ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

เราจะปฏิบัติธรรมพร้อมกันกับทำงานเลี้ยงชีพได้อย่างไร
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=38933
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  ขณะจิต [ 07 ก.ค. 2011, 20:32 ]
หัวข้อกระทู้:  เราจะปฏิบัติธรรมพร้อมกันกับทำงานเลี้ยงชีพได้อย่างไร

เราจะปฏิบัติธรรมพร้อมกันกับทำงานเลี้ยงชีพในชีวิตจริงได้อย่างไร เมื่อเวลาส่วนใหญ่ในวันหนึ่งเราใช้ทั้งกำลังทั้งความคิดไปกับการทำงาน จนบางท่านแทบไม่มีเวลาพักผ่อน ทุกท่านมีแนวทางอย่างไร หรือกำลังเป็นอยู่ กำลังทำอยู่ด้วยธรรมใด เชิญวิสัชนา สาธุ :b9:

เจ้าของ:  Hana [ 07 ก.ค. 2011, 22:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เราจะปฏิบัติธรรมพร้อมกันกับทำงานเลี้ยงชีพได้อย่างไร

:b4: อิริยาบถ เป็นเรื่องของกาย ภาวนา เป็นเรื่องของใจ นะเจ้าข๊า

เจ้าของ:  ขณะจิต [ 07 ก.ค. 2011, 22:44 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เราจะปฏิบัติธรรมพร้อมกันกับทำงานเลี้ยงชีพได้อย่างไร

ผมใช้วิธี กายขยับ จิตกลับนั่งสมาธิ สติเชื่อมรู้ ปัญญาคู่ตั้งรับ ยังทำไม่ได้ทั้งวันหรอกครับ แต่นานขึ้นเรื่อยๆ ตอนทำแล้วเป็นสุข สันติ onion

เจ้าของ:  student [ 08 ก.ค. 2011, 00:51 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เราจะปฏิบัติธรรมพร้อมกันกับทำงานเลี้ยงชีพได้อย่างไร

ทำงานแล้วเราไม่โกรธและขุ่นเคืองใจผมถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมากในวันนั้น แต่จะเหนื่อยแค่ไหนเราก็ไม่หยุดความเพียรในแต่ละวัน

เจ้าของ:  Tooptien [ 08 ก.ค. 2011, 13:52 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เราจะปฏิบัติธรรมพร้อมกันกับทำงานเลี้ยงชีพได้อย่างไร

ดิฉันจะจับอารมณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างวัน เช่นบางวันที่งานเยอะ ทำไม่ทันก็หงุดหงิด โมโหอยู่ในใจ พอรู้ตัวก็เฝ้าดูอารมณ์นั้นค่อยๆดับได้ แต่จับไม่ได้ทุกอารมณ์หรอกค่ะ รู้สึกตัวได้เฉพาะอารมณ์เด่นๆมากๆเท่านั้น :b12:

เจ้าของ:  ขณะจิต [ 08 ก.ค. 2011, 14:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เราจะปฏิบัติธรรมพร้อมกันกับทำงานเลี้ยงชีพได้อย่างไร

พระศาสดากล่าวว่า " วิริเยนะ ทุกขะมัจเจติ " คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร :b8: สาธุ

เจ้าของ:  janyapinpard [ 08 ก.ค. 2011, 15:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เราจะปฏิบัติธรรมพร้อมกันกับทำงานเลี้ยงชีพได้อย่างไร

การดำเนินไปของชีวิตแต่ละบุคคลเป็นไปตามการสะสม ของกุศลและอกุศล บางทีรู้ว่าอะไรดีอะไรไม่ดีแต่ก็ยังทำเพราะสะสมมาที่จะทำเช่นนั้น...ดังนั้นเราจะปฏิบัติธรรมพร้อมกันกับทำงานเลี้ยงชีพได้อย่างไร...ควรรู้ก่อนแล้วจึงปฏิบัติ...และไม่มีตัวตนที่จะปฎิบัติ...เริ่มด้วยการศึกษาพระธรรมให้เข้าใจก่อนว่าธรรมะคืออะไร กุศลคืออะไรและอกศุลคืออะไร....เพื่อรู้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี..รู้ว่าอะไรไม่ดีจะทำไหมคะ...
เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมจึงเกิดการปฎิบัติโดยไม่มีการทำ

ไฟล์แนป:
profile.gif
profile.gif [ 34.51 KiB | เปิดดู 7540 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ปล่อยรู้ [ 08 ก.ค. 2011, 19:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เราจะปฏิบัติธรรมพร้อมกันกับทำงานเลี้ยงชีพได้อย่างไร

:b8: ...หากเข้าใจว่า การปฏิบัติธรรม
คือการกระทำเพื่อพ้นไปจากทุกข์
การกระทำเพื่อมิให้ทุกข์ปรากฏ
การกระทำเพื่อทำทุกข์ที่ปรากฏขึ้นแล้ว ให้ดับไปไม่เหลือ
ก็จะเข้าใจว่าจะเลี้ยงชีพอย่างไร ถึงจะเรียกว่าเป็นการปฏิบัติธรรมไปในตัว


การดำเนินชีวิตในรูปแบบใดก็ตาม
หากดำเนินแล้วทุกข์ที่ปรากฏขึ้นแล้ว มีการดับไปสิ้นไป
หากดำเนินแล้วทุกข์ยังไม่ปรากฏ ก็ไม่ปรากฏเกิดขึ้น
การดำเนินชีวิตนั้นๆ คือการปฏิบัติธรรมทั้งสิ้นนั้นเอง

แต่หากเข้าใจว่า การปฏิบัติธรรมจะต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
การให้คำจำกัดความ"การปฏิบัติธรรม" ก็เป็นสิ่งที่จะหาขอบเขตได้อยากยิ่ง


มรรคมีองค์แปด อธิบายการปฏิบัติธรรมได้อย่างชัดเจนดีแล้ว
การเลี้ยงชีพอย่างไร ถึงจะไม่เกิดทุกข์
หาเลี้ยงชีพอย่างไร ถึงจะเรียกว่าเป็นการปฏิบัติธรรม... :b8:

เจ้าของ:  อนัตตาธรรม [ 08 ก.ค. 2011, 21:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เราจะปฏิบัติธรรมพร้อมกันกับทำงานเลี้ยงชีพได้อย่างไร

:b37:
เจริญสติ เจริญปัญญา เฝ้ารู้ เฝ้าสังเกต พิจารณา อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ให้ได้ดีๆ ทุกวี่ทุกวัน ทุกภาระและหน้าที่การงาน นี่คือการปฏิบัติธรรมในชีวิตจริง
:b16:

ไฟล์แนป:
Image-146_resize.JPG
Image-146_resize.JPG [ 30.74 KiB | เปิดดู 7509 ครั้ง ]

เจ้าของ:  Hanako [ 09 ก.ค. 2011, 04:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เราจะปฏิบัติธรรมพร้อมกันกับทำงานเลี้ยงชีพได้อย่างไร

กาย วาจา ใจ อยู่ที่ไหน ทำอะไรก็ไรอย่าให้เป็นบาปแค่นั้นเอง
คนเราจะอยู่เฉยๆ นั่งสมาธิทั้งวันคงเป็นไปไม่ได้ จะว่าไปอยู่วัดก็ใช่ไม่มีงาน

ยิ่งปฏิบัติธรรมยิ่งดีแก่งาน

แต่การงานที่เป็นโทษ พระพุทธเจ้าห้ามก็ต้องละ

เจ้าของ:  Soduku [ 09 ก.ค. 2011, 08:35 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เราจะปฏิบัติธรรมพร้อมกันกับทำงานเลี้ยงชีพได้อย่างไร

คติการดำเนินชีวิตการทำงานและเป็นสุขในการทำงานทุกเมื่อ

:b47: งานคือชีวิต ชีวิตคืองาน
:b47: ชีวิตที่ดี คือชีวิตที่ได้ทำหน้าที่การงานที่ดี (สัมมาอาชีโว เป็นหนึ่งในหนทางสู่มรรคผลนิพพาน)
:b47: เวลาที่มีในชีวิตเหมือนพยัพแดด ไม่ควรประมาทในการทำหน้าที่การงานที่ดีเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น
:b47: หนทางรักษาตนและผู้อื่นได้ดีคือทำหน้าที่ให้ดีที่สุดในขณะนี้และเดี๋ยวนี้ด้วยสติ
:b47: การทำงานต้องอาศัยทั้งกายและใจเป็นเครื่องมือจึงควรระมัดระวังรักษากายและใจตน
:b47: เหนื่อยก็พัก เจ็บป่วยก็รักษา อย่าฝืน
:b47: ยาช่วยรักษากาย ธรรมช่วยรักษาใจ
:b47: คิดดี พูดดี ทำดี ผลงานที่ได้ก็จะมีแต่สิ่งดี ตามกฏแห่งกรรม
:b47: อย่าประมาทกิเลส ทันทีที่ใจเผลอมันจะเข้าแทรก มีสติไล่ให้ทัน กรองกิเลสทิ้งไปใจจะผ่องใสทำงานได้ผลดี
:b47: มีชีวิตการงานแบบพอเพียง อยู่อย่างสมดุลตามหลักมัชฌิมา สันโดษพอใจในสิ่งที่มี ชีวีจะเป็นสุข
:b47: เพียรเสริมสร้างสิ่งที่เป็นกุศล - ลดละสิ่งที่เป็นอกุศล ชีวิตการงานก็จะก้าวหน้าสำเร็จตามประสงค์

:b44: :b44: ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม :b44: :b44: ....สาธุ :b53: :b8:

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 11 ก.ค. 2011, 19:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เราจะปฏิบัติธรรมพร้อมกันกับทำงานเลี้ยงชีพได้อย่างไร

ขณะจิต เขียน:
เราจะปฏิบัติธรรมพร้อมกันกับทำงานเลี้ยงชีพในชีวิตจริงได้อย่างไร เมื่อเวลาส่วนใหญ่ในวันหนึ่งเราใช้ทั้งกำลังทั้งความคิดไปกับการทำงาน จนบางท่านแทบไม่มีเวลาพักผ่อน ทุกท่านมีแนวทางอย่างไร หรือกำลังเป็นอยู่ กำลังทำอยู่ด้วยธรรมใด เชิญวิสัชนา สาธุ :b9:


ไม่เป็นปัญหาอะไรนี่ขอรับ ทำงานเลี้ยงชีพ ก็ทำงานเลี้ยงชีพ ปฏิบัติธรรม ก็ปฏิบัติธรรม ว่างก็ปฏิบัติธรรม ไม่ว่างก็เว้นไปก่อน เพราะขณะเราทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน ก็เป็นการปฏิบัติธรรมอยู่แล้ว เพียงแค่เรามีสติ,สัมปชัญญะอยู่เสมอ ก็เป็นการปฏิบัติธรรมด้วย กาย วาจา และใจ
แต่ถ้าจะปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุนิพพาน ก็ต้องใช้เวลาที่ว่างเช่นก่อนนอน ว่างก็ปฏิบัติ ไม่ว่างเหนื่อย ก็นอนหลับ ข้าพเจ้าก็ทำมาร่วม 30 (สามสิบปี) แล้ว ทุกวันนี้ ก็ทำงานเลี้ยงชีพ ว่างก็ปฏิบัติธรรม วิจัย ค้นคว้า ในเรื่องต่างๆมากมาย บางทีก็ผิดพลาด ก็แก้ไขกันไป ส่วนใหญ่ได้ผลดีเยี่ยม
ที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงการปฏิบัติธรรมเป็นสองแบบ ก็เพราะ การปฏิบัติธรรมมีสองแบบจริงขอรับ

เจ้าของ:  ปฤษฎี [ 13 ก.ค. 2011, 01:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เราจะปฏิบัติธรรมพร้อมกันกับทำงานเลี้ยงชีพได้อย่างไร

เพียงแต่ประกอบอาชีพด้วยการไม่เบียดเบียนใครก็เป็นสัมมาอาชีพแล้วครับ
เห็นคุณขณะจิตปฏิบัติตามแนวหลวงพ่อเทียน
ซึ่งน่าจะเป็นเป็นการฝึกสติระลึกรู้การเคลื่อนไหว

พระสูตรด้านล่างนี้ว่าด้วยเรื่องของ อนุสสติ ซึ่งพระอานนท์ได้ตอบพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อนุสสติมี ๕ ประการ หลังจากพระอานนท์ตอบเสร็จแล้ว พระบรมศาสดาได้บอก อนุสสติข้อที่ ๖ แก่พระอานนท์

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอุทายีมาถามว่า ดูกรอุทายีอนุสสติมีเท่าไรหนอแล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้วท่านพระอุทายีได้นิ่งอยู่ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอุทายีแม้ครั้งที่ ๒ ว่าดูกรอุทายี อนุสสติมีเท่าไรหนอแล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้วท่านพระอุทายีได้นิ่งอยู่ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอุทายีแม้ครั้งที่ ๓ ว่าดูกรอุทายี อนุสสติมีเท่าไรหนอแล แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีก็ได้นิ่งอยู่ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ดูกรท่านอุทายี พระศาสดาตรัสถามท่าน ท่านพระอุทายีได้กล่าวว่า

ดูกรท่านอานนท์ ผมได้ยินพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอยู่ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคต่อไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติ ฯ

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เราได้รู้แล้วว่า อุทายีภิกษุนี้เป็นโมฆบุรุษ ไม่เป็นผู้ประกอบอธิจิตอยู่ แล้วตรัสถามท่านพระอานนท์ต่อไปว่า ดูกรอานนท์ อนุสสติมีเท่าไรหนอแล ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนุสสติมี ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุขข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมทำอาโลกสัญญาไว้ในใจ ย่อมตั้งสัญญาว่าเป็นกลางวันอยู่เธอกระทำอาโลกสัญญาว่ากลางวันไว้ในใจ ฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจปลอดโปร่ง อันนิวรณ์ไม่พัวพัน ย่อมเจริญจิตที่มีความสว่างด้วยประการฉะนี้ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญนี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังห่อหุ้มเต็มด้วยสิ่งไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูกเยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อยอาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุ เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามราคะ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงเห็นสรีระเหมือนถูกทิ้งไว้ในป่าช้าตายแล้ว วันหนึ่ง สองวันหรือสามวัน พองขึ้น มีสีเขียวพราว มีหนองไหลออกเธอย่อมน้อมซึ่งกายนี้เข้าไปเปรียบอย่างนี้ว่า กายแม้นี้แลย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ อนึ่ง พึงเห็นสรีระเหมือนถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ฝูงกา นกตะกรุม แร้ง สุนัข สุนัขจิ้งจอกหรือสัตว์ปาณชาติต่างๆ กำลังกัดกิน เธอย่อมน้อมกายนี้เข้าไปเปรียบอย่างนี้ว่า กายแม้นี้แล ย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ อนึ่ง พึงเห็นสรีระเหมือนถูกทิ้งไว้ในป่าช้า มีโครงกระดูกมีเนื้อและเลือด มีเอ็นเป็นเครื่องผูก มีโครงกระดูก ไม่มีเนื้อ และเลือดมีเอ็นเป็นเครื่องผูก มีโครงกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือด มีเอ็นเป็นเครื่องผูกเป็นท่อนกระดูก ปราศจากเครื่องผูก เรี่ยรายไปตามทิศต่างๆ คือ กระดูกมือทางหนึ่ง กระดูกเท้าทางหนึ่ง กระดูกแข้งทางหนึ่ง กระดูกขาทางหนึ่ง กระดูกเอว ทางหนึ่ง กระดูกสันหลังทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะทางหนึ่ง เธอย่อมน้อมกายนี้แลเข้าไปเปรียบ อย่างนี้ว่า กายแม้นี้แล ย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็น อย่างนั้นไปได้ อนึ่ง พึงเห็นสรีระเหมือนถูกเขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นกระดูกมีสีขาวเหมือนสีสังข์ เป็นท่อนกระดูก เรี่ยราด เป็นกองเกินหนึ่งปี เป็นท่อนกระดูกผุ เป็นจุรณ เธอย่อมน้อมกายนี้ เข้าไปเปรียบอย่างนี้ว่า กายแม้นี้แล ย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้นไม่ล่วง พ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอัสมิมานะ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้บริสุทธิ์อยู่ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อแทงตลอดซึ่งธาตุหลายประการ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนุสสติ ๕ ประการนี้แล ฯ

พ. ดีละ ดีละ อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงจำอนุสสติข้อที่ ๖ แม้นี้คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ มีสติยืนอยู่ มีสตินั่งอยู่ มีสตินอน มีสติประกอบการงาน ดูกรอานนท์ นี้เป็นอนุสสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ ฯ


มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ มีสตินั่งอยู่ มีสตินอน และมีสติประกอบการงาน
จะเห็นว่าการประกอบกิจการงานใดใดก็เป็นที่ตั้งของสติได้เช่นกัน

พระสูตรนี้เข้าใจว่าเป็นเพราะพระอานนท์มีกิจการงานมาก พระบรมศาสดาจึงได้ตรัสอนุสสติข้อที่ ๖ นี้ไว้

เพราะฉะนั้น ถ้าคุณขณะเจริญสติเป็นประจำอยู่แล้ว ก็เพียงมีสติระลึกรู้งานที่ทำเพิ่มเข้ามาครับ

เจ้าของ:  ขณะจิต [ 13 ก.ค. 2011, 12:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เราจะปฏิบัติธรรมพร้อมกันกับทำงานเลี้ยงชีพได้อย่างไร

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  เจโตวิมุติ [ 16 ก.ค. 2011, 23:53 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เราจะปฏิบัติธรรมพร้อมกันกับทำงานเลี้ยงชีพได้อย่างไร

:b42: การตามรู้อารมร์จิต ให้ทัน และดับอารมณ์จิตที่เป็นอกุศลเสียได้ ไม่ว่าเวลาใด ทำอะไร อยู่ที่ไหน นั่นแหละปฏิบัติธรรมแล้ว สมบุณร์ตาม ตามความหมายของการปฏิบัติธรรม แยบคายกว่าเพราะวางรูปแบบลงแล้ว.......เจโตวิมุติ/

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/