วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 09:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 152 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 17:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=8&t=26603

กระทู้เก่า แต่ไม่เก่าเลย

:b23: :b23: :b23:
ไม่ได้กลับปอ่านต่อเลย ไม่รู้จะไปคุยทำไมกับพวกทิฐิวิบัติ :b38:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 17:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
มันเหมือนกับ ทิฏฐธัมมนิพพานวาททิฏฐิ ๕ เห็นว่าพระนิพพานมีในปัจจุบัน ตรงไหนเนี๊ยะ ช่างยกมาได้
ไม่ใช่กรณีเดียวกัน ก็แล้วไป :b12: ถ้ายังไม่ดับชันธ์ฯ แล้วบอกว่า เข้าถึง(กระแส)นิพพานได้ตอนนั้น เดี๋ยวนั้น ก็จะเข้าใจได้ไม่สับสน



:b6: :b6: :b6:

นี่เป็นอีกกรณี

Quote Tipitaka:
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ -หน้าที่ 306

เรื่องบุตรเศรษฐีชื่ออุคคเสน

" เชิญเถิด อุคคเสน บุตรคนฟ้อน ผู้มีกำลังมาก

เชิญท่านจงดู, เชิญท่านทำความยินดีแก่บริษัทเถิด,

เชิญท่านทำให้มหาชนร่าเริงเถิด."

เขาได้ยินถ้อยคำของพระเถระแล้ว เป็นผู้มีใจยินดี หวังว่า " พระศาสดามีพระ

ประสงค์จะดูศิลปะของเรา " จึงยืนบนปลายไม้แป้นแล้วกล่าวคาถานี้ว่า :-

" เชิญเถิด ท่านโมคคัลลานะ ผู้มีปัญญามาก มี

ฤทธิ์มาก เชิญท่านจงดู, กระผมจะทำความยินดีแก่

บริษัท, จะยังมหาชนให้ร่าเริง."

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ก็กระโดดจากปลายไม้แป้น ขึ้นสู่อากาศ หก

คะเมน ๑๔ ครั้งในอากาศแล้ว ลงมายืนอยู่บนปลายไม้แป้น(ตามเดิม).

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเขาว่า " อุคคเสน ธรรมดาบัณฑิตต้องละความ

อาลัยรักใคร่ในขันธ์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันเสียแล้ว พ้น

จากทุกข์ทั้งหลายมีชาติเป็นต้นจึงควร ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

" ท่านจงเปลื้อง (อาลัย) ในก่อนเสีย จงเปลื้อง

(อาลัย) ข้างหลังเสีย, จงเปลื้อง (อาลัย) ในท่าม-

กลางเสีย, จึงเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจหลุดพ้นใน

ธรรมทั้งปวง จะไม่เข้าถึงชาติและชราอีก."

ในกาลจบเทศนา การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่สัตว์ทั้ง ๘๔,๐๐๐ แล้ว.

อุคคเสนทูลขอบรรพชาอุปสมบท

ฝ่ายบุตรเศรษฐี กำลังยืนอยู่บนปลายไม้แป้น บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย

ปฏิสัมภิทาแล้ว ลงจากไม้แป้นมาสู่ที่ใกล้พระศาสดา ถวายบังคมด้วยเบญจางค

ประดิษฐ์ ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์

เบื้องขวาตรัสกะนายอุคคเสนนั้นว่า " ท่าน จงเป็นภิกษุมาเถิด." อุคคเสนนั้นได้

เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งบริขาร ๘ ประหนึ่งพระเถระมีพรรษาตั้ง ๖๐ ในขณะนั้นนั่นเอง.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 17:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
eragon_joe เขียน:
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=8&t=26603

กระทู้เก่า แต่ไม่เก่าเลย

:b23: :b23: :b23:
ไม่ได้กลับปอ่านต่อเลย ไม่รู้จะไปคุยทำไมกับพวกทิฐิวิบัติ :b38:


อืมม
เป็นกระทู้ที่ทำให้เห็นเวลาที่ใช้ไปในความเพียร กับความลาดไปในธรรม น่ะ

ทำให้เห็นแนวทางที่นำไปสู่ความตีบตัน ชัดเจน


:b30: :b30: :b30:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เขาบรรลุธรรมเพราะได้ฟังธรรม ไม่ได้ไปทำอะไรมากกว่านี้ และผู้ที่แสดงธรรมให้ผู้อื่นบรรลุธรรมได้ลักษณะนี้ ก็เห็นมีแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น เพราะท่านรู้ความต่างแห่งอินทรีย์ (อินทริยปโรปริยัติญาณ)

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 21:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
เขาบรรลุธรรมเพราะได้ฟังธรรม ไม่ได้ไปทำอะไรมากกว่านี้ และผู้ที่แสดงธรรมให้ผู้อื่นบรรลุธรรมได้ลักษณะนี้ ก็เห็นมีแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น เพราะท่านรู้ความต่างแห่งอินทรีย์ (อินทริยปโรปริยัติญาณ)


อืมม์ :b14: :b14: เหร๋อ
ก็นั่นล่ะ ความต่างของกำลังพระพุทธเจ้า กับกำลังของสาวก น่ะนะ
ดังนั้น มันก็ไม่ใช่กิจที่สาวกจะไปแสดงธรรมนอกเหนือไปจากที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ น่ะนะ
หรือ แสดงธรรมอันนอกเหนือไปจากธรรมที่ได้มีสาวกได้ขยายความไว้ อันซึ่งพระพุทธองค์ได้ให้การรับรองแล้ว น่ะนะ

หรือ ถ้าไม่เช่นนั้น ก็ต้องพิจารณาธรรมนั้น เข้ากันได้กับหลักธรรมใหญ่หรือไม่

แต่ถ้า พิจารณาดูแล้ว มีข้อขัดแย้งหลายประการ
ก็ถือว่า ธรรมนั้นเป็นโมฆะ ให้วางไว้เสีย

แล้วพึงไปหยิบธรรมอันเป็นพุทธวจนะ มาทรงจำ มาปฏิบัติ

:b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 00:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านควรจะรื้อเครื่องตัวเองใหม่นะ
ตอนที่ท่านสนทนากันสามคน เราไม่ได้เข้าไปอ่าน
ก็เพิ่งได้ไปลองอ่านดู เราถูกใจพระสูตรนี้
เพราะ พระสูตรนี้ ทำให้เรารู้ว่า แนวทางที่ท่านรับฟังมาจากอาจารย์ พาไปถึงที่สุดไม่ได้
เพราะ เป็นสิ่งที่อาจารย์ท่านยังไม่เท่าทัน ซึ่งเมื่อผู้สอนยังไม่เท่าทันในธรรมเสียแล้ว
ด้วยลำพังธรรมที่เข้าใจแค่นั้น จะสอนคนอื่นให้เท่าทันในธรรมเหนือไปกว่าตนได้อย่างไร

มหาราชันย์ เขียน:
Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต



ฌานสูตร
[๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อากาสนัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรคเป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองก้อนดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่าเป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ข้อที่เรากล่าวว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะ อาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...นิพพาน เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วย
หญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากาสานัญจาตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพานเธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจาตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจาตนฌาน ... เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ฯลฯ มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวว่า เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ


ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌานบ้างดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย


ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่พึงกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล สัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญาปฏิเวธก็มีเท่านั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่า อายตนะ ๒ ประการนี้ อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติและฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ


จบสูตรที่ ๕





:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 04:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
แล้วไอ้มหาเจตภูมิที่คุณอ้างแต่ต้น มันหายไปไหนหมดครับ
ลองไปทบทวนความเห็นก่อนๆ แล้วว่างๆจะเข้ามาคุยใหม่ครับ
ที่สำคัญจำคำที่ผมบอกไว้ครับว่า แสดงความเห็นที่ยังไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นหรือเปล่าเป็นมิจฉาทิฐิ
พระพุทธเจ้านับได้แค่ 2500กว่าปี แต่ดันพูดเรื่อง4.5ล้านปี :b13:
๔.๕ ล้านปียังไม่รู้ ไอโซโทปก็ยังไม่รู้ แล้วเป็นมหากัปนี่ท่านจะรู้ได้ใหมล่ะ ... เรื่องที่ควรรู้ดันไม่รู้ เรื่องที่ไม่ควรรู้ดันยกมาได้เป็นเรื่องเป็นราว

คุณซูปคุณพอรู้เรื่อง หลักอจินไตยหรือเปล่า ที่ว่าด้วยเรื่องโลกวิสัย
คุณมาพูดถึงดวงอาทิตย์จะดับ โลกจะแตก ธาตุจะเปลี่ยนอีก4.5ล้านปี
สิ่งต่างๆเหล่านี้ พระพุทธองค์ทรงบอกว่าเป็นอจินไตย
Supareak Mulpong เขียน:
[เรื่องที่ควรรู้ดันไม่รู้ เรื่องที่ไม่ควรรู้ดันยกมาได้เป็นเรื่องเป็นราว

ที่คุณบอกว่า"เรื่องที่ควรรู้ดันไม่รู้ "มันเป็นลักษณะของคุณเองนั้นแหล่ะครับ ทำไมผมว่าอย่างนั้น
ก็เพราะคุณยกเรื่อง มหาภูติรูปขึ้นมากล่าวอ้าง แต่ดันเข้าใจไปคนละเรื่องคนละราว
ใจความสำคัญของมหาภูติฯก็คือ ท่านให้รู้ว่า ในธรรมชาติที่เราเห็นเป็นตัวเป็นตน
ก็เพราะเป็นการประชุมกันชั่วคราวของมหาภูติรูป แท้จริงแล้วสิ่งที่เรายึดมั่นนั้นเป็นแค่
ธาตุดิน น้ำ ลมและไฟ ตัวอย่างเช่น เราเห็นผู้หญิงสวย แท้จริงแล้วสิ่งที่เราเห็น
ก็คือ ธาตุดินน้ำลมไฟ สิ่งที่ท่านให้ดูว่าไม่เที่ยงก็คือ ผู้หญิงสวย ไม่ใช่ดูมหาภูติรูป
หรือธาตุดินน้ำลมไฟว่าไม่เที่ยง


และเรื่องที่ไม่ควรรู้ดันรู้ ก็คือ เรื่องที่พระพุทธองค์กล่าวว่า สิ่งนั้นเป็นอจินไตย
อย่าอยากรู้หรือพอจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าอย่ารู้ดี คุณลองไปดูซิครับ
ความเห็นไหนของคุณเข้าข่ายกฎข้อนี้บ้าง ถ้าไม่รู้ก็ที่ผมเตือนว่ามันเป็นมิจฉาทิฐิ
ไงครับ
Supareak Mulpong เขียน:
งั้นเอาแค่ระเบิดนิเคลียลง น้ำหาย กลายเป็นประจุอิสระ คงพอเข้าใจได้นะครับ ไม่ต้องว่ากันเป็นมหากัป

ตลกดีครับ บัญญัติก็เป็นตัวเองเอามา แต่ดูสิ่งที่อธิบายมามันคนละเรื่อง
ก็บัญญัติคำว่า มหาภูติรูปมันก็บ่งบอกถึงลักษณะแล้วว่าเป็นรูป
แล้วที่คุณอ้างนิวเคลียส นิวเตลียร์ อิเลคตรอน โปรตรอนอะไรของคุณน่ะ
ผมถามหน่อย มันเป็นรูปในทางพุทธศาสนาหรือครับ

แล้วยิ่งเอาคำว่าไม่เที่ยงมากล่าวในลักษณะนี้ มันยิ่งมั่วกันใหญ่ครับ
สมมุติบอกว่ากายคนเราไม่เที่ยง แล้วคุณไปฆ่าคนอื่นเอาไฟเผาจนกลายเป็นเถ้าถ่าน
แล้วเที่ยวได้บอกคนอื่นว่า เห็นมั้ยกายคนเราไม่เที่ยง มันตลกครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 05:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
การเรียนรู้ คือ เรียนกจากผู้รู้ ไม่ได้ให้ไปรอดูจนดวงอาทิยต์ดับ รอดูโลกจักรวาลแตก เรียนให้รู้ว่า สิ่งเหล่านี้มีอายุ มีเหตุปัจจัยเป็นแดนเกิด

มันสำคัญว่า เรากำลังศึกษาอะไรอยู่ พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องปัจจุบัน สอนให้อยู่กับปัจจุบัน
เพราะการรู้ในปัจจุบัน มันเป็ทางแห่งการดับทุกข์ การรู้ปัจจุบันแล้วละเสียมันเป็นแนวทางให้เลิก
ยึดมั่นในสิ่งที่ยังไม่เกิด

การไปรู้ในสิ่งที่เรียกว่าอนาคตว่าต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้ มันล้วนแล้วแต่เป็นการ
ยึดมั่นถือมั่น เพราะมันรู้เกินปัจจุบันครับ มิหน่ำซ้ำคุณมันรู้ในระดับ อจินไตยเลยนะครับ

แล้วที่ว่าทุกอย่างมีเหตุปัจจัยเป็นแดนเกิดใช่ครับ แต่จะกล่าวได้สิ่งที่ว่ามันต้องเกิดแล้ว
หรือเคยเกิดมาแล้ว นี้มาบอกว่าโลกจะแตก ดวงอาทิตย์จะดับ มันยังไม่เกิด
คุณบอกผมได้หรือครับว่าอะไรเป็นแดนเกิดในสิ่งที่ว่านี้

Supareak Mulpong เขียน:
มหาตภูติรูป ไม่ใช่ เจตภูติ และดินน้ำลมไฟ ประกอบกันหลวมๆ มีอากาศธาตุคั้น ไม่ได้ติดกัน ไม่ได้อยู่กับที่ เคลื่อนใหวตลอด อิเล็กตรอนมุนรอบนิวตรอนตลอด นิวตรอนก็เคลื่อนใหว มันจึงพร้อมที่จะแยกออกจากกันได้ตลอดเวลา ถ้าธาตุไฟแปรปรวน ธาตุน้ำแปรปรวน หรือธาตุลมแปรปรวน วัตถุก็คงรูปอยู่ไม่ได้ นี่เป็นพื้นฐานของวิชาฟิสิกส์ และวิชาเคมีในปัจจุบัน สมัยนี้เรียกว่า ควอนตั้มฟิสิกส์ คือ การศึกษาวัตถุที่เล็กกว่าอะตอมลงมา เขาถึงพบว่า อิเล็กตรอนเกิดดับ มันแสดงคุณสมบัติบางอย่างเหมือนคลื่น นิวตรอนโปรตรอนเกิดมาจาก คว้าก ฯ

คุณเข้าใจคำว่า ไม่เที่ยง ในไตรลักษณ์หรือเปล่า ความหมายของมันคือ
การเกิดขึ้นมา แล้วดับไป ลักษณะของการดับไปคือการหายไปเลยไม่หลงเหลืออยู่
การเปลี่ยนไปของสถานะเขาไม่เรียกว่าดับไป เพราะตัวเหตุมันยังอยู่
ซึ่งถ้าพูดในเรื่องจิตแล้ว สิ่งที่วัตถุเปลี่ยนสถานะ มันก็เทียบได้กับการปรุงแต่ง
ถ้าจะให้วัตถุในโลกดับไป มันจะต้องให้วัตถุนั้นหายไปจากโลกหรือจักรวาล
ไม่ใช่บอกว่า เหลือแต่ประจุนั้นคือการดับไป ก็ไอ้ประจุนั้นแหล่ะคือเชี้อของ
วัตถุนั้นๆ แบบนี้มันดับเสียที่ไหนกันครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




ทางออกสู่นิพพาน2_resize.jpg
ทางออกสู่นิพพาน2_resize.jpg [ 59.23 KiB | เปิดดู 4040 ครั้ง ]
Rosarin เขียน:
rolleyes
...พระธรรมคำสอนทั้งหมดที่มีการบันทึกเป็นพระไตรปิฎก...
...เป็นการอธิบายสภาพธรรมที่กำลังปรากฎต่อหน้าผู้ฟัง...
...ในครั้งพุทธกาลไม่มีตำรามาให้อ่านมีแต่ฟังจากพระโอษฐ์...
...ขณะนี้ธรรมทั้งหลายที่ทรงแสดงก็ยังไม่หายไปไหนเลย...
...จะเข้าใจสิ่งที่ปรากฎทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เดี๋ยวนี้...
...หรือจะรอให้ศึกษาพระไตรปิฎกทั้งหมดก่อนค่อยจะปฏิบัติ...
...ย้อนเวลามาพิจารณาอีกไม่ได้กลายเป็นทะเลเรื่องราวทั้งหมด...
...เมื่อไม่สามารถรู้ความจริงที่กำลังปรากฎเดี๋ยวนี้...เกิดแน่นอน...
...ไม่ต้องถามพระพุทธเจ้าก็รู้ว่าเกิดแน่นอน...จนกว่าจะรู้ความจริง...
...ว่าทั้งหลายทั้งปวงที่เที่ยวเกิด-ตายอยู่นี้เพื่อศึกษาความจริงที่กำลังปรากฎ...
:b8:
:b44: :b44:

:b17: อนัตตาธรรม.........

เยี่ยมจริงๆครับ คุณรสริน ผมขอเป็นกองเชียร์ความเห็นอย่างนี้ แต่ผู้ที่จมลึกอยู่ในบัญญัติอันวิเศษทั้งหลาย จะรู้ตัวหรือเปล่าหนอ!

ขณะนี้ธรรมทั้งหลายที่ทรงแสดงก็ยังไม่หายไปไหนเลย...
...จะเข้าใจสิ่งที่ปรากฎทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เดี๋ยวนี้...


คำพูดประโยคนี้กล่าวถึงปัจจุบันสภาวะ ผู้ที่หลงยึดตำราหรือบัญญัติทั้งหลาย จะมีสำนึกรู้กันหรือเปล่าหนอ!

เขาเคยได้รู้ไหมว่า เวลาลงมือปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาจริงๆเนียะ บัญญัติที่
เรียนรู้มามากมาย ลึกซึ้ง วิเศษเพียงใด แม่แต่จะเป็นพุทธวัจจนะ ก็ต้องเอากองทิ้งไว้ทั้งหมดเสียก่อน ด่วยความเคารพ

ทิ้งบัญญัติ มาเอาสติ ปัญญา เฝ้าตามดู ตามรู้ ตามสังเกต พิจารณา กระบวนการทำงานตามธรรมชาติ ในรูป - นาม กาย - ใจ ทั้งหมด ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ ที่ปรมัตถอารมณ์
ทำอย่างนี้ได้ดีๆแล้ว คำตอบตามที่พระพุทธองค์ทรงสอน จะรู้ชัดขึ้นมาในจิตในใจ เป็นภาวนามยปัญญาแท้ๆ ไม่ใช่ สุตตและ จินตมยปัญญา อันเต็มอยู่ใน สัญญา ที่ยกมาถกเถียงแสดงภูมิบัญญัติทับถม เอาชนะคะคานกันอยู่ทุกวันนี้ ความรู้บัญญัติเป็นอย่างดีของบางท่านอาจพาตัวท่านสำเร็จธรรมเป็นพระอรหันต์ด้วยความนึกคิดหรือบัญญัติไปแล้วก็ได้

ผู้แสดง ธรรมปัจจุบัน ซึ่งก็คือธรรมมะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในอดีตเมื่อสองพันกว่าปีมาแล้วนั่นเอง กลับถูกหมิ่นแคลน แถมยังบอกว่า เป็นผู้บิดเบือนคำสอนอันบันทึกไว้ในคัมภีร์พระไตรปิฎก

ความจริงที่แสดงไว้ในคัมภีร์ปรมัตถ์ กว้างศอก ยาววา หนาคืบ นี้ ใช้ไม่ได้ใช่ไหมครับ ถ้าไม่ตรงกับคำสอนในพระสูตร

ความเจ็บ ปวด ทุกข์ สุข ร้อน หนาว เย็น อุ่น หนัก เบา แข็ง อ่อน ซึมซับ เอิบอาบ แตกสลาย
เวทนาในกายใจในปัจจุบันชีวิตของคนสมัยนี้ ไม่เหมือนของคนในสมัยพุทธกาลหรือครับ

การนำเอาคำสอนในตำรา มาลงมือพิสูจน์กับความจริงในปัจจุบัน ใช้บัญญัติ ชื่อเรียกตามศัพท์บัญญัติที่ใช้ในปัจจุบัน มิใช่การปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเช่นนั้นหรือ


ควรถอนตัวออกมาจากปลักตมแห่งบัญญัติ มาสู่ความเป็นจริงในปัจจุบันที่ทุกชีวิต ทุกท่านกำลังประสบอยู่เดี๋ยวนี้ แล้วเอาหลักที่พระพุทธเจ้าทรงสอนมาเป็นเครื่องมือพิสูจน์ความจริง ว่าถ้าจริงอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงสอนแล้ว ผู้พิสูจน์ก็ย่อมจะได้รับผลอันยิ่งใหญ่อย่างแท้จริงด้วยตนเองในที่สุด

:b34:
:b12:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
อืมม์ :b14: :b14: เหร๋อ
ก็นั่นล่ะ ความต่างของกำลังพระพุทธเจ้า กับกำลังของสาวก น่ะนะ
ดังนั้น มันก็ไม่ใช่กิจที่สาวกจะไปแสดงธรรมนอกเหนือไปจากที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ น่ะนะ
หรือ แสดงธรรมอันนอกเหนือไปจากธรรมที่ได้มีสาวกได้ขยายความไว้ อันซึ่งพระพุทธองค์ได้ให้การรับรองแล้ว น่ะนะ

หรือ ถ้าไม่เช่นนั้น ก็ต้องพิจารณาธรรมนั้น เข้ากันได้กับหลักธรรมใหญ่หรือไม่

แต่ถ้า พิจารณาดูแล้ว มีข้อขัดแย้งหลายประการ
ก็ถือว่า ธรรมนั้นเป็นโมฆะ ให้วางไว้เสีย

แล้วพึงไปหยิบธรรมอันเป็นพุทธวจนะ มาทรงจำ มาปฏิบัติ

:b16:
ถ้าเห็นว่าผมยกสิ่งใหนมาแสดง อยู่นอกเหนือธรรมวินัย ก็รบกวนบอกด้วยก็แล้วกัน

แล้วสมาธิ หรือ ฌานสูตรที่ยกมา รบกวนกลับไปพิจารณาดูดีๆ ดูที่มาของสมาธิด้วยว่า ที่ท่านกล่าวไว้ว่า เกิดแต่อุปธิวิเวก หรือเกิดแต่วิเวกอยู่ มันหมายถึงอะไร?


ส่วนคุณโฮฯ ที่พยายามโฆษณาชวนเชื่อ ไม่เห็นด้วยตาก็ไม่เชื่อ กล่าวว่าอัตตาและโลกบางอย่าง เที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง (เอกัจจสัสสตเอกัจจอสัสสตทิฏฐิ ๔) ห็นว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ไม่มีเหตุ (อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒) ... ก็หวังว่าท่านจะเป็นผู้มีความเพียรเพ่งจนรู้เห็นไตรลักษณ์ด้วยตัวท่านเอง

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 17:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอยากรู้ เหร๋อ

เพราะท่านไม่รู้ จึงอยากรู้เพื่อประโยชน์แ่ห่งตน
หรือ มีเจตนาอย่างอื่นล่ะ

เรื่องนี้ ท่านมหาราชันย์ ชี้แจงไว้มากพอแล้ว
ท่านย้อนกลับไปศึกษาดูได้นะ

:b30: :b30: :b30:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 17:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ถ้าเห็นว่าผมยกสิ่งใหนมาแสดง อยู่นอกเหนือธรรมวินัย ก็รบกวนบอกด้วยก็แล้วกัน


หมายความให้ว่ากันแบบ กระต่ายขาเดียว น่ะเหร๋อ

หมายความว่า สุตันต กะ อภิธรรม ให้เก็บไว้ ห้ามหยิบมาถกใช่ป่าว :b14:

นี่ท่านกำลังหาข้อธรรม มาปรับอาบัติ ปาราชิก ข้าพเจ้าแล้วใช่มั๊ยนี่

งั๊นท่านจงกล่าววินัยอันที่พระพุทธองค์ บัญญัติไว้สำหรับอุบาสก อุบาสิกา มาทีเถอะ

:b23: :b23: :b23:

:b30: :b30: :b30:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 20:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
......


สาธุท่าน..eragon_joe...อุตส่าไปขุด... ฌานสูตร..มาให้อ่าน... :b8: :b8:

มหาราชันย์ เขียน:
[พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ฌานสูตร
[๒๔๐].....


สาธุท่าน..มหาราชันย์...ยก ฌานสูตร..มาให้อ่าน... :b8: :b8:

ได้ความรู้ครับ... :b20: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 22:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
Supareak Mulpong เขียน:
ถ้าเห็นว่าผมยกสิ่งใหนมาแสดง อยู่นอกเหนือธรรมวินัย ก็รบกวนบอกด้วยก็แล้วกัน


หมายความให้ว่ากันแบบ กระต่ายขาเดียว น่ะเหร๋อ

หมายความว่า สุตันต กะ อภิธรรม ให้เก็บไว้ ห้ามหยิบมาถกใช่ป่าว :b14:

นี่ท่านกำลังหาข้อธรรม มาปรับอาบัติ ปาราชิก ข้าพเจ้าแล้วใช่มั๊ยนี่

งั๊นท่านจงกล่าววินัยอันที่พระพุทธองค์ บัญญัติไว้สำหรับอุบาสก อุบาสิกา มาทีเถอะ

:b23: :b23: :b23:

:b30: :b30: :b30:
การแสดงธรรม ต่างจากการเรียนปกตินิดหน่อย คือ ปกติการสอน จะมีการบอกให้รู้ ถามให้ตอบ ทำให้ดู ให้ทดลองทำ แต่การวิปัสสนาทำให้ดูไม่ได้ ให้คิดตามก็ไม่ได้ ได้แต่แสดงความจริงตรงไปตรงมา แสดงเหตุปัจจัย ... ตรงมากไป คุณอาจจะไม่ค่อยชอบก็ต้องขออภัย ถ้าจะให้ soft กว่านี้ ก็จะพยายามก็แล้วกัน

สมัยพุทธกาล ยังไม่มีพระไตรปิฏก เราเรียกคำสอนรวมๆ ว่า ธรรมวินัย อีกอย่าง ถ้ายังไม่บวช ไม่มีอาบัติ ไม่มีปราชิก ... พวกผมถึงยังไม่มีใครบวช

ถ้ามีดวงตาเห็นธรรมแล้ว ที่ต้องระวังคือ อนัตริยกรรม โดยเฉพาะ สังฆาทิเสส ปฏิบัติ ทาน ศีล วิปัสสนาภาวนา ชาวพุทธเราก็ทำกันแค่นี้แหละ


ในพระไตรปิฏก ถ้ากล่าวถึงฌาน พระพุทธองค์จะตรัสว่า เกิดแต่วิเวก หรือ เกิดเพราะอุปธิวิเวก

คำว่า วิเวก คือ วิเวก ๓ ประกอบก้วย จิตวิเวก กายวิเวก และอุปธิวิเวก อันเป็นศีลและวัตรของพระภิกษุสงฆ์ ไม่ใช่ของคฤหัส

อุปธิวิเวก คือ สภาพที่จิตปราศจากอุปธิ หรือ ไม่มีการยึดมั่นถือมั่น ไม่มีการปรุงแต่ง การสินอุปธิ มีเหตุมาจากการสิ้นตัณหา การสิ้นตัณหา มาจากการสิ้นเวทนา หรือแปลง่ายๆ ว่า สมาธิตั้งแต่ปฐมฌานในพระสูตรพระวินัย เป็นสมาธิของพระอริยสงฆ์ เป็นผลของการบรรลุธรรม ไม่ใช่เหตุของการบรรลุธรรม

พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า ธรรมในฐิติญานเกิดขึ้นก่อน ธรรมในพระนิพพานเกิดภายหลัง ในสมัยพุทธกาล ก็ปรากฏมีพระอรหันต์ที่ไม่ได้ฌานใดๆ เลย มีมากกว่าพระอรหันต์ที่ได้ฌาน
viewtopic.php?f=7&t=34631

พวกที่ยกฌานสูตรมาเพื่อบอกว่า ต้องได้ฌานก่อนถึงจะได้ปัญญา ยกมาทั้งสูตร แต่ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น คำว่าวิเวก อธิบายลากไปจนถึงเนวสัญญาฯ บอกว่าจะสามารถพิจารณาในองค์ฌานได้ บอกว่า ปุถุชนก็ปฏิบัติได้ ... จริงๆ ต้องบอกว่ามั่วนิ่ม พวกที่อดีตเป็นพราหมณ์มาก่อน พวกอยากได้อภิญญา ก็แห่ไปปฏิบัติกัน สุดท้ายก็ไปจบที่เนวสัญญาฯ เท่านั้น

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 23:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เอาอีกแล้ว....

อ้างคำพูด:
สมาธิตั้งแต่ปฐมฌานในพระสูตรพระวินัย เป็นสมาธิของพระอริยสงฆ์ เป็นผลของการบรรลุธรรม ไม่ใช่เหตุของการบรรลุธรรม


เขาบอกวิธีแล..อาการ..เพื่อเห็นธรรม

เล่นคิดกลับหัวกลับหาง...ว่าบรรลุธรรมแล้วเขาจึงทำกันอย่างนี้...

คนเราธรรมดาก็ไม่ต้องไปอ่านไปทำอะไร...ก็จงอยู่ในหลุมต่อไป

แล้วจะมีทำไม..ตำรานะ...ก็บรรลุธรรมไปแล้วนี้นา...มีตำราไปทำไม
:b7: :b7: :b7:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 152 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 142 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร