ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
วิญญาณ, ตัณหา อะไรเกิดก่อน http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=40682 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 |
เจ้าของ: | ปล่อยรู้ [ 07 ม.ค. 2012, 06:14 ] |
หัวข้อกระทู้: | วิญญาณ, ตัณหา อะไรเกิดก่อน |
วิญญาณเกิดขึ้นก่อนตัณหา หรือ ตัณหาเกิดขึ้นก่อนวิญญาณ หรือ เกิดขึ้นพร้อมกัน |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 07 ม.ค. 2012, 07:18 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิญญาณ , ตัณหา อะไรเกิดก่อน |
ตัณหามีอยู่... วิญญาณขันธ์เกิดดับ...เกิดดับ อาการแห่งตัณหาก็เกิดดับ...เกิดดับ |
เจ้าของ: | ธงชาติ [ 07 ม.ค. 2012, 07:25 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิญญาณ , ตัณหา อะไรเกิดก่อน |
ตอบไม่ตรงคำถาม หรือ ถามไม่ตรงคำตอบ หึหึ ![]() |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 07 ม.ค. 2012, 07:43 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิญญาณ , ตัณหา อะไรเกิดก่อน |
กิ่งก้าน...ลำต้น..รากใบ...เกิดแต่เมล็ด...ฉันใด อาการแห่งตัณหา...ที่มีเหง้าในจิตอวิชชา...ก็ฉันนั้น จะว่า..กิ่งก้านลำต้นรากใบ...อยู่ในเมล็ด...ก็ไม่ใช่ จะว่า...ไม่มี..ก็ไม่ถูก |
เจ้าของ: | ลูกพระป่า [ 07 ม.ค. 2012, 08:01 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิญญาณ , ตัณหา อะไรเกิดก่อน |
กบนอกกะลา เขียน: ตัณหามีอยู่... วิญญาณขันธ์เกิดดับ...เกิดดับ อาการแห่งตัณหาก็เกิดดับ...เกิดดับ เป็นคำตอบที่ชอบด้วยปํญญาครับ ![]() |
เจ้าของ: | asoka [ 07 ม.ค. 2012, 08:38 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิญญาณ , ตัณหา อะไรเกิดก่อน |
![]() ตอบตามลำดับปฏิจจสมุปปบาท วิญญาณ เกิดก่อน ตัณหา ตอบตามลำดับแห่งขันธ์ 5 วิญาณ ก็เกิดก่อนอยู่ดี ถ้าตอบแบบข้ามไปถึงมิติที่ 3 คือข้ามภพข้ามชาติ อันนี้เหมือนถกกันเรื่องไก่กับไข่อันไหนเกิดก่อนกัน เพราะเราไม่อาจรู้จุดกำเนิดครั้งแรกของจิตดวงนี้ |
เจ้าของ: | govit2552 [ 07 ม.ค. 2012, 21:22 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิญญาณ , ตัณหา อะไรเกิดก่อน |
Quote Tipitaka: [๗๖๘] ธรรมเป็นเจตสิก เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเจตสิก. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 5%CA%D4%A1 ตัณหา เป็นองค์ธรรม อยู่ใน สังขารขันธ์ ชื่อว่า โลภะ ตัณหา หรือโลภะ ก็คือ เจตสิกชนิดหนึ่งนั่นเอง Quote Tipitaka: [๓๐๑] อภิชฌา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การโลภ กิริยาที่โลภ ความโลภ ความกำหนัด กิริยาที่กำหนัด ความกำหนัดนัก ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อภิชฌา มีในสมัยนั้น. [๒๙๙] โลภะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การโลภ กิริยาที่โลภ ความโลภ การกำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนัก ความกำหนัด ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โลภะ มีในสมัยนั้น. [๓๑๐] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณ- *ขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล. Quote Tipitaka: [๖๙๑] อกุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน? โลภะ โทสะ โมหะ. บรรดาอกุศลเหตุ ๓ นั้น โลภะ เป็นไฉน? ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอัน ร้อยรัด ธรรมชาติอันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือน เส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง ปณิธาน ธรรมชาติผู้นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน การหวัง กิริยาที่หวัง ความหวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความ หวังบุตร ความหวังชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบยิ่ง การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ความกระซิบ การละโมบ กิริยาที่ละโมบ ความละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ความใคร่ในอารมณ์ดีๆ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความ โลภเกินขนาด ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ [คือราคะที่สหรคต ด้วยอุจเฉททิฏฐิ] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุมีอย่าง ต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดน แห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า โลภะ. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0 ตัณหานั้น เกิดพร้อมจิต ตั้งอยู่ และดับไปพร้อมจิต ดังพระไตรปิฏก ข้างล่างนี้ Quote Tipitaka: [๗๐๖] คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง ในคำว่า ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดโดยทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้ ไม่มีส่วน เหลือ. คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. คำว่า ตัณหา คือ รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา. คำว่า ที่มี ณ ภายใน คือ ตัณหานั้นตั้งขึ้นภายใน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มี ณ ภายใน. อีกอย่างหนึ่ง จิต เรียกว่า ภายใน ได้แก่ จิต มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันเกิดแต่วิญญาณขันธ์นั้น. ตัณหานั้น สหรคต เกิดร่วม เกี่ยวข้อง สัมปยุต มีความเกิดร่วมกัน มีความดับร่วมกัน มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกันกับด้วยจิตคือใจ แม้เพราะฉะนี้ จึงชื่อว่า ที่มี ณ ภายใน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 7%A2%D2%C3 เมื่อเรารู้ว่าตัณหาคือองค์ธรรมหนึ่งในสังขารขันธ์ ก็มาดูคำยืนยันอีกครั้ง ของการเกิดร่วมกันกับจิต Quote Tipitaka: [๗๗๒] ธรรมเกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, กายวิญญัติ วจีวิญญัติ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อ ว่า ธรรมเกิดร่วมกับจิต. ธรรมไม่เกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน? จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เกิดร่วมกับจิต. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 8%C3%C3%C1 ทั้งหมดข้างบน คือ พิจารณา จากพระไตรปิฏก แต่ถ้าจะ หาอ่านให้เข้าใจง่ายๆ สรุปแล้ว ก็คือ ในอภิธรรม ที่ครูบาอาจารย์ได้สั่งสอนอบรมกันมา พูดกันง่ายๆว่า ตัณหา คือเจตสิกตัวหนึ่ง และ เจตสิก มีคุณลักษณะคือ เกิดพร้อมจิต อาศัยวัตถุเดียวกับจิต และดับไปพร้อมกับจิต |
เจ้าของ: | govit2552 [ 07 ม.ค. 2012, 22:04 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิญญาณ , ตัณหา อะไรเกิดก่อน |
ถ้าถามว่า อะไร เกิดก่อน คำตอบคือ ย่อมต้องเกิดพร้อมกัน แต่ในปฏิจจสมุปบาท พูดเรื่องปัจจัย ว่าอะไรเป็นปัจจัยของอะไร เช่น อวิชชามี สังขารจึงมี คือ อวิชชา เป็นปัจจัยของสังขาร แต่การที่จะมีอวิชชา ได้แสดงว่า ต้องมี ขันธ์5 ครบ และการที่จะมีสังขาร ได้ ก็ ต้องมี ขันธ์5 ครบ เพียงแต่ว่า อวิชชา ซึ่งคือ องค์ธรรมหนึ่งในสังขารขันธ์ เป็นปัจจัย ให้กับอีกองค์ธรรมหนึ่งในสังขารขันธ์ เช่นเดียวกัน คือ สังขาร (อวิชชามี สังขารจึงมี) Quote Tipitaka: ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ อุปบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ข้อนี้ไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0 ขณะใดมีตัณหา ขณะนั้น ต้องมีวิญญาณ ขณะใดมีวิญญาณ ขณะนั้นอาจ ไม่มีตัณหา ยกตัวอย่างเช่น พระอรหันต์ ยังมีวิญญาณอยู่ แต่ตัณหาไม่มีอีกแล้ว ............... เป็นต้น |
เจ้าของ: | govit2552 [ 08 ม.ค. 2012, 06:33 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิญญาณ , ตัณหา อะไรเกิดก่อน |
มาดูตัวอย่าง แห่งขันธ์5 ขณะที่เกิดจักขุวิญญาณ ขณะนั้น มีอะไรเกิดร่วมบ้าง ขณะนั้นมีอะไรอยู่บ้าง จักขุวิญญาณ เกิดขึ้นที่ จักขุปสาทรูป ................................ มีรูปอยู่ ขณะที่มีจักขุวิญญาณ ขณะนั้นมีเจตสิก เหล่านี้ประกอบร่วมด้วยคือ อ้างคำพูด: สัพพจิตตสาธารณเจตสิก สพฺพ ( ทั้งปวง ) + จิตฺต ( จิต ) + สารธารณ ( ทั่วไป ) + เจตสิก ( สภาพธรรมที่เกิด กับจิต ) เจตสิกที่ทั่วไปแก่จิตทั้งปวง หมายถึง เจตสิก ๗ ดวงที่เป็นสาธารณะคือต้องเกิด กับจิตทุกดวง จิตที่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยน้อยที่สุด ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ก็ ต้องมีเจตสิก ๗ ดวงนี้ คือ ๑. ผัสสเจตสิก เป็นสภาพที่กระทบอารมณ์ ๒. เวทนาเจตสิก เป็นสภาพที่รู้สึก หรือเสวยอารมณ์ ๓. สัญญาเจตสิก เป็นสภาพที่จดจำ หรือคุ้นเคยในอารมณ์ ๔. เจตนาเจตสิก เป็นสภาพที่ตั้งใจ จงใจ บงการสัมปยุตธรรมให้ทำกิจ ของตนๆ ๕. เอกัคคตาเจตสิก เป็นสภาพที่ทำให้จิตตั้งมั่น เป็นหนึ่งในอารมณ์ ๖. ชีวิตินทริยเจตสิก เป็นสภาพที่รักษาสัมปยุตธรรมให้มีชีวิตอยู่ได้ ๗. มนสิการเจตสิก เป็นสภาพที่สนใจ ทำให้จิตมุ่งตรงต่ออารมณ์ จะเห็นว่า ... ขณะเกิดจักขุวิญญาณ .............................. มีเวทนาขันธ์ เกิดร่วมด้วย ขณะเกิดจักขุวิญญาณ ...............................มีสัญญาขันธ์ เกิดร่วมด้วย ขณะเกิดจักขุวิญญาณ ................................มีสังขารขันธ์(ผัสสะ เป็นต้น) จำนวนหนึ่ง เกิดร่วมด้วย สรุปทบทวน ว่า ขณะ เกิดจักขุวิญญาณ ขณะนั้นมี รูป เวทนา สัญญา สังขาร เกิดร่วมด้วย ครบขันธ์5 พอดี ............. วิญญาณอื่นๆ ก็เป็นเช่นเดียวกัน วิญญาณเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป แล้วเกิดวิญญาณอื่นต่อไป ขันธ์5 มีอาการเดียวกัน คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป อย่างรวดเร็ว แล้วเกิดขันธ์5 อันใหม่ สืบต่อ วิญญาณที่เกิดสืบต่อจาก จักขุวิญญาณ เป็นลำดับต่อไป คือ วิญญาณอะไร........ มีอธิบายในพระไตรปิฏก ..... เช่นกัน |
เจ้าของ: | ปล่อยรู้ [ 08 ม.ค. 2012, 19:22 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิญญาณ, ตัณหา อะไรเกิดก่อน |
![]() ก่อนที่ความปรารถนา(ตัณหา)ในรูปจะเกิดมีขึ้นมา ย่อมเกิดความพอใจในรูปขึ้นมาก่อน ก่อนที่ความพอใจในรูปจะเกิดมีขึ้นมา ย่อมเกิดผัสสะในรูปขึ้นมาก่อน เพราะมีตา มีรูป มีจักขุวิญญาณณ มีจักขุวิญญาณสัมผัส จึงเป็นเหตุให้เกิดพอความใจยินดีในรูปขึ้นมา... หากปราศจากตา ปราศจากรูป ปราศจากจักขุวิญญาณสัมผัส ความพอใจยินดีก็ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อความพอใจยินดีไม่ปรากฏ ตัณหาก็ไม่อาจที่จะปรากฏเกิดขึ้นมาได้ ชีวิตในปัจจุบัน ตัณหามีการเกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ จนไม่อาจที่จะไล่นับร้อยเรียงได้หมด เฉกเช่นเดียวกับวิญญาณที่มีการเวียนเกิดเวียนดับ จนยากเกินที่จะนับไล่เรียงได้ การได้เห็นธรรมชาติแห่งการเวียนเกิดเวียนดับของวิญญาณและตัณหา ได้บ่อยๆ ย่อมทำให้เกิดความเบื่อหน่ายซึ่งวิญญาณ เมื่อเกิดความเบื่อหน่าย ก็ย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดการแสวงหาหนทางที่จะสลัดคืนเสียซึ่งวิญญาณ เพราะรู้แล้วว่า การยึดถือการยึดมั่นในวิญญาณ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นมา การยินดีพอใจที่จะแสวงหาภพใหม่ การเกิดใหม่ ย่อมไม่มีสำหรับบุคคลที่เกิดความเบื่อหน่ายในวิญญาณ เกิดความเบื่อหน่ายในรูป เกิดความเบื่อหน่ายเวทนา สัญญา สังขาร ทั้งหลาย เพราะไม่เกิดความพอใจยินดีในการเกิด ตัณหาอันเป็นมูลเหตุที่ทำให้การเกิดปรากฏก็ย่อมไม่มี. เมื่อเข้าใจได้ว่าวิญญาณย่อมเกิดก่อนที่ตัณหาจะเกิด การเจริญสติเพื่อระลึกรู้เท่าทันการปรากฏเกิดขึ้นแห่งวิญญาณทั้งหลาย จึงเป็นสิ่งที่สมควรที่จะเจริญเป็นอย่างยิ่ง เมื่อสติระลึกรู้เท่าทันวิญญาณที่กำลังปรากฏ อาศัยการเจริญสมาธิ อาศัยการเจริญปัญญา การปล่อยวางลงเสียซึ่งวิญญาณที่กำลังปรากฏนั้นๆย่อมเป็นฐานะที่เป็นไปได้ เพราะสติ สมาธิและปัญญา ที่เจริญดีแล้ว ถูกทางแล้ว ย่อมที่จะทำลายเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดตัณหาลงได้ เพราะการที่บุคคลใดได้รู้เท่าทันถึงเหตุแห่งการเกิดขึ้นแห่งวิญญาณและตัณหาเป็นอย่างดีแล้ว ความหลุดพ้นไปจากวิญญาณและตัณหาย่อมมีแก่บุคคลนั้น ความทุกข์อันมีสาเหตุมาจากวิญญาณใดๆตัณหาใดๆ มิอาจที่จะครอบงำบุคคลที่รู้หน้าตาของตัณหาและวิญญาณได้เป็นอย่างดีแล้ว... ![]() |
เจ้าของ: | govit2552 [ 08 ม.ค. 2012, 19:59 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิญญาณ, ตัณหา อะไรเกิดก่อน |
เมื่อสอบทานกับพระไตรปิฏก ทำให้ทราบว่า ขันธ์5 เวลาเกิด ๆขึ้นพร้อมกันทั้ง5 ขั้น เมื่อใดที่มีวิญญาณ เมื่อนั้นมี รูป เวทนา สัญญา สังขาร ............ โดยพร้อมเพรียงกัน แต่องค์ธรรม แต่ละตัว เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ซึ่งกันและกัน เช่น ผัสสะเป็นปัจจัย แก่ เวทนา เวทนา เป็นปัจจัย แก่ ตัณหา ตัณหา เป็นปัจจัย แก่ อุปาทาน อุปาทาน เป็นปัจจัย แก่กัมแภพ กัมมภพ เป็นปัจจัย แก่ชาติ แต่ถ้า กล่าว ตามความรู้สึก... ก็จะมีรายละเอียดดังนี้คือ ผัสสะ แห่งนามรูป ในอดีต เป็นปัจจัย ให้มี เวทนา แห่งนามรูป ใน อนาคต ผัสสะ( เป็นนามขันธ์) ในขันธ์5 เกิดขึ้นแล้ว ดับไป เกิดขันธ์5 อันใหม่ ที่มีเวทนา( ซึ่งเป็นนามขันธ์) ในขันธ์5 อันใหม่ โดยผัสสะ ในอดีตขันธ์ ได้เป็นปัจจัย ให้เกิดเวทนาในปัจจุบันขันธ์ ข้อสังเกตุ............. ผัสสะ ในอดีตขันธ์ ได้เกิดขึ้นแล้ว ดับไปแล้ว เวทนา ในปัจจุบันขันธ์ ได้รับอิทธิพลจากผัสสะ(ในอดีตขันธ์) ที่ดับไปแล้วนั้น จึงมีการ กล่าว กันไปว่า ผัสสะ เกิดก่อน เวทนา หรือแม้แต่ ในกระทู้นี้ ที่กล่าวว่า วิญญาณ เกิดก่อนตัณหา ลักษณะ เป็น ดังที่ผม ขยายความ ชี้ลงไป เรื่อง ผัสสะ กับเวทนา นั่นเอง |
เจ้าของ: | ปล่อยรู้ [ 09 ม.ค. 2012, 06:38 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิญญาณ, ตัณหา อะไรเกิดก่อน |
![]() เวียนเกิดเวียนดับมากมายมหาศาล วิญญาณเกื้อหนุนให้เกิดตัณหา ตัณหาเกื้อหนุนให้เกิดวิญญาณ หมุนเวียนไหลต่อเนื่องดุจดังการเกิดขึ้นแห่งน้ำ จากน้ำกลายเป็นเมฆหมอก จากเมฆหมอกกลายเป็นน้ำ... คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงพร่ำสอบบอกให้มาสู่ที่ที่ไม่มีน้ำจากที่มีน้ำ จงละกามเสีย เพราะกามเปรียบประดุจดังน้ำ หมุนเวียนไหลไม่รู้จักจบจักสิ้น... นิพพานเป็นที่สงัดจากกาม เป็นที่ที่สัตว์ยินดีได้โดยยาก นิพพานเป็นที่ที่ปลอดจากวิญญาณ จากตัณหา ทั้งปวง ไม่ต้องรอให้ร่างกายนี้ดับสลายลงก่อน จึงจะได้ถึงซึ่งนิพพาน นิพพานมีอยู่แล้วทุกขณะเวลา เมื่อละวางซึ่งวิญญาณลงเสียได้ วิมุตติญาณ... เพราะความที่จิตหลุดพ้น จิตจึงดำรงค์อยู่. ![]() |
เจ้าของ: | thanan [ 09 ม.ค. 2012, 15:22 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิญญาณ, ตัณหา อะไรเกิดก่อน |
ถ้าตอบแบบสั้น ๆ ก็ขอตอบว่า วิญญาณเกิดก่อน |
เจ้าของ: | govit2552 [ 09 ม.ค. 2012, 19:14 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิญญาณ, ตัณหา อะไรเกิดก่อน |
ไม่ว่าจะเข้าใจว่า องค์ธรรมใด เกิดก่อนองค์ธรรมใด แต่... ที่ปรากฏในพระไตรปิฏก คือ ไม่มีองค์ธรรม ใดๆ ที่เกิดเดี่ยวๆ รูปขันธ์ เวลาเกิด เกิดเป็นกลุ่ม .............. เรียกว่า กลาป นามขันธ์ เวลาเกิด ก็เกิดเป็นกลุ่ม จะเกิดเฉพาะ วิญญาณ อย่างเดียว ไม่เป็นไปได้ จะเกิดเฉพาะ อวิชชา ลอยๆ อย่างเดียว ไม่เป็นไปได้ จะเกิดเฉพาะ ผัสสะ อย่างเดียว ไม่เป็นไปได้ จะเกิดเฉพาะ เวทนา อย่างเดียว ไม่เป็นไปได้ จะเกิดเฉพาะ สัญญา อย่างเดียว ไม่เป็นไปได้ Quote Tipitaka: ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ อุปบัติ
หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ข้อนี้ไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0 |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 09 ม.ค. 2012, 23:03 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิญญาณ, ตัณหา อะไรเกิดก่อน |
govit2552 เขียน: ไม่ว่าจะเข้าใจว่า องค์ธรรมใด เกิดก่อนองค์ธรรมใด แต่... ที่ปรากฏในพระไตรปิฏก คือ ไม่มีองค์ธรรม ใดๆ ที่เกิดเดี่ยวๆ รูปขันธ์ เวลาเกิด เกิดเป็นกลุ่ม .............. เรียกว่า กลาป นามขันธ์ เวลาเกิด ก็เกิดเป็นกลุ่ม จะเกิดเฉพาะ วิญญาณ อย่างเดียว ไม่เป็นไปได้ จะเกิดเฉพาะ อวิชชา ลอยๆ อย่างเดียว ไม่เป็นไปได้ จะเกิดเฉพาะ ผัสสะ อย่างเดียว ไม่เป็นไปได้ จะเกิดเฉพาะ เวทนา อย่างเดียว ไม่เป็นไปได้ จะเกิดเฉพาะ สัญญา อย่างเดียว ไม่เป็นไปได้ Quote Tipitaka: ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ อุปบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ข้อนี้ไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0 สาธุ...พระพุทธ..พระธรรม..พระสงฆ์ พระไตรปิฎกยกเอาใว้เหนือหัว... ![]() ปกติธรรมดา...ก็เป็นอย่างนี้ แต่..อาจไม่ทุกกรณี ผัสสะเกิด...วิญญาณเกิด...แต่สัญญาจากวิญญาณนั้นไม่เกิด...ด้วยกำลังของบริกรรมภาวนาเจตนาที่จะตัด...ตรงนี้ แม้เพียงเสี้ยวเดียว...ก็ไม่มีอะไรสงสัยทั้งหมด เขียนใว้...เป็นหลักฐานว่า...ครั้งหนึ่ง...มีคนพูดอย่างนี้ ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |