วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2012, 15:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ธ.ค. 2010, 06:57
โพสต์: 50


 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณากายในกาย พอจะเข้าใจครับ พิจารณาเวทนาในเวทนา พิจารณาจิตในจิต ธรรมในธรรม ต้องพิจารณาอย่างไรครับ สาธุ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2012, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้ปฏิบัติแบบไหนอยู่ครับ เวลาทำสมาธิ

ถ้ากายในกายรู้และ อีก 3 อย่างที่เหลือน่าจะไม่เหลือบ่ากว่าแรง :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2012, 17:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ใช่อย่างที่คุณอินทรีย์ 5 ว่านั้นแหละครับ....

ถ้าพิจารณากายแล้ว...อันอื่นไม่ใช่ของยาก...และมันก็ไม่ได้ต้องมานั่งแยกอะไร ๆ ..

ต้องทำดู....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2012, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชิดชัย เขียน:
พิจารณากายในกาย พอจะเข้าใจครับ พิจารณาเวทนาในเวทนา พิจารณาจิตในจิต ธรรมในธรรม ต้องพิจารณาอย่างไรครับ สาธุ



เข้าใจ พิจารณากายในกาย ก็น่าจะเข้าใจ ...เวทนาในเวทนา ...จิตในจิต ...ธรรมในธรรม

คือ ท่านชี้ถึงความมุ่งหมาย เช่น ให้กำหนดโดยไม่สับสนกัน คือ พิจารณากายในกาย มิใช่พิจารณาเวทนา หรือจิต หรือธรรม ดังนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2012, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูที่ท่านอธิบายพิจารณากายในกาย แล้วเทียบเคียงที่เหลือเอง


กาเย กายานุปัสสี แปลว่า พิจารณาเห็นกายในกาย คือมองเห็นในกายว่าเป็นกาย มองเห็นกายตามสภาวะซึ่งเป็นที่ประชุมหรือประกอบกันเข้าแห่งส่วนประกอบคืออวัยวะน้อยใหญ่ต่างๆ

ไม่ใช่มองเห็นกายเป็นเขาเป็นเรา เป็นนายนั่นนางนี่ เป็นของฉัน ของคนนั้นคนนี้ หรือเห็นชายนั้นหญิงนี้ ในผมในขนในหน้าตา เป็นต้น หมายความว่า เห็นตรงตามความเป็นจริง ตรงตามสภาวะ ให้สิ่งที่ดูตรงกันกับสิ่งที่เห็น คือ ดูกาย ก็เห็นกาย

ไม่ใช่ดูกาย ไพล่ไปเห็นนาย ก. บ้าง ดูกายไพล่ไปเห็นคนชัง บ้าง ดูกายไพล่เห็นเป็นของชอบอยากชมบ้าง เป็นต้น เข้าคติคำของโบราณาจารย์ว่า สิ่งที่ดูมองไม่เห็น ไพล่ไปเห็นสิ่งที่ไม่ได้ดู เมื่อไม่เห็น ก็หลงติดกับ เมื่อติดอยู่ ก็พ้นไปไม่ได้...

....

ข้อความว่า “กายในกาย” อรรถกถาชี้ถึงความมุ่งหมาย เช่น ให้กำหนดโดยไม่สับสนกัน คือตามดูกายในกาย ไม่ใช่ตามดูเวทนา หรือจิต หรือธรรม ฯลฯ
(เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ก็พึงเข้าใจทำนองเดียวกัน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2012, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... 891&Z=5964
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... agebreak=0

กาย = ลมหายใจ ๑, อริยาบพย่อย ๑, อริยบาบถใหญ่ ๑, ปฏิกูล ๑, ธาตุ ๑, ซากศพ ๙

ภายใน = นาม(ตัวรู้) รูป (สิ่งถูกรู้) ในภายใน สมมติกันว่าของตน(เรา)
ภายนอก = นาม(ตัวรู้) รูป (สิ่งถูกรู้) ในภายนอก สมมติกันว่าของคนอื่น(เขา)
ทั้งภายในภายนอก = ของตนของคนอื่น

อ้างคำพูด:
พึงทราบความว่า แม้สัตว์ดิรัจฉาน เช่นสุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอกเป็นต้น เมื่อเดินไปก็รู้ว่าตัวเดิน ก็จริงอยู่ แต่ในอิริยาบถนั้น มิได้ตรัสหมายเอาความรู้เช่นนั้น เพราะความรู้เช่นนั้น ละความเห็นว่าสัตว์ไม่ได้ เพิกถอนความเข้าใจว่าสัตว์ไม่ได้ ไม่เป็นกัมมัฏฐาน หรือสติปัฏฐานภาวนาเลย.

ส่วนการรู้ของภิกษุ (ผู้เจริญกายานุปัสสนา) นี้ ย่อมละความเห็นว่าสัตว์ เพิกถอนความเข้าใจว่าสัตว์ได้ เป็นทั้งกัมมัฏฐาน และเป็นสติปัฏฐานภาวนา และคำที่ตรัสหมายถึง ความรู้ชัดอย่างนี้ว่า ใครเดิน การเดินของใคร เดินได้เพราะอะไร.
--------------------------------------------------------
อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
มหาสติปัฏฐานสูตร




๑.เดินได้เพราะอะไร = อาศัยจิตสั่ง ลมจึงแผ่ไป กายจึงเคลื่อนไหว
๒.การเดินของใคร = ไม่ใช่การเดินของเราของเขาของใคร เป็นสภาวะรูปธรรมนามธรรมเคลื่อนไหว เรียกกัน หมายรู้กันว่า การเดิน
๓.ใครเดิน = เมื่อไม่ใช่การเดินของใคร ใครเราเขาเดินจึงไม่มี หรือ(การเคลื่อนไหวการเดินมี คนเดินไม่มี ว่าโดยปรมัตถสัจจะ เป็นธรรมาโวหาร)

*สมมติสัจจะ นาย A นาย B เดิน พวกเราเดิน เป็นบุคคลาโวหาร*

เวทนา จิต ธรรม ก็นัยยะเดียวกัน เพิกถอนความเข้าใจว่าสัตว์บุคคลลงไป
เช่น ใครรู้สึก(เสวยอารมณ์) การรู้สึกของใคร รู้สึกไ้ด้เพราะอะไร
ใครปรุงแต่ง การปรุงแต่งจิตของใคร ปรุงแต่งจิตไ้ด้เพราะอะไร
ในธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พิจารณาความเกิดและความดับตามบรรพ...

เมื่อชำนาญแล้ว ปัจจุบันอารมณ์อะไรปรากฏชัด ก็ไม่ต้องอาศัยเจตนาเป็นตัวกำหนด
ย่อมได้ แต่ในเบื้องต้น อาศัยเจตนาชักจูง กำหนดฐานใดฐานหนึ่ง เมื่อกำหนดถูกต้องเพียง
รู้รูปธรรม ในกาย ก็เป็นอันรู้นามธรรม รู้นามไปด้วย ฯลฯ.

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2012, 23:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธฏีกา เขียน:
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=5891&Z=5964
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... agebreak=0

กาย = ลมหายใจ ๑, อริยาบพย่อย ๑, อริยบาบถใหญ่ ๑, ปฏิกูล ๑, ธาตุ ๑, ซากศพ ๙

ภายใน = นาม(ตัวรู้) รูป (สิ่งถูกรู้) ในภายใน สมมติกันว่าของตน(เรา)
ภายนอก = นาม(ตัวรู้) รูป (สิ่งถูกรู้) ในภายนอก สมมติกันว่าของคนอื่น(เขา)
ทั้งภายในภายนอก = ของตนของคนอื่น

อ้างคำพูด:
พึงทราบความว่า แม้สัตว์ดิรัจฉาน เช่นสุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอกเป็นต้น เมื่อเดินไปก็รู้ว่าตัวเดิน ก็จริงอยู่ แต่ในอิริยาบถนั้น มิได้ตรัสหมายเอาความรู้เช่นนั้น เพราะความรู้เช่นนั้น ละความเห็นว่าสัตว์ไม่ได้ เพิกถอนความเข้าใจว่าสัตว์ไม่ได้ ไม่เป็นกัมมัฏฐาน หรือสติปัฏฐานภาวนาเลย.

ส่วนการรู้ของภิกษุ (ผู้เจริญกายานุปัสสนา) นี้ ย่อมละความเห็นว่าสัตว์ เพิกถอนความเข้าใจว่าสัตว์ได้ เป็นทั้งกัมมัฏฐาน และเป็นสติปัฏฐานภาวนา และคำที่ตรัสหมายถึง ความรู้ชัดอย่างนี้ว่า ใครเดิน การเดินของใคร เดินได้เพราะอะไร.
--------------------------------------------------------
อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
มหาสติปัฏฐานสูตร




๑.เดินได้เพราะอะไร = อาศัยจิตสั่ง ลมจึงแผ่ไป กายจึงเคลื่อนไหว
๒.การเดินของใคร = ไม่ใช่การเดินของเราของเขาของใคร เป็นสภาวะรูปธรรมนามธรรมเคลื่อนไหว เรียกกัน หมายรู้กันว่า การเดิน
๓.ใครเดิน = เมื่อไม่ใช่การเดินของใคร ใครเราเขาเดินจึงไม่มี หรือ(การเคลื่อนไหวการเดินมี คนเดินไม่มี ว่าโดยปรมัตถสัจจะ เป็นธรรมาโวหาร)

*สมมติสัจจะ นาย A นาย B เดิน พวกเราเดิน เป็นบุคคลาโวหาร*

เวทนา จิต ธรรม ก็นัยยะเดียวกัน เพิกถอนความเข้าใจว่าสัตว์บุคคลลงไป
เช่น ใครรู้สึก(เสวยอารมณ์) การรู้สึกของใคร รู้สึกไ้ด้เพราะอะไร
ใครปรุงแต่ง การปรุงแต่งจิตของใคร ปรุงแต่งจิตไ้ด้เพราะอะไร
ในธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พิจารณาความเกิดและความดับตามบรรพ...

เมื่อชำนาญแล้ว ปัจจุบันอารมณ์อะไรปรากฏชัด ก็ไม่ต้องอาศัยเจตนาเป็นตัวกำหนด
ย่อมได้ แต่ในเบื้องต้น อาศัยเจตนาชักจูง กำหนดฐานใดฐานหนึ่ง เมื่อกำหนดถูกต้องเพียง
รู้รูปธรรม ในกาย ก็เป็นอันรู้นามธรรม รู้นามไปด้วย ฯลฯ.

:b8:
สาธุ อนุโมทนากับคำอธิบายที่ถึงพร้อมด้วยอรรถะและพยัญชนะของท่านพุทธฎีกาครับ

"ปัจจุบันอารมณ์เป็นที่รวมของสติปัฏฐานทั้ง 4 รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ก็ย่อมจะแทงทะลุทั้ง 4 ฐาน"

"ธรรมทั้งปวงรวมรู้ลงที่ปัจจุบันอารมณ์"

"ชีวิตมีจริงอยู่แค่ตรงปัจจุบันอารมณ์ คือชั่วพริบตาเดียว"

ปัจจุบันอารมณ์เป็นที่เกิดของโพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ"

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2012, 19:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


s002 s002 ..ดิฉันเห็นหัวข้อเลยเข้ามาตามอ่านเพื่อศึกษาเพิ่มเติมความรู้ให้ตัวเองค่ะ..เชื่อไหมค่ะ ดิฉันอ่านคำตอบของท่านผู้รู้ทุกๆท่านไม่เข้าใจ...ดิฉันเข้าใจในสิ่งที่อ่านค่ะ แต่ไม่เข้าใจหรือแจ้งแก่ใจ...เหตุใดดิฉันอ่านแล้วเหมือนบอกกำกวมมันไม่ชัดค่ะ หรือดิฉันโง่ ไม่เข้าใจในข้อธรรมนั้นเอง

ในส่วนตัวดิฉันคิดว่า การดูจิตในจิตนั้นง่าย..อาจเป็นเพราะดิฉันเป็นคนโง่แล้วอวดฉลาดมั๊งค่ะ ดิฉันอ่านข้อธรรมที่แนะนำของท่านผู้รู้ทุกท่านไม่เข้าใจ แต่ดิฉันเข้าใจว่า การดูจิตในจิต ก็แค่ดูตามแบบคำพูดนั่นแหละว่า ดูจิต..ก็แค่ว่า จิตรู้ว่ามีราคะก็รู้ว่ามีราคะ จิตรู้ว่ามีโทสะ ก็รู้ว่ามีโทสะ จิตปักแน่นที่เกิดจากสมาธิก็รู้ว่าจิตปักแน่นจากที่เกิดจากสมาธิ จิตเฉยก็รู้ว่าจิตเฉย จิตรำคาญเรื่องที่มากระทบ ก็รู้ว่าจิตรำคาญในเรื่องที่มากระทบ...ทุกอย่างเกิดจากสติที่รู้ว่า มีอะไรเกิดขึ้นกับใจเราในขณะนั้น แล้วก็แค่ดู...ดูเฉยๆ ถ้าจิตเปลี่ยนสภาวะไปแบบไหนก็แค่ตามดู..ดิฉันทำแบบนี้เสมอเลย..ดูแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนจิตมันก็นิ่งของมันเอง จนเป็นว่า จิตนิ่งก็รู้ว่าจิตนิ่ง แต่บางครั้งมีสิ่งที่กระทบมาจากภายนอก ทำให้จิตนิ่งเคลื่อนออกจากความนิ่งเป็นจิตหวั่นไหว ดิฉันก็ดูว่าจิตหวั่นไหว ก็รู้ว่าจิตหวั่นไหว คือดูอย่างเดียว และในตอนนั้นเราจะเข้าใจในเรื่องนั้นๆเองและแจ้งแก่ใจโดยไม่มีคนต้องมาคอยบอกและแจ้งในไตรลักษณ์ในเรื่องนั้นๆที่เกิดกับจิตของเราเองน่ะค่ะ ดิฉันเข้าใจและทำแบบนี้เป็นขั้นเป็นตอนไป ก็ตรงกับที่ท่านผู้รู้ได้บอกไว้ข้างต้นว่า รู้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งดิฉันเข้าใจแบบนี้(ทุกอย่างทำที่ใจ จากใจและจบที่ใจ ไม่ได้เกิดจากสมอง จบที่ความคิดที่เกิดจากสมองคิดนะค่ะ ทุกอย่างจะชัดที่ใจและเมื่อใจชัด สมองมันจะเรียบเรียบทุกอย่างที่รู้จากใจของมันเอง โดยเราไ่ม่ต้องใช้สมองในการพิจารณาหรือเรียบเรียงอะไร)

ดิฉันคิดแบบนี้ถูกไหมค่ะ หรือว่าดิฉันคิดแบบง่ายเกินไป มันต้องมองซับซ้อนให้ลึกซึ้งกว่านี้..นี่ดิฉันเริ่มต้นดูจิตแบบนี้ค่ะ..

ดิฉันมาถามผู้รู้ นักธรรม และทุกๆท่านเพื่อให้แนะนำสั่งสอน และเพื่อให้ดิฉันสามารถเดินในมหาสติได้อย่างถูกต้องต่อไป ถ้าดิฉันทำผิดกรุณาแนะนำและชี้บกพร่องของดิฉันให้ดิฉันได้รู้ด้วยนะค่ะ ดิฉันจะได้นำไปแก้ไขให้ดิฉันเดินใด้ถูกต้องและถูกทาง ตามทางของมหาสติที่เป็นสัมมาสมาธิ กราบขอบพระคุณทุกๆท่านล่วงหน้าค่ะ :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย ชาวโลก เมื่อ 15 ก.พ. 2012, 20:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2012, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ชิดชัย เขียน:
พิจารณากายในกาย พอจะเข้าใจครับ พิจารณาเวทนาในเวทนา พิจารณาจิตในจิต ธรรมในธรรม ต้องพิจารณาอย่างไรครับ สาธุ :b8:


อย่าหาว่า ข้าพเจ้าดูหมิ่นคุณเจ้าของกระทู้เลยนะขอรับ ความจริงแล้วที่คุณบอกมาว่า มีความเข้าใจในการพิจารณากายในกายนั้น คุณก็ไม่มีความเข้าใจดอกขอรับ และไม่ใช่เฉพาะคุณคนเดียวที่ไม่เข้าใจ ยังมีผู้อยู่ในแวดวงพุทธศาสนาอีกมากมาย ที่ยังไม่เข้าใจ ในเรื่องของ กาย,เวทนา,จิต,ธรรม
ข้าพเจ้าเคยเขียนเรื่อง"สติปัฎฐาน สี่ "นี้ไปครั้งหนึ่งแล้ว แต่ก็จะไม่ค่อยได้ว่าได้อธิบายการพิจารณาในเรื่องของ กาย เวทนา จิต ธรรม ไปมากน้อยเพียงใด
เอาละในเมื่อคุณถามหรือมีข้อสงสัย ข้าพเจ้าก็จะตอบให้เป็นวิทยาทาน และขอให้ท่านทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ได้จดจำลิขิตเขียนบันทึกเอาไว้ เพราะข้าพเจ้าอาจจะจำไม่ได้ เหตุเพราะในหลักวิชชาการของข้าพเจ้าแม้จะคล้ายคลึงกัน แต่ไม่ได้แบ่งแยกว่า เป็น กาย เวทนา จิต ธรรม แต่การคิด การพิจารณาก็คล้ายคลึงกัน หรืออาจเหมือนกันก็เป็นได้ เพียงแต่ต่างยุค ต่างสมัย ต่างหลักวิชชาการความรู้

การพิจารณา กายในกาย ,เวทนาในเวทนา ,จิตในจิต,ธรรมในธรรม หมายถึง การพิจารณา แหล่งที่เกิด แหล่งสาเหตุ แหล่งต้นเหตุ แหล่งที่มา แหล่งที่ไป ฯลฯ แห่ง กาย เวทนา จิต ธรรม พิจารณาในรู้ว่า เกิดขึ้น,ตั้งอยู่,ดับไป ได้อย่างไร,เพราะเหตุใด
กาย หมายถึง รูปกาย สรีระร่างกาย ทั้งหลายเหล่านั้น
เวทนา หมายถึง ความรู้สึกใน การรับรู้อารมณ์ ในกายทั้งหลายในสภาพหรือธรรมชาติรับรู้อารมณ์ ฯหรือในธรรมหรือสิ่งหรือควานมีรู้หรือความจำ ที่ประกอบอยู่ในจิต ทั้งหลายเหล่านั้น
จิต หมายถึง สภาพหรือธรรมชาติ รับรู้อารมณ์ เมื่อได้รับสัมผัสทางอายตนะทั้งหลายทั้งภายนอกภายใน
ธรรม หมายถึง สิ่งหรือความรู้หรือความจำที่ประกอบอยู่ในจิตทั้งหลายเหล่านั้น
จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
ผู้เขียน ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2012, 08:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐานสี่ แปลว่าที่ตั้งของสติ ประกอบด้วย

๑. กายานุปัสสนา คือ การพิจารณากาย ตามดูรู้ทันกาย เช่น อานาปานสติ ตั้งสติตามรู้ลมหายใจเข้าออก
กำหนดรู้อริยาบถของกาย ยืนเดินนั่งนอน การพิจารณาปฏิกูลมนสิการ ฯลฯ

๒. เวทนานุปัสสนา การตามดูรู้ทันเวทนา คือเกิดความรู้สึก ทุกข์ สุข เฉยๆ ไม่สุขทุกข์
เกิดจากอามิส หรือไม่เกิดจากอามิส เป็นต้น

๓. จิตตานุปัสสนา การตามรู้ทันจิต คือ จิตในขณะนั้นมีราคะ โทสะ โลภะ โมหะ หรือไม่
ก็รู้ชัดตามที่เป็นอยู่ในขณะนั้น

๔. ธัมมานุปัสสนา การตามรู้ทันธรรม คือ ให้รู้ว่าธรรมที่เกิดในขณะนั้น เช่น นิวรณ์ ๕
เกิดขึ้นอย่างไรจะดับได้อย่างไร การกำหนดรู้ในขันธ์ห้า รู้ทัน อายตนะ ฯลฯ

สรุปคือ ..

๑. พิจารณา ร่างกายและพฤติกรรมของกาย เรียก กายานุปัสสนา
๒. พิจารณา เวทนา คือ พิจารณาความรู้สึกสุขทุกข์ต่างๆ เรียก เวทนานุปัสสนา
๓. พิจารณา ภาวะจิตที่เป็นไปต่างๆ เรียก จิตตานุปัสสนา
๔. พิจารณา ความนึกคิดไตร่ตรองในธรรม ได้แก่ นิวรณ์ ขันธ์ 5 อายตนะ ฯลฯ เรียก ธัมมานุปัสสนา

“... ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นความโศกและปริเทวะ
เพื่อความอัศดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรมรรค เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพานนี้คือสติปัฏฐานสี่ ...”

:b12:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2012, 11:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สรุปคือ ..

๑. พิจารณา ร่างกายและพฤติกรรมของกาย เรียก กายานุปัสสนา
๒. พิจารณา เวทนา คือ พิจารณาความรู้สึกสุขทุกข์ต่างๆ เรียก เวทนานุปัสสนา
๓. พิจารณา ภาวะจิตที่เป็นไปต่างๆ เรียก จิตตานุปัสสนา
๔. พิจารณา ความนึกคิดไตร่ตรองในธรรม ได้แก่ นิวรณ์ ขันธ์ 5 อายตนะ ฯลฯ เรียก ธัมมานุปัสสนา



:b8: :b8: .... :b1: ขอบคุณคุณวิริยะ ที่มาให้ความรู้ค่ะ...ดิฉันพยายามเรียบเรียงทุกอย่างตามความ

เข้าใจ ทำให้เข้าใจว่า..

อ่อ ข้อ 1 คือ กายเรียกว่า กายดูกาย

ส่วนข้อ 2,3,4 มารวมกันที่จิต ดิฉันเลยเรียกรวมกันว่า จิตดูจิต

ดิฉันคิดแบบนี้ถูกไหมค่ะ เพราะเวลาทำจริงๆ ดิฉันไม่เก่งในศัทพ์ธรรม

ดิฉันไม่สามารถแยกได้หรอกว่า นี่คือธรรมนุปัสสนา นี่คือจิตตานุปัสสนา นี่คือเวทนานุปัสสนา แต่จะรู้ว่่่า

ทุกข์เราก็รู้ว่าทุกข์ เฉยเราก็รู้ว่าเฉย นิ่งเราก็รู้ว่านิ่ง โกรธเราก็รู้ว่าโกรธ ฯลฯ

ดิฉันไม่แม่นในการแปลข้อธรรมหรือตีข้อธรรม เลยมาถามท่านผู้รู้และผู้ธรรมธรรมทุกท่านน่ะค่ะ เพราะ

ดิฉันเป็นคนไม่มั่นใจในตัวเอง ว่าถูกหรือไม่นะค่ะ(ดิฉันโง่ไหมค่ะ :b9: :b9: )

อ้างคำพูด:
“... ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นความโศกและปริเทวะ
เพื่อความอัศดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรมรรค เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพานนี้คือสติปัฏฐานสี่ ...


:b1: :b1: ขอบคุณค่ะ ที่บอกอีกครั้ง..ดิฉันจะเล่าความโง่ของตัวเองให้ฟัง ดิฉันนะไม่เคยแปลคำว่า

สติปัฎฐาน4 แปลว่าทางสายเอกที่ไปนิพพานเลย :b9: :b9: ดิฉันแปลว่าอะไรรู้ไหมค่ะ ดิฉันเข้าใจเอา

เอง บอกแล้วนะค่ะดิฉันแปลข้อธรรมทีไรเพี้ยนไปทุกที ดิฉันแปลว่า สติปัฏฐาน4 หรือ มหาสติ ที่ดิฉัน

ชอบเรียก ดิฉันแปลว่า สติปัฎฐาน4 คือ การรู้ทุกทั่วตัวตน ตลอด 24 ชั่วโมง ว่า ขันธ์5 ไม่ใช่เรา เรา

ไม่ใช่ขันธ์5 ขันธ์5 ไม่มีในเรา เราไม่มีในขันธ์5...ดิฉันแปลว่าอย่างนี้เสมอเลย... :b32: :b32:


แก้ไขล่าสุดโดย ชาวโลก เมื่อ 19 ก.พ. 2012, 20:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2012, 15:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐานสี่ คือ ที่ตั้งของสติ มีที่ตั้งอยู่สี่อย่าง เหมาะสำหรับท่านที่มีจริตนิสัยต่างๆ กัน จุดประสงค์ คือ
ใช้เป็นที่ฝึกสติเพื่อควบคุมจิตให้สงบเป็นสมาธิ เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิ เราก็จะเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในจิต

เปรียบได้กับน้ำที่ใสสงบ ตะกอนทั้งหลายก็จะนอนก้น ทำให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน
แล้วเอา "ปัญญา"มาช้อนมาตัก "ตะกอนต่าง ๆ" เหล่านั้นออกไปจากจิต ทำให้จิตบริสุทธิ์ ผ่องใส

ท่านจึงว่า "สติปัฏฐานสี่" เป็นทางสายเอก เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

เมื่อลงมือปฏิบัติจริง ๆ เราก็พิจารณารวม ๆ กันไป ไม่จำเป็นต้องแยกแยะว่านี่ กาย เวทนา จิต ธรรม
ขอให้ข้อธรรมที่พิจารณาอยู่นั้น สามารถพิจารณาต่อเนื่องกันไปได้ไม่มีติดขัด ราบลื่น จิตไม่กวัดแกว่ง
ออกนอกองค์ธรรมที่พิจารณาอยู่ จนไม่พะวงกับเวลา นั่นแสดงว่าธรรมหมวดนั้นถูกกับจริตของเรา
ก็ให้นำธรรมหมวดนั้นมาพิจารณาบ่อย ๆ จนจิตยอมรับและสงบเป็นสมาธิ

การแปลธรรม ส่วนใหญ่ก็แปลตามพระไตรปิฎกหรือที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านแปลไว้
เพราะเมื่อสื่อสารกับผู้อื่นก็จะได้เข้าใจ ไม่งงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ต่อเมื่อ "รู้จริงเห็นจริง ตามความเป็นจริง" จะแปลอย่างไรก็ไม่เป็นปัญหา

ขอโมทนานะครับ ... :b12:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2012, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ส่วนข้อ 2,3,4 มารวมกันที่จิต ดิฉันเลยเรียกรวมกันว่า จิตดูจิต
:b39:

2. พิจารณาในเวทนา ทั้งเวทนาปวดที่เกิดทางกาย และเวทนาทางใจ ที่ว่าใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว ถ้ารู้จริงในข้อ2จะสามารถตัดแยกเวทนาทางกาย และทางใจออกจากกัน แยกกันคนละส่วนไม่เกี่ยวกันเหมือนน้ำกับน้ำมัน จึงรู้ว่าเปนเวทนาในเวทนา(ซึ่งซ้อนกันอยู่
3. พิจารณาจิต ก้มาจากอายตนะทั้ง5 มากระทบจิตทางไหน ก้กำหนดและพิจารณาทางนั้น เช่น
มีเสียงกระทบหู เอาสติไว้ที่หู กำหนดจิตทันเมื่อเสียงกระทบ เกิดร้อนหนาว เกิดสัมผัสทางกายก้กำหนดได้ทัน เอาสติรู้ไว้ที่กาย ทางตา จมูก ลิ้น ซึ่งเปนทวารการรับรู้ก็กำหนดแบบเดียวกัน (เปรียบได้กับพระปิดหูปิดตาของพระควัมปติ หรือ อุบายการจับเหี้ยทั้ง6รู ของท่านตุจโฉโปฐิละ) :b40:

4.พิจารณาธรรม นี้ เป็นผลมาจากพิจารณา 1-2-3 รวมกัน จะเกิดธรรมะหรือกุศลขึ้นในใจ เริ่มมีปัญญาเกิดขึ้นแล้ว จะรู้ว่าสิ่งที่เราปฏิบัิตอยู่ถุกหรือผิด เป็นบุญหรือเปนบาป มีหิริโอตัปปะมากกว่าเดิม มีธรรมะประจำใจ เริ่มเหนความไม่เที่ยง จากสภาวะธรรม เช่นเหนความจริงว่าขันธ์ห้าเป็นของไม่เที่ยง เป็นต้น ถ้าได้ข้อ4
จะถือว่าได้ภาวนามยปัญญา หรือวิปัสสนาปัญญา จัดเป็นสติปัฏฐานที่สมบูรณ์ :b48:

อ้างคำพูด:
พิจารณา ความนึกคิดไตร่ตรองในธรรม ได้แก่ นิวรณ์ ขันธ์ 5 อายตนะ


พิจารณานิวรณ์ ขันธ์ 5 ตรงนี้ ก้ได้จาก ข้อ 1+2 :b42:

พิจารณาอายตนะ ก้ได้จาก ข้อ3

พิจารณาธรรม(นิวรณ์5 ขันธ์ 5 อายตนะ6 ธาตุ8 อินทรีย์22 = กาย+จิต(หรือรูปกับนาม)
เหนสัจจธรรม ว่าธรรมเหล่านี้เปนไตรลักษณ์ มีเกิดและดับ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป การเหนแบบนี้จะได้จากข้อ 4 (ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับผู้ปฏิบัติภาวนาแบบนี้) :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2012, 20:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
สติปัฏฐานสี่ คือ ที่ตั้งของสติ มีที่ตั้งอยู่สี่อย่าง เหมาะสำหรับท่านที่มีจริตนิสัยต่างๆ กัน จุดประสงค์ คือ
ใช้เป็นที่ฝึกสติเพื่อควบคุมจิตให้สงบเป็นสมาธิ เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิ เราก็จะเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในจิต

เปรียบได้กับน้ำที่ใสสงบ ตะกอนทั้งหลายก็จะนอนก้น ทำให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน
แล้วเอา "ปัญญา"มาช้อนมาตัก "ตะกอนต่าง ๆ" เหล่านั้นออกไปจากจิต ทำให้จิตบริสุทธิ์ ผ่องใส

ท่านจึงว่า "สติปัฏฐานสี่" เป็นทางสายเอก เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

เมื่อลงมือปฏิบัติจริง ๆ เราก็พิจารณารวม ๆ กันไป ไม่จำเป็นต้องแยกแยะว่านี่ กาย เวทนา จิต ธรรม
ขอให้ข้อธรรมที่พิจารณาอยู่นั้น สามารถพิจารณาต่อเนื่องกันไปได้ไม่มีติดขัด ราบลื่น จิตไม่กวัดแกว่ง
ออกนอกองค์ธรรมที่พิจารณาอยู่ จนไม่พะวงกับเวลา นั่นแสดงว่าธรรมหมวดนั้นถูกกับจริตของเรา
ก็ให้นำธรรมหมวดนั้นมาพิจารณาบ่อย ๆ จนจิตยอมรับและสงบเป็นสมาธิ

การแปลธรรม ส่วนใหญ่ก็แปลตามพระไตรปิฎกหรือที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านแปลไว้
เพราะเมื่อสื่อสารกับผู้อื่นก็จะได้เข้าใจ ไม่งงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ต่อเมื่อ "รู้จริงเห็นจริง ตามความเป็นจริง" จะแปลอย่างไรก็ไม่เป็นปัญหา

ขอโมทนานะครับ ... :b12:


:b8: :b8: ขอบคุณนะคะ่ ที่มาให้ความกระจ่างแก่ดิฉันค่ะ :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2012, 21:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
2. พิจารณาในเวทนา ทั้งเวทนาปวดที่เกิดทางกาย และเวทนาทางใจ ที่ว่าใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว ถ้ารู้จริงในข้อ2จะสามารถตัดแยกเวทนาทางกาย และทางใจออกจากกัน แยกกันคนละส่วนไม่เกี่ยวกันเหมือนน้ำกับน้ำมัน จึงรู้ว่าเปนเวทนาในเวทนา(ซึ่งซ้อนกันอยู่


ในการปฎิบัติ ดิฉันไม่เคยสนใจเรื่องกายเลยค่ะ เวทนาทางกายที่เกิดขึ้นดิฉันก็ได้แค่ดูและรู้ แต่จะไม่สนใจมัน (ช่างมัน) เหตุเพราะดิฉันคิดเสมอว่า ดิฉันกำลังฝึกจิตไม่ได้ฝึกกาย เมื่อทำกรรมฐาน เดินเมื่อยก็นั่ง หรือนั่งแล้วเหน็บกินดิฉันก็ปรับเป็นนอน หรือป่วยเดินหรือนั่งไม่ได้ ก็นอนทำ ดิฉันทำแบบนี้เสมอค่ะ ดังนั้นเวทนาทางกายดิฉันเลยไม่เคยได้พิจารณา และผ่านมันไปเลย อาจเพราะดิฉันป่วยเป็นปกติ ถ้ามัวแต่สนใจกายที่ป่วย ดิฉันคงไม่ได้ปฎิบัติธรรมกัน เพราะดิฉันป่วยทุกวัน 1 ปี ป่วยไป 360 วัน ซึ่งกายดิฉันเป็นอย่างนี้ ดิฉันจึงเน้นไปที่จิต เน้นดูที่จิตเท่าั้นั้น ทุกวันนี้เดิมมักพิจารณากายว่าเป็นธาตุ4 แต่เดี่ยวนี้เริ่มไม่เห็นอีกแล้วค่ะ มันเพิกไปซะเฉยๆ เลยช่วงนี้ดูจิตอย่างเดียวค่ะ

อ้างคำพูด:
3. พิจารณาจิต ก้มาจากอายตนะทั้ง5 มากระทบจิตทางไหน ก้กำหนดและพิจารณาทางนั้น เช่นมีเสียงกระทบหู เอาสติไว้ที่หู กำหนดจิตทันเมื่อเสียงกระทบ เกิดร้อนหนาว เกิดสัมผัสทางกายก้กำหนดได้ทัน เอาสติรู้ไว้ที่กาย ทางตา จมูก ลิ้น ซึ่งเปนทวารการรับรู้ก็กำหนดแบบเดียวกัน (เปรียบได้กับพระปิดหูปิดตาของพระควัมปติ หรือ อุบายการจับเหี้ยทั้ง6รู ของท่านตุจโฉโปฐิละ) :b40:


เนื่องจากเดิมดิฉันเป็นนักกรรมฐาน 40 มาก่อน ก่อนที่จะทำกรรมฐานใดๆหรึือใช้ชีวิตประจำวัน ดิฉันมักสำรวมกายวาจาใจ สำรวมจิตเสมอ ๆ(เพื่อซ้อมกรรมฐานระหว่างวัน) ซึ่งทำให้การสำรวมจิตนี่ติดมาถึงเวลาดิฉันฝึกมหาสติ เมื่อไม่ว่าจะมีสิ่งกระทบมาทางอายตนะใดๆ ดิฉันก็จะสนใจแค่ว่า จิตดิฉันเป็นอย่างไร ไหวกับสิ่งที่กระทบหรือไม่ ถ้าสิ่งใดไม่สามารถทำให้จิตดิฉันไหวจากสิ่งกระทบ ด็ฉันก็ไม่สนใจ จะเกิดก็เกิดไปเพราะมันไม่สามารถทำให้จิตดิฉันไหวได้ แต่เมื่อมีสิ่งใดมาทำให้จิตดิฉันไหวขึ้นมาได้ เมื่อนั้นดิฉันก็จะดูจิตดิฉันอย่างเดียวว่า มันไหว ก็แค่ดูๆมันไป ไม่นานก็หายไป...ซึ่งการปฎิบัติของดิฉันไม่ได้ละเอียดมากมายว่าสิ่งนั้นมาทางใหน กระทบอะไรบ้าง ดิัฉันเน้นที่จิตอย่างเดียว ว่าสามารถนิ่งจากสิ่งที่เข้ามากระทบได้ไหม นี่คือสิ่งสำคัญที่ดิฉันระลึกและปฎิบัติเป็นหลัีกอยู่เสมอ ดิฉันให้ความสำคัญข้อนี้ไปที่จิตเป็นหลักเช่นเดียวกับข้อ2 ค่ะ

อ้างคำพูด:
4.พิจารณาธรรม นี้ เป็นผลมาจากพิจารณา 1-2-3 รวมกัน จะเกิดธรรมะหรือกุศลขึ้นในใจ เริ่มมีปัญญาเกิดขึ้นแล้ว จะรู้ว่าสิ่งที่เราปฏิบัิตอยู่ถุกหรือผิด เป็นบุญหรือเปนบาป มีหิริโอตัปปะมากกว่าเดิม มีธรรมะประจำใจ เริ่มเหนความไม่เที่ยง จากสภาวะธรรม เช่นเหนความจริงว่าขันธ์ห้าเป็นของไม่เที่ยง เป็นต้น ถ้าได้ข้อ4
จะถือว่าได้ภาวนามยปัญญา หรือวิปัสสนาปัญญา จัดเป็นสติปัฏฐานที่สมบูรณ์ :b48:


จากข้อนี้ ดิฉันก็เห็นว่า เกิดจากจิตเช่นกัน ไม่ว่าธรรมข้อไหนจะเกิดก็เกิดจากจิตที่กระจ่างขึ้นเอง โดยเราไม่ต้องคิดหรือตรองธรรมนั้นใดๆ โดยมันจะกระจ่างแก่ใจเราเองและดิฉันเห็นสอดคล้องกับสิ่งที่ท่านได้เมตตาสอนดิฉันค่ะ :b8: :b8:

อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
พิจารณา ความนึกคิดไตร่ตรองในธรรม ได้แก่ นิวรณ์ ขันธ์ 5 อายตนะ


พิจารณานิวรณ์ ขันธ์ 5 ตรงนี้ ก้ได้จาก ข้อ 1+2 :b42:


:b8: :b8: สาธุ กราบขอบพระคุณค่ะ ที่ชี้ความกระจ่างให้แก่ดิฉัน :b8: :b8:

อ้างคำพูด:
พิจารณาอายตนะ ก้ได้จาก ข้อ3


:b8: :b8: กราบขอบพระคุณค่ะ :b8: :b8:

พิจารณาธรรม(นิวรณ์5 ขันธ์ 5 อายตนะ6 ธาตุ8 อินทรีย์22 = กาย+จิต(หรือรูปกับนาม)
เหนสัจจธรรม ว่าธรรมเหล่านี้เปนไตรลักษณ์ มีเกิดและดับ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป การเหนแบบนี้จะได้จากข้อ 4 (ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับผู้ปฏิบัติภาวนาแบบนี้) :b41: :b41:

:b8: :b8: สาธุ สาธุ กราบขอบพระคุณนะค่ะที่ได้มาเมตตาแนะนำสั่งสอนดิฉันให้กระจ่างในมหาสติมากขึ้น ซึ่งถ้าไม่ได้ทุกๆท่านเมตตาสั่งสอน ชี้แนะข้อธรรมอย่างอ่านง่ายๆในมหาสติ นี้ ดิฉันก็ไม่สามารถเปรียบเทียบผลการปฎิับัติของตัวเองได้ ว่าตัวเองได้เดินได้ถูกทางหรือยัง...การคิดไปเองว่าเราเดินถูกทางแล้ว ใช่แน่ๆนี่ หรือคิดว่าได้ผลการปฎิบัติที่ถูกทางแล้ว.. เป็นสิ่งที่น่ากลัวสำหรับดิัฉันค่ะ เพราะดิฉันกลัว อธิโมกข์ ในอุปกิเลส 10 จะหลอกดิฉันเอานะค่ะ กราบขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 56 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร