ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
วิปัสสนาภาวนา ต่างกับ ปฏิบัติสมาธิตรงไหน http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=40284 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 11 |
เจ้าของ: | ไม่เที่ยง เกิดดับ [ 30 พ.ย. 2011, 16:55 ] |
หัวข้อกระทู้: | วิปัสสนาภาวนา ต่างกับ ปฏิบัติสมาธิตรงไหน |
วิปัสสนาภาวนา ต่างกับ ปฏิบัติสมาธิตรงไหน ผลของทั้งสองอย่างนี้คืออะไร วอนผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ เป็นบุญสูงสุดสำหรับฆราวาสครับ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | eragon_joe [ 30 พ.ย. 2011, 18:11 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสสนาภาวนา ต่างกับ ปฏิบัติสมาธิตรงไหน |
ไม่ต่าง ในการตั้งอยู่ |
เจ้าของ: | ปลีกวิเวก [ 01 ธ.ค. 2011, 07:56 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสสนาภาวนา ต่างกับ ปฏิบัติสมาธิตรงไหน |
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: วิปัสสนาภาวนา ต่างกับ ปฏิบัติสมาธิตรงไหน ผลของทั้งสองอย่างนี้คืออะไร วอนผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ เป็นบุญสูงสุดสำหรับฆราวาสครับ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() รู้ทฤษฏีแล้วลงมือปฏิบัติได้เลยค่ะ การรู้ด้วยตนเองย่อมเข้าใจชัดเจน แจ่มแจ้ง หมดความสงสัยมากกว่าการรู้โดยผ่านการบอกเล่าจากผู้อื่น เราเองก็ยังไม่ได้เป็นผู้รู้แต่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างศึกษาเช่นกัน.. ขอเจริญในธรรม ![]() |
เจ้าของ: | ไม่เที่ยง เกิดดับ [ 01 ธ.ค. 2011, 11:29 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสสนาภาวนา ต่างกับ ปฏิบัติสมาธิตรงไหน |
ปลีกวิเวก เขียน: ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: วิปัสสนาภาวนา ต่างกับ ปฏิบัติสมาธิตรงไหน ผลของทั้งสองอย่างนี้คืออะไร วอนผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ เป็นบุญสูงสุดสำหรับฆราวาสครับ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() รู้ทฤษฏีแล้วลงมือปฏิบัติได้เลยค่ะ การรู้ด้วยตนเองย่อมเข้าใจชัดเจน แจ่มแจ้ง หมดความสงสัยมากกว่าการรู้โดยผ่านการบอกเล่าจากผู้อื่น เราเองก็ยังไม่ได้เป็นผู้รู้แต่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างศึกษาเช่นกัน.. ขอเจริญในธรรม ![]() ขอบพระคุณมากครับที่ให้การชี้แนะ ผู้ปฏิบัติย่อมรู้เอง " สิ่งใดมีการเกิดเป็นธรรดา สิ่งนั้นย่อมมีความดับเป็นธรรมดา" |
เจ้าของ: | หลับอยุ่ [ 01 ธ.ค. 2011, 23:10 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสสนาภาวนา ต่างกับ ปฏิบัติสมาธิตรงไหน |
จตุธาตุววัฏฐาน ๑ หรืออาหาเรปฏิกูลหรืออสุภะกรรมฐาน ดูท่าไม่เที่ยงเกิดดับต้องเน้นสมถะ3กองนี้ พิจารณาให้จิตสงบ.ให้หยุดให้นิ่งให้เป็นฌาน ทรงให้นานเจริญให้มากทำให้เป็นวสี(ชำนาญ)onion จิตที่มีนิวรณ์ ทำวิปัสสนาไม่ได้ ภูมิวิปัสสนาต่ำสุดต้องโคตรภูบุคคล |
เจ้าของ: | โฮฮับ [ 02 ธ.ค. 2011, 04:10 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสสนาภาวนา ต่างกับ ปฏิบัติสมาธิตรงไหน |
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: วิปัสสนาภาวนา ต่างกับ ปฏิบัติสมาธิตรงไหน ผลของทั้งสองอย่างนี้คืออะไร วอนผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ เป็นบุญสูงสุดสำหรับฆราวาสครับ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() การทำสติปัสฐานสี่ตามรู้กายในกาย เหมือนหรือแตกต่างกับการทำ อานาปานสติ ตรงไหน ผลของทั้งสองอย่างคืออะไร |
เจ้าของ: | โฮฮับ [ 02 ธ.ค. 2011, 04:29 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสสนาภาวนา ต่างกับ ปฏิบัติสมาธิตรงไหน |
"คุณไม่เที่ยงเกิดดับครับ"......... ขออนุญาติแนะนำหน่อยครับ เมื่อตั้งกระทู้แล้วกรุณาให้ความสำคัญกับกระทู้หน่อย ควรมีความรับผิดชอบต่อกระทู้ที่ตั้งขึ้นมา ด้วยการตอบข้อซักถามที่เป็นสาระ การตอบ ต้องไม่ตอบแบบเอาสมมุติบัญญัติ มาเล่นเป็นสำบัดสำนวน และพยายามให้จบเป็นเรื่องๆเป็นกระทู้ๆไป การให้ธรรมะเป็นทาน เป็นกุศลดีครับ ในทางตรงกันข้ามการให้ความเพ้อเจ้อ ฟุ้งซ่านมันเป็นอกุศลนะครับ อ่านแล้วก็คิดเสียว่าความเห็นนี้มาเป็นสติเตือนครับ การสนทนาหรือการเข้าสมาคม มันต้องพูดจาให้เข้าใจซึ่งกันและกัน ไม่ใช่วันๆคุยแต่ไม่เที่ยงเกิดดับๆๆ อย่าเอาธรรมะของพระพุทธเจ้ามาทำให้ เป็นความเพ้อเจ้อฟุ้งซ่านเลยครับ |
เจ้าของ: | ละครน้ำเน่า [ 02 ธ.ค. 2011, 07:18 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสสนาภาวนา ต่างกับ ปฏิบัติสมาธิตรงไหน |
หลับอยุ่ เขียน: ... ภูมิวิปัสสนาต่ำสุดต้องโคตรภูบุคคล ขอกราบสักพันครั้ง ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ไม่เที่ยง เกิดดับ [ 02 ธ.ค. 2011, 09:00 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสสนาภาวนา ต่างกับ ปฏิบัติสมาธิตรงไหน |
โฮฮับ เขียน: ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: วิปัสสนาภาวนา ต่างกับ ปฏิบัติสมาธิตรงไหน ผลของทั้งสองอย่างนี้คืออะไร วอนผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ เป็นบุญสูงสุดสำหรับฆราวาสครับ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() การทำสติปัสฐานสี่ตามรู้กายในกาย เหมือนหรือแตกต่างกับการทำ อานาปานสติ ตรงไหน ผลของทั้งสองอย่างคืออะไร สติปัฏฐาน 4 ใช่หรือไม่ คือ การระลึก การรู้เห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง 1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา 2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา 3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา 3. ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา *** บทสรุปของทั้ง 4 ข้อนี้ก็คือ ไม่เที่ยง เกิดดับ*** |
เจ้าของ: | asoka [ 02 ธ.ค. 2011, 15:16 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสสนาภาวนา ต่างกับ ปฏิบัติสมาธิตรงไหน |
![]() วิปัสสนา ต้องตามด้วยคำว่า "ภาวนา" หรือ "กรรมฐาน" จึงจะมีความหมายสมบูรณ์เพื่อการปฏิบัติจริง วิปัสสนา มาจากคำว่า "วิ" กับคำว่า "ปัสสนา" วิ มาจากคำว่า "วิเศษ" หมายถึงสิ่งพิเศษที่ไม่สามารถเห็นได้ รู้ได้ด้วยตาเนื้อธรรมดา หรือเครื่องมือใดๆ จะรู้ได้ก็ด้วย ตาปัญญา ตาใจ หรือรู้ตรงที่ใจ สิ่งวิเศษที่มีอยู่ในกายในจิตของคนทั้งหลายก็คือ "ธรรม"หรือ "สภาวธรรม" ทั้งหลายนั่นเอง เช่น ความทุกข์ ความสุข ชอบใจ ไม่ชอบใจ ร้อน หนาว เย็น อุ่น หนัก เบา แข็ง อ่อน เจ็บ ปวด เต้น ตอด เหน็บ ซ่าน สบาย ดีใจ เสียใจ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม หอม เหม็น เป็นต้น ปัสสนา มาจากคำว่า "ทัศนา" แปลวา เห็น ดู รู้ ในทางปฏิบัติหมายถึง สัมมาทิฐิ ตาปัญญา อันเป็นมรรคข้อที่ 1 ในมรรค 8 นั้นเลยทีเดียว วิปัสสนาจึงมีความหมายโดยรวมว่า การเห็น ดู รู้ สภาวธรรมที่เกิดขึ้นในกายและจิต ที่ต้องมีคำว่า "ภาวนา" ตามมานั้น เพราะ คำว่า "ภาวนา" แปลว่าเจริญหรือทำให้เกิดมีขึ้นมา แต่คำว่า "ภาวนา"นี้เมื่อมาตามหลังคำว่า "วิปัสสนา"แล้ว กลับมีความหมายในเชิงปฏิบัติว่า กรสังเกต พิจารณา อันหมายถึงตาปัญญาดวงที่ 2 ของปัญญามรรคในมรรค 8 คือ ตาปัญญา สัมมาสังกัปปะ วิปัสสนาภาวนา จึงแปลว่า การเฝ้า ดู เห็น รู้ และ สังเกต พิจารณา สภาวธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในกายและจิต จนเห็นและรู้ธรรมตามความเป็นจริง ความเป็นจริงของสภาวธรรมทั้งหมดคือ 1.อนิจจัง ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงไปมาอยู่ตลอดเวลา 2.ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ (ต้องเปลี่ยนแปลง) 3.อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไร้แก่นสาร ตัวตน กลวง ว่างเปล่า ผู้ปฏิบัติท่านใดได้เห็นได้รู้ความจริงอย่างนี้ย่อมจักทำให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายจาง ปล่อยวาง ความเห็นผิด ยึดผิด ที่ไปยึดว่า รูป นาม กาย ใจ ธาตุขันธ์ หรือขันธ์ 5 ก้อนนี้เป็น อัตตา ตัวตน ตัวกู ของกู เมื่อความเห็นผิด มิจฉาทิฐิ ดับไป ตายไป ความเห็นถูกต้องโดยสมบูรณ์ หรือ สัมมาทิฐิ ก็จักเกิดขึ้นมาแทนที่ คือเห็นว่าธรรมทั้งหมดทั้งปวงเป็น อนัตตา จิตก็จะหลุดพ้นสู่นิพพาน ทำไมต้องวิปัสสนาด้วย สมถะไม่ได้หรือ เฉพาะ สมถะ อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะถอนทำลายความเห็นผิด ว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู ได้ เหตุผลประกอบอีกอย่างหนึ่งคือ สมถะภาวนา เป็นวิชาของเหล่าพราหมณ์ ฮินดู ฤาษี ชีไพร อเจลกะ นิคฤนธ์ ทั้งหลายเขาทำกันมานานก่อนพระพุทธเจ้า เป็นการพยายามแก้ที่ ทุกข์ ซึ่งเป็นตัวผล จึงแก้ทุกข์ได้ไม่เด็ดขาด วิปัสสนาภาวนา เป็นวิชาของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำมาสั่งสอน เป็นวิธี แก้ที่เหตุทุกข์ หรือ สมุทัย เป็นการแก้ทุกข์ที่ชะงัด ได้ผลสมบูรณ์ ไม่กลับกลอกคืนมาทุกข์ได้อีกต่อไป |
เจ้าของ: | หลับอยุ่ [ 02 ธ.ค. 2011, 17:42 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสสนาภาวนา ต่างกับ ปฏิบัติสมาธิตรงไหน |
รู้จักพระปัจเจกพุทธเจ้าไหมล่ะครับ?มีมากมายนับไม่ถ้วน.....ในยุคที่ไม่มีศาสนาพุทธ มีทั้งเป็นฤาษีมาก่อน เป้นโยคีมาก่อน เป้นกษัตริย์มาก่อน ๆลๆ ภูมิสมถะต้องมีด้วย ไม่งั้นมรรคไม่ครบองค์ !ไม่เอาความสงบระงับ จะสาวไปถึงอาสวักขยญานเป็นไปไม่ได้หรอกครับ อีกทั้งจักขุกรณีไม่มีทางเกิดและจะไปรู้ขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนก็ไมได้ๆลๆ คุณอโศกะน่าจะเข้าใจนะครับ อยู่ในเวปมาหลายปีแล้ว ![]() ทำความเข้าใจเรื่องจตุวัฏฐานหนึ่งในสมถะสี่สิบกองแล้วจะเข้าใจ |
เจ้าของ: | ไม่เที่ยง เกิดดับ [ 02 ธ.ค. 2011, 17:47 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสสนาภาวนา ต่างกับ ปฏิบัติสมาธิตรงไหน |
asoka เขียน: :b8: วิปัสสนา ต้องตามด้วยคำว่า "ภาวนา" หรือ "กรรมฐาน" จึงจะมีความหมายสมบูรณ์เพื่อการปฏิบัติจริง วิปัสสนา มาจากคำว่า "วิ" กับคำว่า "ปัสสนา" วิ มาจากคำว่า "วิเศษ" หมายถึงสิ่งพิเศษที่ไม่สามารถเห็นได้ รู้ได้ด้วยตาเนื้อธรรมดา หรือเครื่องมือใดๆ จะรู้ได้ก็ด้วย ตาปัญญา ตาใจ หรือรู้ตรงที่ใจ สิ่งวิเศษที่มีอยู่ในกายในจิตของคนทั้งหลายก็คือ "ธรรม"หรือ "สภาวธรรม" ทั้งหลายนั่นเอง เช่น ความทุกข์ ความสุข ชอบใจ ไม่ชอบใจ ร้อน หนาว เย็น อุ่น หนัก เบา แข็ง อ่อน เจ็บ ปวด เต้น ตอด เหน็บ ซ่าน สบาย ดีใจ เสียใจ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม หอม เหม็น เป็นต้น ปัสสนา มาจากคำว่า "ทัศนา" แปลวา เห็น ดู รู้ ในทางปฏิบัติหมายถึง สัมมาทิฐิ ตาปัญญา อันเป็นมรรคข้อที่ 1 ในมรรค 8 นั้นเลยทีเดียว วิปัสสนาจึงมีความหมายโดยรวมว่า การเห็น ดู รู้ สภาวธรรมที่เกิดขึ้นในกายและจิต ที่ต้องมีคำว่า "ภาวนา" ตามมานั้น เพราะ คำว่า "ภาวนา" แปลว่าเจริญหรือทำให้เกิดมีขึ้นมา แต่คำว่า "ภาวนา"นี้เมื่อมาตามหลังคำว่า "วิปัสสนา"แล้ว กลับมีความหมายในเชิงปฏิบัติว่า กรสังเกต พิจารณา อันหมายถึงตาปัญญาดวงที่ 2 ของปัญญามรรคในมรรค 8 คือ ตาปัญญา สัมมาสังกัปปะ วิปัสสนาภาวนา จึงแปลว่า การเฝ้า ดู เห็น รู้ และ สังเกต พิจารณา สภาวธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในกายและจิต จนเห็นและรู้ธรรมตามความเป็นจริง ความเป็นจริงของสภาวธรรมทั้งหมดคือ 1.อนิจจัง ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงไปมาอยู่ตลอดเวลา 2.ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ (ต้องเปลี่ยนแปลง) 3.อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไร้แก่นสาร ตัวตน กลวง ว่างเปล่า ผู้ปฏิบัติท่านใดได้เห็นได้รู้ความจริงอย่างนี้ย่อมจักทำให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายจาง ปล่อยวาง ความเห็นผิด ยึดผิด ที่ไปยึดว่า รูป นาม กาย ใจ ธาตุขันธ์ หรือขันธ์ 5 ก้อนนี้เป็น อัตตา ตัวตน ตัวกู ของกู เมื่อความเห็นผิด มิจฉาทิฐิ ดับไป ตายไป ความเห็นถูกต้องโดยสมบูรณ์ หรือ สัมมาทิฐิ ก็จักเกิดขึ้นมาแทนที่ คือเห็นว่าธรรมทั้งหมดทั้งปวงเป็น อนัตตา จิตก็จะหลุดพ้นสู่นิพพาน ทำไมต้องวิปัสสนาด้วย สมถะไม่ได้หรือ เฉพาะ สมถะ อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะถอนทำลายความเห็นผิด ว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู ได้ เหตุผลประกอบอีกอย่างหนึ่งคือ สมถะภาวนา เป็นวิชาของเหล่าพราหมณ์ ฮินดู ฤาษี ชีไพร อเจลกะ นิคฤนธ์ ทั้งหลายเขาทำกันมานานก่อนพระพุทธเจ้า เป็นการพยายามแก้ที่ ทุกข์ ซึ่งเป็นตัวผล จึงแก้ทุกข์ได้ไม่เด็ดขาด วิปัสสนาภาวนา เป็นวิชาของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำมาสั่งสอน เป็นวิธี แก้ที่เหตุทุกข์ หรือ สมุทัย เป็นการแก้ทุกข์ที่ชะงัด ได้ผลสมบูรณ์ ไม่กลับกลอกคืนมาทุกข์ได้อีกต่อไป นี่คืือความหมายของการวิปัสสนาภาวนาที่แท้จริง ดับเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวงได้ สมถะ หรือ สมาธิ (มิจฉาสมาธิ) คือสมาธิที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่สามารถดับเหตุแห่งทุกข์ได้เลย |
เจ้าของ: | Ya [ 02 ธ.ค. 2011, 18:08 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสสนาภาวนา ต่างกับ ปฏิบัติสมาธิตรงไหน |
อ่านมานาน แปลกใจเหมือนกันว่า ทำไมไม่เอาสมถะ |
เจ้าของ: | หลับอยุ่ [ 02 ธ.ค. 2011, 20:20 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสสนาภาวนา ต่างกับ ปฏิบัติสมาธิตรงไหน |
Ya เขียน: อ่านมานาน แปลกใจเหมือนกันว่า ทำไมไม่เอาสมถะ กิเลสภายในไม่ยอมรับ นิวรณ์ฟุ้งซ่านมากจนเกินขอบเขตอันควรถึงกับกล้าค้านมรรคที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศ อันตรายครับ |
เจ้าของ: | asoka [ 07 ธ.ค. 2011, 07:51 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปัสสนาภาวนา ต่างกับ ปฏิบัติสมาธิตรงไหน | ||
![]() พากันไปดู และสังเกตพิจารณาให้ดีว่า พระสูตรแรกที่พระพุทธเจ้าทรงเผยพระโอษฐ์ตรัสสอนสัตว์โลกและพระสูตรที่ทรงแสดงวันที่ 2 - 5 เป็นเรื่องของปัญญาล้วนๆ สมาธิที่มีอยู่ตามธรรมชาติของมนุษย์นี้เพียงพอแล้วที่ จะนำมาหนุนปัญญาและสติที่เป็นสัมมาปัญญาสัมมาสติ ให้ค้นพบและขุดถอน สมุทัย เหตุทุกข์ คือความเห็นผิดว่าเป็นอัตตาตัวกูของกูที่ผูกยึดอยู่ในจิตของปุถุชนทุกๆดวง ขอจงอย่าได้ดูถูกความสามารถของผู้ที่ได้บำเพ็ญบุญมาดีแล้วจนได้มาเกิดเป็นมนุษย์มีอาการครบ 32 ทุกๆคน สมถะภาวนาตามแนวทางที่ฤาษีชีไพรทั้งหลายเขาทำมานั้น ดีอยู่ แต่ที่ดีกว่านั้นและเป็นวิชชาที่พระพุทธเจ้าทรงคนพบคือวิปัสสนาภาวนาหรือการเจริญมรรค 8 ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้สมาธิที่มากมายระดับฤาษีที่ทำฌาณทั้งหลาย ลองตรองกันดูให้ดีนะครับ โปรดอย่าพากันทำให้การประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นของง่าย ให้กลายเป็นของยากพ้นวิสัยสำหรับผู้คนทั่วไปด้วยการมาตั้งกฏเณฑ์ หรือทำให้ผู้คนเห็นว่า ต้องฝึกสมถะ ทำฌาณกันให้ได้เสียก่อนจึงจะปฏิบัติธรรมและบรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าและพระอริยสาวกทั้งหลาย ตัวอย่างในครั้งพุทธกาลมีมากมายยิ่งนักที่มีผู้บรรลุธรรมด้วยการใช้สติ ปัญญา สมาธิ ที่น้อมตามกระแสธรรมแล้วบรรลุธรรมเมื่อจบการแสดงธรรมของพระพุทธองค์ แม้แต่อรรคสาวกฝ่ายซ้ายฝ่ายขวาทั้ง 2 ท่านก็บรรลุธรรมเมื่อสิ้นสุดกระแสแห่งธรรมที่พระอัสสชิแสดง และท่านอุปติสสะนำไปแสดงต่อแก่ท่านโกลิตตะในครั้งนั้น คณหลับอยู่ ทำท่าว่าตื่นแล้ว แต่จะกลับไปหลับอยู่ในฌาณต่อไปอีกหรือครับ? ฌาณนั้นข่ม กลบ บัง โทสะและปฏิฆะได้ แต่จะไม่ทำให้โทสะและปฏิฆะเบาบางลงเลยถ้าไม่ได้วิปัสสนาปัญญามาช่วยขุดถอน พิสูจน์ได้จากจิตใจของทุกท่านที่ยังยึด สมถะภาวนา เดี๋ยวนี้เลยครับ ลองสังเกตจิตของท่านเดี๋ยวนี้ซิครับ ว่าเป็นจริงอย่างนั้นหรือไม่
|
หน้า 1 จากทั้งหมด 11 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |