ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
ว่าด้วยจิตเกิดดับ http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=37822 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 4 |
เจ้าของ: | mes [ 19 เม.ย. 2011, 11:22 ] |
หัวข้อกระทู้: | ว่าด้วยจิตเกิดดับ |
Quote Tipitaka: [๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อย กิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใดร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ บ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉัน นั้นแล ฯ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๒๕๑๙ - ๒๕๖๖. หน้าที่ ๑๐๔ - ๑๐๕. http://www.84000.org/tipitaka/book/v.ph ... agebreak=0 ด้วยความเคารพต่อตนเองครับ ผมเข้าใจว่าร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ บ้าง ผมหมายถึงคนเรานี่แหละ จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉัน นั้นแล โลกนี้มีคน(อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ บ้าง ) นับพันล้านคน((อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ บ้าง ) ฉนั้นจิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน หมายถึงในโลกนี้มีทั้งคนเกิดและคนตายตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ได้หมายถึงดวงจิตในตัวคนคนเดียว เพราะไม่มีกล่าวเอาไว้ ผมจึงแปลเช่นนี้ สนทนากันน่ะครับ อย่าซีเรียส ไม่ต้องโกรธกัน ถ้าผมผิดก็รับได้ครับ |
เจ้าของ: | mes [ 19 เม.ย. 2011, 14:01 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ว่าด้วยจิตเกิดดับ |
หมายถึงที่เกิดดับไม่ใช่จิต แต่เป็นเจตสิก |
เจ้าของ: | อรูปะ [ 19 เม.ย. 2011, 14:06 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ว่าด้วยจิตเกิดดับ |
ผู้ที่บรรลุ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ จึงจะสามารถตอบคำถามนี้ ได้อย่างทะลุปรุโปร่งครับ |
เจ้าของ: | ผงธุลีดิน [ 19 เม.ย. 2011, 17:34 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ว่าด้วยจิตเกิดดับ |
เข้าไปอ่านมาแล้ว ใน สังยุตตนิกาย นิทานวรรค มหาวรรคที่ ๗ ๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑ อันนี้ผมเข้าใจว่า ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ เมื่อเรายึดถือเอาว่าร่างกายนี้เป็นเราเป็นตัวตนของเรา เห็นชอบกว่า การยึดถือว่าจิตนี้เป็นเรานั้น หาชอบไม่ เมื่อยึดถือว่าร่ายกายนี้เป็นเราแล้ว ความรู้สึกได้ จากการกระทำใดๆ การเคลื่อนไหว พึงเกิดขึ้นได้ เมื่อตอนเราตื่น และ จะไม่มีความรู้สึกได้ว่า เราได้มีการกระทำใดๆ การเคลื่อนไหวนี้พึงเกิดขึ้นได้ ก็เมื่อเวลาเราหลับ เปรียบดังเวลา กลางวันกับกลางคืน จึงเรียก การยึดถือในร่างกายว่านี้เป็นเราเป็นตัวตนของเราโดยชอบแล้ว ในลักษณะนี้ ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ ผมมีความเห็นอย่างนี้ครับ ![]() |
เจ้าของ: | eragon_joe [ 20 เม.ย. 2011, 00:37 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ว่าด้วยจิตเกิดดับ |
ผงธุลีดิน เขียน: ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ เมื่อเรายึดถือเอาว่าร่างกายนี้เป็นเราเป็นตัวตนของเรา เห็นชอบกว่า การยึดถือว่าจิตนี้เป็นเรานั้น หาชอบไม่ เมื่อยึดถือว่าร่ายกายนี้เป็นเราแล้ว ความรู้สึกได้ จากการกระทำใดๆ การเคลื่อนไหว พึงเกิดขึ้นได้ เมื่อตอนเราตื่น และ จะไม่มีความรู้สึกได้ว่า เราได้มีการกระทำใดๆ การเคลื่อนไหวนี้พึงเกิดขึ้นได้ ก็เมื่อเวลาเราหลับ เปรียบดังเวลา กลางวันกับกลางคืน ผมมีความเห็นอย่างนี้ครับ ![]() เห็นต่างได้ใช่มั๊ย เป็น อุปมาอุปมัย มิใช่หมายถึง กลางคืน และ กลางวัน จริง ๆ แต่เป็น สภาวะของ "..." ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับด้านหนึ่งเป็นกลางวัน ด้านหนึ่งเป็นกลางคืน เป็นสิ่งที่แสดงพรมแดนที่แตกต่างกัน เมื่อกลางวันสิ้นสุด กลางคืนก็ปรากฎ ดวงหนึ่งเกิดขึ้น(ที่ด้านกลางคืน) ดวงหนึ่งดับไป(ที่ด้านกลางวัน) แสดงความต่อเนื่องกันก็จริง แต่แฝงความต่อเนื่องที่สะท้อนความไม่ใช่สิ่งเดิม ราวกับว่า สิ่งที่ดับ ไม่ใช่สิ่งเดียวกับสิ่งที่เกิด ทั้ง ๆ ที่มันเป็นอะไรที่ ปรากฎในลิงตัวเดียวที่โหนอยู่ เป็นการกล่าวถึงสภาวะที่พระองค์ได้เข้าไปรับรู้ |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 20 เม.ย. 2011, 00:45 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ว่าด้วยจิตเกิดดับ |
![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | mes [ 20 เม.ย. 2011, 09:32 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ว่าด้วยจิตเกิดดับ |
ความเห็นที่แตกต่างก่อเกิดปัญญามากมาย ทั้งศาสตร์ และ ศิลป ความคิดเห็นที่แตกต่างคือความก้าวหน้าของโลก |
เจ้าของ: | govit2552 [ 20 เม.ย. 2011, 10:51 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ว่าด้วยจิตเกิดดับ |
มีการแปลใหม่แล้วครับ http://www.dhammahome.com/front/webboar ... p?id=16734 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค มหาวรรคที่ ๗ ๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑ [๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-... .. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลาย กำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความ เจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับจึงเบื่อ หน่ายบ้าง คลายกำหนัด บ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายนั้น ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้ สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิต เป็นต้นนั้น ได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้อัน ปุถุชนมิได้สดับรวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฏฐิว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านาน ฉะนั้น ปุถุชน ผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตจิต เป็นต้นนั้นได้เลย... |
เจ้าของ: | ผงธุลีดิน [ 20 เม.ย. 2011, 14:05 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ว่าด้วยจิตเกิดดับ |
มาเรียบเรียงใหม่ครับ เข้าไปอ่านของตัวเองที่โพสไว้ อ่านเองยัง งง เอง ![]() ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอา ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะ เข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปี บ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปี บ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็น ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ ผู้ยึดถือร่างกายนี้เป็นที่ตั้งแห่งตัวตน เป็นตน ของตน นี้คือเรา คือของเรา ร่างกายนี้เป็นเรา เรานี้เป็นร่างกาย เมื่อไม่อาจเห็นเป็นอื่นได้ จึงเห็นก็แต่ร่างกายเท่านี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียก ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง (จึงเรียกร่างกายลักษณะนั้นว่า จิตบ้าง เป็นต้น เพราะผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ เห็นเราเป็นกายเห็นกายเป็นเรา อันหนึ่งเดียวกัน ) เมื่อยึดถือร่างกายอันนั้นเป็นตัวตนของเราโดยแท้ ผู้มีทิฏฐิอย่างนี้จึงเห็นว่า ตนของเรานี้ในกลางวันมีลักษณะอย่างหนึ่ง ตนของเรานี้ในกลางคืนมีลักษณะอย่างหนึ่ง เมื่อตนของเราในกลางวันเกิดขึ้น ตนของเราในกลางคืนก็ดับไป(ไม่มี) เมื่อตนของเราในกลางคืนเกิดขึ้น ตนของเราในกลางวันก็ดับไป(ไม่มี) จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางวันและกลางคืน ฯ ความหมุนรอบ สลับ สับเปลี่ยน ในวันหนึ่งคืนหนึ่ง ล่วงเข้าหนึ่งปี สิบปี ร้อยปี จักมีความตั้งอยู่ ดำรงอยู่ในลักษณะนั้น เปรียบดั่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อย กิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ การเหนี่ยวกิ่งไม้ไปเรื่อย เสมือนยึดเอาร่างกายนี้ เป็นที่ตั้งเป็นที่อาศัย ไม่มีที่สุด ผมจึงมีความเห็นประมาณนี้ครับผม ![]() |
เจ้าของ: | mes [ 20 เม.ย. 2011, 14:47 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ว่าด้วยจิตเกิดดับ |
govit2552 เขียน: มีการแปลใหม่แล้วครับ http://www.dhammahome.com/front/webboar ... p?id=16734 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค มหาวรรคที่ ๗ ๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑ [๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-... .. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลาย กำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความ เจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับจึงเบื่อ หน่ายบ้าง คลายกำหนัด บ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายนั้น ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้ สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิต เป็นต้นนั้น ได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้อัน ปุถุชนมิได้สดับรวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฏฐิว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านาน ฉะนั้น ปุถุชน ผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตจิต เป็นต้นนั้นได้เลย... ขอบพระคุณครับ ![]() ถ้าเป็นอย่างนี้ก็เข้าใจ แต่กลุ่มที่ยึดถือว่า จิตเกิดดับลัดนิ้วมือเดียวบับโกิฎครั้งจะยอมหรือเปล่า |
เจ้าของ: | narapan [ 20 เม.ย. 2011, 18:04 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ว่าด้วยจิตเกิดดับ |
![]() Quote-Tipitaka : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑ [๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น แต่ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเราดังนี้ตลอดกาลช้านาน ฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ [๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ [๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ ย่อมใส่ใจโดยแยบคายด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้น ว่า เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะ ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพ เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข- *โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ อนึ่ง เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ [๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่าย แม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ จบสูตรที่ ๑ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๒๕๑๙ - ๒๕๖๖. หน้าที่ ๑๐๔ - ๑๐๕. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0 |
เจ้าของ: | narapan [ 20 เม.ย. 2011, 18:34 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ว่าด้วยจิตเกิดดับ |
![]() ![]() ![]() [๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น แต่ตถาคตเรียก ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูติทั้ง ๔ นี้ย่อมปรากฏ (ปรากฏไตรลักษณ์ให้เห็น) ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้างในร่างกายนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า จิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิ ว่านั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเราดังนี้ ตลอดกาลช้านานมาหลายภพหลายชาติ ฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตนยังชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตนยังชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรม แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น เป็นนามธรรมไม่ปรากฏให้เห็น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ หมายถึงจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นในภพภูมิหนึ่ง เมื่อดับก็ไปเกิดอีกภพภูมิหนึ่ง กลางวันกลางคืน หมายถึง เปลี่ยนภพภูมิ พระพุทธองค์ จึงทรงอุปมาว่า การยึดเอาร่างกายที่เห็นเป็นรูปธรรมนั้นว่าเป็นตนยังชอบกว่าเพราะเห็นง่ายกว่า [๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ วานรที่เที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม แล้วยึดเอากิ่งใหม่ไปเรื่อยๆ แม้ฉันใด อุปมาดังจิตที่ดับจากภพภูมิหนึ่งไปก็ไปเกิดอีกภพภูมิหนึ่งไปเรื่อยๆ ฉันนั้น (๒๓๓) แต่พระอริยสาวกผู้สดับ ย่อมใส่ใจโดยแยบคายด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า... (๒๓๔) ... ย่อมคลายกำหนัด ... เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | mes [ 20 เม.ย. 2011, 18:48 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ว่าด้วยจิตเกิดดับ |
อ้างคำพูด: ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ หมายถึงจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นในภพภูมิหนึ่ง เมื่อดับก็ไปเกิดอีกภพภูมิหนึ่ง พระพุทธองค์ จึงทรงอุปมาว่าการยึดเอาร่างกายที่เห็นเป็นรูปธรรมนั้นว่าเป็นตนยังชอบกว่า ที่เกิดในภพหนึ่ง เรียกเจตสิกได้ไหมครับ |
เจ้าของ: | narapan [ 20 เม.ย. 2011, 18:54 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ว่าด้วยจิตเกิดดับ |
mes เขียน: อ้างคำพูด: ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ หมายถึงจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นในภพภูมิหนึ่ง เมื่อดับก็ไปเกิดอีกภพภูมิหนึ่ง พระพุทธองค์ จึงทรงอุปมาว่าการยึดเอาร่างกายที่เห็นเป็นรูปธรรมนั้นว่าเป็นตนยังชอบกว่า ที่เกิดในภพหนึ่ง เรียกเจตสิกได้ไหมครับ ![]() ว่าเป็นจิตสังขาร จิตที่มีอวิชา ที่ดับจากภพภูมิหนึ่ง แล้วไปเกิดอีกภพภูมิหนึ่ง |
เจ้าของ: | narapan [ 20 เม.ย. 2011, 19:17 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ว่าด้วยจิตเกิดดับ |
![]() กำลังหาว่า จิตมีเกิดมีดับ หรือว่า จิตไม่เกิดไม่ดับ หรือครับ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 4 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |