ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

คุณสมบัติของผู้สอนธรรมที่ดี
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=39371
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  jedrapus [ 30 ส.ค. 2011, 14:09 ]
หัวข้อกระทู้:  คุณสมบัติของผู้สอนธรรมที่ดี

การปฏิบัติตนเป็นผู้สอนธรรมะที่ดี มนุษย์คนเราเกิดมาทั้งที มีความตั้งใจที่จะสร้างความดี เมื่อเกิดมาบนโลกมนุษย์แล้ว ความคิดมักจะเปลี่ยนแปลงไป คนดีมีเมตตามีไม่มาก เมื่อตนเองได้ดีมีวาสนา มักจะลืมคุณค่าของตัวตน ดิ้นรนเพื่อให้ตนเองอยู่ได้โดยไม่มองและนึกถึงเหตุผล นำพาชีวิตสร้างความเป็นใหญ่ ลืมตัวตนว่า คนเราเกิดมาเพื่อสร้างความดีและมีเมตตา เป็นความเมตตาแบบมีประสิทธิภาพ เมตตาด้วย จิตที่บริสุทธิ์ จึงเป็นตัวอย่างของผู้คิดจะทำความดี และ มีความดีได้ชัดเจน โดยควรจะรู้ตนเองว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร จึงจะเรียกว่า ดีด้วยจิต หมายถึงความดีที่เป็นนิสัยพฤติกรรมที่แท้จริง(ธาตุแท้)
มนุษย์ทุกคนพระพุทธเจ้าให้ธาตุ ฟ้าดินให้สังขาร ลงมาเกิดเพื่อดำเนินจิต ด้วยการใช้ชีวิตที่เหมาะสมในการเป็นคนดี และ มีความเมตตาในการสั่งสอน บุคคลที่กำลังสร้างความดีในเมื่อเลือกที่จะ “ปฏิบัติตนเป็นผู้นำทางในการสั่งสอนเรื่อง ความดี” ก็จงมีความเมตตาเป็นที่ตั้ง พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้มนุษย์และบุคคลทั้งหลายได้แสดงเจตนาถึงความรู้สึกนั้น สิ่งใดที่ถูกต้อง ถูกทำนองคลองธรรม ก็ควรจะชื่นชมด้วยความยินดี สิ่งใดที่ขัดต่อการปฏิบัติในการเป็นคนดีมีความเมตตา ก็จงสั่งสอนชี้ทางในการสร้างความดี ให้ชัดเจนและเข้าใจว่าต้องปฏิบัติตนอย่างไร
มนุษย์ผู้ใดปฏิบัติและมองเห็นสิ่งใดๆได้อย่างชัดเจน โดยสามารถมองย้อนไปในอดีตจนไปถึงอนาคต ล่วงรู้เหตุการณ์ทุกอย่างได้ล่วงหน้า น่าจะเป็นบุคคลที่ชี้ทางแก่มนุษย์ทั้งหลายให้มีความเจริญเกิดขึ้น มนุษย์ลักษณะอย่างนี้น่าจะเป็นผู้สร้างความดีได้ในแบบถาวร พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เกิดมาแล้วสร้างความยิ่งใหญ่แก่ตนเองในทางลบ ความยิ่งใหญ่ในทางที่ถูกต้องคือ การให้ความเมตตาในการชี้ทาง ในการสั่งสอน แก่มนุษย์ทั้งหลายที่ไม่รู้หรือไม่เคยรู้ธรรม โดยผู้ที่จะสร้างความดีในการเป็นผู้สอนนั้น จะต้องไม่ยึดติดกับคำว่า ความยิ่งใหญ่ เหนือกว่าใคร หรือ ดีกว่าใคร
ผู้ที่จะสร้างความดีด้วยบุญกุศลดังกล่าวนี้ ต้องสามารถยอมรับและให้โอกาสบุคคลทั้งหลายได้โดยไม่มีการแบ่งแยกระดับชั้นวรรณะ ตลอดไปจนถึงแม้กระทั่งสรรพสิ่งวิญญาณทั้งหลายในทุกระดับจิต โดยเป็นผู้สอนหรือผู้ชี้ทางที่ดี ที่ไม่มีคำว่าปฏิเสธ เลย สามารถให้โอกาสผู้ที่ต้องการจะได้รับการสั่งสอนเสมอ ผู้สอนธรรมะที่ดีที่แท้จริงแล้ว ก็ต้องการให้คำสอนของตนแก่ผู้อื่นได้นำไปปฏิบัติในทางที่ดีและสร้างกุศลด้วยจิตที่บริสุทธิ์ และในขณะเดียวกันผู้สอนก็ต้องมีจิตที่บริสุทธิ์เช่นเดียวกัน ผู้สอนควรมีการตรวจสอบตัวตนอยู่เสมอว่า ได้สร้างความดีด้วยจิตที่บริสุทธิ์และเพียบพร้อมแล้วหรือยัง หรือเป็นแค่การสร้างภาพลักษณ์ภายนอกให้ดูดี แต่ในความเป็นจริงยังขาดคุณธรรมในจิต ยังขาดความเมตตาหรือการให้โอกาส ฉะนั้นฟ้าดินก็ไม่ถือว่าเป็นการสร้างความดี (การสร้างความดีในแบบผู้สอนธรรมะที่ดีคือการมีเมตตา การให้โอกาส และการให้อภัย)
มนุษย์ผู้ใดที่จะสร้างความดี แต่ขาดความมีเมตตา ขาดพรหมวิหาร มนุษย์ผู้นั้นก็ไม่ได้ชื่อว่าเป็นผู้บรรลุในความดี อันเป็นการเข้าสู่ภูมิธรรมขั้นพระอรหันต์ ผู้ที่มีภูมิธรรมขั้นพระอรหันต์หรือนิพพานขั้นต้นนั้น ต้องฝึกจิตและเป็นจิตที่ดีด้วยนิสัยพื้นฐาน หรือความดีที่แท้จริง ความดีที่มีพรหมวิหาร มีการให้ด้วยความเมตตาปราศจากสิ่งแอบแฝง ยึดมั่นในความถูกต้อง มีการให้อภัย มองมนุษย์ทั้งหลายที่ใฝ่หาความดีด้วยความเวทนาและเมตตาเป็นที่ตั้งเสมอ
-------------------------------------------

เจ้าของ:  eragon_joe [ 30 ส.ค. 2011, 21:44 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คุณสมบัติของผู้สอนธรรมที่ดี

smiley smiley smiley
tongue tongue tongue

สร้างความดี สร้างความดี

smiley smiley smiley

เจ้าของ:  jedrapus [ 14 ก.ย. 2011, 14:19 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คุณสมบัติของผู้สอนธรรมที่ดี

ความแปลกของผู้สอนธรรมะ
ในสังคมปัจจุบันนี้ มีบุคคลหลายประเภท
ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสทั่วไป นักพรต ผู้บำเพ็ญ ไปจนถึงพระภิกษุสงฆ์ เกจิอาจารย์บางรูป
ที่ประพฤติตนเป็นผู้สอนธรรมะ สอนการปฏิบัติ โดยอ้างอิงญาณบารมีเบื้องสูงเป็นการถ่ายทอดในการปฏิบัติ
ไม่ได้เป็นเรื่องแปลกประหลาดอย่างใดสำหรับผู้ที่ได้รับการสอนเมื่อปฏิบัติตามแล้วจะประสบผลสำเร็จ
ทั้งทางโลกและหรือทางธรรม ไปจนถึงชนิดที่ว่าเมื่อตายแล้วกระดูกเริ่มเป็นธาตุ
แต่จะเป็นเรื่องแปลกมากกว่าที่ว่า บุคคลผู้สอนนั้นกลับ ไม่ประสบผลสำเร็จ
บุคคลผู้นั้นกลับคิดไปในเชิงที่ว่าการปฏิบัติในแนวของตนเอง ดีกว่า วิเศษกว่า หรือดีกว่าแนวทางของผู้ใด
หรือคิดเลยเถิดไปจนถึงว่าการที่บารมีเบื้องสูงอยู่ในตนเองนั้น ตนเองเป็นบุคคลผู้วิเศษกว่าใคร

โดยลืมพิจารณาตนเองไปว่า
ญาณบารมีเบื้องสูงที่ผ่านปากมาสอนนั้น เป็นการสอนตัวผู้สอนไปในตัวด้วยเหมือนกัน
ลืมพิจารณาไปว่าตราบใดที่สังขารยังไม่ดับ กิเลสตัวที่ใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆยังจ้องมองอยู่
หากเผลอเมื่อไร หรือไม่รู้เท่าทันจิตก็ผิดพลาดได้ ที่สำคัญลืมพิจารณาไปว่า
ญาณบารมีนั้นไม่เที่ยง หากในที่สุดไม่มีในตนเองก็เป็นบุคคลธรรมดาๆนั่นเอง
ส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ตัวตน หลงภพหลงชาติ ติดอยู่กับชื่อเสียง ยศถาบรรดาศักดิ์
ติดในกิเลสความยิ่งใหญ่ทางวัตถุปัจจัยทางโลก ผู้คนมากมายหรือลูกศิษย์ลูกหาที่ห้อมล้อม
เลือกที่รักมักที่ชัง ขาดพรหมวิหาร ขาดความมีเมตตากรุณาอย่างแท้จริง ฯลฯ
เป็นเพียงการสร้างภาพภายนอกหรือรูปลักษณ์ภายนอกให้ดูดีมีความน่าเชื่อถือ
ไม่ว่าจะเป็นภาพลักษณ์วัตถุการก่อสร้างหรือปัจจัยภายนอกต่างๆ


หากบุคคลดังกล่าวยังไม่เปลี่ยนแปลงตน
ยังไม่รู้ตัวตน ยังไม่กลับตัวกลับใจ ติดอยู่ในกิเลสข้างต้น
คงไม่ต้องกล่าวถึงภูมิธรรมในจิตขั้นสูงใดๆ อันจะเป็นภูมิธรรมของ
ผู้สมควรได้ชื่อว่าเป็น ครูบาอาจารย์ผู้สอน
ภูมิธรรมขั้นพื้นฐานในการเป็นมนุษย์ยังห่างไกล
สุดท้ายก็เป็นเพียงแค่ สังขาร ที่เบื้องบนยืมมาใช้สร้างบารมี
ส่วน จิต แทนที่บุคคลผู้นั้นจะได้รับการแก้ไขไปทั้งทีกลับต้องเสียเวลา
หรือที่เรียกว่าเกิดมาเสียชาติเกิด หรือ โมฆะบุคคล นั่นเอง
สุดท้ายสิ่งดีๆหรือญาณบารมีที่มีในตนก็หมดไป ความเสื่อมต่างๆก็เข้ามาแทนที่
ดั่งที่เราๆได้เคยได้ยิน ได้ทราบ ได้เห็น บ่อยๆในสังคมเรานั่นเอง

--------------------------------------

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 14 ก.ย. 2011, 16:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คุณสมบัติของผู้สอนธรรมที่ดี

คุณสมบัติของผู้สอนธรรม

หากพิจารณา จาก จังกีสูตร ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

นำมาพิจารณา ประกอบเพื่อให้ได้ความเข้าใจ เช่นนั้น ก็ขอแสดงความเห็นอย่างนี้

1.เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ
2.เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย
3.เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง
4.เป็นผู้กล่าวแต่คำสัจจ์ คำจริง
5.เป็นผู้แสดง เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้น กาลนานแก่ผู้อื่น และชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นได้.

(บริสุทธิ์จากความหลง..คือสามารถแสดงธรรมใด ธรรมนั้นลึกซึ้ง เห็น
ได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตพึงรู้ ธรรม
นั้นอันบุคคลผู้หลงพึงแสดงไม่ได้โดยง่าย... เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อมเห็นแจ้งชัดว่า
เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง)

อาการของการแสดงธรรม
พิจารณาตามพระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๔ อุทายิสุตร สัทธรรมวรรคที่ ๑

1.แสดงไปโดยลำดับ
2.แสดงอ้างเหตุ ผล
3.แสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู
4.เป็นผู้ไม่เพ่งอามิส แสดงธรรม
5.ไม่แสดง ให้กระทบตนและผู้อื่น

ดังนั้นพระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "การแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ไม่ใช่ทำได้ง่าย"

เจ้าของ:  จางบาง [ 14 ก.ย. 2011, 19:51 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คุณสมบัติของผู้สอนธรรมที่ดี

คุณสมบัติของผู้สอนธรรมที่ดี

ดับทุกข์ให้ตัวเองได้แล้ว จึงค่อยไปดับทุกข์ให้ชาวบ้าน

บอกเท่าที่ตัวเองรู้ หากเกินกว่าที่รู้ ก็บอกชาวบ้านเขาด้วย ว่าฉันกำลังเดา

ไม่มีใครเขาอยากรู้ ก็เก็บความรู้ไว้อย่างเยือกเย็น ไม่เห็นต้องบอกใครให้ใครรู้

ไม่สอนใครพร่ำเพรื่อ และไม่ร้อนรนที่จะสอนใคร

ไม่รู้สึกว่าใครต่อใคร เป็นผู้ไม่รู้ และไม่รู้สึกว่าตัวเองคือผู้รู้

:b1:

เจ้าของ:  asoka [ 19 ก.ย. 2011, 11:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คุณสมบัติของผู้สอนธรรมที่ดี

รูปภาพ

:b8:
ผู้สอนธรรมมะที่ดีต้อง

รู้ซึ้งอริยสัจ 4

เข้าถึงอริยสัจ 4

มีสุขอยู่กับพรหมวิหารธรรม

หมดงานและภาระผูกพันเรื่องโลกย์และปากท้อง

:b8:
:b12:
:b1:
tongue

เจ้าของ:  กามโภคี [ 22 ก.ย. 2011, 08:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คุณสมบัติของผู้สอนธรรมที่ดี

ในเบื้องต้น คงต้องไปตามหลักการนี้ก่อน จึงจะถือว่าเป็นผู้สอนธรรมที่ดี ถ้าว่าตามหลักคำสอนของ
พระพุทธเจ้า ยังมีปลีกย่อยลงไปอีกมาก แต่ ในที่นี้ ขอมี คห. ตามหลักเบื้องต้นก่อน

อุทายิสูตร สุต.องฺ ปญฺจ ฉกฺก.

"อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้
ภายใน แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ธรรม ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ภิกษุพึงตั้งใจว่า

เราจักแสดงธรรมไปตามลำดับ ๑ เราจักแสดงอ้างเหตุผล ๑ เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู ๑
เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม ๑ เราจักไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น ๑


อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่คนอื่น พึงตั้งธรรม 5 ประการนี้ไว้ในตนแล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น"

เจ้าของ:  ปฤษฎี [ 24 ก.ย. 2011, 01:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คุณสมบัติของผู้สอนธรรมที่ดี

Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือสุตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม
วินัยนี้ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันงามในเบื้องต้นงามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง นี้เรียกว่า ทรัพย์คือสุตะ ฯ


Quote Tipitaka:
" ท่านพระอานนท์ตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะ
สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ
พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น อันภิกษุนั้น
สดับมากแล้ว ทรงไว้แล้ว สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยความเห็น ภิกษุ
นั้นแสดงธรรมแก่บริษัท ๔ ด้วยบทและพยัญชนะอันราบเรียบ ไม่ขาดสาย เพื่อถอนเสียซึ่งอนุสัย
ท่านพระสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล. "

" พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร อานนท์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึง
พยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า อานนท์ เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่าใด
งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศ
พรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น อันอานนท์นั้นสดับมากแล้ว ทรงไว้แล้ว
สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยความเห็น อานนท์นั้น แสดงธรรมแก่บริษัท ๔
ด้วยบทและพยัญชนะอันราบเรียบ ไม่ขาดสาย เพื่อถอนเสียซึ่งอนุสัย."

เจ้าของ:  nateay [ 26 ก.ย. 2011, 17:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คุณสมบัติของผู้สอนธรรมที่ดี

:b8: :b8: :b8:

ไฟล์แนป:
567.jpg
567.jpg [ 33.53 KiB | เปิดดู 6558 ครั้ง ]

เจ้าของ:  eragon_joe [ 16 ก.ย. 2012, 10:52 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คุณสมบัติของผู้สอนธรรมที่ดี

:b16: :b16: :b16:

ดันกระทู้เก่า ๆ สักหน่อย

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  eragon_joe [ 16 ก.ย. 2012, 10:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คุณสมบัติของผู้สอนธรรมที่ดี

จางบาง เขียน:
คุณสมบัติของผู้สอนธรรมที่ดี

ดับทุกข์ให้ตัวเองได้แล้ว จึงค่อยไปดับทุกข์ให้ชาวบ้าน

บอกเท่าที่ตัวเองรู้ หากเกินกว่าที่รู้ ก็บอกชาวบ้านเขาด้วย ว่าฉันกำลังเดา

ไม่มีใครเขาอยากรู้ ก็เก็บความรู้ไว้อย่างเยือกเย็น ไม่เห็นต้องบอกใครให้ใครรู้

ไม่สอนใครพร่ำเพรื่อ และไม่ร้อนรนที่จะสอนใคร

ไม่รู้สึกว่าใครต่อใคร เป็นผู้ไม่รู้ และไม่รู้สึกว่าตัวเองคือผู้รู้

:b1:


smiley smiley smiley

:b32: :b32: :b32:

เจ้าของ:  bigtoo [ 16 ก.ย. 2012, 17:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คุณสมบัติของผู้สอนธรรมที่ดี

ก่อนอื่นต้องสาธุก่อน แสดงว่าต้องมีคนสอนไม่ดีแน่ๆเลยในที่นี้นะ หรือเป็นเรานะ :b9: :b9: :b9:

เจ้าของ:  eragon_joe [ 16 ก.ย. 2012, 20:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คุณสมบัติของผู้สอนธรรมที่ดี

:b32: :b32: :b32:

เจ้าของ:  ฟ้าใสใส [ 04 ต.ค. 2012, 23:39 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คุณสมบัติของผู้สอนธรรมที่ดี

:b44: ღ˚ •。* ♥♥ ˚ ˚ กราบอนุโมทนาบุญกับท่านผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่านนะเจ้าค่ะ ธรรมรักษา เทวดาคุ้มครอง ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะเจ้าค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ ˚. ★ *˛ ✿◕‿◕✿•°°✿◕‿◕.ღ ˛˚ ♥♥ 。✰˚* ˚ :b8: :b8: :b8: :b20:

ไฟล์แนป:
ดอกบัวขาวอนุโมทนา 33.jpg
ดอกบัวขาวอนุโมทนา 33.jpg [ 17.1 KiB | เปิดดู 5843 ครั้ง ]

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/