วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 19:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2012, 13:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 20:09
โพสต์: 82

แนวปฏิบัติ: รู้ตัวเสมอ ก่อนพูด ก่อนคิด ก่อนทำ
อายุ: 17
ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องกรรม เรียนถามท่านผู้รู้อีกเช่นเคย ว่า กรรมในพระพุทธศาสนาจริงๆนั้น ให้นิยามว่าอย่างไร ท่านสอนให้ปฏิบัติอย่างไร ฯลฯ ขอคำอธิบาย กรรมนิยามก็ได้ เพราะผมทราบว่า เรื่องลัทธิกรรมเก่านั้นพัวพันธ์ กับพุทธศาสนาอยู่เยอะ

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าชาวพุทธเรา ไม่ต้องการปัญญา ไม่ต้องการความพ้นทุกข์ ฯลฯ ชาวพุทธเราต้องการแค่สวรรณ์สวยๆ วิมานงามๆ จึงมีส่วนทำให้มีความเชื่อเรื่องกรรมผิดไป

ผมสงสัยอยู่ประเด็นหนึ่ง คือ กรรมของพ่อแม่ ตกไปที่ลูกได้หรือ เช่นกรณีที่เรามักได้ยินสำนักต่างๆสอนเรื่องกรรม ว่า พ่อแม่ ทำบาป ฆ่าสัตว์ ตกปลา ทำให้ลูกน้อยต้องรับผลของกรรม เป็นโรคนั้นโรคนี้ หรือทำกรรมทำนองเช่นว่านี้ เป็นต้น ตามความเชื่อทางพุทธศาสนา สอนว่า "เรามีกรรมเป็นของๆตน เรามีกรรมเป็นผู้ให้ผล เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เรามีกรรมเป็นผู้ติดตาม เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย" หากเช่นนี้แล้ว กรรมของพ่อแม่จะไปตกถึงลูกได้อย่างไร มันดูจะขัดๆกับความเชื่อทางพุทธศาสนา(ออกแนวคริสต์อ่ะ ผมว่า)

กรรมคือการกระทำ ฉะนั้น ผลของกรรม ก็คือผลของการกระทำ แล้วในกรณีนี้ เด็กทารกจะได้รับผลของกรรมได้อย่างไร เมื่อเด็กนั้นยังไม่ประสาที่จะสร้างกรรมได้เลย ขออย่าอ้างเรื่อง กรรมตามติดข้ามภพข้ามชาติเลย เพราะคงเถียงกันไม่รู้จักจบ

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา เวลาท่านสอนอะไร ธรรมนั้นย่อมมีเหตุ มีผลในตัว ธรรมนั้นย่อมพิสูจน์ได้ แต่เมื่อสอนเรื่องกรรม เรื่องทำบุญ ขึ้นสวรรณ์ ไฉนเลยท่านมักชอบสอนกันตื้นๆ เช่น ทำบุญ เท่านั้นเท่านี้ ได้ขึ้นสวรรณ์ชั้นนั้นชั้นนี้ ยิ่งสอนยิ่งเพิ่มตัวตน :b23: "อนิจจา อนิจจัง สังคมพุทธ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2012, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ค่อยรู้ครับ รู้แต่ว่าเชื่อเรื่องกรรม เพราะหลักปฏิจจสมุปบาท ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่แนวเจาะลึกว่าทำอะไรจึงได้ผลแบบนี้ มีแต่ญาณหยั่งรู้เท่านั้นจึงจะตอบได้ กรรมที่ตกทอดถึงลูกนั้นแม้ไม่รู้ลึกซึ้งแต่ก็เชื่อไว้ก่อนด้วยธรรมของความไม่ประมาทในการใช้ชีวิตครับ ความไม่ประมาทนั้นคือไม่ประมาทในสังขารครับ สังขารคือขันธ์5 หรือ กุศลจิต อกุศลจิต หรือกลางๆ หากสังขารเกิดขึ้น ย่อมหมายถึง จิตปรุงแต่งต่อธรรมตรงหน้า เพราะการไม่เห็นธรรมตามความเป็นจริง เช่น ไม่เห็นพระไตรลักษณ์ สิ่งบดบังการเห็นขอยกตัวอย่างเช่น เพราะการสืบต่อบดบังพระไตรลักษณ์ ถามว่าพระไตรลักษณ์เกี่ยวอะไรกับกรรม เกี่ยวโดยตรงครับ เพราะสังขารคือกรรมนั่นเอง อันอาศัยอวิชชา สังขารจึงดำรงอยู่ อวิชชาคือความไม่รู้ตรงข้ามกับปัญญา ปัญญาคือการเห็นพระไตรลักษณ์ ว่า สังขารทั้งหลายล้วนเป็นทุกข์ สังขารทั้งหลายล้วนไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ดังนั้น ความเชื่อเรื่องกรรมจึงอาศัย ปฏิจจสมุปบาท เป็นแนวทางของการพิจารณาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2012, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามน่าสนใจ เป็นคำถามเด็กรุ่นใหม่ :b20:
แนะนำให้ฟังเสียงธรรมชุด จะถือพุทธและรักษาธรรมได้ ฯลฯ ลำดับที่ 4-5 ก่อน ที่

http://www.ideaforlife.net/dhamma/sound/payutto/11.html

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2012, 20:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 20:09
โพสต์: 82

แนวปฏิบัติ: รู้ตัวเสมอ ก่อนพูด ก่อนคิด ก่อนทำ
อายุ: 17
ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


อ๋อ เคยฟังแล้วครับท่าน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2012, 00:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ครับ

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างแห่งกรรม วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น

เราอาศัยอะไรกล่าว
ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม
บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจาด้วยใจ

ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม

ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มีที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มีที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม

ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑ กรรมที่ให้ผลในภพที่
เกิด ๑ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม

ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัด กรรมเหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างแห่งกรรม
วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวก
นั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลสเป็นที่ดับกรรมนี้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2012, 09:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัตติปิตา เขียน:

ผมสงสัยอยู่ประเด็นหนึ่ง คือ กรรมของพ่อแม่ ตกไปที่ลูกได้หรือ เช่นกรณีที่เรามักได้ยินสำนักต่างๆสอนเรื่องกรรม ว่า พ่อแม่ ทำบาป ฆ่าสัตว์ ตกปลา ทำให้ลูกน้อยต้องรับผลของกรรม เป็นโรคนั้นโรคนี้ หรือทำกรรมทำนองเช่นว่านี้ เป็นต้น ตามความเชื่อทางพุทธศาสนา สอนว่า "เรามีกรรมเป็นของๆตน เรามีกรรมเป็นผู้ให้ผล เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เรามีกรรมเป็นผู้ติดตาม เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย" หากเช่นนี้แล้ว กรรมของพ่อแม่จะไปตกถึงลูกได้อย่างไร มันดูจะขัดๆกับความเชื่อทางพุทธศาสนา(ออกแนวคริสต์อ่ะ ผมว่า)

ยังเหลืออีกตัว..คือ..เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์

โพธิสัตว์..มีนิสัยชอบช่วยเหลือคน..แม้ได้เพียงฌาณโลกีย...ก็ช่วยตามประสาฌาณโลกีย...

พระบรมสัมมาสัมพุทธเจ้า....สอนเรื่องกรรมเพื่อให้เห็นภัยของวัฏฏะสงสาร...มิให้ไปวิจัยวิเคราะเรื่องกรรม...ห้ามใว้ว่าเป็นเรื่องอจินไต...ทรงให้วิเคราะวิจัยให้เห็นทุกข์

กรรม...คิดว่า..ศึกษาแต่พองาม...เห็นทุกข์ก็พอ

อ้างคำพูด:
กรรมคือการกระทำ ฉะนั้น ผลของกรรม ก็คือผลของการกระทำ แล้วในกรณีนี้ เด็กทารกจะได้รับผลของกรรมได้อย่างไร เมื่อเด็กนั้นยังไม่ประสาที่จะสร้างกรรมได้เลย ขออย่าอ้างเรื่อง กรรมตามติดข้ามภพข้ามชาติเลย เพราะคงเถียงกันไม่รู้จักจบ



ย่าไม่ชอบคนข้างบ้าน....มาตั้งแต่ไหนแต่ไร...ลูกหลานไม่ได้มีอะไรกัน..แต่ก็มองหน้ากันไม่ติด...ทำไมนะ? (บ้านผม)

แม่ดูแลสุขภาพดี...ลูกก็สุขภาพดีไปด้วย...หากดูแลไม่ดี..ลูกก็พลอยไม่ดีไปด้วย...ทำไมละ?
อ้างคำพูด:
พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร รองประธานศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ระบุว่างานวิจัยพบว่าเด็กที่ได้รับนมแม่โตขึ้นลดโอกาสเสี่ยงต่อป่วยเป็นโรคเบาหวานในตอนโตถึง 40% โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว 20% โรคอ้วน 22% นอกจากนี้ยังช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งสมองอีกด้วย

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/5328
เป็นต้น...

ข้ามภพข้ามชาติ..เรามองไม่เห็น...พูดไปก็เหมือนงมงายเน๊าะ... :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 23 ม.ค. 2012, 09:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2012, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
อุปมาด้วยกงรถ

“ พระนาคเสนจึงขีดเป็นกงรถลงที่พื้นดินแล้วถามพระเจ้ามิลินท์ว่า ที่สุดแห่งกงรถนี้มีอยู่หรือไม่ ? ”
“ ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร สมเด็จพระธรรมสามิสรตรัสไว้ว่า “ กงจักรเหล่านี้ได้แก่ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ” ขอถวายพระพร จักขุวิญญาณ ย่อมเกิดพราะอาศัย จักขุ กับ รูป เมื่อสิ่งทั้ง ๓ นั้นรวมกันก็เป็น ผัสสะ ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา”
เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา
ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน
อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด กรรม
จักขุ ก็เกิดจาก กรรม อีก ที่สุดแห่งการสืบต่ออันนี้มีอยู่หรือไม่ ? ”
“ ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ขอถวายพระพร โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยเสียงกับหู จมูกกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ มโนกับธรรมะ เมื่อสิ่งทั้ง ๓ รวมกันเข้าก็เป็น ผัสสะ แล้วทำให้เกิด เวทนา ตัณหา อุปทาน กรรม แล้ว โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เกิดจากกรรมนั้นอีก ที่สุดแห่งการสืบต่อนี้มีอยู่หรือไม่ ? ”
“ ไม่มี พระผู้เจ้าเป็นเจ้า ”
“ ข้อนี้ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ขอถวายพระพร ”
“ ชอบแล้ว พระนาคเสน ”



ผัสสะ ดับได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด เมื่อปรินิพพาน

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2012, 11:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมที่ยกมาจากมิลินทปัญหา นี่ คงหมายถึง กรรมภพ

แต่กรรม ในพระพุทธวจนะ ที่ผมยกมา หมายถึง เจตนา หมายเอาเจตนาเจตสิก เป็นหลัก

บทว่า เจตนาหํ ตัดบทเป็น เจตนํ อหํ (เราตถาคตกล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม).
ในบทว่า เจตนาหํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาเจตนาที่มีการจัดแจง (สัมปยุตธรรม) ที่รวบรวมธรรมทุกอย่าง (กุศลธรรม อกุศลธรรม) ไว้.
บทว่า เจตยิตฺวา ได้แก่ เจตนาที่เป็นไปในทวาร.
บทว่า มนสา ได้แก่ จิตที่สัมปยุตด้วยเจตนา.
บทว่า นิรยเวทนียํ ได้แก่ อำนวยวิบากในนรก.

ไม่รู้ว่าแตกต่างกันอย่างไร หรือเหมือนกันอย่างไร ขอความกรุณาผู้ที่รู้ช่วยตอบด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2012, 14:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผมสงสัยอยู่ประเด็นหนึ่ง คือ กรรมของพ่อแม่ ตกไปที่ลูกได้หรือ เช่นกรณีที่เรามักได้ยินสำนักต่างๆสอนเรื่องกรรม ว่า พ่อแม่ ทำบาป ฆ่าสัตว์ ตกปลา ทำให้ลูกน้อยต้องรับผลของกรรม เป็นโรคนั้นโรคนี้ หรือทำกรรมทำนองเช่นว่านี้ เป็นต้น ตามความเชื่อทางพุทธศาสนา สอนว่า "เรามีกรรมเป็นของๆตน เรามีกรรมเป็นผู้ให้ผล เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เรามีกรรมเป็นผู้ติดตาม เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย" หากเช่นนี้แล้ว กรรมของพ่อแม่จะไปตกถึงลูกได้อย่างไร มันดูจะขัดๆกับความเชื่อทางพุทธศาสนา(ออกแนวคริสต์อ่ะ ผมว่า

สวัสดีครับคุณปัตติปิตา :b8:
พิจารณาจากเหตุปัจจุบันง่ายๆก็พอเป็นไปได้อยู่นะครับ เช่น พ่อแม่สูบบุหรี่ดื่มเหล้าหรือยาเสพติด ลูกที่เกิดมาก็มีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากกรรมที่พ่อแม่ทำได้ไม่ใช่หรือครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2012, 04:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัตติปิตา เขียน:
เรื่องกรรม เรียนถามท่านผู้รู้อีกเช่นเคย ว่า กรรมในพระพุทธศาสนาจริงๆนั้น ให้นิยามว่าอย่างไร ท่านสอนให้ปฏิบัติอย่างไร ฯลฯ ขอคำอธิบาย กรรมนิยามก็ได้ เพราะผมทราบว่า เรื่องลัทธิกรรมเก่านั้นพัวพันธ์ กับพุทธศาสนาอยู่เยอะ

กรรมมันมีความหมายว่า การกระทำ แต่ในการกระทำนั้นจะต้องมีเจตนาร่วมอยู่ด้วย
ลงมือกระทำกรรม ย่อมต้องมีผลของการกระทำ ผลของการกระทำนี้เรียก วิบากกรรม
และตัววิบากกรรมนี่แหล่ะ เป็นความยึดมั่นถือมั่น

กรรมเก่ากรรมใหม่ กรรมข้ามภพข้ามชาติ มันเกิดจากสาเหตุเดียว
คือ ความยึดมั่นถือมั่น

อยากรวย ไม่อยากจน อยากสวยอยากหล่อ ไม่อยากขี้เหร่
สิ่งเหล่านี้เรียกว่าความยึดมั่นถือมั่น มันจะตามติดเราไปแบบข้ามภพข้ามชาติ
และการมีชาตินี้ชาติหน้าก็เพราะ สิ่งนี้มันเป็นกิเลสเป็นเชื้อเป็นอาสวะ

อย่าเข้าใจผิดว่า สิ่งที่จะตามเราไปในชาติหน้าจะเป็น ความรวยสวยหล่อ
มันเป็นไปไม่ได้ เพราะสิ่งนั้นต้องเน่าเปื่อย แต่ที่ตามเราไปก็คือ
กิเลสความอยากครับ
ปัตติปิตา เขียน:
อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าชาวพุทธเรา ไม่ต้องการปัญญา ไม่ต้องการความพ้นทุกข์ ฯลฯ ชาวพุทธเราต้องการแค่สวรรณ์สวยๆ วิมานงามๆ จึงมีส่วนทำให้มีความเชื่อเรื่องกรรมผิดไป

สงสัยคุณจะเข้าใจผิดแล้วล่ะครับ ชาวพุทธที่แท้จริง ต้องการปัญญาและความพ้นทุกข์
ถ้าคุณได้ยินใครเขาบอกว่า เป็นพุทธแต่ต้องการขึ้นสวรรค์ นั้นไม่ใช่ชาวพุทธครับ
เป็นเพียงบุคคลที่ยังหาแก่นสารในเรื่องของ ศรัทธา ไม่ได้ หรืออาจจะเรียกว่า
เป็นคนที่ไม่มีความเข้าใจในศาสนาพุทธ นับถือพุทธตามบุพการี ประเภทเห็นใครหลิ่วตา
ก็หลิ่วตาตาม โดยไม่รู้ว่าเขาหลิ่วตาทำไม
ปัตติปิตา เขียน:
ผมสงสัยอยู่ประเด็นหนึ่ง คือ กรรมของพ่อแม่ ตกไปที่ลูกได้หรือ เช่นกรณีที่เรามักได้ยินสำนักต่างๆสอนเรื่องกรรม ว่า พ่อแม่ ทำบาป ฆ่าสัตว์ ตกปลา ทำให้ลูกน้อยต้องรับผลของกรรม เป็นโรคนั้นโรคนี้ หรือทำกรรมทำนองเช่นว่านี้ เป็นต้น ตามความเชื่อทางพุทธศาสนา สอนว่า "เรามีกรรมเป็นของๆตน เรามีกรรมเป็นผู้ให้ผล เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เรามีกรรมเป็นผู้ติดตาม เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย" หากเช่นนี้แล้ว กรรมของพ่อแม่จะไปตกถึงลูกได้อย่างไร มันดูจะขัดๆกับความเชื่อทางพุทธศาสนา(ออกแนวคริสต์อ่ะ ผมว่า)

เคยได้ยินประโยคที่ว่า ธรรมะจัดสรรมั้ยครับ ทุกสรรพสิ่งต้องอาศัยธรรมชาติ
ทำให้เกิดครับ

กรรมของพ่อแม่ก็เป็นกรรมของพ่อแม่ กรรมของลูกก็เป็นกรรมของลูก
แต่ที่มาเกี่ยวข้องกันก็เพราะกรรมของทั้งสองฝ่าย มันเป็นลักษณะที่
เกี่ยวข้องกันหรือเรียกว่าเป็นสภาวะที่สมดุลย์กัน
อย่างเช่น ลูกเคยทำกรรมยึดมั่นอะไรไว้ สิ่งที่ทำไว้มันเกิดสมดุลย์
กับพ่อแม่ในชาตินี้ ต่างคนก็เลยต่างรับกรรมไม่เกี่ยวกัน

ที่ว่าพ่อแม่รับกรรม ไม่ใช่ความพิการ ความพิการเป็นกรรมวิบากของลูก
วิบากของพ่อแม่มันอยู่ที่จิตใจ ที่ต้องเห็นสิ่งที่ตนรักอยู่ในสภาพเช่นนั้น
ปัตติปิตา เขียน:
กรรมคือการกระทำ ฉะนั้น ผลของกรรม ก็คือผลของการกระทำ แล้วในกรณีนี้ เด็กทารกจะได้รับผลของกรรมได้อย่างไร เมื่อเด็กนั้นยังไม่ประสาที่จะสร้างกรรมได้เลย ขออย่าอ้างเรื่อง กรรมตามติดข้ามภพข้ามชาติเลย เพราะคงเถียงกันไม่รู้จักจบ

ถ้าคุณไม่ให้พูดถึง ผลกรรมข้าภพข้ามชาติ มันก็ต้องบอกว่า เลิกคุยในเรื่องพุทธศาสนา
เพราะพุทธศาสนาสอนว่า ใครไม่เชื่อเรื่องกรรมที่คุณว่า เป็นมิจฉาทิฐิ
สรุปก็คือเราไม่ควรคุยกับผู้มีมิจฉาทิฐิครับ เพราะคุยไปก็ไม่รู้เรื่อง
ปัตติปิตา เขียน:
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา เวลาท่านสอนอะไร ธรรมนั้นย่อมมีเหตุ มีผลในตัว ธรรมนั้นย่อมพิสูจน์ได้ แต่เมื่อสอนเรื่องกรรม เรื่องทำบุญ ขึ้นสวรรณ์ ไฉนเลยท่านมักชอบสอนกันตื้นๆ เช่น ทำบุญ เท่านั้นเท่านี้ ได้ขึ้นสวรรณ์ชั้นนั้นชั้นนี้ ยิ่งสอนยิ่งเพิ่มตัวตน :b23: "อนิจจา อนิจจัง สังคมพุทธ"

คุณก็บอกเองว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา มีเหตุมีผล
ถ้าคุณเห็นว่า พุทธศาสนาสอนคนตื้นๆ นั้นย่อมแสดงว่า คุณไม่มีปัญญา
อ้างเอาพุทธสาสนามาคุยมาพูดโดย ขาดปัญญาที่จะเข้าใจ ซึ่งคนลักษณะนี้
พระพุทธเจ้าบอกว่าเป็น พวกมิจฉาทิฐิครับ ไม่ได้ว่าคุณนะครับแต่อธิบายตามคำสอน
ของพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2012, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขออนุญาตคุณโยมเจ้าของกระทู้ด้วยนะครับ

FLAME เขียน:
กรรมที่ยกมาจากมิลินทปัญหา นี่ คงหมายถึง กรรมภพ

แต่กรรม ในพระพุทธวจนะ ที่ผมยกมา หมายถึง เจตนา หมายเอาเจตนาเจตสิก เป็นหลัก

บทว่า เจตนาหํ ตัดบทเป็น เจตนํ อหํ (เราตถาคตกล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม).
ในบทว่า เจตนาหํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาเจตนาที่มีการจัดแจง (สัมปยุตธรรม) ที่รวบรวมธรรมทุกอย่าง (กุศลธรรม อกุศลธรรม) ไว้.
บทว่า เจตยิตฺวา ได้แก่ เจตนาที่เป็นไปในทวาร.
บทว่า มนสา ได้แก่ จิตที่สัมปยุตด้วยเจตนา.
บทว่า นิรยเวทนียํ ได้แก่ อำนวยวิบากในนรก.

ไม่รู้ว่าแตกต่างกันอย่างไร หรือเหมือนกันอย่างไร ขอความกรุณาผู้ที่รู้ช่วยตอบด้วยครับ

ในนิพพิเธกสูตรแสดงโดยแจงรายละเอียด ๑.เหตุเกิด ๒.ความต่าง
๓.วิบาก ๔.ความดับ ๕.ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ แห่ง กาม, เวทนา,
สัญญา, อาสวะ, กรรม, ทุกข์ รวม ๓๐ ข้อย่อย ^^

นอกจาก "กรรม" ในนิพพิเธกสูตร จะหมายถึงเจตนาเจตสิกแล้ว ก็ยังสัมปยุต
กับธรรมทั้งหลาย(กุศล,อกุศล) คือประกอบกับจิตที่เป็นกุศลและอกุศลทุกดวง
เป็นสัพพจิตตสาธารณะเจตสิก ที่มีการชักจูงก็มี ไม่อาศัยการชักจูงก็มี

ผัสสะจะเกิดได้ต้องอาศัย อารมณ์ + วัตถุ = วิญญาณ ผัสสะจึงเกิด
ดังนั้น กามก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี ที่สัมปยุตกันปรุงแต่งกันแล้วเพราะผัสสะ
หากเป็นราคานุสัย ก็เป็นกามาสวะ ถ้าเป็นปฏิฆานะสัย ก็เป็นภวาสวะ
หากไม่เป็นอารมณ์มีราคะหรือโทสะ ก็มักเป็นอวิชชานุสัย หรืออวิชชาสวะ

แปลว่า "กรรม" ในนิพพิเธกสูตร ก็มีเหตุมีที่มา มีความต่าง มีวิบาก
มีความดับ มีปฏิปทาให้ถึงความดับ เมื่อมีเหตุ ดังนั้นเหตุของ "กรรม"
ก็คืออวิชชาตามข้างต้นเรียงอรรถและพยัญชนะในนิพพิเธกสูตรตามที่
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ดีแล้ว :b8: :b8: :b8:

ถ้ากล่าวโดยไม่แยกกัน ยกเฉพาะองค์ธรรมขึ้นกล่าว กรรม นี้ย่อมได้แก่
เจตนาเจตสิก นั่นเองครับ ที่ในจิตทุกดวง ตามที่ทรงบัญญัติว่า เจตนาคือกรรม
เมื่อพบกรรมในที่แห่งใด กรรม นั้นเป็นเจตนาเจตสิกที่ประกอบกับจิต
ทุกดวงตามที่กล่าว ไม่ว่าในพระสูตรใด ก็คือ เจตนาเจตสิกที่ประกอบ
กับจิต ไม่แตกต่างกัน มีเพียงต่างกันตรง ไม่แยกว่าเป็นเจตสิก หรือจิต

โดยรวมเจตนาทางทวารทั้งสามและ จิตที่สัมปยุตด้วยเจตนาตาม
อัฏกถาธิบายที่ยกมา ต่างกันนิดเดียวตรง

คราวกล่าวถึงเหตุปัจจัย ในหลักอิทัปปัจจยาตา ปฏิจสมุปบาท แยก "กรรม"
ออกตามกาล คือกรรมในอดีต กรรมในปัจจุบัน และสองพยัญชนะได้แก่
กรรมภพ(ภพที่ปรุงแต่ง), อุปปัตติภพ(ภพที่เข้าถึง)^^

[๒๖๕] ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เป็นไฉน
(อุปาทาน<--->ภพ)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=98
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0


เพราะ กรรม ที่เป็นอดีตเหตุไ้ด้แก่ สังขาร ที่เป็นปัจจัยของอวิชชา
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี [อวิชชา<---->สังขาร] ได้แก่
อภิสังขาร ๓, สังขาร ๓ ในทวารตามลำดับ
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=129
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=120

ในนิพพิเธกสูตรก็มีอรรถเดียวกันกับปฏิจสมุปบาทนัย คือจำแนก
แสดง อาสวะ<--->กรรม เช่นเดียวกับ อวิชชา<--->สังขาร
กรรม ที่คุณโยม FLAME พิจารณาว่าคือ เจตนาเจตสิกแตกต่างกัน
หรือเหมือนกันอย่างไรกับ กรรมภพ ในปฏิจสมุปบาท ในมิลินทปัญหา
เราสามารถพิจารณาดังที่ได้ยกอธิบายไปแล้วข้างต้น หรือยึดข้อ
พิจารณาง่ายๆ ว่า เจตสิกต้องเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต ดังนั้น
กรรมหรือเจตนาตัวนี้ ต้องอิงอาศัยมูลจิตเกิด ทั้งที่เป็นกุศลหรืออกุศล
ตามอัฏฐกถาธิบายที่ยกมา ส่วนแตกต่างกัน ก็คือ สังขารที่เป็นผลของ
อวิชชา ทำหน้าที่เป็นกรรมเป็นเหตุเป็นเจตนาก่อนๆ

ส่วนภพ หรือกรรมภพที่เป็นผลของอุปาทาน ทำหน้าที่เป็นวิบากของกรรม
ที่สืบต่อมาจาก สังขาร
จากกรรมที่เป็นเหตุ เป็นเจตนาก่อนๆ แล้วมีเจตนา
ขึ้นเสียเองในภาวะนี้ ในปัจจุบันนี้ เพื่อเป็นเหตุ หรือกลายเป็นสังขารเป็นกรรม
สืบต่อไปในอนาคตครับเจริญพร ^^

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2012, 22:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณท่านพุทธฎีกาครับ

พุทธฏีกา เขียน:

ในนิพพิเธกสูตรแสดงโดยแจงรายละเอียด ๑.เหตุเกิด ๒.ความต่าง
๓.วิบาก ๔.ความดับ ๕.ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ แห่ง กาม, เวทนา,
สัญญา, อาสวะ, กรรม, ทุกข์ รวม ๓๐ ข้อย่อย ^^


ขออนุญาตยกข้อความในนิพเพธิกสูตรมาแสดง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมปริยายที่เป็นปริยายเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส นั้นเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกาม

เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความต่างแห่งเวทนา วิบากแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับเวทนา

เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา เหตุเกิดแห่งสัญญา ความต่างแห่งสัญญา วิบากแห่งสัญญา ความดับแห่งสัญญา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับสัญญา

เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความต่างแห่งอาสวะ วิบากแห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับอาสวะ

เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างแห่งกรรม วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม

เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับทุกข์ ฯ

พุทธฏีกา เขียน:
นอกจาก "กรรม" ในนิพพิเธกสูตร จะหมายถึงเจตนาเจตสิกแล้ว ก็ยังสัมปยุต
กับธรรมทั้งหลาย(กุศล,อกุศล) คือประกอบกับจิตที่เป็นกุศลและอกุศลทุกดวง
เป็นสัพพจิตตสาธารณะเจตสิก ที่มีการชักจูงก็มี ไม่อาศัยการชักจูงก็มี


ครับ เจตนาเจตสิก ที่เกิดสาธารณกับจิตทุกดวง ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล

พุทธฏีกา เขียน:
ผัสสะจะเกิดได้ต้องอาศัย อารมณ์ + วัตถุ = วิญญาณ ผัสสะจึงเกิด
ดังนั้น กามก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี ที่สัมปยุตกันปรุงแต่งกันแล้วเพราะผัสสะ
หากเป็นราคานุสัย ก็เป็นกามาสวะ ถ้าเป็นปฏิฆานะสัย ก็เป็นภวาสวะ
หากไม่เป็นอารมณ์มีราคะหรือโทสะ ก็มักเป็นอวิชชานุสัย หรืออวิชชาสวะ


สงสัยครับ ว่าทำไม ปฏิฆานุสัย จึงเผล็ดผลออกมาเป็นภวาสวะ

พุทธฏีกา เขียน:
แปลว่า "กรรม" ในนิพพิเธกสูตร ก็มีเหตุมีที่มา มีความต่าง มีวิบาก
มีความดับ มีปฏิปทาให้ถึงความดับ เมื่อมีเหตุ ดังนั้นเหตุของ "กรรม"
ก็คืออวิชชาตามข้างต้นเรียงอรรถและพยัญชนะในนิพพิเธกสูตรตามที่
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ดีแล้ว :b8: :b8: :b8:


แล้วเพราะเหตุใดพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า ผัสสะเป็นเหตุเกิดของกรรม
ทำไมไม่ทรงแสดงตรงๆเลยว่า อวิชชาเป็นเหตุเกิดของกรรม
ผมไม่ค่อยเข้าใจครับที่ว่าเรียงอรรถและพยัญชนะในพระสูตรนี้แล้วสรุปได้ว่า
เหตุเกิดของกรรมคืออวิชชา

พุทธฏีกา เขียน:
ถ้ากล่าวโดยไม่แยกกัน ยกเฉพาะองค์ธรรมขึ้นกล่าว กรรม นี้ย่อมได้แก่
เจตนาเจตสิก นั่นเองครับ ที่ในจิตทุกดวง ตามที่ทรงบัญญัติว่า เจตนาคือกรรม
เมื่อพบกรรมในที่แห่งใด กรรม นั้นเป็นเจตนาเจตสิกที่ประกอบกับจิต
ทุกดวงตามที่กล่าว ไม่ว่าในพระสูตรใด ก็คือ เจตนาเจตสิกที่ประกอบ
กับจิต ไม่แตกต่างกัน มีเพียงต่างกันตรง ไม่แยกว่าเป็นเจตสิก หรือจิต

โดยรวมเจตนาทางทวารทั้งสามและ จิตที่สัมปยุตด้วยเจตนาตาม
อัฏกถาธิบายที่ยกมา ต่างกันนิดเดียวตรง

คราวกล่าวถึงเหตุปัจจัย ในหลักอิทัปปัจจยาตา ปฏิจสมุปบาท แยก "กรรม"
ออกตามกาล คือกรรมในอดีต กรรมในปัจจุบัน และสองพยัญชนะได้แก่
กรรมภพ(ภพที่ปรุงแต่ง), อุปปัตติภพ(ภพที่เข้าถึง)^^

[๒๖๕] ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เป็นไฉน
(อุปาทาน<--->ภพ)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=98
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0


เพราะ กรรม ที่เป็นอดีตเหตุไ้ด้แก่ สังขาร ที่เป็นปัจจัยของอวิชชา
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี [อวิชชา<---->สังขาร] ได้แก่
อภิสังขาร ๓, สังขาร ๓ ในทวารตามลำดับ
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=129
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=120

ท่านพุทธฎีกาต้องการแสดงว่ากรรมที่เป็นเหตุในอดีต
ก็คือ สังขาร ที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย (ใช่มั้ยครับ)

พุทธฏีกา เขียน:
ในนิพพิเธกสูตรก็มีอรรถเดียวกันกับปฏิจสมุปบาทนัย คือจำแนก
แสดง อาสวะ<--->กรรม เช่นเดียวกับ อวิชชา<--->สังขาร

ผมยังไม่ปักใจเชื่อทีเดียวครับ
ท่านพุทธฎีกาพยายามเชื่อมให้เห็นถึงความเหมือนกันระหว่าง
อาสวะ => กรรม
อวิชชา => สังขาร
แต่ในพระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแยกออกมา เป็นอาสวะข้อหนึ่ง กรรมอีกข้อหนึ่ง
อาสวะ เกิดเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย
กรรม เกิดได้เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย

แล้วเหตุใดจึงไม่ตรัสตรงๆไปเลยว่า กรรมเกิดขึ้นได้ เพราะอาสวะเป็นปัจจัย
ท่านพุทธฎีกาช่วยอธิบายให้เข้าใจด้วยครับ

พุทธฏีกา เขียน:
กรรม ที่คุณโยม FLAME พิจารณาว่าคือ เจตนาเจตสิกแตกต่างกัน
หรือเหมือนกันอย่างไรกับ กรรมภพ ในปฏิจสมุปบาท ในมิลินทปัญหา
เราสามารถพิจารณาดังที่ได้ยกอธิบายไปแล้วข้างต้น หรือยึดข้อ
พิจารณาง่ายๆ ว่า เจตสิกต้องเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต ดังนั้น
กรรมหรือเจตนาตัวนี้ ต้องอิงอาศัยมูลจิตเกิด ทั้งที่เป็นกุศลหรืออกุศล
ตามอัฏฐกถาธิบายที่ยกมา


ส่วนแตกต่างกัน ก็คือ สังขารที่เป็นผลของ
อวิชชา ทำหน้าที่เป็นกรรมเป็นเหตุเป็นเจตนาก่อนๆ

ส่วนภพ หรือกรรมภพที่เป็นผลของอุปาทาน ทำหน้าที่เป็นวิบากของกรรม
ที่สืบต่อมาจาก สังขาร
จากกรรมที่เป็นเหตุ เป็นเจตนาก่อนๆ แล้วมีเจตนา
ขึ้นเสียเองในภาวะนี้ ในปัจจุบันนี้ เพื่อเป็นเหตุ หรือกลายเป็นสังขารเป็นกรรม
สืบต่อไปในอนาคตครับเจริญพร ^^


กรรมภพ หรืออุปาทาน ที่เป็นวิบากของกรรมที่สืบต่อมากจากสังขาร ครับ
หรือ ท่านพุทธฎีกา ต้องการแสดงว่า กรรมภพ เป็นเจตนาที่เกิดขึ้น โดยมีวิบาก(ผล)มาจาก เจตนาก่อนๆ คือสังขาร ใช่มั้ยครับ


กรรมภพ เกิดขึ้นได้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
กรรมภพนี้ คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร
เป็นกรรม(กุศลเจตนา,อกุศลเจตนา)ที่อำนวยผลให้ในกามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ
เมื่อมีกรรมที่อำนวยผลให้ในกามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ
กามภพ รูปภพ อรูปภพ จึงมีได้

ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกมั้ยครับ


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 28 ม.ค. 2012, 05:05, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2012, 01:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าชาวพุทธเรา ไม่ต้องการปัญญา
ไม่ต้องการความพ้นทุกข์ ฯลฯ ชาวพุทธเราต้องการแค่สวรรณ์สวยๆ วิมานงามๆ
จึงมีส่วนทำให้มีความเชื่อเรื่องกรรมผิดไป


เป็นความเช้าใจทีคลาดเคลื่อนไปหรือเปล่า?
พุทธศาสนาสอนให้รู้ว่า มีนรก สวรรค์ เป้นผลของการกระทำดี หรือชั่ว
ในระดับหนึ่ง จุดหมายปลายทางที่แท้จริงของชาวพุทธ คืออยู่เหนือนรก เหนือสวรรค์
หรือนิพพาน.....แค่ต้องการสอนให้รู้ว่ามีโลกนี้ โลกหน้า เมื่อมีโลกนี้ โลกหน้า
ย่อมเป็นการยืนยันว่า เรามีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
เมื่อเข้าใจเรื่องนี้อย่างถ่องแท้แล้ว เรื่องที่ลูกหลานต้องมีส่วนเกี่ยวพัน ได้รับกรรม
ที่เป็นมรดก ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ย่อมเข้าใจได้ไม่ยาก

พ่อแม่ล้มละลาย ธนาคารยึดบ้าน และทรัพย์สิน ลูกได้รับผลกระทบกระ
จากการล้มละลายนี้หรือเปล่า? ทั้งๆที่ ไม่ได้เป็นคนก่อหนี้สินนี้โดยตรง.... :b10:

ปู่ย่า ตายาย ขยันทำมาหากิน มีที่ดิน ที่ไร่ที่นา เป็นร้อยๆไร่
มีกิจการ เป็นพันๆล้าน...เมื่อท่านจากไป ทรัพย์สินเหล่านั้น
ตกเป็นของใคร?....ทั้งที่ไม่ได้ก่อ ไม่ได้สร้าง แต่ทำไมได้รับ? :b10:

(เป็นความคิดเห็นส่วนตัว...โปรดพิจารณา)

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2012, 23:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขออนุญาตคุณโยมเจ้าของกระทู้อีกครั้งนะครับ ^^

พุทธฏีกา เขียน:
ผัสสะจะเกิดได้ต้องอาศัย อารมณ์ + วัตถุ = วิญญาณ ผัสสะจึงเกิด
ดังนั้น กามก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี ที่สัมปยุตกันปรุงแต่งกันแล้วเพราะผัสสะ
หากเป็นราคานุสัย ก็เป็นกามาสวะ ถ้าเป็นปฏิฆานะสัย ก็เป็นภวาสวะ
หากไม่เป็นอารมณ์มีราคะหรือโทสะ ก็มักเป็นอวิชชานุสัย หรืออวิชชาสวะ

FLAME เขียน:
สงสัยครับ ว่าทำไม ปฏิฆานุสัย จึงเผล็ดผลออกมาเป็นภวาสวะ

อารมณ์ที่มีความเพลินความยินดีพอใจ อันนี้รู้กันว่าเป็น ราคะ นะครับ
ส่วน ปฏิฆะ ความขัดเคืองใจที่ประสบกับกามคุณ ๕ (กามโทษ)ที่ไม่ชอบ
ไม่พอใจจึงเป็นเหตุ ให้พยายามแสวงหา ดิ้นรนอยากมีความสุข โทมนัสที่
ขัดเคืองใจ ความติดข้องต่างๆ นาๆ จึงทำให้แสวงหาสุขนั้นๆ ยิ่งขึ้นไป
พูดง่ายๆ ว่า ติดใจ นันทิ เพลิดเพลินที่จะแสวงหา กามคุณ อันนี้แหละ
ครับเกิดจาก ปฏิฆะ จากความไม่ชอบใจไม่พอใจ เป็น ภวาสวะ อย่างหนึ่ง^^

อ้างคำพูด:
บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า (เมื่อภิกษุนั้นไม่บรรเทา) วิตกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดาวิตกเหล่านี้. อนึ่ง ในที่นี้ กามวิตกก็คือกามาสวะนั่นเอง
วิตกที่นอกไปจากกามวิตกนั้นจัดเป็นภวาสวะ วิตกที่สัมปยุตด้วยภวาสวะนั้น
จัดเป็นทิฏฐาสวะ อวิชชาในวิตกทั้งหมดจัดเป็นอวิชชาสวะ พึงทราบความเกิดขึ้น
แห่งอาสวะดังพรรณนามานี้แล.

วิตกที่นอกไปจาก กาม(ราคะ)วิตก เช่นพยาบาทวิตก หรือโทมนัส ความขัดเคือง
คับแค้นใจไม่พอใจ
ปฏิฆะ ตามที่แสดงไปข้างต้น ฯลฯ จัดเป็นภวาสวะ ด้านบนยก
อัฏฐกถาข้างต้นมาจาก อังคุตตรนิกายฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ มหาวรรค อาสวสูตร

หรือ

โลภะ = ราคะ + อนุสัย (ราคานุสัย)= กามาสวะ
โทสะ = ปฏิฆะ + อนุสัย (ปฏิฆานุสัย)= ภวาสวะ (ปฏิฆะ,ทิฏฐิ)
โมหะ = อวิชชา + อนุสัย (อวิชชานุสัย)= อวิชชาสวะ,อาสวะ

หรือ

อ้างคำพูด:
อาสวะในกามทั้งหลาย ชื่อว่ากามาสวะ. อีกอย่างหนึ่ง อาสวะกล่าวคือกาม
ชื่อว่ากามาสวะ แต่โดยเนื้อความ กามราคะและความยินดียิ่งในรูปเป็นต้น ชื่อว่ากามสวะ.
ฉันทราคะในรูปภพและอรูปภพ ความใคร่ในฌาน ราคะอันสหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ
และความปรารถนาในภพ
ชื่อว่าภวาสวะ.
อวิชชานั่นแหละ ชื่อว่าอวิชชาสวะ.

เพราะไม่ยินดีในกาม มีฉันทราคะ ในรูป,อรูป ใคร่,ปราถนา ฯลฯ
ยกอัฏฐกถาข้างต้นนี้จากขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต
ปฐมวรรค อาสวสูตร ไม่ยินดี ปฏิฆะ = ภวสาวะ


@@@@@



กรรม = สังขาร[2],ภพ[10]

สังขาร = อภิสังขาร ๓ ,กรรมทางทวาร ๓ ([1]อวิชชา<---->[2]สังขาร)

ภพ = ภพ ๓ ([9]อุปาทาน<---->[10]ภพ)

FLAME เขียน:
แล้วเพราะเหตุใดพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า ผัสสะเป็นเหตุเกิดของกรรม
ทำไมไม่ทรงแสดงตรงๆเลยว่า อวิชชาเป็นเหตุเกิดของกรรม
ผมไม่ค่อยเข้าใจครับที่ว่าเรียงอรรถและพยัญชนะในพระสูตรนี้แล้วสรุปได้ว่า
เหตุเกิดของกรรมคืออวิชชา

ต้องขอโทษด้วยครับที่สรุปนั้น เพราะหยิบเอาปฏิจสมุปบาทมาอธิบาย
เพราะมีอวิชชา สังขาร(กรรม)จึงมีเป็นเหตุเป็นปัจจัย

ตามที่ได้แยกหัวข้อแสดงไปในความเห็นก่อน เพื่อเห็นความเชื่อมโยงของพระสูตร
ในทุกๆ ฐานะ(วาระ) เริ่มจากกาม, เวทนา, สัญญา, อาสวะ, กรรม, ทุกข์
โดยมีการเจาะอธิบายใน ๑.เหตุเกิด ๒.ความต่าง ๓.วิบาก ๔.ความดับ
๕.ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ ตามลำดับ คือดูเหมือนว่าจะไม่เชื่อมโยง
แต่จริงๆ เชื่อมโยงกันนะครับ

ส่วนที่ควรขยายทำความเข้าใจเทียบเคียงกันดังนี้ครับ

ตรงนี้แสดงเฉพาะเหตุเกิดแห่ง กรรม ว่าคือผัสสะ ที่สัมปยุตธรรมต่างๆ
โดย ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม คือ [10]กรรมภพ<-->เพราะมี[9]อุปาทานเป็นปัจจัย
<---->[8]ตัณหา <---->[7]เวทนา<---->[6]ผัสสะ จบตรงนี้ตามนัยยะที่ทรงแสดง
ว่าผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรมในที่นี้
เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติใน
นิพพิเธกสูตรว่า [6]ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่ง[10]กรรม

เติมให้ครบ
<---->[5]สฬายตนะ <---->[4]นามรูป <---->[3]วิญญาณ

<---->[12]ชรามรณะ<----->[11]ชาติ(ปฏิสนธิจิต)



ในพระคาถาความว่า
ความกำหนัดที่เกิดด้วยสามารถแห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่า
กาม อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ชื่อว่ากาม ความ
กำหนัดที่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่า
กาม อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกย่อมตั้งอยู่ตามสภาพของ
ตน ส่วนว่า ธีรชนทั้งหลายย่อมกำจัดความพอใจ ในอารมณ์
อันวิจิตรเหล่านั้น ฯ

ความกำหนัดที่เกิดด้วยสามารถแห่งความดำริ

เพราะผัสสะที่สัมปยุตธรรมทั้งกุศลอกุศลในกาม ในเวทนา ในสัญญา
เป็นเจตนา(ความดำริ)หรือสังขาร ๓ เป็นจิตตสังขาร[2] <--->ที่มี อวิชชา[1]
เป็นปัจจัยในก่อนๆ อยู่แล้ว ถึงไม่ได้ทรงแสดงไว้ตรงๆ ก็ควรหรือพึงทราบ
ความหรือนัยยะนั้นๆ ครับ^^

FLAME เขียน:
ท่านพุทธฎีกาพยายามเชื่อมให้เห็นถึงความเหมือนกันระหว่าง
อาสวะ => กรรม
อวิชชา => สังขาร
แต่ในพระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแยกออกมา เป็นอาสวะข้อหนึ่ง กรรมอีกข้อหนึ่ง
อาสวะ เกิดเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย
กรรม เกิดได้เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย
แล้วเหตุใดจึงไม่ตรัสตรงๆไปเลยว่า กรรมเกิดขึ้นได้ เพราะอาสวะเป็นปัจจัย

ลองค่อยๆ พิจารณาครับว่า แสดงแบบอิงนัยยะในปฏิจสมุปบาท
เพื่อรู้ถึงเหตุ แดนเกิด ธรรมมีแดนเกิด นิพพิเธกสูตรเป็นพระสูตร
ที่เรียกว่า นิทานสัมภาวะ คือยกเหตุแสดง เป็นอย่างๆ ไม่ได้ตรัส
ธรรมที่อิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้นเช่น อิทัปปัจจยาตา ปฏิจสมุปบาท
แต่เหตุที่พุทธฏีกายกมาแสดงแก่คุณโยม เพราะเห็นพิจารณาบัญญัติ
ว่า "กรรมภพ" กับ "เจตนาเจตสิก" จึงได้อธิบายอิงหลักปฏิจสมุปบาท
เลยอาจสร้างความสับสนให้ ข้อนี้ก็ขออภัยด้วยนะครับ ^^

เครื่องหมายสัญลักษณ์ เพียงแสดงว่าอันนี้เหตุอันนี้เป็นผลนะครับ
ไม่มีอะไรไม่ได้แทนค่าแทนบัญญัติว่า อวิชชาเป็น =>สังขาร หรือแทนว่า
อาสวะเป็นปัจจัยให้เกิด =>กรรมตามที่คุณโยมกล่าวแน่นอนครับ ^^

พุทธฏีกาเพียงพยายามลองอธิบายถึงคำว่า สังขาร คำว่า ภพ ในปฏิจสมุปบาท
เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณากำหนดต่อไปเท่านั่นเองครับ ว่าอวิชชาเป็นเหตุ[1]
<----->สังขาร[2]จึงเป็นปัจจัย

ดังนั้นไม่ได้พยายามเชื่องโยง แต่เพราะองค์ธรรมมีสภาพเป็นเหตุเป็นปัจจัย
อย่างนั้นตามสภาพของธรรมอยู่แล้วครับ ขอเจริญพร ^^

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2012, 01:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขออนุญาตคุณโยมเจ้าของกระทู้อีกครั้งนะครับ ^^

พุทธฏีกา เขียน:
ผัสสะจะเกิดได้ต้องอาศัย อารมณ์ + วัตถุ = วิญญาณ ผัสสะจึงเกิด
ดังนั้น กามก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี ที่สัมปยุตกันปรุงแต่งกันแล้วเพราะผัสสะ
หากเป็นราคานุสัย ก็เป็นกามาสวะ ถ้าเป็นปฏิฆานะสัย ก็เป็นภวาสวะ
หากไม่เป็นอารมณ์มีราคะหรือโทสะ ก็มักเป็นอวิชชานุสัย หรืออวิชชาสวะ

FLAME เขียน:
สงสัยครับ ว่าทำไม ปฏิฆานุสัย จึงเผล็ดผลออกมาเป็นภวาสวะ

อารมณ์ที่มีความเพลินความยินดีพอใจ อันนี้รู้กันว่าเป็น ราคะ นะครับ
ส่วน ปฏิฆะ ความขัดเคืองใจที่ประสบกับกามคุณ ๕ (กามโทษ)ที่ไม่ชอบ
ไม่พอใจจึงเป็นเหตุ ให้พยายามแสวงหา ดิ้นรนอยากมีความสุข โทมนัสที่
ขัดเคืองใจ ความติดข้องต่างๆ นาๆ จึงทำให้แสวงหาสุขนั้นๆ ยิ่งขึ้นไป
พูดง่ายๆ ว่า ติดใจ นันทิ เพลิดเพลินที่จะแสวงหา กามคุณ อันนี้แหละ
ครับเกิดจาก ปฏิฆะ จากความไม่ชอบใจไม่พอใจ เป็น ภวาสวะ อย่างหนึ่ง^^

อ้างคำพูด:
บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า (เมื่อภิกษุนั้นไม่บรรเทา) วิตกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดาวิตกเหล่านี้. อนึ่ง ในที่นี้ กามวิตกก็คือกามาสวะนั่นเอง
วิตกที่นอกไปจากกามวิตกนั้นจัดเป็นภวาสวะ วิตกที่สัมปยุตด้วยภวาสวะนั้น
จัดเป็นทิฏฐาสวะ อวิชชาในวิตกทั้งหมดจัดเป็นอวิชชาสวะ พึงทราบความเกิดขึ้น
แห่งอาสวะดังพรรณนามานี้แล.

วิตกที่นอกไปจาก กาม(ราคะ)วิตก เช่นพยาบาทวิตก หรือโทมนัส ความขัดเคือง
คับแค้นใจไม่พอใจ ปฏิฆะ ตามที่แสดงไปข้างต้น ฯลฯ จัดเป็นภวาสวะ ด้านบนยก
อัฏฐกถาข้างต้นมาจาก อังคุตตรนิกายฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ มหาวรรค อาสวสูตร

หรือ

โลภะ = ราคะ + อนุสัย (ราคานุสัย)= กามาสวะ
โทสะ = ปฏิฆะ + อนุสัย (ปฏิฆานุสัย)= ภวาสวะ (ปฏิฆะ,ทิฏฐิ)
โมหะ = อวิชชา + อนุสัย (อวิชชานุสัย)= อวิชชาสวะ,อาสวะ

หรือ

อ้างคำพูด:
อาสวะในกามทั้งหลาย ชื่อว่ากามาสวะ. อีกอย่างหนึ่ง อาสวะกล่าวคือกาม
ชื่อว่ากามาสวะ แต่โดยเนื้อความ กามราคะและความยินดียิ่งในรูปเป็นต้น ชื่อว่ากามสวะ.
ฉันทราคะในรูปภพและอรูปภพ ความใคร่ในฌาน ราคะอันสหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ
และความปรารถนาในภพ ชื่อว่าภวาสวะ.
อวิชชานั่นแหละ ชื่อว่าอวิชชาสวะ.

เพราะไม่ยินดีในกาม มีฉันทราคะ ในรูป,อรูป ใคร่,ปราถนา ฯลฯ
ยกอัฏฐกถาข้างต้นนี้จากขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต
ปฐมวรรค อาสวสูตร ไม่ยินดี ปฏิฆะ = ภวสาวะ


@@@@@


เรื่องอาสวะ กับอนุสัย ผมขออนุญาตไปค้น ทำความเข้าใจก่อนครับ



อ้างคำพูด:
กรรม = สังขาร[2],ภพ[10]

สังขาร = อภิสังขาร ๓ ,กรรมทางทวาร ๓ ([1]อวิชชา<---->[2]สังขาร)

ภพ = ภพ ๓ ([9]อุปาทาน<---->[10]ภพ)


FLAME เขียน:
แล้วเพราะเหตุใดพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า ผัสสะเป็นเหตุเกิดของกรรม
ทำไมไม่ทรงแสดงตรงๆเลยว่า อวิชชาเป็นเหตุเกิดของกรรม
ผมไม่ค่อยเข้าใจครับที่ว่าเรียงอรรถและพยัญชนะในพระสูตรนี้แล้วสรุปได้ว่า
เหตุเกิดของกรรมคืออวิชชา

ต้องขอโทษด้วยครับที่สรุปนั้น เพราะหยิบเอาปฏิจสมุปบาทมาอธิบาย
เพราะมีอวิชชา สังขาร(กรรม)จึงมีเป็นเหตุเป็นปัจจัย



ตามที่ได้แยกหัวข้อแสดงไปในความเห็นก่อน เพื่อเห็นความเชื่อมโยงของพระสูตร
ในทุกๆ ฐานะ(วาระ) เริ่มจากกาม, เวทนา, สัญญา, อาสวะ, กรรม, ทุกข์
โดยมีการเจาะอธิบายใน ๑.เหตุเกิด ๒.ความต่าง ๓.วิบาก ๔.ความดับ
๕.ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ ตามลำดับ คือดูเหมือนว่าจะไม่เชื่อมโยง
แต่จริงๆ เชื่อมโยงกันนะครับ



ผมยังไม่เห็นความเชื่อมโยงหน่ะครับ




อ้างคำพูด:
ส่วนที่ควรขยายทำความเข้าใจเทียบเคียงกันดังนี้ครับ

ตรงนี้แสดงเฉพาะเหตุเกิดแห่ง กรรม ว่าคือผัสสะ ที่สัมปยุตธรรมต่างๆ
โดย ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม คือ [10]กรรมภพ<-->เพราะมี[9]อุปาทานเป็นปัจจัย
<---->[8]ตัณหา <---->[7]เวทนา<---->[6]ผัสสะ จบตรงนี้ตามนัยยะที่ทรงแสดง
ว่าผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรมในที่นี้ เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติใน
นิพพิเธกสูตรว่า [6]ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่ง[10]กรรม

เติมให้ครบ
<---->[5]สฬายตนะ <---->[4]นามรูป <---->[3]วิญญาณ

<---->[12]ชรามรณะ<----->[11]ชาติ(ปฏิสนธิจิต)




ครับ ขอบพระคุณครับ

อ้างคำพูด:
ในพระคาถาความว่า
ความกำหนัดที่เกิดด้วยสามารถแห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่า
กาม อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ชื่อว่ากาม ความ
กำหนัดที่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่า
กาม อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกย่อมตั้งอยู่ตามสภาพของ
ตน ส่วนว่า ธีรชนทั้งหลายย่อมกำจัดความพอใจ ในอารมณ์
อันวิจิตรเหล่านั้น ฯ

ความกำหนัดที่เกิดด้วยสามารถแห่งความดำริ

เพราะผัสสะที่สัมปยุตธรรมทั้งกุศลอกุศลในกาม ในเวทนา ในสัญญา
เป็นเจตนา(ความดำริ)หรือสังขาร ๓ เป็นจิตตสังขาร[2] <--->ที่มี อวิชชา[1]

เป็นปัจจัยในก่อนๆ อยู่แล้ว ถึงไม่ได้ทรงแสดงไว้ตรงๆ ก็ควรหรือพึงทราบ
ความหรือนัยยะนั้นๆ ครับ^^


ขอบพระคุณครับ ตรงนี้ เข้าใจมากขึ้นครับ


อ้างคำพูด:
พุทธฏีกาเพียงพยายามลองอธิบายถึงคำว่า สังขาร คำว่า ภพ ในปฏิจสมุปบาท
เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณากำหนดต่อไปเท่านั่นเองครับ ว่าอวิชชาเป็นเหตุ[1]
<----->สังขาร[2]จึงเป็นปัจจัย

ดังนั้นไม่ได้พยายามเชื่องโยง แต่เพราะองค์ธรรมมีสภาพเป็นเหตุเป็นปัจจัย
อย่างนั้นตามสภาพของธรรมอยู่แล้วครับ ขอเจริญพร ^^


ครับ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย

บุคคลตกอยู่ในอวิชชา แล้ว
ถ้าสังขารปรุงแต่งเป็นบุญ วิญญาณก็เข้าถึงบุญ
ถ้าสังขารปรุงแต่งเป็นบาป วิญญาณก็เข้าถึงบาป
ถ้าสังขารปรุงแต่งเป็นอเนญชา วิญญาณก็เข้าถึงอเนญชา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 51 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร