วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 07:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 157 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2011, 23:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมมีรสเย็นชื่นชุ่มฉ่ำใจ สาธุ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2011, 04:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
คุณ frame ครับ งั้น
คำว่า เข้านิพพาน มันมาจากที่ใด
มาจากต้นฉบับใด
แปลมาโดยใคร
มีปรากฏเบื้องต้นที่ไหน

หรือมีคนหยิบยกคำพูดนี้ มาจากนิทาน
อยากทราบอยู่เหมือนกัน



เรื่อง คำว่า "เข้านิพพาน"
พระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย เถรีอปทาน เอกุโปสถวรรค มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทาน (เท่าที่ค้นดูก็คงมาจากนี่แหละครับ )
http://www.dhammakaya.org/forum/index.php?topic=437.0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2011, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ดิฉันทั้งหลายออกจากภพนี้ไปสู่บุรีคือนิพพานอันอุดม

บุรี แปลว่า เมือง

แสดงว่า นิพพานเป็นเมืองอันอุดมสมบูรณ์

หรือท่านว่าไง :b12: :b12: :b12:

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2011, 15:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2011, 13:10
โพสต์: 11


 ข้อมูลส่วนตัว




kapook_42642.gif
kapook_42642.gif [ 14.2 KiB | เปิดดู 5616 ครั้ง ]
ไม่มีตัวตน..มีแต่ขันธ์ 5 ที่มีนิพพานเป็นอารมณ์
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2011, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:05
โพสต์: 136


 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต เขียน:
อยากสอบถามความเห็นของผู้ปฏิบัติทุกท่านว่าเมื่อไม่มีตัวตนแล้วใครเล่า เข้าสู่นิพพาน หวังจะได้รับคำวิสัชชนาอันลึกซึ้งจากทุกท่าน :b8: :b8: :b8:




น่าจะตั้งคำถามใหม่ครับ ว่า

...นิพพาน จะเข้าถึงได้อย่างไร...

ก็จะได้คำตอบว่า

"เมื่อใดที่ไม่มีตัวตนนั้นแหละ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2011, 08:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


~๐opd~๐ เขียน:
ก็เข้าใจอ่ะนะว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา แต่ข้องใจนิดหนึ่งเรื่องที่ว่าให้ชี้ว่าคนอยู่ใหน ก็ในเมื่อคำว่าคนคือจะต้องประกอบด้วยธาตุ4และอวัยวะต่างๆจนเป็นรูปร่างขึ้นมาถึงจะเรียกว่าคน ถ้ามีเพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็จะไม่เรียกว่าคน เรียกเป็นอีกอย่างไป ในเมื่อรู้อย่างนี้แล้วยังจะให้ชี้ว่าคนอยู่ใหน ถ้าคุณให้ผมชี้ว่าคนอยู่ใหนผมก็จะชี้ว่าทั้งหมดนี้ไงคนผมจะไม่ชี้ไปที่ส่วนไดส่วนหนึ่ง เพราะคุณให้ผมชี้ว่าคนอยู่ใหน ไม่ได้บอกให้ผมชี้ว่าหัวคนอยู่ใหน แขนคนอยู่ ขาคนอยู่ใหน ผมจึงต้องชี้ไปทั้งหมดว่านี้ไงคน :b13: :b13: หวังว่ากระทู้จะไม่ถูกลบอีก :b10: :b10:
เหมือนไม้ ตะปู สี ฯ ที่เอามารวมกันแล้วถูกสมมุติหรือตั้งชื่อว่า เก้าอี้ ฉะนั้นเหมือนกัน คน ก็คือกระรวมตัวกันของรูปกับนาม หรือ กายกับใจ คำว่า คน หรือ สัตว์ จึงเป็นการตั้งชื่อ หรือ เป็นเพียงสมมุติ

สิ่งเหล่านี้ คือ อวัยวะต่างๆ ที่ประกอบขึ้นมาเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นสิ่งภายนอก มีแต่ใจเราเท่านั้นที่เข้าไปเกี่ยวและยึดติดว่าเป็นของเรา เหมือนมีเงินในกระเป๋า ใจก็บอกว่าเป็นของเรา พอจ่ายออกไป ใจก็บอกว่าเป็นของคนอื่น แท้จริงๆ แล้ว เงินไม่เคยมีเจ้าของ มันอยู่ของมันอย่างนั้น ความเป็นเจ้าของมีแค่ในความคิดเท่านั้นเอง

กายเรา แท้จริง ก็มาจาก อาหาร น้ำ อากาศ มาจากซากพืช ซากสัตว์ ซากพืช ซากสัตว์ ก็เจริญมาจากดิน หิน ฯ พอเราตายไป ร่างกายเราก็จะถูกย่อยเป็นดิน กลับมาเป็นอาหารของพืช สัตว์ วนเวียนอยู่อย่างนี้

เพราะฉะนั้น ตัวเรา ของเรา มีอยู่แต่ในความคิดเท่านั้น ผู้ใดหลงยึดติด (อุปทาน) ก็ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อยๆ ผู้ใดรู้ว่า อุปธิ เป็นรากเหง้าของทุกข์ ย่อมไม่ทำอุปธิ ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2011, 10:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ม.ค. 2011, 16:14
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว




Thai Kings.jpg
Thai Kings.jpg [ 53.94 KiB | เปิดดู 5592 ครั้ง ]
ความยึดมั่นถือมั่นเป็นความทุกข์อย่างเดียวหรืออไม่ onion onion
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2011, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


~๐opd~๐ เขียน:
ความยึดมั่นถือมั่นเป็นความทุกข์อย่างเดียวหรืออไม่ onion onion
ทุกข์ทั้งหลายย่อมเกิดเพราะการประชุมของธรรม ๓ ประการ คือ อายตนะ ผัสสะ และเวทนา กองทุกข์ทั้งหลายจึงเริ่มเกิดด้วยการประชุมกันของธรรมทั้ง ๓ ประการนี้

เมื่ออายตนะภายนอกเข้ามากระทบสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น กาย เกิดความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ และหลงไปกับความพอใจไม่พอใจนั้น ทำให้เกิดการเพลิดเพลินในอารมณ์ เกิดความอยาก เกิดการปรุงแต่ง จนยึดมั่นถือมั่นในที่สุด ... สรุป เรียกว่า ทุกข์ที่เราสร้างขึ้นมาเองทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะความไม่รู้ ส่งผลให้เกิดทุกข์ตามธรรมชาติ คือ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2011, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ความรู้ใหม่ครับ พอจะมีพระสูตรที่กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้มั้ยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2011, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นไฉน?

เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์เพราะอาศัยหูและเสียง ... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ...เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนาเพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา


Quote Tipitaka:
สุนักขัตตสูตร ที่ ๕

….. ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมในอายตนะอันที่เป็นกระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิพ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ เปรียบเหมือนภาชนะมีน้ำดื่มเต็มเปี่ยม ถึงพร้อมด้วยสี ด้วยกลิ่น ด้วยรสแต่ระคนด้วยยาพิษ เมื่อบุรุษผู้รักชีวิต ยังไม่อยากตาย ปรารถนาสุข เกลียดทุกข์ พึงมาถึงเข้าดูกรสุนักขัตตะ เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงดื่มน้ำที่เต็มเปี่ยมภาชนะนั้น ทั้งๆ ที่รู้ว่า ดื่มแล้วจะเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย บ้างไหมหนอ ฯ

สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๗๘] พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมในอายตนะอันเป็นที่กระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่าอุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิพ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ดูกรสุนักขัตตะ เปรียบเหมือนงูพิษ มีพิษร้ายแรง เมื่อบุรุษผู้รักชีวิต ยังไม่อยากตาย ปรารถนาสุขเกลียดทุกข์ พึงมาถึงเข้า ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงยื่นมือหรือ หัวแม่มือให้แก่งูพิษ ที่มีพิษร้ายแรงนั้น ทั้งๆ ที่รู้ว่า ถูกงูกัดแล้ว จะเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย บ้างไหมหนอ ฯ

สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๗๙] พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมในอายตนะเป็นที่กระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิพ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ


มีที่ผิดต้องแก้หน่อย ... ธรรม ๓ ประการ มี อารมณ์ เวทนา ตัณหา รวมเรียกว่า ผัสสะ ส่วนอารมณ์ เกิดจากอายตนะมากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิดวิญญานขึ้นมาเพื่อรับรู้อารมณ์

อารมณ์ เวทนา ตัณหา จึงเกิดเป็น อุปธิ

การสำรวมอินทรีย์ ๖ หรือทวารทั้ง ๖ ทำให้พ้นจากอุปธิ หรือ เกิดอุปธิวิเวก เป็นเหตุปัจจัยให้จิตสงบเป็นสมาธิ ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2011, 22:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
~๐opd~๐ เขียน:
ความยึดมั่นถือมั่นเป็นความทุกข์อย่างเดียวหรืออไม่ onion onion
ทุกข์ทั้งหลายย่อมเกิดเพราะการประชุมของธรรม ๓ ประการ คือ อายตนะ ผัสสะ และเวทนา กองทุกข์ทั้งหลายจึงเริ่มเกิดด้วยการประชุมกันของธรรมทั้ง ๓ ประการนี้

เมื่ออายตนะภายนอกเข้ามากระทบสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น กาย เกิดความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ และหลงไปกับความพอใจไม่พอใจนั้น ทำให้เกิดการเพลิดเพลินในอารมณ์ เกิดความอยาก เกิดการปรุงแต่ง จนยึดมั่นถือมั่นในที่สุด ... สรุป เรียกว่า ทุกข์ที่เราสร้างขึ้นมาเองทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะความไม่รู้ ส่งผลให้เกิดทุกข์ตามธรรมชาติ คือ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย


:b13: ฮ๊าฮา ท่านซุปฯ อ่านหนังสือไม่แตก ปฏิบัติก็ไม่ฉาน นะเจ้าค่า
จึงมา โมเม ว่า ทุกข์ทั้งหลายเกิดเพราะการประชุมของธรรม ๓ ประการ

พระอรหันต์ ที่ยังไม่ละสังขาร ก็มี อายตนะ ผัสสะ และเวทนา นะเจ้าข๊า

ถ้ายัง ไม่รู้ ว่า เหตุแห่งทุกข์ แท้จริง คือ อะไร
ก็ไปไล่ วงจรปฏิจจสมุปบาท ดูได้แล้วนะ เจ้าข๊่าาาาาา :b4: rolleyes

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2011, 22:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ม.ค. 2011, 16:14
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว


สมมุติว่า นาย ก. มีความทุกข์กังวนใจมากเพราะหาคู่ครองไม่ได้พวกเพื่อนๆต่างพากันมีคู่หมด นายก. น้อยใจคิดอยากฆ่าตัวตาย บังเอิญว่าวันหนึ่ง นาย ก. ไปเจอผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งเป็นเนื้อคู่ของตน ทั้งสองเกิดรักใคร่กันและอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข คำถามคือว่าอะไรเป็นเหตุให้นาย ก. มีความสุขมากขึ้นหลังจากที่ได้พบเจอกับเนื้อคู่ ทั้งที่ก่อนน่านั้น นาย ก. ยังมีความทุกข์กังวนใจอยู่ แล้วความทุกข์ของนาย ก. ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะพบเนื้อคู่ล่ะ เกิดจากอะไร

แล้วถ้าบังเอิญว่าอยู่มาวันหนึ่งแฟนของนาย ก. ได้ตายจากไปทำให้นาย ก. เกิดความทุกข์ใจมาก กินไม่ได้ นอนไม่หลับ คิดอยากฆ่าตัวตาย คำถามคือวอะไรเป็นเหตุให้นาย ก. เกิดความทุกข์ใจ หลังจากที่ต้องสูญเสียแฟนไป grin s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2011, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


~๐opd~๐ เขียน:
สมมุติว่า นาย ก. มีความทุกข์กังวนใจมากเพราะหาคู่ครองไม่ได้พวกเพื่อนๆต่างพากันมีคู่หมด นายก. น้อยใจคิดอยากฆ่าตัวตาย บังเอิญว่าวันหนึ่ง นาย ก. ไปเจอผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งเป็นเนื้อคู่ของตน ทั้งสองเกิดรักใคร่กันและอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข คำถามคือว่าอะไรเป็นเหตุให้นาย ก. มีความสุขมากขึ้นหลังจากที่ได้พบเจอกับเนื้อคู่ ทั้งที่ก่อนน่านั้น นาย ก. ยังมีความทุกข์กังวนใจอยู่ แล้วความทุกข์ของนาย ก. ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะพบเนื้อคู่ล่ะ เกิดจากอะไร

แล้วถ้าบังเอิญว่าอยู่มาวันหนึ่งแฟนของนาย ก. ได้ตายจากไปทำให้นาย ก. เกิดความทุกข์ใจมาก กินไม่ได้ นอนไม่หลับ คิดอยากฆ่าตัวตาย คำถามคือวอะไรเป็นเหตุให้นาย ก. เกิดความทุกข์ใจ หลังจากที่ต้องสูญเสียแฟนไป grin s004


ขอตอบนะครับ เพราะปัญหาซับซ้อน และะมีการเกิดปกิจจสมุปบาทหลายรอบ วนไปมาแจงละเอียดทีละขั้นตอนจึงยาว เพื่อความเข้าใจง่ายขอเรียงคำถามใหม่ดังนี้

คำถามคือว่าอะไรเป็นเหตุความทุกข์ของนาย ก. ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะพบเนื้อคู่
...ขอตอบว่า...เพราะนาย ก.อยากมีแฟน
....เริ่มจากผัสสะ(เห็นเพื่อนมี)เกิดเป็น-ทุกข์เวทนา(แฟนไม่มีเหงา)(แทรกด้วยสังขารบวกอวิชชา-คิดว่ามีแฟนเป็นเรื่องดีมาก ไม่มีแฟนแย่มาก น่าอาย )เกิดเป็น-วิภาวะตัณหา(ไม่อยากเหงา ไม่อยากอับอาย น้อยใจ)เกิดเ็ป็น-อุปปาทาน(ยึดมั่นว่ามีกูเหงา กูอาย กูน้อยใจ) เกิดเป็น-ภพ(ความเหงา ความอาย ความน้อยใจครอบงำ)เกิดเป็นทุกข์เต็มที่ ปรุงแต่งไปอีกอยากฆ่าตัวตายหนีไป

อะไรเป็นเหตุให้นาย ก. มีความสุขมากขึ้นหลังจากที่ได้พบเจอกับเนื้อคู่
...ขอตอบว่า...เพราะนาย ก.ได้แฟนตามต้องการ
....พอเจอแฟนผัสสะ(เจอแฟน)เกิดเป็น-สุขเวทนา(สวยถูกใจ)(แทรกด้วยสังขารบวกอวิชชา-คิดว่าใช่ ชอบ สเป็ก )เกิดเป็น-กามตัณหา(พอใจตัวเขาอยากได้)เกิดเ็ป็น-อุปปาทาน(ยึดมั่นชอบเขา เขาเป็นแฟนเรา) เกิดเป็น-ภพ(มีแฟนแล้วโว้ย)เกิดเป็นสุขเวทนาเต็มที่ปรุงแต่งไปอีกอยากเป็นอย่างนี้ตลอดไป

อะไรเป็นเหตุให้นาย ก. เกิดความทุกข์ใจ หลังจากที่ต้องสูญเสียแฟนไป
...ขอตอบว่า...เพราะนาย ก.ไม่อยากให้แฟนตาย
....เริ่มจากผัสสะ(รับรู้ว่าแฟนตาย)เกิดเป็น-ทุกข์เวทนา(แฟนไม่มีเหงา เศร้า เสียใจ)(แทรกด้วยสังขารบวกอวิชชา-คิดว่าไม่มีแฟนเป็นเรื่องแย่มาก )เกิดเป็น-วิภาวะตัณหา(ไม่อยากเหงา ไม่อยาก เศร้าเสียใจ)เกิดเ็ป็น-อุปปาทาน(ยึดมั่นว่ามีกูเหงา กูเศ้รา เสียใจ) เกิดเป็น-ภพ(ความเหงา ความเศร้าเสียใจครอบงำ)เกิดเป็นทุกข์เต็มที่ ด้วยความเหงา ความเศร้าเสียใจนั้น

ยาวและซับซ้อนหน่อยนะครับ อยากให้ละเอียด ลองพิจารณาดู

ส่วนตัวผมถือว่าเป็นการทบทวนความเข้าใจของตนเองด้วย ขอบคุณครับ :b8:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2011, 05:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สวัสดีครับ คุณขณะจิต

สำหรับผมเห็นต่าง ในเรื่องปฏิจจสมุปบาท ขอเสนอความคิดเห็นดังนี้ครับ

ผัสสะ แล้วเกิดเวทนา

ตัวเวทนานี่เองครับ จะสุขหรือจะทุกข์ ไม่ต้องไปถึงภพครับ

เมื่อผัสสะ แล้วเวทนาต่อทันที


อ้างคำพูด:
[112] เวทนา 5 (การเสวยอารมณ์ — feeling)
1. สุข (ความสุข ความสบายทางกาย — bodily pleasure or happiness)
2. ทุกข์ (ความทุกข์ ความไม่สบาย เจ็บปวดทางกาย — bodily pain; discomfort)
3. โสมนัส (ความแช่มชื่นสบายใจ, สุขใจ — mental happiness; joy)
4. โทมนัส (ความเสียใจ, ทุกข์ใจ — mental pain; displeasure; grief)
5. อุเบกขา (ความรู้สึกเฉยๆ — indifference)



โทมนัส เกิดตอนไหน
โทมนัส เกิดต่อจากผัสสะ

พระอรหันต์ ไม่ได้ละผัสสะ แต่ละโทมนัส

พระอรหันต์ ย่อมยังต้องเสวยเวทนา เหล่านี้คือ สุข ทุกข์ โสมนัส อุเบกขา

คนทั่วไป เมื่อมีผัสสะ แล้วเกิดเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเกิดตัณหา อุปาทานต่อเลย
แต่พระอรหันต์ มีผัสสะ แล้วเกิดเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง(ยกเว้นโทมนัส) แล้วก็จบแค่นั้น
รับผัสสะใหม่ต่อไป
ผัสสะ แล้วเวทนา
ผัสสะ แล้วเวทนา .......................หมุนวนไปตลอดตราบที่ยังไม่เข้าสู่ปรินิพพาน

แต่ปุถุชน
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ

หมุนวน ตลอดเวลา เช่นกัน

ปุถุชน รับเวทนา ครบถ้วน ทั้ง5 ข้อ

ส่วนพระอรหันต์ รับเวทนา แค่ 4 ข้อ ......................ไม่มีข้อ โทมนัส

นี่คือ ปฏิจจสมุปบาท ที่ดับทุกข์ได้ ในปัจจุบันชาติ
ถือว่า อีกมุมมองหนึ่งครับ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2011, 12:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
สวัสดีครับ คุณขณะจิต

สำหรับผมเห็นต่าง ในเรื่องปฏิจจสมุปบาท ขอเสนอความคิดเห็นดังนี้ครับ

ผัสสะ แล้วเกิดเวทนา

ตัวเวทนานี่เองครับ จะสุขหรือจะทุกข์ ไม่ต้องไปถึงภพครับ

เมื่อผัสสะ แล้วเวทนาต่อทันที


อ้างคำพูด:
[112] เวทนา 5 (การเสวยอารมณ์ — feeling)
1. สุข (ความสุข ความสบายทางกาย — bodily pleasure or happiness)
2. ทุกข์ (ความทุกข์ ความไม่สบาย เจ็บปวดทางกาย — bodily pain; discomfort)
3. โสมนัส (ความแช่มชื่นสบายใจ, สุขใจ — mental happiness; joy)
4. โทมนัส (ความเสียใจ, ทุกข์ใจ — mental pain; displeasure; grief)
5. อุเบกขา (ความรู้สึกเฉยๆ — indifference)



โทมนัส เกิดตอนไหน
โทมนัส เกิดต่อจากผัสสะ

พระอรหันต์ ไม่ได้ละผัสสะ แต่ละโทมนัส

พระอรหันต์ ย่อมยังต้องเสวยเวทนา เหล่านี้คือ สุข ทุกข์ โสมนัส อุเบกขา

คนทั่วไป เมื่อมีผัสสะ แล้วเกิดเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเกิดตัณหา อุปาทานต่อเลย
แต่พระอรหันต์ มีผัสสะ แล้วเกิดเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง(ยกเว้นโทมนัส) แล้วก็จบแค่นั้น
รับผัสสะใหม่ต่อไป
ผัสสะ แล้วเวทนา
ผัสสะ แล้วเวทนา .......................หมุนวนไปตลอดตราบที่ยังไม่เข้าสู่ปรินิพพาน

แต่ปุถุชน
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ

หมุนวน ตลอดเวลา เช่นกัน

ปุถุชน รับเวทนา ครบถ้วน ทั้ง5 ข้อ

ส่วนพระอรหันต์ รับเวทนา แค่ 4 ข้อ ......................ไม่มีข้อ โทมนัส

นี่คือ ปฏิจจสมุปบาท ที่ดับทุกข์ได้ ในปัจจุบันชาติ
ถือว่า อีกมุมมองหนึ่งครับ


ขอบพระคุณครับคุณ"govit2552"

ผมเห็นด้วยกับหลักปกิจจสมุปบาทนั้นไม่ขัดแย้งครับ แต่ต้องขออภัยครับที่จริงแล้วผมอธิบายตามหลักอิทัปปัจจยตาครับ ซึ่งเป็นหัวใจของหลักปกิจจสมุปบาท ผมกล่าวหัวข้อธรรมไม่ตรงเอง ขออภัยอย่างยิ่ง

การเกิดทุกข์ ความเห็นของผมตรงเมื่อผัสสะแล้วเกิดเวทนานั้น เป็นสุข-ทุกข์-อสุขขมทุกข์เวทนาก็ดี ยังไม่ใช่ทุกข์ที่แท้เป็นแค่เวทนาเฉยๆ ไม่เข้าไปปรุงแต่งต่อก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไปเป็นธรรมดาในเวลาไม่นาน อาจสั้นแค่ชั่วขณะจิตจับแล้วปล่อยเท่านั้น แต่ถ้าไม่เอาสติ ปัญญาตัดตรงนี้ อวิชชาสังขารปรุงต่อเป็นความอยากได้(ชอบ)อยากมี อยากเป็นในผัสสะเวทนานั้น หรือไม่อยากได้(ไม่ชอบ)ฯลฯ เกิดเป็นอุปปาทาน ว่ามีตนผู้เป็นเจ้าของเวทนานั้น จิตย่อมทุกข์เต็มรูบแบบแท้จริงตรงนี้ เป็นทุกอริยสัจ เพราะอัตตาเกิดแล้ว ภพ ชาติเกิดแล้ว วัฏฏะสมบูรณ์แล้ว ถูกครอบงำด้วยความอยากที่ต้องกระทำสนองความอยากนั้น
แต่อย่างว่าทุกข์เิกิดเร็วมากครับ มาไล่ขั้นตอนอย่างนี้คงไม่ทัน แต่ถือว่าเป็นการสอบทวน ความเข้าใจกัน
ขอบคุณมากครับ :b8:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 157 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 43 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร