ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
ธรรมะคือ อะไร ตอนที่ ๕ http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=38436 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 06 มิ.ย. 2011, 08:55 ] |
หัวข้อกระทู้: | ธรรมะคือ อะไร ตอนที่ ๕ |
ธรรมะคือ อะไร ตอนที่ ๕ ในตอนที่ ๔ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่า มรรคมีองค์ ๘ ในพระไตรปิฎกนั้น เป็นเพียงวิธีการหนึ่ง ในหลายๆวิธีในอันที่จะปฏิบัติ หรือประพฤติ เพื่อป้องกัน หรือขจัด เพื่อความหลุดพัน หรือ ห่างไกล จากทุกข์ทั้งหลาย ซึ่งคำว่าทุกข์ตามหลักพระไตรปิฎกนั้น ก็คือ หนึ่งในสี่ข้อแห่ง หลัก "อริยสัจสี่" อันประกอบด้วย "ทุกข์,สมุทัย,นิโรธ,มรรค" "ทุกข์" ในพระไตรปิฎกนั้น ได้อธิบายเอาไว้อย่างลึกซึ้ง เป็นการยากที่บุคคลทั่วไปจะเข้าถึงหรือทำความเข้าใจได้โดยง่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เรียนรู้ ศึกษา ท่องจำ ไม่ว่าจะเป็นผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้ ผู้ชำนาญการในด้านพุทธศาสนา สักเท่าใด ก็มักจะเข้าใจกันผิดๆ คิดไปตามที่ได้อ่านได้ศึกษาได้ท่องจำตามพระไตรปิฎก เพราะในพระไตรปิฎกนั้น ได้อรรถาธิบายคำว่า "ทุกข์"เอาไว้ว่า "ทุกข์" ก็คือ ชาติ,ชรา, มรณ, โสกะ,ปริเทวะ,โทมนัสส,อุปายาส, อัปปิเยหิสัมปโยค, ปิเยหิวิปปโยค, ยัมปิจฉังนลภติตัมปิ, โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ (การยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เป็นทุกข์) (คัดจากพระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน เวบฯ๘๔๐๐๐ ฯ) เป็นธรรมดา "ทุกข์ หมายถึง ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ความลำบากกาย ที่เกิดจากอารมณ์อันเกิดจากการได้รับสัมผัสจากอายตนะภายนอก ด้วยอายตนะภายใน หรือเกิดจากการที่สัมผัสได้ด้วยตัวเอง " นั่นก็หมายความว่า สิ่งที่มาสัมผัสแล้วทำให้เกิดความคิด เกิดอารมณ์ที่ทำให้ทุกข์กาย ทุกข์ใจ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ได้แก่ - การเกิดของสรรพสัตว์ในหลากหลายเผ่าพันธุ์เป็นชาติ เป็นเรื่องธรรมดา, -ความเก่าความแก่ ความเหี่ยวย่นของผิวหนัง และสรีระร่างกาย ความหงอกขาวของเส้นผม ในสรรพสัตว์ทั้งหลาย คือความชรา เป็นเรื่องธรรมดา -ความแตกดับ ความสิ้นซึ่งขันธ์๕ ความสูญสิ้นตามอายุขัย ในสรรพสัตว์ทั้งหลาย คือ มรณะ เป็นเรื่องธรรมดา -ความโศกเศร้า กริยาโศกเศร้า เพราะได้สัมผัสจาก การเสื่อมญาติ การเสื่อมทรัพย์ การเสื่อมทิฎฐิ เสื่อมศีล คือ โสกะ เป็นเรื่อง ธรรมดา -ความร้องไห้ คร่ำครวญ กริยาร้องไห้ การบ่นพร่ำเพ้อ เพราะการเสื่อมญาติ เสื่อมทรัพย์ เสื่อมทิฎฐิ เสื่อมศีล คือ ปริเทวะ เป็นเรื่องธรรมดา -ความไม่สบายใจ อารมณ์ที่ทำให้ใจเศร้าหมอง อันเกิดจากการรับรู้ภายในตน กริยาที่รับรู้อารมณ์อันเกิดจากใจเศร้าหมอง ด้วยรับรู้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คือ โทมนัส เป็นเรื่องธรรมดา - ความแค้นเคือง ขุ่นแค้น อันเรื่องจากการเสื่อมญาติ เสื่อมทรัพย์ เสื่อมด้วยความชรา ด้วยเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อุปายาส เป็นเรื่องธรรมดา - ความได้ร่วม ความอยู่ร่วม ความไปร่วม ความประชุมร่วม กับสภาพอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่ปรารถนา ไม่เป็นที่ชอบ ไม่เป็นที่รักใคร่ อันได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง แสงสี โผฎฐัพพะ หรือ ได้ร่วม อยู่ร่วม ไปร่วม ประชุมร่วม กับ บุคคลที่มุ่งก่อความพินาศ มุ่งทำลายประโยชน์ มุ่งทำลายความผาสุก ทำให้เกิดสภาพอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่ปรารถนา ไม่เป็นที่ขอบ ไม่เป็นที่รักใคร่ คือ อัปปิเยหิสัมปโยค เป็นเรื่องธรรมดา - ความไม่ไปร่วม ไม่อยู่ร่วม ไม่ได้ร่วม ไม่ได้ประชุมร่วม กับสภาพอารมณ์ความรู้สึกที่ปรารถนา เป็นที่รักใคร่ ชอบใจ อันได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง แสงสี โผฎฐัพพะ หรือ ไม่ได้ร่วม ไม่อยู่ร่วม ไม่ไปร่วม ไม่ได้ประชุมร่วม กับบุคคลผู้ใคร่ในความเจริญ ใคร่ในความสำราญ ใคร่ในความสร้างสรรค์ ใคร่ในความปลอดภัย อันได้แก่ พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อำมาตย์ ญาติสายโลหิต นี้คือ ปิเยหิวิปปโยค เป็นเรื่องธรรมดา -สัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีความปรารถนา คือ มีความต้องการ เป็นเรื่องธรรมดา กล่าวคือ ย่อมมีความปรารถนาที่จะไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่อยู่ร่วม ได้ร่วมกับสิ่งที่ไม่ปรารถนา ไม่รักใคร่ อยากหรือต้องการอยู่ร่วม ได้ร่วมประชุมร่วม กับสิ่งทีปรารถนา รักใคร่ และย่อมไม่สำเร็จตามปรารถนา เหล่านี้คือ ยัมปิจฉังนลภติตัมปิ เป็นเรื่องธรรมดา -อุปาทานขันธ์ ๕ หมายถึง ความยึดมั่น, ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส มี ๔ คือ ๑) กามุปาทาน ความถือมั่นในกาม ๒) ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ ๓) สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและพรต ๔) อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นวาทะว่าตน ซึ่งความยึดมั่น ถือมั่นทั้ง ๔ อย่างนั้น ก็ล้วนเกิดมาจาก การยึดมั่นใน ๑.รูป คือ รูปูปาทานขันธ์ ๒.เวทนา คือ เวทนูปาทานขันธ์ ๓.สัญญา คือ สัญญูปาทานขันธ์ ๔. สังขาร คือสังขารูปาทานขันธ์ ๕. วิญญาณ คือ วิญญาณูปาทาน ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องธรรมดาของสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพราะสัตว์ทั้งหลาย(ในที่นี้จะหมายเอาเฉพาะมนุษย์) ล้วนย่อมมีความคิด อันเกิดจากการปรุงแต่งคือ สังขาร ตามหลักขันธ์๕ หากจะกล่าวตามระบบสรีระร่างกายของมนุษย์แล้ว มนุษย์ล้วนย่อมมีความคิด อันเกิดจากความจำ เกิดจากความรู้สึก เกิดจากการรับรู้อารมณ์เมื่อได้รับการสัมผัส จากอายตนะภายนอก ด้วย อายตนะภายใน (คัดความย่อความจากพระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน ฯ และ พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก) จบตอนที่ ๕ จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ |
เจ้าของ: | student [ 06 มิ.ย. 2011, 15:28 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ธรรมะคือ อะไร ตอนที่ ๕ |
อนุโมทนาครับ พระไตรลักษณ์นั้นพิจารณามากย่อมถ่ายถอนความเป็นเราเป็นเขา |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |