วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2011, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2007, 00:08
โพสต์: 132

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลายๆครั้งที่เรามักจะได้ยินคำครหาหรือคำติฉินนินทาของดาราและนักการเมืองจากกลุ่มคนและสังคมมากมาย ว่าบทบาทหน้าที่ของเขาไม่ถูกต้องและไม่เป็นที่พอใจแก่สาธารณชนเท่าไหร่นัก แต่ก็พอจะมองข้ามไปได้ เพราะการวิเคราะห์วิจารณ์กับบุคคลเหล่านี้ ยังไม่ถึงกับทำให้สาธารณชนเลิกทำบุญและหมดศรัทธาในพุทธศาสนามากไปกว่าการที่พระภิกษุผู้อยู่ในพุทธศาสนาถูกวิจารณ์และถูกตีความในแง่ลบจนเป็นเหตุให้พุทธศาสนาเริ่มอ่อนแรงลงในสังคม เพียงเพราะการมองที่เรียกว่า มองไม่เป็น

เบื้องลึกของความเป็นพระเป็นเณรที่ยังมีด้านที่พวกเรายังไม่ได้มอง ยังไม่เข้าใจ จนเผลอตัดสินกล่าวคำ และเชื่อเอาตรงหน้าอย่างเดียวว่ามัน ไม่ดี โดยเฉพาะคำว่า เสื่อม จนหลายๆท่านก็คงจะหมดศรัทธาไป โดยเฉพาะกับพระเณรที่มักจะมีพฤติกรรมนอกพระวินัย หรือที่เห็นกันบ่อยๆก็การไปตามสถานที่ ที่อโคจรอย่างห้างสรรพสินค้า หรือแหล่งรวมสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ จนเป็นที่คุ้นหู คุ้นตา ของคนแถวนั้นแล้วว่า “เสื่อม”

ประเด็นแรกที่ผมอยากให้มองคือ เรื่องความไม่ชอบมาพากลของการเข้าไปยุ่งเรื่องที่ไม่ควรเข้าไปยุ่งของพระ อย่างเช่นการเมือง อันที่จริง พระที่เข้าไปยุ่งแล้วโดนไล่ นั้นเพราะไปขัดผลประโยชน์ แต่ถ้าไปเสริมประโยชน์จะได้รับการขอบคุณ

เช่นกัน หากเราเห็นพระที่ทำตัวเสื่อมแล้วเกิดอาการดูหมิ่น จนถึงขั้นสบถ ไม่พอใจ นั้นก็เพราะท่านไปขัดผลประโยชน์ของเรา แต่ถ้าท่านให้ในสิ่งที่เสริมประโยชน์กับเรา เราก็พอใจและขอบคุณ ตกลงเรื่องของพระก็ยังหนีไม่พ้นรูปแบบทางการเมืองที่มีเรื่องของผลประโยชน์มาเกี่ยวข้อง แล้วความถูกต้องมันอยู่ที่ตรงไหน หากเป็นไปอย่างที่ว่านี้ความถูกต้องของโลกจึงขึ้นอยู่กับตัวเราใช่หรือไม่

ถ้าเราตั้งโจทย์ถามว่า พระที่ดีควรทำแต่สิ่งที่เป็นบุญไม่ใช่หรอ? ความเข้าใจพื้นฐานของสิ่งที่เรียกว่าบุญและบาปของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป แต่ในพุทธบัญญัติแล้วพวกเราอาจถือเป็นสิ่งเดียวกันได้ว่า บุญคือสิ่งที่ทำแล้วเกิดความโล่งโปร่งเบา ทำแล้วผ่องใสสบายใจ ทำแล้วกิเลสเบาบางลง เรียกว่า บุญ
บาปคือ สิ่งที่ทำแล้วเศร้าหมอง ทำแล้วกระทบกระทั่งจิตใจ ทำแล้วกิเลสพอกพูนขึ้น เรียกว่า บาป ฉะนั้นอรรถหรือสาระของมันอยู่ที่ อะไรก็ตามที่พวกเราทำอยู่ถึงจะเป็นบุญตามที่เราอุปโลกน์ ถ้าเราทำแล้วยึดมั่น ทำแล้วมีแต่เพิ่มกิเลสก็บาปทั้งนั้น เพราะจิตของเราปรุงแต่งให้อารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา (แม้จะเป็นความเมตตาก็ตาม หลวงพ่อเทียนบอกว่ามันก็เป็นทุกข์ไม่ควรยึดมั่นอารมณ์ให้หนาจนกลายเป็นกิเลสทางหนึ่ง แค่ให้รู้ให้ดูมันเฉยๆ แล้วใช้มันอย่างรู้เท่าทัน) เมื่อมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ปัญญาก็หมดไป เมื่อไม่มีปัญญา อวิชชาก็เข้าครอบงำให้เราปรุงแต่ง แล้วก็ยึด ยึดแล้วพอมันไม่เป็นไปอย่างที่เราต้องการก็ทุกข์อยู่อย่างนั้น

เพราะฉะนั้นต่อให้พระท่านบิณฑบาต สวดมนต์ กวาดลานวัด ล้างห้องน้ำ ไปเที่ยวตามสถานที่ควรไปอย่างวัด ป่าเขาลำเนาไพร น้ำตกทะเลแม่น้ำ ไปดูงานและประชุมเกี่ยวกับศาสนาและองค์กรพุทธต่างประเทศ หรือแม้แต่การนั่งสมาธิ ถ้าท่านยังทำแล้วมันเป็นไปเพื่อเสริมกิเลส ทำแล้วท่านยึดมั่น สิ่งเหล่านี้ก็ยังเป็นเสมือนบุญที่รอวันหมดอายุจนกลายเป็นบาปและทุกข์อยู่ในจิตท่าน

จากประสบการณ์ที่ผมเคยพบพระหลายท่านและญาติโยมหลายคนที่ปฏิบัติมาเกือบทั้งชีวิต พอมีอะไรมากระทบหน่อยก็เอาอารมณ์มาเกี่ยวข้องปรุงแต่งให้ดิ่งลงไปทางอกุศลทุกที เหมือนกับที่เขากล่าวว่า “เณรดื้อแล้วพระบ่น อิริยาบถทางจิตก็ไม่ต่างกัน” แต่หากสิ่งที่ท่านทำแล้วเป็นไปเพื่อความสงบแห่งจิต ทำแล้ววางๆ จิตก็ไม่ฟุ้งซ่าน สงบระงับ รู้ทันกิเลส กิเลสก็เบาบางลง นั้นก็บุญครับ บุญแท้ๆเลย ดังนั้นสิ่งที่ท่านทำไม่ใช่ไม่บุญแต่เป็นความดี ความดีไม่จำเป็นต้องได้บุญ (สิ่งที่ดีไม่มีบรรทัดฐานที่แน่นอน ยกตัวอย่างชัดๆ เราผลิตรถยนต์ขึ้นมา หวังอยากให้คนสะดวกสบาย แต่หารู้ไหมว่าต้องทำให้ประชากรหลายล้านคนตามแนวชายฝั่งไร้ที่อยู่อาศัย เพราะควันจากรถยนต์ น้ำท่วม หรือ เพราะการขุดน้ำมันให้รถ ทำให้เกิดแผ่นดินไหว คนตายกันเป็นเบื่อ เหมือนอย่างที่ Hati หรือ ญี่ปุ่น หรือ บังกลาเทศ เช่นนี้แล้วตกลงว่าสิ่งที่เราหวังดีในตอนแรกมันเป็นบุญหรือเป็นบาป

มีผู้รู้ท่านกล่าวว่า มันขึ้นอยู่กับจิตเราว่ามันจะเป็นขาวหรือจะเป็นดำมากกว่ากัน ทั้งนี้ตามหลักพุทธศาสนาปฏิจจสมุปบาท จิตเราล้วนมาจากจิตใต้สำนึกแห่งความทะยานอยากและความโลภเป็นฐานทั้งนั้นซึ่งได้รับอิทธิพลมากจากจิตไร้สำนึก(อวิชชา) และมันก็เป็นด้านดำมากกว่า (สังเกตอัศวินเจไดนะครับ พวก dark side จะมีลักษณะทะเยอทะยานต้องการพลัง เน้นโจมตี เป็นพลังด้านทำลาย ส่วน light side จะมีลักษณะสงบนิ่ง เยือกเย็น สุขุม เน้นช่วยเหลือ เป็นพลังด้านป้องกัน) โดยที่ดีสำหรับเราแต่ไม่ดีกับคนอื่นเลย โดยเฉพาะกับกลุ่มที่สาม (กลุ่มที่ 1 คือ ผู้สร้างวัตถุ 2 คือ ผู้มีฐานะพอจะซื้อวัตถุได้และรับรู้ถึงการมีอยู่ของมัน ส่วนกลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มที่ไม่มีวันจะเข้าถึงและรับรู้ถึงการมีอยู่ของสิ่งที่สังคมโลกเขาทำกันอยู่) ผู้ซึ่งใช้ชีวิตอย่างลำบากลำเข็ญพออยู่แล้ว ไม่มีปัญญาจะไปซื้อรถกับเขา พลอยต้องมารับผลกระทบต่างๆที่สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การตลาดและสิ่งแวดล้อมนำมาให้ ซึ่งยังมีอีกหลายครัวเรือนที่ต้องประสบกับปัญหานี้

ฉะนั้นกรรมที่เป็นบุญอันใดก็ตามที่ยังอิงอารมณ์ความรู้สีกลบๆหรือความรู้สึกทะยานอยาก ก็จะเป็นเพียงการกระทำที่เขาเรียกว่า น่าสรรเสริญ น่ายกย่องตามแบบฉบับของพระเท่านั้น มันจึงไม่ใช่แก่นครับ สรรเสริญมันก็มีนินทาเป็นธรรมดา มีพระน่าสรรเสริญ มันก็ต้องมีพระที่น่านินทาเป็นธรรมดา ของมันคู่กัน ฉะนั้นแล้วเป็นการควรหรือเปล่า ที่จะไปยุ่งเรื่องของคู่รัก (หยิน และ หยาง) โดยปราศจากปัญญาพิจารณา

กระนั้นพระบางท่านก็ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทำแล้วไม่หวังลาภยศ ไม่หวังชื่อเสียง ไม่ได้หวังทรัพย์และความรู้ประสบการณ์ที่จะสะสมไว้ เพื่อสึกออกไปหวังความก้าวหน้าทางสังคมโลก ด้วยการสร้างฐานะและครอบครัว ซึ่งอย่างนี้ก็จะขอเรียกว่าบาปขาขึ้น คือมันพัฒนาจากชาตินี้ที่เราสะสมบาปขาขึ้นหรือที่เรียกว่าบุญแบบโลกๆ เพื่อส่งผลให้ได้มาเกิดในยุคพระพุทธเจ้าสักพระองค์และบรรลุธรรม แต่ถ้าบุญน้อยก็เกิดในยุคหรือสถานที่ ที่เอื้อต่อการปฏิบัติพร้อมปัญญากับความเพียรที่ยอมรับและปฏิบัติธรรมได้อย่างตั้งมั่นแน่วแน่ไม่ตะคิดตะแคงใจใดๆ เพราะบางทีบางคนเกิดในสถานที่ดี แต่จิตขาดความคุ้นเคยและต่อเนื่องจากชาติที่แล้ว ชีวิตก็มองข้ามสิ่งเหล่านั้นไปหมด

อาจจะสงสัยว่า ถ้าอย่างนั้นพระทุกรูปก็ต้องบรรลุธรรมกันหมดก่อนละสิ? ครับเพราะสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าท่านก็ส่งพระเหล่านี้ไปทำงานเพื่อสังคม ส่วนพระที่ยังไม่บรรลุก็ศึกษาธรรมปฏิบัติธรรมไปก่อน และพระพุทธองค์ท่านก็เน้นเฉพาะทุกข์กับความดับทุกข์แค่นั้น สาวกท่านก็สอนเฉพาะทุกข์กับความดับทุกข์เท่านั้น ก็ไม่ต้องห่วงเลยว่าพระในสมัยนั้นจะไม่ปฏิบัติกัน อาจจะมีบ้างที่นอกลู่ แต่พระพุทธองค์และสาวกก็สามารถรับมือและแปรเปลี่ยนเป็นหลักธรรมคำสอนให้เราใช้ได้อยู่ทุกวันนี้
ส่วนสมัยนี้พระบางสำนักก็ศึกษาอย่างเดียวแต่ไม่เน้นปฏิบัติให้บรรลุกัน แล้วไปเผยแผ่ธรรม มันจึงง่ายต่อการถูกล่อลวงให้ท่านเกิดความหวัง(กิเลส) แบบโลกๆ จนออกไปใช้ชีวิตแบบโลกๆในที่สุด
สรุปตรงนี้จะได้ว่า บุญคือสิ่งที่เราทำแล้ว ไม่ต้องมาเกิดอีกจนถึงนิพพาน (บุญคือการที่เราหมั่นฝึกปฏิสัมพันธ์พื้นฐานกับร่างกายตลอดทุกอณู เดินลมหายใจเข้าออก รู้แค่ตัวเรา รู้เฉพาะจิตเรา ตราบจนกายและจิตเป็นหนึ่ง อารมณ์แห่งโลภ โกรธ หลง กาม ราคะ ฉันทะ ไม่ว่าจะ level ไหน ที่มันผุดขึ้นมา ก็ให้รู้ให้ดูมันเฉยๆ ไม่ต้องไปทำอะไรกับมันนอกจากตามดู อย่างที่เขามักจะเปรียบเทียบกันว่าเหมือนแมวที่จ้องและสังเกตหนู พอเห็นปุ๊บก็ตะครุบทันที นั้นแหละคือไม่ต้องไปปรุงแต่งมัน หรือคือ แมวจะไม่คุยอะไรกับหนูทั้งนั้น นั้นแหละที่เขาเรียกว่ารู้ปัจจุบัน หรือวิชชา)
ส่วนบาปคือสิ่งที่ทำแล้วส่งผลให้ต้องมาเกิดอีกหลายภพหลายชาติ จนต้องมีซักชาติที่ถึงคิวมาเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นสัตว์เดรัจฉานและหรือมนุษย์ก็ตามเพื่อสืบบาปต่อไป นี่เองที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้มาก็เพื่อมาหยุดวงจรนี้ จึงขอให้พี่พิจารณาแล้วเข้าใจว่า เรื่องบุญกับบาปมันเป็นอย่างนี้ ไม่ควรมองพระในลักษณะสุดโต่ง ว่าพฤติกรรมนู้นดี พฤติกรรมนู้นไม่ดี มันเป็นสิ่งที่เราบัญญัติขึ้นมาเองด้วยอารมณ์ทั้งนั้น ควรพิจารณาให้มันรอบคอบ จนทุกอย่างที่เราคิดอันประกอบด้วยปัญญา(ที่สงบ)กลั่นมาจากหัวใจ(ที่สงัด) ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเลวร้ายที่สุดเพียงใดก็ตาม เราก็ยังสามารถเข้าใจยอมรับและมีความสุขกับมันได้ เสมือนความอัศจรรย์ของผืนแผ่นดินที่ไม่ว่าเรา จะฉี่ หรือจะขี้ลงไปเท่าไหร่ ดินก็เอาสิ่งเหล่านั้นมาแปรเป็นปุ๋ยสร้างแร่ธาตุให้ตัวเอง พร้อมกันนั้นก็ยังมอบสิ่งดีๆอย่างต้นไม้กลับคืนมาให้อีกเป็นการตอบแทน
ผมอยากจะให้เราลองมองย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของเส้นทางว่าก่อนที่จะมาเป็นพระนั้นแต่ละคนเป็นอะไรมาก่อน ไม่ใช่ว่าทุกคนมาชั่วเอาตอนเป็นพระ ความเป็นพระมันยังไม่เกิด แค่มาครองผ้าเฉยๆ และหากเราตั้งข้อสังเกตกับโครงสร้างการศึกษาและวัฒนธรรมของเรา เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุต้นๆที่ปลุกเอาด้านมืดของมนุษย์ออกมา ซึ่งก็คือพระที่เราเห็นในพันทิพย์ หรือที่ไหนๆก็แล้วแต่ที่ท่านเห็นว่าพระไม่น่าจะมาปรากฏตัว พระที่หลายคนอาจเห็นผ่านตามาเหล่านี้ เริ่มแรกตอนเป็นโยม ชีวิตไม่มีทางเลือกเกิดมาบ้านจนพ่อแม่ไม่สามารถสร้างฐานะครอบครัวได้ดีเท่าที่ควร (หมายเหตุ ชีวิตพระส่วนใหญ่มาจากเด็กบ้านนอก ลูกหลานชาวนา ลูกกำพร้า เด็กมีปัญหา) โรงเรียนรัฐบาลดีๆจำเป็นต้องสอบเข้าทั้งนั้น เด็กกรุงเทพพ่อแม่มีเงินดีกว่าก็สอบได้กัน เพราะเล่นส่งลูกไปติวสถาบันนู้นสถาบันนี้ แล้วเด็กบ้านนอกภูมิปัญญาชาวบ้านที่ไหนจะไปสอบได้ รัฐบาลได้วางแผนไว้หรือเปล่า กับเด็กที่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาที่ดีที่เท่าเทียมกันได้ ทีนี้โรงเรียนดังๆก็ลูบปากเอาแต่พวกหัวกระทิเข้าไป คุยโวสร้างชื่อให้ตัวเองว่าเป็นสถาบันดี นักเขียนชื่อดังอย่าง คำผกา เคยให้ความเห็นว่า รัฐละเลยเด็กที่ตกค้างจากการสอบ ทำให้พวกเขาเคว้งอยู่ในวัฒนธรรมใหม่ จะกลับไปใช้สุภาษิต เป็นวัวอย่าลืมตีนก็ไม่ไหว ให้ไปทำนาทำไร่มันก็ทำไม่เป็น เพราะพ่อแม่ก็ส่งให้เรียนมาตลอดหัวมันก็สูงอยู่กับสังคม Modern (Warfare = สงครามผลประโยชน์) เพราะอย่างนี้ผู้เขียนจึงมองว่า มันจึงแตกย่อยออกมาเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคือมันก็กลายเป็นวัยรุ่นที่ตั้งแก๊ง เรียนไปก็ปวดหัว หาผัวดีกว่า เรียนไปก็จิตเสีย มีเมียแจ่มกว่า ตั้งแก๊งผลิตความสะใจไปต่างๆนานาแต่ละวันๆตามความถนัดของตนจนเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเวรกรรมก็เหวี่ยงให้เขาได้มาเจอกับเส้นทางของพระอย่างที่เจออยู่ซะส่วนใหญ่ กลายเป็นหัวกะปิที่มีแต่วัดที่ท่านพอจะมีงบที่ได้มาจากญาติโยมทำบุญเข้ามา แล้วเปิดโรงเรียนจ้างครูให้เด็กได้มีโอกาสเรียน ฉะนั้นถ้ามองดีๆ พระไม่ได้ล้มเหลวในหน้าที่อย่างเดียวสัมบูรณ์ รบ. ก็มีส่วนที่ทำให้การศึกษาไทยมีความเลื่อมล้ำถึงขนาดนี้ นี่เรียกว่าเป็นความล้มเหลวของรัฐ ท่าน ปอ.ปยุตโต ท่านให้ความเห็นว่า การที่เห็นพระเณรเยอะนี่ ไม่ได้หมายถึงพระพุทธศาสนาเจริญหรอก แต่หมายถึงรัฐบาลไม่สามารถดูแลเด็กเหล่านี้ได้ จนต้องปล่อยให้มาเป็นเรื่องของวัดไป ฉะนั้นการกล่าวว่าพระเป็น “กาฝาก” สังคม จึงเป็นคำพูดที่กล่าวดูหมิ่นตัวผู้พูดเองได้ชัดเจนที่สุด

อีกส่วนหนึ่งมาจากที่พ่อแม่ที่คิดว่าถ้าลูกบวชก็คงจะดี ประหยัดค่าใช้จ่าย ได้บุญด้วย ก็แล้วจะไม่ประประหยัดได้ยังไง ก็สังคมเราดันไปตั้งกติกาที่มันเกินความจำเป็นขึ้นมา ซึ่งนักเขียนชื่อดัง คำผกา ก็ยังให้ความเห็นทำนองนี้ว่า ไหนจะเป็นชุดที่ต้องซื้อ รองเท้าที่ต้องใส่ กระเป๋าที่ต้องสะพาย มีกี่ปีก็ซื้อก็จัดไปตามนั้น รองเท้าราคาคู่เกือบสามร้อย แล้วไม่ได้ซื้อครั้งเดียว ไม่ได้ซื้อแบบเดียว แล้วชาวนาบ้านนอกๆ จะเอาตังที่ไหนไปซื้อ เงินที่ได้เอาไปซื้อปุ๋ยซื้อจอบทำนายังหาเลี้ยงกินได้แน่นอนกว่า ไม่ต้องมาเสี่ยงและฝากความหวังไว้กับลูกของเราที่ไม่รู้มันจะได้ดีหรือเปล่า บางครอบครัวอยากให้ลูกได้ดีก็ต้องไปกู้เขามา เป็นหนี้อีก โรงเรียนบางโรงเรียนฉลาด บังคับให้นักเรียนซื้อกระเป๋าของโรงเรียนเท่านั้น เด็กไม่ซื้อก็ลงโทษ อ้างว่าเพื่อความเป็นระเบียบ หารู้ไม่ว่าต้องการเอากำไร กลายเป็นยึดติดในภาพลักษณ์ภาพสถาบันกันขึ้นมา ปัญหาเหยียดหยามก็รามมา หาไม่แล้วก็คงจะทำตามวัฒนธรรมพอเพียง ใส่ชุดอะไรมาก็ได้เพื่อเรียนหนังสือ มันดีตรงที่รัฐบาลไม่ต้องมาวุ่นจัดหางบชุดนักเรียนฟรีให้เสียเงิน ถึงใส่มันก็ไม่ได้โง่ลงหรือฉลาดขึ้นเลยแม้แต่น้อย เรามาเรียนไม่ใช่มาโชว์สถาบัน ไม่งั้นแล้วเด็กก็จะคิดว่า ชีวิตเราจะเรียนรู้ก็ต่อเมื่อเราใส่ชุดนักเรียน ไม่ใส่ชุดถือว่าไม่ได้เรียน เป็นช่วงเวลาพักผ่อน กลายเป็นสร้างกระแสเบื่อหน่ายการเรียนไปอีก ไม่เปิดโลกแห่งการเรียนรู้ที่แท้จริงให้เด็ก เพราะแบบนี้ละกระมั่งที่เด็กไทยมันจึงไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือกัน ก็มันไม่ได้ใส่ชุดนักเรียนหรือเปล่า?

พ่อแม่ก็เข้าใจผิดถนัดเลยครับว่าสมัยนี้มันสมัยไหน ไม่ใช่สมัยพุทธกาลที่ไม่มีอะไรให้ล่อลวงมากนอกจากศรีกากับลาภสักการะยศถาบันดาศักดิ์ ซึ่งง่ายต่อการเข้าใจธรรมมะและบรรลุมรรคผลได้ แต่สังคมและประชากรเด็กมัน inter และ IT กันเกือบหมด เด็กมันก็เคยเล่นเคยผ่านมาก่อน หรือบวชมาเห็นโยมเข้าใช้กัน เห็นเขาสนุกกัน กิจกรรมนู้นก็ “เจ๋ง” กิจกรรมนั้นก็ “แจ่ม” ก็เล่นโฆษนาซะขนาดนั้น เห็นปุ๊บเขาก็อยากได้ เกิดกิเลส เพราะเขาไม่ได้บวชเพราะเขาอยากศึกษาธรรมมะ คนที่บวชก็เป็นปุถุชนคนกันเอง เพื่อนร่วมโลกเราทั้งนั้น บวชแล้วผ่านการฝึกปฏิบัติกรรมฐานมาอย่างหนักหน่วงก่อนได้เรียนหนังสือหรือเปล่า ก็ไม่ใช่ แต่เขาบวชเพราะเรียนเป็นหลัก ทั้งทางโลกและทางธรรม แล้วสิ่งที่เรียนมันสอนอะไรเขาบ้างละ สอนให้เก่งอย่างงั้นเก่งอย่างงี้ พัฒนาแต่ความทะเยอทะยานให้กันไม่รู้จบ กลายเป็นเนื้อร้ายทางความคิดที่ต้องเรียนถ้าเขาไม่เรียนชีวิตก็ไปไม่รอด ชีวิตจึงถูกสังคมครอบงำเรื่องความสำเร็จๆ ใครไม่สำเร็จก็ Game Over สังคมจึงสร้างเครือข่ายแห่งการเอาเปรียบกันโดยไม่รู้ตัว สนับสนุนแต่คนเก่ง แต่ไม่สนับสนุนคนดี คนเก่งเท่านั้นที่อยู่รอด คนดีแต่ขัดผลประโยชน์ก็ดับดิ้น เด็กทีบุญน้อยด้อยปัญญา หัวไม่ค่อยดีเรียนกากๆ จบมาชีวิตก็ไม่ก้าวหน้า พาลไปเป็นพวก “หัวเกรียน” วันดีคืนดีก็ถูกสังคมตบ ”เกรียนแตก” อีก

บางคนถึงขนาดเห็นพระแล้วไม่ได้ดั่งใจ จึงอยากบวชแล้วจะไปประพฤติปฏิบัติเป็นพระที่ดีตัวอย่างให้ดูเอง

แต่เขาลืมพิจารณาไปว่าการเป็นพระมีเส้นทางที่มาที่ไม่เหมือนกันความพร้อมต่างกันออกไปจึงทำให้เกิด
อคติอยู่ทุกวันนี้ ที่มาแรก ก็เป็นเด็กที่บ้านจนแล้วบวชเณรบวชพระจนได้ดีเพราะเห็นคุณค่าในสิ่งที่ตัวเองทำ ส่วนอีกที่มาคือ เป็นชีวิตที่ผ่านอะไรมาเยอะกับทางโลก เรื่องเงิน เรื่องความสำเร็จ ได้รับมาจนเรียกได้ว่าอิ่มจนเบื่อ หน่ายจนอยากหนี เลยเข้ามาบวชใช้ชิวิตอย่างที่ต้องการตามพระวินัยศึกษาพระธรรมคำสอนได้อย่างสบาย และที่มาสุดท้ายคือ ชีวิตที่ประสบแต่ความล้มเหลว ชีวิตทางโลกที่อยู่ไปก็มีแต่จะสร้างปัญหา จึงเข้ามาบวชแล้วศึกษาธรรมจนได้ดี แต่ทุกๆที่มาก็สามารถเป็นที่มาจองพระไม่ดีได้เช่นกัน และที่มากที่สุดก็คือ พวกที่สถาบันทางครอบครัวของตนเองมีปัญหา

แต่มันก็มีเรื่องที่น่ายินดี และมุมที่น่ามองอยู่ตรงที่ว่า ชีวิตท่านได้หนีมาจากสังคมแห่งการแก่งแย่งชิงดี ใส่ร้ายป้ายสี กดขี่ ครอบงำ โหยหาความสำเร็จกันโดยไม่รู้ตัว แล้วพระท่านเดินเที่ยวพันทิพย์หรือที่อโคจรท่านไปแก่งแย่งชิงดีใคร? ท่านก็เป็นเพียงกลุ่มคนตกค้างจากสังคม ที่บวชมาตั้งแต่เด็ก เรียนมาบางคนกล้าที่จะนำความรู้ไปใช้ จึงสึกและเปลี่ยนสภาพไปเป็นหนึ่งในกลุ่มมนุษย์ ที่ชีวิตไม่มีความกล้าหาญทางศีลธรรมใดๆ เอาแต่ดำเนินชีวิตไปตามสันดานดิบและทำเรื่องที่เสื่อมอยู่ทุกวัน บางคนก็ไม่กล้าออกไปโลกภายนอก เพราะมันน่ากลัวหัวสมองเรียนมาไม่เคย “เลเวลอัพ” หรือก้าวหน้า สักที ออกไปก็เตะฝุ่น จึงคิดว่าการอยู่แบบนี้มันสบายแล้วนี่หว่า ไม่ต้องลำบาก ไม่ต้องทำงานหนัก เช้าก็บิณบาตหากินก็ง่าย ออกกิจนิมนต์ก็มีตังใช้ อาจจะดูเห็นแก่ตัว แต่สังคมบีบให้เขาต้องเอาเปรียบเอง (เอาเปรียบแบบนี้ ใครอยากลองดู ก็ลองไปบวชดูครับ) สังคมทุกสังคมกลายเป็นสังคมแห่งการเอาตัวรอดให้ได้ ทุกคนล้วนทำทุกวิถีทางเพื่อเอาตัวรอด คนมีความรู้น้อยออกไปเผชิญโลกภายนอก มันก็น่ากลัว เพราะเป็นคนที่ไม่มีประสบการณ์ทางโลกมาก่อน

ส่วนรูปที่นอกจากจะไม่แก้ปัญหาแล้วยังสร้างปัญหาให้กับสังคมนั้น อย่างหลายเรื่องๆที่เห็นตามข่าวหรือหน้าหนังสือพิมพ์หรือคำนินทาทั้งหลาย ก็ล้วนแต่ทำให้เราพูดเป็นเสียงเดี๋ยวกันว่า เสื่อม และเป็นเรื่องที่ทำใจยอมรับยากมากๆ จนทำให้หลายๆคนเย็นชากับพระและพระพุทธศาสนาไปในที่สุด
แต่กรณีนี้จะเกิดขึ้นก็แต่เฉพาะกับคนที่ไม่ใช่ชาวพุทธเท่านั้น ชาวพุทธที่แท้ที่ดีจะต้องรู้เท่าทันและปล่อยวางเป็น ท่าน ว. วชิรเมธี ท่านก็พูดออกมาในทำนองคล้ายกันว่าในโลกนี้มีคนไม่ดีเยอะแล้ว เราอย่าเป็นอีกคนที่ไม่ดีเพราะข้อมูลที่ไม่ดีเหล่านี้เลย เราไม่ได้เกิดมาเพื่อเกลียดใครเพราะเขาไม่ดี หรือรักใครเพราะเขาเป็นคนดี แต่เราควรจะเกลียดตัวเราเองเพื่อให้พัฒนาให้ดีขึ้น และเราจะรักตัวเองที่สามารถเห็นแก่ผู้อื่นมากกว่าตัวเองและเก็บรักษาความดีอันนี้เอาไว้ได้มากกว่า และพระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสเช่นเดียวกันอยู่ว่า ให้คบบัณฑิต คนพาลก็อย่าไปคบ กรณีของเหตุการณ์ที่ไม่ดีที่อยู่ต่อหน้าเรานั้นก็ถือเป็นคนพาล เพราะมันทำให้จิตเราพาลเสียไปด้วย

เราอาจจะคิดว่าพระพวกนี้ทำตัวไม่หน้ากราบหน้าไหว้เลย ตรงนี้พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้เน้นเลย วัฒนธรรมเราตั้งหากที่ไปให้ค่าความสำคัญขึ้นมา มีผู้รู้ท่านกล่าวว่า
ไหว้พระพุทธรูป ไหว้ไม่ดี ก็ไหว้อิฐ ไหว้ปูน
ไหว้พระธรรม ไหว้ไม่ดี ก็ถูกใบลาน
ไหว้พระสงฆ์ไหว้ไม่ดีก็ถูกลูกหลานชาวบ้าน
แล้วไหว้แบบไหนถึงไหว้ดี ฉะนั้นคำว่าไหว้ดี มันจึงเริ่มที่ตัวเราก่อนเลยครับชาวพุทธ ไม่ใช่เริ่มที่ตัวพระสงฆ์

บางทีเราควรเริ่มมองทุกสิ่งทุกอย่างใหม่ เราควรมองคนอื่นให้เหมือนมองกระจก ที่สะท้อนให้เห็นตัวเรา เราคือเขา เขาคือเรา ปัญญาจะชี้ทางเราว่า ทุกอย่างล้วนมีมิติทางศีลธรรมดำรงตัวอยู่ด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเห็นอะไร ควรมองให้เห็นมิตินี้
อะไรมันจะเสื่อม มันก็เสื่อมจากตัวเรา เสื่อมเพราะชาวพุทธมัวแต่ไปนับถือสิ่งที่ไม่ใช่พุทธบัญญัติ ซึ่งพวกเราก็พอผ่านตามาบ้างว่าชาวไทยชาวพุทธเราทำอะไรกัน ที่นำพาแต่ความเสื่อม ศีลข้อที่ 5 ไม่ได้หมายถึง สุราเมรัยอย่างเดียว แต่มันหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างในวัฒนธรรมและประเพณีเทคโนโลยีอันทำให้คนเราขาดสติด้วยการเสพติด

เราจะบอกได้ไหมว่า การที่เราทำกิจกรรมในวัฒนธรรมใหม่ ไม่ใช่เป็นการเสพติด มันก็คงไม่ต่างจากการดื่มเหล้า เพราะต่างคนต่างก็อ้างได้ว่าไม่ได้เสพมันตลอด กระนั้นมันจึงเป็นสิ่งเสพติดเหมือนกัน เสพแล้วขาดสติเหมือนกัน (ขาดสติ จิตฟุ้ง จิตวุ่น แม้เราจะรู้ตัวว่าเรามีสติ แต่มันเป็น มิจฉาสติ เป็นสติที่เป็นไปเพื่อการเพิ่มทุกข์ ไม่ใช่การบรรเทาทุกข์) ฉะนั้นวัดกับบ้านจะแยกออกจากกันไม่ได้ ต้องร่วมมือกันตลอด ที่เขาบอกว่า วัดกับบ้านขัดกันก็บรรลัย ไม่ใช่เพราะทะเลาะกันเรื่องอื่นนอกจากเรื่องที่ตัวเองมัวแต่ไปสนใจอย่างอื่นมากกว่าการทำตัวเป็นชาวพุทธที่ดี ศาสนาพุทธจะน่าเลื่อมใสหรือจะเสื่อมศัรทธาก็อยู่ที่พุทธบริษัท พระที่ท่านอุทิศชีวิตทำงานเพื่อสังคมมีเยอะแยะ แต่กลับมีคนสนใจเพียงเศษเสี้ยวธุลีดิน ส่วนมากก็ไม่สนใจ พอพระท่านทำผิด ก็กลายเป็นสนใจกันทั้งประเทศ

เราต้องเข้าใจว่า แม้พระจะมีพฤติกรรมอย่างไร แต่ฆราวาสไม่เคยเข้าวัดสวดมนต์ฟังธรรม ปฏิบัติกรรมฐานกันเลย ภาระที่ไร้ความร่วมมือจึงตกเป็นของพระ สมัยพุทธกาลพูดสองสามทีก็เข้าใจ ลองให้วัยรุ่นไทยหันมาสนใจตรงนี้สิครับ ไม่เกิน 5 นาทีก็หลับ แต่ถ้ากลับกัน ฆราวาสพร้อมกันทำกิจกรรม รัฐบาลออกกฎหมายใหม่ให้ประชาชนเข้าวัดทุกวันอาทิตย์ แทนที่จะไปร้องเพลงชาติกัน รับรองพระท่านคงได้มีงานทำกันถ้วนหน้า ท่านก็ได้ทำหน้าที่ท่านเต็มที่ วัดท่านก็สอนธรรมมะ ธรรมมะที่มีก็มีจนล้นหัวแล้ว แต่ไม่เคยเอาไปใช้สักที หลวงพ่อพุทธทาสก็เคยกล่าวทำนองนี้ว่า ไม่มีญาติโยมคนไหนมาสนใจ เจอพระก็เอาแต่ยกมือไหว้ พอพูดเรื่องธรรมก็กำหู (รู้อยู่แล้วไม่อยากฟัง กับ ไม่รู้แต่ไม่อยากฟัง) พระส่วนใหญ่จึงคิดว่าพูดไปก็ไม่มีใครสนใจ พูดไปวัยรุ่นและคนรุ่นใหม่ก็ไม่ค่อยชอบ กลายเป็นถูกสังคมบีบให้หันหน้าเข้าหาวัฒนธรรมใหม่กันหมด เหลือไว้เพียงรุ่นปู่รุ่นย่า ที่ท่านยังพอมีแรงเข้าวัดอยู่

กิจวัตรส่วนใหญ่หลายท่านอาจจะเป็นสัญลักษณ์แห่งความฟุ่มเฟือยมากกว่าสัญลักษณ์แห่งความพอเพียงที่พระควรมี แต่อย่าลืมว่าเราต้องมองพระให้ได้มากกว่าการเป็นเพียงแค่สัญลักษณ์ แต่พระคือรูปแบบความจริงอย่างหนึ่งที่เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่และยอมรับให้ได้เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม เล่นไพ่ โคกหมากรุก ดวดเหล้า ดูดบุหรี่ก็ดูดเมื่อครั้งที่เพื่อนเคยชวนดูดสมัยเป็นฆราวาส แล้วใครละที่เป็นคนรับผิดชอบเรื่องพระดูดบุหรี่ พระต้องมารับความผิดจากสิ่งเหล่านี้หรือ หลายคนอาจบอกว่า “กิจกรรมที่คลายเครียดมีตั้งหลายอย่าง ทำไมต้องอันนี้ด้วย” หากเราพิจารณาที่อาการทางจิต มันไม่ใช่เครียดครับ มันคือความเบื่อ เพราะคนที่เครียดไม่มีอารมณ์จะมาทำเรื่องแบบนี้หรอก กิจกรรมทุกอย่างมันก็เป็นกิจกรรมเพื่อคลายความเบื่อในระดับที่แตกต่างกันออกไป ไม่ใช่ทุกอย่างจะทดแทนกันได้หมด ด้วยความเป็นปุถุชนอย่างสูงสุด ทุกรูปทุกคนก็ล้วนมีสิ่งที่ตัวเองชอบและตัวเองเกลียดกัน เรื่องที่จะบอกว่า ท่านต้องรู้ว่าอะไรควรไม่ควรนั้น มันเป็นเรื่องของปัญญา ความชั่วและความดีบางทีมันไม่ได้ตัดสินเอาเดี๋ยวนั้นเลย ต่อให้ท่านทำดีท่านก็บาปได้ หรือต่อให้ท่านทำชั่วท่านก็ดีได้ และท่านไม่ได้บวชมาเพื่อห้ามใจ แต่บวชเพื่อหาที่กำบังเพราะพ่ายแพ้ให้กับสังคมทุนนิยมและวัตถุนิยม จึงยังมีนิสัยเดิมๆติดมา การตัดสินจึงเป็นหน้าที่ของกฎแห่งกรรม ไม่ใช่เอาหน้าที่ของเราในเรื่องการยอมรับและเข้าใจขว้างทิ้งไปแล้วมาจับค้อนทุบลงสามที ว่ามันไม่ได้ มันไม่ใช่ และมันไม่จริง อย่างผู้ตัดสิน ความละเอียดของกรรมมันลึกและซับซ้อนเกินกว่าเราจะไปตัดสิน

เราอย่าไปคิดว่าท่านเป็นแบบอย่างของสังคม เพราะท่านเป็นต้นแบบทางสังคม ถามว่าใครจะเกิดมาเป็นต้นแบบของสังคมได้หมด ถ้าคิดว่าพระทุกรูปที่บวชเข้ามาแล้วจะต้องเป็นตัวอย่างของสังคมทุกคน แบบนี้ก็สุดโต่งครับ เหมือนชาวประมงที่โยนอวนลงไปในทะเลที่ต้องการที่จะได้แต่ปลาทู หรือต้องการที่จะได้แต่กุ้ง พอติดกระป๋องติดขยะหรือสิ่งที่มันขายไม่ได้ราคาก็ทุกข์ หรือความหวังที่จะได้เยอะทุกครั้งทุกหน ก็ต้องศิโรราบให้กับความไม่แน่นอนทุกคราไป

หรือตัวการที่แท้คือต้องมุ่งไปที่คนผลิตหรือเปล่า? พวกนี้หรือเปล่าที่ต้องแก้ ไม่ใช่เฉพาะบุหรี่อย่างเดียว แม้แต่หนังโป๊ ผลิตออกมาทำไม ถ้าไม่ใช่เพื่อเงินหรือทุนนิยม เสพๆๆ ชีวิตมีแต่การเสพ ทุกอย่างของความไม่เหมาะสมลองดูสิครับว่ามันมีสาเหตุใหญ่เป็นอะไร ไม่ใช่มาแก้ที่ปลายเหตุ ต้นเหตุนั้นเองคือสาเหตุของความเสื่อม ผลิตสิ่งที่ทำให้มนุษย์ขาดสติ บาปเห็นๆ เจตนาก็เพื่อความสำเร็จๆ บูชาความสำเร็จมากกว่าพระ มากกว่าพระเจ้า มากกว่าพ่อแม่พี่น้องญาติมิตรเพื่อนฝูง หรือแม้แต่เพื่อนร่วมโลก เป็นความสำเร็จที่ตั้งอยู่บนความเดือดร้อนของคนอื่น ผู้คนก็ติดกันงอมพระราม เพราะเสพไปนอกจากผลาญทรัพย์แล้วยังผลาญปัญญาตัวเองอีก พระท่านก็ตกอยู่ในฐานะของเหยื่อ เราจะไปโกรธท่านงั้นหรอครับ? เราเป็นเหยื่อด้วยกันเองน่าจะเข้าใจกันหรือเปล่า??

ผมคิดว่าพระไม่จำเป็นต้องยกมือไหว้เลย ขอแค่เราเข้าใจเขา ว่าท่านก็เป็นของท่านเช่นนั้นเอง แล้วย้อนกลับมาดูอารมณ์ตัวเองว่าเป็นอย่างไร แค่นั้นก็เป็นการไหว้แล้ว เป็นการไหว้ด้วยจิตที่เปี่ยมเมตตาปัญญา เพราะการที่จิตเราสงบด้วยเมตตาปัญญาเข้าใจนั้น ก็ถือว่าเราได้นำธรรมมะของพระพุทธเจ้าท่านมาใช้ เมื่อเอามาใช้ก็แสดงว่าเราเคารพธรรมมะ เมื่อเราเคารพธรรม ก็เท่ากับเราเคารพพระพุทธเจ้า เพราะสิ่งที่พระองค์เคารพสูงสุดคือธรรมะ เพราะแม้พระองค์เองก็มิอาจอยู่เหนือธรรมได้ พุทธเจ้าจึงสอนให้เคารพธรรม ไม่ใช่พระสงฆ์ กระนั้นพระสงฆ์ก็คือผู้สอนธรรมซึ่งมาทั้งด้านดี คือสอนเราโดยที่ท่านและเรารู้ตัว และด้านไม่ดี คือ สอนเราโดยที่ท่านและเราไม่รู้ตัว แต่ต้องเข้าใจครับ ไม่ใช่ไปโกรธผู้สอนธรรม คนที่นำสิ่งดีๆมาให้เรามันไม่จำเป็นหรอกครับว่าคนๆนั้นจะต้องเป็นคนดีมา ตลอด 24 ชั่วโมง ตลอดทั้งชีวิต แค่เพียงเสี้ยวแห่งความดีที่เขายิบยื่นสิ่งดีให้เราแค่นั้นก็สามารถเป็นคนดีของเราได้แล้วไปตลอดกาล ขอเพียงแค่จิตเราใฝ่แต่สิ่งดีๆ แม้จะได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ก็ไม่หยุดที่จะทำ

ผมว่าหลายคนคงเคยดูเรื่อง The Lord of the Ring ซึ่งก็น่าจะรู้จักจอมโฉดเซารอนแห่งมอร์ดอร์ ซึ่งการจะกำจัดศัตรูอย่างนี้ได้ ใช่ว่าจะมีตัวตนให้กำจัดเสียเมื่อไร จะมัวไปกำจัดออร์คหรืออุรุกไฮผู้ตกเป็นทาสมันก็ไม่จบไม่สิ้น เหล่าผู้กล้าตัวเอก(ผู้มีปัญญา)จึงต้องทุ่มกำลังกาย(เพียร)และกำลังใจ(ปัญญา) กำจัดที่สาเหตุเลย ซึ่งก็คือแหวนเอกธัมรงค์ ฉะนั้นถ้าเปรียบกัน เซารอนก็คือมายาในจิตเราที่หลอกว่า พระที่ประพฤติตัวไม่ดี หรือตัวอุรุกไฮและออร์คคือศัตรู แต่มันไม่ใช่ครับ สิ่งเหล่านั้นเปรียบเสมือนสิ่งภายนอกจิต ที่ถูกหลอกให้เรามัวแต่ไปแก้ปัญหาภายนอก แต่ไม่เคยแก้ภายในกัน ซึ่งก็เปรียบเป็นแหวนที่เป็นตัวแทนของอำนาจ จะกำจัดต้นเหตุนี้ได้ ต้องกล้าและยอมเสียสละความสุขส่วนตัว อย่างแซมไวส์ แกมจี ที่เขารู้และเขาใจขีดจำกัดตัวเอง ไม่หลงตามอำนาจนั้นในขณะที่คนอื่นอยากจะได้นักได้หนา ต่างจากเราซึ่งไม่เคยทิ้งแหวนกันเลย เราใส่แหวนนั้นมาตลอดและก็ถูกหลอกให้สู้อยู่กับออร์คและอุรุกไฮ และอะไรต่อมิอะไรในวัฒนธรรมใหม่ที่สร้างและอุปโลกน์มันขึ้นมาอย่างไม่จบไม่สิ้นสักที สงครามมันจึงเข่นฆ่าผู้คนและสภาพแวดล้อมไปอย่างมากมายนั้นเอง

ต้องเข้าใจนะครับว่าพระทุกรูปไม่ได้มีปัญญามากขนาดจะมุ่งสู่มรรคผลอย่างเดียว ถ้าท่านเหล่านี้ต้องการจริง นู้นครับท่านไปอยู่วัดป่าหมดแล้ว เข้าหาลูกศิษย์หลวงพ่อดังๆ ฝึกกรรมฐาน ไม่ใช่ว่าท่านไม่ทำอะไรนอกจากกิจกรรมทางโลก กิจกรรมทางธรรมท่านก็ทำ มองแบบเปรียบเทียบท่านอาจจะดีกว่าเราที่ทำแต่กิจกรรมทางโลกด้วยซ้ำ การทำวัตรสวดมนต์ ฟังเจ้าอาวาสเทศจึงเป็นสิ่งที่มีค่า มีคุณงามความดีอยู่ ให้พระได้มีบารมีช่วยเหลือญาติโยมให้สบายใจ ญาติโยมก็สบายใจพระมาสวดมนต์ให้

บางคนอาจเข้าใจพระดี หรือบางคนอาจไม่รู้เลย แต่ไม่รู้ก็ไม่เป็นไร ใครเอาไปเล่า คนเล่าก็บาปอีก สร้างความแตกแยก สร้างความขุ่นเคืองใจให้กับเพื่อนมนุษย์ เป็นบาปแน่นอน ถ้าจะเล่า ก็ไม่ควรเล่าในลักษณะที่ประจานนำไปสู่การเสื่อมศรัทธา แต่ควรเป็นการเล่าด้วยความประณีตซึ่งก่อให้เกิดปัญญามากกว่า หรือไม่งั้นก็ให้เอาสติเหยียบไว้ ไม่ต้องเล่าเลย แต่ก็ไม่ใช่แบกมัน ตระหนักว่ามันไม่ใช่อย่างที่เราคิด หรืออย่างน้อยที่สุดท่านก็ทำให้พ่อแม่สบายใจละครับที่ลูกมาบวช แม้ท่านจะไม่รู้ก็ตามว่าลูกหลานของท่านกำลังผจญอยู่ในวัฒนธรรมใหม่กันอย่างไร เราจะมาห้ามพระเณรไม่ให้ทำนู้นทำนี้ มันก็ยากพอๆกับการชักชวนญาติโยมให้เข้าวัดฟังธรรมฝึกกรรมฐานนั้นแหละครับ เพราะฉะนั้นความสำคัญของหน้าที่จึงอยู่ฝ่ายฆราวาสอย่างพวกเราพอสมควร เราต้องดูแลให้ดี ไม่ใช่เอาแต่ดูแคลน ตอนนั้นแหละครับ สายตาที่เคยมองว่าสังคมเสื่อม จะกลายเป็นสายตาที่สามารถมองเชื่อมและเคลื่อนตัวออกจากความขัดแย้งทั้งภายในและภายนอกได้ดีที่สุด

.....................................................
ทำวันนี้ให้ดีและต้องรู้ไว้ว่า ทำดีเพื่อดี ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อุปสรรคไม่มี บารมีไม่เกิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2011, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนมีตาดีย่อมมองเห็นแสงตะเกียงที่จุดไว้ในที่มืดแม้จะอยู่ไกลฉันใด ผู้มีดวงตาแห่งจิตที่เบาบางด้วยอวิชชาและปราถนาความหลุดพ้นย่อมเห็นแสงสว่างแห่งธรรมที่เจิดจ้า สว่างสไวอยู่ตลอดอนันตกาลฉันนั้น :b8: นอกนั้นคือผู้มีจักษุที่มืดบอด หลับอยู่ ไม่ได้มอง หรือมองไปทางอื่น :b23:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


แก้ไขล่าสุดโดย ขณะจิต เมื่อ 08 ก.ค. 2011, 14:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2011, 13:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ผมว่าบทความยาวไปครับ อ่านได้ส่วนหนึ่งแล้วก็อ่านต่อไม่ไหว
ถ้าส่งมาทีละตอน ทีละตอน ก็จะดีครับ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2011, 14:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2007, 00:08
โพสต์: 132

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่งเป็นตอนๆ นี้หมายถึงยังไงครับ ให้ผมแบ่งลงทีละโพสๆ หรอครับ แต่ผมว่าใจเย็นๆครับ ค่อยๆ อ่าน นะครับ

.....................................................
ทำวันนี้ให้ดีและต้องรู้ไว้ว่า ทำดีเพื่อดี ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อุปสรรคไม่มี บารมีไม่เกิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2011, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:05
โพสต์: 136


 ข้อมูลส่วนตัว


:b45: ไม่มีอะไรที่แตกต่าง

ระหว่าง
จิตหนึ่ง ที่มองว่า พระประพฤติไม่เหมาะสม
กับจิตหนึ่ง ที่มองว่า การตำหนิพระ เป็นความประพฤติที่ไม่เหมาะสม

:b45: การปรากฏเกิดขึ้นแห่งจิตล้วนอาศัยเหตุและปัจจัยในการปรากฏ
การยึดมั่นถือมั่นในจิตใดจิตหนึ่งที่ปรากฏเกิดขึ้นแล้ว ว่าเป็นเรา ว่าเป็นตัวตนของเรา นั้นแหล่ะ
คือการปรากฏเกิดขึ้นแห่งทุกข์ล่ะ :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2011, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ม.ค. 2011, 16:14
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณรู้ได้ไงว่าพระที่ประพฤติตัวไม่ดีทำให้คนเสื่อมศรัทธาแบบนี้คุณไม่ดูถูกวิจารณญาณชาวพุทธหรอชาวพุทธมีวิจารณญาณสามารถแยกแยะว่าอะไรถูกอะไร คุณอย่ากล่าวหาลอยๆดิ ถ้าไม่เชื่อคุณลองไปถาม คุณโฮฮับดูสิ....!!! คุณโฮฮับเขาพูดไว้อย่างนี้อ่ะนะ....!!! :b13: :b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2011, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ม.ค. 2011, 16:14
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านแล้วก็อยากแสดงความคิดเห็นบ้างแต่กลัวว่า เดียวโดนลบอีกแถมโดนแบนด้วย Onion_R Onion_R


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2011, 07:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2007, 00:08
โพสต์: 132

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปล่อยรู้ เขียน:
:b45: ไม่มีอะไรที่แตกต่าง

ระหว่าง
จิตหนึ่ง ที่มองว่า พระประพฤติไม่เหมาะสม
กับจิตหนึ่ง ที่มองว่า การตำหนิพระ เป็นความประพฤติที่ไม่เหมาะสม

:b45: การปรากฏเกิดขึ้นแห่งจิตล้วนอาศัยเหตุและปัจจัยในการปรากฏ
การยึดมั่นถือมั่นในจิตใดจิตหนึ่งที่ปรากฏเกิดขึ้นแล้ว ว่าเป็นเรา ว่าเป็นตัวตนของเรา นั้นแหล่ะ
คือการปรากฏเกิดขึ้นแห่งทุกข์ล่ะ :b45:


อันนี้ คือ คอนเซ็บใหญ่เลยครับ ถ้าเราพูดกันอย่างนี้ เหมือนหักยอดเจดีย์ทลายสาเหตุเริ่มต้น แล้วมองดูตัวเอง แต่ปัญญาของคนเราไม่เท่ากัน สิ่งที่ผมว่าไป เอาไว้ใช้กับบุคคลที่เขาไม่สามารถคิดได้อย่างคุณครับ เมื่อเขาใช้ตรรกะแบบโลกๆ ผมก็จำเป็นต้องใช้ตรรกะแบบโลกๆเช่นกัน เพื่อทำให้เขามองอีกมุมที่น่าจะมีความสุขหรือสบายใจกว่า เราจึงต้องยอมทุกข์ไงละครับ

หรือถ้าไม่งั้น ผมก็จะเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า การที่หลวงพ่อคนใดคนหนึ่งพยายามจะสั่งสอนโยมว่า อย่าไปกินเหล้านะ อย่าไปมั่วสุรานารีนะ อย่าไปโกงชาติบ้านเมืองนะ ซึ่งท่านมองว่า พฤติกรรมเหล่านี้ มันไม่ดี มันไม่เหมาะสม ก็เท่ากับว่า อาการทางจิตของท่านกับพวกเผาบ้านเผาบ้านเมือง หรือมั่วสุรานารี ก็ไม่ต่างกันงั้นหรือเปล่าครับ ถ้าเช่นนั้นแล้ว ไฉนท่านถึงทำละครับ :b1:

.....................................................
ทำวันนี้ให้ดีและต้องรู้ไว้ว่า ทำดีเพื่อดี ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อุปสรรคไม่มี บารมีไม่เกิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2011, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2007, 00:08
โพสต์: 132

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถูกต้องครับ ผมไม่ได้แม้แต่เศษเสี้ยวธุลีของท่านเลย และสิ่งที่ผมเขียนก็คือสิ่งที่ถ้าสรุปออกมาก็จะได้อย่างที่คุณว่าไว้เลยครับ เจตนาของผมคือ อยากให้ชาวพุทธมองแบบนั้น มองแบบที่คุณว่าไว้ แต่ก็มีชาวพุทธที่ไม่ใช่ชาวพุทธแท้

ชาวพุทธทุกคนไม่ใช่จะปล่อยโลกร้อนอย่างไรแล้วจะไม่ร้อนตามโลกได้ทุกคนหรอกครับ

ก็อย่างที่ทุกท่านทราบดีว่าชาวพุทธเชิงทะเบียนบ้านนั้นมีถิ่นกำเนิดตามลุ่มแม่น้ำวัตถุนิยม ผมคิดว่าจะพูดแต่ สาระธรรม โดยไม่ยกตัวอย่างที่ชัดเจนให้ฟัง โดยเฉพาะพวกหัวแข็งแล้วเนี่ย เขาจะหาว่าเราเลอะเทอะได้เลยนะครับ
ขอบคุณที่เพิ่มเติมครับ

.....................................................
ทำวันนี้ให้ดีและต้องรู้ไว้ว่า ทำดีเพื่อดี ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อุปสรรคไม่มี บารมีไม่เกิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2011, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes
...ที่หลวงตามหาบัวท่านเทศนาธรรมเกี่ยวกับพระไว้ดังนี้ค่ะ...
...การบวชเป็นพระภิกษุเป็นการประกาศให้โลกรู้ว่าอยู่ในเพศของพระ...
...ที่แตกต่างจากฆราวาสมากคือมีขอบเขตของพระวินัยมาควบคุมความประพฤติ...
...ถ้าพระที่ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยก็ไม่ต่างกับชาวบ้าน จีวรมีขายเต็มตลาดเขาก็ซื้อมานุ่งห่มได้...
:b12:
...ข้าพเจ้าว่าบุญเท่านั้นค่ะ...บุญที่จิตแต่ละดวงกระทำบำเพ็ญมา...และนิสัยที่ติดตามข้ามภพชาติมา...
...จึงเป็นอุปนิสัยให้การประพฤติปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นพระหรือว่าเป็นฆราวาสก็มีมาไม่เหมือนไม่เท่ากัน...
...การวิตกกังวลมากไป...ไม่ช่วยแก้ปัญหา...จะให้คนอื่นคิดดี พูดดี ทำดี เหมือนกันก็เป็นไปไม่ได้...
...แม้แต่ผู้ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นพุทธบริษัททั้งสี่ทุกคนก็ยังมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาไม่เท่ากันเลย...
:b16:
...ทุกคนมีปัญญาไม่เท่ากัน แล้วก็ไม่ใช่เป็นชาวพุทธแล้วทุกคนจะมีปัญญาเข้าใจสิ่งที่ตนเองนับถือ...
...มัวแต่มองออกไปหาสิ่งภายนอกแล้วกว้านเข้ามาไว้สะสมในใจตนเอง ก็เป็นโลกที่ยุ่งเหยิง วุ่นวาย...
...โดยไม่เข้าใจว่าพระพุทธเจ้าสอนพระธรรมไว้เพื่อให้พุทธบริษัทนำมาใช้ในการลดความทุกข์ในใจ...
...เพราะมัวแต่สนใจภายนอกและไม่สนใจนำคำสอนมาปฏิบัติแล้วจะสืบทอดพระพุทธศาสนาถูกได้ไง...
:b9: :b32:
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2011, 17:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes
...พุทธศาสนาไม่เคยเสื่อม พระธรรม และพระวินัย ก็ไม่เคยเสื่อม แม้พระพุทธเจ้าจะปรินิพพานนานแล้ว...
...ที่เสื่อมน่ะคือจิตใจของพุทธบริษัททั้งสี่ เรียกง่ายๆว่าเสื่อมเพราะจิตพุทธศาสนิกชนไม่สนใจเอง...
...พระสัทธรรมที่ทรงแสดงเป็นความจริงที่มีอยู่เป็นอนันตกาลไม่เคยเสื่อมหรือสูญหายไปจากโลก...
...เมื่อมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติเกิดขึ้นบนโลกเท่านั้นถึงได้มีการประกาศพระศาสนาขึ้นมาเพื่อสั่งสอน...
...แม้จะทรงท้อพระทัยในคราวแรก แต่ท่านท้าวมหาพรหมก็อาราธนาให้ทรงแสดงธรรมโปรดเวไนย...
:b8: :b8:
:b20:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร