วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 13:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 152 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
เอาอีกแล้ว....

อ้างคำพูด:
สมาธิตั้งแต่ปฐมฌานในพระสูตรพระวินัย เป็นสมาธิของพระอริยสงฆ์ เป็นผลของการบรรลุธรรม ไม่ใช่เหตุของการบรรลุธรรม


เขาบอกวิธีแล..อาการ..เพื่อเห็นธรรม

เล่นคิดกลับหัวกลับหาง...ว่าบรรลุธรรมแล้วเขาจึงทำกันอย่างนี้...

คนเราธรรมดาก็ไม่ต้องไปอ่านไปทำอะไร...ก็จงอยู่ในหลุมต่อไป

แล้วจะมีทำไม..ตำรานะ...ก็บรรลุธรรมไปแล้วนี้นา...มีตำราไปทำไม
:b7: :b7: :b7:
มันเป็นไปตามธรรมวินัย การเห็นธรรมเห็นด้วย ปัญญาจุกษู ไม่ไได้ให้เห็นด้วย มังสจักษุ หรือ ทิพยจักษุ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สุสิมะ ธรรมฐิติญาณเกิดก่อน ญาณในพระนิพพานเกิดภายหลัง ฯ ..

๑๐. สุสิมสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 187&Z=3452

๔. ญาณวัตถุสูตรที่ ๒
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 526&Z=1594

มันไม่มีเหตุปัจจัยรองรับว่า ทำไมต้องได้ฌานก่อนถึงจะวิปัสสนาได้ เจตสิกดวงใหนเป็นอุปสรรค์ที่จะต้องดับด้วยฌาน ในธรรมวินัยก็ไม่เคยปรากฏ มีแต่พวกลากเอาบางตอนของพระสูตรมาอ้าง แลวก็แถบาลีเอา

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 00:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็เมื่อใจไม่มีความสงบ..นิวรณ์ไม่ระงับ..ก็ถูกกิเลสตัณหาอาสวะลากคอพิจารณาธรรมตามกิเลสไปนะซี..

ผู้ที่ทรงความสงบระงับจากนิวรณ์...เรียกว่าทรงฌาน

แม้ชั่วขณะเวลาหนึ่ง...ก็เรียกทรงฌาน

หากเกลียดคำว่าฌาน..ไม่ต้องเรียกก็ได้...

หากแต่การใคร่ครวญธรรมะใด ๆ ให้ได้ผล..ต้องทำในขณะที่มีความสงบระงับจากนิวรณ์...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 00:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


นิวรณ์ดับได้ด้วยปัญญา พระพุทธองค์ไม่เคยตรัสให้ดับนิวรณ์ด้วยสมาธิ ทรงตรัสว่า ข้ามนิวรณ์ด้วยปัญญา

การพิจารณาธรรม ต้องมีปัญญาก่อน มีดวงตาเห็นธรรมก่อน ปัญญามีรากเหง้ามาจากความจริง ความจริงถูกกิเลสลากไปไม่ได้ เพราะความจริงมันเอาไว้ดับความเชื่อ กิเลสมันเกิดจากความเชื่อ

ที่บอกๆ กันว่า "กกิเลสตัณหาอาสวะลากคอพิจารณาธรรมตามกิเลส" มันไม่มีเหตุปัจจัยรองรับ มันพูดกันขึ้นมาลอยๆ

นิวรณ์ทั้งหมด มีสมมุตฺฐานมาจากจิตที่เป็นอกุศล คือ ประกอบด้วย โลภะ โทสะ โมหะ วิปัสสนาดับโลภะ โทสะ โมหะ ได้ทันที เพราะฉะนั้น นิวรณ์จึงดับได้ด้วยปัญญา ดับที่เหตุ วิปัสสนาไปเรื่อยๆิ นิวรณ์จะค่อยๆ ลดลำลังลงไปเอง ตามเหตุปัจจัย

การใช้สมาธิ ดับนิวรณ์ไม่ได้เลย เพราะสมาธิ ไม่ได้ดับโลภะ โทสะ โมหะ ลงเลยแม้แต่น้อย กดข่มไว้ชั่วคราวเท่านั้น ตะบะแตก นิวรณ์ก็กลับมาเป็นปกติ ...

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 01:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
eragon_joe เขียน:
Supareak Mulpong เขียน:
ถ้าเห็นว่าผมยกสิ่งใหนมาแสดง อยู่นอกเหนือธรรมวินัย ก็รบกวนบอกด้วยก็แล้วกัน


หมายความให้ว่ากันแบบ กระต่ายขาเดียว น่ะเหร๋อ

หมายความว่า สุตันต กะ อภิธรรม ให้เก็บไว้ ห้ามหยิบมาถกใช่ป่าว :b14:

นี่ท่านกำลังหาข้อธรรม มาปรับอาบัติ ปาราชิก ข้าพเจ้าแล้วใช่มั๊ยนี่

งั๊นท่านจงกล่าววินัยอันที่พระพุทธองค์ บัญญัติไว้สำหรับอุบาสก อุบาสิกา มาทีเถอะ

:b23: :b23: :b23:

:b30: :b30: :b30:
การแสดงธรรม ต่างจากการเรียนปกตินิดหน่อย คือ ปกติการสอน จะมีการบอกให้รู้ ถามให้ตอบ ทำให้ดู ให้ทดลองทำ แต่การวิปัสสนาทำให้ดูไม่ได้ ให้คิดตามก็ไม่ได้ ได้แต่แสดงความจริงตรงไปตรงมา แสดงเหตุปัจจัย ... ตรงมากไป คุณอาจจะไม่ค่อยชอบก็ต้องขออภัย ถ้าจะให้ soft กว่านี้ ก็จะพยายามก็แล้วกัน

อืมม นี่ท่านแสดงการคิดฟุ้งซ่านอยู่นะนี่

อ้างคำพูด:
สมัยพุทธกาล ยังไม่มีพระไตรปิฏก เราเรียกคำสอนรวมๆ ว่า ธรรมวินัย อีกอย่าง ถ้ายังไม่บวช ไม่มีอาบัติ ไม่มีปราชิก ... พวกผมถึงยังไม่มีใครบวช

อันนี้ อุปทาน ปรุง ไหลไปในสัญญาที่หมักหมมมาน่ะ

อ้างคำพูด:
ในพระไตรปิฏก ถ้ากล่าวถึงฌาน พระพุทธองค์จะตรัสว่า เกิดแต่วิเวก หรือ เกิดเพราะอุปธิวิเวก

คำว่า วิเวก คือ วิเวก ๓ ประกอบก้วย จิตวิเวก กายวิเวก และอุปธิวิเวก อันเป็นศีลและวัตรของพระภิกษุสงฆ์ ไม่ใช่ของคฤหัส

อุปธิวิเวก คือ สภาพที่จิตปราศจากอุปธิ หรือ ไม่มีการยึดมั่นถือมั่น ไม่มีการปรุงแต่ง การสินอุปธิ มีเหตุมาจากการสิ้นตัณหา การสิ้นตัณหา มาจากการสิ้นเวทนา หรือแปลง่ายๆ ว่า สมาธิตั้งแต่ปฐมฌานในพระสูตรพระวินัย เป็นสมาธิของพระอริยสงฆ์ เป็นผลของการบรรลุธรรม ไม่ใช่เหตุของการบรรลุธรรม

พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า ธรรมในฐิติญานเกิดขึ้นก่อน ธรรมในพระนิพพานเกิดภายหลัง ในสมัยพุทธกาล ก็ปรากฏมีพระอรหันต์ที่ไม่ได้ฌานใดๆ เลย มีมากกว่าพระอรหันต์ที่ได้ฌาน
viewtopic.php?f=7&t=34631

อ้อ บัญญัตินี้มีในสัญญาของท่านแล้ว ก็เหลือแต่เอาไปอบรมจิตให้เห็นแจ้งด้วยนะ

อ้างคำพูด:
พวกที่ยกฌานสูตรมาเพื่อบอกว่า ต้องได้ฌานก่อนถึงจะได้ปัญญา ยกมาทั้งสูตร แต่ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น คำว่าวิเวก อธิบายลากไปจนถึงเนวสัญญาฯ บอกว่าจะสามารถพิจารณาในองค์ฌานได้ บอกว่า ปุถุชนก็ปฏิบัติได้ ... จริงๆ ต้องบอกว่ามั่วนิ่ม พวกที่อดีตเป็นพราหมณ์มาก่อน พวกอยากได้อภิญญา ก็แห่ไปปฏิบัติกัน สุดท้ายก็ไปจบที่เนวสัญญาฯ เท่านั้น

อ้อ ยังมี "พวก"นั่น "พวก"นี่

เราไม่รู้หรอก ว่า "วิเวก" มันจะต้อง "วิเวก" ยังไง เพราะไม่ได้ใส่ใจ
เราแค่ปฏิบัติตามคำแนะนำของอาจารย์ส่งเดชมางั๊นละ
แล้วเห็น อายตนะ ปรากกฎน่ะ แค่นั้น
ถ้าหากว่า ปรึกษาสิ่งที่เห็นกับพวกท่าน พวกท่านจะตอบว่ายังไง :b6:

จนเมื่อเราได้อ่านพระสูตรนี้ เราก็เห็นความลาดลึกลง แห่งอรรถ
วรรคสุดท้าย ถูกขมวด ด้วยอายตนะ 2 เท่านี้ เราก็ เห็นความเป็นไปแห่งสุญญตา

เหตุผลต่าง ๆ นานาที่ท่านกล่าวเกี่ยวกับ สมาธิ ฌาณ
มันเป็นความเห็นของผู้ปฏิบัติส่วนหนึ่งที่ปฏิบัติแล้ว ไม่เห็นผลตามที่ปราถนา
และก็ไม่เจนจัดในธรรม ก็แค่นั้น

นกที่ฉลาดมันไม่บินไปไหนหรอก
เพราะ มันรู้แล้วว่า มันต้องปักหลักสู้ตายกับวัฏสงสาร ณ ที่นี่ตรงนี้เอง ไม่ใช่ที่ไหน ตรงไหน
แค่นี้
มหาราชันย์ เขียน:
Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต


ฌานสูตร
...
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล สัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญาปฏิเวธก็มีเท่านั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่า อายตนะ ๒ ประการนี้ อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติและฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ


จบสูตรที่ ๕


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 01:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


.......................................
ดูกรอานนท์ มัคคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน?
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก เพราะละกุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจารมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในกาย ในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญเป็นของมิใช่ตัวตน. เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น ครั้นเธอเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิทเป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้. เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมเป็นโอปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ดูกรอานนท์ มรรคแม้นี้แล ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.

ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.

ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข.

ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น ฯลฯ
เพื่อละสังโยชน์
........................................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 01:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุ ท. ! ครั้งนั้นแล มหาชนชาวพันธุมดีราชธานี จำนวนแปดหมื่นสี่พันคน ออกจากเมือง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาควิปัสสีถึงที่ประทับณ เขมมิคทายวัน ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาควิปัสสีได้ตรัส อนุปุพพิกถา แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น กล่าวคือ ทานกถา สีลกถาสัคคกถา ทรงประกาศ โทษอันเศร้าหมองต่ำทรามของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในการออกจากกาม.

ครั้นทรงทราบว่าชนเหล่านั้นมีจิตเหมาะสม อ่อนโยน ปราศจากนิวรณ์ ร่าเริง แจ่มใส แล้ว, ก็ได้ตรัสธรรมเทศนาซึ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงเอง กล่าวคือ เรื่องทุกข์ เรื่องสมุทัย เรื่องนิโรธ และเรื่องมรรค. เปรียบเสมือนผ้าอันสะอาด ปราศจากสิ่งแปดเปื้อน ย่อมรับเอาซึ่งน้ำย้อมได้อย่างดี ฉันใด ; ธรรมจักษุ ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่มหาชนแปดหมื่นสี่พันเหล่านั้น ณ ที่นั่งนั้นเองว่า

“สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็ นธรรมดา” ดังนี้,


ฉันนั้นเหมือนกัน.ชนเหล่านั้นมีธรรมอันเห็นแล้ว บรรลุแล้ว รู้แจ้งแล้ว หยั่งเอาได้ครบถ้วนแล้ว หมดความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความกล้าหาญไม่ต้องเชื่อตามบุคคลอื่นในคำสอนแห่งศาสดาตน ได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาควิปัสสีว่า “ไพเราะนัก พระเจ้าข้า ! ไพเราะนัก พระเจ้าข้า ! เปรียบเหมือนการหงายของที่คว่ำอยู่ เปิ ดของที่ปิ ดอยู่ บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือว่าจุดประทีปไว้ในที่มืดเพื่อว่าคนมีตาจักได้เห็นรูป, ฉันใดก็ฉันนั้น” ดังนี้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 01:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ..ท่านFlame.. :b8: :b8:

Supareak Mulpong เขียน:
การใช้สมาธิ ดับนิวรณ์ไม่ได้เลย เพราะสมาธิ ไม่ได้ดับโลภะ โทสะ โมหะ ลงเลยแม้แต่น้อย กดข่มไว้ชั่วคราวเท่านั้น ตะบะแตก นิวรณ์ก็กลับมาเป็นปกติ ...


ก็ใครบอกว่า..ดับนิวรณ์ด้วยสมาธิ..ละครับ

เขียนแต่..ระงับ...

ช่วงเวลาที่เราทำงานด้วยจิตใจ...ก็แค่ให้จิตใจปลอดจากสิ่งครอบงำ...เพื่อให้ใจทำงานให้ได้ผล

รึท่านซุปฯจะให้พิจารณาทั้ง ๆ ที่ใจไม่สงบ??

ใจที่สงบจริง ๆ จะไม่มีนิวรณ์มาให้เห็น

ถ้ายังเห็นนิวรณ์อยู่..แปลว่าใจไม่สงบจริง

ก็แค่นี้แหละ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 02:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ส่วนคุณโฮฯ ที่พยายามโฆษณาชวนเชื่อ ไม่เห็นด้วยตาก็ไม่เชื่อ กล่าวว่าอัตตาและโลกบางอย่าง เที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง (เอกัจจสัสสตเอกัจจอสัสสตทิฏฐิ ๔) ห็นว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ไม่มีเหตุ (อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒) ... ก็หวังว่าท่านจะเป็นผู้มีความเพียรเพ่งจนรู้เห็นไตรลักษณ์ด้วยตัวท่านเอง

คุณซุปเจ้าของกระทู้ครับ กรุณาดูหัวข้อกระทู้ของตนเอง ก่อนที่จะแสดงความเห็น
ตัวเองบอกให้ตอบคำถามธรรม แต่ดันมาแสดงอารมณ์พาลใส่คนอื่น รู้ตัวหรือเปล่าว่า
ที่แสดงความเห็นมา มันทำให้รู้ว่า คุณไปไม่ถูกแล้วล่ะครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 10:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ก็ใครบอกว่า..ดับนิวรณ์ด้วยสมาธิ..ละครับ

เขียนแต่..ระงับ...

ช่วงเวลาที่เราทำงานด้วยจิตใจ...ก็แค่ให้จิตใจปลอดจากสิ่งครอบงำ...เพื่อให้ใจทำงานให้ได้ผล

รึท่านซุปฯจะให้พิจารณาทั้ง ๆ ที่ใจไม่สงบ??

ใจที่สงบจริง ๆ จะไม่มีนิวรณ์มาให้เห็น

ถ้ายังเห็นนิวรณ์อยู่..แปลว่าใจไม่สงบจริง

ก็แค่นี้แหละ..

ก็ปัญญานั่นแหละ ทำให้ใจสงบ จะมีอะไรวิเศษกว่าปัญญาอีก

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาทำให้ใจสงบ สาธุครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 11:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2011, 02:37
โพสต์: 22


 ข้อมูลส่วนตัว


นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี

ราโค โทโส มโท โมโห ยตฺถ ปญฺญา น คาธติ
ราคะ โทสะ ความมัวเมาและโมหะเข้าที่ไหน ปัญญาย่อมเข้าไม่ถึงที่นั้น

ปญฺญาสหิโต นโร อิธ ทุกฺเข สุขานิ วินฺทติ
คนมีปัญญา ถึงแม้ตกทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ

อนฺโธ ยถา โชติมธฺฏฺฐเหยฺย
ขาดตาปัญญาเสียแล้ว ก็เหมือนคนตาบอด เหยียบลงไปได้ แม้กระทั่งไฟที่ส่องทาง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ปญฺญาสหิโต นโร อิธ ทุกฺเข สุขานิ วินฺทติ
คนมีปัญญา ถึงแม้ตกทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ
อริยบุคคล ถึงจะตกอยู่ในสภาพที่น่าจะประสบกับความทุกข์มากที่สุด ก็ยังมีความสุขอยู่ได้ เพราะมีปัญญา จนบางทีคนทั่วไปสงสัยว่า โดนขนาดนี้แล้วมันยังเฉยยิ้มอยู่ได้ยังไงฟะ

อ้างคำพูด:
ปัญญาทำให้ใจสงบ สาธุครับ
เหตุปัจจโย คือ ธรรมชาติทุกอย่างมีเหตุปัจจัยเป็นแดนเกิด ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาลอยๆ ธรรมอันเป็นเหตุของธรรมทั้งปวง คือ เหตุ ๖ อันได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโมสะ อโมหะ

วิปัสสสนา ดับ โลภะ โทสะ โมหะ อันเป็นเหตุของความฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้น วิปัสสนาจึงเป็นการสร้างความสงบของจิตอย่างมั่นคง หรือ ปัญญา ทำให้เกิดศีล ศีลทำให้เกิดสมาธิ

มหาตภูติรูป ๔ ก็ยังมีสมมุติฐานมาจากจิต ที่ใดที่จิตอาศัยไม่ได้ มหาตภูติรูป ๔ ก็เกิดไม่ได้ หรือ ดับไม่มีส่วนเหลือ ณ ที่นั้น

อ้างคำพูด:
เราไม่รู้หรอก ว่า "วิเวก" มันจะต้อง "วิเวก" ยังไง เพราะไม่ได้ใส่ใจ
เราแค่ปฏิบัติตามคำแนะนำของอาจารย์ส่งเดชมางั๊นละ
แล้วเห็น อายตนะ ปรากกฎน่ะ แค่นั้น
ถ้าหากว่า ปรึกษาสิ่งที่เห็นกับพวกท่าน พวกท่านจะตอบว่ายังไง
ก็นี่แหละ จุดผิดพลาด เพราะอาศัยรู้ตามๆ กันมา ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้

ไอ้เรื่องที่เห็นในสมาธิ สภาวะสงบของจิต เลื่อนจิตจากฟุ้งซ่านไปสู่ความสงบ เห็นนิมิต หรือภาพเนรมิต ถ้ามีปัญญาถึงจะรู้ว่าที่เห็นจริงหรือไม่จริง พวกผู้วิเศษทางโลก มีตาทิพย์หูทิพย์ แต่ความสามารถในการแปรสารก็เท่าปุถุชนนี่แหละ

ที่คุณพยายามจะลากผมไปเรื่อง สัญญาดับ สัญญานิดหนึ่งก็ไม่มี จุดนี้มันไม่ได้เป็นการละสัญญาอย่างที่คุณเข้าใจหรอกนะครับ เป็นเนวสัญญาฯ ซึ่งก็ยังเป็นมิจฉาสมาธิ ถ้าเข้าใจว่า ถึงเนวสัญญาฯ คือถึงนิพพาน ก็เป็น ทิฏฐธัมมนิพพานวาททิฏฐิ


คำถามที่ตั้งขึ้นมา ๔ ข้อนี้ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่ถูกต้องของผู้แสวงหานิพพาน :b8:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 21:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
เราไม่รู้หรอก ว่า "วิเวก" มันจะต้อง "วิเวก" ยังไง เพราะไม่ได้ใส่ใจ
เราแค่ปฏิบัติตามคำแนะนำของอาจารย์ส่งเดชมางั๊นละ
แล้วเห็น อายตนะ ปรากกฎน่ะ แค่นั้น
ถ้าหากว่า ปรึกษาสิ่งที่เห็นกับพวกท่าน พวกท่านจะตอบว่ายังไง

ก็นี่แหละ จุดผิดพลาด เพราะอาศัยรู้ตามๆ กันมา ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้

ไอ้เรื่องที่เห็นในสมาธิ สภาวะสงบของจิต เลื่อนจิตจากฟุ้งซ่านไปสู่ความสงบ เห็นนิมิต หรือภาพเนรมิต ถ้ามีปัญญาถึงจะรู้ว่าที่เห็นจริงหรือไม่จริง พวกผู้วิเศษทางโลก มีตาทิพย์หูทิพย์ แต่ความสามารถในการแปรสารก็เท่าปุถุชนนี่แหละ

ที่คุณพยายามจะลากผมไปเรื่อง สัญญาดับ สัญญานิดหนึ่งก็ไม่มี จุดนี้มันไม่ได้เป็นการละสัญญาอย่างที่คุณเข้าใจหรอกนะครับ เป็นเนวสัญญาฯ ซึ่งก็ยังเป็นมิจฉาสมาธิ ถ้าเข้าใจว่า ถึงเนวสัญญาฯ คือถึงนิพพาน ก็เป็น ทิฏฐธัมมนิพพานวาททิฏฐิ


ที่เราหยิบมานั้นเป็นพระสูตร เราเป็นเพียงผู้หยิบพระสูตรมา
ส่วนผู้ที่กล่าวพระสูตรก็คือ พระพุทธองค์ :b14: :b14:

และพระสูตรนี้ ก็แสดง ไตรลักษณ์
คือ อนิจจัง ทุกขัง "อนัตตา"
วิญญาณ คือ รู้การปรากฎ
ปัญญา คือ รู้ชัด
เมื่อปัญญาปรากฎ เกิดวิชา อวิชาย่อมดับไป

ทำไม พระสารีบุตรจึง กล่าว "วิญญาณ - ปัญญา เกิดร่วมกันไม่อาจจะแยกออกจากกันได้"
ทำไม จึงกล่าว "วิญญาณ - สัญญา - เวทนา เกิดร่วมกันไม่อาจจะแยกออกจากกันได้"
กล่าวแยกกัน ไม่เอามารวมกัน


บุคคลผู้ซึ่งอ่านพระสูตรแล้ว เห็น ถ้าเข้าใจว่า ถึงเนวสัญญาฯ คือถึงนิพพาน ก็เป็น ทิฏฐธัมมนิพพานวาททิฏฐิ

กับ บุคคลผู้ซึ่งอ่านพระสูตรแล้ว เห็น ไตรลักษณ์

จักษุปัญญา มันปรากฎอยู่ ตรงไหนล่ะ

และท่านเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงสอน มิฉาสมาธิ ไปได้ยังไง
และยังกล่าวว่า ที่พระพุทธองค์ทรงสอนเป็น ทิฏฐธัมมนิพพานวาททิฏฐิ อีก


:b14: :b14: :b14:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 26 มิ.ย. 2011, 21:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ที่เราหยิบมานั้นเป็นพระสูตร เราเป็นเพียงผู้หยิบพระสูตรมา
ส่วนผู้ที่กล่าวพระสูตรก็คือ พระพุทธองค์ :b14: :b14:

และ พระสูตรนี้ ก็แสดง ไตรลักษณ์
คือ อนิจจัง ทุกขัง "อนัตตา"
วิญญาณ คือ รู้การปรากฎ
ปัญญา คือ รู้ชัด
เมื่อปัญญาปรากฎ อวิชาย่อมดับไป

ทำไม พระสารีบุตรจึง กล่าว "วิญญาณ - ปัญญา เกิดร่วมกันไม่อาจจะแยกออกจากกันได้"
ทำไม จึงกล่าว "วิญญาณ - สัญญา - เวทนา เกิดร่วมกันไม่อาจจะแยกออกจากกันได้"

บุคคลผู้ซึ่งอ่านพระสูตรแล้ว เห็น ถ้าเข้าใจว่า ถึงเนวสัญญาฯ คือถึงนิพพาน ก็เป็น ทิฏฐธัมมนิพพานวาททิฏฐิ

กับ บุคคลผู้ซึ่งอ่านพระสูตรแล้ว เห็น ไตรลักษณ์

จักษุปัญญา มันปรากฎอยู่ ที่ไหนล่ะ

พระไตรปิฏก ได้อ่านแล้วแปลผิดเข้าใจผิด กับไม่ได้อ่าน อย่างใหนแย่กว่ากันล่ะครับคุณ

การศึกษาธรรมวินัย จนเข้าว่าว่า ทุกอย่างต่างก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หรือ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนันตา นั่นแหละ เห็นด้วยดวงตาของปัญญา ... หมายความว่า เกิดความเห็นจริงตามความเป็นจริง เพราะได้รับข้อมูลความจริง ไม่ได้มีความหมายพิศดารไปกว่านี้

พวกทิฐิมานะ เที่ยวบอกผู้คนว่า ฉันเอามาจากพระไตรปิฏกนะ สูตรโน้นสูตรนี้ แต่ตัดเอามาเฉพาะบางส่วน บางสูตร สูตรใหน ข้อความหใน ที่ขัดกับความเห็นตนก็ตัดออก เพิกเฉย ทำเป็นไม่เห็น แบบนี้มีเยอะแยะ ... พากันมาตั้งสำนัก เขียนคำสอนขึ้นมากันใหม่ เต็มบ้านเต็มเมือง พวกนี้มักจะบอกว่า ไม่ต้องไปอ่านหรอกพระไตรปิฏก

พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ต้องได้มาแบบ ถูกต้องครบถ้วน ผิดนิดผิดหน่อย หรือไม่ครบ ก็ถือว่า ใช้ไม่ได้

พระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ให้ยังปัญญาให้เกิดขึ้นมาทุกครั้งเมื่อจิตเกิดขึ้นมาเพื่อเสวยอารมณ์ จิตที่มีหน้าที่รับรู้อารมณ์เรียกว่าวิญญาณ แปลว่า ให้วิปัสสนาคู่กับผัสสะ ปัญญาจะได้ประกบวิญญาณ หรือ จะได้เห็นอารมณ์ตามความเป็นจริง

มีเวทนา ก็มีสัญญา มันเป็นปกติของการเกิดกองทุกข์ เกิดที่ผัสสะ เกิดเมื่อมีวิญญานขึ้นมารับรู้อารมณ์ ปรุงแต่งเป็นเวทนา สติลากเอาพยาบาทสัญญา ราคะสัญญา ฯ ตามอำนาจของอวิชชา

พระอรหันต์ท่านก็ยังมีสัญญา เรียกว่า มีสัญญาสักแต่ว่ามีสัญญา

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 21:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
eragon_joe เขียน:
ที่เราหยิบมานั้นเป็นพระสูตร เราเป็นเพียงผู้หยิบพระสูตรมา
ส่วนผู้ที่กล่าวพระสูตรก็คือ พระพุทธองค์ :b14: :b14:

และ พระสูตรนี้ ก็แสดง ไตรลักษณ์
คือ อนิจจัง ทุกขัง "อนัตตา"
วิญญาณ คือ รู้การปรากฎ
ปัญญา คือ รู้ชัด
เมื่อปัญญาปรากฎ อวิชาย่อมดับไป

ทำไม พระสารีบุตรจึง กล่าว "วิญญาณ - ปัญญา เกิดร่วมกันไม่อาจจะแยกออกจากกันได้"
ทำไม จึงกล่าว "วิญญาณ - สัญญา - เวทนา เกิดร่วมกันไม่อาจจะแยกออกจากกันได้"

บุคคลผู้ซึ่งอ่านพระสูตรแล้ว เห็น ถ้าเข้าใจว่า ถึงเนวสัญญาฯ คือถึงนิพพาน ก็เป็น ทิฏฐธัมมนิพพานวาททิฏฐิ

กับ บุคคลผู้ซึ่งอ่านพระสูตรแล้ว เห็น ไตรลักษณ์

จักษุปัญญา มันปรากฎอยู่ ที่ไหนล่ะ

พระไตรปิฏก ได้อ่านแล้วแปลผิดเข้าใจผิด กับไม่ได้อ่าน อย่างใหนแย่กว่ากันล่ะครับคุณ

การศึกษาธรรมวินัย จนเข้าว่าว่า ทุกอย่างต่างก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หรือ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนันตา นั่นแหละ เห็นด้วยดวงตาของปัญญา ... หมายความว่า เกิดความเห็นจริงตามความเป็นจริง เพราะได้รับข้อมูลความจริง ไม่ได้มีความหมายพิศดารไปกว่านี้

พวกทิฐิมานะ เที่ยวบอกผู้คนว่า ฉันเอามาจากพระไตรปิฏกนะ สูตรโน้นสูตรนี้ แต่ตัดเอามาเฉพาะบางส่วน บางสูตร สูตรใหน ข้อความหใน ที่ขัดกับความเห็นตนก็ตัดออก เพิกเฉย ทำเป็นไม่เห็น แบบนี้มีเยอะแยะ ... พากันมาตั้งสำนัก เขียนคำสอนขึ้นมากันใหม่ เต็มบ้านเต็มเมือง พวกนี้มักจะบอกว่า ไม่ต้องไปอ่านหรอกพระไตรปิฏก

พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ต้องได้มาแบบ ถูกต้องครบถ้วน ผิดนิดผิดหน่อย หรือไม่ครบ ก็ถือว่า ใช้ไม่ได้

พระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ให้ยังปัญญาให้เกิดขึ้นมาทุกครั้งเมื่อจิตเกิดขึ้นมาเพื่อเสวยอารมณ์ จิตที่มีหน้าที่รับรู้อารมณ์เรียกว่าวิญญาณ แปลว่า ให้วิปัสสนาคู่กับผัสสะ ปัญญาจะได้ประกบวิญญาณ หรือ จะได้เห็นอารมณ์ตามความเป็นจริง

มีเวทนา ก็มีสัญญา มันเป็นปกติของการเกิดกองทุกข์ เกิดที่ผัสสะ เกิดเมื่อมีวิญญานขึ้นมารับรู้อารมณ์ ปรุงแต่งเป็นเวทนา สติลากเอาพยาบาทสัญญา ราคะสัญญา ฯ ตามอำนาจของอวิชชา

พระอรหันต์ท่านก็ยังมีสัญญา เรียกว่า มีสัญญาสักแต่ว่ามีสัญญา


สัญญาลากไปใหญ่แล้ว ฟุ้ง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 152 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 217 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร