเวียนว่ายตายเกิดด้วย
ชีวิตของผู้ได้เกิดมาเป็นคนทุกวันนี้ มิใช่เป็นการมานับ 1 ใหม่ แต่เป็นการมาต่อยอดผลของการกระทำหรือวิบากของกรรมที่บ่มสร้างมาในอดีต
บางคนเคยสร้างสมสมถะภาวนามามากในอดีต ชาติปัจจุบันจึงมาต่อยอดเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ทันที บางคนมิได้สร้างสมมาเท่าที่ควรต่อยอดเจริญปัญญาวิปัสสนาภาวนาไม่ได้ทันทีต้องมาเติมเต็มด้านสมถะภาวนาเสียก่อน ดังนี้เป็นต้น

ใครจะเจริญวิปัสสนาภาวนาทันทีเลย ใครจะต้องเจริญสมถะก่อนแล้วจึงค่อยต่อยอดด้วยวิปัสสนาภาวนา นี่เป็นเรื่องเฉพาะตัวที่เจ้าตัวจะต้องรู้และประเมินตัวเอง ขาดทางไหนก็เติมเต๋มทางนั้นให้จนกว่าจะได้สมดุลย์ สติ สมาธิ ปัญญา เขาจึงจะเจริญเดินมรรค 8 ไปได้จนตลอดสายถึงจุดหมายคือ มรรค ผลและนิพพาน

ท่านเจ้าของกระทู้มีบุญวาสนาเจริญวิปัสสนาได้ทันทีก็ขออนุโมทนา ท่านที่ทำไม่ได้ก็มิพึงไปขัดหรือตัดสินว่าวิธีนั้นถูกวิธีนั้นผิด สมถะต้องมาก่อนวิปัสสนา ฯลฯ ธรรมมะเขาฉลาดและจะคัดสรรวิธีที่เหมาะสมสำหรับชีวิตและจิตวิญญาณแต่ละดวงด้วยตัวของเขาเอง ไม่มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัวเป็นเบ้าหลอมสำหรับทุกๆคนครับ

โอกาสนี้ผมได้คัดลอกเอาข้อความในบทอธิบายเรื่อง สมาธิ ที่ได้จากสมถะภาวนา และสมาธิที่ได้จากวิปัสสนาภาวนา มาให้ลองอ่านและพิจารณากันนะครับ

สมาธิสุข
เพราะสมาธิ คือความตั้งมั่นอยู่กับที่ของจิต ทำให้จิตสงบ หยุดนึก หยุดคิด หยุดกวัดแกว่งฟุ้งซ่านไปในเรื่องอื่น ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว จนเป็นหนึ่ง จึงทำให้จิตได้หยุดพัก และเป็นสุข ชั่วคราว จะยาวนานมากน้อยได้เพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถ ในการทรง รักษา สมาธิไว้ได้ของผู้เจริญสมาธิแต่ละคน
ด้วยเหตุนี้ผู้คนตั้งแต่ครั้งโบราณกาลก่อนที่จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาในโลกนี้เสียอีก ได้พากันขวันขวายแสวงหาความสุขจากสมาธิ ด้วยการไปบำเพ็ญพรต บวชเป็นฤาษี ชีไพรอยู่ในป่า หาความสุขจากการภาวนา ทำสมาธิ อย่างที่เห็นกันอยู่มากในเมืองอินเดียและแพร่หลายไปสู่ประเทศต่างๆ
วิธีทำให้เกิดสมาธิ
๑.โดยการผูกจิตไว้กับงานหรือกิจกรรมต่างๆที่มีอำนาจดึงดูดใจคน เช่น ดูหนัง ฟังเพง ตกปลา เล่นเกมส์ กีฬา เล่นไพ่ การพนัน ฯลฯ
๒.โดยการสวดมนต์ บริกรรม ท่องบ่นคาถา ดังเห็นเป็นที่นิยมกันทั่วทุกศาสนา ทุกลัทธิ ทั้งหลายในโลกทั้งอดีตและปัจจุบัน
๓.โดยการทำกรรมฐาน ดังเช่น การเจริญ

กรรมฐาน ๔๐ อย่างที่เราได้เรียนรู้กันอยู่ เรียกว่า“สมถะภาวนา”

๔.โดยการทำวิปัสสนาภาวนา อันนี้เป็นวิชาใหม่ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วนำมาสอน
ในแผ่นพับนี้จะแนะนำวิธีฝึกและทำให้เกิดสมาธิตามข้อ ๒ ๓ และ ๔ เพราะข้อ ๑ ทำเป็นกันทุกคนอยู่แล้ว
การทำสมาธิโดยการสวดมนต์
ท่องมนต์ บริกรรมภาวนา ท่องบ่นคาถา
โดยการสวดมนต์ ท่องมนต์ บ่นคาถาวิธีนี้คงไม่ยากและไม่ต้องแนะนำ
โดยการบริกรรม วิธีนี้มีตัวอย่างอยู่มาก เช่น การบริกรรมคำว่า “พุทโธ” ตามลมหายใจเข้าออก บริกรรมคำว่า “หนอ” “สัมมาอรหัง”
“โอม นมัสศิวะ” “โอม มณีปัทวะฮุม” ฯลฯ
โดยการท่องบ่นคาถา วิธีนี้ เป็นวิธีลัดที่จะทำให้เกิดสมาธิได้เร็วมาก นิยมใช้กันในหมู่นักไสยศาสตร์ คงกระพันชาตรี เมตตามหานิยมทั้งหลายวิธีท่องคาถาให้เกิดสมาธิ
๑.ท่องแบบต่อเนื่อง เช่นท่องคาถาปลุกพระ “นะ มะ พะ ธะ นะ มะ นุ ลุ” ท่องถี่ๆ
นานๆจนเกิดสมาธิ มีปีติ ตัวเต้น ตัวสั่น

รุนแรงนี่เรียกว่าปลุกพระขึ้น
๒.ท่องคาถาเป็นคาบๆ เช่นท่องคาถา หัวใจอิติปิโส “อิ สวา สุ” “สวา สุ อิ”
“ สุ อิ สวา” “อิ สวา สุ” ท่องกลับไปกลับมาครบ ๑ รอบ เรียกว่า ๑ คาบ วิธีนี้เกิดสมาธิอย่างนิ่มนวล แต่รวดเร็วและไม่รุนแรงอย่างการปลุกพระ สมัยขุนแผนชอบใช้วิธีนี้
การทำสมาธิโดยฝึกกรรมฐาน ๔๐ อย่าง
วิธีนี้ต้องไปศึกษากรรมฐานทั้ง ๔๐ อย่างแล้วเลือกเอากรรมฐานชนิดใดชนิดหนึ่งมาเจริญ ตามอุปนิสัย จริต ความชอบและความถนัดของแต่ละบุคคล กรรมฐาน ๔๐ อย่างมี กสิณ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ อสุภกรรมฐาน ๑๐ พรหมวิหาร ๔ จตุธาตุววัตฐาน ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ อรูปฌาน ๔ คงต้องแยกศึกษาต่างหากต่อไป

การทำสมาธิโดยฝึกวิปัสสนาภาวนา
วิปัสสนาภาวนา มีหลักการสำคัญคือ ต้องเจริญสติและปัญญา ให้รู้ทันปัจจุบันอารมณ์
และสังเกต พิจารณาปัจจุบันอารมณ์ ผู้ฝึกหัด ปฏิบัติ ต้องเข้าใจและรู้จักความหมาย และสภาวะจริงๆของปัจจุบันอารมณ์ให้ได้ดีๆก่อน การปฏิบัติจึงจะได้ผล

ปัจจุบันอารมณ์ หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นต่อหน้า ณ เวลาปัจจุบันเดี๋ยวนี้ อย่างชัดเจน มีกำลังแรง ดึงจิตไปใส่ใจได้มากเป็นอันดับหนึ่ง
เช่นขณะที่ดูทีวี ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จิตคิด
ถ้ารูปชัด รูปเป็นปัจจุบัน ถ้าเสียงชัด เสียงเป็นปัจจุบัน ถ้าจิตคิดนึกชัด จิตคิดนึกเป็นปัจจุบัน
ความชัดจะย้ายสลับไปสลับมาตลอดเวลา ปัจจุบันอารมณ์ก็จะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตามอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน
“จิตนิ่ง อยู่ กับอารมณ์ เป็น สมถะภาวนา”
“จิตนิ่ง รู้ อารมณ์ เป็นวิปัสสนาภาวนา”
การตั้งใจหรือใส่ใจ(มนสิการ) เอาสติ เอาปัญญา มาตั้งมั่นรู้ ตั้งมั่นสังเกต พิจารณา ที่ปัจจุบันอารมณ์ (โยนิโส) เป็นวิปัสสนาภาวนา เพราะปัจจุบันอารมณ์ ไม่อยู่นิ่ง ทนตั้งอยู่ไม่ได้ (ทุกขัง) เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา (อนิจจัง) และบังคับบัญชาให้เป็นไปอย่างใจปรารถนาไม่ได้ (อนัตตา)
อารมณ์ที่ปรากฏเป็นปัจจุบัน ถ้าสติ ปัญญาเข้าไปจับรู้แล้ว มีปฏิกิริยาตอบโต้อะไรเกิดขึ้นในกายและจิตเป็นยินดี ยินร้าย ชอบใจ ไม่ชอบใจ อยาก ไม่อยาก แต่ สติ ปัญญาคอยกำกับ
ไว้ไม่ให้ กาย ใจ กระทำตามความต้องการเหล่านั้น จนอารมณ์นั้นดับไป อุปาทานที่เคยผูกยึดอารมณ์นั้นไว้ จะจางคลายหายไป หรือหมดไปจากใจในที่สุด ดังนั้นเมื่อมีผัสสะและอารมณ์อย่างนั้นเกิดขึ้นอีกครั้ง จิตจะเฉย หมดความยินดียินร้าย ไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆ จิตใจจึงสงบตั้งมั่น เป็นสมาธิอย่างยิ่งด้วยจิตไม่หวั่นไหวเพราะสิ่งรบกวน เป็นความนิ่งสงบเพราะหมดงานที่จะต้องทำ จึงเบากาย สบายใจและเป็นสุขยิ่งกว่าสมาธิที่ได้จากการผูกจิตกับอารมณ์กรรมฐานหรือสมถะภาวนา
การทำสมาธิ คือการเอาชนะกิเลสนิวรณ์ทั้ง ๕ ด้วยการ หลบ กลบ บัง ทับ ข่มนิวรณ์ธรรมไว้ด้วยอำนาจของสติ กรรมฐานและเหตุผล
การทำวิปัสสนาภาวนา เป็นการขุดถอนนิวรณ์ธรรมทั้ง ๕ ออกจากจิตไปด้วยอำนาจปัญญา
สมถะภาวนา จะทำให้เกิดสมาธิและจิตสงบแบบชั่วคราว วิปัสสนาภาวนา จะทำให้เกิดสมาธิและจิตสงบแบบถาวร เพราะถ้าใครเจริญวิปัสสนาภาวนาไปจนถึง อนาคามีมรรค และอรหัตมรรค เขาจะได้รับผล เป็นผู้มีสมาธิถาวร ทรงสมาธิ ปราศจากนิวรณ์อยู่ตลอดเวลา เป็นปกติวิสัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2011, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 พ.ค. 2010, 15:28
โพสต์: 103

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจโตวิมุติ เขียน:
:b42: ว่าจะไม่พูดแล้ว พูดแล้วเหมือนทำตัวรู้มากกว่าคนอื่น อุเบกขาต้องไม่เข้ามาอ่าน ถ้าอ่านเจอบางเรื่องมันอุเบกขาต่อไม่ได้ อย่างเรื่องนี้ คำว่าวิปัสนา มันทำเพื่อให้เห็นพระไตรลักษณ์(คือเห็นว่า ทุกสิ่งอย่างนี้ มันเป็นอนิจจัง ทุขขัง อนัตตา) ทีนี้อยู่ดีๆ คนเราจะมามองทุกอย่างให้เป็นอนัตตาได้นั้น มันเป็นไปไม่ได้ เพราะกิเลส นิวรณ์ มันบังจิตให้ขุ่นมัวอยู่(เหมือนกระจกฝ้า) จิตมันมองไม่เห็นอนัตตา ฉะนั้นที่เขาว่าน่ะใครว่า ทำวิปัสนาเลยก็ได้ มันใช่แค่เจตนา ผลของมันเป็นแค่วิปัสนึก มันไม่มีทางเห็นอนัตตา ผ่านกระจกฝ้าได้ การจะเห็นอนัตตา ต้องทำจิตให้สงบจากกิเลสและนิวรณ์เสียก่อน จิตก็จะสะอาดเหมือนกระจกใส(กิเลสมันสงบชั่วคราว)จะด้วยวิธิสมรรถะกรรมฐานก็ได้ เจริญกายคตาสติ ตามรู้กาย ตามรู้อิริยาบท ให้จิตอยู่กับปัจจุบันขณะอย่างต่อเนื่องนานๆก็ได้ เมื่อกิเลสมันสงบ ความรู้สึกตื่นรู้ของจิตมันก็เกิดขึ้น นั่นแหละพร้อมทำวิปัสนาแล้ว ก็ไล่ไปทีละหมวด คือหมวดกาย หมวดเวทนา หมวดจิต และหมวดธรรมมนุปัสนา อย่าไปทำย้อนอีกล่ะ
......ไปอ้างครูบาอาจารย์มั่นโน่น เดี๋ยวความไม่รู้จะไปล่วงเกินครูบาอาจารย์ท่านได้ ทีนี้เราขออ้างบ้าง หลวงพ่อชาท่านว่าธรรมะนี้พูดลำบาก พูดไปมันก็ขัดใจญาตฺโยม เหมือนคอยตำหนิญาติโยม ทำอย่างนั้นก็ผิด ทำอย่างนี้ก็ไม่ดี มันก็เรื่องจริง เพราะถ้าพุดไปแล้วมันถูกใจ ตรงใจญาติโยม โยมทำอย่างที่พูดที่สอนอยู่แล้ว ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ไม่ต้องสอนธรรมะกันแล้ว แสดงว่าโยมเข้าใจธรรมะกันดีอยู่แล้ว ไม่ต้องสอนแล้ว ท่านว่าเมื่อโยมยังไม่เข้าใจธรรมะสอนกันมันก็ขัดใจกัน ไม่พอใจกัน แต่ว่าทีสอนที่กล่าวนั้นเมตตาล้วนๆ แม้แต่ที่ดุนั่นก็เมตตาไม่มีอย่างอื่น...../เจโตวิมุติ


อนุโมทนา สาธุครับ

วิปัสสนาไปเลย 5555 อาจารย์ท่านไหนครับ ที่บอกอย่างที่ จขกท. ว่า

มีครูอาจารย์ในอดีตท่านไหนบ้างไม๊ครับ ที่สอนอย่างที่ จขกท. ว่า

กลัวสมาธิ แต่อยากพ้นทุกข์หรือครับ

กัลยาณมิตรคือทั้งหมดของพรหมจรรย์นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2011, 22:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 20:54
โพสต์: 163

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใครคิดว่าจิตตัวเองมีกำลังที่จะไปวิปัสสนาก็ทำได้เลยไม่ห้าม การฝึกจิตด้านสมถะ ทำให้จิตมีสมาธิแล้วไปวิปัสสนาจะง่ายและเข้าใจอะไรๆได้ดีกว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2011, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


การต้องฝึกสมถกรรมฐานด้วย แม้ว่าการฝึกวิปัสสนากรรมฐานเพียงอย่างเดียว ก็สามารถทำให้เกิดสมาธิได้ เพราะเนื่องจากเป็นเทคนิคที่ช่วยให้จิตมีกำลัง อีกทั้งยังเป็นการพักจิตที่เหน็ดเหนื่อยจากการเจริญวิปัสสนา...

การฝึกสมถกรรมฐานให้จิตมีกำลังก่อน ย่อมทำให้การเจริญวิปัสสนาเป็นไปได้ง่าย สภาวธรรมที่นำมาเจริญวิปัสสนาจะเป็นสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง ลึกถึงระดับพื้นจิต และเมื่อเจริญวิปัสสนาแล้ว ย่อมเข้าถึงระดับเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร ตัดขาดอย่างสิ้นเชิงได้ง่าย อุปมาเหมือนกับผู้ที่ฝึกฝนความแข็งแกร่งของร่างกายให้พร้อมก่อนออกสู่สนามรบ, หรืออุปมาเหมือนกับการว่ายน้ำข้ามแม่น้ำด้วยการอาศัยเรือหรือแพ

การฝึกสมถกรรมฐานจะช่วยพักจิตเวลาที่เหน็ดเหนื่อย เพราะการเจริญวิปัสสนาจิตย่อมจะต้องมีการรับอารมณ์ปัจจุบันเข้ามาอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา จิตมีการเปลี่ยนผัสสะไป-มา รับรู้สิ่งต่างๆ อยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้เองจิตจึงเหน็ดเหนือย หากบางท่านให้การคิดพิจารณาช่วยด้วยแล้ว ก็จะยิ่งเหน็ดเหนื่อยได้ง่าย เราจึงต้องรู้จักพักจิตที่เห็นเหนื่อยให้สงบด้วยสมถกรรมฐาน ไม่ควรจะฝืนเจริญวิปัสสนาต่อไป เพราะจะไม่เกิดผล แต่จะยิ่งฟุ้งซ่าน บางท่านอาจเกิดอาการสติแตกได้ พอจิตหายเหนือยจึงค่อยกลับไปเจริญวิปัสสนาต่ออีก อุปมาเหมือนกับคนที่ทำงานหรือเรียนหนังสือท่องหนังสือ ต้องรู้จักพักเสียบ้าง อย่าได้เอาแต่ทำอยู่จนไม่พักผ่อน การงานก็จะเสียหาย เกิดป่วยไข้ขึ้นมาได้

นี่เป็นเหตุผลบางส่วนที่ว่า ทำไมถึงต้องฝึกสมถกรรมฐานเสียก่อน ทั้งที่เจริญวิปัสสนาเสียแต่ต้นก็ได้สมาธิเหมือนกัน

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2011, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกสมถะ เพื่อไม่ให้วิปัสสนาบนความฟุ้งซ่านน่ะฮะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2011, 23:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิก้มีส่วนสำคัญมาก สมาธิไม่ดีจะฝึกวิปัสสนาไม่ค่อยดีไปด้วย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 118 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร