วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 00:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2011, 05:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภูพิงค์ เขียน:
คำอธิบายมาติกาในบทภาชนีย์ดังปรากฏในพระวินัยปิฎกที่ผมยกมาข้างต้น เป็นส่วนขยายความของพระอุบาลีเถระ ผู้ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงยกย่องไว้ในฐานะเอตทัคคะในทางผู้ทรงพระวินัย

เรื่องอนันตริยกรรมปรากฏแม้ในพระอภิธรรมปิฎก เช่น พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ หน้า ๖๘๑ – ๖๘๓ (ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.fungdham.com/tripitaka01.html) เป็นบทวินิจฉัย ว่าโดยกรรม อธิบายทั่วไป ไม่จำเพาะแก่ภิกษุ มีเนื้อความและแนวการวินิจฉัยทำนองเดียวกับที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก ที่ผมยกมาข้างต้น

และท่านได้บรรยายไว้ด้วยว่า
“ในข้อนี้ บัณฑิตพึงกล่าวถึง หมวด ๔ แห่งการฆ่าแพะ หมวด ๔ แห่งสงคราม และหมวด ๔ แห่งการฆ่าโจร”

ท่านภูพิงค์ ผมเข้าไปดูลิงค์ที่ท่านยกมาให้ดูแล้ว มันก็เหมือนกับพระวินัย
ที่ท่านยกมาในตอนแรกนั้นแหล่ะครับ

การที่ผมบอกให้ใช้หลักของ พระอภิธรรม ไม่ใช้ว่าให้ไปหาเนื้อหาในพระอภิธรรม
ว่าจะมีบทใดกล่าวเหมือนในพระนัย แต่เป็นการไปเอาธรรมใดธรรมหนึ่ง มาอธิบายความ
ในส่วนที่เราเห็นว่า มันไม่ค่อยจะมีเหตุผล
ไม่ใช่ว่าผมจะกล่าวหาว่าพระไตรปิฎกไร้เหตุผลนะครับ เพียงแต่ท่านไม่ได้กล่าวไว้ให้ละเอียด
เอาง่ายๆเลยว่า ถ้าเราเอาตามที่ท่านยกมา ธรรมมันไม่แย้งกับธรรมบทอื่นอย่างแน่นอน
ในเรื่องขององค์ประกอบแห่งกรรมหรือการฆ่า ซึ่งมวลรวมของมันก็คือ เจตนา แล้วเจตนานี้
ยังส่งผลในเกิดวิบาก

ในเรื่องของจิตก็มีสอนไว้ว่า ความทุกข์เกิดจากการไปยึดติดกับสิ่งภายนอกจิต
การที่จิตไปรู้อะไรเข้า แล้วก็ยึดเอาเข้ามา มันทำให้เกิดทุกข์
จากเนื้อหาข้างบนนี้ ผมถึงได้บอกท่านไป ชนิดที่ว่าดูเนื้อหาในพระไตรปิฎกและ
เนื้อหาที่ท่านไปยกมาแล้วว่า
"ต้องดูในบทสรุปว่า ผู้กระทำกรรมรู้หรือไม่ว่าสิ่งที่ได้ทำลงไปตรงกับเจตนาที่ตนต้องการ
เพราะตัวเจตนา มันส่งผลต่อวิบากในภายหน้าครับ"

ภูพิงค์ เขียน:
และท่านได้บรรยายไว้ด้วยว่า
“ในข้อนี้ บัณฑิตพึงกล่าวถึง หมวด ๔ แห่งการฆ่าแพะ หมวด ๔ แห่งสงคราม และหมวด ๔ แห่งการฆ่าโจร”

ท่านอธิบายไว้ชัดเจน ดังตัวอย่างข้อความนี้
“เจตนาฆ่ามารดาบิดา แต่แพะตายก็ดี ย่อมไม่ได้รับอนันตริยกรรม.”

ที่ท่านบอกว่าอธิบายไว้ชัดเจน ผมก็ไม่รู้ว่าความหมายของคำว่าชัดเจนของท่านคืออะไร
ประเภทเภทว่ายิ่งอ่านยิ่งงง การตีความอะไรมันตรงขึ้นอยู่กับสถานะการณ์ และจิตใจของผู้กระทำ
เหตุที่เนื้อหากล่าวไว้อย่างนั้นเป็นเพราะ ท่านยังไม่ได้ลงในลายละเอียด ท่านอธิบายแค่ในส่วนของการกระทำ
เมื่อดูแล้วจึงเกิดการสงสัยครับ ผมถึงได้บอกท่านไปว่า ผลสุดท้ายผู้กระทำรู้หรือไม่ ว่า ผู้ถูกกระทำคืออะไร
ภูพิงค์ เขียน:
และท่านได้บรรยายไว้ด้วยว่า
อนันตริยกรรม ๓ ข้อแรกว่าด้วยการฆ่า มารดา บิดา หรือพระอรหันต์ เป็นครุกรรม มีโทษมาก ให้ผลแน่นอนเมื่อจุติจากอัตภาพนี้แล้ว (คือ เกิดในอเวจีมหานรก) และปิดทางมรรคผลในปัจจุบันชาติ แตกต่างจากปาณาติบาตทั่วไป

ใช่ครับมันแตกต่างกัน เพราะผู้ถูกกระทำไม่เหมือนกัน แต่ต้องไม่ลืมนะครับว่า
องค์ประกอบแห่งการฆ่ามันเหมือนกันครับ
ตามหลักการแล้วเราต้องดูเรื่ององค์ประกอบก่อน เมื่อครบแล้วจึงไปดูผู้ที่ถูกกระทำ
เพื่อกำหนดโทษ การกำหนดโทษก็ต้องดูให้อยู่ในกรอบแห่งองค๋ประกอบของการกระทำครับ
คือต้องดูที่เจตนาของผู้กระทำว่า ประสงค์ต่อสิ่งใดและผลของมันเป็นอย่างไร

ภูพิงค์ เขียน:
ลีลาการใช้ภาษาและสำนวนในพระไตรปิฎก แม้แตกต่างจากภาษาและสำนวนในชีวิตประจำวัน แต่ก็ยังเอื้อให้เข้าใจเนื้อความได้กระจ่าง
[color=#0000FF][size=150]

เนื้อหาลีลาในพระไตรปิฎกไม่เท่าไรหรอกครับ ถ้าเป็นในส่วนของพุทธพจน์แท้ๆ
เราปฏิบัติแล้วมันก็เข้าใจได้ครับ แต่ปัญหามันไม่ได้อยู่ตรงพระพุทธพจน์หรอกครับ
มันอยู่ที่การตีความและบทวินิจฉัยที่ท่านยกมา เพราะกล่าวไม่ละเอียดครับ
นี่เป็นเพียงปัญหาหนึ่ง แต่ที่แย่ก็คือ การต่อเติมเสริมแต่งนี่ซิครับมันหนักหนาจริงๆครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2011, 06:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภูพิงค์ เขียน:
ขยายความให้ชัดเจน[/size][/color] ดังนี้

กรณีแรก
มนุษย์เห็นแพะนอนอยู่ ตั้งใจไว้ว่าจะมาฆ่าในเวลากลางคืน ครั้นเวลากลางคืน มารดา บิดาของมนุษย์นั้น หรือพระอรหันต์ มานอนในที่แพะนอนเมื่อกลางวัน มนุษย์นั้นเข้าใจผิดคิดว่าเป็นแพะ ฆ่ามารดา บิดา หรือพระอรหันต์นั้นจนตาย สำเร็จเป็นอนันตริยกรรม แม้เมื่อเธอผละจากไปทันที ไม่รู้ว่าที่แท้ตนได้ฆ่ามารดา บิดา หรือพระอรหันต์ สำคัญผิดว่าตนฆ่าแพะ วิบากโทษแห่งอนันตริยกรรมที่ประกอบไว้ ก็ยังให้ผลแน่นอนเมื่อละจากอัตภาพนี้ (คือ เกิดในอเวจีมหานรก) และย่อมปิดทางมรรคผลในปัจจุบันชาติ

กรณีที่สอง
ในทางกลับกัน มนุษย์เห็นมารดา บิดา หรือพระอรหันต์นอนอยู่ ตั้งใจไว้ว่าจะมาฆ่าในเวลากลางคืน ครั้นเวลากลางคืน แพะมานอนในที่มารดา บิดา หรือพระอรหันต์นอนเมื่อกลางวัน มนุษย์นั้นเข้าใจผิดคิดว่าเป็นมารดา บิดา หรือพระอรหันต์ ฆ่าแพะนั้นจนตาย สำเร็จเป็นแต่เพียงปาณาติบาต ไม่เป็นอนันตริยกรรม แม้เมื่อเธอผละจากไปทันที ไม่รู้ว่าที่แท้ตนได้ฆ่าแพะ สำคัญผิดว่าตนฆ่ามารดา บิดา หรือพระอรหันต์ กรรมฆ่าแพะนั้นก็ไม่สำเร็จเป็นอนันตริยกรรม ถ้าเธอได้กัลยาณมิตรที่เหมาะสม และเธอกลับมีสัมมาทิฐิ เธอยังมีโอกาสแห่งมรรคผลในปัจจุบันชาติ

ท่านภูพงค์ครับ ท่านกล้าพูดกับผมแบบเต็มปากเต็มคำหรือเปล่าครับว่า
ท่านไม่ได้ต่อเติมเสริมแต่ง พระพุทธพจน์หรือแม้กระทั่งบทวินิจฉัยที่ท่านยกเอามาให้ดูแต่แรกครับ
เรื่องพุทธพจน์มันของแน่ว่าไม่มี ปัญหามันอยู่กับสิ่งที่ท่านยกมา ผมไปหาดูทั้งสองลิงค์
ก็ไม่เห็นเนื้อหาที่ท่านกล่าวเลยครับ

ในกรณีที่หนึ่ง ประโยคนี้มันมาได้อย่างไรครับ แม้เมื่อเธอผละจากไปทันที ไม่รู้ว่าได้ฆ่ามารดาบิดา
ในกรณีที่สอง ประโยคนี้มาได้อย่างไร แม้เมื่อเธอผละจากไปทันที ไม่รู้ว่าฆ่าแพะ
ทั้งสองกรณีไม่ทราบท่านไปเอามาจากไหน แต่เวลาไหน พอทราบครับ
คือหลังจากที่ผมบอกว่า ต้องดูที่ผู้กระทำรู้หรือไม่รู้ผลของการกระทำ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2011, 06:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านภูพิงค์ครับผมจะบอกให้ครับ ในบทความที่ท่านยกมามันขัดแย้งกันเอง
และขัดแย้งกับความเห็นของท่านครับ ผมจะอธิบายให้ฟัง
ภูพิงค์ เขียน:
ขยายความให้ชัดเจน[/size][/color] ดังนี้
กรณีแรก
มนุษย์เห็นแพะนอนอยู่ ตั้งใจไว้ว่าจะมาฆ่าในเวลากลางคืน ครั้นเวลากลางคืน มารดา บิดาของมนุษย์นั้น หรือพระอรหันต์ มานอนในที่แพะนอนเมื่อกลางวัน มนุษย์นั้นเข้าใจผิดคิดว่าเป็นแพะ ฆ่ามารดา บิดา หรือพระอรหันต์นั้นจนตาย สำเร็จเป็นอนันตริยกรรม แม้เมื่อเธอผละจากไปทันที ไม่รู้ว่าที่แท้ตนได้ฆ่ามารดา บิดา หรือพระอรหันต์ สำคัญผิดว่าตนฆ่าแพะ วิบากโทษแห่งอนันตริยกรรมที่ประกอบไว้ ก็ยังให้ผลแน่นอนเมื่อละจากอัตภาพนี้ (คือ เกิดในอเวจีมหานรก) และย่อมปิดทางมรรคผลในปัจจุบันชาติ

ความเห็นของท่านอันนี้ ท่านบอกว่า บุคคลได้ฆ่ามารดาบิดาโดยสำคัญผิดคิดว่าเป็นแพะ
ท่านบอกว่าบุคคลได้ผละจากไปทันที ไม่รู้ว่าตนได้ฆ่าบิดามารดา ตรงนี้และครับที่มันขัดแย้งกันเอง
ผมถามท่านหน่อยครับ ทำไมต้องผละจากไปครับ ทั้งๆที่บ้านนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของตน
ถ้าคิดว่าตัวเองฆ่าแพะมันก็ไม่เห็นต้องไปไหน แล้วที่บอกไม่รู้ ใช่ครับตอนทำไม่รู้ แต่หลังจากนั้น
จะไม่รู้หรือครับ ถ้ายังมีชีวิตอยู่มันต้องรู้วันยังค่ำ พ่อแม่ตัวเองแท้ๆ มิหน่ำซ้ำอยู่บ้านเดียวกันเสียด้วย
พ่อแม่หายไปตัวเองไม่รู้เรื่องเลยหรือ

ภูพิงค์ เขียน:
ขยายความให้ชัดเจน[/size][/color] ดังนี้
กรณีที่สอง
ในทางกลับกัน มนุษย์เห็นมารดา บิดา หรือพระอรหันต์นอนอยู่ ตั้งใจไว้ว่าจะมาฆ่าในเวลากลางคืน ครั้นเวลากลางคืน แพะมานอนในที่มารดา บิดา หรือพระอรหันต์นอนเมื่อกลางวัน มนุษย์นั้นเข้าใจผิดคิดว่าเป็นมารดา บิดา หรือพระอรหันต์ ฆ่าแพะนั้นจนตาย สำเร็จเป็นแต่เพียงปาณาติบาต ไม่เป็นอนันตริยกรรม แม้เมื่อเธอผละจากไปทันที ไม่รู้ว่าที่แท้ตนได้ฆ่าแพะ สำคัญผิดว่าตนฆ่ามารดา บิดา หรือพระอรหันต์ กรรมฆ่าแพะนั้นก็ไม่สำเร็จเป็นอนันตริยกรรม ถ้าเธอได้กัลยาณมิตรที่เหมาะสม และเธอกลับมีสัมมาทิฐิ เธอยังมีโอกาสแห่งมรรคผลในปัจจุบันชาติ

อันนี้ก็อีกครับ บอกไม่รู้ผละจากไป แต่ตอนท้ายบอกว่า ได้กัลยาณมิตรที่เหมาะสมก็จะกลับมา
มีสัมมาทิฐิ แล้วท่านมาบอกว่า บุคคลไม่รู้ว่าได้ฆ่าแพะ สำนึกผิดคิดว่าฆ่าบิดามารดา

ที่กลับมามีสัมมาได้เพราะมารู้ตอนหลังว่า ไม่ได้ฆ่าบิดามารดา
แต่เป็นการฆ่าแพะแทน จิตยึดมั่นถือมั่นที่ก่อให้เกิดอนันตริยกรรม จึงเปลี่ยนมาเป็น
การฆ่าสัตว์หรือแพะครับ


ท่านภูพิงค์ครับ ท่านจะยกพุทธพจน์ยกพระไตรปิฏก คำวินิจฉัยของอรรถกถาจารย์ไม่ว่ากันอยู่แล้ว
แต่กรุณามีความรับผิดชอบด้วยครับ อย่าคำเนื้อหาอีกอย่างมาใส่อีกอย่าง ที่สำคัญเขาห้ามต่อเติมครับ
ถ้าจะเอามาอ้างตรงเป็นเนื้อหาเดิมล้วนๆครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2011, 23:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 22:56
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
BENZiNE เขียน:
โฮฮับ เขียน:

กรรมหรือการกระทำใด ไม่ว่าศีลหรือข้อกฎหมายถ้าขาดเจตนา
ความผิดนั้นไม่ครบองค์ประกอบ

ขยายความหน่อยครับ สรุปว่ากรรมของนางเอกเป็นกรรมแบบไหนครับ ??


ที่นี้เรามาดูซิครับว่า นางเอกคนนั้นมีจุดมุ่งหมายอะไร ผมไม่กล่าวในรายละเอียดเพราะไม่เคยดู
เอาจากที่คุณบอกว่า โดนหลอก ไม่รู้ว่าเป็นพ่อ อันนี้ก็ไม่เข้าหลักเกณท์ในเรื่องของอนันตริยกรรม
เพราะไม่ได้มีเจตนาที่พ่อ มีความจงใจฆ่าเพื่อเหตุอื่นไม่ใช่ฆ่าพ่อตัวเอง



ตรงส่วนสีแดงนี้วินิจฉัยผิด จะแสดงให้เห็นชัด ดังนี้

วินิจฉัยผู้ที่ฆ่าบิดาโดยไม่รู้ว่าเป็นบิดา

ลูกฆ่าพ่อโดยไม่รู้ว่าเป็นพ่อ และพ่อที่ถูกฆ่านั้นก็ไม่รู้จักว่าเป็นลูก เช่นนี้จะเป็นอนันตริยกรรมได้หรือไม่?

ข้อนี้แก้ว่า แม้จะไม่รู้จักว่าเป็นพ่อเป็นลูกกัน แต่โดยสภาวะที่แท้จริงแล้ว ผู้ฆ่ากับผู้ถูกฆ่าก็เป็นพ่อเป็นลูกกัน ฉะนั้นจึงจัดเป็นอนันตริยกรรม ดังที่ท่านอรรถกถาจารย์แสดงไว้ ปรากฏในอรรถกถา พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ หน้า ๓๒๗ - ๓๒๘ ความว่า

"สเจปิ หิ เวสิย ปุตฺโต โหติ อยํ เย ปิตาติ น ชานาติ ยสฺส สมฺภเวน นิพฺพตฺโต ปิตา โส เจ อเนน ฆาติโต ปิตุฆาตโกเตวฺว สงฺขยํ คจฺฉติ อานนฺตริยญฺจ ผุสติ"

"ก็ถ้าแม้บุรุษเป็นลูกหญิงแพศยา (โสเภณี) ไม่ทราบว่า ผู้นี้เป็นบิดาของเรา เขาเกิดด้วยน้ำสมภพ (หมายถึงน้ำอสุจิ) ของชายใด และชายนั้นอันเขาฆ่าแล้ว ย่อมถึงความนับว่าเป็นผู้ฆ่าบิดาเหมือนกัน ย่อมถูกอนันตริยกรรมด้วย."

อรรถกถาจารย์ ท่านประสงค์จะแสดงเพื่อชี้ให้เห็น เช่น กรณีที่บุตรไม่มีโอกาสรู้ว่าใครคือบิดา จึงยกตัวอย่างบุตรของหญิงโสเภณี (ซึ่งไม่อาจระบุว่าชายใดเป็นผู้ให้กำเนิดบุตร) บุตรหญิงโสเภณีนั้น เมื่อฆ่าชายผู้ให้กำเนิดตนแล้ว ก็ยังไม่มีโอกาสรู้ว่าเป็นบิดาของตน ถึงไม่รู้ต้นจนปลาย ท่านก็วินิจฉัยว่า "ย่อมถูกอนันตริยกรรม"


แก้ไขล่าสุดโดย ภูพิงค์ เมื่อ 15 มี.ค. 2011, 13:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2011, 05:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภูพิงค์ เขียน:
โฮฮับ เขียน:
BENZiNE เขียน:
โฮฮับ เขียน:

กรรมหรือการกระทำใด ไม่ว่าศีลหรือข้อกฎหมายถ้าขาดเจตนา
ความผิดนั้นไม่ครบองค์ประกอบ

ขยายความหน่อยครับ สรุปว่ากรรมของนางเอกเป็นกรรมแบบไหนครับ ??


ที่นี้เรามาดูซิครับว่า นางเอกคนนั้นมีจุดมุ่งหมายอะไร ผมไม่กล่าวในรายละเอียดเพราะไม่เคยดู
เอาจากที่คุณบอกว่า โดนหลอก ไม่รู้ว่าเป็นพ่อ อันนี้ก็ไม่เข้าหลักเกณท์ในเรื่องของอนันตริยกรรม
เพราะไม่ได้มีเจตนาที่พ่อ มีความจงใจฆ่าเพื่อเหตุอื่นไม่ใช่ฆ่าพ่อตัวเอง


ตรงส่วนสีแดงนี้วินิจฉัยผิด จะแสดงให้เห็นชัด ดังนี้
วินิจฉัยผู้ที่ฆ่าบิดาโดยไม่รู้ว่าเป็นบิดา

ท่านภูพิงค์ครับ ที่ท่านยกมามันเป็นส่วนคำพูดเพียงสั้นๆ ยังไม่ได้ขยายความให้ละเอียดนะครับ
เป็นการบอกผ่านๆเพราะไม่เคยดูหนังที่จขกทนำมาถาม
แต่ผมก็มาแสดงความเห็นวินิจฉัยแบบละเอียดตอนที่คุยกับท่านแล้ว
กรุณาหยิบยกมาให้หมดซิครับ
อย่าทำแบบที่กำลังทำอยู่ คือการตัดทอนต่อเติมพุทธพจน์
หรือแม้กระทั่งคำอรรถาจารย์ที่ท่านนำมาลง

คำตอบก่อนหน้าของผมมีแบบนี้..
โฮฮับ เขียน:
ที่นี้เรามาดูซิครับว่า นางเอกคนนั้นมีจุดมุ่งหมายอะไร ผมไม่กล่าวในรายละเอียดเพราะไม่เคยดู
เอาจากที่คุณบอกว่า โดนหลอก ไม่รู้ว่าเป็นพ่อ อันนี้ก็ไม่เข้าหลักเกณท์ในเรื่องของอนันตริยกรรม
เพราะไม่ได้มีเจตนาที่พ่อ มีความจงใจฆ่าเพื่อเหตุอื่นไม่ใช่ฆ่าพ่อตัวเอง


อันนี้เป็นการขยายความเพิ่มเติม ไม่ได้แย้งพระไตรปิฎก
สมมุติในมุมกลับ นางเอกคนนี้ ได้รับการเลี้ยงดูมาจากคนอื่น และเข้าใจว่า
คนที่เลี้ยงเป็นพ่อของตัวเอง ถ้านางเอกคนนี้ไปฆ่าชายคนนี้ด้วยสาเหตุใดก็ตาม
นางเอกคนนี้ก็เข้าข่าย อนันตริยกรรมนะครับ มันเป็นไปตามกฎแห่ง การยึดมั่นถือมั่นของจิต

ท่านภูพิงค์ที่ผมบอกไม่เข้าข่ายอนันตริยกรรม จากคำพูดนี้ครับมันเป็นไปตามกฎแห่ง การยึดมั่นถือมั่นของจิต
ความหมายก็คือ เมื่อจิตยังไม่รู้ ผลกรรมกรรมที่ว่าก็ยังไม่มี ต่อเมื่อจิตรู้ภายหลัง
จิตจึงเข้าไปยึดหรือไม่ยึด ในสิ่งที่รู้ภายหลังครับ
ฉะนั้นความสำคัญ มันไม่ได้อยู่ก่อนกระทำหรือขณะลงกระทำ
แต่มันอยู่ที่ เวลาหลังจากได้กระทำไปแล้ว จะรู้ความจริงนั้นมั้ยครับ อย่าลืมครับว่า
ทุกข์เกิดที่จิต วิบากก็เกิดที่จิต แล้วเราทุกข์เพราะอะไรถ้าไม่ใช่การยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งที่ไปรู้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2011, 05:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภูพิงค์ เขียน:
[ตรงส่วนสีแดงนี้วินิจฉัยผิด จะแสดงให้เห็นชัด ดังนี้

วินิจฉัยผู้ที่ฆ่าบิดาโดยไม่รู้ว่าเป็นบิดา

ลูกฆ่าพ่อโดยไม่รู้ว่าเป็นพ่อ และพ่อที่ถูกฆ่านั้นก็ไม่รู้จักว่าเป็นลูก เช่นนี้จะเป็นอนันตริยกรรมได้หรือไม่?

ข้อนี้แก้ว่า แม้จะไม่รู้จักว่าเป็นพ่อเป็นลูกกัน แต่โดยสภาวะที่แท้จริงแล้ว ผู้ฆ่ากับผู้ถูกฆ่าก็เป็นพ่อเป็นลูกกัน ฉะนั้นจึงจัดเป็นอนันตริยกรรม ดังที่ท่านอรรถกถาจารย์แสดงไว้ ปรากฏในอรรถกถา พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ หน้า ๓๒๗ - ๓๒๘ ความว่า

"สเจปิ หิ เวสิย ปุตฺโต โหติ อยํ เย ปิตาติ น ชานาติ ยสฺส สมฺภเวน นิพฺพตฺโต ปิตา โส เจ อเนน ฆาติโต ปิตุฆาตโกเตวฺว สงฺขยํ คจฺฉติ อานนฺตริยญฺจ ผุสติ"

"ก็ถ้าแม้บุรุษเป็นลูกหญิงแพศยา (โสเภณี) ไม่ทราบว่า ผู้นี้เป็นบิดาของเรา เขาเกิดด้วยน้ำสมภพ (หมายถึงน้ำอสุจิ) ของชายใด และชายนั้นอันเขาฆ่าแล้ว ย่อมถึงความนับว่าเป็นผู้ฆ่าบิดาเหมือนกัน ย่อมถูกอนันตริยกรรมด้วย."

ท่านกล่าวถึงสภาวะก็ดีแล้วครับ ที่ท่านบอกสภาวะที่แท้จริง
ผมก็ไม่รู้ว่าสภาวะที่แท้จริงที่ท่านกล่าวอ้างมันคืออะไร

แต่สภาวะที่ผมจะบอกมันคือ สิ่งที่เกิดที่จิต มันเกิดจากความรู้สึกไปรับรู้ของอายตนะครับ
การจะรู้หรือไม่รู้เรื่องในอดีต มันเป็นสภาวะที่เรียกว่า สัญญา
ถ้าไม่เคยรู้ว่าพ่อจริงๆเป็นใคร มันก็ไม่มีสัญญาในส่วนนี้
แต่ถ้าได้รับรู้มาว่าใครเป็นพ่อ จะจริงหรือไม่ ความเป็นพ่อก็จะเป็นสัญญาครับ
มันจะจริงหรือไม่ มันไม่สำคัญ แต่สัญญาที่เป็นสภาวะมันเป็นจริงครับ


ภูพิงค์ เขียน:
ดังที่ท่านอรรถกถาจารย์แสดงไว้ ปรากฏในอรรถกถา พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ หน้า ๓๒๗ - ๓๒๘ ความว่า

"สเจปิ หิ เวสิย ปุตฺโต โหติ อยํ เย ปิตาติ น ชานาติ ยสฺส สมฺภเวน นิพฺพตฺโต ปิตา โส เจ อเนน ฆาติโต ปิตุฆาตโกเตวฺว สงฺขยํ คจฺฉติ อานนฺตริยญฺจ ผุสติ"

"ก็ถ้าแม้บุรุษเป็นลูกหญิงแพศยา (โสเภณี) ไม่ทราบว่า ผู้นี้เป็นบิดาของเรา เขาเกิดด้วยน้ำสมภพ (หมายถึงน้ำอสุจิ) ของชายใด และชายนั้นอันเขาฆ่าแล้ว ย่อมถึงความนับว่าเป็นผู้ฆ่าบิดาเหมือนกัน ย่อมถูกอนันตริยกรรมด้วย."

ท่านครับคำวินิจฉัยของท่าน มันก็อีหรอบเดิมนั้นแหล่ะครับ ผมไม่เห็นจะกล่าว
ไว้เลยว่าในตอนสุดท้าย รู้หรือไม่รู้ว่าเป็นพ่อ
แบบนี้เขาไม่เรียกวินิจฉัย เขาเรียกแปลบทความครับ

ไอ้เรื่องที่ท่านเอามาอ้าง ถึงการเป็นพ่อลูกกับแม่ที่เป็นโสเภนี มันเป็นเรื่องทางกาย
แต่ความเป็นจริง การเป็นพ่อลูกมันต้องมีจิตเป็นประธาน

ชาติปัจจุบัน ถ้าจิตไม่มีสัญญาแห่งการเป็นพ่อลูกมันก็ไม่มีความรู้สึกเป็นพ่อลูก
คนเราตายแล้วเกิด เกิดแล้วตายมากี่ชาติต่อกี่ชาติ อาจเคยเป็นพ่อลูกกันมาก่อน

การเกิดการตาย เขาหมายถึงจิตของใครก็ของคนนั้น จิตไม่ได้เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแค่กาย
จิตชาติก่อนเป็นอย่างไร เชื้อมันก็ส่งต่อมายังจิตชาติปัจจุบัน ความหมายก็คือจิตดวงเดิม
ผมถามท่านครับ เป็นแบบนี้แล้ว คนเคยเป็นพ่อลูกกันชาติก่อนแต่กรรมพามาให้เกิดเป็น
ทหารที่อยู่คนละฝั่งต้องประหัสประหารกัน แบบนี้ไม่เป็นอนันตริยกรรมหรือครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2011, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 22:56
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
BENZiNE เขียน:
โฮฮับ เขียน:

กรรมหรือการกระทำใด ไม่ว่าศีลหรือข้อกฎหมายถ้าขาดเจตนา
ความผิดนั้นไม่ครบองค์ประกอบ

ขยายความหน่อยครับ สรุปว่ากรรมของนางเอกเป็นกรรมแบบไหนครับ ??


ที่นี้เรามาดูซิครับว่า นางเอกคนนั้นมีจุดมุ่งหมายอะไร ผมไม่กล่าวในรายละเอียดเพราะไม่เคยดู
เอาจากที่คุณบอกว่า โดนหลอก ไม่รู้ว่าเป็นพ่อ อันนี้ก็ไม่เข้าหลักเกณท์ในเรื่องของอนันตริยกรรม
เพราะไม่ได้มีเจตนาที่พ่อ มีความจงใจฆ่าเพื่อเหตุอื่นไม่ใช่ฆ่าพ่อตัวเอง


อันนี้เป็นการขยายความเพิ่มเติม ไม่ได้แย้งพระไตรปิฎก
สมมุติในมุมกลับ นางเอกคนนี้ ได้รับการเลี้ยงดูมาจากคนอื่น และเข้าใจว่า
คนที่เลี้ยงเป็นพ่อของตัวเอง ถ้านางเอกคนนี้ไปฆ่าชายคนนี้ด้วยสาเหตุใดก็ตาม
นางเอกคนนี้ก็เข้าข่าย อนันตริยกรรมนะครับ
มันเป็นไปตามกฎแห่ง การยึดมั่นถือมั่นของจิต


ตรงส่วนสีน้ำเงินนี้ก็วินิจฉัยผิด

จะได้แสดงให้เห็นต่อไป ดังนี้

ปิตุฆาตอนันตริยกรรม นั้น หมายเอา การที่มนุษย์ฆ่าบิดาบังเกิดเกล้า (คือ เจ้าของน้ำสมภพ หรือน้ำอสุจิที่เป็นเชื้อให้เกิด) ที่เป็นมนุษย์เท่านั้น การฆ่าบิดาเลี้ยง บิดาบุญธรรม บิดาของสามี ไม่สำเร็จเป็นอนันตริยกรรม

ดังพระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาศ ญาณวโร) ป.ธ. ๙ ผู้เป็นพระวิปัสนาจารย์ แตกฉานพระไตรปิฎก ชำนาญทั้งคันธถุระและวิปัสนาธุระ ท่านแสดงอรรถาธิบายไว้ ในหนังสือ กรรมทีปนี ความว่า

มาตุฆาต คือ การฆ่าแม่บังเกิดเกล้า เท่านั้น แม่เลี้ยง แม่บุญธรรม แม่ยาย ไม่เข้าข่ายเป็นมาตุฆาต และต้องเป็นการฆ่าของลูกมนุษย์ต่อแม่มนุษย์เท่านั้น การที่สัตว์เดรัจฉานฆ่าพ่อแม่ของตนนั้นไม่จัดเป็นอนันตริยกรรม การฆ่าแม่นั้นถึงแม้ว่าจะสำคัญผิดหรือไม่รู้ก็จัดเป็นอนันตริยกรรม
ปิตุฆาต หรือการฆ่าพ่อบังเกิดเกล้า นัยเดียวกันกับ มาตุฆาต”

แต่การฆ่านั้นเป็นสิ่งทารุณ โดยเฉพาะการฆ่าผู้มีพระคุณเป็นโทษหนัก


แก้ไขล่าสุดโดย ภูพิงค์ เมื่อ 15 มี.ค. 2011, 23:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2011, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


yuy เขียน:
ถึงจะเป็นความไม่รู้ก็ต้องเป็นอนันตริยกรรมอยู่แล้วก็เพราะฆ่าบิดาก็เป็นเพราะความไม่รู้นั่นเอง
กรรมจะทำหน้าที่ของมันไปตามกฎ ส่วนมนุษย์จะอ้างอย่างไรก็แล้วแต่
ถึงลูกจะไม่ได้ฆ่าพ่อแม่แต่ได้ทำบาปกับท่านเอาไว้ เช่น ชอบเถียงว่าพ่อแม่ นินทาพ่อแม่
แล้ววันนึงลูกเกิดสำนึกผิดขึ้นมาก็ไปกราบเท้าขอขมากับท่านทั้ง 2 ซึ่งก็แน่นอนว่าท่านก็จะให้อภัยลูก เพราะจริง ๆท่านไม่ได้โกรธลูกแต่เพียงเสียใจกับการกระทำของลูกเท่านั้น การกระทำของลูกแบบนั้นเป็นเพียงแค่การชำระจิตของตนให้กลับมาใสเหมือนเดิมเท่านั้น แต่เรื่องของกฎแห่งกรรมที่ลูกได้ทำบาปกับพ่อแม่เอาไว้ก็ยังมีผลอยู่ เพียงแต่จะช้าหรือเร็วก็เท่านั้น ถ้าเป็นอย่างในหนังที่กล่าวมาแล้วถึงจะเป็นพ่อเราหรือไม่ใช่จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ก็ไม่ควรจะฆ่าคนอยู่แล้ว เพราะอย่างไรมันก็คือบาป และถ้าคนนั้นเป็นพ่อของเราถึงจะไม่รู้ก็บาปเป็นอนันตริยกรรมแน่นอน เพราะฉะนั้นอย่าฆ่าใครเลยดีกว่ารวมถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลกนี้ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม :b25:


ภูพิงค์ เขียน:

จะได้แสดงให้เห็นต่อไป ดังนี้

ปิตุฆาตุอนันตริยกรรม นั้น หมายเอา การที่มนุษย์ฆ่าบิดาบังเกิดเกล้า (คือ เจ้าของน้ำสมภพ หรือน้ำอสุจิที่เป็นเชื้อให้เกิด) ที่เป็นมนุษย์เท่านั้น การฆ่าบิดาเลี้ยง บิดาบุญธรรม บิดาของสามี ไม่สำเร็จเป็นอนันตริยกรรม

ดังพระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาศ ญาณวโร) ป.ธ. ๙ ผู้เป็นพระวิปัสนาจารย์ แตกฉานพระไตรปิฎก ชำนาญทั้งคันธถุระและวิปัสนาธุระ ท่านแสดงอรรถาธิบายไว้ ในหนังสือ กรรมทีปนี ความว่า

มาตุฆาต คือ การฆ่าแม่บังเกิดเกล้า เท่านั้น แม่เลี้ยง แม่บุญธรรม แม่ยาย ไม่เข้าข่ายเป็นมาตุฆาต และต้องเป็นการฆ่าของลูกมนุษย์ต่อแม่มนุษย์เท่านั้น การที่สัตว์เดรัจฉานฆ่าพ่อแม่ของตนนั้นไม่จัดเป็นอนันตริยกรรม การฆ่าแม่นั้นถึงแม้ว่าจะสำคัญผิดหรือไม่รู้ก็จัดเป็นอนันตริยกรรม
ปิตุมาต หรือการฆ่าพ่อบังเกิดเกล้า นัยเดียวกันกับ มาตุฆาต”

แต่การฆ่านั้นเป็นสิ่งทารุณ โดยเฉพาะการฆ่าผู้มีพระคุณเป็นโทษหนัก


smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2011, 04:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภูพิงค์ เขียน:
โฮฮับ เขียน:
BENZiNE เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรรมหรือการกระทำใด ไม่ว่าศีลหรือข้อกฎหมายถ้าขาดเจตนา
ความผิดนั้นไม่ครบองค์ประกอบ

ขยายความหน่อยครับ สรุปว่ากรรมของนางเอกเป็นกรรมแบบไหนครับ ??


ที่นี้เรามาดูซิครับว่า นางเอกคนนั้นมีจุดมุ่งหมายอะไร ผมไม่กล่าวในรายละเอียดเพราะไม่เคยดู
เอาจากที่คุณบอกว่า โดนหลอก ไม่รู้ว่าเป็นพ่อ อันนี้ก็ไม่เข้าหลักเกณท์ในเรื่องของอนันตริยกรรม
เพราะไม่ได้มีเจตนาที่พ่อ มีความจงใจฆ่าเพื่อเหตุอื่นไม่ใช่ฆ่าพ่อตัวเอง


อันนี้เป็นการขยายความเพิ่มเติม ไม่ได้แย้งพระไตรปิฎก
สมมุติในมุมกลับ นางเอกคนนี้ ได้รับการเลี้ยงดูมาจากคนอื่น และเข้าใจว่า
คนที่เลี้ยงเป็นพ่อของตัวเอง ถ้านางเอกคนนี้ไปฆ่าชายคนนี้ด้วยสาเหตุใดก็ตาม
นางเอกคนนี้ก็เข้าข่าย อนันตริยกรรมนะครับ
มันเป็นไปตามกฎแห่ง การยึดมั่นถือมั่นของจิต


ตรงส่วนสีน้ำเงินนี้ก็วินิจฉัยผิด

ท่านครับกรุณาใช้วิจารณญาณหน่อยซิครับ อย่าลืมครับว่ามันเป็นการวินิจฉัย
ไม่ใช่เป็นการบอกกล่าวของพระพุทธเจ้า ท่านจะมาชี้คนนี้ถูกคนนั้นผิด ผมว่ามันขาดมรรยาทไปนะครับ
อีกทั้งการมาตัดทอนคำพูดในส่วนสำคัญของอีกฝ่ายออก แล้วบอกว่า คำวินิจฉัยของเขาผิดผมว่า
มันไม่ถูกครับ มันผิดทั้งทางโลกและทางธรรม มันเป็นเล่ห์เหลียม ไม่สมควรใช้ในการสนทนาธรรมครับ
ที่ท่านบอกว่า
ภูพิงค์ เขียน:
ตรงส่วนสีน้ำเงินนี้ก็วินิจฉัยผิด

ที่ว่ามันผิดมันผิดจากตรงไหน ผิดจากอะไรหรือครับ ก็แค่เห็นต่าง มีเหตุผลมาอธิบาย
เพิ่มจากของท่าน แต่ท่านกลับใช้เล่ห์ตัดทอนมันออกไป เช่นคำว่า
มันเป็นไปตามกฎแห่งการยึดมั่นถือมั่นของจิต
ถ้าเป็นแบบนี้ผมก็ต้องกล่าวหาในส่วนของท่านบ้างล่ะครับว่า
ท่านหรือบุคคลที่ท่านอ้างรู้เท่าที่รู้ ใครรู้เกินกว่าตัวผิด

ท่านครับศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งเหตุและผล ไม่มีพระเจ้า ไม่มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาร
ถ้าเป็นเรื่องทางธรรมแล้วไม่มีใครสามารถกำหนดโทษเราได้ นอกจากตัวเราหรือจิตเราเอง
ซึ่งผมก็บอกและย้ำนักย้ำหนาว่า มันเป็นเรื่องการยึดมั่นของจิต ไม่เช่นนั้นพระพุทธเจ้าจะสอน
เรื่องการเลิกยึดมั่นเป็นหนทางแห่งนิพพานทำไม
ท่านภูพิงค์ครับ ผมขอร้องท่านจะอธิบายอะไรไม่ว่า กรุณาอย่าดึงพระธรรมให้เป็นเรื่อง
ความงมงายขาดเหตุผลครับ มันไม่ใช่หลักการของศาสนาพุทธครับ
อีกอย่างถ้าเป็นในลักษณะของท่าน ผมว่าปานนี้องคุลีมาลยังใช้กรรมไม่หมดหรอกครับ
ฆ่าคนมาเท่าไรต่อเท่าไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2011, 05:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภูพิงค์ เขียน:
จะได้แสดงให้เห็นต่อไป ดังนี้
ปิตุฆาตุอนันตริยกรรม นั้น หมายเอา การที่มนุษย์ฆ่าบิดาบังเกิดเกล้า (คือ เจ้าของน้ำสมภพ หรือน้ำอสุจิที่เป็นเชื้อให้เกิด) ที่เป็นมนุษย์เท่านั้น การฆ่าบิดาเลี้ยง บิดาบุญธรรม บิดาของสามี ไม่สำเร็จเป็นอนันตริยกรรม

ผมก็ขอย้ำเหมือนเดืมว่า แล้วเขารู้หรือเปล่าทั้งก่อนหน้าและหลังการกระทำว่า
คนที่เขาฆ่าหรือฆ่าผิดตัวเป็นใคร


มันมีประโยคหนึ่งของท่านที่ยกมาบอกว่าที่เป็นมนุษย์เท่านั้น เดี๋ยวผมจะชี้
ให้ดูในตอนท้ายว่าทำไมต้องเน้นว่าที่เป็นมนุย์เท่านั้น

ภูพิงค์ เขียน:
จะได้แสดงให้เห็นต่อไป ดังนี้
ดังพระธรรมธีรราชมหามุนี (วิลาศ ญาณวโร) ป.ธ. ๙ ผู้เป็นพระวิปัสนาจารย์ แตกฉานพระไตรปิฎก ชำนาญทั้งคันธถุระและวิปัสนาธุระ ท่านแสดงอรรถาธิบายไว้ ในหนังสือ กรรมทีปนี ความว่า

ก็ตามที่ผมบอกล่ะครับว่า ท่านก็อธิบายในส่วนที่รู้ หรืออธิบายไปตามตัวหนังสือ
ประโยคเป็นเช่นไรท่านก็แปลไปตามนั้น มันเป็นปริยัติ
ลักษณะการแปลบทความของท่านเป็นการแปลไปที่ละบท แต่ในส่วนที่ผมกล่าว
มันเป็นผลการปฏิบัติซึ่งมันไกลกว่า แล้วก็มีอยู่ในพระไตรปิฎกเช่นกัน
ปัญหามันอยู่ตรงที่ท่านภูพิงค์เลือกเอาส่วน
ที่สนับสนุนความเห็นท่านภูพิงค์มาโพสมันก็แค่นั้นเอง

ภูพิงค์ เขียน:
มาตุฆาต คือ การฆ่าแม่บังเกิดเกล้า เท่านั้น แม่เลี้ยง แม่บุญธรรม แม่ยาย ไม่เข้าข่ายเป็นมาตุฆาต และต้องเป็นการฆ่าของลูกมนุษย์ต่อแม่มนุษย์เท่านั้น การที่สัตว์เดรัจฉานฆ่าพ่อแม่ของตนนั้นไม่จัดเป็นอนันตริยกรรม การฆ่าแม่นั้นถึงแม้ว่าจะสำคัญผิดหรือไม่รู้ก็จัดเป็นอนันตริยกรรม
ปิตุมาต หรือการฆ่าพ่อบังเกิดเกล้า นัยเดียวกันกับ มาตุฆาต”
แต่การฆ่านั้นเป็นสิ่งทารุณ โดยเฉพาะการฆ่าผู้มีพระคุณเป็นโทษหนัก

ท่านภูพิงค์ครับ ท่านเห็นประโยคของท่านที่กล่าวว่า"สัตว์เดรัจฉานฆ่าพ่อแม่ของตนนั้นไม่จัดเป็นอนันตริยกรรม
ท่านรู้หรือเปล่าครับ ทำไมท่านต้องเอาเรื่องของสัตว์มากล่าวไว้ ในเรื่องอนันตริยกรรม
ผมจะบอกให้ครับว่า ที่ต้องเรื่องของสัตว์มาด้วย เพื่อชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างคนกับสัตว์
สัตว์ไม่มีปัญญาแต่ก็ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นด้วย ส่วนคนหรือมนุษย์มีปัญญาและความยึดมั่นถือมั่น

สัตว์มันไม่รู้ว่าอะไรคือพ่อแม่ มันไม่รู้จักการแบ่งแยก จิตของสัตว์มีแค่
การดำรงค์ชีวิตและเผยแพร่เผ่าพันธุ์เท่านั้น การกระทำของมันปราศจากการยึดมั่นเพราะ
มันไม่รู้จักความเป็นพ่อเป็นแม่ ด้วยเหตุนี้มันฆ่าพ่อแม่มันก็ไม่ผิดอนันตริยกรรม เพราะว่ามัน
ไม่รู้จักคำว่าพ่อแม่ ไม่รู้จักการยึดมั่นถือมั่น


ส่วนคนต่างจากสัตว์ คนเมื่อรู้อะไรจิตก็จะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นและปรุงแต่ง
คนได้รับการอบรมตั้งแต่เกิดถึงเรื่อง ความเป็นพ่อเป็นแม่ การกตัญญูรู้คุณ
ได้รับการสั่งสอนว่า การฆ่าพ่อฆ่าแม่เป็นอนันตริยกรรม คนที่ได้รับการสั่งสอน
ก็จะเก็บส่วนนี้ไว้เป็นสัญญาความจำ เมื่อได้กระทำกรรมดังว่าไป
สัญญาจะแสดงให้เห็นว่า กรรมที่ทำมันผิด แล้วการปรุงแต่งจะแสดงผลแห่งวิบากให้เห็นครับ


สรุปในส่วนนี้ที่มีเรื่องของสัตว์มาเกี่ยวข้องก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า สัตว์ไม่จักคำว่าพ่อแม่
ไม่รู้จักความผูกพันธ์ของพ่อแม่ ความหมายก็คือ สัตว์ไม่รู้ว่าใครเป็นพ่อเป็นแม่ เมื่อฆ่าพ่อแม่ตัวเอง
มันจึงไม่ผิดอนันตริยกรรมครับ ดังนั้นเมื่อคนไม่รู้ว้าใครเป็นพ่อแม่ย่อมไม่ผิดอนันตริยกรรม
ผิดแค่ข้อปาณาฯ แต่ต่อมารู้ในภายหลังว่าเป็นพ่อแม่ จิตย่อมเข้าไปยึด
วิบากเรื่อง อนันตริยกรรม ย่อมเกิดตามมาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2011, 08:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 22:56
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาเรื่อง รู้หรือไม่รู้มีความสำคัญอย่างไร

ทำลงไป โดยไม่รู้ว่าบาป จะได้รับผลหรือไม่?
ไม่รู้จักบาป ทั้งก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำเสร็จแล้วก็ยังไม่รู้ จะยังได้รับวิบากโทษหรือไม่?

คำตอบของเรื่องนี้ มีให้พิจารณา ดังแสดงในมิลินทปัญหา วรรคที่ ๗ ปัญหาที่ ๑๐ ความว่า

ปัญหาที่ ๑๐ ถามถึงการทำบาปแห่งผู้รู้กับผู้ไม่รู้


พระเจ้ามิลินท์ (ม): "ข้าแต่พระนาคเสน สมมุติว่ามีคน ๒ คน คนหนึ่งรู้จักบาป อีกคนหนึ่งไม่รู้จัก แต่กระทำบาปด้วยกันทั้งสองคน ข้างไหนจะได้บาปมากกว่ากัน?"
พระนาคเสน (น): "ขอถวายพระพร ข้างไม่รู้จักได้บาปมากกว่า"
ม: "ข้าแต่พระนาคเสน ราชบุตรของโยมหรือราชมหาอำมาตย์คนใดรู้ แต่ทำผิดลงไป โยมลงโทษแก่ผู้นั้นเป็นทวีคูณ"
น: "ขอถวายพระพร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนี้อย่างไร คือสมมุติว่ามีคน ๒ คน จับก้อนเหล็กแดง (เพราะถูกเผาจนร้อน) เหมือนกัน คนหนึ่งรู้ว่าเป็นก้อนเหล็กแดง อีกคนหนึ่งไม่รู้ คนไหนจะจับแรงกว่ากัน?"
ม: "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คนไม่รู้จับแรงกว่า"
น: "ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือผู้ไม่รู้จักบาปได้บาปมากกว่า"
ม: "ชอบแล้ว พระนาคเสน"

ผมได้แสดงธรรมมาพอสมควรแก่เวลา จึงขอสมมุติยุติลง ณ ขณะนี้ สาธุชนพึงใคร่ครวญให้ดีด้วยสติปัญญา พิจารณาหาเหตุผล จักเป็นกุศลนิสัยปัจจัยแห่งพระนิพพานสืบไปในภายภาคหน้า

เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2011, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภูพิงค์ เขียน:
ปัญหาเรื่อง รู้หรือไม่รู้มีความสำคัญอย่างไร

ทำลงไป โดยไม่รู้ว่าบาป จะได้รับผลหรือไม่?
ไม่รู้จักบาป ทั้งก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำเสร็จแล้วก็ยังไม่รู้ จะยังได้รับวิบากโทษหรือไม่?

คำตอบของเรื่องนี้ มีให้พิจารณา ดังแสดงในมิลินทปัญหา วรรคที่ ๗ ปัญหาที่ ๑๐ ความว่า

ปัญหาที่ ๑๐ ถามถึงการทำบาปแห่งผู้รู้กับผู้ไม่รู้


พระเจ้ามิลินท์ (ม): "ข้าแต่พระนาคเสน สมมุติว่ามีคน ๒ คน คนหนึ่งรู้จักบาป อีกคนหนึ่งไม่รู้จัก แต่กระทำบาปด้วยกันทั้งสองคน ข้างไหนจะได้บาปมากกว่ากัน?"
พระนาคเสน (น): "ขอถวายพระพร ข้างไม่รู้จักได้บาปมากกว่า"
ม: "ข้าแต่พระนาคเสน ราชบุตรของโยมหรือราชมหาอำมาตย์คนใดรู้ แต่ทำผิดลงไป โยมลงโทษแก่ผู้นั้นเป็นทวีคูณ"
น: "ขอถวายพระพร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนี้อย่างไร คือสมมุติว่ามีคน ๒ คน จับก้อนเหล็กแดง (เพราะถูกเผาจนร้อน) เหมือนกัน คนหนึ่งรู้ว่าเป็นก้อนเหล็กแดง อีกคนหนึ่งไม่รู้ คนไหนจะจับแรงกว่ากัน?"
ม: "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คนไม่รู้จับแรงกว่า"
น: "ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือผู้ไม่รู้จักบาปได้บาปมากกว่า"
ม: "ชอบแล้ว พระนาคเสน"

ผมได้แสดงธรรมมาพอสมควรแก่เวลา จึงขอสมมุติยุติลง ณ ขณะนี้ สาธุชนพึงใคร่ครวญให้ดีด้วยสติปัญญา พิจารณาหาเหตุผล จักเป็นกุศลนิสัยปัจจัยแห่งพระนิพพานสืบไปในภายภาคหน้า

เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

ท่านภูพิงค์ครับ สิ่งที่ท่านนำมาโพส มันคนละเรื่องกับประเด็นที่เรากำลังถกกันอยู่เลยครับ
ท่านเห็นอะไรที่มันคล้ายกันหน่อยท่านก็เอามาอ้างโดยไม่พิจารณาให้ดี ว่าเนื้อหาสื่อไปในทางใด
เรื่องมิลินท์ฯเป็นเรื่องของการไม่เชื่อไม่ศรัทธาในบาปบุญคุณโทษครับ
บาปมันเป็นผลของการกระทำที่ไม่ดีเป็นอกุศล ผู้กระทำรู้ครับว่าอะไรเรียกว่าทำไม่ดี
แต่ไม่รู้ว่าจะมีผลกรรมตอบสนองที่เป็นบาป ความหมายก็คือเขาไม่เชื่อเรื่องบาป
มันต่างกับเรื่องอนันตริยกรรมครับ ของเรามันสำคัญผิดในการกระทำ
แต่ของพระนาคเสนสำคัญผิดในผลของการกระทำ


เรื่องที่จับเหล็กร้อนนั้นก็แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่า คนไม่รู้จักหรือไม่เชื่อเรื่องบาปเรื่องผลของการกระทำ
ย่อมต้องทำไม่ดีทำชั่วมากกว่า คนที่เชื่อเรื่องผลแห่งการกระทำ
เรื่องอนันตริยกรรม ผู้กระทำเชื่อเรื่องบาปและรู้ดีว่าทำอะไรไปจะได้รับผลอย่างไรครับ
มันคนละเรื่อง

และไม่ใช่ว่า คนที่ไม่เชื่อเรื่องกฏแห่งกรรมจะไม่ได้รับผลกรรม อย่างที่เคยบอกมาแล้วว่า
วิบากเกิดจากการที่จิตไปยึดการกระทำของตัวเอง ทำไม่ดีจิตก็ไปยึดสิ่งไม่ดี จะเชื่อไม่เชื่อจิตก็จะปรุงแต่งมาเอง
ฉะนั้นความสำคัญมันอยู่ตรงการกระทำ หรือจิตของผู้กระทำในขณะลงมือ
คือจิตจะไปยึดเอาต้องส่วนที่ตัวเองคิดในขณะลงมือครับ

เรื่องของพระนาคเสนก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ถึงแม้คนที่ไม่รู้เรื่องบาป
แต่ต้องรับกรรมก็เพราะจิตตัวเองรู้หรือเข้าใจว่าทำอะไร
มันก็เหมือนกับเรื่อง ฆ่าพ่อโดยคิดว่าเป็นแพะ ไม่รู้ว่าเป็นพ่อ
ฆ่าแพะโดยคิดว่าเป็นพ่อ ไม่รู้ว่าเป็นแพะ
ดูให้ดีนะครับ 3กรณีมันเหมือนตรงไม่รู้ผลของการกระทำ แต่รู้และคิดว่ากำลังทำอะไรครับ


เอาล่ะครับจบเสียทีก็ดีครับ คุยกันไปผมก็เหนือยคนเดียว เห็นท่านอ้างเรื่องการวินิจฉัยธรรม
ผมไม่เห็นท่านวินิจฉัยอะไรเลย เห็นมีแต่เอาคำแปลบาลีของผู้อื่นมาโพส แล้วบอกเป็นคำวินิจฉัย
ยิ่งเป็นตัวท่านแล้ว ยิ่งห่างไกลกับคำว่าวินิจฉัยเพราะไม่เคยเห็นท่านวิจารณ์ความเห็นผมเลย
มีแต่บอกว่าไม่ใช่ ๆๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2011, 00:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ชอบแล้วๆ คุณภูพิงค์ สาธุๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2011, 04:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
ชอบแล้วๆ คุณภูพิงค์ สาธุๆ

สังโยชน์คือ กิเลสที่คอยผูกมัดใจสัตว์หรือธรรมที่มัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์

สังโยชน์สาม กิเลส3ตัวแรกของปุถุชน
1.สักกายทิฐิ 2.วิจิกิจฉา 3.ศีลัพพตรปรามาส

1.สักกายทิฐิ คือ มีการยึดมั่นว่ากาย ใจนี้เป็นของเรา ความหมายในที่นี้คือ
คนที่มีความยึดมั่นแต่ไม่รู้ไม่เข้าใจว่า ความยึดมั่นคืออะไร ไม่เข้าใจว่าเหตุแห่งทุกข์คืออะไร
ไม่รู้ว่าผลของการกระทำที่เรียกว่าบาปคืออะไรและไม่รู้ว่าเหตุที่มาเกิดจากอะไร

2.วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยในพระรัตนไตร โดยเฉพาะพระธรรม ในที่นี้หมายถึง
มีศรัทธาแต่ขาดปัญญาในหาเหตุที่มาแห่งธรรม ปฏิบัติธรรมไปตามบทหรือตำราที่อ่านตามตัวอักษร
ไม่รู้จักการพิจารณาธรรม หาเหตุผลของพระธรรมนั้นๆ

3. ศีลัพพตรปรามาส คือ การยึดมั่นถือมั่นในศีลข้อบังคับแบบผิดๆ ถือศีลในลักษณะที่งมงาย ในที่นี้คือ
การไม่เข้าใจในสภาวะธรรมตามความเป็นจริง ปฏิบัติไปตามความเชื่อที่สอนกันมา ไม่รู้จักการใช้ธรรม
ให้ตรงกับสภาวะที่เป็นจริง

ท่านชาติสยามครับ ท่านลองไปหาดูในตัวผมกับท่านภูพิงค์ดูซิครับ
แล้วก็พิจารณาตัวเองดูด้วยครับว่ามีบ้างหรือเปล่า ถ้าไม่มีก็อนุโมทนาด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2011, 00:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เห็นเกี่ยวอะไรกับการเป้นโสดาไม่เป้นโสดาเลยครับ ไม่เกี่ยวกับสังโยชน์
เราเห้นด้วย เราก็ว่าเราเห็นด้วย
เราไม่เห้นด้วย ก็ว่าไม่เห็นด้วย
ก็เท่านั้นเองครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร