วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 37  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2011, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
การจะบอกว่าธรรมบทนี้หรือธรรมบทนั้นตรัสแก่ภิกษุนะ ไม่ได้ตรัสสอนกับชาวบ้าน ชาวบ้านจึงไม่ควรศึกษา อันนี้ผมขอไม่เห็นด้วยครับ

ผิดบุคคลก็ผิดธรรมนะครับ บุคคลนั้นแบ่งตามสภาวะธรรมได้ถึง ๑๒ ประเภท ไปเอาหลักสูตรปริญญาตรีมาให้เด็กประถมทำ มันจะได้อย่างไรละครับ ธรรมชาตินั้นต้องมีเหตุปัจจัยรองรับ เหมือนออกซิเจนเจอไฮโดรเจนผลออกมาก็ต้องเป็นน้ำเป็นอย่างอื่นไม่ได้ จะไปคิดเอาเองไม่ได้ เพราะจะเป็นการเอาความเห็นไปตัดสินความจริง

สมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ตรัสสอนอนุบุพพิกถาจนผู้ฟังเข้าใจจึงแสดงอริยสัจสี่ เมื่อเห็นว่ามีดวงตาเห็นธรรมแล้วจึงชวนมาบวช หรือ ผู้ใดได้ฟังธรรมมีดวงตาเห็นธรรมแล้วจึงมาขอบวช เมื่อบวชแล้วก็ถือว่าเป็นพระอริยะ เป็นพระโสดาบัน ท่านให้เจริญอิยทรีย์ก่อน เมื่อสังโยชน์เบื้องล่าง ๓ หรือ ๕ สิ้นไป ท่านจึงจะให้เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ถือเป็นมรรคเบื้องสูงหรืออรหันตมรรค รายละเอียดอยู่ในทันตภูมิสูตร สมัยนั้นไม่มีดวงตาเห็นธรรมท่านไม่ให้บวชหรอกครับ

การบรรลุธรรมนั้นเป็นขั้นเป็นตอน อุปมาเหมือนน้ำทะเลทีไม่ได้ลึกมาแต่ก่อนเลย ลาดลึกลงไปเป็นลำดับ การบรรลุธรรมก็เหมือนกัน เมื่อได้เรียนรู้พระธรมคำสั่งสอน เกิดมีดวงตาเห็นธรรม หรือ เกิดปัญญาจากการฟัง เป็นโสดาบัน ก็ต้องมาเจริญอินทรีย์ให้ได้โสดาปัตติผล ดับความเห็นผิด (สักกายะ) ให้ได้ก่อน ด้วยโสดาปัตติมรรค ถึงจะไปในขั้นตอนต่อๆ ไปได้

เพราะฉะนั้น ภิกษุในสมัยพุทธกาล มีแต่พระอริยะ สมมุติสงฆ์เกิดปลายพุทธสมัยแทบไม่มีพูดถึงเลยในพระไตรปิฏก เพราะฉะนั้น ในพระไตรปิฏก ถ้าท่านยึดเอาสูตรใดสูตรหนึ่งมาโดยไม่ดูให้ดีก่อนว่า ท่านสอนผู้ใด เป็นบุคคลธรรมดาหรือเป็นอริยบุคคล เป็นเสขุบุคคลหรืออเสขบุคคล แล้วท่านก็ไปยึดว่ามีสอนในพระไตรปิฏก แบบนี้ก็ถือว่าหลงทาง กลายเป็นทิฐิมานะ เมื่อท่านทำเหตุผิด ผลอก็ออกมาผิดเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้

ในพระใตรปิฏก ๙๙ เปอร์เซ็นเป็นเรื่องของพระอริยะ เราเอามาปฏิบัติไม่ได้ ถึงจะมีดวงตาเห็นธรรมแล้วแต่เรายังไม่ได้บวช ต้องแยกอีกว่า เรื่องใหนท่านเล่าให้ฟังเฉยๆ เรื่องใหนท่านสอนให้ปฏิบัติ สำหรับเรื่องที่สอนอุบาสกอุบาสิกา จะมีสอนให้เกิดมีดวงตาเห็นธรรม และสอนผู้มีดวงตาเห็นธรรมแล้วให้ปฏิบัติ มีอยู่ไม่กี่หน้าในพระไตรปิฏก ถ้าไม่อ่านดีๆ หรืออ่านหลายๆ รอบ จะหาไม่เจอ

สมาธิไม่ได้ทำให้เกิดปัญญา แต่ถ้ามีปัญญาแล้ว สมาธิจะหนุนปัญญา เพราะฉะนั้น ต้องมีปัญญาให้ได้ก่อน แล้วค่อยไปพูดถึงเรื่องสมาธิ หรือ สมาธิจะเป็นเรื่องสุดท้ายที่เราจะกล่างถึงในธรรมวินัยนนี้

ปัญญา ศีล สมาธิ ในมรรค ๘ เรียงการเกิดตามเหตุปัจจัยไว้ตามนี้

อ้างคำพูด:
จริตของแต่ละคนก็ต่างกัน
วิปัสสนาทำได้เลย ไม่มีอะไรเกี่ยวกับจริต เรื่องจริตเป็นเรื่องของพวกทำสมาธิ ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนา

Supareak Mulpong จงรู้อย่างหนึ่งว่า

อริยบุคคลคือ อเสขะ คือ ไม่ต้องสอนแล้ว

แม้แต่โสดาบันก็สำเร็จอรหันต์แน่นอน

มีแต่โซดาปั่น(ยืมเขามาใช้)จึงต้องเสขะ

ที่สั่งสอนมาอวิชชาทั้งนั้น

อย่างนี้อย่าว่าแต่อ้างว่าเป็นโสดาบันเลย

แค่โมฆะบุรุษก็คงพอได้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2011, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
ไตรลักษณ์ที่ทำให้เกิดปัญญามันไม่ได้จากการอ่านหรือฟัง เราต้องต้องเข้าไปรู้เข้าไปเห็สภาวะนั้นจริงๆมันเป็นเรื่องของความรู้สึกเป็นเรื่องของจิตมันไม่ใช่เรื่องของสมอง

ถ้ารู้เองเห็นเองไม่ใช่สาวกแล้วครับ เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ... มันเป็นคติของพวกมหายานนะครับ พวกนี้ฝึกตนเองเป็นพระพุทธเจ้า

ท่านครับ ที่เราเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ก็เพราะพระองค์มาบอกวิธีการไปนิพพาน
พระองค์ไม่ได้เอานิพพานมาให้เรา นิพานของใครก็ของมันต้องไปเอากันเอง
Supareak Mulpong เขียน:
ภูเขา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ถ้าท่านจะรอจนเห็นการเกิดดับของภูเขาด้วยตัวท่านเอง รวมไปถึงโลกจักรวาล ท่านก็ทำไปเถอะครับ ผมเรียนแล้ว รู้แล้ว เห็นด้วยดวงตาของปัญญา (ทิฐิ) แล้ว รู้ตามท่านผู้รู้แล้ว ท่านอยากจะเห็นด้วยตาเนื้อหรือตาใน ท่านก็ฝึกๆ ต่อไปก็แล้วกันครับ ... พอเห็นแล้ว ท่านก็จะรู้อย่างที่ผมรู้นี่แหละ

มันเป็นเพราะท่าน หลงเข้าใจผิดตั้งแต่ต้น กลางมันก็เลยผิดด้วย สุดท้ายปลายมันก็คงผิด

ไตรลักษณ์ ที่เขากล่าวกัน มันเป็นการ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปของจิตของอารมณ์เราครับ
มันไม่ใช่ไปดูอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาของสิ่งภายนอก ไหนบอกรู้แล้วไงล่ะ

Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
พระพุทธเจ้าทำวิจัยเอาผลวิจัยมาบอกแล้ว ท่านไม่ได้บอกให้ไปทำวิจัยเองนะครับ ท่านบอกให้เอาสิ่งที่ท่านค้นพบมาปฏิบัติ ผลการวิจัยนั่นแหละครับ คือความรู้ คือปัญญาทางธรรม คือเฉลย คือสิ่งที่เราเอามาปฏิบัติได้เลย

ผมว่าท่านกำลังสับสนกับสิ่งที่เรากำลังถกกันหรือเปล่าครับ
ใช่ครับพระพุทธเจ้า เป็นผู้วิจัย จนได้ผลวิจัยออกมา แต่ผลที่ได้มันก็เป็นของพระพุทธเจ้า
มันใช้ได้เฉพาะพระพุทธเจ้า เพราะวัตถุดิบที่ใช้มันมีเฉพาะของใครของมัน จิตของใครของมัน
สภาวะที่หลุดพ้นก็ของใครของมัน

เราไม่ได้วิจัยเองครับ แต่ถ้าเปรียบวิธีวิจัยเป็นสูตรส่วนผสม เราก็ต้องอาศัยสูตรที่ว่าไปทำให้เกิดผล
คือปัญญาเอง

ถ้าพูดถึงปัญญาในส่วนของเรา มันคือผลที่ได้จากการทำตามสูตร
ที่พระพุทธเจ้าได้วิจัยมา ดังนั้นปัญญาที่ท่านซุปอ้างมาว่าฟังหรืออ่านวิธีของพระพุทธเจ้า
นั้นก็คือปัญญาแล้ว ใช่ครับมันเป็นปัญญาแต่มันเป็นปัญญาของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ปัญญาของเรา

ในตอนแรกพระพุทธเจ้าลองผิดลองถูกอันนี้ยังไม่เรียกปัญญาครับ จวบจนพระพุทธเจ้า
ลองทำจนเกิดผลเป็นปัญญาขึ้น ท่านจึงใช้ปัญญากลับมามองวิธีการของพระองค์
วิธีการอันนั้นแหล่ะคือปัญญาของพระองค์

ในมุมกลับกัน ถ้าเราใช้วิธีการของพระพุทธเจ้า มันก็ก็เป็นปัญญาของพระพุทธเจ้า
มันไม่ใช่ปัญญาของเรา ของเรามันเป็นแค่วิธีการ ต่อเมื่อเราทำจนเกิดผลเป็นปัญญาแล้ว
แสดงว่าเรามาถูกทาง นั้นแหล่ะทั้งผลและวิธีจึงรวมเรียกว่าปัญญา
ฉะนั้นเราจะใช้ปัญญานำหน้าไม่ได้เพราะเรายังไม่มี
ที่บอกว่ามีด้วยการอ่าน นั้นมันปัญญาของพระพุทธเจ้า ถ้าเราอ่านแล้วไม่ปฏิบัติ
หรืออ่านแล้วยังหลงเข้าใจผิด เราก็เป็นแค่นกแก้วนกขุนทองครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2011, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
พระสารีบุตรกล่าวถึงการเกิดปัญญาสัมมาทิฐิว่า มาจากการได้สดับรับฟังจากบุคคลอื่น แล้วท่านก็สรุปเรื่องปัญญาไว้ในปฏิสัมภิทามรรค เริ่มจาก สุตตมยปัญญา ศีลมยปัญญา ภาวนามนปัญญา ปัญญา ๓ ประการนี้ เกิดเรียงกันตามเหตุปัยจจัย คือ เรียนจนรู้แล้วก็สังวรไว้ แล้วก็ฝึกให้เจริญขึ้น ท่านยืนยันจะหาปัญญาเองในสมาธิ ท่านก็ทำๆ ไปนะครับ เฉลยมีแล้วไม่เอา อยากจะรู้เองก็ตามใจนะครับ ขยันหน่อย สะสมบารมีให้ได้ครบ ๓๐ ทัศ ใช้เวลานิดหน่อย ก็ราวๆ ๔ อสงขัยกับแสนกัปเท่านั้นเอง

ท่านพูดจาสับสนจังครับ ท่านเข้าใจมั้ยว่าปัญญา ไอ้ตัวที่ดับทุกข์มันมีของมันอยู่แล้ว
เพียงแต่ในตอนแรกเรายังไม่รู้ว่ามันมีอยู่ พระพุทธเจ้าเป็นผู้มาบอกว่ามันมี แต่พระองค์เน้นว่า
ทุกคนต้องเดินทางไปเอาเอง เพราะคนหนึ่งเอาได้เฉพาะตัวเอง

แล้วไอ้สมาธิที่ผมว่า ผมบอกท่านหรือครับว่า มันเป็นการมานั่งทำสมาธิหาปัญญา
ผมก็บอกว่า สมาธิมันมีสองตัว ตัวที่ใช้เป็นตัวนำปัญญามันเป็นการตั้งใจมั่นมันเกิดตามกาล
พระสารีบุตรตอนเป็นอุปติสสะ ที่ได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิ
ท่านว่า อุปติสสะไม่ต้องมีสมาธิในการฟังหรอกหรือ การฟังธรรมให้เข้าใจมันต้องมีสมาธิ
ในการฟังมันถึงจะรู้เรื่อง


Supareak Mulpong เขียน:
มีพวกที่อ่านพระไตรปิฏก ถึงตอนที่พวกพราหมณ์ชอบมาถามพระพุทธเจ้าว่า ท่านรู้เองได้อย่างไรไม่มีอาจารย์สอน ท่านก็เล่าให้ฟัง ฯ พวกอยากเป็นพระพุทธเจ้าก็หยิบมาแค่สูตรนี้สูตรเดียวเท่านั้นแหละครับ แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติ เพราะอยากเป็นพระพุทธเจ้า ... ก็ขออวยพรให้โชคดีนะครับ

แล้วท่านว่า เครื่องคอมที่อยู่ต่อหน้าท่านมีลักษณะ ใหม่ เก่า แตกสลาย ตัวท่านก็เกิดมาหนุ่มแก่ตาย จริงหรือเปล่าละครับ?

ประโยคนี้ท่านพูดกับใครครับผมงง เอางี้ครับถ้าท่านเข้าใจว่า
อ่านสิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบแต่อย่างเดียวนั้นคือปัญญา ก็ตามใจท่านเถอะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2011, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
คนที่ขี่จักยานเป็น ทำไมเราเรียกเขาว่าขี่จักรยานได้มันไม่ใช่แค่เขารู้วิธีการขี่ รู้การทรงตัว รู้ทุกส่วนของจักรยานแบบนี้จะเรียกเขาขี่จักรยานเป็นหรือครับ มันต้องลงไปชี่จริงๆ

การเรียนรู้ของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นทางโลกหรือทางธรรม มันเริ่มต้นเหมือนกัน เพราะเป็นธรรมชาติของจิตเหมือนกัน จากนั้นก็เอามาฝึก ฝึกแล้วก็เกิดความชำนาญ รู้แล้วเพราะเรียนมาดีแล้วก็เอามาฝึกหรือภาวนา ผมไม่ได้บอกว่าผมเรียนรู้มาอย่างเดียว ฝึกแล้ว เอาความรู้ที่ได้มาฝึกฝนตนเองแล้ว เห็นผลชัดแล้ว ถึงเอามาบอก ไม่ได้แต่อ่านแล้วสรุปเอามาบอก

แล้วคำพูดที่ท่านว่า เอาปัญญานำ นี่มันหมายถึงอะไรครับ
ความหมายของปัญญา คือผลของการปฏิบัติฝึกฝน จนเกิดผลสำเร็จในสิ่งที่ตั้งใจ

การเป็นครูสอนให้คนรู้วิธีขี่จักรยานทั้งๆที่ตัวเอง ไม่เคยขี่จักรยานเลย
แบบนี้เขาไม่เรียกคนมีปัญญานะครับ

เด็กถ้าเอาวิธีของครูมาหัดขี่จักยานจนเกิดผล เด็กคนนี้จึงจะได้ชื่อว่ามีปัญญา
เพราะได้เห็นผลถึงแม้จะเป็นวิธีของคนอื่นก็เถอะ

สรุปประเด็นในส่วนนี้ก็คือ ท่านอ้างว่า ปัญญานำหน้าการปฏิบัติได้ครับ
แต่ผมไม่เห็นด้วยจึงยกตัวอย่างนี้ขึ้นมา
Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
มันเป็นกิเลสถึงแม้มันจะเป็นกุศลก็ตามเถอะ วิชชาทำให้เราหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงครับ

เหตุปัจโย ธรรมมันมีเหตุ กุศลที่ใหนมีผลออกมาเป็นอกุศลไปได้ ต้นมะม่วงที่ใหนปลูกออกมาแล้วเป็นมะละกอ

ความพอใจ ภาษาธรรมเรียก โลภะ ความไม่พอใจ ภาาาธรรมเรียก โทสะ ความหลง ภาษาธรรมเรียกโมหะ สรุปว่า ความพอใจไม่พอใจและความหลง เป็น เหตุปัจจโย ของกิเลสตัณหา ใช่ใหม? ถ้าตัดความพอใจไม่พอใจออกไป มันจะเหลืออะไรละครับ? ถ้าไม่มีความพอใจ ไม่มีความไม่พอใจ ไม่หลง แล้วความรู้สึกนึกคิดของคนจะเป็นอย่างไรละครับ?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ หรือ วิชชา เป็นเหตุปัจจโยของความดีทั้งปวง เป็นเหตุปัจจโยของศีล เป็นเหตุปัจจโยของสมาธิ เป็นเหตุปัจจโยของโลกกุตระปัญญา ศีลที่เกิดจากโลกุตตระปัญญา มาจากการที่เราสามารถเอาชนะความพอใจไม่พอใจได้ ที่เราเอาชนะมันได้ เพราะเรามีความรู้ที่ดับมันได้

ความพอใจหรือความอยากดับ จะมีอทินาทานเกิดแต่ใหน? ความไม่พอใจดับจะมีปานาติบาทเกิดแต่ใหน? ฯ

ท่านซุปครับเรากำลังพูดกันถึงเรี่อง วิชชา ซึ่งมันอยู่ในหลักของปฏิจจสมุบาท
ท่านท่านจะกล่าวถึงวิชชามันต้องกล่าวถึงการดับตั้งแต่ต้นครับ

อโลภะ มันเป็นอย่างไรครับ เวลาเกิดโทสะมันก็ไม่มี อโลภะนะครับ
ถ้าท่านจะกล่าวถึง อกุศลทั้งสามในแง่ของวิชชา ไม่ใช่บอกว่าไม่มีตัวนั้นตัวนี้
มันจะต้องว่ามีแล้วดับมันเสียด้วยวิชชา

อย่าลืมซิครับว่าเรากำลังคุยกันถึงเรื่องของปัญญา เรื่องของจิตอยู่
เราไม่ได้คุยกันถึงเรื่องสมมุติบัญญัติหรือความหมายของคำ
ยิ่งในแง่ของปฏิจจสมุบาทด้วยแล้วละก็ การดับมันต้องดับทั้งกุศลและอกุศล
เรียกว่าดับกันที่ต้นเหตุเลยทีเดียว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2011, 15:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
การเกิดขึ้นครบองค์แปดนี้มันเป็นเหตุแห่งปัญญา

ไม่มีในธรรมวินัยนะครับ ไม่มีเหตุปัจจัยรองรับ มีแต่ปัญญาทำให้เกิดมรรค เดินตามมรรคทำให้ปัญญาพอกพูน

ปัญญาที่ว่ามันปัญญาของใครครับ มันเป็นปัญญาของพระพุทธเจ้าหรือของตัวท่าน
ปัญญาที่ทำให้เกิดมรรคเป็นปัญญาของพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเป็นผู้ค้นพบมรรค
การเรียนรู้มรรคไม่ใช้ปัญญาของเราครับ มันเป็นปัญญาของพระพุทธเจ้า
ปัญญาของเรายังไม่เกิด เราต้องทำปัญญาของพระพุทธเจ้าหรือมรรคให้บริบูรณ์เสียก่อน
ปัญญาเราจึงจะเกิด

ท่านซุปครับผมเห็นท่านชอบว่าเพื่อนๆสมาชิก หาว่าเขาใช้ธรรมไม่ถูก
ว่าเขาเอาธรรมของพระพุทธเจ้าที่เอาไว้สอนอริยสาวกมาใช้ ผมว่าท่านต้อง
หัดดูตัวเองด้วยนะครับว่าเป็นแบบนั้นหรือเปล่า
การจะใช้คำว่าปัญญานำมรรคจะใช้ได้กับพระอริยบุคคลเท่านั้น

Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
ลักษณะการเกิดมรรคไม่จำเป็นต้อง เกิดพร้อมกันที่เดียว การเกิดจะต้องให้เป็นลำดับของศีลนำ
สมาธิ เมื่อมรรคในส่วนของศีลและสมาธิครบ มันก็จะเกิดมรรคในส่วนของปัญญา

มรรคเกิดพร้อมกัน แยกกันไม่ได้ เพราะต่างเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน ความคิดชอบมีเหตุปัจจัยมาจากความเห็นขอบ ความเห็นชอบมีเหตุปัยยัมาจากการเอาขนะความพอใจไม่พอใจได้ เอาชนะความพอใจไม่พอใจได้เพราะมีปัญญา ฯ

ศีล สมาธิ แลัวไปหาปัญญาเอข้างหน้า เป็นคำสอนของอาฬารดาบส อุทกดาบส ที่สอนให้เจ้าชายสิทธถะทำ แล้วท่านก็สรุปมาว่า เป็นมิจฉามรรค

ขั้นตอนของการปฏิบัติ มันต้องแล้วแต่คุณภาพของจิต และมันขึ้นอยู่กับความเพียร
ฉะนั้นมันจึงไม่จำเป็นต้องเกิดพร้อมกัน แต่ขอให้พยายามทำให้ครบองค์แปด
ไม่ใช่ได้ใหม่ลืมเก่า จะต้องให้ได้ใหม่และมรรคเก่าต้องคงอยู่ด้วย

ไอ้สมาธิที่ท่านไปเอามา แล้วบอกว่าเป็นของอุทกดาบส อาฬารดาบสน่ะ
มันเป็นสมาธิอะไร ถามหน่อยทำไมท่านถึงได้ชอบวกกลับไปที่เก่านักครับ
ก็รู้ๆอยู่ว่ามันเป็นสมาธิคนละอย่าง คนละวิธีการ จะย้อนไปทำไมให้เสียเวลา
Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
มรรคท่านมีไว้ให้ปฏิบัติ ไม่ใช่ให้อ่านให้รู้อย่างเดียว อย่างเรื่องของศีลท่านก็เน้นเรื่อง
วาจา ความประพฤติและการเลี้ยงชีพ ส่วนสมาธิท่านให้มั่นเจริญสติ สมาธิด้วยความเพียร
ถ้าทำได้อย่างนี้แล้วปัญญาก็จะเกิด

ทำไปเถอะครับ เจ้าชายสิทธถะยังหาปัยญาด้วยวิธีนี้ไม่ได้ อยากจะนู้ว่าใครหน้าใหนจะทำได้

อ้าว! ยิ่งพูดยิ่งง ถ้างั้นเจ้าชายสิทธิถัตถะท่านทำอย่างไรครับ แล้วเรื่องมรรคมีองค์แปด
เป็นคำสอนของใครครับ
Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
แต่มรรคนั้นต้องเป็นมรรคที่ผ่านการปฏิบัติเองรู้เอง
ไม่ใช่รู้ตามเขา เชื่อตามเขา อย่างนี้ถึงจะเอาไปดับทุกข์ในใจของเราเองได้
มันใจเขาใจเราไม่เหมือนกัน

รู้เองก็เป็นพระพุทธเจ้าแล้วครับ เป็นสาวกเพราะรู้ตาม ... ทุกข์เกิด ๖ ทางต้องดับทั้ง ๖ ทาง ดับทางใจทางเดียวได้ที่ใหน
จนกว่าท่านจะเข้าใจอิททัปปัจนายตาปกิจสมุปบาทนั่นแหละครับ ท่านถึงจะมองธรรมเป็นธรร

ความหมายของผมคือต้องปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าบอก
ไม่ใช่เชื่อตามที่พระพุทธเจ้าบอกแต่ไม่ทำ

ท่านพูดเหมือนเข้าใจเรื่องปฏิจจฯ อิทัปปัจตาดี แต่เหตุไฉนถึงพูดว่า
ทุกข์เกิดทั้งหกทางดับต้องดับทั้งหกทาง ถ้าทางทั้งหกหมายถึงอายตนะละก็
ถ้าในหลักของอิทัปปัจจตา ท่านดับสยตนะอย่างไรครับ ในเมื่อนามรูปยังอยู่

จะแนะนำให้ครับ ถ้าจะยกเอาหลักอิทัปปัจจตามาคุย ต้องละเอียดหน่อยครับ
ต้องให้กระจ่าง อย่าคิดว่าคนอื่นไม่รู้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2011, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เราต้องทำปัญญาของพระพุทธเจ้าหรือมรรคให้บริบูรณ์เสียก่อนปัญญาเราจึงจะเกิด
ที่ทำๆ กันมา แล้วหาปัญญากันเจอแล้วหรือยังละครับ?


อ้างคำพูด:
อริยบุคคลคือ อเสขะ คือ ไม่ต้องสอนแล้ว

อริยบุคคล หมายถึงบุคคล ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามีมรรค สกิทาคามีผล อนาคามีมรรค อนาคามีผล อรหันตมรรค อรหันตผล ทั้งหมดนี้ นอกจาก อรหันผลแล้วถือเป็นเสขะบุคคล บุคคลนอกจากนี้ไม่เป็นทั้งเสขะบุคคลและอเสขบุคคล



มรรคแปลว่าทาง หรือเรียกเต็มๆ ว่า ทุกขนิโรธาคมณีปฏิปทา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบทาง แล้วเอามาบอกเรา เราเรียนรู้ ก็เกิดความรู้ตาม ความรู้หรือปัญญาจึงเกิดกับเรา เรียกว่ารู้ทางหรือได้มรรค จากนั้นก็ความรู้ที่ได้มาฝึกปฏิบัติ ... วิถีพุทธก็มีเท่านี้

วิปัสสนาภาวนา คือ การฝึกมองโลกและชีวิตตามความเป็นจริง (โลก คือ ธรรมทั้งปวง - ชีวิต คือ กาย เวทนา จิต) ก่อนที่จะวิปัสสนาได้ ก็ต้องได้เรียนรู้วิธีการที่ถูกต้องครบถ้วนก่อน ทำให้เกิด สุตมยญาณ สีลมยญาณ ภาวนามยญาณ ฯ ตามลำดับ

สมถะหรือสมาธิที่เกิดร่วมกับการใช้ชีวิตประจำวันของเรา หรือความตั้งใจ เป็นสมาธิที่เกิดตามธรรมชาติ เกิดร่วมกับการกระทำทุกอย่างของเรา เช่น สมาธิที่ใช้ฟังคนพูด ใช้อ่านหนันงสือ ฯ ถ้าใครไม่มีสมาธิก็เป็นคนที่ควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือเป็นคนผิดปกติ คนปกติที่ได้เรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนที่ถูกต้องครบถ้วน ปฏิบัติวิปัสสนาได้เลย

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญาและเป็นศานาแห่งการปฏิบัติ คือ เอาความรู้นำ ความรู้ที่ว่าคือ ความรู้เรื่องความจริงของโลกและชีวิต ความจริงเรื่องทุกข์กับการดับทุกข์ เมื่อเรียนรู้แล้ว จากนั้นต้องปฏบัติด้วยตนเอง ผลจึงเกิดได้กับตนเอง จะได้รู้เองเห็นเอง ... แต่การรู้เองนั้น ไม่ใช่วิสัยของสาวก เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย



มรรค หรือ วิถีทาง เป็นธรรมชาติชีิวิตของสัตว์โลก ที่มีความเห็นเป็นเหตุให้เกิดความคิด และความคิดเห็นก็ให้เกิดพฤติกรรมการแสดงออกทางกาย วาจา รวมไปถึงการดำรงค์ชีวิต และพฤติกรรมก็ทำให้เกิดความพยายาม การระลึก และความตั้งใจ

ถ้าเริ่มต้นที่ความเห็นผิด วิถีชีวิตก็ไปในทางที่ผิด ถ้าเริ่มต้นที่ความเห็นถูก ชีวิตก็เดินไปในทางที่ถูก เพราะธรรมชาติ มีเหตุปัจจัยเป็นแดนเกิด

ความเห็นผิด มีความพอใจไม่พอใจและความหลงเป็นเหตุปัจจัย (หรือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ อวิชชา หรือ บาปอกุศล) ความเห็นชอบ เกิดจากการเอาชนะความพอใจ ไม่พอใจ และความหลงได้ (หรือ อโลภะ อโทสะ ออโมหะ หรือ วิชชา หรือ บุญกุศล)

อธิบายได้ว่า พออยากได้ ก็ทำให้เกิดอยากจะลัก พอโมโหก็คิดจะฆ่า ฯ ถ้าประกอบด้วยความหลง ก็ทำผิด ถ้าไม่ประกอบด้วยความพอใจ ความคิดอยากจะได้ก็ไม่เกิด ฯ หรือ ศีลเกิดโดยอัตโนมัติ

ธรรมชาติมีลักษณะตรงกันข้าม มีกลางวันก็มีกลางคืน จิตเราถ้าประกอบด้วยวิชชา อวิชชาก็เกิดร่วมไม่ได้ เพราะฉะนั้น การวิปัสสนา คือการยังวิชชาให้เกิดร่วมกับจิตเพื่อไม่ให้อวิชชาเกิด วิปัสสนา จึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดศีล และเมื่อพูดดีคิดดีทำดี พยายาม การระลึก และความตั้งใจก็ดีตามไปด้วย

เมื่อวิชชาแก่กล้า ดับอวิชชาได้หมด ก็หมายถึง นิพพาน

วิปัสสนา ค้นพบโดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้ายังไม่สามารถเข้าถึงคำสอนที่ถูกต้องครบถ้วน ก็ไม่มีทางอื่นใดที่จะทำให้ถึงนิพพานได้ ...

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2011, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
เราต้องทำปัญญาของพระพุทธเจ้าหรือมรรคให้บริบูรณ์เสียก่อนปัญญาเราจึงจะเกิด
ที่ทำๆ กันมา แล้วหาปัญญากันเจอแล้วหรือยังละครับ?

มันจะเจอหรือเปล่า จะใช่ไม่ใช่ไม่รู้ไม่กล้าฟันธง อีกทั้งมันเป็นมรรยาทของผู้รู้

เอางี้นะครับ ในส่วนของผมมันจะใช่ปัญญาหรือเปล่าไม่รู้ แต่ผมมองในส่วนของท่าน
มันไม่ใช่ปัญญา เพราะถ้ามันเป็นปัญญา เมืองไทยก็คงมีอริยบุคคลมากที่สุดในโลก
เพราะเรามี มหาวิทยาลัยสงฆ์สามารถสอนให้คนมีปัญญาในแบบของท่านซุปได้มากมายครับ
ผมว่าเปรียญเก้าก็คงเทียบเท่า พระอรหันต์ล่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2011, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
มันจะเจอหรือเปล่า จะใช่ไม่ใช่ไม่รู้ไม่กล้าฟันธง อีกทั้งมันเป็นมรรยาทของผู้รู้
แล้วเอาอะไรมามั่นในนักหนาว่าทางนี้จะพบปัญญา พบแล้วค่อยมาว่ากันดีมั้ย


ปัญญามีลำดับการเกิด ปัญญาจากการฝึกเป็นปัญญาลำดับที่ ๓ เหตุการเกิดของปัญญาสัมมาทิฐิมาจากการสดับรับฟังแต่บุคคลอื่น เป็นขั้นที่ ๑ ตามที่พระสารีบุตรได้สนทนากับพระโกฐิฏะ ปัญญาจากการได้ฟังธรรม เป็นโสดาปัตติมรรคญาน (ผู้ที่กำลังปฏิบัติเพื่อแจ้งซึ่งโสดาปัตติผล) ไม่มีขั้นที่ ๑ ก็ไม่มีขั้นที่ ๒ ที่ ๓ ...

คำตอบเรื่องทุกข์กับการดับทุกข์เป็นเรื่องง่ายถ้ามีเฉลยอยู่ในมือแล้ว ถ้าเข้าไม่ถึง จะกลายเป็นเรื่องที่ยากที่สุดในโลกที่จะหาคำตอบ

มหาวิทยาลัยสงฆ์ เป็นจุดตายของศาสนาในธรรมวินัยนี้ เป็นสัทธรรมปฏิรูป เมื่อปรากฏมีมหาวิทยาลัยสงฆ์เกิดขึ้นที่ใหน ศาสนาถึงกาลเสื่อมที่นั่น เปรียญธรรม ๙ ประโยค ก็ไม่ได้เรียนพระไตรปิฏก เรียนแต่คำอธิบายพระไตรปิฏก แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลีเท่านั้น ฯ ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า เป็นเหตุที่ทำให้ศาสนาอนัตรธาน

ที่ท่านได้ยินได้ฟังมา มันก็มีถูกๆ ผิดๆ ปนกันมา แต่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องถูกต้องครบถ้วนเท่านั้น มีผิดปนมานิดเดียว มันก็คือ น้ำสะอาดปนยาพิษดีๆ นี่เอง


ธรรมชาติมีเหตุปัจจัยเป็นแดนเกิด ถ้าบอกว่า อยู่ดีๆ แล้วมันจะรู้เอง มันจะเกิดเอง แปลว่า ผิดกฏธรรมชาติ หรือไม่มีทางเป็นไปได้

กิเลสตัณหา มีความพอใจไม่พอใจและความหลงเป็นสมุทัย รวมเรียกว่าทุกข์ การดับกิเลสตัณหา ต้องดับที่เหตุของมัน ไม่ใช่ไปดับที่ตัวตัณหา คือต้องดับความพอใจไม่พอใจและความหลง จะดับมันได้ ต้องรู้จักว่า มันคืออะไร เกิดอย่างไร ดับได้อย่างไร แล้วจะเอาอะไรไปดับ

ทุกข์เกิดเมื่อมีธรรม ๓ อย่างมาประชุมกันคือ อายตนะ ผัสสะ เวทนา คือ เกิดที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ๖ ทางแล้วปรุงแต่งเกิดเป็นความพอใจไม่พอใจและความหลง เป็นอุปทานตัณหา หรือ เป็นทุกข์ที่เราสร้างขึ้นมาเอง

ความพอใจไม่พอใจและความหลง เป็นธรรมทีี่ไม่มีเหตุ เป็นเหตุซึ่งกันและกัน และเป็นธรรมที่เป็นเหตุของความเลวทั้งปวง ภาษาธรรมเรียกว่า อกุศลเหตุ ๓ ทำให้เห็นผิด คิดผิด ทำผิดฯ เดินในทางที่ผิด

การเอาชนะความพอใจไม่พอใจ ต้องเอาความจริงไปดับ ในโลกและจักรวาลนี้ นอกจากกฏธรรมชาติ ๒ กฏแล้ว ที่เหลือเป็นความเชื่อทั้งหมด

ธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรม หรือนามธรรม ต่างก็มีลักษณะ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หรือเป็นอนิจจัง ทุกขขัง อนันตา เหมือนกันไม่มีเว้น หรือท่านว่ามีอะไรรอด? นอกจากนิพพาน

ทำไมมันเป็นเช่นนั้นละ? ที่มันเป็นเช่นนั้น มันก็ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ มันเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย พร้อมด้วยเหตุปัจจัยให้อยู่ก็ต้องอยู่ พร้อมด้วยเหตุปัจจัยให้แตกสลาย ก็ต้องแตกสลาย เราไปบังคับควบคุมมันไม่ได้เลย

สิ่งไม่เที่ยงเหล่านี้ จะอามาเป็นแก่นสารสาระในชีวิตไม่ได้ ยึดถือไม่ได้ เพราะมันมีวันต้องแตกสลาย โลกจักรวาลก็มีอายุ ดวงอาทิตย์ก็มีอายุ เกิดเป็นพรหมอายุ ๖๔ มหากัป ก็ยังต้องตาย ไม่มีอะไรยั่งยืน

ความจริงที่ว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยงนี้ เอาไปดับความพอใจไม่พอใจได้

ความพอใจไม่พอใจและความหลง เกิดกับเราได้ ๖ ทาง นอกจาก ๖ ทางนี้ ไม่มีกิเลสตัณหาเกิดขึ้นกับเรา เราจะดับก็ต้องดับให้ได้ทั้ง ๖ ทาง ไปฝึกดับทางใจทางเดียว พอลืมตาตื่น เห็นอะไรไม่สบอารมณ์ ก็ยังโกรธได้ เสียงด่าเข้าหู ก็ยังมีหน้าแดงหน้าดำ ฯ เพราะไม่เคยฝึก

วิธีการฝึก ก็คือ พอตาเห็นรูป ก็ให้พิจารณารูปนั้น หรือลงความเห็นกับรูปที่เห็นว่า มันเป็นเพียงธรรมชาติที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปนะ ตัวฉันคนเห็นก็มีลักษณะหนุ่มแก่ตาย ไม่ว่าจะมาทาง หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ให้พิจารณาแบบนี้ เรียกว่า การวิปัสสนาภาวนา ผลที่ออกมาก็คือ ความพอใจไม่พอใจและความหลงในรูป จะดับได้ทันที อโลภะ อโทสะ อโหะ จะเกิดขึ้นมาแทน ... เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงมี ...

เมื่อ อโลภะ อโทสะ อโมหะ หรือ วิชชา เกิดขึ้นมา คนก็เลยคิดดีทำดี ชาวพุทธถึงมีแต่ความเจริญ ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เพราะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ก็เป็นกุศลเหตุ ๓ หรือเป็นบุญ ทำให้ความดีความเจริญทั้งปวงเกิดขึ้นกับเรา พระพุทธองค์ยืนยันว่าพ้นอบายภูมิแน่นอน

ทำแบบนี้ต้องไปทำสมาธิเพิ่มหรือเปล่า? ต้องสนใจจริตด้วยใหม?

ปัญญาที่นำมาแสดงไม่ได้ คือ ปัญญาขั้นภาวนา เพราะมันเหมือนคนลิ้มรสเกลือแล้วแสดงความเค็มออกมาไม่ได้

ไม่เชื่อก็ลองดูได้ เสียงด่าเข้าหู พิจารณาว่า เสี่ยงด่าไม่เที่ยงฯ ตามหลักกลามสูตร แล้วดูผลว่า อกุศลดับ กุศลเกิดขึ้นมาแทนจริงๆ หรือไม่ อย่างเพิ่งไปเชื่อจนกว่าจะได้ทดลองด้วยตนเอง


Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชา จึงจะเกิด บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป ... จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัสสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก ลิ้นกาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด ดูกรภิกษุ บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป ... จักษุวิญญาณ จักษุ สัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ สัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ ฯลฯ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน สัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละสังโยชน์ได้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็น อนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตาสังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน สัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล สังโยชน์จึงจะถึงความ เพิกถอน ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 17 พ.ค. 2011, 21:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2011, 20:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


เจโตวิมุติ เขียน:
:b42: ความจริงก็เหนื่อยนะ แต่ก็จะลองอธิบายดู

.....เจโตวิมุติ/


สาธุ.. :b8: :b8: :b8:

ได้เหนื่อยแน่...ๆ.. :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2011, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




41_1722.jpg
41_1722.jpg [ 22.81 KiB | เปิดดู 4250 ครั้ง ]
tongue
อนุโมทนาสาธุเป็นอย่างยิ่งกับความกรุณาและวิริยะอุตสาหะของคุณ Sup.... ที่จะพยายามอธิบายให้ผู้คนเข้าใจความสำคัญของปัญญา อันเป็นประธานและนำหน้าอยู่เสมอในทุกๆที เว้นไว้แต่ผู้ที่มีโมหะอวิชชาและเห็นผิด ซึ่งจะมองไม่เห็นสิ่งนี้ ทั้งๆที่พระบรมศาสดา ทรงบัญญัติมาในมรรค 8 เห็นเด่นชัด

สำหรับคุณโฮฮับ
เอางี้นะครับ ในส่วนของผมมันจะใช่ปัญญาหรือเปล่าไม่รู้ แต่ผมมองในส่วนของท่าน
มันไม่ใช่ปัญญา เพราะถ้ามันเป็นปัญญา เมืองไทยก็คงมีอริยบุคคลมากที่สุดในโลก


ความเห็นของคุณโฮฮับเรื่อง ปัญญา นี้ อาจถูกบิดเบือนไปเพราะคุณไปยึดแน่นในความหมายของปัญญาส่วนที่เป็นภาวนามยปัญญามากไปหรือเปล่าครับ

พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ดีแล้วถึงเรื่องลำดับของปัญญา คุณซุปก็พยายามอธิบายตั้งหลายครั้งว่าปัญญาในทางพุทธศาสนานั้นมี 3 คือ
1.สุตตมยปัญญา
2.จินตมยปัญญา
3.ภาวนามยปัญญา

สุตตมยปัญญาเป็นส่วนของ สัญญา ใช่อยู่

จินตมยปัญญาก็เป็นการเอาสัญญามาปรุงแต่งเพื่อให้เกิดปัญญาตัวที่ชี้ไปสู่การทำภาวนามยปัญญา

ส่วนปัญญาแท้ๆคือภาวนามยปัญญานั้น ต้องมีประสบการณ์ที่ใจของตนเองจริงๆ ความรู้ครั้งแรกของใจนั้นเรียกว่าปัญญา หลังจากนั้นความรู้นั้นจะกลายเป็นสัญญา อย่างเช่นการรู้รสเค็ม การรู้ไฟร้อนของเด็ก

ผ่อนคลายการที่จะพยายามทำให้ผู้อื่นเห็นเหมือนอย่างที่เราเห็นลงเสียบ้าง ชีวิตจะได้เป็นสุขสงบนะครับ

เรื่องอัตตทิฐิ นั้นแก้ยากอยู่แล้ว ยิ่งมาเรื่องมานะทิฐิ ยิ่งแก้ยากไปใหญ่ ต้องให้เขาประสบด้วยตนเองจึงจะรู้และยอมรับ

เจริญสุข เจริญธรรมครับ

smiley
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2011, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
tongue
สำหรับคุณโฮฮับ
เอางี้นะครับ ในส่วนของผมมันจะใช่ปัญญาหรือเปล่าไม่รู้ แต่ผมมองในส่วนของท่าน
มันไม่ใช่ปัญญา เพราะถ้ามันเป็นปัญญา เมืองไทยก็คงมีอริยบุคคลมากที่สุดในโลก


ความเห็นของคุณโฮฮับเรื่อง ปัญญา นี้ อาจถูกบิดเบือนไปเพราะคุณไปยึดแน่นในความหมายของปัญญาส่วนที่เป็นภาวนามยปัญญามากไปหรือเปล่าครับ

คุณอนันตาธรรมครับ เรื่องปัญญาที่ว่าบิดเบือน ใครมันบิดเบือนกันแน่
มันเป็นผม เป็นคุณหรือเป็นคุณซุป อยากแนะนำหน่อยครับ อยากจะโชว์ภูมิ อวดอัตตา
กรุณาละเอียดรอบคอบกว่านี้หน่อยนะครับ

ประเด็นของผมมันอยู่ที่ ปัญญา ผมบอกว่า ปัญญามีสองตัวเป็นปัญญาทางโลกกับทางธรรม
ผมยังได้อธิบายว่า การฟังการอ่านและการนึกคิดจินตนาการ
มันยังไม่ใช่ปัญญาทางธรรมเป็นได้แค่ปัญญาทางโลก เราต้องปฏิบัติในเรื่องของมรรคให้ได้
มาในปัญญาทางธรรม ใครไปบิดเบือนใครไปยึดแน่นครับ

คุณอนันตาครับ รบกวนคุณลองดูหัวข้อกระทู้หน่อยครับ
จขกทเขาถามว่าอะไร เขาเขียนว่า"ทำไมต้องวิปัสสนา"

อนัตตาธรรม เขียน:
พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ดีแล้วถึงเรื่องลำดับของปัญญา คุณซุปก็พยายามอธิบายตั้งหลายครั้งว่าปัญญาในทางพุทธศาสนานั้นมี 3 คือ
1.สุตตมยปัญญา
2.จินตมยปัญญา
3.ภาวนามยปัญญา

มันอย่างไรละครับ แล้วผมไม่ได้บอกไม่ได้อธิบายหรือว่า เขาแยกปัญญาไว้สองอย่าง
มันเป็นปัญญาทางโลกกับปัญญาทางธรรม
[b]ถ้าใช้ตาดูหูฟังแล้วใช้สมองคิดจินตนาการ แล้วบอกผลที่ได้เป็นปัญญา
แล้วจะมี วิปัสสนาไว้ทำไมกันครับ เราไม่ได้กำลังคิดสูตรข้าวมะม่วงหรือคำนวนสร้าง
วิมานสวรรค์อยู่นะครับ เรากำลังหาสภาวะที่แท้จริงของจิตอยู่

การได้รู้สภาวะที่แท้จริงของจิตนี่แหล่ะครับที่เขาเรียกว่า ปัญญา

อยากจะบอกให้ครับการใช้ชีวิตทำมาหากินตามปกติ ก็วิปัสสนาได้ครับ
เพียงแต่อยู่กับปัจจุบัน ไม่หลง คุณสองคนอย่าไปยึดกับการว่ากล่าว
การนั่งทำสมาธิมากไปซิครับ กรุณาใช้สมองที่คุณบอกว่าเป็นปัญญามาพิจารณาว่า
คำพูดผมสื่อไปทางไหน

อนัตตาธรรม เขียน:
สุตตมยปัญญาเป็นส่วนของ สัญญา ใช่อยู่
จินตมยปัญญาก็เป็นการเอาสัญญามาปรุงแต่งเพื่อให้เกิดปัญญาตัวที่ชี้ไปสู่การทำภาวนามยปัญญา
ส่วนปัญญาแท้ๆคือภาวนามยปัญญานั้น ต้องมีประสบการณ์ที่ใจของตนเองจริงๆ ความรู้ครั้งแรกของใจนั้นเรียกว่าปัญญา หลังจากนั้นความรู้นั้นจะกลายเป็นสัญญา อย่างเช่นการรู้รสเค็ม การรู้ไฟร้อนของเด็ก

แล้วยังไงล่ะครับ พูดทำไมล่ะครับ คุณต้องการสื่ออะไร
หรือแค่อวดภูมิทั้งๆที่ไปลอกเขามา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2011, 05:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[
อนัตตาธรรม เขียน:
tongue
ผ่อนคลายการที่จะพยายามทำให้ผู้อื่นเห็นเหมือนอย่างที่เราเห็นลงเสียบ้าง ชีวิตจะได้เป็นสุขสงบนะครับ
เรื่องอัตตทิฐิ นั้นแก้ยากอยู่แล้ว ยิ่งมาเรื่องมานะทิฐิ ยิ่งแก้ยากไปใหญ่ ต้องให้เขาประสบด้วยตนเองจึงจะรู้และยอมรับ
เจริญสุข เจริญธรรมครับ[/b]
smiley

คุณอนันตาธรรมครับ ผมว่าเป็นตัวคุณเองครับที่ต้องผ่อนคลาย
กรุณาแยกแยะ เรื่องในเว็บบอร์ดกับชีวิตจริง หรือแม้กระทั้งห้องต่างๆ
ในเว็บลานธรรมจักรนี้ เขาก็แบ่งแยกไว้เป็นกิจจลักษณะ
ห้องสนทนาธรรมความหมายก็มีในตัว มันเป็นห้องแสดงความเห็น
ใครมีความเห็นอย่างไรก็ว่ากันไป มันเป็นสิทธิ์ของแต่ละคน ในเรื่องของสำนวนการเขียน
อาจมีแรงบ้าง ยอกย้อนบ้างก็ไม่ควรถือสาถ้าเรายังต้องการคุย เราก็ต้องรู้จักให้อภัยในส่วนนี้
ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า คุณอนันตตาคิดอย่างไรถึงมาทะลุกลางปล้อง มาโวกเวกตำหนิชาวบ้าน
ว่ามีอัตตา มีมานะ

ผมกับคุณซุปยังพอใจที่จะคุยกันมันเป็นเรื่องของผมสองคน
คุณไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย แต่เสนอหน้าออกมาว่ากล่าวชาวบ้าน
หาว่ามีอัตตามีทิฐิ มันตลกมั้ยล่ะครับ


คุณอนันตตาครับ ลองหยุดมองคนอื่น แล้วมองดูตัวเองซิครับว่า
การที่เราลงไปยุ่งกับชาวบ้าน ที่เขาพูดคุยกันในที่ๆถูกกาลเทศะ ไปบอกว่า อย่าทำอย่างนี้
ชีวิตจะไม่เป็นสุข คุณว่า คุณมีอัตตาหรือเปล่า คุณมีมานะหรือเปล่าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2011, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2011, 09:16
โพสต์: 158

แนวปฏิบัติ: พุธโท
งานอดิเรก: นั่งสมาธิ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรัชญา
ชื่อเล่น: T^^T
อายุ: 23
ที่อยู่: ลำปาง

 ข้อมูลส่วนตัว


นี้แหละคือจุดอ่อนของชาวพุทธ พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นมาแล้ว2500กว่าปี และได้เข้ามาสู่สังคมไทยเป็นพันกว่าปีแล้ว สิ่งที่ได้ยินชาวพุทธพูดบ่อยๆในทุกยุคทุกสมัยคือ ทำลายทรัพยากรธรรมชาติผิดศีลไหม การปลุกผักผิดศีลไหม การฆ่าสัตว์ผิดศีลไม ทำอย่างนี้ผิดศีลไหม ทำอย่างนั้นผิดศีลไหม พระนิพพานคืออะไร ทำไมต้องนั่งสมาธิด้วย บาปบุญมีจริงไหม ทำไมต้องทำสมถะด้วย ทำไมต้องทำวิปัสสนาด้วย วันนี้ไปฟังอาจารย์คนนี้เทศน์บอกว่าการทอดกฐินคือการสร้างมาหากุศล แต่พออีกวันไปฟังอาจารย์อีกท่านก็บอกว่าปัจจุบันนี้หลายวัดทอดกฐินเพื่อหารายได้สนุกสนานซึ่งผิดกับเจตนาของพุทธเจ้า :b10: :b10: :b10: :b14: :b14:

.....................................................
ดูก่อu!!!ภิกษุทั้งหลาย!!!คนพาลเขากลัวยากจนจึงไม่รู้จักขวนขวายในการให้ทาน!!!ส่วนบัณฑิตชนเขากลัวยากจนจึงรู้ขวนขวายในการให้ทาน!!!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2011, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญทางโลก มีความเห็นเป็นแดนเกิด ประกอบด้วยความพอใจไม่พอใจและความหลง

ปัญญาทางธรรม มีความจริงเป็นแดนเกิด ไม่ประกอบด้วยความพอใจไม่พอใจและความหลง (แยกละเอียดได้ ๗๒ ประการ)

ไม่ว่าจะเป็นปัญญาทางโลกหรือทางธรรม มันจะถูกเก็บไว้ที่เดียวกัน คือ ในสัญญา

อ้างคำพูด:
[๑] ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณอย่างไร

ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ธรรมเหล่านี้ควรละ ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญ ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลสสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา นี้ทุกขอริยสัจนี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นสุตมยญาณ ฯลฯ



เรื่องประโยชน์แห่งปัญญาและเหตุเกิดสัมมาทิฏฐิ
Quote Tipitaka:
พระโยคาวจรย่อมรู้ธรรมอันตนพึงรู้ด้วยอะไร?

พระโยคาวจรย่อมรู้ธรรมอันตนพึงรู้ด้วยปัญญาจักษุ.

ปัญญา มีอะไรเป็นประโยชน์?

ปัญญา มีความรู้ยิ่งเป็นประโยชน์ มีความกำหนดรู้เป็นประโยชน์ มีความละเป็นประโยชน์.

ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มีเท่าไร?

ธรรม ๒ ประการ คือความได้สดับแต่บุคคลอื่น ๑ ความทำในใจโดยแยบคาย ๑ เป็นปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ ธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นปัจจัยเมื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ.

สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรมเท่าไรอนุเคราะห์แล้ว?

สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรม ๕ ประการ อนุเคราะห์แล้ว คือ สัมมาทิฏฐิ อันศีลอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันสากัจฉาอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว ๑ สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรม ๕ ประการนี้แล อนุเคราะห์แล้ว


... เอาเกลือให้ชิม แล้วลองชิมหรือยังละครับ จะได้รู้ด้วยตนเองว่า ทำไปต้องวิปัสสนา

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2011, 09:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
เราต้องทำปัญญาของพระพุทธเจ้าหรือมรรคให้บริบูรณ์เสียก่อนปัญญาเราจึงจะเกิด
ที่ทำๆ กันมา แล้วหาปัญญากันเจอแล้วหรือยังละครับ?


อ้างคำพูด:
อริยบุคคลคือ อเสขะ คือ ไม่ต้องสอนแล้ว

อริยบุคคล หมายถึงบุคคล ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามีมรรค สกิทาคามีผล อนาคามีมรรค อนาคามีผล อรหันตมรรค อรหันตผล ทั้งหมดนี้ นอกจาก อรหันผลแล้วถือเป็นเสขะบุคคล บุคคลนอกจากนี้ไม่เป็นทั้งเสขะบุคคลและอเสขบุคคล



มรรคแปลว่าทาง หรือเรียกเต็มๆ ว่า ทุกขนิโรธาคมณีปฏิปทา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบทาง แล้วเอามาบอกเรา เราเรียนรู้ ก็เกิดความรู้ตาม ความรู้หรือปัญญาจึงเกิดกับเรา เรียกว่ารู้ทางหรือได้มรรค จากนั้นก็ความรู้ที่ได้มาฝึกปฏิบัติ ... วิถีพุทธก็มีเท่านี้

วิปัสสนาภาวนา คือ การฝึกมองโลกและชีวิตตามความเป็นจริง (โลก คือ ธรรมทั้งปวง - ชีวิต คือ กาย เวทนา จิต) ก่อนที่จะวิปัสสนาได้ ก็ต้องได้เรียนรู้วิธีการที่ถูกต้องครบถ้วนก่อน ทำให้เกิด สุตมยญาณ สีลมยญาณ ภาวนามยญาณ ฯ ตามลำดับ

สมถะหรือสมาธิที่เกิดร่วมกับการใช้ชีวิตประจำวันของเรา หรือความตั้งใจ เป็นสมาธิที่เกิดตามธรรมชาติ เกิดร่วมกับการกระทำทุกอย่างของเรา เช่น สมาธิที่ใช้ฟังคนพูด ใช้อ่านหนันงสือ ฯ ถ้าใครไม่มีสมาธิก็เป็นคนที่ควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือเป็นคนผิดปกติ คนปกติที่ได้เรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนที่ถูกต้องครบถ้วน ปฏิบัติวิปัสสนาได้เลย

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญาและเป็นศานาแห่งการปฏิบัติ คือ เอาความรู้นำ ความรู้ที่ว่าคือ ความรู้เรื่องความจริงของโลกและชีวิต ความจริงเรื่องทุกข์กับการดับทุกข์ เมื่อเรียนรู้แล้ว จากนั้นต้องปฏบัติด้วยตนเอง ผลจึงเกิดได้กับตนเอง จะได้รู้เองเห็นเอง ... แต่การรู้เองนั้น ไม่ใช่วิสัยของสาวก เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย



มรรค หรือ วิถีทาง เป็นธรรมชาติชีิวิตของสัตว์โลก ที่มีความเห็นเป็นเหตุให้เกิดความคิด และความคิดเห็นก็ให้เกิดพฤติกรรมการแสดงออกทางกาย วาจา รวมไปถึงการดำรงค์ชีวิต และพฤติกรรมก็ทำให้เกิดความพยายาม การระลึก และความตั้งใจ

ถ้าเริ่มต้นที่ความเห็นผิด วิถีชีวิตก็ไปในทางที่ผิด ถ้าเริ่มต้นที่ความเห็นถูก ชีวิตก็เดินไปในทางที่ถูก เพราะธรรมชาติ มีเหตุปัจจัยเป็นแดนเกิด

ความเห็นผิด มีความพอใจไม่พอใจและความหลงเป็นเหตุปัจจัย (หรือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ อวิชชา หรือ บาปอกุศล) ความเห็นชอบ เกิดจากการเอาชนะความพอใจ ไม่พอใจ และความหลงได้ (หรือ อโลภะ อโทสะ ออโมหะ หรือ วิชชา หรือ บุญกุศล)

อธิบายได้ว่า พออยากได้ ก็ทำให้เกิดอยากจะลัก พอโมโหก็คิดจะฆ่า ฯ ถ้าประกอบด้วยความหลง ก็ทำผิด ถ้าไม่ประกอบด้วยความพอใจ ความคิดอยากจะได้ก็ไม่เกิด ฯ หรือ ศีลเกิดโดยอัตโนมัติ

ธรรมชาติมีลักษณะตรงกันข้าม มีกลางวันก็มีกลางคืน จิตเราถ้าประกอบด้วยวิชชา อวิชชาก็เกิดร่วมไม่ได้ เพราะฉะนั้น การวิปัสสนา คือการยังวิชชาให้เกิดร่วมกับจิตเพื่อไม่ให้อวิชชาเกิด วิปัสสนา จึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดศีล และเมื่อพูดดีคิดดีทำดี พยายาม การระลึก และความตั้งใจก็ดีตามไปด้วย

เมื่อวิชชาแก่กล้า ดับอวิชชาได้หมด ก็หมายถึง นิพพาน

วิปัสสนา ค้นพบโดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้ายังไม่สามารถเข้าถึงคำสอนที่ถูกต้องครบถ้วน ก็ไม่มีทางอื่นใดที่จะทำให้ถึงนิพพานได้ ...


ปัญญาแค่นี้ยังไม่ลึกซึ้งหรอกครับ

ก็แค่ลอกตำรามาเขียน

ที่ผมบอกคืออริยะบุคคลไม่ต้องสอนก็ได้

บรรลุอรหันต์แน่ๆอยู่แล้ว

พระพุทธเจ้าทรงสอนเวไนยสัตว์

ไม่ใช่สอนแต่อริยบุคคล

แต่สอนให้เวไนยสัตว์เป็นอริยบุคคล

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 37  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร