วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 01:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2011, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


การฝึกกัมมัฏฐาน เกี่ยวข้องกับ จริต ของแต่ละบุคคลหรือไม่
จริตของแต่ละบุคคลจำเป็นต่อการเลือกฝึกกัมมัฏฐานหรือไม่
กัมมัฏฐาน หมายถึง ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิต มี ๒ ประเภท คือ สมถกัมมัฏฐาน อุบายสงบใจ ๑ วิปัสสนากัมมัฏฐาน อุบายเรืองปัญญา (พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
กัมมัฏฐาน แบ่งออกเป็น ๔๐ กอง หรือ ๔๐ หมวดหมู่ ได้แก่ คือกสิณ ๑๐ อย่าง, อสุภะ ๑๐ อย่าง, อนุสติ ๑๐ อย่าง, พรหมวิหาร ๔ , อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑, จตุธาตุววัตถาน ๑ ,อรูป ๔
-กสิณ ๑๐ อย่าง หมายถึง วัตถุอันจูงใจ คือ จูงใจให้เข้าไปผูกอยู่ เป็นชื่อของกัมมัฏฐานที่ใช้วัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ มี ๑๐ อย่าง คือ ภูตกสิณ ๔ : - ๑) ปฐวี ดิน ๒) อาโป น้ำ ๓) เตโช ไฟ ๔) วาโย ลม วรรณกสิณ ๖ :- ๕) นีลํ สีเขียว ๖) ปีตํ สีเหลือง ๗) โลหิตํ สีแดง ๘) โอทาตํ สีขาว และ ๙) อาโลโก แสงสว่าง ๑๐) อากาโส ที่ว่าง
-อสุภะ ๑๐ อย่าง หมายถึง สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม; ในความหมายเฉพาะ หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน รวม ๑๐ อย่าง คือ ๑) อุทธุมาตกะ ซากศพที่เน่าพอง ๒) วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ ๓) วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกอยู่ ๔) วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว ๕) วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว ๖) วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาด ๗) หตวิกขิตตกะ ซากศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกษกัน สับฟันเป็นท่อนๆ ๘) โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิตไหลอาบอยู่ ๙) ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลานคล่ำไปอยู่ ๑๐) อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก
-อนุสติ ๑๐ อย่าง หมายถึง ความระลึกถึง, อารมณ์ที่ควรระลึกถึงเนืองๆ มี ๑๐ อย่าง คือ ๑) พุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ๒) ธัมมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม ๓) สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ ๔) สีลานุสติ ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา ๕) จาคานุสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว ๖) เทวตานุสติ ระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา ๗) มรณัสสติ ระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา ๘) กายคตาสติ ระลึกทั่วไปในกายให้เห็นว่าไม่งาม ๙) อานาปานสติ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก ๑๐) อุปสมานุสติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับกิเลสและความทุกข์ คือ นิพพาน
-พรหมวิหาร ๔ หมายถึง ธรรมเครื่องอยู่ของพรหม, ธรรมประจำใจอันประเสริฐ, ธรรมประจำใจของท่านผู้มีคุณความดียิ่งใหญ่ มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
- อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ หมายถึง กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร, ความสำคัญหมายในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล พิจารณาให้เห็นว่าเป็นของน่าเกลียด โดยอาการต่างๆ เช่น ปฏิกูล โดยบริโภค, โดยประเทศที่อยู่ของอาหาร, โดยสั่งสมอยู่นาน เป็นต้น
- จตุธาตุววัตถาน ๑ หมายถึง การกำหนดธาตุ ๔ คือ พิจารณาร่างกายนี้ แยกแยะออกไปมองเห็นแต่ส่วนประกอบต่างๆ ที่จัดเข้าไปในธาตุ ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ทำให้รู้ภาวะความเป็นจริงของร่างกาย ว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ประชุมกันเข้าเท่านั้น ไม่เป็นตัวสัตว์บุคคลที่แท้จริง
- อรูป ๔ หมายถึง ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ได้แก่ อรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถืออรูปฌาน, ภพของอรูปพรหม มี ๔ คือ ๑) อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๒) วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๓) อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์) ๔) เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)
(จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ( ป.อ.ประยุตฺโต)
กัมมัฏฐาน ทั้ง ๔๐ กอง เป็นทั้ง อุบายทำให้ใจสงบ และเป็นทั้ง อุบายทำให้เรืองปัญญา หรือจะกล่าวว่า เป็นการฝึกอบรมใจให้สงบ และ เป็นการฝึกอบรมให้เกิดปัญญา เกิดความรู้ ความเข้าใจตามความเป็นจริง ก็ได้เช่นกัน
เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านความข้างต้นดีแล้ว และทำความเข้าใจดีแล้ว ก็อาจจะเกิดความเข้าใจได้บ้างว่าการฝึกอบรมกัมมัฏฐาน ไม่จำเป็นต้องสนใจ ในเรื่องของ จริต ซึ่ง
-จริต หมายถึง ความประพฤติ, พื้นนิสัย หรือพื้นเพแห่งจิตของคนทั้งหลายที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไปคือ ๑.ราคจริต ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางรักสวยรักงาม มักติดใจติดในอารมณ์) ๒.โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางใจร้อนขี้หงุดหงิด) ๓.โมหจริต ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางเหงาซึม งมงาย) ๔.สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางน้อมใจเชื่อ) ๕.พุทธิจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดพิจารณา) ๖.วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดจับจดฟุ้งซ่าน) (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
กล่าวคือ จริตอย่างใด ก็ต้องฝึกอบรมใจ เหมือนกันทุกจริต คือต้องอบรมใจให้สงบ และอบรมให้เกิดปัญญา เกิดความรู้ความเข้าใจตามความเป็นจริง จะเลือกฝึก กัมมัฏฐาน ในข้อไหนก่อน ก็แล้วแต่ความสะดวก แล้วแต่พื้นที่หรือสถานที่ แล้วแต่ สถานะการณ์ และสิ่งแวดล้อม แต่ต้องฝึกทุกหมวดกัมมัฏฐาน คือฝึกให้ครบทุกหมวดของกัมมัฏฐาน ก็ย่อมสามารถขัดเกลาจริตทั้งหลายของแต่ละบุคคลได้ เพราะจริตแท้จริงก็คือ การควบคุมความคิดความเข้าใจและพฤติกรรมของตัวเองไม่ได้เท่านั้น จะเรียกว่า ขาดสติสัมปชัญญะ ขาดความรู้ความเข้าใจ หรือมีความรู้ความเข้าใจและสติสัมปชัญญะไม่ดีพอก็ได้เหมือนกัน
ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงขอให้ท่านทั้งหลายที่เป็นผู้ใฝ่ในการเรียนรู้ หรือเป็นนักปฏิบัติธรรม ครูอาจารย์ พระสงฆ์ นักการศาสนาทั้งหลาย ได้ใช้วิจารณญาณ ได้คิดพิจารณา ตามที่ข้าพเจ้าเขียน ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า เป็นจริงดังที่ข้าพเจ้าเขียนหรือไม่ ถ้าเป็นจริง ท่านทั้งหลายก็จักได้แก้ไขวิธีการสอนแบบผิดๆให้เป็นสอนแบบถูกต้อง ขอรับ
สวัสดี ขอให้เจริญยิ่งในธรรมขอรับ


แก้ไขล่าสุดโดย จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ เมื่อ 02 ธ.ค. 2011, 19:57, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2011, 15:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2011, 17:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2007, 07:13
โพสต์: 17


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จริตอย่างใด ก็ต้องฝึกอบรมใจ เหมือนกันทุกจริต คือต้องอบรมใจให้สงบ และอบรมให้เกิดปัญญา เกิดความรู้ความเข้าใจตามความเป็นจริง


อนุโมทนา

.....................................................
ค้นหาอะไรก็ได้อย่างนั้นแล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2011, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


จริต ของมนุษย์ ตามภาษาบาลี หมายถึง ๑.ราคจริต ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางรักสวยรักงาม มักติดใจติดในอารมณ์) ๒.โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางใจร้อนขี้หงุดหงิด) ๓.โมหจริต ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางเหงาซึม งมงาย) ๔.สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางน้อมใจเชื่อ) ๕.พุทธิจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดพิจารณา) ๖.วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดจับจดฟุ้งซ่าน) (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
แท้จริง ก็คือ ธรรมชาติในตัวบุคคลที่ทุกคน ล้วนย่อมมีจริตทั้ง ๖ ด้านข้างต้นอยู่แล้ว เพียงจะหนักไปทางจริตในข้อใดมากกว่ากันเท่านั้น บางคนก็อาจจะมีจริตรุนแรงในทุกข้อ บางคนก็อาจจะมีจริตรุนแรงในบางข้อ หรือในหลายข้อ ก็เป็นได้
แต่ทุกคนจะมีจริตทั้งหกข้อสถิตอยู่ในใจในความคิดด้วยกันทุกคน
ดังนั้น หากผู้ใดกล่าวว่า การปฏิบัติธรรม ต้องปฏิบัติตามแต่จริตของคนผู้นั้น จึงเป็นการกล่าวที่ไม่ถูกต้อง เพราะจริตก็คือพฤติกรรมทางใจที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เช่นหากบุคคล มี "ราคะจริต คือ รักสวยรักงาม มักติดใจติดในอารมณ์ของความสวยความงาม ก็จะมีความน้อมใจเชื่อคือ สัทธาจริตผสมอยู่ด้วย และยังมีข้ออื่นผสมอยู่ด้วยเช่นกัน
การปฏิบัติธรรม จึงไม่จำเป็นต้องเลือกว่าการปฏิบัติอย่างนั้นเหมาะกับจริตอย่างนี้ การปฏิบัติอย่างนี้เหมาะกับจริตอย่างนั้น เพราะการปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนา เป็นกลาง คือใช้ได้กับทุกคน ทุกความคิด ทุกจริต ฉะนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 74 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร