ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ต้องทำอย่างไรถึงจะมีความสุขที่แท้จริงและใจมั่นคงได้
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=38040
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  somamomiji [ 09 พ.ค. 2011, 15:52 ]
หัวข้อกระทู้:  ต้องทำอย่างไรถึงจะมีความสุขที่แท้จริงและใจมั่นคงได้

หลังจากที่ผมสังเกตจิตและตัวเองมาพอสมควรได้รุ้ ความสุขที่ผมอยากได้หนักหนา พอได้สิ่งนั้นมาแล้วก็รุ้สึกสุขแปปนึ่งพอสักพักมันก็หายไป สักก็เกิดอยากได้ขึ้นมา และก็ต้องลำบากใช้แรงใจกับแรงกายเพื่อให้ได้มันมาแล้วก็สุขแปป แล้วก็อยากได้อีกแล้วเกิดอารมณ์เหนื่อยมาก ก็เลยเกิดคำถามขึ้นมาว่า แล้วความสุขที่แท้จริงคืออะไร ต้องทำอย่างไรถึงจะได้มา

เจ้าของ:  หัวหอม [ 09 พ.ค. 2011, 16:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ต้องทำอย่างไรถึงจะมีความสุขที่แท้จริงและใจมั่นคงได้

สวัสดีครับคุณsomamomiji ^ ^

หาความสุขที่แท้จริง ต้องเจริญสติปัฏฐาน 4 ครับ เมื่อเจริญสมบูรณ์แล้วก็จะเจอความสุขที่แท้จริง ^ ^ เมื่อเจอความสุขที่แท้จริงแล้วใจก็จะมั่นคงเองครับ

เจ้าของ:  tonnk [ 09 พ.ค. 2011, 20:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ต้องทำอย่างไรถึงจะมีความสุขที่แท้จริงและใจมั่นคงได้

ถ้าอารมณ์ที่คุณปฏิบัตินั้นเป็นกามฉันทะนิวรณ์ พออยากได้มากแล้วแต่ทำไม่ถึงจุดที่อยากพยาบาทนิวรณ์ก็ตามมา
เพราะฉะนั้นต้องขยันทำ มรรคต้องเจริญให้มาก แต่การเดินมรรคนั้นมีหลายแบบตามในสติปัฏฐาน 4 ทำไปเรื่อยๆแล้วจะเห็นเอง

เอาง่ายๆก็คือตั้งสติไว้กับฐานใดฐานหนึ่งจนกว่าสติจะเป็นเป็นอัตโนมัติ

เจ้าของ:  panejon [ 09 พ.ค. 2011, 21:19 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ต้องทำอย่างไรถึงจะมีความสุขที่แท้จริงและใจมั่นคงได้

การที่เราจะมีความสุขให้ตลอดนั้น ผมขอแนะนำให้ท่านลองฝึกปฏิบัติ
ตาม อิทธิบาท 4
( จงพอใจในสิ่งที่ตนมี )

เจ้าของ:  Supareak Mulpong [ 09 พ.ค. 2011, 21:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ต้องทำอย่างไรถึงจะมีความสุขที่แท้จริงและใจมั่นคงได้

๗. สฬายตนวิภังคสูตร (๑๔๙)

[๘๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเนื่องด้วยอายตนะ ๖ มากมายแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไปภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๘๒๖] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นรูป ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมกำหนัดในจักษุ กำหนัดในรูป กำหนัดในจักษุวิญญาณ กำหนัดในจักษุสัมผัสกำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูนต่อไป และเขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว จะมีความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง ฯ

[๘๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นโสตะ ตามความเป็นจริง...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นฆานะ ตามความเป็นจริง...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นชิวหา ตามความเป็นจริง...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นกาย ตามความเป็นจริง...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโน ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไมเห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมกำหนัดในมโน กำหนัดในธรรมารมณ์ กำหนัดในมโนวิญญาณ กำหนัดในมโนสัมผัส กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว ประกอบพร้อมแล้วลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูนต่อไป และเขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว จะมีความกระวนกระวายแม้ทางกายแม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง ฯ

[๘๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นรูป ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในจักษุ ไม่กำหนัดในรูป ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้ จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ มีความระลึกอันใดความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ

[๘๒๙] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้ ชื่อว่ามีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือรูป คือเวทนา คือสัญญาคือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะและวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือวิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

[๘๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นโสตะ ตามความเป็นจริง ...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นฆานะ ตามความเป็นจริง ...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นชิวหา ตามความเป็นจริง ...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นกาย ตามความเป็นจริง ...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นมโน ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในมโน ไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ ไม่กำหนัดในมโนวิญญาณ ไม่กำหนัดในมโนสัมผัส ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ถึงความไม่พอกพูนต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใดความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะมีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความตั้งใจอันใดความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขาย่อมบริสุทธิ์ในเบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ

[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่ามีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป คือเวทนา คือสัญญาคือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะและวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือวิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

เจ้าของ:  ปฤษฎี [ 11 พ.ค. 2011, 19:33 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ต้องทำอย่างไรถึงจะมีความสุขที่แท้จริงและใจมั่นคงได้

เมื่อใดที่สละเสียได้ซึ่งความยึดมั่นในสิ่งทั้งปวง
เมื่อนั้นจะพบความสุขที่แท้จริง และมีใจที่มันคง

เจ้าของ:  ปฤษฎี [ 11 พ.ค. 2011, 19:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ต้องทำอย่างไรถึงจะมีความสุขที่แท้จริงและใจมั่นคงได้

สุขใดที่อิงอยู่ซึ่งอามิส สุขนั้นไม่ใช่สุขที่แท้จริง
สุขที่แท้จริงคือสุขที่ไม่อิงกับสิ่งใด

เจ้าของ:  ปฤษฎี [ 11 พ.ค. 2011, 19:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ต้องทำอย่างไรถึงจะมีความสุขที่แท้จริงและใจมั่นคงได้

การปฏิบัติเพื่อพบสุขที่แท้จริงนั้นคือ อริยมรรคมีองค์ 8 ประการ
ประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

เจ้าของ:  eragon_joe [ 12 พ.ค. 2011, 00:33 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ต้องทำอย่างไรถึงจะมีความสุขที่แท้จริงและใจมั่นคงได้

ต้องทำอย่างไรถึงจะมี ความสุขที่แท้จริงและใจมั่นคง ได้

ต้องทำใจ เรียนรู้ที่จะยอมรับว่า มันไม่มีเรื่องอย่างว่า ปรากฎนอกเขตนิพพาน

เจ้าของ:  Bwitch [ 12 พ.ค. 2011, 07:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ต้องทำอย่างไรถึงจะมีความสุขที่แท้จริงและใจมั่นคงได้

"สุขจากข้างใน"

คนที่มีความสุขที่สุดในโลกไม่ใช่คนที่ร่ำรวย
คนที่มีความสุขที่สุดในโลกไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ
แต่คนที่มีความสุขที่สุดในโลกคือ คนที่มีความสบายใจเท่านั้นเอง

และความหมายของความสบายใจ คือ
:b48: หนึ่ง เต็มไปด้วยความเชื่อมั่น เชื่อว่าคุณมีดี คุณน่าคบหา และคุณทำได้
:b47: สอง รู้จักตัวเอง ยอมรับในข้อบกพร่องของตัวเอง และพร้อมจะปรับปรุงเสมอ
:b48: สาม ไม่ดื้อดึง ถ้าวันวานคุณเคยทำผิดพลาด คุณก็ยินยอมเปลี่ยนแปลงและรับฟังคนอื่น
:b47: สี่ เห็นค่าของตัวเอง คุณไม่คิดว่าตัวเองช่างไร้ค่า คุณจึงมีความสุขในใจเสมอ
:b48: ห้า วิ่งหนีความทุกข์ เมื่อรู้ตัวว่าตกลงไปในความทุกข์ คุณก็รีบหาทางหลุดพ้น ไม่จมอยู่กับมัน
:b47: หก กล้าหาญเสมอ คุณกล้าเปลี่ยนแปลงและกล้ารับมือกับสิ่งแปลกใหม่หรือปัญหาต่างๆ
:b48: เจ็ด มีความฝันใฝ่ เมื่อชีวิตมีจุดหมาย คุณก็จะเดินไปบนถนนชีวิตอย่างมีความหวัง ไม่เลื่อนลอย
:b47: แปด มีน้ำใจอาทร คุณพบความสุขในใจเสมอถ้าเป็นผู้ให้แก่ผู้อื่น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
:b48: เก้า นับถือตัวเอง ไม่ดูถูกตัวเองด้วยการลดคุณค่าและทำในสิ่งที่เสื่อมเสียต่อตัวเอง
:b47: สิบ เติมสีสัน สร้างรอยยิ้มให้ชีวิตของคุณและคนรอบข้าง รู้จักหยอกล้อคนอื่น ๆ และตัวเองด้วย

ความสุขนั้นคือพอใจกับวิถีชีวิตของตัวเอง และวางฝันของตัวเองตามกำลังที่ตนทำได้ การได้รับวัตถุและความสำเร็จในหน้าที่การงาน ทำให้คุณพึงพอใจและยกระดับฐานะของคุณเท่านั้น เป็นการสร้างเสริมความสุขเพียงภายนอก และมันมิได้อยู่กับคุณอย่างมั่นคงถาวรตลอดไป

เพราะคนเรานั้นย่อมมีความต้องการเพิ่มขึ้นเสมอไม่มีวันหยุดนิ่ง


ความสุขที่แท้จริงเกิดจากข้างในจิตใจของคนเรา
และถ้าจิตใจของคุณไม่ว่าง เต็มไปด้วยอารมณ์อันตรายต่าง ๆ
ความสุขก็จะเกิดขึ้นได้ยากยิ่ง เพราะความสุขนั้นมักเกิดขึ้นท่ามกลางความสงบเสมอ


ชีวิตของคนเรานั้นไม่ยืนยาวนัก คุณสามารถหาความสุขให้ตัวเองได้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องมุ่งหวังยามแก่เฒ่า ค่อยอยู่อย่างสงบสุขอย่างที่หลายคนเชื่อกัน เชื่อเถอะ เราจะสามารถมีความสุขที่สุดในโลกได้ ในตอนนี้ ถ้าเราเริ่มจากตัวเราเอง !!!

:b8: ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294903

เจ้าของ:  Bwitch [ 12 พ.ค. 2011, 08:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ต้องทำอย่างไรถึงจะมีความสุขที่แท้จริงและใจมั่นคงได้

รูปภาพ


ความสุขจากภายในต้องอาศัยชีวิตด้านในที่เจริญที่มั่นคงเป็นตัวหล่อเลี้ยง ยิ่งเราให้ความสำคัญกับชีวิตด้านในมากเท่าไร ความสุขจะมาหล่อเลี้ยงชีวิตของเรามากขึ้นๆ แล้วก็จะรู้สึกเต็มอิ่มมากขึ้น แม้จะพิการก็มีความสุข แม้จะเป็นมะเร็งก็มีความสุข แม้จะยากจนก็มีความสุข แม้จะเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยก็มีความสุข เพราะอะไร เพราะความสุขที่แท้มาจากข้างใน เหมือนกับต้นไม้ ถึงแม้จะอยู่บนภูเขา ไม่ว่าจะอยู่ในหน้าร้อน ฝนไม่ตกแต่ก็ัยังเขียวสะพรั่ง เพราะว่าสามารถที่จะหยั่งรากลึกไปถึงตาน้ำใต้ดินได้ ใต้ดินมีน้ำหล่อเลี้ยงตลอดเวลา สำคัญอยู่ที่ว่าจะหยั่งลงไปถึงหรือเปล่า จิตใจคนเราก็เหมือนกัน มีตาน้ำอยู่ข้างใน เป็นตาน้ำแห่งความสุขที่เปี่ยมล้นตลอดเวลา

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 12 พ.ค. 2011, 09:03 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ต้องทำอย่างไรถึงจะมีความสุขที่แท้จริงและใจมั่นคงได้

ความสุขท่านจัดเป็นขั้นๆไว้ 10 ขั้น เริ่มแต่ความสุขขั้นแรก คือ กามสุข ...จนถึงนิโรธสมาปัตติสุข

ศึกษาสุข 10 ที่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 55#msg5655

ส่วนจิตใจจะโยกเยก หรือ มั่นคงคงมั่นแค่ไหนเพียงใดก็อยู่ที่ความสุขตามขั้นนั้นๆนั่น ถ้าเป็นกามสุข ก็สุขบ้างทุกข์บ้าง โยกเยกบ้าง ตื่นเต้นบ้าง :b14: สงสัยบ้าง :b10: ซึ้งบ้าง :b20: หัวเราะบ้าง :b32: ร้องไห้บ้าง :b2: เศร้าซึมบ้าง :b7: ร้องเพลงบ้าง :b12:

http://daraoke.gmember.com/idxplaymv.do ... 0200793902

เจ้าของ:  soraya53 [ 12 พ.ค. 2011, 10:59 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ต้องทำอย่างไรถึงจะมีความสุขที่แท้จริงและใจมั่นคงได้

เห็นด้วยกับความคิดของคุณ "หัวหอม"

เจ้าของ:  student [ 17 พ.ค. 2011, 07:13 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ต้องทำอย่างไรถึงจะมีความสุขที่แท้จริงและใจมั่นคงได้

ความสุขที่ได้รับจากการสนองอุปาทานนั้นเป็นตัณหาคือ กิเลสที่ทำให้เกิดความทะยานอยากขึ้นไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด และเพิ่มปริมาณความเข้มข้นขึ้นไม่ใช่ความสุขที่แท้จริงแต่เป็นความสุขของการทำอุปาทานให้สำเร็จลงในช่วงหนึ่ง
ความสุขที่แท้จริงต้องเป็นความสุขที่เกิดจากความสงบ ทำได้จากการอบรมจิตให้รู้แจ้งเห็นจริง โดยใช้ปัญญาพิจารณาตามลำดับขั้นตอนเรียกวิปัสสนาภาวนา ตามหลักของพระไตรลักษณ์อันสัตว์โลกทั้งหลายมีความเสมอกันหมดนั่นคือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา แล้วดำเนินชีวิตตัวเองตามมรรคมีองค์8 ครับผม

เจ้าของ:  buddha's student [ 21 พ.ค. 2011, 01:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ต้องทำอย่างไรถึงจะมีความสุขที่แท้จริงและใจมั่นคงได้

เท่าที่พลอยเข้าใจนะคะ

ความสุขที่แท้จริงนั้นไม่มีอยู่จริง เพราะชีวิตเรามีทั้งทุกข์จรและทุกข์ประจำ
ที่เป็นสุขนั้นไม่ใช่เพราะมีความสุข แต่เป็นเพราะในขณะนั้นความทุกข์ยังไม่เข้ามากล้ำกราย
(หากตีความว่า ความสุขความทุกข์เป็นความรู้สึก)

แต่หากอีกความหมายของ"ทุกข์"คือ สภาพที่ทนอยู่ไม่ได้ กล่าวคือ พบได้อยู่ทั่วไปบนโลกนี้

เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สามารถรักษาความสุขให้อยู่กับเราได้ตลอดเวลา เพราะความสุขนั้นไม่มีอยู่จริง!

แต่พระพุทธเจ้าท่านก็ได้ชี้แนะเช่นกันว่า ความสุขเสมอด้วยความสงบไม่มี

แสดงว่า หากจิตสงบแล้ว นั่นแหละความสุขที่แท้จริง ซึ่งจะเกิดได้เมื่อเราปฏิบัติตามอริยสัจ4 มรรค8
รวมถึงเข้าใจอย่างถ่องแท้ในไตรลักษณ์ค่ะ

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/