วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 12:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เสด็จอุบัติแท้โดยธรรมกายผู้คงที่

นี้เป็นวิสังขาร ไม่ใช่วิญญาณแบบสาธารณชนปุถุชนทั่วไป ปัจจัยปรุงแต่งแบบภพ3ไม่มี(หลุดพ้นจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวงตัณหาไม่มีไม่ถือมั่น

Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๖๗๘๐ - ๖๘๐๕. หน้าที่ ๒๙๐ - ๒๙๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 15:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


(ตัดกลับมาในภพ3)ย้อนถามต่อว่า ในเมื่อกิเลสไม่หมดผู้ที่มาเกิดเป้นมนุษย์ มาเกิดทางใด?จู่ๆเสปริม์ผสมในมดลูกแล้วมาเกิดเลยหรือ? ทำปฏิสสาร?แล้วเกิดเป้นพลังงานผลิตวิญญาณเลยหรือแล้วเรื่องกรรมที่ทำให้หล่อสวยไม่หล่อไม่สวยพิการไม่พิการล่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 15:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




thumbnail.jpg
thumbnail.jpg [ 15.67 KiB | เปิดดู 3286 ครั้ง ]
thumbnail.jpg
thumbnail.jpg [ 15.67 KiB | เปิดดู 3285 ครั้ง ]
เอรากอนพูดธาตุธรรม
พระโมคัลลานะท่านสามารถควบคุมธาตุธรรมได้ไหม?
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 16:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:

ถ้าหลับอยู่เป็นพระโมคัลลานะที่สมารถควบคุมธรรมธาตุได้ ท่านจะควบคุมธรรมธาตุหรือไม่ล่ะ

:b1:

ถ้าจะควบคุม จะควบคุมเพื่ออะไร
ถ้าจะไม่ควบคุม จะไม่ควบคุมเพื่ออะไร

แต่ถึงจะควบคุม หรือ ไม่ควบคุม ท่านก็เป็นสิ่งเดียวกับธรรมธาตุ
ความเป็นเช่นนั้น ได้ส่งผลต่อธรรมธาตุอยู่แล้ว
เอกอนคิดว่างั๊น
แต่จริง ๆ แล้วเอกอนยังไม่รู้ จริง ๆ

:b2: :b2: :b2:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 16:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แต่หากสมมติเอกอนเป็นพระโมคัลลานะที่ควบคุมธรรมธาตุได้
เอกอนจะไม่ทำ

เพราะเอกอนคิดว่า
ธรรมธาตุไม่ใช่สิ่งใดจะพึงใช้อำนาจใดเข้าครอบครอง และกำหนดให้เป็นไป

ธรรมธาตุควรเป็นที่ ๆ สรรพสิ่งล้วนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการแสวงหา ทำความหลุดพ้นให้ปรากฎ
ทำความเป็นอิสระให้ปรากฎ

หง่ะ

:b1:

อิอิ ช่างตั้งคำถามให้เอกอนคิดปายด้ายยยยยยย

:b9: :b9: :b9:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 15 พ.ย. 2011, 16:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 16:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


บอกแล้วขอตัดแค่ภพ3 อสังขตธรรมอสังขตธาตุ ลึกมาก ใจเย็นเดี๋ยวมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


พวกนักวิทย์ที่ยังอยู่ในภพแบบเราๆเช่นพวกทำโคลนนิ่งเอย หรือผู้ที่คิดค้นเจอกระแสไฟฟ้า หรือผู้ที่คิดค้นปฏิสสารนำมาชนกับสสารจนเกิดพลังแล้วเอาพลังที่ได้นั้นมาเป็นพลังขับเคลื่อนจรวดไอพ่นยานอวกาศอะไรพวกนั้น สมาธิสติมันมีคุณภาพประมาณนึง จึงทำเรื่องพวกนี้ออกมาได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระมหาโมคคัลลานะเปล่งสีหนาท
[๖] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้เมืองเวรัญชา
มีภิกษาหารน้อย ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีสลากซื้อ
อาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย พระพุทธเจ้าข้า
พื้นเบื้องล่างแห่งแผ่นดินผืนใหญ่นี้ สมบูรณ์ มีรสอันโอชา เหมือนน้ำผึ้งหวี่ที่ไม่มีตัวอ่อนฉะนั้น
ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงพลิกแผ่นดิน ภิกษุทั้งหลายจักได้ฉันง้วนดิน
พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรโมคคัลลานะ ก็สัตว์ผู้อาศัยแผ่นดินเล่า เธอจะทำ
อย่างไรแก่สัตว์เหล่านั้น?
ม. ข้าพระพุทธเจ้าจักนิรมิตฝ่ามือข้างหนึ่งให้เป็นดุจแผ่นดินใหญ่ ยังสัตว์ผู้อาศัยแผ่นดิน
เหล่านั้นให้ไปอยู่ในฝ่ามือนั้น จักพลิกแผ่นดินด้วยมืออีกข้างหนึ่ง
พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. อย่าเลย โมคคัลลานะ การพลิกแผ่นดิน เธออย่าพอใจเลย สัตว์ทั้งหลายจะพึง
ได้รับผลตรงกันข้าม.
ม. ขอประทานพระวโรกาส ขอภิกษุสงฆ์ทั้งหมดพึงไปบิณฑบาตในอุตรกุรุทวีป พระ-
*พุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็ภิกษุผู้ไม่มีฤทธิ์เล่า เธอจักทำอย่างไรแก่ภิกษุเหล่านั้น?
ม. ข้าพระพุทธเจ้าจักทำให้ภิกษุทั้งหมดไปได้ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. อย่าเลย โมคคัลลานะ การที่ภิกษุสงฆ์ทั้งหมดไปบิณฑบาตถึงอุตรกุรุทวีป เธออย่า
พอใจเลย.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๖๕ - ๓๑๕. หน้าที่ ๗ - ๑๓.
http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค



โมคคัลลานสูตร
พระโมคคัลลานแสดงฤทธิ์

Quote Tipitaka:
[๑๑๕๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมาตรัสว่า
ดูกรโมคคัลลานะ สพรหมจารีเหล่านี้ ที่อาศัยอยู่ภายใต้ปราสาทของมิคารมารดา เป็นผู้ฟุ้งซ่าน
อวดตัว มีจิตกวัดแกว่ง ปากกล้า พูดจาอื้อฉาว ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น คิด
จะสึก ไม่สำรวมอินทรีย์ ไปเถิด โมคคัลลานะ เธอจงยังภิกษุเหล่านั้นให้สังเวช

ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว แสดงอิทธาภิสังขาร
ให้ปราสาทของมิคารมารดาสะเทือนสะท้านหวั่นไหวด้วยนิ้วหัวแม่เท้า.

[๑๑๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะ ประสงค์จะให้
เธอทั้งหลายสังเวช จึงทำปราสาทของมิคารมารดา ให้สะเทือนสะท้านหวั่นไหวด้วยนิ้วหัวแม่เท้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? ภิกษุโมคคัลลานะมี
ฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะได้เจริญธรรมเหล่าไหน เพราะได้กระทำให้มาก
ซึ่งธรรมเหล่าไหน?

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน
มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่ง
ภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังแล้ว จักทรงจำไว้.
[๑๑๕๙] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟังเถิด ภิกษุโมคคัลลานะ
มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อิทธิบาท ๔
เป็นไฉน? ภิกษุโมคคัลลานะย่อมเจริญอิทธิบาท ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ... วิริย-
*สมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
ดังนี้ว่า วิมังสาของเรา จักไม่ย่อหย่อน
เกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความ
สำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด
เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น
กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไร
หุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะ
ได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.
[๑๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้
ภิกษุโมคคัลลานะย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.
[๑๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้
ภิกษุโมคคัลลานะย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๔
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๖๗๕๐ - ๖๗๙๕. หน้าที่ ๒๘๑ - ๒๘๓.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 17:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค



ฉันทสูตร
ว่าด้วยอิทธิบาทกับปธานสังขาร
[๑๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต
นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศล
ธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อ
ความไพบูลย์ เพื่อความเจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ฉันทะนี้ด้วย ฉันทสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาท
ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร.
[๑๑๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้
เรียกว่า วิริยสมาธิ เธอยังฉันทะให้เกิด ฯลฯ เพื่อความเจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร วิริยะนี้ด้วย วิริยสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดัง
พรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร.
[๑๑๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยจิตแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียก
ว่า จิตตสมาธิ เธอยังฉันทะให้เกิด ฯลฯ เพื่อความเจริญบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร จิตนี้ด้วย จิตตสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดังพรรณนา
มานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยจิตตสมาธิ และปธานสังขาร.
[๑๑๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิมังสาแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต
นี้เรียกว่า วิมังสาสมาธิ เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้ง
จิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อ
ให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความเจริญยิ่งๆ
ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้เรียกว่า
ปธานสังขาร วิมังสานี้ด้วย วิมังสาสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้
นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร.
จบ สูตรที่ ๓
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๖๗๒๕ - ๖๗๔๙. หน้าที่ ๒๘๐ - ๒๘๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 19:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
(ตัดกลับมาในภพ3)ย้อนถามต่อว่า ในเมื่อกิเลสไม่หมดผู้ที่มาเกิดเป้นมนุษย์ มาเกิดทางใด?จู่ๆเสปริม์ผสมในมดลูกแล้วมาเกิดเลยหรือ? ทำปฏิสสาร?แล้วเกิดเป้นพลังงานผลิตวิญญาณเลยหรือแล้วเรื่องกรรมที่ทำให้หล่อสวยไม่หล่อไม่สวยพิการไม่พิการล่ะ

:b32: :b32:
ผมว่า...เสปริม์ไปเจาะไข่...มันเป็นกายภาพของภพนั้น ๆ เฉย ๆ ...แล้วการแบ่งตัวของเซลล์ต่าง ๆ ตามพันธุกรรมของจิตก็เป็นลักษณะจำเพาะของภพนี้....และที่ใกล้เคียงกันก็พวกเกิดในไข่..เกิดในที่ชื้นแซะ

แต่พวกเกิดเลยทันที...มีมากกว่ามาก

ที่จริง..จิตมีอำนาจมากนัก....ควรจะเกิดเลยทันทีได้ทั้งหมดด้วยซ้ำ...แต่อะไรไม่รู้ทำให้จิตคลานตั้วเตี๊ยมในรูปกายที่ค่อย ๆ แบ่งตัวทีละเซลล์....แถมกว่าขันธ์จะสมบูรณ์จนดึงของเก่าออกมาได้..ก็ปาเข้าไปตั้ง 7 ขวบ...

สงสัยจิตอ่อนแอ ไม่มีกำลัง:b32:

เคยผ่านตามาว่า...คนในยุคพระศรีฯ..จะเกิดโดยทันทีด้วยอำนาจบุญ...ไม่รู้จริงเท็จเป็นงัย

แต่ในสมัยพระพุทธเจ้าของเรา...ก็มีให้เห็นบ้าง....พอดีเกิดอยู่ใกล้อะไรคนเขาก็ว่าเกิดจากสิ่งนั้น...เช่น..อยู่ในดอกบัวก็ว่าเกิดจากดอกบัว...เป็นต้น...ที่จริงเขาเกิดจากอำนาจบุญ

เอ๋....พูดอะไรไปเนี้ย :b13: :b13: s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 19:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32:
ขอกวน...ก่อนสั่งลา...

บรรดาสาวกที่ไม่มีอะไรนอกจาก..เกิดกับดับ..นะ
พวกเกิดเลยทันที.....มีจิตมั้ย?? :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


พวกดับจิต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2011, 00:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
:b8: อนุโมทนากับท่านพุทธฏีกาด้วยครับ

แต่ว่าจิต กับวิญญาณในขันธ์ 5 จะเป็นอย่างเดียวกันหรือครับ?



สวัสดีครับ สมัยก่อนผมก็เคยคิดสงสัยว่าจิตกับวิญญาณไม่ใช่อันเดียวกันตั้งแต่เริ่มอ่านเรื่องจิตและวิญญาณเป็นครั้งแรกเลย แต่นั่นก็เป็นเพียงความคิดความเชื่อเท่านั้นครับ ทุกวันนี้พอศึกษาพระไตรปิฎกมากขึ้นก็จะเห็นว่าสิ่งที่เราเคยเชื่อเคยคิดมันไม่ใช่อย่างนั้น การศึกษาพระไตรปิฎกจึงควรวางความคิดเดิมๆ ที่เคยมีมาไม่ว่าจะฟังจากใครก็ตาม เก็บไว้ก่อน เป็นผู้ไม่ยึดถือความคิดเห็นใดใดอย่างเหนียวแน่น

ขออิงตามพระไตรปิฎกแล้วกันครับ

จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตมีในสมัยนั้น.
(อภิธรรม ธรรมสังคณีปกรณ์)

วิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น.
(อภิธรรม ธรรมสังคณีปกรณ์)

มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ อินทรีย์คือมโน วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น.
(อภิธรรม ธรรมสังคณีปกรณ์)

ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.
(อภิธรรม ธรรมสังคณีปกรณ์)

อภิธรรมภาชนีย์ (วิภังคปกรณ์)

[๑๒๔] ธาตุ ๑๘ คือ
๑. จักขุธาตุ
๒. รูปธาตุ
๓. จักขุวิญญาณธาตุ
๔. โสตธาตุ
๕. สัททธาตุ
๖. โสตวิญญาณธาตุ
๗. ฆานธาตุ
๘. คันธธาตุ
๙. ฆานวิญญาณธาตุ
๑๐. ชิวหาธาตุ
๑๑. รสธาตุ
๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ
๑๓. กายธาตุ
๑๔. โผฏฐัพพธาตุ
๑๕. กายวิญญาณธาตุ
๑๖. มโนธาตุ
๑๗. ธรรมธาตุ
๑๘. มโนวิญญาณธาตุ

[๑๒๕] ในธาตุ ๑๘ นั้น จักขุธาตุ เป็นไฉน
จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่าจักขุธาตุ

รูปธาตุ เป็นไฉน
รูปใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ ได้แก่ สี ฯลฯ นี้เรียกว่า รูปธาตุบ้างนี้เรียกว่า รูปธาตุ

จักขุวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์วิญญาณ วิญญาณขันธ์
จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยจักขุปสาทและรูปารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า จักขุวิญญาณธาตุ

[๑๒๖] โสตธาตุ เป็นไฉน
โสตะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า โสตธาตุ

สัททธาตุ เป็นไฉน
เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ ฯลฯ นี้เรียกว่าสัททธาตุบ้าง นี้เรียกว่า สัททธาตุ

โสตวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์วิญญาณ วิญญาณขันธ์
โสตวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยโสตปสาทและสัททารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า โสตวิญญาณธาตุ

[๑๒๗] ฆานธาตุ เป็นไฉน
ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า
ฆานธาตุ

คันธธาตุ เป็นไฉน
กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ ฯลฯ นี้เรียกว่าคันธธาตุบ้าง นี้เรียกว่า คันธธาตุ

ฆานวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์วิญญาณ วิญญาณขันธ์
ฆานวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยฆานปสาทและคันธารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ฆานวิญญาณธาตุ

[๑๒๘] ชิวหาธาตุ เป็นไฉน
ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่าชิวหาธาตุ

รสธาตุ เป็นไฉน
รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ฯลฯ นี้เรียกว่ารสธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รสธาตุ

ชิวหาวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์วิญญาณ วิญญาณขันธ์
ชิวหาวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยชิวหาปสาทและรสารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชิวหาวิญญาณธาตุ

[๑๒๙] กายธาตุ เป็นไฉน
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า กายธาตุ

โผฏฐัพพธาตุ เป็นไฉน
ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้เรียกว่า โผฏฐัพพธาตุบ้าง นี้เรียกว่า โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ เป็นไฉน

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
กายวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยกายปสาทและโผฏฐัพพารมณ์เกิดขึ้นนี้เรียกว่า กายวิญญาณธาตุ

[๑๓๐] มโนธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของจักขุวิญญาณธาตุ จิต ฯลฯ ของโสตวิญญาณธาตุ
จิต ฯลฯ ของฆานวิญญาณธาตุ จิต ฯลฯของชิวหาวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร
มโน มนายตนะมนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิด
ดับของกายวิญญาณธาตุ หรือความพิจารณาอารมณ์ทีแรกในธรรมทั้งปวง นี้เรียกว่ามโนธาตุ

ธรรมธาตุ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้นับเนื่องในธัมมายตนะ
และอสังขตธาตุ

ในธรรมธาตุนั้น เวทนาขันธ์ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ
เวทนาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์

สัญญาขันธ์ เป็นไฉน
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ
สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็น
อกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า
สัญญาขันธ์

สังขารขันธ์ เป็นไฉน
สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ
สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือสังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล
เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สังขารขันธ์
รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ นับเนื่องในธัมมายตนะ เป็นไฉน

อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร นี้เรียกว่า รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ นับเนื่องในธัมมายตนะ

อสังขตธาตุ เป็นไฉน
ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อสังขตธาตุ
สภาวธรรมนี้เรียกว่า ธรรมธาตุ

มโนวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
มโนธาตุเกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของจักขุวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส ฯลฯ มโน
วิญญาณธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับแม้ของมโนธาตุอีกชั้นหนึ่ง
มโนธาตุ เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของโสตวิญญาณธาตุฯลฯ
มโนธาตุ เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ
มโนธาตุเกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ
มโนธาตุ เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของกายวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุที่สมกันเกิดในลำดับแห่งการเกิดดับแม้ของมโนธาตุอีกชั้นหนึ่ง

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า มโนวิญญาณธาตุ

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

................................
บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตหายใจเข้าอย่างไร ฯ

จิตนั้นเป็นไฉน วิญญาณจิต ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว จิต คือ มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่จิตนั้น วิญญาณจิต ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาวฯลฯ ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจออก

จิต คือ มนะ มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่จิตนั้น นี้เป็นจิต ฯ

จิตปรากฏอย่างไร เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น

เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น


ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง จิตนั้นย่อมปรากฏ จิตนั้นย่อมปรากฏอย่างนี้ วิญญาณจิต
ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้ง จิตหายใจออกหายใจเข้า ปรากฏสติเป็นอนุปัสสนาญาณ จิตปรากฏ
ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วยบุคคลย่อมพิจารณาจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาจิตในจิต ฯ

คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ ย่อมพิจารณาจิตอย่างนี้ ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ สีลวิสุทธิ ด้วย
อรรถว่าความรู้แจ้งจิตระวังลมหายใจออกลมหายใจเข้า ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออกหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้
ประชุมลง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ

( ปฏิสัมภิทามรรค )

.....
๘. (๔) อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร
จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่าง
ไม่เที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด
กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้ อย่างนี้ว่า สิ่งที่เรียกว่าจักษุก็ดี โสตะก็ดี
ฆานะก็ดี ชิวหาก็ดี กายก็ดี นี้ได้ชื่อว่าอัตตา เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอัน
แปรผันเป็นธรรมดา ส่วนสิ่งที่เรียกว่าจิตหรือใจหรือวิญญาณ นี้ชื่อว่าอัตตา เป็นของเที่ยง
ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการนี้แล.
(ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค )
...........


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2011, 07:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เมื่อไรจิตเกิดที่ตา เมื่อนั้นเรียก จักขุวิญญาณ
เมื่อไรจิตเกิดที่หู เมื่อนั้นเรียก โสตวิญญาณ
.
.
เมื่อไรจิตไม่เกิดที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่จิตไปเกิดที่อื่นนอกจากนี้.... เรียกว่า มโนวิญญาณ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 178 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร