ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
ธรรมะคือ อะไร ตอนที่ ๗ http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=38463 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 08 มิ.ย. 2011, 10:44 ] |
หัวข้อกระทู้: | ธรรมะคือ อะไร ตอนที่ ๗ |
ธรรมะคือ อะไร ตอนที่ ๗ ก่อนอื่นต้องขออภัยต่อท่านทั้งหลาย เพราะเกิดความสับสนในการเขียน ในการให้ความจำกัดความในข้อแรกของอริยสัจ ๔ นั่นก็คือ ทูกข์ ซึ่งความจริงแล้ว ข้อแรกของอริสัจสี่ ก็คือ "ทุกข์ เกิดจากเหตุ" แต่ข้าพเจ้าเขียนสับสน จึงขอให้ท่านทั้งหลายได้ทำความเข้าใจเอาว่า "ทุกข์" ก็คือ "ทุกข์ เกิดจากเหตุ" ทุกข์ เกิดจากเหตุ แห่ง ชาติ,ชรา, มรณ, โสกะ,ปริเทวะ,โทมนัสส,อุปายาส, อัปปิเยหิสัมปโยค, ปิเยหิวิปปโยค, ยัมปิจฉังนลภติตัมปิ, โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ (การยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เป็นทุกข์) (คัดจากพระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน เวบฯ๘๔๐๐๐ ฯ) ทุกข์ เกิดจากเหตุ เพราะ ความดำริ และ ระลึก อันเป็นทั้ง ผล และเป็นทั้งมรรค ดังที่ข้าพเจ้าได้อรรถาธิบายไปในตอนที่ ๖ พอสังเขป หลายๆท่าน ที่ได้ศึกษาเรียนรู้ ท่องจำจากพระไตรปิฎก อาจมีข้อสงสัย และมีข้อคัดค้านว่า "ผล" ตามพระไตรปิฎกนั้น ก็คือ "โสดาปัตติผล,สกทาคามีผล,อนาคามีผล,อรหันตผล" ก็ให้ท่านทั้งหลายคิดพิจารณาให้ดี และทำความเข้าใจเอาไว้ว่า "ผล๔" ตามพระไตรปิฎกนั้น เป็นผลชั้นปลายทาง คือเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติ จะได้รับความสำเร็จ เช่นกัน กับคำว่า "มรรค" ในพระไตรปิฎก กล่าวไว้โดยสั้นว่า "มรรคมีองค์ ๘" แต่ความจริงแล้ว "ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ๘ ข้อ เรียกว่า "ทุกขนิโรธคามินีปฎิปทา" ส่วนคำว่า "มรรค"นั้น แทัจริงแล้ว คือ สิ่งที่เป็นต้นกำเนิดในด้านต่างๆ เช่น รูป เป็นมรรค เวทนา เป็นผล และเป็นมรรค ของ สัญญา ,สัญญาเป็นผลจากรูปและเวทนา ,สัญญาเป็นมรรคแห่งการปรุงแต่ง(สังขาร),สังขารเป็นผลของสัญญา,สังขารการปรุงแต่งเป็นมรรค ความคิด การนึกถึง เป็นผลแห่งการปรุงแต่งคือสังขาร อย่างนี้เป็นต้น ดังนั้น คำว่า มรรคและผล จึงมีความหมายถึง สิ่งที่เกิดต่อเนื่องกัน นับตั้งแต่เริ่มแรก ไปจนถึงที่สิ้นสุด มรรคและผล จึงมิได้มีความหมาย ตามพระไตรปิฎกแต่เพียงรูปแบบเดียว กล่าวคือ มรรคและผล มิใช่จุดสิ้นสุด หรือจุดที่ถึงความสำเร็จ อันเป็นปลายทาง แต่ มรรคและผล หมายถึง จุดเริ่มต้น จุดกำเนิด ต้นตอ เกี่ยวโยงสัมพันธ์กันไปเป็นลูกโซ่ เมื่ออย่างหนึ่งเป็นมรรค ก็จะเกิดผล ,ผลที่เกิดก็จะเป็นมรรคสัมพันธ์กันไป ประดุจการแตกตัวของพลังนิวเคลีย จนกว่าจะถึงจุดจุดหนึ่งซึ่งเป็นจุดแห่งความพอใจ จุดแห่งความที่ได้ตามต้องการ อย่างนี้เป็นต้น จบตอนที่ ๗ จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |