ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
เกิด ดับ ในปฏิจจสมุปบาท http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=37860 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 6 |
เจ้าของ: | mes [ 22 เม.ย. 2011, 09:28 ] |
หัวข้อกระทู้: | เกิด ดับ ในปฏิจจสมุปบาท |
เราเถียงกันมานานเรื่อง ชาตินี้ ชาติหน้า สวรรค์ นรก มาปิดตำราอีกครั้ง เอาตามปฏิจจสมุปบาท อะไรเกิด ตอบ วิชชาเกิด อะไรดับ ตอบ อวิชชาดับ อวิชชาคืออะไร ตอบ คืออุปาทานปรุงแต่งไปผิดๆว่านี่คือสุข ทำให้รับรู้ผิดๆ จึงเกิดในภพ หรือที่ที่ตนต้องการเรียกตัญหา แต่ที่แท้จริงมันอยู่บนความทุกข์ทั้งสิ้น ถ้ารู้แจ้งวิชชาเสียแต่แรกก็คงไม่เกิด อย่างนี้เรียกว่าตายก่อนตาย ปฏิจจสมุปบาทในกรณีนี้จึงไม่จำเป็นต้องพิสุจน์สวรรค์ นรก เห็นกันที่ชาตินี้ กรณีปฏิจจสมุปบาทที่เกี่ยวกับสวรรค์ นรก ชาตินี้ ชาติหน้า เอาไว้เป็นข้อศึกษาค้นหาจากการบำเพ็ญธรรมต่อไป |
เจ้าของ: | student [ 22 เม.ย. 2011, 11:07 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เกิด ดับ ในปฏิจจสมุปบาท |
อนุโมทนาครับ ลองบ้างครับผม ปิดตำรา อะไรเกิด คือธรรมที่ผุดขึ้นภายใน ปัญญาเกิดแล้ว วิชชาเกิดแล้ว ความรู้แจ้งสิ้นสงสัยเกี่ยวกับอริยสัจ4 อะไรดับ อวิชชาดับ สังขารจึงดับลงที่ตรงนั้น อวิชชา คือความไม่รู้แจ้งในอริยสัจ4 มีอาสวะ4เป็นเครื่องเคลือบเอาไว้อันได้แก่ ประสาทรับรู้และเสพทั้ง5 คือกาม มีการยึดมั่นในความเป็นตัวตน ความเป็นเรา เป็นเขา ยึดถือตำแหน่งเผ่าพันธ์ คือ ภพ มีความเห็น ประเพณี ความเชื่อตามกันมา เป็นทิฐิ และความไม่รู้ตามความเป็นจริง เป็นอวิชชา |
เจ้าของ: | eragon_joe [ 22 เม.ย. 2011, 22:27 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เกิด ดับ ในปฏิจจสมุปบาท |
viewtopic.php?f=1&t=37822&start=30 narapan เขียน: ๔. อัตถิราคสูตร [๒๔๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเพื่อความดำรงอยู่ของ สัตวโลกที่เกิดมาแล้ว เพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่างนั้น คือ ๑ กวฬิงการาหาร หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง ๒ ผัสสาหาร ๓ มโน- *สัญเจตนาหาร ๔ วิญญาณาหาร อาหาร ๔ อย่างนี้แล เพื่อความดำรงอยู่ของสัตว โลกที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ [๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความ ทะยานอยาก มีอยู่ในกวฬิงการาหารไซร้ วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น ในที่ใด วิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ในที่นั้น ย่อมมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใด มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้น ย่อมมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใด มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้น ย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ ใด มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้น ย่อมมีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใด มีชาติชรามรณะต่อไป เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๒๖๙๗ - ๒๗๗๙. หน้าที่ ๑๑๑ - ๑๑๔. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0 อิอิ ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | eragon_joe [ 22 เม.ย. 2011, 22:34 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เกิด ดับ ในปฏิจจสมุปบาท |
ป่าว เคยฝันว่าไปเจอคนผู้หนึ่ง แล้วเขาพูดให้ฟัง ถึงเรื่อง การเสพเป็นปัจจัย ให้พิจารณาสังเกตพฤติกรรมการเสพ ![]() ![]() กะลังคิดว่าจะพูดถึงเรื่องนี้ แต่ท่าน นรา ก็เอาพระสูตรมาลง อิอิ บังเอิ๊ญ บังเอิ๊ญ อะไรจะบังเอิญปานน๊านนนนน ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | eragon_joe [ 22 เม.ย. 2011, 23:12 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เกิด ดับ ในปฏิจจสมุปบาท |
อุปสรรค์ของการเห็น คือ นิวรณ์ โดยมีธรรมอันว่าด้วยเรื่อง .... เป็นคู่ปรับ ซึ่งอาจารย์ก็จะไม่สอนเรื่อง นิวรณ์ แต่จะเอาแบบฝึกหัดมาให้ทำ เมื่อทำแล้วเห็นผลบางอย่างปรากฎ นั่นล่ะคือ อาการที่ปราศจาก... อาจารย์ไม่ได้สอนให้เข้าใจอะไรก่อน แต่สอนให้รู้ว่าอะไรเป็นปัจจัยให้สิ่งใด หายไป อาการรู้ ไม่ได้รู้จากการเห็นว่าอะไรมี อะไรเกิด อะไรปรากฎ แต่รู้ได้จาก อะไรบางอย่าง หายไป เหมือนน้ำคลำแล้วเข้าสู่กระบวนการทำให้มันใส ก็จะเห็นสิ่งที่อยู่ในน้ำ และเมื่อน้ำใส แสงที่ตกกระทบมาที่น้ำนั้น ย่อมส่องไปจนถึงพื้นน้ำ นี่คือการทำงานอย่างสมบูรณ์ของอายตนะ เราจึงรู้ทุกอย่างอย่างสมบูรณ์ เป็นอาจารย์ที่แปลก เพราะท่านไม่สอน ให้ทำแต่แบบฝึกหัด |
เจ้าของ: | narapan [ 23 เม.ย. 2011, 08:16 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เกิด ดับ ในปฏิจจสมุปบาท |
![]() ที่ผมยกพระสูตรมาทั้งมหาวรรคนั้นเพื่อชี้ให้เห็นว่า พระสูตรทั้งหมดที่ผมยกมานั้น อธิบายถึงวงจรการเกิด ดับ ในปฏิจจสมุปบาท ที่สนทนากันในกระทู้ viewtopic.php?f=1&t=37822&start=15#p256779 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค มหาวรรคที่ ๗ รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. อัสสุตตวตาสูตรที่ ๑ ๒. อัสสุตตวตาสูตรที่ ๒ ๓. ปุตตมังสสูตร ๔. อัตถิราคสูตร ๕. นครสูตร ๖. สัมมสสูตร ๗. นฬกลาปิยสูตร ๘. โกสัมพีสูตร ๙. อุปยสูตร ๑๐. สุสิมสูตร http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0 |
เจ้าของ: | mes [ 23 เม.ย. 2011, 08:19 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เกิด ดับ ในปฏิจจสมุปบาท |
ขอบพระคุณทุกท่านจริงๆ ที่ร่วมสนทนาธรรม ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | narapan [ 23 เม.ย. 2011, 08:25 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เกิด ดับ ในปฏิจจสมุปบาท |
eragon_joe เขียน: อุปสรรค์ของการเห็น คือ นิวรณ์ โดยมีธรรมอันว่าด้วยเรื่อง .... เป็นคู่ปรับ ซึ่งอาจารย์ก็จะไม่สอนเรื่อง นิวรณ์ แต่จะเอาแบบฝึกหัดมาให้ทำ เมื่อทำแล้วเห็นผลบางอย่างปรากฎ นั่นล่ะคือ อาการที่ปราศจาก... อาจารย์ไม่ได้สอนให้เข้าใจอะไรก่อน แต่สอนให้รู้ว่าอะไรเป็นปัจจัยให้สิ่งใด หายไป อาการรู้ ไม่ได้รู้จากการเห็นว่าอะไรมี อะไรเกิด อะไรปรากฎ แต่รู้ได้จาก อะไรบางอย่าง หายไป เหมือนน้ำคลำแล้วเข้าสู่กระบวนการทำให้มันใส ก็จะเห็นสิ่งที่อยู่ในน้ำ และเมื่อน้ำใส แสงที่ตกกระทบมาที่น้ำนั้น ย่อมส่องไปจนถึงพื้นน้ำ นี่คือการทำงานอย่างสมบูรณ์ของอายตนะ เราจึงรู้ทุกอย่างอย่างสมบูรณ์ เป็นอาจารย์ที่แปลก เพราะท่านไม่สอน ให้ทำแต่แบบฝึกหัด ![]() เหมือนกับเปี๊ยบเลย กับ ตอนที่คุณ eragon_joe ประทับร่างทรงมาตอบ กับตอนที่ไม่ได้ประทับร่างทรงมาตอบ เห็นน้ำใส น้ำขุ่น น้ำโคลน ได้อย่างชัดเจนเลยทีเดียว ![]() |
เจ้าของ: | mes [ 23 เม.ย. 2011, 08:54 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เกิด ดับ ในปฏิจจสมุปบาท |
ผมมักสับสนว่า เจตสิก เกิด และ ดับ พร้อมจิต เป็นอย่างไร เดี๋ยวนี้เข้าใจแล้วว่า จิตมีความหมายคือธรรมชาติของการรู้ เจตสิกประกอบด้ว เวทนา สัญญา สังขาร เมื่อเกิดความสุข จิตที่รู้ความสุขก็เกิดพร้อมกันจึงรู้ว่าสุข จิตรู้สัญญา จิตรู้สังขาร เป็นคนละส่วนกัน เมื่อสุขดับคือจิตที่รู้สุขดับ จิตที่รู้สัญญา จิตที่รู้สังขาร ยังคงเดิม ไม่ดับตาม เป็นคยละส่วนกัน ดังนั้นจิตเกิดดับจึงหมายความถึงเจตสิกตัวใดตัวหนึ่งเกิด-ดับ มิใช่หมายความถึงจิตดับทั้งหมด |
เจ้าของ: | mes [ 23 เม.ย. 2011, 09:02 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เกิด ดับ ในปฏิจจสมุปบาท |
อุจเฉจทิฏฐิ คือตายแล้วสูญ สัสสตทิฏฐิ คือตายแล้วเกิดใหม่ ทั้งสองเป็นมิจฉทิฏฐิ ผมงงมาก ทำไมจึงยอกย้อนซ่อนเงือนเช่นนั้น บัดนี้จึงเข้าใจเอาเองว่า อุเฉจทิฏฐิ ที่ว่าตายแล้วสูญ ผิดที่ การตายคือการหมดสิ้นเหตุปัจจัย คนตายเพราะปัจจัยของการมีชีวิตหมดลง แต่ธาตุทั้งหลายยังอยู่ สัสสตทิฏฐิ ที่ว่าตายแล้วเกิดใหม่ เป็น มิจฉทิฐิ ผิดที่ เมื่อปัจจัยใหม่ก็เป็นตัวตนใหม่ เหมือน น้ำแข็งเมื่อลลายเป็นน้ำแล้ว นำมาแช่เป็นน้ำแข็งใหม่ก็เป็นน้ำแข็งก้อนใหม่ น้ำแข็งก้อนเดิมหายไปแล้ว ไปไหนไม่รู้ |
เจ้าของ: | mes [ 23 เม.ย. 2011, 09:11 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เกิด ดับ ในปฏิจจสมุปบาท |
"ใครหนอย่อมผัสสะ" พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ถามผิด ที่ถูกคือ เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี ผมคิดไม่ออก เหมือนปัญหาเซ็นอย่างไหงอย่างนั้น เดี๋ยวนี้พอคิดออกว่า ใครนั้นหมายถึงอัตตา นั้นไม่มี มีแต่เหตุปัจจัยที่เกิดเป็นใคร เท่านั้น ดังนั้น ปัจจัยที่เกิดมีใคร หรือเพราะสิ่งนี้มีคือ เพราะ อวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญาณ วิญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนาม นามเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ สฬายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ ผัสสเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ ชาติเป็นปัจจัยให้เกิด โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปาสายาท จึงไม่มีใครหนดย่อมผัสสะ มีแต่วงจรทั้งวงจร ดังนี้แล |
เจ้าของ: | mes [ 23 เม.ย. 2011, 09:13 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เกิด ดับ ในปฏิจจสมุปบาท |
![]() ![]() ![]() คนอ่อนปริยัติอย่างผมคงแสดงความขี้ทื้ออกมาให้ท่านเห็น ท่านผู้ทรงรู้พระธรรมโปรดเมตตา |
เจ้าของ: | เช่นนั้น [ 24 เม.ย. 2011, 13:36 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เกิด ดับ ในปฏิจจสมุปบาท |
mes เขียน: ผมมักสับสนว่า เจตสิก เกิด และ ดับ พร้อมจิต เป็นอย่างไร เดี๋ยวนี้เข้าใจแล้วว่า จิตมีความหมายคือธรรมชาติของการรู้ เจตสิกประกอบด้วย เวทนา สัญญา สังขาร เมื่อเกิดความสุข จิตที่รู้ความสุขก็เกิดพร้อมกันจึงรู้ว่าสุข จิตรู้สัญญา จิตรู้สังขาร เป็นคนละส่วนกัน เมื่อสุขดับคือจิตที่รู้สุขดับ จิตที่รู้สัญญา จิตที่รู้สังขาร ยังคงเดิม ไม่ดับตาม เป็นคยละส่วนกัน ดังนั้นจิตเกิดดับจึงหมายความถึงเจตสิกตัวใดตัวหนึ่งเกิด-ดับ มิใช่หมายความถึงจิตดับทั้งหมด คุณ mes จิต มีสภาวะ "รู้" และปภัสสร จิตมีเจตสิก เป็นจิตตสังขาร คือเครื่องปรุงแต่งจิต ซึ่งหมายความว่า จิตตสังขารเป็นตัวบอกถึงคุณภาพของจิต ลักษณะของสภาวะของจิต(รู้) นั้น เครื่องปรุงแต่งจิต หรือจิตตสังขาร ที่เกิดขึ้นซึ่งแม้พระอรหันตเจ้าอย่างพระสารีบุตรเถระ ก็ยังไม่อาจแยกออกจากกันได้ ในหนึ่งขณะจิต ซึ่งก็คือ เวทนา สัญญา และสังขาร จิตและเจตตสิก เมื่อเกิดขึ้น ก็เกิดพร้อมกัน เมื่อดับ ก็ดับพร้อมกัน ไม่ใช่ จิตเที่ยง แต่เจตสิกไม่เที่ยง ดังนั้น เมื่อ เวทนา สัญญา สังขาร เกิดประกอบกับจิตในขณะ... จิตจึงรู้เวทนา รู้สัญญา รู้สังขาร เพราะ ขันธ์ 3 เป็นตัวปรุงแต่งจิตนั่นเอง แปลเป็นภาษาสมัยนิยมก็คือคุณภาพของจิตมีขันธ์ 3 เป็นตัวบ่งชี้.... การเข้าใจ คำว่า เกิด ดับ จึงหมายความถึง การเปลี่ยนไปของสภาวะธรรม หรือสภาพจิต ซึ่งหมายความว่า จิต เปลี่ยน สภาวะจาก กุศล เป็นอกุศล หรือ จิตเปลี่ยน สภาวะ จากกุศลมาเป็นอกุศล หรือ จิตเปลี่ยน สภาวะจากจิตเหตุ มาสู่จิตวิบาก หรือ จิตไม่เปลี่ยนสภาวะมีคุณภาพเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนอารมณ์ ก็เป็นการเปลี่ยนของสภาวะธรรมเช่นกัน เมื่อสัญญาอย่างหนึ่งเกิดขึ้น สัญญาอย่างหนึ่งดับไป (สัญญา จะเกิดลอยๆ โดยไม่มีเวทนา สังขาร เกิดร่วมเกิดพร้อม ไม่ได้) คำกล่าวนี้ไม่ใช่แสดงว่า จิตไม่ดับตามสัญญา แต่บอกให้ทราบว่าคุณภาพของจิตเปลี่ยนไป คุณ mes จะให้ธาตุรู้ อยู่ลอย เป็นเอกธาตุ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ครับ จริงอยู่เรา เรียนรู้ขันธ์ 5 โดยสภาวะความเป็นธาตุ แต่ธาตุทั้งหลายก็ตกอยู่ภายใต้ความเป็นไปแห่งปฏิจสมุปปาทธรรม เช่นกัน คือการเป็นเหตุปัจจัย เจริญธรรม |
เจ้าของ: | govit2552 [ 24 เม.ย. 2011, 13:47 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เกิด ดับ ในปฏิจจสมุปบาท |
[๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ๖ หมวดนี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0 [๗๖๗] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน? จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต. ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0 |
เจ้าของ: | mes [ 24 เม.ย. 2011, 14:26 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เกิด ดับ ในปฏิจจสมุปบาท |
อ้างคำพูด: คุณ mes จะให้ธาตุรู้ อยู่ลอย เป็นเอกธาตุ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ครับ ผมมิได้กล่าวเช่นนั้น |
หน้า 1 จากทั้งหมด 6 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |