ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ขอคำอธิบายเรื่อง "วิญญาณฐิติ ๗" ครับ
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=39348
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  chanatip [ 28 ส.ค. 2011, 21:53 ]
หัวข้อกระทู้:  ขอคำอธิบายเรื่อง "วิญญาณฐิติ ๗" ครับ

วิญญาณฐิติ ๗ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน
เช่นพวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก พวกวินิปาติกะบางพวก นี้วิญญาณฐิติข้อ
ที่หนึ่ง
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่าง
เดียวกัน เช่นพวกเทพผู้นับเนื่องในพวกพรหมซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน นี้วิญญาณ-
*ฐิติข้อที่สอง ฯ
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญา
ต่างกัน เช่นพวกเทพเหล่าอาภัสสระ นี้วิญญาณฐิติข้อที่สาม ฯ
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญา
อย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพเหล่าสุภกิณหา นี้วิญญาณฐิติข้อที่สี่ ฯ
๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วย
มนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะ
ดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา นี้วิญญาณฐิติข้อที่ห้า ฯ
๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดย
ประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
นี้วิญญาณฐิติข้อที่หก ฯ
๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดย
ประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร นี้วิญญาณ-
*ฐิติข้อที่เจ็ด ฯ

-----------------------------------------------------------------------------

ขอคำอธิบายจากผู้รู้ด้วยครับ อย่างคำว่าสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน
หมายความว่าอย่างไรครับ

เจ้าของ:  นายฏีกาน้อย [ 30 ส.ค. 2011, 00:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขอคำอธิบายเรื่อง "วิญญาณฐิติ ๗" ครับ

อากิญจัญญายตนภูมิ
วิญญาณัญจายตนภูิมิ
อากาสานัญจายตนภูมิ


(((((อกนิฐฐา)))))
(((((((สุทัสสี))))))
((((((สุทัสสา))))))
((((((อตัปปา))))))
(((((((อวิหา)))))))

เวหัปผลา อสัญญสัตตา

ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกินหา
ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา
ปริสัชชา ปุโรหิตา มหาพรหมา


ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ
นิมมานรตีภูมิ
ดุสิตาภูมิ
ยามาภูมิ
ตาวติงสาภูมิ
จาตุมหาราชิกาภูมิ

-------------- มนุสสภูมิ ----------------

----- นิรยภูมิ เปตติวิสัยภูมิ อสุรภูมิ ติรัจฉานภูมิ -----




อ้างคำพูด:
วิญญาณฐิติ ๗ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน
เช่นพวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก พวกวินิปาติกะบางพวก นี้วิญญาณฐิติข้อ
ที่หนึ่ง

ตั้งแต่ปรนิมมิตวสวัตตีลงมาจรดถึงอบายภูมิ เป็นพวกที่มีกาย คือลักษณะอาการยืนเดิน นั่ง นอน คู้เหยียดท่าน(อัฏฐกถาจารย์) จัดว่าแม้แต่พี่น้องฝาแฝดที่มี รูปร่างเหมือนกัน ก็ยังมีลักษณะอาการทางกายต่างกัน ในกามวาจรภูมิ ๑๑ ได้แก่ มนุสสภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖ อบายภูมิ ๔ จัดเป็นจำพวกกายต่างกัน และสัญญาคือ การปฏิสนธิสัญญาต่างกัน ท่านไม่ใช่คำว่าวิญญาณ ใช่คำว่าสัญญา บอกลักษณะของการปฏิสนธิจิตแทนด้วยคำว่า สัญญา คือในวิญญาณฐิติ ที่ตั้งสถานที่ปฏิสนธิวิญญาณ ในข้อนี้ ที่มีกายต่างกันสัญญาต่างกัน คือจำพวกเฉพาะพวกนี้เท่านั้น ที่ว่าบางจำพวกคือ บางพวกเป็นติเหตุกะ (อโลภะ อโทสะ อโมหะ มีโอกาสตรัสรู้อริยสัจธรรมในปัจจุบันชาติ) บางจำพวกเป็นทุเหตุกะหรือทวิเหตุกะ (สองเหตุ อโลภะ อโทสะ แต่ขาดอโมหะคือไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นปทปรมะบุคคลไม่มีโอกาสรู้แจ้งอริยสัจธรรมในปัจจุบัน ต้องสะสมเหตุปัจจัยต่อไปในวาระอื่นๆ)

ในหมู่มนุษย์ ก็มีมนุษย์บางคนมีปัญญา ประกอบสุจริตทางกายวาจาใจ จึีงมีการกระทำทางกายต่างกัน จึงมีสัญญาต่างกัน ส่วนพวกมนุษย์ที่มีสัญญา มีเจตนาประกอบทุจริตทางกายวาจาใจ จึงมีกายต่างจากพวกสุจริต ท่านจึงว่าต่างกันด้วยกรรม มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน

อ้างคำพูด:
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่าง
เดียวกัน เช่นพวกเทพผู้นับเนื่องในพวกพรหมซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน นี้วิญญาณ-
*ฐิติข้อที่สอง ฯ

พรหมในชั้น ปฐมฌานภูมิ ได้แก่ สีน้ำเงิน กายต่างกันเพราะกำลังของความประณีตแห่งฌานจิต ในมหัคคตจิต เช่น ปาริสัชชาพรหม มีความประณีตละเอียดต่ำสุดในบรรดาพรหมทั้ง ๓ ในชั้นปฐมฌาน ปุโรหิตมีความประณีตของอำนาจฌานอย่างกลาง มหาพรหมมีกำลังของฌานประณีตที่สุดสูงที่สุดในบรรดา ปฐมฌานภูมิ ความประณีตละเอียดต่างกัน ท่านจึงกำหนดว่า มีกายต่างกัน แต่มีสัญญา คือปฏิสนธิวิญญาณ หรือสัญญา ในที่นี้คือสัญญาใน ปฐมฌานภูมินั่นเองเป็นอย่างเดียวกัน

มีข้อแตกต่างและพึ่งจดจำสักนิดตรง ท่านจัดเอาอายุของพรหมในชั้นนี้ ๑/๓, ๑/๒, ๑ กัป ตามลำดับ ท่านกำหนดว่าคือกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกันคือ ความสามารถในการเข้าถึงปฐมฌาน

อัฏฐกถาจารย์ท่านจัด สัตว์ในอบาย ๔ เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒ มีกายต่างกัน มีสัญญา(อเหตุกอกุศลวิบาก)เป็นอย่างเดียวกัน แม้สัตว์เดรัจฉานก็มีกายต่างๆ กัน บางสัตว์บางจำพวกประณีตกว่าสัตว์บางจำพวกที่หยาบกว่า บางพวกกินเนื้อ บางพวกกินพืช มีกรรมทางการกระทำเป็นไปต่างๆ ล้วนเป็นไปตามกรรมและวิบากกรรม ท่านจึงกล่าวว่า มีกายต่างกัน มีสัญญาเป็นอย่างเดียวกันดังนี้ ^^

อ้างคำพูด:
พึงทราบว่า นานตฺตกายา เอกตฺตสญฺญิโน เพราะมีกายต่างกัน มีสัญญาเป็นอันเดียวกัน ด้วยอำนาจปฐมฌาน. สัตว์ในอบาย ๔ ก็เหมือนกับพรหมเหล่านั้น.

จริงอยู่ ในนรกทั้งหลาย สัตว์บางพวกมีอัตภาพคาวุตหนึ่ง บางพวกกึ่งโยชน์ บางพวกโยชน์หนึ่ง แต่ของพระเทวทัต ๑๐๐ โยชน์. แม้ในบรรดาสัตว์เดียรัจฉาน บางพวกเล็ก บางพวกใหญ่ แม้ในปิตติวิสัยบางพวก ๖๐ ศอก บางพวก ๘๐ ศอก บางพวกมีพรรณดี บางพวกมีพรรณทราม. พวกกาลกัญชกอสูรก็เหมือนกัน.

อีกอย่างหนึ่ง ในพวกอสูรเหล่านั้น ชื่อว่าทีฆปิฏฐิกอสูร ๖๐ โยชน์ ก็สัญญาของอสูรทั้งหมด เป็นอกุศลวิบากอเหตุกะ. ดังนี้ สัตว์ผู้เกิดในอบายย่อมนับว่ามีกายต่างกัน มีสัญญาเป็นอันเดียวกัน.
-------------------------------------------------------------------
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ มหายัญญวรรคที่ ๕
๑. จิตตสูตร มหายัญญวรรคที่ ๕




อ้างคำพูด:
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญา
ต่างกัน เช่นพวกเทพเหล่าอาภัสสระ นี้วิญญาณฐิติข้อที่สาม ฯ

พรหมในชั้น [ทุติยฌานภูมิ] ได้แก่ ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา หลังจากผู้บำเพ็ญวิโมกข์ เจริญสมถะกรรมฐาน ต่อจากปฐมฌานมาถึงทุติยฌาน องค์ธรรมที่ละไปเสมือนเป็นของหนักของถ่วงคือ องค์ของวิตก การยังบริกรรม ยังลูบคลำนิมิตต่างๆ ทำให้จิตยังไม่ละเอียดจึงทำการละวิตกลงไป เพราะการละวิตกลงไปทำให้ เกิดความประณีตละเีอียดยิ่งขึ้น ท่านจึงจำแนกวิญญาณฐิติในข้อที่ ๓ นี้ว่ามีกายอย่างเดียวกันคือ มีกำลังของฌานในทุติยฌาน ซึ่งแตกต่างจากในปฐมฌาน เพราะในวิญญาณฐิติข้อ ๒ ท่านหมายเอา ตัวองค์ฌานเป็นสัญญา แล้วเอาความละเอียดประณีตของกำลังสมาธิเป็นกายแทน

แต่ในวิญญาณฐิติข้อ ๓ นี้ท่านเอา ทุติยฌาน กล่าวรวมว่าเป็นกาย แล้วเอา สมาธิที่ละวิตกบ้างยังมีวิจารอยู่ หรือละทั้งวิตกและวิจารเสียในคราวเดียว ว่ามีสัญญาต่างกัน ดังนั้นวิญญาณฐิติในข้อนี้จึงมีกาย(ฌาน ๒) อย่างเดียวกัน แต่มีสัญญา (ละวิตกยังมีวิจารก็มี ละวิตกละวิจารด้วยก็มี)ต่างกันดังนี้ ^^


อ้างคำพูด:
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญา
อย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพเหล่าสุภกิณหา นี้วิญญาณฐิติข้อที่สี่ ฯ

พรหมชั้นตติยฌานภูมิ ในวิญญาณฐิติข้อ ๔ ได้แก่ ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา เช่นกัน กายอย่างเดียวกันเพราะมีกำลังของฌาน สงเคราะห์เหมือนวิญญาณฐิติข้อ ๓ หรือในทุติยฌานว่ามีกายอย่างเดียวกัน ท่านให้พึ่งทราบว่ามีกายอย่างเดียวกันเพราะอายุกัป ๑๖,๓๒,๖๔ ตามลำดับ(อำนาจฌาน) และมีสัญญาเป็นอย่างเดียวกันใน จตุตถฌาน (อุเบกขา เอกัคคตา) ด้วยสามารถการเข้าถึงจตุตถฌาน เวหัปผลาพรหม ก็สงเคราะห์เข้าในวิญญาณฐิติที่ ๔ นี้เช่นเดียวกัน

ส่วนอสัญญาสัตตาพรหมสงเคราะห์เข้าในสัตตวาส ๙ ไม่นับลงในวิญญาณฐิติ ๗ แต่ถ้าจะสงเคราะห์ลงในวิญญาณฐิติ ก็ได้แก่จตุตถฌาน หรือวิญญาณฐิติที่ ๔ นี้เอง (((เวหัปผลา - อกนิฏฐา))))^^

อ้างคำพูด:
๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วย
มนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะ
ดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา นี้วิญญาณฐิติข้อที่ห้า ฯ

เข้าอรูปพรหมแล้วนะครับ พึ่งศึกษาได้จาก link พระสูตรอัฏฐกถาแนบท้าย ในอากาสานัญจายตนภูมิ หรือวิญญาณฐิติที่ ๕ นี้ คือ ไม่มีรูปสัญญาแล้ว ผู้เจริญสมถะกรรมฐาน อบรมวิโมกข์มาตามลำดับ พอมาถึงฌานที่ ๔ มีอุเบกขา และเอกัคคตาในปัญจกนัย พอขึ้นอรูปฌาน เพิ่งถอน หรือบาลีกล่าวว่า ล่วงรูปสัญญา คือพ้นมาจากการปฐมฌาน ล่วงเข้าทุติยฌาณพ้นทุติยฌาน ล่วงเข้าตติยฌานพ้นตติยฌาน ล่วงเข้าจตุตถฌานพ้นจตุถฌาน ล่วงรูปฌานทั้งหมด โดยล่วงหรือเพิกสัญญาในรูปมี การกำหนดนิมิตต่างๆ ฯลฯ ลงคือก้าวล่วง ดับปฏิฆสัญญา พอใจไม่พอใจ คือ ดับความกระทบกระทั่งใน ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ(การถูกต้องสัมผัส)

ไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาคือ ล่วงเฉพาะรูปาวจรทั้งหมด(ฌาน ๔) ดับปฏิฆสัญญา หรือทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ (กุศล ๕ อกุศล ๕)นี้คือดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา สัญญาต่างๆ ทั้งรูป ทั้งปฏิฆะ หรือไม่พิจารณาจิตเจตสิก ในสัญญา ๔๔ หรือกามาวจรจิต ๕๔ เว้น ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ (กุศล ๕ อกุศล ๕)นั่นเอง กำหนดพิจารณาแต่ เช่น

อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้
เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการ
ทั้งปวง นี้เรียกว่าอากาสานัญจายตนฌาน


วิญญาณฐิติข้อที่ ๕


อ้างคำพูด:
๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดย
ประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
นี้วิญญาณฐิติข้อที่หก ฯ


ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าวิญญาณัญจายตน
ฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌาน
เสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าวิญญาณัญจายตนฌาน


วิญญาณฐิิติข้อที่ ๖

อ้างคำพูด:
๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดย
ประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร นี้วิญญาณ-
*ฐิติข้อที่เจ็ด ฯ


ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอากิญจัญญายตน
ฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน
เสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าอากิญจัญญายตนฌาน


วิญญาณฐิติข้อที่ ๗

ขอเจริญพร ^^


ศึกษาเพิ่มเติม
http://www.84000.org/tipitaka/read/?23/41/41
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=41
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 846&Z=7183

เจ้าของ:  student [ 30 ส.ค. 2011, 03:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขอคำอธิบายเรื่อง "วิญญาณฐิติ ๗" ครับ

อนุโมทนาครับ

เจ้าของ:  นายฏีกาน้อย [ 25 ต.ค. 2011, 11:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขอคำอธิบายเรื่อง "วิญญาณฐิติ ๗" ครับ

ต้องขอ อภัยต่อผู้รู้และกัลยาณมิตรทุกๆ ท่านด้วยนะครับ
เหตุเพราะได้ประมาท อยู่๒ จุด กล่าวคือ

๑ พิมพ์ตติยฌานซ้ำ ดังจะได้แสดงที่เพื่อนกัลยาณมิตรทักท้วง
(จากลานธรรมเสวนา ขออนุโมทนาขอบคุณโยมพี่ WATT ด้วย)
๒ วิญญาณฐิติที่ ๑ คำว่า วินิปาติกสัตว์บางพวกตรงนี้
อัฏฐกถาจารย์ หมายถึง

บทว่า เอกจฺเจ จ วินิปาติกา ความว่า สัตว์ผู้พ้นจากอบาย ๔ มีอาทิอย่างนี้คือ อุตตรมาตายักขิณี ปิยังกรมาตายังขิณี ผุสสมิตตายักขิณี ธัมมคุตตายักขิณี และเวมาณิกเปรตเหล่าอื่น.
------------------------------------------------------------
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ มหายัญญวรรคที่ ๕
๑. จิตตสูตร มหายัญญวรรคที่ ๕


วินิปาติกสัตว์บางพวก หมายถึงเปรตบ้าง ยักษ์และอสูรกายบ้าง
บางจำพวกที่มี ติเหตุกะสัญญา คือสามารถบรรลุธรรมได้เช่น
ปิยังกรมาตายักขิณี อ่าน link http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 741&Z=6753
นางสำรวมศีลฟังธรรมจนพ้นจากอบาย หรือกำเนิดยักษ์ ฯลฯ

ต้องขออภัยในความประมาทสะเพ่ามา ณ ที่นี้ด้วยและได้เข้า
ไปแก้ไข ตติยฌานในวิญญาณฐิติีที่ ๒ เป็น ทุติยฌานแล้ว
และขอให้ทำความเข้าใจเพิ่มเติม ในวิญญาณฐิติที่ ๑ นับจาก
ปรนิมมิตวสวัตตีถึงอบายภูมิ ที่แสดงความเห็นไปข้างต้น ในจำ
พวกวินิปาติกสัตว์นั้นก็รวมอยู่ในอบาย แต่เว้น วินิปาติกสัตว์บางจำพวก
ซึ่งบางจำพวกที่ เป็นติเหตุกะสัญญา ประกอบด้วยปัญญานั่นเอง

ต้องขออภัยด้วยนะครับ เบื้องต้นกล่าวรวมๆ โดยไม่ได้แยกไว้
พอดีไปตั้งคำถาม ทำการศึกษาวิญญาณฐิติรวมกันในกระทู้ที่
ลานธรรมเสวนา เลยพบข้อผิดข้อพลาด เป็นเหตุให้ได้มา
แสดงความประมาทสะเพ่าต่อ ทุกๆ ท่าน ขอเจริญพร ^^


[quote name='watt' date='19/10/2011 - 11:38' timestamp='1318999100' post='778871']
:09: :09: :09: นมัสการพระคุณเจ้า

:09: พี่เภ และ กัลยาณมิตร

WATT เข้าไปอ่านตามที่คุณ Ludwig link ไว้ให้


อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญา
ต่างกัน เช่นพวกเทพเหล่าอาภัสสระ นี้วิญญาณฐิติข้อที่สาม ฯ


พรหมในชั้น ตติยฌานภูมิ ได้แก่ ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา


ส่วนที่ WATT ขีดเส้นใต้ไว้เข้าใจว่าพระคุณเจ้าน่าจะพิมพ์ผิด
ตามความเข้าใจน่าจะเป็นคำว่า ทุติยฌานภูมิ
หากถูกต้องดีแล้ว ขออภัยด้วยครับ
[/quote]

เจ้าของ:  govit2552 [ 25 ต.ค. 2011, 17:23 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขอคำอธิบายเรื่อง "วิญญาณฐิติ ๗" ครับ

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  ปล่อยรู้ [ 26 ต.ค. 2011, 07:39 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขอคำอธิบายเรื่อง "วิญญาณฐิติ ๗" ครับ

:b8: ขออนุญาตมองวิญญาณในรูปแบบที่ร่างกายเนื้อนี้ยังไม่แตกสลาย :b1:


วิญญาณฐิติ ๗ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน
เช่นพวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก พวกวินิปาติกะบางพวก นี้วิญญาณฐิติข้อ
ที่หนึ่ง...

:b45: บุคคลโดยทั่วไป ที่จิตหรือวิญญาณ ที่ไม่ได้รู้อยู่บทฐานของฌานใดๆ


๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่าง
เดียวกัน เช่นพวกเทพผู้นับเนื่องในพวกพรหมซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน นี้วิญญาณ-
*ฐิติข้อที่สอง ฯ...

:b45: จิตหรือวิญญาณของผู้ที่กำลังเจริญสมาธิ รู้อยู่บทฐานปฐมฌาน


๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญา
ต่างกัน เช่นพวกเทพเหล่าอาภัสสระ นี้วิญญาณฐิติข้อที่สาม ฯ

:b45: จิตหรือวิญญาณของผู้ที่กำลังเจริญสมาธิ รู้อยู่บทฐานทุติยฌาน ตติยฌาน


๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญา
อย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพเหล่าสุภกิณหา นี้วิญญาณฐิติข้อที่สี่ ฯ...

:b45: จิตหรือวิญญาณของผู้ที่กำลังเจริญสมาธิ รู้อยู่บทฐานจตุถฌาน


๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วย
มนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะ
ดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา นี้วิญญาณฐิติข้อที่ห้า ฯ

:b45: จิตหรือวิญญาณของผู้ที่กำลังเจริญสมาธิ รู้อยู่บทฐานอากาสานัญจายตนะฌาน


๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดย
ประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
นี้วิญญาณฐิติข้อที่หก ฯ...

:b45: จิตหรือวิญญาณของผู้ที่กำลังเจริญสมาธิ รู้อยู่บนฐานวิญญาณัญจายตนะฌาน


๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดย
ประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร นี้วิญญาณ-
*ฐิติข้อที่เจ็ด ฯ...

:b45: จิตหรือวิญญาณของผู้ที่กำลังเจริญสมาธิ รู้อยู่บทฐานอากิญจัญญาจายตนะฌาน


ลองเปรียบเทียบองค์ประกอบของแต่ละฌานดูครับว่า มีความแตกต่างกันอย่างไร
จะทำให้เข้าใจถึงธรรมชาติของสิ่งที่เรียกว่าวิญญาณในลักษณะที่ร่างกายเนื้อหนังที่ยังไม่แตกสลาย
ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ครับ

จิตหรือวิญญาณที่ทำหน้าที่รู้ ในขณะที่ร่างกายเนื้อหนังนี้ยังไม่แตกสลาย
ก็ทำหน้าที่รู้อยู่บนฐานสมาธิทั้งเจ็ดขั้น ดังที่พระพุทธเจ้าทรงชี้แสดงนั้นแหละ ครับ :b8:

เจ้าของ:  นายฏีกาน้อย [ 26 ต.ค. 2011, 09:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ขอคำอธิบายเรื่อง "วิญญาณฐิติ ๗" ครับ

น่าจะไม่มีใครเข้าใจว่า วิญญาณต้องแตกสลาย
จากกายเนื้อ ในเรื่องวิญญาณฐิตินะครับหรือว่ามีไปเอง ^^

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/