วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 05:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2012, 05:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วที่ท่านโฮตอบมานั่น ^ เป็นประสบการณ์ของตนเองใช่ไหม :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2012, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ฮ่า...ฮ่า...ฮ่า.... เอาเข้าไป เขาว่าอะไรกันนะ

สันตติ หมายถึง การสืบต่อ คือ การเกิดดับต่อเนื่องกันไปโดยอาการที่เป็นปัจจัยส่งผลแก่กัน ในทางรูปธรรม ที่พอมองเห็นอย่างหยาบ เช่น ขนเก่าหลุดร่วง ไปขนใหม่เกิดขึ้นแทน ความสืบต่อแห่งรูปธรรม จัดเป็น อุปาทายรูป อย่างหนึ่ง; ในทางนางธรรม จิตก็มีสันตติ คือเกิดดับเป็นปัจจัยสืบเนื่องต่อกันไป
(จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ประยุตฺโต)

อิริยาบถ การเคลื่อนไหวของร่างกาย, อริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ประยุตฺโต)

ฆนสัญญา หมายถึง ความสำคัญว่าเป็นก้อน, ความสำคัญเห็นเป็นชิ้นเป็นอัน ซึ่งบังปัญญาไม่ให้เห็นภาวะที่เป็นอนัตตา
(จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ประยุตโต)
นั่นก็หมายความว่า

การที่บุคคลทั้งหลายมองไม่เห็น หรือถูกบดบัง ซึ่ง อนิจจังลักษณะ เกิดขึ้นเพราะ การได้รับความรู้ หรือความเคยชินที่เกิดความเกิดดับต่อเนื่องกันโดยปัจจัยส่งผลแต่กันและกัน จึงทำให้เกิดความเคยชิน จนไม่รู้ว่า เป็นลักษณะของ อนิจจตา คือ ความไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป เพราะ การสืบต่อกันหรือ สันตติ นั้น ทำให้ดูเหมือนว่า เป็นของเที่ยง เพราะมีเกิดมีดับ

อิริยาบถ คือ การยืน เดิน นั่ง นอน ก็อธิบายได้เฉกเช่นเดียวกับ สันตติ เพราะความเคยชิน ความที่ยังสามารถเคลื่อนย้ายหรือมี อิริยาบถ ได้อย่างดีอยู่ จึงไม่รู้ว่า เป็น ทุกขตา

ฆนะสัญญา คือ ความเคยชิน ความรู้ ความที่เคยได้พบเห็น สรรพสิ่งทั้งหลาย ยังตั้งอยู่เป็นชิ้น เป็นอัน จึงเข้าใจว่าสรรพสิ่งเหล่านั้น ไม่สูญสลาย เป็นของเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ อย่างนี้เป็นต้น
ใครอย่าถามนะ เพราะเพ่งคิดเดี๋ยวนี้แหละ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2012, 01:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
แล้วที่ท่านโฮตอบมานั่น ^ เป็นประสบการณ์ของตนเองใช่ไหม :b1:

เอาเป็นว่าผมรู้ละกัน :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2012, 02:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
ฮ่า...ฮ่า...ฮ่า.... เอาเข้าไป เขาว่าอะไรกันนะ
การที่บุคคลทั้งหลายมองไม่เห็น หรือถูกบดบัง ซึ่ง อนิจจังลักษณะ เกิดขึ้นเพราะ การได้รับความรู้ หรือความเคยชินที่เกิดความเกิดดับต่อเนื่องกันโดยปัจจัยส่งผลแต่กันและกัน จึงทำให้เกิดความเคยชิน จนไม่รู้ว่า เป็นลักษณะของ อนิจจตา คือ ความไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป เพราะ การสืบต่อกันหรือ สันตติ นั้น ทำให้ดูเหมือนว่า เป็นของเที่ยง เพราะมีเกิดมีดับ.

กำลังสับสนอยู่นะครับ ที่จริงแล้วตัวเราคิดว่า จิตมีดวงเดียวไม่เกิดดับ
จนมีผู้รู้มาบอกว่า จิตมีลักษณะเกิดดับที่ละดวง

แต่ที่เรารู้สึกว่า จิตมีดวงเดียวไม่เกิดดับเป็นเพราะ จิตมีลักษณะ สันตติ
คือเกิดดับที่ต่อเนื่องรวดเร็ว

อนิจลักษณะไม่เกี่ยวกับความเคยชิน อนิจลักษณะเป็นการอธิบายความ
ของอาการที่จิตไปเห็น นั้นก็คือการเกิด ตั้งอยู่และดับไป
เป็นเพราะเรายังไม่เห็น การเกิด ตั้งอยู่และดับไป
จึงไม่รู้ อนิจลักษณะ

sriariya เขียน:
อิริยาบถ คือ การยืน เดิน นั่ง นอน ก็อธิบายได้เฉกเช่นเดียวกับ สันตติ เพราะความเคยชิน ความที่ยังสามารถเคลื่อนย้ายหรือมี อิริยาบถ ได้อย่างดีอยู่ จึงไม่รู้ว่า เป็น ทุกขตา

อ้าว! แบบนี้คนที่เป็นอัมพาตเปลี่ยนอิริยาบทไม่ได้ แสดงว่าเขาเห็น ทุขตาหรือครับ
มันไม่เกี่ยวกับความเคยชิน มันเป็นเรื่องของกิเลส การไม่รู้ทุกข์

ที่คนต้องเปลี่ยนอิริยาบท มันเป็นเรื่องกิเลสไปปรุงแต่งกายสังขารให้เปลี่ยนอิริยาบท
ส่วนคนที่ไม่สามารถเปลี่ยนอิริยาบท เขาก็ไม่ได้เห็นทุกข์ ในขณะนั้นเขากำลังมีโลภะ
เข้าครอบงำเพราะ ต้องการเปลี่ยนอิริยาบท แต่เปลี่ยนไม่ได้จึงเกิดโทสะสลับกันไป

sriariya เขียน:
ฆนะสัญญา คือ ความเคยชิน ความรู้ ความที่เคยได้พบเห็น สรรพสิ่งทั้งหลาย ยังตั้งอยู่เป็นชิ้น เป็นอัน จึงเข้าใจว่าสรรพสิ่งเหล่านั้น ไม่สูญสลาย เป็นของเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ อย่างนี้เป็นต้น
ใครอย่าถามนะ เพราะเพ่งคิดเดี๋ยวนี้แหละ...

มันใช่หรือครับ มันเป็นเพราะเราไม่เคยเห็นไตรลักษณ์ ไม่เคยเห็นความเป็นจริง
และเรื่องฆนะอะไรนี่ หรือแม้แต่อนัตตลักษณ์ ไม่เห็นเกี่ยวกับความเคยชิน
เรื่องอนัตตาหรืออนันตลักษณ์ ต่อให้เราเห็นไตรลักษณ์แล้ว อนันตลักษณ์
ก็ยังคงอยู่ ที่หายไปก็คือ ฆนะสัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2012, 04:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
แล้วที่ท่านโฮตอบมานั่น ^ เป็นประสบการณ์ของตนเองใช่ไหม :b1:

เอาเป็นว่าผมรู้ละกัน



รู้ นั่นดิที่ว่ารู้น่ะ รู้อะไร รู้ยังไง :b1: :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2012, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
แล้วที่ท่านโฮตอบมานั่น ^ เป็นประสบการณ์ของตนเองใช่ไหม :b1:

เอาเป็นว่าผมรู้ละกัน



รู้ นั่นดิที่ว่ารู้น่ะ รู้อะไร รู้ยังไง :b1: :b10:

ก็รู้ไอ้ที่ผมรู้นั้นยังไง แล้วรู้ด้วยวิธีรู้นั้นแหล่ะ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2012, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่เขาเป็นอะไร =>


อ้างคำพูด:
ตอนผมนั่งสมาธิ รู้สึกว่าตัวผมใหญ่ขึ้น ใหญ่มากๆ อ่ะครับ (บอกไม่ถูก) พอเป็นแบบนี้ เลยรู้สึกกลัว เลยท่องพุทโธเพื่อไม่ให้จิตใจวอกแวก แต่ก็รู้สึกกลัวแบบบอกไม่ถูก (ก็ไม่รู้ว่าจะกลัวทำไม) เลยต้องถอนออกจากสมาธิทุกทีครับ เป็นไม่บ่อยนะครับ นานๆที

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2012, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
sriariya เขียน:
ฮ่า...ฮ่า...ฮ่า.... เอาเข้าไป เขาว่าอะไรกันนะ
การที่บุคคลทั้งหลายมองไม่เห็น หรือถูกบดบัง ซึ่ง อนิจจังลักษณะ เกิดขึ้นเพราะ การได้รับความรู้ หรือความเคยชินที่เกิดความเกิดดับต่อเนื่องกันโดยปัจจัยส่งผลแต่กันและกัน จึงทำให้เกิดความเคยชิน จนไม่รู้ว่า เป็นลักษณะของ อนิจจตา คือ ความไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป เพราะ การสืบต่อกันหรือ สันตติ นั้น ทำให้ดูเหมือนว่า เป็นของเที่ยง เพราะมีเกิดมีดับ.

กำลังสับสนอยู่นะครับ ที่จริงแล้วตัวเราคิดว่า จิตมีดวงเดียวไม่เกิดดับ
จนมีผู้รู้มาบอกว่า จิตมีลักษณะเกิดดับที่ละดวง

แต่ที่เรารู้สึกว่า จิตมีดวงเดียวไม่เกิดดับเป็นเพราะ จิตมีลักษณะ สันตติ
คือเกิดดับที่ต่อเนื่องรวดเร็ว

อนิจลักษณะไม่เกี่ยวกับความเคยชิน อนิจลักษณะเป็นการอธิบายความ
ของอาการที่จิตไปเห็น นั้นก็คือการเกิด ตั้งอยู่และดับไป
เป็นเพราะเรายังไม่เห็น การเกิด ตั้งอยู่และดับไป
จึงไม่รู้ อนิจลักษณะ

sriariya เขียน:
อิริยาบถ คือ การยืน เดิน นั่ง นอน ก็อธิบายได้เฉกเช่นเดียวกับ สันตติ เพราะความเคยชิน ความที่ยังสามารถเคลื่อนย้ายหรือมี อิริยาบถ ได้อย่างดีอยู่ จึงไม่รู้ว่า เป็น ทุกขตา

อ้าว! แบบนี้คนที่เป็นอัมพาตเปลี่ยนอิริยาบทไม่ได้ แสดงว่าเขาเห็น ทุขตาหรือครับ
มันไม่เกี่ยวกับความเคยชิน มันเป็นเรื่องของกิเลส การไม่รู้ทุกข์

ที่คนต้องเปลี่ยนอิริยาบท มันเป็นเรื่องกิเลสไปปรุงแต่งกายสังขารให้เปลี่ยนอิริยาบท
ส่วนคนที่ไม่สามารถเปลี่ยนอิริยาบท เขาก็ไม่ได้เห็นทุกข์ ในขณะนั้นเขากำลังมีโลภะ
เข้าครอบงำเพราะ ต้องการเปลี่ยนอิริยาบท แต่เปลี่ยนไม่ได้จึงเกิดโทสะสลับกันไป

sriariya เขียน:
ฆนะสัญญา คือ ความเคยชิน ความรู้ ความที่เคยได้พบเห็น สรรพสิ่งทั้งหลาย ยังตั้งอยู่เป็นชิ้น เป็นอัน จึงเข้าใจว่าสรรพสิ่งเหล่านั้น ไม่สูญสลาย เป็นของเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ อย่างนี้เป็นต้น
ใครอย่าถามนะ เพราะเพ่งคิดเดี๋ยวนี้แหละ...

มันใช่หรือครับ มันเป็นเพราะเราไม่เคยเห็นไตรลักษณ์ ไม่เคยเห็นความเป็นจริง
และเรื่องฆนะอะไรนี่ หรือแม้แต่อนัตตลักษณ์ ไม่เห็นเกี่ยวกับความเคยชิน
เรื่องอนัตตาหรืออนันตลักษณ์ ต่อให้เราเห็นไตรลักษณ์แล้ว อนันตลักษณ์
ก็ยังคงอยู่ ที่หายไปก็คือ ฆนะสัญญา


โอ่..โอ๋..ปวดหัวแล้ว คุณกล่าวมาสับสนวุ่นวาย คนละความหมายกับที่ข้าพเจ้าอธิบายไปตามที่ได้เพ่งคิดเมื่อวานนี้ ข้าพเจ้ากำลังอธิบายว่า
สิ่งที่มาบดบังไม่ให้มนุษย์มองเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นก็คือ สันตติ การสืบต่อ หรือการเกิดดับต่อเนื่องกันไป จะกล่าวอีกรูปแบบหนึ่ง ก็คือ เป็นความเคยชิน เป็นความหลง ทำให้บดบังอนิจลักษณะ

อริยาบท ก็คือ อาการต่างๆของมนุษย์ มีเดิน ยืน นั่ง นอน ก็เป็น สันตติ อย่างหนึ่ง ใช้สมองสติปัญญาคิดพิจารณาดูซิว่าใช่ไหม คนที่เป็นอัมพาต ไม่เห็นทุกขตา หรือขอรับ คุณไปถามเขาดูซิว่า การที่เขาเดินไม่ได้ เป็นทุกข หรือไม่ไปถามดูซิ จะกล่าวอะไร ก็หัดให้เป็นไปตามหลักความจริงซะบ้าง อย่าทำเป็นโอ้อวด อวดรู้ เลยขอรับ

ฆนสัญญา หมายถึง ความสำคัญว่าเป็นก้อน, ความสำคัญเห็นเป็นชิ้นเป็นอัน ซึ่งบังปัญญาไม่ให้เห็นภาวะที่เป็นอนัตตา ข้าพเจ้าคัดลอกมาจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก ป.อ.ประยุตฺโต
แล้วข้าพเจ้าก็ขยายความให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ข้าพเจ้าจะเขียนว่า เป็นความหลง ความโลภ ก็เขียนได้ แต่มันคลุมเครือ ไม่ชัดเจน จึงขยายความว่า
ฆนะสัญญา คือ ความเคยชิน ความรู้ ความที่เคยได้พบเห็น สรรพสิ่งทั้งหลาย ยังตั้งอยู่เป็นชิ้น เป็นอัน จึงเข้าใจว่าสรรพสิ่งเหล่านั้น ไม่สูญสลาย เป็นของเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ อย่างนี้เป็นต้น

สิ่งที่ได้กล่าวไปทั้ง 3 อย่าง 3 ข้อ เป็นสิ่งที่บดบังมิให้บุคคลมองเห็น หรือบุคคลรู้ซึ้ง หรือเข้าใจใน อนิจจลักษณะ,ทุกขลักษณะ,อนัตตาลักษณะ

แล้วคุณมีสมองสติปัญญาเท่าไหร่ ตอบเรื่องอะไรของคุณ คุณเข้าใจภาษาไทยหรือไม่ ลองไปอ่านที่ ผู้ใช้ชื่อ "ปลีกวิเวก"เขียนถามซิว่า เขามีความหมายว่าอย่างไร ขนาดภาษาไทย คุณยังไม่ค่อยรู้เรื่อง แล้วคุณจะไปรู้เรื่อง ในภาษาบาลี ฤาท่าน ข้าพเจ้าเองยังงงๆเลยขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2012, 04:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
นี่เขาเป็นอะไร =>


อ้างคำพูด:
ตอนผมนั่งสมาธิ รู้สึกว่าตัวผมใหญ่ขึ้น ใหญ่มากๆ อ่ะครับ (บอกไม่ถูก) พอเป็นแบบนี้ เลยรู้สึกกลัว เลยท่องพุทโธเพื่อไม่ให้จิตใจวอกแวก แต่ก็รู้สึกกลัวแบบบอกไม่ถูก (ก็ไม่รู้ว่าจะกลัวทำไม) เลยต้องถอนออกจากสมาธิทุกทีครับ เป็นไม่บ่อยนะครับ นานๆที

เขาบอกว่านั่งสมาธิ ดูแล้วกำลังนั่งฟุ้งซ่านมากกว่า
การเรียงลำดับคำถามก็ใช้ไม่ได้ สับสนในคำถามของตัวเอง

เจ้าของคำถามนั่งแบบไม่มีสติคอยกำกับ สิ่งที่พบมันไม่ได้เกิดจากสมาธิ
มันเกิดจากจิตที่ขาดการควบคุม เกิดธัมมารมณ์ขึ้นแล้วเจ้าตัวยังไม่รู้เรื่อง
หรือเข้าใจ สภาวะที่เกิดจึงเป็นสังขารปรุงแต่ง จนลามเป็นกายสังขารต้องเลิก
ปฏิบัติ

แนะนำสิ่งแรกที่ควรรู้ก็คือ สติคืออะไรและสมาธิเป็นอย่างไรเสียก่อน
การปฏิบัติจะได้ไม่ไร้ทิศทางแบบนี้

และที่สำคัญที่สุดผู้ที่ปฏิบัติใหม่ไม่ควรให้นั่งสมาธิในแบบของสมถกรรมฐาน
ควรปฏิบัติแบบมีสติตามรู้ ผัสสะหรือสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2012, 04:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่เขาเป็นอะไร =>




.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2012, 04:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

และที่สำคัญที่สุดผู้ที่ปฏิบัติใหม่ ไม่ควรให้นั่งสมาธิในแบบของสมถกรรมฐาน
ควรปฏิบัติแบบมีสติตามรู้ ผัสสะหรือสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้น



และที่สำคัญที่สุด ผู้ที่ปฏิบัติใหม่ ไม่ควรให้นั่งสมาธิในแบบของสมถกรรมฐาน

พูดเหมือนว่า การนั่งมีสองแบบ คือ นั่งแบบสมถกรรมฐาน กับ นั่งแบบวิปัสสนากรรมฐาน

ถ้านั่งยังงั้นเป็นแบบสมถะ แล้วนั่งแบบวิปัสสนาล่ะ นั่งยังไงครับ

เพื่อใครที่ชอบทำวิปัสสนาจะได้นั่ง่วิปัสสนากัน :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2012, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
โอ่..โอ๋..ปวดหัวแล้ว คุณกล่าวมาสับสนวุ่นวาย คนละความหมายกับที่ข้าพเจ้าอธิบายไปตามที่ได้เพ่งคิดเมื่อวานนี้ ข้าพเจ้ากำลังอธิบายว่า
สิ่งที่มาบดบังไม่ให้มนุษย์มองเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นก็คือ สันตติ การสืบต่อ หรือการเกิดดับต่อเนื่องกันไป จะกล่าวอีกรูปแบบหนึ่ง ก็คือ เป็นความเคยชิน เป็นความหลง ทำให้บดบังอนิจลักษณะ

จ่าที่ว่าปวดหัวน่ะ เพราะเพ่งคิดมากไปหรือเปล่า ไม่ต้องไปคิดมาก คิดมากก็จินตนาการมาก
รู้ไปตามความเป็นจริง จ่าลองมาคำพูดของจ่าดูนะที่ว่า

สันตติ การเกิดดับต่อเนื่อง มาบดบังอนิจลักษณะ แบบนี้แสดงว่าจ่า
เห็นแต่สันตติไม่เห็น อนิจลักษณ์นะซิ โอโฮ้! จ่านี้สุดยอดแห่ง อรหันต์
สามารถเห็นการเกิดดับของจิตได้

ฟังใหม่และฟังให้ดีน่ะ สิ่งที่มาบดบังอนิจลักษณ์เขาเรียกว่า โมหะความหลง
มันเป็นกระบวนการขันธ์ห้า มันเกิดตามเหตุปัจจัย

ส่วนไอ้ความเคยชินของจ่านั้นน่ะ มันเป็น กายสังขารหรือวจีสังขาร
อันนี้เราจะบังคับไม่ให้มันเกิดก็ได้โดยใช้สติ

อีกอย่างครับ อริยบุคคลชั้นต้นๆที่เห็นอนิจลักษณ์แล้ว ก็ยังมีความเคยชินนะครับ
เช่นติดใจในกามฉันทะฯลฯ
sriariya เขียน:
อริยาบท ก็คือ อาการต่างๆของมนุษย์ มีเดิน ยืน นั่ง นอน ก็เป็น สันตติ อย่างหนึ่ง ใช้สมองสติปัญญาคิดพิจารณาดูซิว่าใช่ไหม คนที่เป็นอัมพาต ไม่เห็นทุกขตา หรือขอรับ คุณไปถามเขาดูซิว่า การที่เขาเดินไม่ได้ เป็นทุกข หรือไม่ไปถามดูซิ จะกล่าวอะไร ก็หัดให้เป็นไปตามหลักความจริงซะบ้าง อย่าทำเป็นโอ้อวด อวดรู้ เลยขอรับ

มันคนละเรื่องเรื่องแล้วละจ่า อาการต่างๆของมนุษย์มันเป็นกายสังขาร
สันตติเป็นเรื่องของจิต
กรุณาจำใส่ใจไว้ว่า กิเลสตัวแรกที่ต้องละก็คือ สักกายทิฐิ
นั้นก็คือกายอยู่ส่วนกาย ไม่เกี่ยวกับจิต กายเป็นเพียงธาตุสี่ที่จิตไม่ควรยึด


จ่าอย่าลืมนะว่า บอกไว้ว่าจะไม่ด่า นี่ไม่ทันไรเอาอีกแล้ว
สงสัยจะลืมหมั่นท่องไว้ "ไม่ด่าๆๆๆๆๆ"


เรื่องคนเป็นอัมพาทกับทุกข์เนี่ย ถามจ่าสั้นๆเลยว่า...

เห็นทุกข์กับเป็นทุกข์ จ่าว่ามันเหมือนกันมั้ย

sriariya เขียน:
ฆนสัญญา หมายถึง ความสำคัญว่าเป็นก้อน, ความสำคัญเห็นเป็นชิ้นเป็นอัน ซึ่งบังปัญญาไม่ให้เห็นภาวะที่เป็นอนัตตา ข้าพเจ้าคัดลอกมาจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก ป.อ.ประยุตฺโต
แล้วข้าพเจ้าก็ขยายความให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ข้าพเจ้าจะเขียนว่า เป็นความหลง ความโลภ ก็เขียนได้ แต่มันคลุมเครือ ไม่ชัดเจน จึงขยายความว่า
ฆนะสัญญา คือ ความเคยชิน ความรู้ ความที่เคยได้พบเห็น สรรพสิ่งทั้งหลาย ยังตั้งอยู่เป็นชิ้น เป็นอัน จึงเข้าใจว่าสรรพสิ่งเหล่านั้น ไม่สูญสลาย เป็นของเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ อย่างนี้เป็นต้น

จ่าไปเอาคำของครูบาอาจารย์มาใช้ โดยขาดความเข้าใจ
เรื่องปิดบังเนี่ย มันไม่มีอะไรมาปิดบัง เพียงแต่เราไม่รู้ มันเป็นไปตามกระบวนการ
ขันธ์ห้าเป็นธรรมชาติ มันก็เหมือนกับคำว่าความเคยชินที่จ่าใช้ แต่จ่าเอามาใช้ผิด
กาลเทศะ นี้เป็นเรื่องของจิตไม่ใช่กาย

แล้วอีกอย่าง สรรพสิ่งภายนอกกายใจเรา ล้วนเป็น อนัตตาแต่อย่างเดียว
กายใจเราที่เรายึดเท่านั้น ที่เป็นไตรลักษณ์
sriariya เขียน:
สิ่งที่ได้กล่าวไปทั้ง 3 อย่าง 3 ข้อ เป็นสิ่งที่บดบังมิให้บุคคลมองเห็น หรือบุคคลรู้ซึ้ง หรือเข้าใจใน อนิจจลักษณะ,ทุกขลักษณะ,อนัตตาลักษณะ

จะบดบังอะไร ก็ตัวเองก็บอกเองรู้ซี้งหรือเข้าใจ ไตรลักษณ์มันก็อยู่ในใจเรา
บางครั้งเราก็เห็น แต่เป็นเพราะเราไม่รู้ไม่เข้าใจว่าสิ่งที่เห็น มันเป็นไตรลักษณ์
เลยไม่สนใจ เมื่อไม่สนใจสัญญามันก็ไม่มี ปัญญาก็ไม่เกิด

เคยได้ยินเรื่อง ไก่ได้พลอย ลิงได้แก้วมั้ยล่ะ
ทั้งไก่ทั้งลิง มันก็เห็นพลอยเห็นแก้ว เพียงแต่มันไม่รู้คุณค่า

sriariya เขียน:
แล้วคุณมีสมองสติปัญญาเท่าไหร่ ตอบเรื่องอะไรของคุณ คุณเข้าใจภาษาไทยหรือไม่ ลองไปอ่านที่ ผู้ใช้ชื่อ "ปลีกวิเวก"เขียนถามซิว่า เขามีความหมายว่าอย่างไร ขนาดภาษาไทย คุณยังไม่ค่อยรู้เรื่อง แล้วคุณจะไปรู้เรื่อง ในภาษาบาลี ฤาท่าน ข้าพเจ้าเองยังงงๆเลยขอรับ

ผมว่าเป็นจ่ามากกว่ามั้งครับ รู้แค่ก ..ข ก..กา
เอาความเคยชินมาใช้กับกระบวนการขันธ์ห้า

ตามหลักภาษาไทย ความเคยชินมันเป็นการแสดงออกทาง
กายและวาจา อันเกิดจากใจ มันก็เหมือนจ่ารับปากใครเขาไว้ว่า จะไม่ด่าใครในกระทู้นี่
แต่เป็นเพราะความที่ชอบด่าจนเป็นนิสัย(เสีย) ก็อดที่จะด่าไม่ได้ แบบนี้ครับเรียก
ความเคยชิน
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2012, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
sriariya เขียน:
โอ่..โอ๋..ปวดหัวแล้ว คุณกล่าวมาสับสนวุ่นวาย คนละความหมายกับที่ข้าพเจ้าอธิบายไปตามที่ได้เพ่งคิดเมื่อวานนี้ ข้าพเจ้ากำลังอธิบายว่า
สิ่งที่มาบดบังไม่ให้มนุษย์มองเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นก็คือ สันตติ การสืบต่อ หรือการเกิดดับต่อเนื่องกันไป จะกล่าวอีกรูปแบบหนึ่ง ก็คือ เป็นความเคยชิน เป็นความหลง ทำให้บดบังอนิจลักษณะ

จ่าที่ว่าปวดหัวน่ะ เพราะเพ่งคิดมากไปหรือเปล่า ไม่ต้องไปคิดมาก คิดมากก็จินตนาการมาก
รู้ไปตามความเป็นจริง จ่าลองมาคำพูดของจ่าดูนะที่ว่า

สันตติ การเกิดดับต่อเนื่อง มาบดบังอนิจลักษณะ แบบนี้แสดงว่าจ่า
เห็นแต่สันตติไม่เห็น อนิจลักษณ์นะซิ โอโฮ้! จ่านี้สุดยอดแห่ง อรหันต์
สามารถเห็นการเกิดดับของจิตได้

ฟังใหม่และฟังให้ดีน่ะ สิ่งที่มาบดบังอนิจลักษณ์เขาเรียกว่า โมหะความหลง
มันเป็นกระบวนการขันธ์ห้า มันเกิดตามเหตุปัจจัย

ส่วนไอ้ความเคยชินของจ่านั้นน่ะ มันเป็น กายสังขารหรือวจีสังขาร
อันนี้เราจะบังคับไม่ให้มันเกิดก็ได้โดยใช้สติ

อีกอย่างครับ อริยบุคคลชั้นต้นๆที่เห็นอนิจลักษณ์แล้ว ก็ยังมีความเคยชินนะครับ
เช่นติดใจในกามฉันทะฯลฯ
sriariya เขียน:
อริยาบท ก็คือ อาการต่างๆของมนุษย์ มีเดิน ยืน นั่ง นอน ก็เป็น สันตติ อย่างหนึ่ง ใช้สมองสติปัญญาคิดพิจารณาดูซิว่าใช่ไหม คนที่เป็นอัมพาต ไม่เห็นทุกขตา หรือขอรับ คุณไปถามเขาดูซิว่า การที่เขาเดินไม่ได้ เป็นทุกข หรือไม่ไปถามดูซิ จะกล่าวอะไร ก็หัดให้เป็นไปตามหลักความจริงซะบ้าง อย่าทำเป็นโอ้อวด อวดรู้ เลยขอรับ

มันคนละเรื่องเรื่องแล้วละจ่า อาการต่างๆของมนุษย์มันเป็นกายสังขาร
สันตติเป็นเรื่องของจิต
กรุณาจำใส่ใจไว้ว่า กิเลสตัวแรกที่ต้องละก็คือ สักกายทิฐิ
นั้นก็คือกายอยู่ส่วนกาย ไม่เกี่ยวกับจิต กายเป็นเพียงธาตุสี่ที่จิตไม่ควรยึด


จ่าอย่าลืมนะว่า บอกไว้ว่าจะไม่ด่า นี่ไม่ทันไรเอาอีกแล้ว
สงสัยจะลืมหมั่นท่องไว้ "ไม่ด่าๆๆๆๆๆ"


เรื่องคนเป็นอัมพาทกับทุกข์เนี่ย ถามจ่าสั้นๆเลยว่า...

เห็นทุกข์กับเป็นทุกข์ จ่าว่ามันเหมือนกันมั้ย

sriariya เขียน:
ฆนสัญญา หมายถึง ความสำคัญว่าเป็นก้อน, ความสำคัญเห็นเป็นชิ้นเป็นอัน ซึ่งบังปัญญาไม่ให้เห็นภาวะที่เป็นอนัตตา ข้าพเจ้าคัดลอกมาจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก ป.อ.ประยุตฺโต
แล้วข้าพเจ้าก็ขยายความให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ข้าพเจ้าจะเขียนว่า เป็นความหลง ความโลภ ก็เขียนได้ แต่มันคลุมเครือ ไม่ชัดเจน จึงขยายความว่า
ฆนะสัญญา คือ ความเคยชิน ความรู้ ความที่เคยได้พบเห็น สรรพสิ่งทั้งหลาย ยังตั้งอยู่เป็นชิ้น เป็นอัน จึงเข้าใจว่าสรรพสิ่งเหล่านั้น ไม่สูญสลาย เป็นของเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ อย่างนี้เป็นต้น

จ่าไปเอาคำของครูบาอาจารย์มาใช้ โดยขาดความเข้าใจ
เรื่องปิดบังเนี่ย มันไม่มีอะไรมาปิดบัง เพียงแต่เราไม่รู้ มันเป็นไปตามกระบวนการ
ขันธ์ห้าเป็นธรรมชาติ มันก็เหมือนกับคำว่าความเคยชินที่จ่าใช้ แต่จ่าเอามาใช้ผิด
กาลเทศะ นี้เป็นเรื่องของจิตไม่ใช่กาย

แล้วอีกอย่าง สรรพสิ่งภายนอกกายใจเรา ล้วนเป็น อนัตตาแต่อย่างเดียว
กายใจเราที่เรายึดเท่านั้น ที่เป็นไตรลักษณ์
sriariya เขียน:
สิ่งที่ได้กล่าวไปทั้ง 3 อย่าง 3 ข้อ เป็นสิ่งที่บดบังมิให้บุคคลมองเห็น หรือบุคคลรู้ซึ้ง หรือเข้าใจใน อนิจจลักษณะ,ทุกขลักษณะ,อนัตตาลักษณะ

จะบดบังอะไร ก็ตัวเองก็บอกเองรู้ซี้งหรือเข้าใจ ไตรลักษณ์มันก็อยู่ในใจเรา
บางครั้งเราก็เห็น แต่เป็นเพราะเราไม่รู้ไม่เข้าใจว่าสิ่งที่เห็น มันเป็นไตรลักษณ์
เลยไม่สนใจ เมื่อไม่สนใจสัญญามันก็ไม่มี ปัญญาก็ไม่เกิด

เคยได้ยินเรื่อง ไก่ได้พลอย ลิงได้แก้วมั้ยล่ะ
ทั้งไก่ทั้งลิง มันก็เห็นพลอยเห็นแก้ว เพียงแต่มันไม่รู้คุณค่า

sriariya เขียน:
แล้วคุณมีสมองสติปัญญาเท่าไหร่ ตอบเรื่องอะไรของคุณ คุณเข้าใจภาษาไทยหรือไม่ ลองไปอ่านที่ ผู้ใช้ชื่อ "ปลีกวิเวก"เขียนถามซิว่า เขามีความหมายว่าอย่างไร ขนาดภาษาไทย คุณยังไม่ค่อยรู้เรื่อง แล้วคุณจะไปรู้เรื่อง ในภาษาบาลี ฤาท่าน ข้าพเจ้าเองยังงงๆเลยขอรับ

ผมว่าเป็นจ่ามากกว่ามั้งครับ รู้แค่ก ..ข ก..กา
เอาความเคยชินมาใช้กับกระบวนการขันธ์ห้า

ตามหลักภาษาไทย ความเคยชินมันเป็นการแสดงออกทาง
กายและวาจา อันเกิดจากใจ มันก็เหมือนจ่ารับปากใครเขาไว้ว่า จะไม่ด่าใครในกระทู้นี่
แต่เป็นเพราะความที่ชอบด่าจนเป็นนิสัย(เสีย) ก็อดที่จะด่าไม่ได้ แบบนี้ครับเรียก
ความเคยชิน
:b13:


สิ่งที่คุณโต้ตอบมา แสดงให้เห็นว่า คุณอ่านภาษาไทยแล้วไม่เข้าใจในความหมายของภาษาไทยอยู่ดี ที่กล่าวไปนี้ไม่ใช่เป็นการด่านะขอรับ คุณอ่านให้ดีซิว่า ทั้งหมดที่คุณเถียงแบบ ไม่รู้เรื่อง นะ จริงหรือไม่
ข้าพเจ้าเขียนว่า "สิ่งที่ได้กล่าวไปทั้ง 3 อย่าง 3 ข้อ เป็นสิ่งที่บดบังมิให้บุคคลมองเห็น หรือบุคคลรู้ซึ้ง หรือเข้าใจใน อนิจจลักษณะ,ทุกขลักษณะ,อนัตตาลักษณะ[/u][/quote]

คุณกลับโต้เถียงว่า
จะบดบังอะไร ก็ตัวเองก็บอกเองรู้ซี้งหรือเข้าใจ ไตรลักษณ์มันก็อยู่ในใจเรา
บางครั้งเราก็เห็น แต่เป็นเพราะเราไม่รู้ไม่เข้าใจว่าสิ่งที่เห็น มันเป็นไตรลักษณ์
เลยไม่สนใจ เมื่อไม่สนใจสัญญามันก็ไม่มี ปัญญาก็ไม่เกิด
ข้าพเจ้าเองก็ไม่ค่อยรู้เรื่องศัพท์ภาษาบาลีนักดอกนะ
ไตรลักษณ์ อะไรที่อยู่ในใจเรา เพ้อเจ้อ แล้วคุณ
ไตรลักษณ์ คือ อะไร มันจะอยู่ในใจได้อย่างไร ถ้าไม่เรียนรู้ ไม่ได้ศึกษาทำความเข้าใจ
คุณกล่าวว่า บางครั้ง เราก็เห็น ก็แสดงว่า ไม่มีสิ่งใดมาบดบัง
คุณกล่าวว่า แต่เป็นเพราะเราไม่รู้ไม่เข้าใจ ว่าสิ่งที่เห็น มันเป็นไตรลักษณ์ เลยไม่สนใจ สิ่งที่คุณกล่าวมานั้นแหละคือการถูกบดบัง ด้วย
สันตติ ความสืบต่อ,อิริยาบถ อาการ ยืน เดิน สั่ง นอน, และ ฆนะ คือ ก้อน ชิ้น อัน
แล้วคุณจะมาเถียงเรื่องอะไร ลองอ่านแล้วทำความเข้าใจให้ดีซิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2012, 01:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
และที่สำคัญที่สุดผู้ที่ปฏิบัติใหม่ ไม่ควรให้นั่งสมาธิในแบบของสมถกรรมฐาน
ควรปฏิบัติแบบมีสติตามรู้ ผัสสะหรือสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้น

และที่สำคัญที่สุด ผู้ที่ปฏิบัติใหม่ ไม่ควรให้นั่งสมาธิในแบบของสมถกรรมฐาน
พูดเหมือนว่า การนั่งมีสองแบบ คือ นั่งแบบสมถกรรมฐาน กับ นั่งแบบวิปัสสนากรรมฐาน
ถ้านั่งยังงั้นเป็นแบบสมถะ แล้วนั่งแบบวิปัสสนาล่ะ นั่งยังไงครับ
เพื่อใครที่ชอบทำวิปัสสนาจะได้นั่ง่วิปัสสนากัน :b1:

เรื่องของผู้ปฏิบัติใหม่หรือปุถุชน สิ่งแรกที่ควรทำก็คือ ทานศีลและภาวนา(ไม่ใช่วิปัสนา)
การภาวนาคือการเจริญสติในชีวิตประจำวัน การเจริญสติไม่ใช่การมานั่งกรรมฐาน
แต่เป็นการตามรู้ผัสสะและอารมณ์ที่เกิดในแต่ละวัน จุดหมายก็เพื่อหาสภาวะไตรลักษณ์
และอีกอย่างที่ควรปฏิบัติก็คือการศึกษาปริยัติบ้างไม่มากก็น้อย


แรกเริ่มผู้ได้เห็นสภาวะไตรลักษณ์แล้ว ต้องทำวิปัสสนาเพื่อละสักกายทิฐิเสียก่อน
เมื่อละสักกายทิฐิได้แล้ว ทั้งวิจิกิจฉาและศีลพรตปรามาสก็จะหมดไป

เมื่อหมดสังโยชน์สามแล้ว ก็เกิดสัมมาทิฐิขึ้นจึงจะสามารถทำวิปัสสนาและสมถได้
ซึ่งต้องทำควบคู่กันไป


หลักของวิปัสสนา คือการพิจารณาหาเหตุแห่งทุกข์
ส่วนสมถ คือการดับทุกข์
ทั้งสองกรรมฐานจะต้องอาศัย สัมมาทิฐิเป็นตัวนำ
นั้นแสดงว่าเราจะต้อง ได้รู้และเข้าใจสภาวะก่อน
จึงจะสามารถทำวิปัสสนาและสมถได้

การทำกรรมฐานสามารถทำได้ทุกอิริยาบท


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2012, 03:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
สิ่งที่คุณโต้ตอบมา แสดงให้เห็นว่า คุณอ่านภาษาไทยแล้วไม่เข้าใจในความหมายของภาษาไทยอยู่ดี ที่กล่าวไปนี้ไม่ใช่เป็นการด่านะขอรับ คุณอ่านให้ดีซิว่า ทั้งหมดที่คุณเถียงแบบ ไม่รู้เรื่อง นะ จริงหรือไม่
ข้าพเจ้าเขียนว่า "สิ่งที่ได้กล่าวไปทั้ง 3 อย่าง 3 ข้อ เป็นสิ่งที่บดบังมิให้บุคคลมองเห็น หรือบุคคลรู้ซึ้ง หรือเข้าใจใน อนิจจลักษณะ,ทุกขลักษณะ,อนัตตาลักษณะ[/u]

เรื่องด่าจ่าว่าไม่ได้ด่าก็เอาตามนั้น ถือเสียว่าเป็นความเคยชินของจ่า
และไม่อยากยกประโยคที่ด่ามาต่อความยาวสาวความยืด ขี้เกียจต้องมานั่งอธิบาย
สมมุติบัญญัติ
sriariya เขียน:
ข้าพเจ้าเองก็ไม่ค่อยรู้เรื่องศัพท์ภาษาบาลีนักดอกนะ
ไตรลักษณ์ อะไรที่อยู่ในใจเรา เพ้อเจ้อ แล้วคุณ
ไตรลักษณ์ คือ อะไร มันจะอยู่ในใจได้อย่างไร ถ้าไม่เรียนรู้ ไม่ได้ศึกษาทำความเข้าใจ

ไตรลักษณ์มันเป็นอาการของจิต แล้วจะไม่อยู่ในใจได้ไงเล่า
ก่ารเปลี่ยนแปลงเกิดดับของจิตทำให้เกิด ไตรลักษณ์ คือ
อนิจจลักษณ์ ทุกขลักษณ์และอนัตตลักษณ์

ฉะนั้นไอ้ตัวสันตติ นี่แหละทำให้เกิดอนิจจลักษณ์
มันไม่ได้มาบดบังอนิจจลักษณ์ แต่มันเป็นเหตุปัจจัยของอนิจลักษณ์
การที่จะรู้ อนิจลักษณ์เขาจะไปดูการเกิดดับของสภาวะอารมณ์
ไม่ได้ไปดูการเกิดดับของจิต เพราะดูไม่ทันอยู่แล้ว
ดังนั้น สันตติไม่ได้บดบังอนิจลักษณ์

สันตติเป็นการเกิดดับต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว มันเป็นอาการของจิต
ที่เราดูไม่ทันมันเกิดจากความต่อเนื่อง ความต่อเนื่องก็เป็นอาการของจิต
ดังนั้นมันไม่มีอะไรมาบดบัง เพียงแต่เราดูไม่ทันเท่านั้นเอง


"บดบัง"แปลว่า มีสิ่งหนึ่งมาบังแสงของอีกสิ่งไว้ จ่าไปตีความให้ดี
ข้างบนเป็นคำตอบในประเด็นของคุณปลีกวิเวก

ส่วนเรื่องของจ่าที่ว่า"ความเคยชิน"ที่ผมโต้แย้งไปว่า
เป็นกายสังขารและวจีสังขารไม่เห็นจ่าตอบกลับมาเลย
จ่าครับสิ่งใดที่เราไม่รู้ ก็อย่าเที่ยวได้ชี้หน้าคนอื่นว่า เพ้อเจ้อ การแสดงออกแบบนี้
มันทำให้รู้ครับว่าผู้นั้นมีอาการทางสมอง เรียกว่าพิการซ้ำซ้อนครับ

sriariya เขียน:
คุณกล่าวว่า บางครั้ง เราก็เห็น ก็แสดงว่า ไม่มีสิ่งใดมาบดบัง
คุณกล่าวว่า แต่เป็นเพราะเราไม่รู้ไม่เข้าใจ ว่าสิ่งที่เห็น มันเป็นไตรลักษณ์ เลยไม่สนใจ สิ่งที่คุณกล่าวมานั้นแหละคือการถูกบดบัง ด้วย
สันตติ ความสืบต่อ,อิริยาบถ อาการ ยืน เดิน สั่ง นอน, และ ฆนะ คือ ก้อน ชิ้น อัน
แล้วคุณจะมาเถียงเรื่องอะไร ลองอ่านแล้วทำความเข้าใจให้ดีซิ[/b]

จ่ามาว่าผมว่าผมไม่เข้าใจภาษาไทย จ่าก็ลองไปเปิดพจนานุกรมดูว่า
"บดบัง"แปลว่าอะไร แล้วค่อยมาเถียงเรื่อง บัญญัติกับผม
มันจะได้ไม่เสียเวลา


ง่ายๆเลยจิตมีดวงเดียวเกิดดับอย่างรวดเร็ว
"บดบังแปลว่า" มีของสองสิ่ง สิ่งหนึ่งมาบังสิ่งหนึ่งไว้ จ่าเอาประโยคนี้ไปตีความใหม่
อย่าเที่ยวได้ตีคนเพราะความเคยชิน อย่าลืม ท...ทหารอดทน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 209 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร