วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 37  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2011, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การจะบอกว่าธรรมบทนี้หรือธรรมบทนั้นตรัสแก่ภิกษุนะ ไม่ได้ตรัสสอนกับชาวบ้าน ชาวบ้านจึงไม่ควรศึกษา อันนี้ผมขอไม่เห็นด้วยครับ

ผิดบุคคลก็ผิดธรรมนะครับ บุคคลนั้นแบ่งตามสภาวะธรรมได้ถึง ๑๒ ประเภท ไปเอาหลักสูตรปริญญาตรีมาให้เด็กประถมทำ มันจะได้อย่างไรละครับ ธรรมชาตินั้นต้องมีเหตุปัจจัยรองรับ เหมือนออกซิเจนเจอไฮโดรเจนผลออกมาก็ต้องเป็นน้ำเป็นอย่างอื่นไม่ได้ จะไปคิดเอาเองไม่ได้ เพราะจะเป็นการเอาความเห็นไปตัดสินความจริง

สมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ตรัสสอนอนุบุพพิกถาจนผู้ฟังเข้าใจจึงแสดงอริยสัจสี่ เมื่อเห็นว่ามีดวงตาเห็นธรรมแล้วจึงชวนมาบวช หรือ ผู้ใดได้ฟังธรรมมีดวงตาเห็นธรรมแล้วจึงมาขอบวช เมื่อบวชแล้วก็ถือว่าเป็นพระอริยะ เป็นพระโสดาบัน ท่านให้เจริญอิยทรีย์ก่อน เมื่อสังโยชน์เบื้องล่าง ๓ หรือ ๕ สิ้นไป ท่านจึงจะให้เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ถือเป็นมรรคเบื้องสูงหรืออรหันตมรรค รายละเอียดอยู่ในทันตภูมิสูตร สมัยนั้นไม่มีดวงตาเห็นธรรมท่านไม่ให้บวชหรอกครับ

การบรรลุธรรมนั้นเป็นขั้นเป็นตอน อุปมาเหมือนน้ำทะเลทีไม่ได้ลึกมาแต่ก่อนเลย ลาดลึกลงไปเป็นลำดับ การบรรลุธรรมก็เหมือนกัน เมื่อได้เรียนรู้พระธรมคำสั่งสอน เกิดมีดวงตาเห็นธรรม หรือ เกิดปัญญาจากการฟัง เป็นโสดาบัน ก็ต้องมาเจริญอินทรีย์ให้ได้โสดาปัตติผล ดับความเห็นผิด (สักกายะ) ให้ได้ก่อน ด้วยโสดาปัตติมรรค ถึงจะไปในขั้นตอนต่อๆ ไปได้

เพราะฉะนั้น ภิกษุในสมัยพุทธกาล มีแต่พระอริยะ สมมุติสงฆ์เกิดปลายพุทธสมัยแทบไม่มีพูดถึงเลยในพระไตรปิฏก เพราะฉะนั้น ในพระไตรปิฏก ถ้าท่านยึดเอาสูตรใดสูตรหนึ่งมาโดยไม่ดูให้ดีก่อนว่า ท่านสอนผู้ใด เป็นบุคคลธรรมดาหรือเป็นอริยบุคคล เป็นเสขุบุคคลหรืออเสขบุคคล แล้วท่านก็ไปยึดว่ามีสอนในพระไตรปิฏก แบบนี้ก็ถือว่าหลงทาง กลายเป็นทิฐิมานะ เมื่อท่านทำเหตุผิด ผลอก็ออกมาผิดเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้

ในพระใตรปิฏก ๙๙ เปอร์เซ็นเป็นเรื่องของพระอริยะ เราเอามาปฏิบัติไม่ได้ ถึงจะมีดวงตาเห็นธรรมแล้วแต่เรายังไม่ได้บวช ต้องแยกอีกว่า เรื่องใหนท่านเล่าให้ฟังเฉยๆ เรื่องใหนท่านสอนให้ปฏิบัติ สำหรับเรื่องที่สอนอุบาสกอุบาสิกา จะมีสอนให้เกิดมีดวงตาเห็นธรรม และสอนผู้มีดวงตาเห็นธรรมแล้วให้ปฏิบัติ มีอยู่ไม่กี่หน้าในพระไตรปิฏก ถ้าไม่อ่านดีๆ หรืออ่านหลายๆ รอบ จะหาไม่เจอ

สมาธิไม่ได้ทำให้เกิดปัญญา แต่ถ้ามีปัญญาแล้ว สมาธิจะหนุนปัญญา เพราะฉะนั้น ต้องมีปัญญาให้ได้ก่อน แล้วค่อยไปพูดถึงเรื่องสมาธิ หรือ สมาธิจะเป็นเรื่องสุดท้ายที่เราจะกล่างถึงในธรรมวินัยนนี้

ปัญญา ศีล สมาธิ ในมรรค ๘ เรียงการเกิดตามเหตุปัจจัยไว้ตามนี้

อ้างคำพูด:
จริตของแต่ละคนก็ต่างกัน
วิปัสสนาทำได้เลย ไม่มีอะไรเกี่ยวกับจริต เรื่องจริตเป็นเรื่องของพวกทำสมาธิ ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนา

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2011, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
[พุทธสมัยแทบไม่มีพูดถึงเลยในพระไตรปิฏก เพราะฉะนั้น ในพระไตรปิฏก ถ้าท่านยึดเอาสูตรใดสูตรหนึ่งมาโดยไม่ดูให้ดีก่อนว่า ท่านสอนผู้ใด เป็นบุคคลธรรมดาหรือเป็นอริยบุคคล เป็นเสขุบุคคลหรืออเสขบุคคล แล้วท่านก็ไปยึดว่ามีสอนในพระไตรปิฏก แบบนี้ก็ถือว่าหลงทาง กลายเป็นทิฐิมานะ เมื่อท่านทำเหตุผิด ผลอก็ออกมาผิดเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้

ในพระใตรปิฏก ๙๙ เปอร์เซ็นเป็นเรื่องของพระอริยะ เราเอามาปฏิบัติไม่ได้ ถึงจะมีดวงตาเห็นธรรมแล้วแต่เรายังไม่ได้บวช ต้องแยกอีกว่า เรื่องใหนท่านเล่าให้ฟังเฉยๆ เรื่องใหนท่านสอนให้ปฏิบัติ สำหรับเรื่องที่สอนอุบาสกอุบาสิกา จะมีสอนให้เกิดมีดวงตาเห็นธรรม และสอนผู้มีดวงตาเห็นธรรมแล้วให้ปฏิบัติ มีอยู่ไม่กี่หน้าในพระไตรปิฏก ถ้าไม่อ่านดีๆ หรืออ่านหลายๆ รอบ จะหาไม่เจอ
สมาธิไม่ได้ทำให้เกิดปัญญา แต่ถ้ามีปัญญาแล้ว สมาธิจะหนุนปัญญา เพราะฉะนั้น ต้องมีปัญญาให้ได้ก่อน แล้วค่อยไปพูดถึงเรื่องสมาธิ หรือ สมาธิจะเป็นเรื่องสุดท้ายที่เราจะกล่างถึงในธรรมวินัยนนี้
ปัญญา ศีล สมาธิ ในมรรค ๘ เรียงการเกิดตามเหตุปัจจัยไว้ตามนี้

ท่านซุปครับ ผมเห็นท่านกล่าวว่า การใช้ธรรมในพระไตรปิฎก เราต้องดูว่าพระพุทธเจ้า
ท่านทรงสอนผู้ใด เราต้องพิจารณาให้ดี อันนี้ผมเห็นด้วยร้อยเปอร์เซ็นครับ

แต่ผมมาข้องใจกับคำที่ว่าด้วยเรื่อง ปัญญา ของท่านครับ
ท่านว่า ต้องมีปัญญาให้ได้ก่อน แล้วจึงค่อยพูดเรื่องสมาธิ
ปัญญาตัวที่ท่านว่า มันเป็นปัญญาตัวไหนกันครับ

ในขั้นตอนของปุถุชน เราต้องปฏิบัติมรรคมีองค์แปดให้ได้มาซึ่งปัญญาก่อนนะครับ
แต่เมื่อเราได้ปัญญาในขั้นตอนของมรรคมีองค์แปดแล้ว จึงจะใช้ปัญญานำสมาธิครับ
ซึ่งการใช้ปัญญานำสมาธิมันเป็นขั้นของ อริยบุคคลแล้วครับ

ท่านอาจเข้าใจว่า สมาธิไม่สามารถทำให้เกิดปัญญาได้ อันนี้ใช่ถ้าเป็นสมาธิในลักษณะ
อารมณ์เดียว แต่ท่านครับมันยังมีสมาธิอีกตัวหนึ่งครับ มันเป็นลักษณะตั้งมั่นของจิตครับ
การตั้งมั่นของจิตนี้ เอาไว้ดูการเกิดไตรลักษณ์ การได้เห็นไตรลักษณ์แบบนี้เขาเรียกว่า
เกิดปัญญาขึ้นที่จิตครับ

ท่านอาจจะสับสนกับความเห็นของผมบ้าง เอางี้ครับท่านกรุณาอธิบาย
ในส่วน ปัญญาของท่านหน่อยครับว่ามันเป็นปัญญาประเภทไหน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2011, 14:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมมะอยากรู้ เข้ามาถามปัญหา
ธรรมมะอวดรู้เข้ามาตอบ ก็ผิดบ้าง ถูกบ้าง
ธรรมมะ อยากละ ก็นั่งดูอยู่ แล้วก็จากไปทีละคน....ทีละคน
......ศึกษาธรรมมะ เพื่อที่จะรู้ให้มาก
......ศึกษาธรรมมะ เพื่อจะละให้มาก
อย่างไหน คือพุทธประสงค์ กันแน่หนอ มันช่างน่าเวียนหัวนะ วัฎฏสงสารนี้....
......ไม่พึง พิจารณาา จิตตนอยู่เนืองๆ เพียรพยายาม ส่งจิตออกนอก ไปเปลี่ยน
จิตคนอื่นให้เห็นตามทิฐิของตน อยู่ตลอด เมื่อเขาไม่เห็นด้วยก็โต้แย้งกัน เมื่ออัตตา
ถูกกระทบ สัมมาสติก็ขาด สัมมาวาจาก็เสียหาย ก็ด่าทอกัน ไอ้แป๊ะ....บ้าง
ไอ้กาสร(แปลว่ากระบือกระมัง)บ้าง มีตัวอย่างให้เห็นก็มาก
........คนไม่รู้ก็หลงทาง นึกว่าธรรมมะที่แท้เป็นอย่างนี้(ไม่ต่างจากนักการเมืองในสภา)
คนที่พอรู้พอเข้าใจ ก็ต้องถอยออกไป บางคนก็ยังยืนดู บางคนก็หันหลังไปทางอื่น
.......มันยากที่จะชี้เรื่องที่ถูก เพราะมีคนคอยแต่ชี้เรื่องที่ผิด คนไม่รู้จักกิเลส จะไม่รู้เลยว่าคำกล่าวไหนมันถูก คำกล่าวไหนมันผิด ก็มืดมา-มืดไป หรือบางทีมืดยิ่งกว่า
........ทำอะไรไม่ได้ รู้ว่าตัวไหนเป็นควาย ก็จับไปปล่อยในทุ่งหญ้า ถ้ามันเป็นควายจริง
ไม่ต้องบังคับมันกินหญ้า เดี๋ยวมันก็กินของมันเอง เพราะถ้าควายมันไม่กินหญ้า มันก็เป็นได้
แค่หมูเท่านั้นเอง(หลวงพ่อชา)
......เจโตวิมุติ/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2011, 15:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ท่านอาจจะสับสนกับความเห็นของผมบ้าง เอางี้ครับท่านกรุณาอธิบาย
ในส่วน ปัญญาของท่านหน่อยครับว่ามันเป็นปัญญาประเภทไหน

สมถะกับวิปัสสนาจริงๆ แล้วแยกกันไม่ได้ แต่การไปนั่งสมาธิ เป็นมิจฉามรรค สมถะที่เกิดตามธรรมชาติ หรือความตั้งใจมั่น เท่านั้นแหละที่ใช้สำหรับการวิปัสสนา

ปัญญา คือ ความรู้ที่นำมาดับทุกข์ได้ เหตุเกิดของปัญญาคือการได้ฟังพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ เรียนรู้เรื่องความจริงของโลกและชีวิต จนเข้าใจกฏธรรมชาติ ๒ กฏ คือ กฎไตรลักษณ์และกฏของเหตุปัจจัย พระองค์จึงได้ตรัสไว้ว่า ผู้ใดเห็นปกิจจสมุปบาทผู้นั้นมีดวงตาเห็นธรรม ปกิจจสมุปบาท คือ เรื่องเหตุปัจจัยฯ

เมื่อรู้ว่า โลกคืออะไร ชีวิตคืออะไร ต่อมาก็เรียนเรื่องเหตุของการเวียนว่ายตายเกิด และวิธีการออกจากสงสารวัฏ หรือ เรียนรู้อริยสัจสี่ หรือเรียนเรื่องเรื่องทุกข์กับการดับทุกข์

ถ้าเข้าใจ นำไปทดลองปฏบัติเห็นผล เห็นด้วยตามนั้น เรียกว่า เกิดปัญญาจากการฟัง เกิดปัญญาจากการคิด มีความรู้ที่เอาไปดับทุกข์ได้ เรียกว่า เกิดปัญญา มีดวงตาเห็นธรรม เป็นโสดาบัน หรือ บุคคลผู้ได้ปัญญาจากการฟัง เป็นผู้ได้สดับฯ เป็นผู้อยู่ในกระแสพระนิพพาน เป็นอริยสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ผู้ที่เกิดมาไม่ได้สดับ ไม่ได้ฟังธรรมของสัตตบุรุษ แล้วจะหาทางออกจากทุกข์ได้เองนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะต้องฝึกตนเองจนสำเร็จเป้นพระพุทธเจ้าเท่านั้น

ความรู้ที่รู้เห็นโลกตามความเป็นจริงอย่างนี้ จะทำให้เราเกิดความเห็นตรง เห็นชอบ คือ เห็นว่า ธรรมชาติมันไม่เที่ยงฯ เอามาเป็นสาระแก่นสารในชีวิตไม่ได้

จากนั้นจึงจะมาเจริญปัญญา หรือ วิปัสสนาภาวนา เพื่อให้ปัญญาเกิดขึ้นแน่นหนาขึ้น

พระพุทองค์ได้สรุปคำสอนที่เป็นทางดับทุกข์ได้ คือ มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย

สัมมาทิฏฐิ และสมมาสังกัปปะ = ปัญญา
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ = ศีล
สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ = สมาธิ

คือ ปัญญา ศีล สมาธิ เป็นไปตามหลักของเหตุปัจจัย กล่าวคือ ปัญญาเป็นเหตุของศีล ศีลเป็นเหตุของสมาธิ และสมาธิเป็นเหตุของความสงบสุข

หากเรียงการปฏติบัติเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา; ศีลนั้นเป็นเหตุของสมาธิ แต่มันจะไปตันที่สมาธิไม่ใช่เหตุของปัญญา เป็นเหตุของความสงบเท่านั้น ถ้าไปเรียงองค์ธรรมแบบนี้ เหมือนปลูกต้นไม้เอารากชี้ฟ้าเอาส่วนยอดฝังลงดิน ไม่มีโอกาสเจริญเติบโตได้เลย หากนำไปปฏิบัติก็มีทางสำเร็จธรรมได้

เมื่อเรียงองค์ธรรมได้ถูกต้องแล้วจึงจะรู้ว่า มรรคมีองค์ ๘ ไม่ใช่เหตุของการปฏิบัติ ถ้าเริ่มให้ถูกเหตุปัจจัย ต้องสร้างปัญญาเป็นอันดับแรก หรือปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาโดยการพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ ให้รู้เห็นสิ่งทั้งปวงตามความเป็นจริงของโลกและชีวิตให้ได้ก่อน องค์ธรรมที่ได้จากการปฏิบัติที่ถูกต้อง สามารถแสดงได้ดังนี้

ความจริง เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด ปัญญา
ปัญญา เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด ศีล
ศีล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด สมาธิ
สมาธิ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด ความสงบสุข

อ้างคำพูด:
ในขั้นตอนของปุถุชน เราต้องปฏิบัติมรรคมีองค์แปดให้ได้มาซึ่งปัญญาก่อนนะครับ
แต่เมื่อเราได้ปัญญาในขั้นตอนของมรรคมีองค์แปดแล้ว จึงจะใช้ปัญญานำสมาธิครับ
ซึ่งการใช้ปัญญานำสมาธิมันเป็นขั้นของ อริยบุคคลแล้วครับ

มรรค ๘ หรือหนทางดับทุกข์ได้มาจากการเรียนรู้ ไม่ได้เกิดมาแบบพิศดารอะไรเลย ... สงฆ์หรือสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ บุคคล ๔ คู่ นับเรียงตัวได้ ๘ บุรุษ คือ นับตั้งแต่โสดาปัตติมรรคเป็นต้นไป เมื่อมีดวงตาเห็นธรรม ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้ เป็นชาวพุทธ นอกจากนั้นไม่ได้ชื่อว่าพุทธ เพราะพุทธแปลว่าผู้รู้

Quote Tipitaka:
[๘๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นรูป ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในจักษุ ไม่กำหนัดในรูป ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้ จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ มีความระลึกอันใดความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ

[๘๒๙] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้ ชื่อว่ามีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง


อ้างคำพูด:
แต่ท่านครับมันยังมีสมาธิอีกตัวหนึ่งครับ มันเป็นลักษณะตั้งมั่นของจิตครับ
การตั้งมั่นของจิตนี้ เอาไว้ดูการเกิดไตรลักษณ์ การได้เห็นไตรลักษณ์แบบนี้เขาเรียกว่า
เกิดปัญญาขึ้นที่จิตครับ

อันนี้เพี้ยนหนัก ... มันเ้ป็นวิธีที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าค้นหาปัญญา เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่วิสัยของสาวก ท่านไม่ได้ดูเฉยๆ แต่ใช้การพิจารณาหคือคิดตามจนเห็นว่า อะไรๆ ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป จึงสรุปออกมาเป็นกฏไตรลักษณ์ได้ เราเป็นสาวก็เรียนรู้เอา ไม่ต้องไปค้นหาเอาเอง มีเฉลยแล้วจะไปหาเองทำไมกัน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 16 พ.ค. 2011, 15:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2011, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เจโตวิมุติ เขียนไม่พึง พิจารณาา จิตตนอยู่เนืองๆ เพียรพยายาม ส่งจิตออกนอก ไปเปลี่ยน
จิตคนอื่นให้เห็นตามทิฐิของตน อยู่ตลอด เมื่อเขาไม่เห็นด้วยก็โต้แย้งกัน เมื่ออัตตา
ถูกกระทบ สัมมาสติก็ขาด

เตือนสติได้ดีมากครับ อ่านแล้วต้องวกกลับมาดูตัวเองว่าเราแท้จริงแล้วยังเป็นผู้ที่ศึกษาอยู่ ยังต้องมีสิ่งที่ต้องศึกษาอีกมาก[

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2011, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongka เขียน:
สมถ วิปัสสนา ได้ยินบ่ิอยๆ
แต่มักจะได้ยินคนพูดบ่อยๆ เรื่องวิปัสสนา
ทำไมต้องวิปัสสนาด้วย สมถะไม่ได้หรือ


สวัสดี TongKa

เมื่อพระพุทธองค์ ทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสังขตะและทางที่จะให้ถึง
อสังขตะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ นี้เรียกว่าอสังขตะ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน สมถะและวิปัสสนา นี้เรียกว่าทางที่จะ
ให้ถึงอสังขตะ ฯลฯ"
------------------------
สมถะ และ วิปัสสนา
ทรงใช้ คำว่า "และ"
มิได้ทรงใช้ คำว่า "หรือ"

สมถะเป็นบาทแห่งวิปัสสนา ในขณะทำเหตุ คือโลกกุตตรฌาน
สมถะเพราะกระทำวิปัสสนาแล้ว เป็นเครื่องอยู่ เมื่อขันธ์ 5 ยังไม่ถึงกาลต้องแตกดับ

อุเบกขาอันมีความเป็นอารมณ์เดียว เป็นอุเบกขาอันเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

อุเบกขานั้นจึงเป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2011, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจโตวิมุติ เขียน:
ธรรมมะอยากรู้ เข้ามาถามปัญหา
ธรรมมะอวดรู้เข้ามาตอบ ก็ผิดบ้าง ถูกบ้าง
ธรรมมะ อยากละ ก็นั่งดูอยู่ แล้วก็จากไปทีละคน....ทีละคน
......ศึกษาธรรมมะ เพื่อที่จะรู้ให้มาก
......ศึกษาธรรมมะ เพื่อจะละให้มาก
อย่างไหน คือพุทธประสงค์ กันแน่หนอ มันช่างน่าเวียนหัวนะ วัฎฏสงสารนี้....
/

แล้วที่ท่านเอามาสาธยาย พอรู้บ้างหรือยังครับ
ไอ้ที่อยากอวด อยากละ หยุดได้หรือยัง
ผมเห็นท่านเข้ามาอวดภูมิ วางกล้ามใหญ่โตมิหน่ำเอารูปพระมาแทนตัว
ไอ้แบบนี้เรียกว่าอยากอวด หรืออยากละกันครับ

ผมจะบอกให้นะครับ ถ้าเราไม่เข้ามาสนทนาในบอร์ด
เราจะเห็นอัตตาตัวเองมั้ยครับ เราจะเจอคนที่เป็นกระจกส่อง
ให้เห็นความอยากได้ใคร่ดีของตัวเองมั้ยครับ

ผมว่าท่านก็คงยอมรับในข้อนี้ เพียงแต่ท่านกำลังปิดบังมันไว้
ถามหน่อยครับ ไม่ใช่คนที่ท่านกำลังตำหนิเขาอยู่นี่ ที่เป็นคนทำให้ท่านเห็นอัตตา
ตัวเองหรือครับ ไม่ใช่มีสมาชิกบอกว่าท่านหลอกลวงหรือครับ แล้วไม่ใช่ผมหรอกหรือครับ
ที่แก้ต่างให้ท่านว่าไม่ได้หลอกลวง เพียงแต่ท่านเอารูปตอนเป็นพระมาโพสเพราะอัตตาของท่าน
ท่านยังอยากได้ใคร่ดีกับสถานะพระในอดีตอยู่ โดยลืมความเหมาะสมเพียงเพื่อต้องการ
อวดอ้างชาวบ้านแค่นั้นเอง

เจโตวิมุติ เขียน:
......ไม่พึง พิจารณาา จิตตนอยู่เนืองๆ เพียรพยายาม ส่งจิตออกนอก ไปเปลี่ยน
จิตคนอื่นให้เห็นตามทิฐิของตน อยู่ตลอด เมื่อเขาไม่เห็นด้วยก็โต้แย้งกัน เมื่ออัตตา
ถูกกระทบ สัมมาสติก็ขาด สัมมาวาจาก็เสียหาย ก็ด่าทอกัน ไอ้แป๊ะ....บ้าง
ไอ้กาสร(แปลว่ากระบือกระมัง)บ้าง มีตัวอย่างให้เห็นก็มาก

ท่านเจโตครับ รบกวนถามท่านครับ แล้วการที่ท่านเข้ามาแสดงความเห็นในเชิงประนาม
ผู้อื่นแบบนี้ ครูบาอาจารย์ของท่านไม่ได้บอกหรือครับว่า มันเป็นการส่งจิตออกนอก
ภาษาบ้านๆเข้าเรียก แส่หาเรื่องทำนองยกตนข่มท่าน
ท่านเจโตครับ ผมว่าท่านกลับไปพิจารณาตัวเองก่อนเถอะครับว่า
อะไรเป็นเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ท่านมาแสดงความเห็นนี้ มันเป็นการแค้นเคือง
แต่เก่าก่อนมั้ย ถึงแม้ท่านจะเสแสร้งวางตัวอย่างไรมันก็ปิดไม่มิดหรอกครับ
ถึงแม้มีบางคนไม่รู้ แต่มีผมคนหนึ่งที่รู้ ที่สำคัญใจท่านเองก็รู้ครับ

ผมว่าท่านเอาใจใส่ตัวเองให้มากอย่าให้มันเพลอ อย่าเอาใจไปยุ่งกับเรื่องของคนอื่น
ท่านไม่รู้หรือครับว่าการไปยุ่งเรื่องของคนอื่น มันเป็นการส่งจิตออกนอกเต็มๆ
การส่งจิตออกนอกในเว็บบอร์ด ผมว่ามันก็ไม่ผิดอะไร แต่ที่มันผิดก็คือ การใส่หน้ากาก
ปิดบังโฉมหน้าตัวเอง หน้ากากปิดได้แค่หน้า แต่มันปิดวาจาที่พยายามเสแสร้งไม่ได้หรอกครับ
เจโตวิมุติ เขียน:
........คนไม่รู้ก็หลงทาง นึกว่าธรรมมะที่แท้เป็นอย่างนี้(ไม่ต่างจากนักการเมืองในสภา)
คนที่พอรู้พอเข้าใจ ก็ต้องถอยออกไป บางคนก็ยังยืนดู บางคนก็หันหลังไปทางอื่น
.......มันยากที่จะชี้เรื่องที่ถูก เพราะมีคนคอยแต่ชี้เรื่องที่ผิด คนไม่รู้จักกิเลส จะไม่รู้เลยว่าคำกล่าวไหนมันถูก คำกล่าวไหนมันผิด ก็มืดมา-มืดไป หรือบางทีมืดยิ่งกว่า
........ทำอะไรไม่ได้ รู้ว่าตัวไหนเป็นควาย ก็จับไปปล่อยในทุ่งหญ้า ถ้ามันเป็นควายจริง
ไม่ต้องบังคับมันกินหญ้า เดี๋ยวมันก็กินของมันเอง เพราะถ้าควายมันไม่กินหญ้า มันก็เป็นได้
แค่หมูเท่านั้นเอง(หลวงพ่อชา)
......เจโตวิมุติ/


คนอื่นเขาไม่รู้ มีท่านรู้คนเดียวหรือครับ ผมต้องย้ำท่านอีกที่ครับว่า ดูใจตัวเองให้มากๆ
พยายามใช้สติระงับความไม่พอใจเอาไว้ ลองดูซิว่า สิ่งที่ท่านกำลังแสดงอยู่เป็นมานะหรือเปล่า
ท่านกำลังไม่พอใจ กำลังดูถูกภูมิปัญญาคนอื่นหรือเปล่า ท่านกำลังเจ็บแค้นกับธรรมที่คนอื่นอธิบาย
ได้แจ่มแจ้งกว่าหรือเปล่า ที่สำคัญท่านเคยกระทำอย่างที่ท่านว่าคนอื่นหรือเปล่า

ผมว่าท่านเลิกเพ้อเจ้อ โดยอาศัยคำพูดของครูบาอาจารย์มาเที่ยวว่า
ชาวบ้านเขาได้แล้วครับ ไม่ได้เป็นผลดีกับครูบาอาจารย์เลย ประพฤติไม่เหมาะสม
ก็อย่าเอาครูบาอาจารย์มาอ้าง ขอเถอะหยุดเถอะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2011, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
ท่านอาจจะสับสนกับความเห็นของผมบ้าง เอางี้ครับท่านกรุณาอธิบาย
ในส่วน ปัญญาของท่านหน่อยครับว่ามันเป็นปัญญาประเภทไหน

สมถะกับวิปัสสนาจริงๆ แล้วแยกกันไม่ได้ แต่การไปนั่งสมาธิ เป็นมิจฉามรรค สมถะที่เกิดตามธรรมชาติ หรือความตั้งใจมั่น เท่านั้นแหละที่ใช้สำหรับการวิปัสสนา

อันนี้ไม่ทราบว่า มันตรงกับที่ผมบอกมั้ยครับ ที่ผมบอกว่า
สมาธิมีสองอย่าง ตามนี้
โฮฮับ เขียน:
ท่านอาจเข้าใจว่า สมาธิไม่สามารถทำให้เกิดปัญญาได้ อันนี้ใช่ถ้าเป็นสมาธิในลักษณะอารมณ์เดียว แต่ท่านครับมันยังมีสมาธิอีกตัวหนึ่งครับ มันเป็นลักษณะตั้งมั่นของจิตครับ
การตั้งมั่นของจิตนี้ เอาไว้ดูการเกิดไตรลักษณ์ การได้เห็นไตรลักษณ์แบบนี้เขาเรียกว่า
เกิดปัญญาขึ้นที่จิตครับ

สมาธิอารมณ์เดียวมันก็คือการนั่งทำสมาธิ ไปบังคับอายตนะต่างๆจนเกิดเป็นอารมณ์เดียว

ส่วนสมาธิที่เป็นการตั้งมั่น คือการให้จิตอยู่กับปัจจุบันไม่จมแช่กับอารมณ์เก่าครับ
มันเป็นสมาธิที่เกิดตามกาล

สรุปครับจากคำพูดของท่านที่ว่า"สมถะที่เกิดตามธรรมชาติหรือตั้งใจมั่นเท่านั้น
ที่ใช้สำหรับวิปัสนา" ถ้าเป็นดังนี้ความหมายก็คือ สมาธินำปัญญาครับ
ไม่ใช่ปัญญานำสมาธิ การจะใช้ปัญญานำสมาธิได้ก็ต่อเมื่อเราได้ปัญญาแล้ว
เป็นอริยบุคคลแล้วครับ

Supareak Mulpong เขียน:
[
อ้างคำพูด:
ในขั้นตอนของปุถุชน เราต้องปฏิบัติมรรคมีองค์แปดให้ได้มาซึ่งปัญญาก่อนนะครับ
แต่เมื่อเราได้ปัญญาในขั้นตอนของมรรคมีองค์แปดแล้ว จึงจะใช้ปัญญานำสมาธิครับ
ซึ่งการใช้ปัญญานำสมาธิมันเป็นขั้นของ อริยบุคคลแล้วครับ

มรรค ๘ หรือหนทางดับทุกข์ได้มาจากการเรียนรู้ ไม่ได้เกิดมาแบบพิศดารอะไรเลย ... สงฆ์หรือสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ บุคคล ๔ คู่ นับเรียงตัวได้ ๘ บุรุษ คือ นับตั้งแต่โสดาปัตติมรรคเป็นต้นไป เมื่อมีดวงตาเห็นธรรม ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้ เป็นชาวพุทธ นอกจากนั้นไม่ได้ชื่อว่าพุทธ เพราะพุทธแปลว่าผู้รู้

สงสัยท่านจะยังไม่เข้าใจเรื่องมรรคมีองค์แปด อริยสัจจสี่ในส่วนของมรรค
ท่านเน้นให้ลงมือปฏิบัติครับ
ส่วนเรื่องการเรียนรู้ท่านว่าให้รู้ในเรื่องอวิชา ในส่วนของอริยสัจจสี่

Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
แต่ท่านครับมันยังมีสมาธิอีกตัวหนึ่งครับ มันเป็นลักษณะตั้งมั่นของจิตครับ
การตั้งมั่นของจิตนี้ เอาไว้ดูการเกิดไตรลักษณ์ การได้เห็นไตรลักษณ์แบบนี้เขาเรียกว่า
เกิดปัญญาขึ้นที่จิตครับ

อันนี้เพี้ยนหนัก ... มันเ้ป็นวิธีที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าค้นหาปัญญา เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่วิสัยของสาวก ท่านไม่ได้ดูเฉยๆ แต่ใช้การพิจารณาหคือคิดตามจนเห็นว่า อะไรๆ ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป จึงสรุปออกมาเป็นกฏไตรลักษณ์ได้ เราเป็นสาวก็เรียนรู้เอา ไม่ต้องไปค้นหาเอาเอง มีเฉลยแล้วจะไปหาเองทำไมกัน

ท่านนี่ไปกันใหญ่แล้วครับ ท่านเคยได้ยินเรื่องปัญญาทางโลกกับทางธรรมมั้ยครับ
ท่านเคยได้ยินเรื่องการรู้แจ้งเห็นจริงมั้ยครับ ไตรลักษณ์ที่ทำให้เกิดปัญญา
มันไม่ได้จากการอ่านหรือฟัง เราต้องต้องเข้าไปรู้เข้าไปเห็นสภาวะนั้นจริงๆ
มันเป็นเรื่องของความรู้สึกเป็นเรื่องของจิตมันไม่ใช่เรื่องของสมอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2011, 20:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
การจะบอกว่าธรรมบทนี้หรือธรรมบทนั้นตรัสแก่ภิกษุนะ ไม่ได้ตรัสสอนกับชาวบ้าน ชาวบ้านจึงไม่ควรศึกษา อันนี้ผมขอไม่เห็นด้วยครับ


ผิดบุคคลก็ผิดธรรมนะครับ บุคคลนั้นแบ่งตามสภาวะธรรมได้ถึง ๑๒ ประเภท ไปเอาหลักสูตรปริญญาตรีมาให้เด็กประถมทำ มันจะได้อย่างไรละครับ ธรรมชาตินั้นต้องมีเหตุปัจจัยรองรับ...
.......
ในพระใตรปิฏก ๙๙ เปอร์เซ็นเป็นเรื่องของพระอริยะ เราเอามาปฏิบัติไม่ได้ .....


หากเป็นอย่างนี้...ท่านซุปฯก็คงต้องเลิก..นำพระไตรปิฎก...มาให้พวกเด็กประถมอย่างพวกกระผม.....อ่าน..
แล้วแหละ.. :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2011, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ความจริงก็เหนื่อยนะ แต่ก็จะลองอธิบายดู ธรรมมะนี้ มันเหมือนคนไปตัดกล้วยมาทั้งเครือ เขาหิ้วกล้วยมาทั้งเครือนั่นแหละ เราเริ่มต้นรู้จักเครือกล้วย(บางคนไม่เคยเห็นกล้วยทั้งเครือก็มีเพราะเป็นคนกรุงเทพ)คนเริ่มรู้จักธรรมมะ(เหมือนคนพึ่งเริ่มเข้าวัดเข้าลานธรรมจักร)ก็คิดว่ากล้วยทั้งเครือนั่นแหละธรรมมะ พอเรียนรู้มากขึ้น(ต้องถูกทางด้วยนะ)ชักเริ่มเข้าใจว่าเอเวลาจะเอากล้วยไปใช้ประโยชน์นี่ ต้องตัดแต่งแบ่งแยกออกเป็นหวีกล้วยก่อนนะ(จำแนกธรรมเป็น เริ่มรู้จักอะไรเป็น เบื้องต้น คือจากเป็นเครือ ท่ามกลางกลายมาจำแนกเป็นหวี) พอเรียนรู้ถูกทางมากขึ้น ก็รู้ว่ากล้วยนี้ ต้องใช้เวลาในการบ่มจากเขียวให้เป็นเหลืองเหมือนกัน เหลืองก็คือสุกดีแล้ว เวลาจะเอากล้วยมาทานหรือทำขนม จะต้องดึงออกมาจากหวี เป็นผลกล้วย ปอกเปลือกออก เอาแต่เนื้อไปทานหรือทำขนม อันนี้ถือว่าเสร็จกิจในเรื่องการเอาประโยขน์จากกล้วย ตกลงตอนแรกเข้าใจว่ากล้วยทั้งเครือคือธรรมมะ ในที่สุดค่อยๆทิ้งไปทีละอย่าง ทิ้งเครือก่อน ทิ่งหวี แล้วก็ปอกเปลือกทิ้งอีก กินแต่เนื้อ ไม่เก็บ ไม่ยึดอะไรไว้เลย
......ทีนี้ที่เราคุยกันอยู่ บางคนก็พึ่งเข้าใจว่าธรรมมะคือเครือกล้วย บางคนก็มองเห็นเป็นหวีแล้ว บางคนกำลังบ่มจากเขียวให้เป็นเหลือง บางคนฉีกผลเหลืองสุกออกจากหวีแล้ว บางคนทานเนื้อแล้ว รู้รสกล้วยแล้ว และทิ้ง เปลือก ทิ้งหวี ทิ้งเครือกล้วย อันเป็นเครื่องห่อหุ้มเนื้อกล้วยได้แล้ว อันนี้คือถึงที่สุด หมดกิจต้องทำ
........ไม่ต้องมีใครมาสอนผิดๆหรอก สอนถูกๆนี่แหละเราก็เข้าใจผิดได้ เพราะแต่ละคน รู้จักธรรมมะไม่เท่ากัน เมื่อเรากินกล้วยแล้วนั่นแหละ คนที่กินก็จะรู้ตรงกันแล้ว ว่ากล้วยรสชาดป็นอย่างนี้ ไปอธิบาย เป็นคำพูดถึงรสชาดกล้วย ให้คนที่ยังไม่ได้กิน ให้มันมันเป็นรสชาดสมมุติขึ้นมามันจึงเป็นเรื่องยาก แล้วก็ทำให้คนเข้าใจไม่ตรงกัน ขัดใจกันอย่างนี้
........ทีนี้ถามว่าถ้าจะมุ่งเอาเนื้อกล้วยเลยได้ไหม(เหมือนที่ชอบพูดว่าเริ่มรู้จักธรรมมะ ก็จะวิปัสนากันเลย) จริงๆครูบาอาจารย์แท้ทุกท่าน ก็บอกไว้ตรงกัน ว่ามันไม่ได้ มันต้องลาดเอียงไป บ่าไปตามลำดับ มันต้อง มีศีล สมาธิ แล้วค่อยปัญญา หรือเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ไม่มีใครกล่าวย้อนจากปลายไปหาต้น ธรรมมะก็เหมือนกัน มันต้องรู้จักเครือกล้วย หวีกล้วย วิธีบ่มกล้วยจากเขียวให้เหลือง
รู้จักเปลือกกล้วย วิธีปอกเปลือก เอาเนื้อไปทานหรือทำขนม เมือได้หวีให้ทิ้งเครือ เมื่อได้ผลให้ทิ้งหวี
เมื่อทานเนื้อ แล้วทิ้งเปลือก รู้รสกล้วยแล้ว ไม่ยึดอะไรไว้เลย ......เจโตวิมุติ/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2011, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ท่านนี่ไปกันใหญ่แล้วครับ ท่านเคยได้ยินเรื่องปัญญาทางโลกกับทางธรรมมั้ยครับ

ปัญญาทางโลก มันก็คือ ความรอบรู้ทั่วไป ปัญญาทางธรรม ก็คือการเรียนรู้ความจริงที่แท้จริง คือรู้กฏธรรมชาติ ๒ กฏ มันก็มีเท่านี้เอง

ความรู้ที่เอามาดับทุกข์ไม่ได้ ไม่เรียกว่าปัญญาในธรรมวินัยนี้ มีตาทิพย์ หูทิพย์ ฯ มันทำให้เห็นเท่านั้น ไม่ได้ทำให้รู้ เหมือนท่านส่องกล้องดูเชื่อโรค เห็นแต่ไม่ได้เรียนก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ถ้าอย่างอยู่ดีๆ มีเสียงกระซิบ หรือรู้แบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว อันนั้นเป็นการเนรมิตมาจากพวกอุปปาติกะ ส่วนมากก็เป็นพวกเทวปุตมาร โดยเฉพาะพวกเจ้ากรรมนายเวร ... พอเผลอกลายเป็นร่างทรงไม่รู้เนื้อรู้ตัว

มรรค ๘ ประพุทธองค์อธิบายไว้อย่างนี้นะครับ

Quote Tipitaka:
[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวบาป ความเห็นชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้รู้แจ้ง ประกอบด้วยวิชชา ความดำริชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นชอบ เจรจาชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริชอบการงานชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาชอบ การเลี้ยงชีพชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานชอบ พยายามชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพชอบ ระลึกชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามชอบ ตั้งใจชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกชอบ แล.


วิชชา คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ หรือ กุศลเหตุ ๓ ผู้รู้แจ้งก็คือผู้ที่ได้เรียนรู้ความจริงของโลกและชีวิต หรือได้ฟังพระธรรมคำสั่งสอนที่ถูกต้องครบถ้วนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

อ้างคำพูด:
ส่วนสมาธิที่เป็นการตั้งมั่น คือการให้จิตอยู่กับปัจจุบันไม่จมแช่กับอารมณ์เก่าครับ มันเป็นสมาธิที่เกิดตามกาล

สมาธิตอนนี้ใช้หนุนปัญญา หรือ เจริญปัญญา ทำให้ปัญญาที่มีแล้วเพิ่มพูนงอกงามขึ้น เหมือนต้องมีต้นมะม่วงงอกขึ้นมาก่อน แล้วจึงมาดูแลให้มันเติบโตขึ้น คุณจะเจริญปัญญาหรือเดินตามรรคได้อย่างไรถ้าคุณยังไม่ได้มรรคเลย คุณจะเอาอะไรไปสร้างวิชชาละครับ ถ้าคุณยังไม่ได้เรียนรู้วิธีการเลย

ได้มรรคแล้ว ก็ถือว่าเป็นอริยบุคคลแล้ว ขั้นต้นก็เป็นศัรทรานุสารีหรือธัมมานุสารี มีความรู้แล้ว ได้ปัญญาแล้ว ความเป็นพุทธเริ่มตรงจุดนี้ คือ วันที่เกิดมีดวงตาเห็นธรรม รู้ทุกข์กับการดับทุกข์ แต่การนับว่าเป็นอริยบุคคลเต็มขั้น นับตั้งแต่โสดาปัตติผล หรือได้เป็นโสดาบันบุคคล ... พูดอีกอย่างคือ ชาวพุทธไม่มีปุถุชน ถ้ายังเป็นปุถุชนอยู่ ก็ยังไม่ถือว่าเป็นชาวพุทธ

อ้างคำพูด:
ไตรลักษณ์ที่ทำให้เกิดปัญญามันไม่ได้จากการอ่านหรือฟัง เราต้องต้องเข้าไปรู้เข้าไปเห็สภาวะนั้นจริงๆมันเป็นเรื่องของความรู้สึกเป็นเรื่องของจิตมันไม่ใช่เรื่องของสมอง

ถ้ารู้เองเห็นเองไม่ใช่สาวกแล้วครับ เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ... มันเป็นคติของพวกมหายานนะครับ พวกนี้ฝึกตนเองเป็นพระพุทธเจ้า

ภูเขา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ถ้าท่านจะรอจนเห็นการเกิดดับของภูเขาด้วยตัวท่านเอง รวมไปถึงโลกจักรวาล ท่านก็ทำไปเถอะครับ ผมเรียนแล้ว รู้แล้ว เห็นด้วยดวงตาของปัญญา (ทิฐิ) แล้ว รู้ตามท่านผู้รู้แล้ว ท่านอยากจะเห็นด้วยตาเนื้อหรือตาใน ท่านก็ฝึกๆ ต่อไปก็แล้วกันครับ ... พอเห็นแล้ว ท่านก็จะรู้อย่างที่ผมรู้นี่แหละ

พระพุทธเจ้าทำวิจัยเอาผลวิจัยมาบอกแล้ว ท่านไม่ได้บอกให้ไปทำวิจัยเองนะครับ ท่านบอกให้เอาสิ่งที่ท่านค้นพบมาปฏิบัติ ผลการวิจัยนั่นแหละครับ คือความรู้ คือปัญญาทางธรรม คือเฉลย คือสิ่งที่เราเอามาปฏิบัติได้เลย

ในพระไตรปิฏก คนที่จะเป็นพุทธ เริ่มจากการได้ฟังธรรมทั้งนั้นแหละครับ ไม่ว่าจะได้ฟังโดยตรงจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือได้ฟังจากพระเถระท่านอื่นๆ ไม่มีรู้เองหรอกครับ

พระสารีบุตรกล่าวถึงการเกิดปัญญาสัมมาทิฐิว่า มาจากการได้สดับรับฟังจากบุคคลอื่น แล้วท่านก็สรุปเรื่องปัญญาไว้ในปฏิสัมภิทามรรค เริ่มจาก สุตตมยปัญญา ศีลมยปัญญา ภาวนามนปัญญา ปัญญา ๓ ประการนี้ เกิดเรียงกันตามเหตุปัยจจัย คือ เรียนจนรู้แล้วก็สังวรไว้ แล้วก็ฝึกให้เจริญขึ้น ท่านยืนยันจะหาปัญญาเองในสมาธิ ท่านก็ทำๆ ไปนะครับ เฉลยมีแล้วไม่เอา อยากจะรู้เองก็ตามใจนะครับ ขยันหน่อย สะสมบารมีให้ได้ครบ ๓๐ ทัศ ใช้เวลานิดหน่อย ก็ราวๆ ๔ อสงขัยกับแสนกัปเท่านั้นเอง

มีพวกที่อ่านพระไตรปิฏก ถึงตอนที่พวกพราหมณ์ชอบมาถามพระพุทธเจ้าว่า ท่านรู้เองได้อย่างไรไม่มีอาจารย์สอน ท่านก็เล่าให้ฟัง ฯ พวกอยากเป็นพระพุทธเจ้าก็หยิบมาแค่สูตรนี้สูตรเดียวเท่านั้นแหละครับ แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติ เพราะอยากเป็นพระพุทธเจ้า ... ก็ขออวยพรให้โชคดีนะครับ

แล้วท่านว่า เครื่องคอมที่อยู่ต่อหน้าท่านมีลักษณะ ใหม่ เก่า แตกสลาย ตัวท่านก็เกิดมาหนุ่มแก่ตาย จริงหรือเปล่าละครับ?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2011, 05:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
ท่านนี่ไปกันใหญ่แล้วครับ ท่านเคยได้ยินเรื่องปัญญาทางโลกกับทางธรรมมั้ยครับ

ปัญญาทางโลก มันก็คือ ความรอบรู้ทั่วไป ปัญญาทางธรรม ก็คือการเรียนรู้ความจริงที่แท้จริง คือรู้กฏธรรมชาติ ๒ กฏ มันก็มีเท่านี้เอง

ความรู้ที่เอามาดับทุกข์ไม่ได้ ไม่เรียกว่าปัญญาในธรรมวินัยนี้ มีตาทิพย์ หูทิพย์ ฯ มันทำให้เห็นเท่านั้น ไม่ได้ทำให้รู้ เหมือนท่านส่องกล้องดูเชื่อโรค เห็นแต่ไม่ได้เรียนก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ถ้าอย่างอยู่ดีๆ มีเสียงกระซิบ หรือรู้แบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว อันนั้นเป็นการเนรมิตมาจากพวกอุปปาติกะ ส่วนมากก็เป็นพวกเทวปุตมาร โดยเฉพาะพวกเจ้ากรรมนายเวร ... พอเผลอกลายเป็นร่างทรงไม่รู้เนื้อรู้ตัว

มันผิดแล้วล่ะครับ ปัญญาทางโลกมันเกิดจากการอ่าน การฟัง แล้วมาสรุปด้วยการใช้สมองคิด
ส่วนปัญญาทางธรรม มันก็เกิดจากการอ่านการฟังเหมือนกัน แต่มันมาสรุป
ด้วยการเห็นจริงไม่ได้เกิดจากความคิด ถ้าจะเปรียบกับธรรมชาติ ปัญญาทางโลกก็คือ
การมองดูออกไปภายนอก มองดูคนอื่นสิ่งอื่น เป็นธรรมชาติ
แต่ปัญญาทางธรรมคือการมองดูตัวเองเป็น ส่วนหนึ่งของธรรมชาติ

ท่านซูปครับ ผมถามหน่อย คนที่ขี่จักยานเป็น ทำไมเราเรียกเขาว่าขี่จักรยานได้
มันไม่ใช่แค่เขารู้วิธีการขี่ รู้การทรงตัว รู้ทุกส่วนของจักรยาน
แบบนี้จะเรียกเขาขี่จักรยานเป็นหรือครับ มันต้องลงไปชี่จริงๆ

ต่อให้ท่านได้รับการสั่งสอนเรื่องทฤษฎี จากนักแข่งจักยานจนรอบรู้หมดแล้ว
ถ้าท่านยังไม่ได้ลงมือขี่จักยานด้วยตัวเอง มันก็ยังไม่เรียกว่าท่าน ขี่จักรยานได้หรอกครับ
และต่อให้รอบรู้เพียงใด การขี่ครั้งแรกก็ต้องล้ม มันจะต้องล้มต้องลุกแบบนี้
จนกว่าเราจะเข้าใจและขี่ได้เองครับ

Supareak Mulpong เขียน:
มรรค ๘ ประพุทธองค์อธิบายไว้อย่างนี้นะครับ

Quote Tipitaka:
[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวบาป ความเห็นชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้รู้แจ้ง ประกอบด้วยวิชชา ความดำริชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นชอบ เจรจาชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริชอบการงานชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาชอบ การเลี้ยงชีพชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานชอบ พยายามชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพชอบ ระลึกชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามชอบ ตั้งใจชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกชอบ แล.

วิชชา คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ หรือ กุศลเหตุ ๓ ผู้รู้แจ้งก็คือผู้ที่ได้เรียนรู้ความจริงของโลกและชีวิต หรือได้ฟังพระธรรมคำสั่งสอนที่ถูกต้องครบถ้วนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ท่านซุปครับ ท่านตอนเริ่มแรกเห็นท่านคุยเรื่องการใช้พระไตรปิฎก ผมก็คิดว่าท่านจะ
รู้จักการพิจารณาธรรม แต่ผิดคาดครับ ที่ท่านบอกว่า อโลภะ อโทสะ อโมหะเป็นวิชชา
ผมว่าท่านเกิดความสับสนนะครับ สิ่งที่ท่านว่ามา มันไม่ใช่วิชชา มันเป็นกิเลสถึงแม้มันจะ
เป็นกุศลก็ตามเถอะ วิชชาทำให้เราหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงครับ
การเอาดีละชั่วหรือทำกุศลไม่อกุศล มันเป็นเรื่องปกติของทางโลกครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2011, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
ส่วนสมาธิที่เป็นการตั้งมั่น คือการให้จิตอยู่กับปัจจุบันไม่จมแช่กับอารมณ์เก่าครับ มันเป็นสมาธิที่เกิดตามกาล

สมาธิตอนนี้ใช้หนุนปัญญา หรือ เจริญปัญญา ทำให้ปัญญาที่มีแล้วเพิ่มพูนงอกงามขึ้น เหมือนต้องมีต้นมะม่วงงอกขึ้นมาก่อน แล้วจึงมาดูแลให้มันเติบโตขึ้น คุณจะเจริญปัญญาหรือเดินตามรรคได้อย่างไรถ้าคุณยังไม่ได้มรรคเลย คุณจะเอาอะไรไปสร้างวิชชาละครับ ถ้าคุณยังไม่ได้เรียนรู้วิธีการเลย

ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ปัญญามันจะเกิดได้ก็ด้วยมรรค และต้องเป็นมรรคที่ครบองค์แปดด้วย
การเกิดขึ้นครบองค์แปดนี้มันเป็นเหตุแห่งปัญญา
ลักษณะการเกิดมรรคไม่จำเป็นต้อง เกิดพร้อมกันที่เดียว การเกิดจะต้องให้เป็นลำดับของศีลนำ
สมาธิ เมื่อมรรคในส่วนของศีลและสมาธิครบ มันก็จะเกิดมรรคในส่วนของปัญญา


มรรคท่านมีไว้ให้ปฏิบัติ ไม่ใช่ให้อ่านให้รู้อย่างเดียว อย่างเรื่องของศีลท่านก็เน้นเรื่อง
วาจา ความประพฤติและการเลี้ยงชีพ ส่วนสมาธิท่านให้มั่นเจริญสติ สมาธิด้วยความเพียร
ถ้าทำได้อย่างนี้แล้วปัญญาก็จะเกิด จะมีความคิดความเห็นที่ถูกต้อง
ฉะนั้น ศีลและสมาธินั้น สามารถได้มาจากสัญญาความจำที่ได้อ่านได้ฟังมา
แต่มันไม่ใช่ปัญญา ปัญญาที่แท้จริงคือ ผลของการปฎิบัตินั้นเรื่องของศีลและสมาธิ

ที่สำคัญปัญญาในส่วนของความเห็นชอบ ความคิดชอบมันต้องเกิดขึ้น
กับเราเอง เราต้องเข้าไปรู้เองเห็นเอง ถ้าใช้วิธีแบบที่ท่านซุปบอกเขาเรียกว่า
การเห็นตามเขา การรู้ตามเขาครับ


แล้วกับคำที่ท่านบอกว่า การเรียนรู้วิธีการ การเรียนรู้มันไม่ใช่ปัญญาทางธรรม
มันเป็นปัญญาทางโลก การเรียนรู้มรรคก็แค่รู้มรรค แต่จะให้ได้มาซึ่งมรรคต้องปฏิบัติก่อนครับ


Supareak Mulpong เขียน:
ได้มรรคแล้ว ก็ถือว่าเป็นอริยบุคคลแล้ว ขั้นต้นก็เป็นศัรทรานุสารีหรือธัมมานุสารี มีความรู้แล้ว ได้ปัญญาแล้ว ความเป็นพุทธเริ่มตรงจุดนี้ คือ วันที่เกิดมีดวงตาเห็นธรรม รู้ทุกข์กับการดับทุกข์ แต่การนับว่าเป็นอริยบุคคลเต็มขั้น นับตั้งแต่โสดาปัตติผล หรือได้เป็นโสดาบันบุคคล ... พูดอีกอย่างคือ ชาวพุทธไม่มีปุถุชน ถ้ายังเป็นปุถุชนอยู่ ก็ยังไม่ถือว่าเป็นชาวพุทธ

ใช่ครับได้มรรคก็เป็นอริยบุคคล แต่มรรคนั้นต้องเป็นมรรคที่ผ่านการปฏิบัติเองรู้เอง
ไม่ใช่รู้ตามเขา เชื่อตามเขา อย่างนี้ถึงจะเอาไปดับทุกข์ในใจของเราเองได้
มันใจเขาใจเราไม่เหมือนกัน

สรุปที่ท่านบอกว่า เอาปัญญานำสมาธิ มันไม่ใช่ปัญญา
มันเป็นแค่สัญญาหรือความจำได้หมายรู้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2011, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คนที่ขี่จักยานเป็น ทำไมเราเรียกเขาว่าขี่จักรยานได้มันไม่ใช่แค่เขารู้วิธีการขี่ รู้การทรงตัว รู้ทุกส่วนของจักรยานแบบนี้จะเรียกเขาขี่จักรยานเป็นหรือครับ มันต้องลงไปชี่จริงๆ

การเรียนรู้ของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นทางโลกหรือทางธรรม มันเริ่มต้นเหมือนกัน เพราะเป็นธรรมชาติของจิตเหมือนกัน จากนั้นก็เอามาฝึก ฝึกแล้วก็เกิดความชำนาญ รู้แล้วเพราะเรียนมาดีแล้วก็เอามาฝึกหรือภาวนา ผมไม่ได้บอกว่าผมเรียนรู้มาอย่างเดียว ฝึกแล้ว เอาความรู้ที่ได้มาฝึกฝนตนเองแล้ว เห็นผลชัดแล้ว ถึงเอามาบอก ไม่ได้แต่อ่านแล้วสรุปเอามาบอก

อ้างคำพูด:
มันเป็นกิเลสถึงแม้มันจะเป็นกุศลก็ตามเถอะ วิชชาทำให้เราหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงครับ

เหตุปัจโย ธรรมมันมีเหตุ กุศลที่ใหนมีผลออกมาเป็นอกุศลไปได้ ต้นมะม่วงที่ใหนปลูกออกมาแล้วเป็นมะละกอ

ความพอใจ ภาษาธรรมเรียก โลภะ ความไม่พอใจ ภาาาธรรมเรียก โทสะ ความหลง ภาษาธรรมเรียกโมหะ สรุปว่า ความพอใจไม่พอใจและความหลง เป็น เหตุปัจจโย ของกิเลสตัณหา ใช่ใหม? ถ้าตัดความพอใจไม่พอใจออกไป มันจะเหลืออะไรละครับ? ถ้าไม่มีความพอใจ ไม่มีความไม่พอใจ ไม่หลง แล้วความรู้สึกนึกคิดของคนจะเป็นอย่างไรละครับ?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ หรือ วิชชา เป็นเหตุปัจจโยของความดีทั้งปวง เป็นเหตุปัจจโยของศีล เป็นเหตุปัจจโยของสมาธิ เป็นเหตุปัจจโยของโลกกุตระปัญญา ศีลที่เกิดจากโลกุตตระปัญญา มาจากการที่เราสามารถเอาชนะความพอใจไม่พอใจได้ ที่เราเอาชนะมันได้ เพราะเรามีความรู้ที่ดับมันได้

ความพอใจหรือความอยากดับ จะมีอทินาทานเกิดแต่ใหน? ความไม่พอใจดับจะมีปานาติบาทเกิดแต่ใหน? ฯ

อ้างคำพูด:
การเกิดขึ้นครบองค์แปดนี้มันเป็นเหตุแห่งปัญญา

ไม่มีในธรรมวินัยนะครับ ไม่มีเหตุปัจจัยรองรับ มีแต่ปัญญาทำให้เกิดมรรค เดินตามมรรคทำให้ปัญญาพอกพูน

อ้างคำพูด:
ลักษณะการเกิดมรรคไม่จำเป็นต้อง เกิดพร้อมกันที่เดียว การเกิดจะต้องให้เป็นลำดับของศีลนำ
สมาธิ เมื่อมรรคในส่วนของศีลและสมาธิครบ มันก็จะเกิดมรรคในส่วนของปัญญา

มรรคเกิดพร้อมกัน แยกกันไม่ได้ เพราะต่างเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน ความคิดชอบมีเหตุปัจจัยมาจากความเห็นขอบ ความเห็นชอบมีเหตุปัยยัมาจากการเอาขนะความพอใจไม่พอใจได้ เอาชนะความพอใจไม่พอใจได้เพราะมีปัญญา ฯ

ศีล สมาธิ แลัวไปหาปัญญาเอข้างหน้า เป็นคำสอนของอาฬารดาบส อุทกดาบส ที่สอนให้เจ้าชายสิทธถะทำ แล้วท่านก็สรุปมาว่า เป็นมิจฉามรรค

อ้างคำพูด:
มรรคท่านมีไว้ให้ปฏิบัติ ไม่ใช่ให้อ่านให้รู้อย่างเดียว อย่างเรื่องของศีลท่านก็เน้นเรื่อง
วาจา ความประพฤติและการเลี้ยงชีพ ส่วนสมาธิท่านให้มั่นเจริญสติ สมาธิด้วยความเพียร
ถ้าทำได้อย่างนี้แล้วปัญญาก็จะเกิด

ทำไปเถอะครับ เจ้าชายสิทธถะยังหาปัยญาด้วยวิธีนี้ไม่ได้ อยากจะนู้ว่าใครหน้าใหนจะทำได้

อ้างคำพูด:
แต่มรรคนั้นต้องเป็นมรรคที่ผ่านการปฏิบัติเองรู้เอง
ไม่ใช่รู้ตามเขา เชื่อตามเขา อย่างนี้ถึงจะเอาไปดับทุกข์ในใจของเราเองได้
มันใจเขาใจเราไม่เหมือนกัน

รู้เองก็เป็นพระพุทธเจ้าแล้วครับ เป็นสาวกเพราะรู้ตาม ... ทุกข์เกิด ๖ ทางต้องดับทั้ง ๖ ทาง ดับทางใจทางเดียวได้ที่ใหน

จนกว่าท่านจะเข้าใจอิททัปปัจนายตาปกิจสมุปบาทนั่นแหละครับ ท่านถึงจะมองธรรมเป็นธรรม

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2011, 09:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
คนที่ขี่จักยานเป็น ทำไมเราเรียกเขาว่าขี่จักรยานได้มันไม่ใช่แค่เขารู้วิธีการขี่ รู้การทรงตัว รู้ทุกส่วนของจักรยานแบบนี้จะเรียกเขาขี่จักรยานเป็นหรือครับ มันต้องลงไปชี่จริงๆ

การเรียนรู้ของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นทางโลกหรือทางธรรม มันเริ่มต้นเหมือนกัน เพราะเป็นธรรมชาติของจิตเหมือนกัน จากนั้นก็เอามาฝึก ฝึกแล้วก็เกิดความชำนาญ รู้แล้วเพราะเรียนมาดีแล้วก็เอามาฝึกหรือภาวนา ผมไม่ได้บอกว่าผมเรียนรู้มาอย่างเดียว ฝึกแล้ว เอาความรู้ที่ได้มาฝึกฝนตนเองแล้ว เห็นผลชัดแล้ว ถึงเอามาบอก ไม่ได้แต่อ่านแล้วสรุปเอามาบอก

อ้างคำพูด:
มันเป็นกิเลสถึงแม้มันจะเป็นกุศลก็ตามเถอะ วิชชาทำให้เราหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงครับ

เหตุปัจโย ธรรมมันมีเหตุ กุศลที่ใหนมีผลออกมาเป็นอกุศลไปได้ ต้นมะม่วงที่ใหนปลูกออกมาแล้วเป็นมะละกอ

ความพอใจ ภาษาธรรมเรียก โลภะ ความไม่พอใจ ภาาาธรรมเรียก โทสะ ความหลง ภาษาธรรมเรียกโมหะ สรุปว่า ความพอใจไม่พอใจและความหลง เป็น เหตุปัจจโย ของกิเลสตัณหา ใช่ใหม? ถ้าตัดความพอใจไม่พอใจออกไป มันจะเหลืออะไรละครับ? ถ้าไม่มีความพอใจ ไม่มีความไม่พอใจ ไม่หลง แล้วความรู้สึกนึกคิดของคนจะเป็นอย่างไรละครับ?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ หรือ วิชชา เป็นเหตุปัจจโยของความดีทั้งปวง เป็นเหตุปัจจโยของศีล เป็นเหตุปัจจโยของสมาธิ เป็นเหตุปัจจโยของโลกกุตระปัญญา ศีลที่เกิดจากโลกุตตระปัญญา มาจากการที่เราสามารถเอาชนะความพอใจไม่พอใจได้ ที่เราเอาชนะมันได้ เพราะเรามีความรู้ที่ดับมันได้

ความพอใจหรือความอยากดับ จะมีอทินาทานเกิดแต่ใหน? ความไม่พอใจดับจะมีปานาติบาทเกิดแต่ใหน? ฯ

อ้างคำพูด:
การเกิดขึ้นครบองค์แปดนี้มันเป็นเหตุแห่งปัญญา

ไม่มีในธรรมวินัยนะครับ ไม่มีเหตุปัจจัยรองรับ มีแต่ปัญญาทำให้เกิดมรรค เดินตามมรรคทำให้ปัญญาพอกพูน

อ้างคำพูด:
ลักษณะการเกิดมรรคไม่จำเป็นต้อง เกิดพร้อมกันที่เดียว การเกิดจะต้องให้เป็นลำดับของศีลนำ
สมาธิ เมื่อมรรคในส่วนของศีลและสมาธิครบ มันก็จะเกิดมรรคในส่วนของปัญญา

มรรคเกิดพร้อมกัน แยกกันไม่ได้ เพราะต่างเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน ความคิดชอบมีเหตุปัจจัยมาจากความเห็นขอบ ความเห็นชอบมีเหตุปัยยัมาจากการเอาขนะความพอใจไม่พอใจได้ เอาชนะความพอใจไม่พอใจได้เพราะมีปัญญา ฯ

ศีล สมาธิ แลัวไปหาปัญญาเอข้างหน้า เป็นคำสอนของอาฬารดาบส อุทกดาบส ที่สอนให้เจ้าชายสิทธถะทำ แล้วท่านก็สรุปมาว่า เป็นมิจฉามรรค

อ้างคำพูด:
มรรคท่านมีไว้ให้ปฏิบัติ ไม่ใช่ให้อ่านให้รู้อย่างเดียว อย่างเรื่องของศีลท่านก็เน้นเรื่อง
วาจา ความประพฤติและการเลี้ยงชีพ ส่วนสมาธิท่านให้มั่นเจริญสติ สมาธิด้วยความเพียร
ถ้าทำได้อย่างนี้แล้วปัญญาก็จะเกิด

ทำไปเถอะครับ เจ้าชายสิทธถะยังหาปัยญาด้วยวิธีนี้ไม่ได้ อยากจะนู้ว่าใครหน้าใหนจะทำได้

อ้างคำพูด:
แต่มรรคนั้นต้องเป็นมรรคที่ผ่านการปฏิบัติเองรู้เอง
ไม่ใช่รู้ตามเขา เชื่อตามเขา อย่างนี้ถึงจะเอาไปดับทุกข์ในใจของเราเองได้
มันใจเขาใจเราไม่เหมือนกัน

รู้เองก็เป็นพระพุทธเจ้าแล้วครับ เป็นสาวกเพราะรู้ตาม ... ทุกข์เกิด ๖ ทางต้องดับทั้ง ๖ ทาง ดับทางใจทางเดียวได้ที่ใหน

จนกว่าท่านจะเข้าใจอิททัปปัจนายตาปกิจสมุปบาทนั่นแหละครับ ท่านถึงจะมองธรรมเป็นธรรม

Supareak Mulponggเหนื่อยไหมทีต้องเป็นโสดาบัน

การเอาพระพุทธประวัติมาอธิบายเหมือนกับเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน

ที่สำคัญ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงเคยอธิบายให้ใครไปถึงนิพพาน

พระพุทธเจ้าเจ้าทรงแต่สอนให้ปฏิบัติให้ถึงพระนิพพาน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 37  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 41 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร