วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 09:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 17:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2011, 19:55
โพสต์: 146


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความอนุเคราะห์จากผู้ที่บรรลุธรรมข้อที่ผมยกมานี้ โปรดให้ความกระจ่างกับผมด้วยครับ
คำพูดหรือข้อความต่างๆในพระไตรปิฎกนั้น มักจะใช้คำบาลี คำสำนวน พรรณา โวหาร ซึ่ง
ต้องอาศัยการตีความซะเป็นส่วนมาก

ข้อความที่ผมยกมานี้ผมลองอ่านทำความเข้าใจหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่กระจ่างซะที "เข้าใจเพียง
นิดหน่อยว่า ผู้ที่เรียนโดยไม่มีความกระจ่างแจ้ง ไม่แตกฉานต่อสิ่งที่ตนเรียน เรียนเพื่อไม่ให้สังคม
ตำหนิว่าตนเป็นผู้ด้อยความรู้ เรียนเพื่อนำความรู้ไปใช้เบียดเบียนผู้อื่น เอาเปรียบผู้อื่น สิ่งเหล่านี้
เป็นโทษทั้งสิ้น เพราะใช้ความรู้แบบผิดๆ และใช้ในทางที่ผิด"

ขอความอนุเคราะห์จากผู้ที่บรรลุธรรมข้อนี้ โปรดให้ความกระจ่างถึงความหมายของธรรมข้อนี้
โดยการแปลจากข้อความที่ใช้แต่สำนวน พรรณา โวหาร ให้เป็นข้อความที่ใช้ภาษาธรรมดาๆ ที่
ปุถุชนอ่านแล้วสามารถเข้าใจความหมายได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องตีความหรือแปลความอีก ตาม
ข้อความที่ยกมาด้านล่างนี้ครับ

Quote Tipitaka:
เรียนไม่เป็นก็มีโทษ

ปัญหา คนทั่วไปเข้าใจว่า การเรียนธรรมเป็นของดี มีประโยชน์ แต่ถ่าย(อ้นนี้ผมว่าน่าจะเป็น "ฝ่าย"นะ ผู้พิมพ์อาจพิมพ์ผิดหรือเปล่าครับ)เดียว ใครจะทราบว่าการเรียนธรรมก่อให้เกิดทุกข์โทษ มีหรือไม่?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษเหล่าบางพวกในพระธรรม วินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทานอิติวุตตกะชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ บุรุษเหล่าเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรอง เนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้นย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่งแก่บุรุษเปล่าเหล่านั้น ผู้ไม่ไตรตรองเนื้อความด้วยปัญญา บุรุษเปล่าเหล่านั้น เป็นผู้มีความข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ (เรียนเพื่อข่มผู้อื่น) และมีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทาเป็นอานิสงส์ (เรียนเพื่อให้คนตำหนิมิได้) ย่อมเล่าเรียนธรรม ก็กุลบุตรทั้งหลายย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์อันใด บุรุษเหล่าเหล่านั้นย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์แห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้นอันบุรุษเหล่านั้นเรียนไม่ดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนไม่ดีแล้ว
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษเสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือ ที่แขน หรือที่อวัยวะใหญ่น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย มีการกัดนั้นเป็นเหตุข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะงูพิษตนจับไม่ดีแล้ว”

ท้ายนี้ ขอขอบคุณท่านไว้ล่วงหน้าในเมตตวิริยะ และกุศลจิต ของท่าน อันพึงยังแสงสว่างให้ผู้ที่
ขาดความกระจ่าง มา ณ ที่นี้ครับ

ขอกุศลอันเกิดแก่ท่านทั้งหลาย จงส่งผลแก่ท่านทั้งหลายตามนั้น

.....................................................
เก็บธรรมใส่กล่อง.....เรียนรู้จากบัณฑิต.....คบหากัลยาณมิตร.....จิตอ่อนน้อมในพระธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 20:18
โพสต์: 90


 ข้อมูลส่วนตัว


“ดูก่อนคุณกล่องธรรม... เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษเสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือ ที่แขน หรือที่อวัยวะใหญ่น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย มีการกัดนั้นเป็นเหตุข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะงูพิษตนจับไม่ดีแล้ว”

มีตัวอย่างให้ดูแล้วไม่จำเป็นต้องอธิบายอีก.... :b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2011, 19:55
โพสต์: 146


 ข้อมูลส่วนตัว


แสงธรรม14 เขียน:
“ดูก่อนคุณกล่องธรรม... เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษเสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือ ที่แขน หรือที่อวัยวะใหญ่น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย มีการกัดนั้นเป็นเหตุข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะงูพิษตนจับไม่ดีแล้ว”

มีตัวอย่างให้ดูแล้วไม่จำเป็นต้องอธิบายอีก.... :b13: :b13:


ขอบคุณคุณแสงธรรม14 ที่เข้ามาทักทายครับ แต่ข้อความของคุณแสงธรรม14 ยังเป็นโวหาร
ที่ต้องการแปลความอยู่เลยครับ ผมยังไม่เข้าใจเลยครับว่าหมายความว่ายังไง

ขอความอนุเคราะห์อธิบายเป็นคำที่เข้าใจง่ายกว่านี้ได้มั้ยครับเป็นภาษาชาวบ้านน่ะครับ

.....................................................
เก็บธรรมใส่กล่อง.....เรียนรู้จากบัณฑิต.....คบหากัลยาณมิตร.....จิตอ่อนน้อมในพระธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2011, 02:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเห็นของผมมีว่า ในสมัยพุทธกาล มีคนหลายศาสนาอยู่รวมกันต่างก็มีแนวความเชื่อต่างกันออกไป เมื่อคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นกระจายออกไป มีคนมานับถือและปฏิบัติตนตามแนวทางของพระพุทธเจ้ามากขึ้น มีการละทิ้งความเชื่อเดิมๆ พวกที่ยังเชื่อในศาสนาตัวเองก็แฝงตัวมาเรียนธรรมของพระพุทธเจ้าเพื่อจับผิด เพื่อขโมยธรรม หรือเพื่อยกระดับตัวเองให้คนเชื่อถือ และอื่นๆ บางคนมีความศรัทธาต่อคำสอนตั้งใจเรียนแต่ไม่สานต่อความศรัทธาตัวเองให้มีความเพียร วิปัสสนาภาวนาเพื่อปัญญาอันดับทุกข์ ย่อมมีความเห็นแต่เฉพาะในเรื่องของความศรัทธา ตำนิติเตียนคนอื่นที่มีความศรัทธาไม่เหมือนตนเอง เป็นต้น
หากคำตอบไม่ตรงประเด็นขออภัยมา ณ ที่แห่งนี้ครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2011, 04:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


บรุษเปล่าเล่าเรียนธรรม เพราะ มีความสะเพร่า ไม่ได้ไตร่ตรองธรรมนั้นด้วยปัญญา มีความสำคัญผิด มีทิฏฐิอันลามก เป็นผู้มีปัญญาทราม เข้าใจความหมายหรืออรรถะแห่งธรรมที่ฟังมานั้นผิดไป จึงเป็นผู้เปล่าจากประโยชน์ที่พึงได้รับ และได้รับผลที่เป็นโทษเป็นทุกข์มาแทน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2011, 06:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาครับคุณโยมกล่องธรรม ก็สรุปง่ายๆ ตามนั้นก็เข้าใจได้
แล้วนี่ครับ ความหมายโดยรวมทั่วๆ ไปก็เข้าใจได้แล้ว ขอเสนอตรง
ที่อาจไม่จำเป็นกับคำถามก็ได้ ^^

คือ ข้อความในพระไตรปิฏก ไม่มีใครสามารถเข้าใจได้ ด้วยการ
อ่านหัวข้อเดียวลอยๆ มันเหมือนจดหมายที่มีการอ้างอิงเหตุการณ์
สถานที่บุคคล และมีอรรถ มีนัยยะซ่อนมีความหมายลึกซึ้ง ก็อย่างที่ๆ
กัลยาณมิตรทุกๆ คนกำลังช่วยกันนี่แหละครับ ถ้าจับเอาไม่ดี ก็อาจ
ทำให้เกิด ความคิดเห็นเข้าใจผิด ต่อไปเรื่อยๆ ในสิ่งที่เราคิดว่าเรารู้
และเข้าใจ ฯลฯ อันนี้พุทธฏีกา ไม่ได้จะบอกว่าตนรู้ตนเข้าใจนะครับ
เพียงแลกเปลี่ยนอีกมุมมองนึงเท่านั่นเอง

เวลาใครที่มีความรู้ทาง ปริยัติ หรือรู้อะไรมากๆ จากการศึกษาเล่าเรียน
จนมีความเชียวชาญในสิ่งที่ตนรู้สิ่งที่ตนเข้าใจ คนเราก็อาศัยความรู้
ความเข้าใจตรงนั้น แสดงความรู้ความสามารถ และเป็นเรื่องแปลกที่
เวลาคนที่ศึกษาปริยัติ ยิ่งเกี่ยวกับธรรมะด้วยแล้ว หากไม่ไปยกต่นข่ม
ผู้อื่น แสดงความรู้ความสามารถไปนั้นๆ ตามหลัก ตามเหตุตามผล ส่วนใหญ่
ก็จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไร(จากประสบการณ์) เพราะไม่ได้ แสดงความเห็น
เพื่อให้ใครรู้ว่าตนมีความรู้ความสามารถที่สูงส่งกว่าคนอื่น

เพราะการทำอย่างนั้น นอกจะเป็นการขาดโอกาสในการที่จะได้รับประโยชน์
จากการศึกษาหาความรู้ต่างๆ อาจทำให้ตนเองเกิดมานะ หลงในความคิดเห็น
ของตนเองจนเป็นเหตุให้กลายเป็นคนขาดความเคารพน้อบน้อมต่อผู้อื่น

กลายเป็นคนแข็งกระด้าง ไม่อ่อนโยน ถือเราถือเขา แข่งดี ไม่ชอบเห็นใคร
ดีกว่าเก่งกว่า ใครจะไปชื่นชมในคนอื่นนอกจากตนแล้ว ก็ยิ่งไม่ได้เลยทีเดียว
ดังนั้นไปๆ มาๆ ความรู้ที่มีทำให้กลายเป็นคนเย่อหยิ่ง เป็นพิษร้ายเหมือนงู
ที่คนจะจับงู ไปจับเอากลางตัวงู หรือหางงูเข้า ทำให้ตนเองถูกงู แว้งมากัดเอา
ก็เหมือนคนที่ มีมานะทิฏฐิจนเกินไป นอกจากไม่เป็นประโยชน์ต่อตนเองแล้ว
หากไปอยู่ในสังคมใด แล้วมีบุคคลที่มีลักษณะเหมือนๆ กัน ถ้าต่างคนต่างยึด
หลักธรรม ยึดหลักเหตุและผล ไม่ยึดถือข้างๆ คูๆ รู้จักยอมรู้จักถอย ปรองดอง
ไม่ใช่ปรองร้าย เมตตากันและกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง นั่นแปลว่า
ที่จริงแล้ว หลักของจริยธรรม ความเคารพน้อบน้อมต่อคนอื่นนั้น มาก่อนความรู้!

และหากสถานที่นั้นๆ ไม่รู้จักถอยจักยอม ปรองร้าย อาฆาต แลกหมัดจู่โจม
กันด้วยคมหอกคมปาก ฯลฯ ถ้าอยู่คนเดียว ไม่มีใครไปแตะไปต้อง ก็ลงเองไม่เป็น
เหมือนจอมยุทธ ที่ไม่เคยถอนตัวเมื่อสำเร็จกิจ หรือบรรลุเป้าหมาย
นั่นคือ
อยู่อย่างสงบ และคอยสร้างสันติต่อไป ดูเป็นอุดมการณ์เนอะครับ ก็แค่
อีกหนึ่งความคิดเห็นครับ ^^

พอจะเทียบเคียงอุปมาอุปไมย เรื่องการถือเอาไม่ดี จับเอาไม่ดี ก็ไม่ได้รับผล
ประโยชน์หรืออานิสงส์ที่ควรรับควรได้ จากการศึกษาธรรมะ หรือศึกษาศิลป
วิทยาอื่นๆ ก็เช่นกัน ถ้าเป็นเรื่องโลกการศึกษาทางโลก ความรู้ความสามารถ
นั้นๆ แหละก็เป็นเครื่องมือหาเลี้ยงชีพ

ส่วนการศึกษาทางธรรม มีแต่ต้องอ่อนน้อมเหมือนร่วงข้าวที่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
โน้มค้อมรอเก็บเกี่ยวผล เหมือนน้ำที่เปลี่ยนรูปไปตามภาชนะ กดตัวเองให้ต่ำ
(เพ่งเตือนตนเองด้วยตนเอง) รู้จักยกย่องให้เกียรติคนอื่น แบบนี้นอกจากตนเอง
จะรู้วิธีการ จับงูอย่างฉลาด อย่างถูกต้องแล้ว ก็ยังรักษาชีวิตตนเองไว้ได้ ไม่ถูก
งูพิษกัด ไม่เย่อหยิ่ง ไม่มีเวรภัย ศึกษาเพื่อลดละเลิก ทำจิตให้ผ่องใสพิจารณา
สภาพธรรมตามความเป็นจริงไป ธรรมะก็จะกลายเป็นธรรมะ สำหรับคนมีธรรมะ
ธรรมะหากกลายเป็นอธรรมะไปนั่นก็ชัดแล้วว่า บุคคลเหล่านั้นจับเอาแล้วไม่ดี
นั่นเอง ส่วนเนื้อหาที่เกี่ยวกับกระทู้ ขอแนะนำคุณโยมกล่องธรรม

แบบนี้ครับ พระไตรปิฏก พระสูตร เบื่องต้นได้แสดงไปแล้วว่ามี เหตุการณ์
สถานที่ บุคคล อ้างอิงกัน มีตอนต้น ตอนกลาง ตอนปลาย วิธีการศึกษาที่
ถูกต้องคือ ศึกษาและไม่รีบร้อน ไม่ได้เอาไปแสดงความรู้ความสามรถข่มใคร
คงไม่อยากถูกพิษใช่ไหมครับ

ก็ไม่ต้องรีบ ไม่รู้ก็คือไม่รู้ เราก็อ่านก็ศึกษา สอบถามกัลยาณมิตรผู้รู้ในเวบนี้
ก็มีหลายคนทีเดียว พระสูตรนี้ความจริงแล้ว ไม่ได้เอามา พาดโทษโยนโจทย์
ให้ใครสักคน เพื่อบอกเขา่ว่า ใครสักคน เป็นคนโง่ คนเปล่าหรอกครับ

เพราะที่เป็นคนโง่ คนเปล่า พระพุทธเจ้าหมายถึง พระอริฏฐะ ที่คัดค้าน มีทิฏฐิ
ลามกขึ้นมา กล่าวว่า กามเป็นธรรมที่ไม่ทำอันตรายแก่ผู้เสพ พระองค์ก็เลย
ตรัสเล่าให้ภิกษุฟัง ไม่ได้บัญญัติพระสูตรนี้มา ว่าใครด่าใครเป็นพิเศษ ^^

ธรรมหรือประโยชน์ที่ล่วงเลย สำหรับพระอริฏฐะ นั้นก็คือ ปัญญาหรือญาณใน
ชั้นสูงๆ ต่อไป จะไม่เกิดขึ้นไม่มี เพราะว่าคัดค้านมีความเข้าใจผิด ใครบอก
ใครเตือนก็ไม่ฟัง บอกแต่ว่า เรารู้ๆ ถือเอาความรู้นั้นไปไม่ดี ยึดถือไว้แล้วก็
สำคัญผิด ในข้อความที่ [๒๗๕]-[๒๗๗] จนมาถึง ที่คุณโยมยกมา นั่นเป็น
ข้อความที่ [๒๗๘] แปลว่า ไม่ได้่ว่าใครหรือเจาะจงให้ใครเป็นพิเศษแต่หาก
ใครไม่ศึกษาให้ดี แถมยังไม่รู้จักฟัง นั่นก็อาจกลายเป็นคนเปล่าได้ ^^

ทีนี้อยากรู้ว่า ธรรมอะไรประโยชน์อะไรก็อาจต้องศึกษาเอาจากอรรถกถาอีกที
หากไม่เข้าใจอรรถที่่มาใน พระสูตร ก็มีการขยายความเอาไว้ให้เข้าใจเพิ่มเติม
พออ่านทั้งหมด จับใจความได้ทั้งหมด สอบถามเทียบเคียงกับกัลยาณมิตรผู้รู้
โอกาสที่จะผิดพลาด เข้าข้างตัวเองก็น้อยลงไป และไม่ลืมหลัก

จริยธรรมในการอยู่รวมกันในสังคมสำคัญและมาก่อนความรู้ ฝากไว้แค่นี้ครับเจริญพร ^^

ศึกษาพระสูตรเต็ม
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... 443&Z=4845

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2011, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: พระคุณเจ้ากล่าวไว้ดีแล้วเจ้าค่ะ

การศึกษาพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นไปเพื่อการ
ฝึกฝนพัฒนาจิตใจของตนเองให้สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป เป็นไปเพื่อความดับทุกข์แห่งตนเองอย่างสิ้นเชิง
ผู้ที่เข้าถึงธรรมย่อมมีความอ่อนน้อมถ่อมตนเพราะเข้าถึงซึ่งธรรมชาติที่เป็นอยู่อย่างรู้เท่าทัน :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2011, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ค่อยแน่ใจนะครับ s006
ลองทำความเข้าใจดูแต่อาจจะไม่ค่อยถูก
คือพอศึกษาเล่าเรียนปฏิบัติ จะมีกิเลสที่คอยแทรกอยู่ด้วย
ถ้าไม่ทำไว้ในใจให้ดีๆก็จะไม่เห็น

พอปฏิบัติไปกิเลสอาจจะแทรกแล้วพิจารณาได้ไม่ดี เหมือนเรารักษาศีลแล้วเราเกิดความสบายใจ แต่อาจ
จะเกิดความคิดกิเลสแทรกขึ้นมาได้ว่าเราดีกว่าคนที่เขายังไม่ได้รักษาศีล

เป็นผู้มีความข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์
บทหนึ่งที่ว่าจะปฏิบัติธรรมไม่เปรียบเทียบว่าด้อยกว่าเปรียบเทียบว่าเหนือกว่าและไม่เปรียบเทียบว่าเสมอ
กับผู้อื่น

มีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทาเป็นอานิสงส์
มีผลคือความเปลื้องความนินทาข้อนี้ตีความไม่ค่อยเข้าใจ :b6: ต้องไปหาอ่านหลายๆความคิดเห็นนะครับ

อนุโมทนาครับ :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2011, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เรียนไม่เป็นก็มีโทษ

ปัญหา คนทั่วไปเข้าใจว่า การเรียนธรรมเป็นของดี มีประโยชน์ แต่ถ่าย(อ้นนี้ผมว่าน่าจะเป็น "ฝ่าย"นะ ผู้พิมพ์อาจพิมพ์ผิดหรือเปล่าครับ)เดียว ใครจะทราบว่าการเรียนธรรมก่อให้เกิดทุกข์โทษ มีหรือไม่?


การเรียนจากตำราหรือคำภีร์หรือจากครูบาอาจารย์ มีสองด้าน มีทั้งคุณและโทษ (ถ่ายเดียว=ด้านเดียว : เป็นคำสมัยก่อน) หากไม่ใช้ปัญญาพิจารณาตามไปด้วยก็ไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร เพราะการเรียนรู้ที่เกิดจากความจำได้หรือ "สัญญา" ต่างจากการเรียนรู้เกิดจากการคิดการพิจารณาหรือ "ปัญญา"

การเรียนรู้ที่เกิดจาก "สัญญา" ก่อให้เกิดการเสกสรรปั้นแต่งว่า ตัวเองเก่งเกินใคร อัตตาสูง ไม่ยอมใคร มักทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้วเสมอ ชอบทำตัวเป็นกองปราบ แบกตำราคำภีร์ ไปปราบคนนั้นคนนี้ ปราบพระองค์นั้นองค์นี้ ทั้งๆ ที่เต็มไปด้วยความหลง กิเลสตัวเดียวในใจตนก็แก้ไม่ได้ ต้องวนเวียนในสงสารวัฏไปอีกนาน

การเรียนรู้ที่เกิดจาก "ปัญญา" เป็นไปเพื่อถอดถอนกิเลศตัณหาน้อยใหญ่อันมีในตน เช่น ลดมานะทิฏฐิ ความแข็งความหยาบกระด้างของจิต ให้อ่อนนิ่มอ่อนโยนลง เตรียมจิตเตรียมใจตน ให้เหมาะกับธรรมหมวดต่างๆ ที่ยังไม่ได้เรียนรู้ เพื่อให้ตนพ้นทุกข์พ้นโศก เป็นพระอริยบุคคลอันเยี่ยมยอดในพระพุทธศาสนา

การศึกษาธรรมที่ผิด คือการใช้ "สัญญา" เป็นตัวนำ แทนที่จะใช้ "ปัญญา" ก็เหมือนการจับงูพิษที่หางนั่นเอง ..

ความเห็นส่วนตัวและยังไม่บรรลุธรรมขั้นใดๆ เลย ..ขอรับ :b8: :b12:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2011, 08:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2011, 19:55
โพสต์: 146


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณคุณวิริยะ คุณRotala คุณพุทธฏีกา คุณFLAME และคุณstudent
โดยเฉพาะคุณพุทธฏีกา และ คุณวิริยะ ที่เสียสละเวลานั่งพิมพ์เป็นหน้าๆจน
หลังขดหลังแข็งเพื่อให้ความกระจ่างกับผมและผู้ที่ยังขาดความเข้าใจอื่นๆ

ขอรบกวนถามอีกสัก 2 ข้อนะครับ

ข้อ1.

1.คำว่า "บุรุษเหล่า" ตามข้อความด้านล่าง มีความหมายว่าอย่างไร คือหมายถึงใคร เหล่าไหนครับ

2.พระพุทธองค์กล่าวถึง"สุตตะ" เรื่อยไปจนถึง " เวทัลละ" อันนี้เป็นชื่อคนหรือเปล่าครับ

Quote Tipitaka:
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษเหล่าบางพวกในพระธรรม วินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทานอิติวุตตกะชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ


ข้อ2.
Quote Tipitaka:
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษากรณะ คาถา อุทานอิติวุตตกะชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ บุรุษเหล่าเหล่านั้น

1."เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษากรณะ" ในข้อความสีแดง หมายความว่าอย่างไร
ครับ หากยกตัวอย่างประกอบด้วยได้ ก็จะดีมากครับ

ขอบคุณอีกครั้งครับ

.....................................................
เก็บธรรมใส่กล่อง.....เรียนรู้จากบัณฑิต.....คบหากัลยาณมิตร.....จิตอ่อนน้อมในพระธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2011, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กล่องธรรม เขียน:
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษเหล่าบางพวกในพระธรรม

ไม่น่าใช่นะครับ น่าจะเป็น บุรุษเปล่าบางพวกในพระธรรม ซึ่งเปรียบได้กับคนจำพวก "ทัพพีในหม้อแกง" นะครับ คำถามนอกนั้นขอยกยอดให้ ท่านอื่นและท่านพระอาจารย์ใหญ่ พุทธฏิกา ..ขอรับ :b8: :b12:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


แก้ไขล่าสุดโดย วิริยะ เมื่อ 05 ต.ค. 2011, 08:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2011, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

นวังคสัตถุศาสน์ คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง,
ส่วนประกอบ ๙ อย่างที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ

๑. สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส)
๒. เคยยะ (ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด)
๓. เวยยากรณะ (ไวยากรณ์ คือความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถาเป็นต้น)
๔. คาถา (ความร้อยกรองล้วน เช่น ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา เป็นต้น)
๕. อุทาน (ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร)
๖. อิติวุตตกะ (พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร)
๗. ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง)
๘. อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์ คือพระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ)
๙. เวทัลละ (พระสูตรแบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้ว ซักถามยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น);

เขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์;

http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_see ... 2%CA%B9%EC

เพิ่มเติม
โมฆบุรุษ บุรุษเปล่า, คนเปล่า, คนที่ใช้การไม่ได้, คนโง่เขลา, คนที่พลาดจากประโยชน์อันพึงได้พึงถึง

http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_see ... 8%C3%D8%C9


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 05 ต.ค. 2011, 09:16, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2011, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษเหล่าบางพวกในพระธรรม วินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทานอิติวุตตกะชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ

1.คำว่า "บุรุษเหล่า" ตามข้อความด้านล่าง มีความหมายว่าอย่างไร คือหมายถึงใคร เหล่าไหนครับ


บุรุษเหล่าบางพวกเป็นคำกลางๆ ตอบได้แค่เพียงว่าจากข้อความที่คุณกล่องธรรมยกมา เป็นผู้เล่าเรียนธรรมคือสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ถ้าจะเจาะจงว่าเป็นบรุษจำพวกไหนคุณกล่องธรรมต้องยกข้อความมาทั้งหมด

Quote Tipitaka:
ข้อ2.
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษากรณะ คาถา อุทานอิติวุตตกะชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ บุรุษเหล่าเหล่านั้น

ขอที่มาด้วยครับ ข้อความดูแปลกไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2011, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


กล่องธรรม เขียน:
ขอรบกวนถามอีกสัก 2 ข้อนะครับ

ข้อ1.

1.คำว่า "บุรุษเหล่า" ตามข้อความด้านล่าง มีความหมายว่าอย่างไร คือหมายถึงใคร เหล่าไหนครับ

2.พระพุทธองค์กล่าวถึง"สุตตะ" เรื่อยไปจนถึง " เวทัลละ" อันนี้เป็นชื่อคนหรือเปล่าครับ

Quote Tipitaka:
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษเหล่าบางพวกในพระธรรม วินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทานอิติวุตตกะชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ


ข้อ2.
Quote Tipitaka:
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษากรณะ คาถา อุทานอิติวุตตกะชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ บุรุษเหล่าเหล่านั้น

1."เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษากรณะ" ในข้อความสีแดง หมายความว่าอย่างไร
ครับ หากยกตัวอย่างประกอบด้วยได้ ก็จะดีมากครับ

ขอบคุณอีกครั้งครับ



ข้อ ๑ อ้างอิงมาไม่ถูกต้องครับ ไม่ใช่บุรุษเหล่า เป็นบุรุษเปล่า
(ถึงคุณโยมวิริยะ ไม่ใหญ่หรอกครับ พระป่าพระดอยผอมๆ )และ
ก็ไม่ถึงกับหลังขดหลังแข็ง เพราะก่อนตอบได้ลบพระสูตร ที่อ้างอิง
เอาไว้ ยาวกว่าที่ตอบไปในความเห็นก่อนอีก เกรงจะมิได้อ่านกัน
พระสูตรพุทธฏีกาแนบไว้ให้ ในความเห็นก่อน รบกวนคุณโยมเจ้าของกระทู้
ลองนำไปเทียบเคียงตรวจสอบ กับอ้างอิงที่นำมา ก็จะทำให้เข้าใจ
ได้ง่ายขึ้น จับประเด็นถูก ลบไปเพราะเกรงจะทำให้กัลยาณมิตร
เสียสุขภาพของสายตา เลยเอาออกไปอีกกว่าครึ่ง ^^


บุรุษเปล่าเรียนธรรม

[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษเปล่า บางพวกในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม
คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ
บุรุษเปล่าเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วย
ปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่งแก่บุรุษเปล่าเหล่านั้น ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความด้วยปัญญา

หมายถึงใคร ใครคือบุรุษเหล่า ไ่มีมีนะครับ แต่ถ้าหมายถึงบุรุษเปล่า
อันนี้พอจะรู้บ้าง เข้าใจว่าพุทธฏีกาได้แสดงทิ้งไว้ในความเห็นก่อนหน้า
แล้ว คิดแล้วว่าไม่ได้เข้าไปอ่านพระสูตร และไม่เห็นที่ดึงชื่อบรุษเปล่าออกมา ^^
ทรงหมายถึง พระอริฏฐะ ที่จับเนื้อความไม่ดี ไม่ไตร่ตรองให้ดี

แต่ถ้าจะอุปมาอุปไมย ว่าเหล่าไหน พวกไหน ให้ยกตัวอย่าง ก็สำหรับทุกคน
ที่ประมาท พุทธฏีกาก็ได้ ใครก็ได้ ที่ประมาทต่อ นวังคสัตถุศาสน์ แม้จะเป็น
เพียงชาดกเล็กๆ หรือสุภาษิตสั้นๆ จำเอาแล้วจับเอาแล้วไม่ดี ก็มีโอกาส
เป็นบุรุษเหล่านั้น(ที่ประมาท) แต่ถ้าถามเฉพาะพระสูตรใครเป็นบุรุษเปล่า
ก็ตอบว่า พระอริฏฐะครับ ^^

ข้อ ๒ คิดว่าได้อธิบาย วิธีการศึกษา พระสูตรอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
พอสังเขปโดยย่อแล้ว ขอเจริญพร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน
บุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษเขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงจับงูพิษ
นั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่ข้อมือ ที่แขน หรือที่อวัยวะใหญ่น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง
เขาพึงถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย มีการกัดนั้นเป็นเหตุ

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2011, 13:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาคุณโยมปลีกวิเวก และกัลยาณมิตรทุกคนด้วยนะครับ ^^

แล้วก็ คุณโยม FLAME กับอ้างอิงนวังคสัตถุศาสน์สาธุ

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 96 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร