ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

สัญญากับปัญญา ๓
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=41135
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  ให้ทาง [ 12 ก.พ. 2012, 06:49 ]
หัวข้อกระทู้:  สัญญากับปัญญา ๓

เรียนท่านผูรู้ทุกท่านกรุณาช่วยแยกแยะให้เห็นความชัดเจนด้วยครับ เช่น
สัญญาเป็นอนัตตา พอเกิดปัญญา ปัญญากลับมาเป็นสัญญาอีก ผมรู้สึกสับสน
ขอโมทนาล่วงหน้าครับ สาธุ :b8:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 12 ก.พ. 2012, 13:19 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สัญญากับปัญญา ๓

ให้ทาง เขียน:
เรียนท่านผูรู้ทุกท่านกรุณาช่วยแยกแยะให้เห็นความชัดเจนด้วยครับ เช่น
สัญญาเป็นอนัตตา พอเกิดปัญญา ปัญญากลับมาเป็นสัญญาอีก ผมรู้สึกสับสน
ขอโมทนาล่วงหน้าครับ สาธุ


พอเกิดปัญญา ปัญญากลับมาเป็นสัญญาอีก

ไม่เคยได้ยินคำพูดเช่นนี้ คุณให้ทาง ได้คำพูดเช่นนี้มาจากใครครับ :b10:

ลองไปดูที่นี่สิครับ

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 93#msg9993

เจ้าของ:  นายฏีกาน้อย [ 12 ก.พ. 2012, 13:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สัญญากับปัญญา ๓

อ้างคำพูด:
สัญญา-วิญญาณ-ปัญญา


ก็เพราะเหตุที่สัญญาปรากฏ โดยกำหนดถึงอาการและสัณฐานของอารมณ์ ฉะนั้น สัญญานั้นจึงทรงจำแนกไว้ในจักษุทวาร. (แต่) เพราะเหตุที่วิญญาณปรากฏโดยกำหนดความแตกต่างเฉพาะอย่างของอารมณ์ เว้น (การกำหนด) อาการและสัณฐาน ฉะนั้น วิญญาณนั้นจึงทรงจำแนกไว้ในชิวหาทวาร.
อนึ่ง เพื่อกำหนดถึงสภาวะของสัญญาและวิญญาณเหล่านี้โดยไม่งมงาย จึงควรทราบถึงความแปลกกันในบทเหล่านี้ว่า สญฺชานาติ (จำได้) วิชานาติ (รู้แจ้ง) ปชานาติ (รู้ชัด).

ในบททั้ง ๓ นั้น เพียงแต่อุปสรรค (สํ, วิ, ป) เท่านั้นที่แปลกกัน ส่วนบทว่า ชานาติ ไม่แปลกกันเลย. อนึ่ง เพราะบทว่า ชานาติ นั้นมีความหมายว่า รู้ จึงควรทราบความแปลกกันดังต่อไปนี้ :-

อธิบายว่า สัญญาเป็นเพียงการจำได้หมายรู้อารมณ์โดยเป็นสีเขียวเป็นต้นเท่านั้น (แต่) ไม่สามารถให้ถึงการแทงตลอด (สามัญญ) ลักษณะคือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาได้.

วิญญาณย่อมรู้อารมณ์โดยเป็นสีเขียวเป็นต้น และให้ถึงการแทงตลอด (สามัญญ) ลักษณะมีไม่เที่ยงเป็นต้น แต่ไม่สามารถให้ก้าวไปถึงมรรคปรากฏ (รู้แจ้งมรรค) ได้.

ปัญญาย่อมรู้แจ้งอารมณ์โดยเป็นสีเขียวเป็นต้นด้วย ย่อมให้ถึงการแทงตลอด (สามัญญ) ลักษณะ โดยเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นด้วยทั้งให้ก้าวไปถึงความปรากฏแห่งมรรค (รู้แจ้งมรรค) ด้วย.

เปรียบเทียบ


เปรียบเหมือน เมื่อเหรัญญิกนำกหาปณะมาทำเป็นกองไว้บนแผ่นกระดานของเหรัญญิก เมื่อคน ๓ คนคือเด็กไร้เดียงสา ชาวบ้านธรรมดา (และ) เหรัญญิกผู้เชี่ยวชาญ ยืนมองดู เด็กไร้เดียงสารู้แต่เพียงว่า กหาปณะทั้งหลายสวยงาม วิจิตร (มีลักษณะ) สี่เหลี่ยมและกลมเป็นต้น (แต่) หารู้ไม่ว่า นี้เป็นรตนสมมติ ที่ใช้เป็นเครื่องอุปโภคบริโภคของมนุษย์ทั้งหลาย.

ชาวบ้านธรรมดารู้ว่า กหาปณะทั้งหลายสวยงามเป็นต้น เป็นรตนสมมติที่เป็นเครื่องอุปโภคและบริโภคของมนุษย์ทั้งหลายและรู้ว่าเป็นรตนสมมติที่เป็นเครื่องอุปโภคและบริโภคของมนุษย์ทั้งหลาย. แต่หารู้ไม่ว่า นี้เป็นของปลอม นี้เป็นของแท้ นี้เนื้อไม่ดี นี้เนื้อดี.

เหรัญญิกผู้เชี่ยวชาญย่อมรู้ว่า กหาปณะทั้งหลายสวยงามเป็นต้น ย่อมรู้ว่า กหาปณะทั้งหลายเรียกว่ารัตนะ ทั้งย่อมรู้ว่าเป็นของปลอมเป็นต้นด้วย. ก็แลเมื่อรู้ พอได้เห็นรูปบ้าง ได้ยินเสียง (เคาะ) บ้าง ได้ดมกลิ่นบ้าง ได้ลิ้มรสบ้าง ใช้มือชั่งดูถึงความหนักเบาบ้าง ก็ทราบได้ (ทันที) ว่าทำที่หมู่บ้านโน้นบ้าง ทราบว่าทำที่นิคมโน้น ที่เมืองโน้น ที่ร่มเงาภูเขาโน้น (และ) ที่ริมฝั่งแม่น้ำโน้นบ้าง ทราบว่าอาจารย์โน้นทำบ้างฉันใด

(สัญญา วิญญาณ และปัญญา) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (คือ) สัญญาย่อมจำได้หมายรู้แต่เพียงอารมณ์ว่าเป็นสีเขียวเป็นต้นเท่านั้น เปรียบเหมือนเด็กน้อยไร้เดียงสาเห็นกหาปณะฉะนั้น.

วิญญาณย่อมรู้อารมณ์ว่าเป็นสีเขียวเป็นต้น ทั้งให้ถึงการแทงตลอดลักษณะว่าไม่เที่ยงเป็นต้น เปรียบเหมือนชาวบ้านธรรมดาเห็นกหาปณะฉะนั้น.

(ส่วน) ปัญญาย่อมรู้อารมณ์ว่า เป็นสีเขียวเป็นต้นด้วย ให้ถึงการแทงตลอดลักษณะว่าไม่เที่ยงเป็นต้นด้วย ทั้งสามารถให้ก้าวไปถึงความปรากฏแห่งมรรคด้วย เปรียบเหมือนเหรัญญิกผู้ชำนาญเห็นกหาปณะฉะนั้น.
--------------------------------------------------------------
อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์
มัชฌิมปัณณาสก์ ขัชชนิยวรรคที่ ๓
ขัชชนิยสูตร ๗. อรรถกถาขัชชนิยสูตร

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 13 ก.พ. 2012, 04:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สัญญากับปัญญา ๓

ให้ทาง เขียน:
เรียนท่านผูรู้ทุกท่านกรุณาช่วยแยกแยะให้เห็นความชัดเจนด้วยครับ เช่น
สัญญาเป็นอนัตตา พอเกิดปัญญา ปัญญากลับมาเป็นสัญญาอีก ผมรู้สึกสับสน
ขอโมทนาล่วงหน้าครับ สาธุ :b8:


สัญญาคือความจำได้หมายรู้ ปัญญาในที่นี้คือปัญญินทรีย์
ที่กล่าวมาทั้งคู่ เป็นเจตสิก

คุณสมบัติของเจตสิกคือเกิดพร้อมกับจิตและดับพร้อมกับจิต
เจตสิกไม่สามารถเกิดพร้อมกันได้
แนะนำให้ไปศึกษาเรื่อง จิตเจตสิกรูป นิพพานในพระอภิธรรมครับ

เจ้าของ:  คนธรรมดาๆ [ 13 ก.พ. 2012, 11:44 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สัญญากับปัญญา ๓

:b8:
ขอบคุณท่านพุทธฎีกาที่นำความรู้มาแบ่งปันครับ

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 13 ก.พ. 2012, 13:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สัญญากับปัญญา ๓

ให้ทาง เขียน:
เรียนท่านผูรู้ทุกท่านกรุณาช่วยแยกแยะให้เห็นความชัดเจนด้วยครับ เช่น
สัญญาเป็นอนัตตา พอเกิดปัญญา ปัญญากลับมาเป็นสัญญาอีก ผมรู้สึกสับสน
ขอโมทนาล่วงหน้าครับ สาธุ :b8:


สวัสดี "ให้ทาง"
เช่นนั้น จะใช้ การผูกเงื่อนเชือก เป็นการอุปมาเพื่อให้เข้าใจดู
ให้ทาง ...ผูกเงื่อนเชือก พิรอด หรือ ผูกโบว์ หรือผูกเชือกรองเท้า หลายๆ แบบ
ให้ทาง ..ก็หาดู วิธีผูกเงื่อนเหล่านั้น
ให้ทาง..ดูเห็น จำได้ ถ้าไม่มีต้นแบบให้ดู ให้ทางก็ไม่มีการจำ
ให้ทาง ...ทำตาม แล้วทำได้สำเร็จ
ให้ทาง...ก็ผูกเงื่อนครั้งต่อไปได้เหมือนที่ ให้ทางเห็นมา
ถ้าให้ทาง จะผูกเงื่อนต่อๆไป ให้ทางก็ใช้วิธีการที่เรียนรู้มาเช่นนี้ ผูกได้

เจริญธรรม

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 13 ก.พ. 2012, 13:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สัญญากับปัญญา ๓

โฮฮับ เขียน:
คุณสมบัติของเจตสิกคือเกิดพร้อมกับจิตและดับพร้อมกับจิต
เจตสิกไม่สามารถเกิดพร้อมกันได้

สวัสดี "โฮฮับ"
เจตสิก บางกลุ่ม เกิดร่วมเกิดพร้อมกันได้
เจตสิก กลุ่มเดียวกันนั้นนั่นเอง ก็ทยอยกันประกอบกับจิตในแต่ละขณะได้
เจตสิก บางเจตสิกไม่อาจเกิดพร้อมกันได้

ยกตัวอย่างที่เห็นชัดเจน คือ มรรคสมังคี หรือมรรคมีองค์แปด
เจตสิกที่เกิดร่วมเกิดพร้อมกัน ขณะจิตที่เป็นมัคคจิต เจตสิกทั้ง 8 ขององค์มรรคจะต้องเกิดพร้อมกันอย่างสมบูรณ์

ขณะแห่ง โคตรภู วิปัสสนา และอื่นๆ ....เจตสิกประกอบองค์มรรค ทะยอยเกิดดับไม่อาจประกอบเป็นมัคคจิต

เจตสิกที่เป็น ราคะ โทสะ โมหะ ไม่อาจเกิดพร้อมในมัคคจิตได้

เป็นต้น

การที่จิตเกิดดับเร็วมาก...จึงไม่ได้ดูเฉพาะเจตสิกเกิดดับ แต่ดูจิตทั้งดวง...คุณสมบัติต่างๆที่ประกอบกับจิตอันเป็นจิตสังขาร เกิดดับพร้อมกันไปด้วย

เจริญธรรม

เจ้าของ:  world2/2554 [ 13 ก.พ. 2012, 14:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สัญญากับปัญญา ๓

ให้ทาง เขียน:
เรียนท่านผูรู้ทุกท่านกรุณาช่วยแยกแยะให้เห็นความชัดเจนด้วยครับ เช่น
สัญญาเป็นอนัตตา พอเกิดปัญญา ปัญญากลับมาเป็นสัญญาอีก ผมรู้สึกสับสน
ขอโมทนาล่วงหน้าครับ สาธุ :b8:

ปัญญาที่รู้ธรรมที่เกิดดับ ด้วยสติ คือปัญญา ส่วนที่ว่า กลับมาเป็นสัญญาก้เป็นการรู้ธรรมสัญญานั้น

เจ้าของ:  eragon_joe [ 13 ก.พ. 2012, 22:42 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สัญญากับปัญญา ๓

เช่นนั้น เขียน:
เจตสิก บางกลุ่ม เกิดร่วมเกิดพร้อมกันได้
เจตสิก กลุ่มเดียวกันนั้นนั่นเอง ก็ทยอยกันประกอบกับจิตในแต่ละขณะได้
เจตสิก บางเจตสิกไม่อาจเกิดพร้อมกันได้
...
การที่จิตเกิดดับเร็วมาก...จึงไม่ได้ดูเฉพาะเจตสิกเกิดดับ แต่ดูจิตทั้งดวง...คุณสมบัติต่างๆที่ประกอบกับจิตอันเป็นจิตสังขาร เกิดดับพร้อมกันไปด้วย

เจริญธรรม


:b1: อาศัยปัจจัยใด จึงเกิด

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 14 ก.พ. 2012, 03:27 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สัญญากับปัญญา ๓

เช่นนั้น เขียน:
สวัสดี "โฮฮับ"
เจตสิก บางกลุ่ม เกิดร่วมเกิดพร้อมกันได้
เจตสิก กลุ่มเดียวกันนั้นนั่นเอง ก็ทยอยกันประกอบกับจิตในแต่ละขณะได้
เจตสิก บางเจตสิกไม่อาจเกิดพร้อมกันได้

สวัสดี"ท่านเช่นนั้น"

ความหมายของเจตสิก บางกลุ่มเกิดพร้อมกันได้ ในความเป็นจริง
มันไม่ได้เกิดพร้อมกันที่เดียว เนื่องด้วยจิตเกิดดับเป็น "สันตติ"
และจิตหรือเจตสิกล้วนเกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัย
การที่จิตเกิดดับแบบสันตติ อาการของจิตหรือเจตสิกก็มีลักษณะเกิดดับ
แบบสันตติไปด้วย เหตุนี้ทำให้บางครั้งเราคิดว่ามันเหตุขึ้นพร้อมกัน
การที่จะรู้ว่าอาการของจิตเกิดไม่พร้อมกัน ต้องอาศัยจิตที่ทำหน้าที่ตัวรู้
ได้อย่างดี

ความหมายเจตสิกกลุ่มเดียวกัน นั้นก็คืออาการของจิต
ที่มาจากเหตุปัจจัยในกลุ่มเดียวกัน คำว่ากลุ่มเดียวกันอาจทำให้เข้าใจผิดว่า
มันสามารถเกิดขึ้นพร้อมกัน พอยกตัวอย่างง่าย เจตสิกที่เป็นกลุ่มเดียวกัน
และเป็นเหตุปัจจัยให้แกกันก็คือ ผัสสะ เวทนา ฯลฯ
จากตัวอย่างนี้ เราอาจเข้าใจว่า ผัสสะและเวทนาเกิดพร้อมกัน แต่ไม่ใช่
เวทนามีเหตุปัจจัยมาจากผัสสะ ฉะนั้นตามความเป็นจริงแล้ว มันไม่สามารถ
เกิดพร้อมกันได้ เพราะจิตหรือเจตสิกต้องอาศัยเหตุปัจจัยให้เกิด



จะพูดว่า"เจตสิกบางเจตสิกไม่อาจเกิดพร้อมกันได้" พูดแบบนี้ผมแย้งครับ
เพราะ จิตหรือเจตสิกไม่อาจเกิดพร้อมกันได้อยู่แล้วครับ เราต้องพูดว่า
เจตสิกบางเจตสิกไม่สามารถเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดเจตสิกบางเจตสิกครับ
พูดง่ายๆก็คือ เจตสิกที่เป็นกุศลไม่สามารถทำให้เกิด เจตสิกที่เป็นอกุศลครับ
อยากจะเน้นครับว่า จิตเกิดดับรวดเร็วเป็นลักษณะ "สันตติ"
เจตสิกต้องอาศัยจิตเกิดและดับไปพร้อมกับจิต
จิตและเจตสิกเกิดดับตามเหตุปัจจัย

เช่นนั้น เขียน:
ยกตัวอย่างที่เห็นชัดเจน คือ มรรคสมังคี หรือมรรคมีองค์แปด
เจตสิกที่เกิดร่วมเกิดพร้อมกัน ขณะจิตที่เป็นมัคคจิต เจตสิกทั้ง 8 ขององค์มรรคจะต้องเกิดพร้อมกันอย่างสมบูรณ์

อันนี้ก็เช่นกันครับ ความหมายของมรรคสมังคี ไม่ได้หมายถึง การเกิดมรรคขึ้น
พร้อมกันทั้งแปดมรรค มรรคในแต่ละตัวเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยเหตุปัจจัยที่เรียกว่า
ธรรมที่เป็นองค์ประกอบมรรค เมื่อได้มรรคครบหนึ่งองค์ ทั้งธรรมประกอบมรรค
และตัวมรรคเองได้ดับไปตามลำดับ การดับไปที่ว่าไม่ได้หายไปไหนแต่ กลายเป็น
สัญญาไปแล้วครับ มรรคที่สอง สาม สี่ฯ ก็เป็นลักษณะนี้
การเกิดมรรคสมังคีครบแปด คือการดึงเอาสัญญามรรคทั้งเจ็ดไล่เรียงกัน
มาจนเป็นสมาธิเป็นมรรคที่แปด

กล่าวสรุปได้ว่า การเกิดมรรคทั้งแปดก็คือการเกิดดับแบบเป็นเหตุปัจจัย
ไล่เรียงกัน โดยอาศัยธรรมแห่งมรรคนั้นๆไม่มีธรรมอื่นมาสอดแทรก
โดยมีสัมมาทิฐิเป็นเหตุปัจจัยหลัก การเกิดในลักษณะมรรคสมังคี ที่มีความหมายว่า
เกิดพร้อมกัน ต้องกล่าวในลักษณะของ สัมมาญาณะ

เจ้าของ:  วิริยะ [ 14 ก.พ. 2012, 09:47 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สัญญากับปัญญา ๓

ให้ทาง เขียน:
เรียนท่านผูรู้ทุกท่านกรุณาช่วยแยกแยะให้เห็นความชัดเจนด้วยครับ เช่น
สัญญาเป็นอนัตตา พอเกิดปัญญา ปัญญากลับมาเป็นสัญญาอีก ผมรู้สึกสับสน
ขอโมทนาล่วงหน้าครับ สาธุ :b8:

ลักษณะของ ความจำมี ๒ แบบ

ความจำ ที่เกิดจากสัญญา มีลืม เป็นอนัตตา
ความจำ ที่เกิดจากปัญญา ไม่มีลืมจนวันตาย

ถามว่า ปัญญากลายเป็นสัญญาอีก ได้ไหม
เหมือนต้นไม้ ถูกตัดมาทำ โต๊ะ เก้าอี้ สร้างบ้านเรือน ฯลฯ
เราทำให้ โต๊ะเก้าอี้ บ้านเรือน กลับมาเป็นต้นได้อีกไหม
ฉันใด ปัญญาจะกลายมาเป็นสัญญาอีกไม่ได้ ฉันนั้น

:b12:

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 14 ก.พ. 2012, 11:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สัญญากับปัญญา ๓

โฮฮับ เขียน:
ความหมายของเจตสิก บางกลุ่มเกิดพร้อมกันได้ ในความเป็นจริง
มันไม่ได้เกิดพร้อมกันที่เดียว เนื่องด้วยจิตเกิดดับเป็น "สันตติ"
และจิตหรือเจตสิกล้วนเกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัย
การที่จิตเกิดดับแบบสันตติ อาการของจิตหรือเจตสิกก็มีลักษณะเกิดดับ
แบบสันตติไปด้วย เหตุนี้ทำให้บางครั้งเราคิดว่ามันเหตุขึ้นพร้อมกัน
การที่จะรู้ว่าอาการของจิตเกิดไม่พร้อมกัน ต้องอาศัยจิตที่ทำหน้าที่ตัวรู้
ได้อย่างดี

ความหมายเจตสิกกลุ่มเดียวกัน นั้นก็คืออาการของจิต
ที่มาจากเหตุปัจจัยในกลุ่มเดียวกัน คำว่ากลุ่มเดียวกันอาจทำให้เข้าใจผิดว่า
มันสามารถเกิดขึ้นพร้อมกัน พอยกตัวอย่างง่าย เจตสิกที่เป็นกลุ่มเดียวกัน
และเป็นเหตุปัจจัยให้แกกันก็คือ ผัสสะ เวทนา ฯลฯ
จากตัวอย่างนี้ เราอาจเข้าใจว่า ผัสสะและเวทนาเกิดพร้อมกัน แต่ไม่ใช่
เวทนามีเหตุปัจจัยมาจากผัสสะ ฉะนั้นตามความเป็นจริงแล้ว มันไม่สามารถ
เกิดพร้อมกันได้ เพราะจิตหรือเจตสิกต้องอาศัยเหตุปัจจัยให้เกิด



เจตสิกบางกลุ่มเกิดพร้อมกันได้ โดยสหชาติปัจจัย ซึ่งหมายความว่าเกิดขึ้นพร้อมกันในขณะจิตเดียวกัน
เช่น เมื่อ รูปโกรธ (หมายความว่า มีอาการหน้าแดง ขบฟัน ตาขวาง ฯลฯ) ให้ปรากฏทางกาย เราเรียกว่ารูปโกรธ) เกิดขึ้น เจตสิกธรรม ที่ประกอบกับจิตโดยสหชาติปัจจัย ก็มีเจตสิกพวกที่มีโทสะมูล ราคะมูล มีทุกขเวทนา มีสัญญา เจตนา เป็นต้น เป็นเจตสิกธรรม เกิดพร้อมจิตขณะนั้น โดยสหชาติปัจจัย
ส่วนคำว่าสันตตินั้น ในเรื่องเหตุปัจจัย กล่าวว่า จิตเกิดหรือดับโดยไม่มีระหว่างคั่นนั้น โดยอัตถิปัจจัย โดยนัตถิปัจจัย
ในขณะที่ผัสสะ จิตขณะที่ผัสสะหากยังประกอบด้วยอวิชชา ก็ยังมีเจตสิกธรรมหลายประการประกอบกับจิตที่ขณะผัสสะได้เช่นกัน เพราะปัจจัยที่เป็นที่ดับแห่งอวิชชายังไม่มี
...ผัสสะ เป็นปัจจัยแก่เวทนา โดยสหชาติปัจจัยก็ได้ หรือ โดยปุเรชาติปัจจัยก็ได้

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 14 ก.พ. 2012, 11:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สัญญากับปัญญา ๓

โฮฮับ เขียน:
จะพูดว่า"เจตสิกบางเจตสิกไม่อาจเกิดพร้อมกันได้" พูดแบบนี้ผมแย้งครับ
เพราะ จิตหรือเจตสิกไม่อาจเกิดพร้อมกันได้อยู่แล้วครับ เราต้องพูดว่า
เจตสิกบางเจตสิกไม่สามารถเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดเจตสิกบางเจตสิกครับ
พูดง่ายๆก็คือ เจตสิกที่เป็นกุศลไม่สามารถทำให้เกิด เจตสิกที่เป็นอกุศลครับ
อยากจะเน้นครับว่า จิตเกิดดับรวดเร็วเป็นลักษณะ "สันตติ"
เจตสิกต้องอาศัยจิตเกิดและดับไปพร้อมกับจิต
จิตและเจตสิกเกิดดับตามเหตุปัจจัย


..จิตเจตสิก เกิดร่วมเกิดพร้อมกันอยู่แล้ว

...เจตสิกที่เป็นกุศลสามารถทำให้เกิดเจตสิกที่เป็นอกุศลก็มี โดยอุปนิสยปัจจัยประเภทปกตูปนิสสยะปัจจัยก็มี ....
Quote Tipitaka:
[๕๔๕] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็นอารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม
กระทำกุศลนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำกุศลนั้น
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มีราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น
บุคคลกระทำกุศลทั้งหลายที่สั่งสมไว้ดีแล้วแต่ก่อนๆ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มีราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น
บุคคลออกจากฌาน แล้วกระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วยินดีเพลิดเพลิน
เพราะกระทำฌานนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มีราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น
ที่เป็นปกตูปนิสสยา ได้แก่บุคคลอาศัยศรัทธา ถือมานะ ทิฏฐิ
บุคคลอาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา แล้วถือมานะ ทิฏฐิ
ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 14 ก.พ. 2012, 11:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สัญญากับปัญญา ๓

โฮฮับ เขียน:
อันนี้ก็เช่นกันครับ ความหมายของมรรคสมังคี ไม่ได้หมายถึง การเกิดมรรคขึ้น
พร้อมกันทั้งแปดมรรค มรรคในแต่ละตัวเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยเหตุปัจจัยที่เรียกว่า
ธรรมที่เป็นองค์ประกอบมรรค เมื่อได้มรรคครบหนึ่งองค์ ทั้งธรรมประกอบมรรค
และตัวมรรคเองได้ดับไปตามลำดับ การดับไปที่ว่าไม่ได้หายไปไหนแต่ กลายเป็น
สัญญาไปแล้วครับ มรรคที่สอง สาม สี่ฯ ก็เป็นลักษณะนี้
การเกิดมรรคสมังคีครบแปด คือการดึงเอาสัญญามรรคทั้งเจ็ดไล่เรียงกัน
มาจนเป็นสมาธิเป็นมรรคที่แปด

มรรคสมังคี คือการเกิดร่วมเกิดพร้อมของเจตสิกธรรมแห่งองค์มรรค โดยมรรคปัจจัย ที่องค์แห่งมรรคมาสัมปยุตต์กัน โดยสัมปยุตปัจจัย

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 14 ก.พ. 2012, 11:53 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สัญญากับปัญญา ๓

eragon_joe เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เจตสิก บางกลุ่ม เกิดร่วมเกิดพร้อมกันได้
เจตสิก กลุ่มเดียวกันนั้นนั่นเอง ก็ทยอยกันประกอบกับจิตในแต่ละขณะได้
เจตสิก บางเจตสิกไม่อาจเกิดพร้อมกันได้
...
การที่จิตเกิดดับเร็วมาก...จึงไม่ได้ดูเฉพาะเจตสิกเกิดดับ แต่ดูจิตทั้งดวง...คุณสมบัติต่างๆที่ประกอบกับจิตอันเป็นจิตสังขาร เกิดดับพร้อมกันไปด้วย

เจริญธรรม


:b1: อาศัยปัจจัยใด จึงเกิด

มังกรน้อย มหาปัฏฐานปกรณ์ อธิบายละเอียดกว่า แต่ยากเรียนรู้ได้จบหมดสิ้น
มังกรน้อยถามสั้นๆ แต่คำตอบต้องใช้มหาปัฏฐานปกรณ์ทั้งหมดตอบ อิอิ จึงตอบไม่ได้จ้ะ

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/