ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
หากวางแล้วหยิบขึ้นมาใหม่ นี่จะเป็นการหลุดไหมครับ http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=40968 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ไม่เที่ยง เกิดดับ [ 02 ก.พ. 2012, 10:32 ] |
หัวข้อกระทู้: | หากวางแล้วหยิบขึ้นมาใหม่ นี่จะเป็นการหลุดไหมครับ |
การปล่อยวางชั่วขณะ หรือ ชั่วคราว แต่สุดท้ายก็หยิบขึ้นมาใช้อีก การปล่อยวางต้องวาง แล้วไม่ควรหยิบขึ้นมาใช้อีก มันเป็นการยากที่จะไม่หยิบขึ้นมาใช้ใหม่ |
เจ้าของ: | ขณะจิต [ 02 ก.พ. 2012, 10:38 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หากวางแล้วหยิบขึ้นมาใหม่ นี่จะเป็นการหลุดไหมครับ |
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: การปล่อยวางชั่วขณะ หรือ ชั่วคราว แต่สุดท้ายก็หยิบขึ้นมาใช้อีก การปล่อยวางต้องวาง แล้วไม่ควรหยิบขึ้นมาใช้อีก มันเป็นการยากที่จะไม่หยิบขึ้นมาใช้ใหม่ การปล่อยวางเป็นเรื่องของจิต หาใช่กาย การหยิบจับ เป็นกิริยาของกายหาใช่จิต ไม่มีทั้งผู้หยิบ และของถูกหยิบ เช่นไร เรียกว่าหยิบ ![]() |
เจ้าของ: | ไม่เที่ยง เกิดดับ [ 02 ก.พ. 2012, 10:50 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หากวางแล้วหยิบขึ้นมาใหม่ นี่จะเป็นการหลุดไหมครับ |
ขณะจิต เขียน: ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: การปล่อยวางชั่วขณะ หรือ ชั่วคราว แต่สุดท้ายก็หยิบขึ้นมาใช้อีก การปล่อยวางต้องวาง แล้วไม่ควรหยิบขึ้นมาใช้อีก มันเป็นการยากที่จะไม่หยิบขึ้นมาใช้ใหม่ การปล่อยวางเป็นเรื่องของจิต หาใช่กาย การหยิบจับ เป็นกิริยาของกายหาใช่จิต ไม่มีทั้งผู้หยิบ และของถูกหยิบ เช่นไร เรียกว่าหยิบ ![]() เป็นการอุปมา การหยิบ คือ หยิบ ความพอใจ ไม่พอใจ / โลภ โกรธ หลง การปล่อยวางยากมากที่จะทำให้ความ พอใจ ไม่พอใจ ไม่กลับมาในจิตของเราอีก ต้องฝึกวิปัสสนาเติมความจริงตามกฎไตรลักษณ์ในจิตใจให้มากที่สุด เพื่อเข้าไปแทนที่ความพอใจ ไม่พอใจที่อยู่ในจิตใจ ยิ่งปฏิบัิติมากเท่าไหร่ความพอใจ ไม่พอใจ จะค่อยๆ หายไปทีละนิด เหมือนเติมน้ำใสลงไปในน้ำสี เมื่อมีสิ่งมากระทบขณะปัจจุบัน ความจริงก็จะมารับการกระทบแทนความพอใจ ไม่พอใจ |
เจ้าของ: | ขณะจิต [ 02 ก.พ. 2012, 11:18 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หากวางแล้วหยิบขึ้นมาใหม่ นี่จะเป็นการหลุดไหมครับ |
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: ขณะจิต เขียน: ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: การปล่อยวางชั่วขณะ หรือ ชั่วคราว แต่สุดท้ายก็หยิบขึ้นมาใช้อีก การปล่อยวางต้องวาง แล้วไม่ควรหยิบขึ้นมาใช้อีก มันเป็นการยากที่จะไม่หยิบขึ้นมาใช้ใหม่ การปล่อยวางเป็นเรื่องของจิต หาใช่กาย การหยิบจับ เป็นกิริยาของกายหาใช่จิต ไม่มีทั้งผู้หยิบ และของถูกหยิบ เช่นไร เรียกว่าหยิบ ![]() เป็นการอุปมา การหยิบ คือ หยิบ ความพอใจ ไม่พอใจ / โลภ โกรธ หลง การปล่อยวางยากมากที่จะทำให้ความ พอใจ ไม่พอใจ ไม่กลับมาในจิตของเราอีก ต้องฝึกวิปัสสนาเติมความจริงตามกฎไตรลักษณ์ในจิตใจให้มากที่สุด เพื่อเข้าไปแทนที่ความพอใจ ไม่พอใจที่อยู่ในจิตใจ ยิ่งปฏิบัิติมากเท่าไหร่ความพอใจ ไม่พอใจ จะค่อยๆ หายไปทีละนิด เหมือนเติมน้ำใสลงไปในน้ำสี เมื่อมีสิ่งมากระทบขณะปัจจุบัน ความจริงก็จะมารับการกระทบแทนความพอใจ ไม่พอใจ ความพอใจ ไม่พอใจ เกิดขึ้นในจิต เมื่อรู้เท่าทันความคิด ก็ไม่ติด ไม่ทุกข์ เห็นควรแล้ว สาธุ ![]() |
เจ้าของ: | อินทรีย์5 [ 02 ก.พ. 2012, 12:46 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หากวางแล้วหยิบขึ้นมาใหม่ นี่จะเป็นการหลุดไหมครับ |
เมื่อวางหรือปล่อยได้แล้ว การจะหยิบหรอืไม่หยิบมาใช้ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ สำคัญคือหยิบมาใช้ เมื่อใช้เสจ รู้จักปล่อยหรือวางได้รึป่าว ึึคนที่ร้จักปล่อยวางได้ ย่อมรู้ว่าอะไรควรใช้ อะไรควรหยิบ ใช้ไปแล้ว จะวางตอนไหนก้เท่านั้นเอง ![]() |
เจ้าของ: | tonnk [ 02 ก.พ. 2012, 13:35 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หากวางแล้วหยิบขึ้นมาใหม่ นี่จะเป็นการหลุดไหมครับ |
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ปหานะ ๕ คือ วิกขัมภนปหานะ ๑ ตทังคปหานะ ๑ สมุจเฉทปหานะ ๑ ปฏิปัสสัทธิปหานะ ๑ นิสสรณปหานะ ๑ การละนิวรณ์ด้วยการข่มไว้ ย่อมมีแก่ บุคคลผู้เจริญปฐมฌาน การละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญสมาธิอัน เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทปหานะ อันเป็นโลกุตรมรรค และ ปฏิปัสสัทธิปหานะอันเป็นโลกุตรผล ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญ มรรคเครื่องให้ถึงความสิ้นไป และนิสสรณปหานะเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ฯ http://84000.org/tipitaka/read/?31/65/39 นิโรธ 5 (ความดับกิเลส, ภาวะไร้กิเลสและไม่มีทุกข์เกิดขึ้น — extinction; cessation of defilements) 1. วิกขัมภนนิโรธ (ดับด้วยข่มไว้ คือ การดับกิเลสของท่านผู้บำเพ็ญฌาน ถึงปฐมฌาน ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้ ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น — extinction by suppression) 2. ตทังคนิโรธ (ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับหรือธรรมที่ตรงข้าม เช่น ดับสักกายทิฏฐิด้วยความรู้ที่กำหนดแยกนามรูปออกได้ เป็นการดับชั่วคราวในกรณีนั้นๆ — extinction by substitution of opposites) 3. สมุจเฉทนิโรธ (ดับด้วยตัดขาด คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นเด็ดขาด ด้วยโลกุตตรมรรค ในขณะแห่งมรรคนั้น ชื่อสมุจเฉทนิโรธ — extinction by cutting off or destruction) 4. ปฏิปัสสัทธินิโรธ (ดับด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรคดับกิเลสเด็ดขาดไปแล้ว บรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีก ในขณะแห่งผลนั้นชื่อ ปฏิปัสสัทธินิโรธ — extinction by tranquillization) 5. นิสสรณนิโรธ (ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ดำรงอยู่ในภาวะที่กิเลสดับแล้วนั้นยั่งยืนตลอดไป ภาวะนั้นชื่อนิสสรณนิโรธ ได้แก่อมตธาตุ คือ นิพพาน — extinction by escape; extinction by getting freed) |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |