วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 12:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2011, 09:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 13:38
โพสต์: 376

ชื่อเล่น: ต้น
อายุ: 0
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


...... นัยว่าพระเจ้ามหารถราช เสวยสมบัติ ในสักกราชาวดีนคร ท้าวท่านเป็นสัมมาทิฎฐิบุคคล
คือมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ตรงกันข้ามกับ พระเจ้าปัญจาลราช กษัตริย์กรุงปัญจาลราชนคร
เป็นมิจฉาทิฎฐิบุคคล คือไม่นับถือพระพุทธศาสนา กษัตริย์ทั้งสองเป็นสหายที่ไม่เคยเห็นหน้ากันเลย

ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปัญจาลราชได้ส่งผ้ารัตนกัมพลผืนหนึ่งไปถวายพระเจ้ามหารถราช
พระเจ้ามหารถราช ทอดพระเนตรเห็นผ้ารัตนกัมพล แล้วจึงตรัสว่าสหายเราส่งผ้าอันมีค่ามากมาให้เรา
เราก็ควรจัดส่งแก้วอันประเสริฐไปให้ตอบแทนพระสหาย ดังนี้ พระเจ้ามหารถจึงคิดว่า เราจะส่งแก้วสิ่ง
ใดหนอซึ่งมีค่ามากเหนือสิ่งอื่นใด พิจารณาแล้วเห็นว่า แก้วใดๆจะประเสริฐกว่าพุทธรัตนะย่อมไม่มี
จึงตกลงใจจะส่งพุทธรัตนะไปถวาย จึงสั่งให้ช่างนำแผ่นทองคำตีเป็นแผ่นบางแล้วให้เขียนรูปพระพุทธเจ้า
ลงไปในแผ่นทองคำด้วยชาตหรคุณมีขนาดองค์ประมาณ 1 ศอก
แล้วสั่งให้อำมาตย์เชิญพระพุทธรูปทองนั้นลงสู่สำเภาเพื่อนำไปถวายพระเจ้าปัญจาลราช ก่อนที่จะส่งราชทูตไป

พระองค์ยกมือขึ้นประณมถวายนมัสการ โดยทรงระลึกถึงองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย พระองค์มีความประสงค์จะสั่งสอนเวไนยสัตว์ในประเทศใดๆ
ขอพระองค์ทรงเสด็จไปยังประเทศนั้นๆ แล้วยังประโยชน์ให้เกิด แก่สัตว์จำพวกนั้นเถิด
พระเจ้าปัญจาลราชสหายของหม่อมฉันเป็นมิจฉาทิฎฐิ มีความเห็นผิดจากทำนองครองธรรม
มิได้มีความเชื่อความเลื่อนใสในพระองค์ ถ้าพระองค์เสด็จไปยังพระนครนั้นแล้ว
ขอพระองค์ได้โปรดแสดงปาฎิหาริย์ทรมานพระเจ้าปัณจาลราชให้ละซึ่งมิจฉาทิฎฐิด้วยเถิด"

อธิษฐานเสร็จแล้วเสด็จลงน้ำประมาณพระศอ(พระพุทธเจ้าอยู่บนเรือ
ท่านจึงลงไปในน้ำซึ่งต่ำกว่า) เพื่อส่งรูปพระพุทธเจ้านั้นไปยังเมืองปัญจาลนคร
ในขณะนั้น บรรดาแก้วอันเกิดในมหาสมุทรมีสีต่างๆก็ผุดขึ้นจากท้องมหาสมุทรลอยอยู่เหนือน้ำเพื่อบูชา
พระพุทธรูปนั้น พื้นน้ำงามวิจิตรด้วยแก้ว 7 ประการประหนึ่งพื้นแห่งภาชนะทอง ดอกปทุมทั้งหลายก็ผุดขึ้น
เหนือพื้นน้ำพญานาคทั้งหลายก็ได้พานาคบริษัทออกจากนาคพิภพขึ้นมาสักการบูชาด้วยสุคันธมาลา เทวดาทั้งหลายก็เรี่ยราย ดอกไม้ทิพย์ลงมาจากอากาศ
เมื่อราชทูตไปถึงกรุงปัญจาลนครแล้ว จึงเข้าไปถวายบังคมพระเจ้าปัญจาล แล้วกราบทูลเหตุอัศจรรย์ ให้
ทราบโดยตลอด ท้าวเธอทรงโสมนัสปรีดาในเครื่องบรรณาการเป็นยิ่งนัก ได้เสด็จออกพร้อมจตุรงคเสนารับสั่ง
ให้ชาวเมืองประโคมแตรสังข์ กังสดาล เสด็จไปยังท่าน้ำ ถวายนมัสการสักการบูชา แล้วเสด็จลงไปในน้ำประมาณพระศอ
ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธรูปแล้วทรงยินดีทรงแสดงตนเป็นพุทธมามกะ


แล้วด้วยอำนาจความศัทธาของพระเจ้าปัญจาลราช และด้วยอำนาจอธิษฐานของพระเจ้ามหารถราช
พระพุทธรูปนั้นก็ลอยขึ้นไปบนอากาศเปล่งรัศมี 6 ประการ
จับพื้นปฐพีตลอดจนถึงพรหมโลก กลบแสงแห่งอาทิคย์ กลบแสงรัศมีเทวดาในหมื่นโลกธาตุ ณ กาลนั้น
ในคราวนั้นพระอินทร์ ได้เสด็จลงมาถวายนมัสการพร้อมด้วยเทพบริษัท มนุษย์ก็เห็นเทวดา เทวดาก็เห็นหมู่มนุษย์
พระเจ้าปัญจาลราชเห็นปาฎิหาริย์เช่นนั้น ทรงโสมนัสยินดียิ่งนักได้นำพระพุทธรูปไปประดิษฐานในพระมนเทียร
แล้วบูชาด้วยประทีปธูปเทียนชวาลา ทรงแสดงองค์เป็นอุบาสก

ในเวลาต่อมาพระองค์ได้ให้ช่างแกะรูปพระพุทธเจ้าด้วยแก่นจันทน์แล้วประดิษฐานไว้ในศาลาไม้บุณนาค
แล้วรับสั่งให้ชาวเมืองพากันมาปิดทองพระพุทธรูป ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เป็นคนเข็ญใจในเมืองนั้น
เมื่อได้ยินเสียงโฆษณาดังกล่าวแล้วตัดสินใจ อำลาลูกอำลาเมียเพื่อไปขายตัวให้เป็นทาส
แล้วจะได้เงินมาซื้อทองปิดพระพุทธรูป แต่ด้วยความเห็นใจของภรรยา ภรรยาจึงยอมขายตนและลูกเป็นค่าทอง
พระโพธิสัตว์นำลูกเมียไปขายในตระกูลที่มั่งคั่งแล้วนำไปซื้อทอง
ปิดพระพุทธรูป

เมื่อทองไม่พอจึงรำพึง "ใครหนอจักทำเนื้อมนุษย์ ให้เป็นทองได้ เราจักบริจาคตน "
ในครั้งนั้นท้าวสักกเทวราชได้เสด็จลงมายืนอยู่ตรงหน้าแสดงตนเป็นช่างทอง ต่อพระโพธิสัตว์
เมื่อทราบว่าช่างทองนั้นสามารถทำเนื้อให้เป็นทองได้จึงประกาศแก่เทพเทวดาขออาวุธเชือดเลือดเนื้อตกลงมา
เมื่อได้ ศัสตราวุธแล้วพระโพธิสัตว์ก็เชือดเนื้อของตนจนตราบเท่าปิดทองสำเร็จ
เกิดความยินดีโสมนัส สลบลงแทบเท้าพระพุทธรูป
พระอินทร์ได้เยียวยาให้หายเป็นปรกติ แล้วเป็นผู้มีกายดุจสีทอง พระอินทร์ตรัสพยากร "

ท่านจัดได้เป็นพระศรีสรรเพชญ์
ในอนาคต " แล้วพระอินทร์ก็กลับสู่วิมาน
พระเจ้าปัญจาลราชพร้อมชาวเมือง ได้ทำการสักการบูชาแก่พระโพธิสัตว์ และแบ่งสมบัติให้พระโพธิสัตว์
เป็นอันมาก ครั้นดับขันธ์แล้วพระโพธิสัตว์ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตเสวยสมบัติอันมโหฬาร



อันนี้ผมได้มาจา 84000 อยากให้ช่วยค้นหาหน่อยว่ามาจากพระไตรปิฎกเล่มไหน หรืออรรถกถาเล่มไหน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2011, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


เจริญพร อาตมาหาด้วยเวลาที่จำกัดมีอยู่น้อยยังไม่เจอนะครับ
ที่ตรงๆ เป๊ะๆ ส่วนใหญ่อยู่ในอัฏฐกถา ในชาดก เช่นพระสุตตันตปิฏก
ขุททกนิกาย อุทาน, คัมภีร์วิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน,
คัมภีร์ชาตกัฏฐกถา อรรถกถา ขุททกนิกาย ชาดก, คัมภีร์ปรมัตถทีปนี อรรถกถา
ขุททกนิกาย เปตวัตถุ, คัมภีร์พระปฐมสมโพธิกถา ของ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส,
คัมภีร์วิสุทธิมรรค, คัมภีร์สารัตถสังคหะ,
จำพวกเรื่องอานิสสงค์จะอยู่ในคำภีร์เหล่านี้ ตอนนี้ยังหาไม่เจอค้น
อปทานไปเกือบหมดแล้วยังไม่เจอ ด้วยข้อจำกัดเวลากิจธุระ สองวันแล้ว
ยังไม่เจอ โยมเจอก่อนอย่าลืมนำมาแชร์ด้วยนะครับ เจออานิสงส์อื่นๆ
แต่ที่ปิดทอง ตรงๆ ยังไม่เจอ ยังไงเจอช่วยแชร์ด้วยครับ ขอเจริญพร

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2011, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 22:56
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาจาก วิริยบัณฑิตชาดก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ปัญญาสชาดก ครับ

"ปัญญาสชาดก" เป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องเอกที่พระเถระนักปราชญ์ชาวเชียงใหม่ได้รวบรวมเรื่องราวปรัมปราที่เป็นนิทานพื้นถิ่นแพร่หลายในยุคนั้น แล้วนำมารจนาเป็นชาดกขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๐๐ - ๒๒๐๐ โดยเขียนไว้ด้วยภาษาบาลี มีทั้งคำประพันธ์ที่เป็นร้อยแก้วและบทคาถาหรือบทร้อยกรองทั้งสิ้น ๕๐ ชาดก

ที่มา

ปัญญาสชาดก
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%81

วิริยบัณฑิตชาดก
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%81

น่าจะสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จาก สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (ฉบับปรับปรุง) โดย ศ.ดร. อุดม รุ่งเรืองศรี
http://watsuandok.org/2011-03-19-00-55-43/2011-03-23-09-47-30.html


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร