วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 09:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2012, 04:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

เรื่องของผู้ปฏิบัติใหม่หรือปุถุชน สิ่งแรกที่ควรทำก็คือ ทานศีลและภาวนา (ไม่ใช่วิปัสนา)

การภาวนาคือการเจริญสติในชีวิตประจำวัน การเจริญสติไม่ใช่การมานั่งกรรมฐาน

แต่เป็นการตามรู้ผัสสะและอารมณ์ที่เกิดในแต่ละวัน จุดหมายก็เพื่อหาสภาวะไตรลักษณ์

และอีกอย่างที่ควรปฏิบัติก็คือการศึกษาปริยัติบ้างไม่มากก็น้อย


แรกเริ่มผู้ได้เห็นสภาวะไตรลักษณ์แล้ว ต้องทำวิปัสสนาเพื่อละสักกายทิฐิเสียก่อน

เมื่อละสักกายทิฐิได้แล้ว ทั้งวิจิกิจฉาและศีลพรตปรามาสก็จะหมดไป

เมื่อหมดสังโยชน์สามแล้ว ก็เกิดสัมมาทิฐิขึ้นจึงจะสามารถทำวิปัสสนาและสมถได้ซึ่งต้อง

ทำควบคู่กันไป

หลักของวิปัสสนา คือการพิจารณาหาเหตุแห่งทุกข์

ส่วนสมถ คือการดับทุกข์


ทั้งสองกรรมฐานจะต้องอาศัย สัมมาทิฐิเป็นตัวนำ

นั้นแสดงว่าเราจะต้อง ได้รู้และเข้าใจสภาวะก่อน

จึงจะสามารถทำวิปัสสนาและสมถได้

การทำกรรมฐานสามารถทำได้ทุกอิริยาบท


หลักของวิปัสสนา คือการพิจารณาหาเหตุแห่งทุกข์
ส่วนสมถ คือการดับทุกข์


นำศัพท์แสงทางธรรมมาใช้มั่วพูดโยงพันกันไปหมด แต่ดูประหนึ่งว่า ไม่เข้าใจความหมายของศัพท์นั้นๆเอาเสียเลย เช่นคำว่า วิปัสสนา กรรมฐาน สมถะ สภาวะ อารมณ์ ภาวนา

ขอความกรุณาคุณโฮฮับพูดบอกความหมายของศัพท์เหล่านี้ "วิปัสสนา กรรมฐาน สมถะ สภาวะ อารมณ์ " แต่ละตัวๆซิครับ ได้แก่อะไร หมายถึงอะไร



เรื่องของผู้ปฏิบัติใหม่หรือปุถุชน สิ่งแรกที่ควรทำก็คือ ทานศีลและภาวนา (ไม่ใช่วิปัสนา)

สงสัยคำพูดที่ว่า "เรื่องของผู้ปฏิบัติใหม่ หรือ ปุถุชน" ปุถุชน ได้แก่ ผู้ปฏิบัติใหม่ แสดงว่า ผู้ปฏิบัติเก่าคือ ปฏิบัติมานานแล้ว เป็นอริยชนเข้าใจถูกไหมครับ :b10: และปุถุชนนี่ไม่ควรทำวิปัสสนา ควรทำทานศีลและภาวนา ใช่ไหมครับ :b10:



การเจริญสติไม่ใช่การมานั่งกรรมฐาน


การเจริญสติไม่ใช่มานั่งกรรมฐาน นี่ก็มีปัญหาทางความเข้าใจของคนพูด เข้าใจว่าการนั่งเป็นกรรมฐานไปอีก :b7:

ถึงได้บอกว่า ไม่เข้าใจแม้แต่คำว่า กรรมฐาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2012, 12:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
หลักของวิปัสสนา คือการพิจารณาหาเหตุแห่งทุกข์
ส่วนสมถ คือการดับทุกข์


นำศัพท์แสงทางธรรมมาใช้มั่วพูดโยงพันกันไปหมด แต่ดูประหนึ่งว่า ไม่เข้าใจความหมายของศัพท์นั้นๆเอาเสียเลย เช่นคำว่า วิปัสสนา กรรมฐาน สมถะ สภาวะ อารมณ์ ภาวนา

คนที่มั่วก็คือคนที่เอามาสอนโดยขาดความเข้าใจ ศัพท์บางคำพระพุทธองค์
บัญญัติไว้เฉพาะ อริยบุคคล แต่มีเจ้าสำนักบางคนสู่รู้เอามาสอนปุถุชน
สอนทั้งๆที่ตัวเองก็ยังไม่เข้าใจว่าสัมมาทิฐิอนาสวะเป็นอย่างไร

เรื่องศัพท์แสงมันไม่สำคัญเท่ากับหลักการปฏิบัติหรอกครับ
ศัพท์ใครจะตีความหมายไปทางไหนก็ได้ แต่หลักการปฏิบัติจะต้อง
ตรงกับที่พระพุทธเจ้าสอน

ประเด็นสำคัญมันมีอย่างเดียวก็คือ การนำเอาหลักการปฏิบัติมาสอน
ผิดสถานะและตัวบุคคล หรือจะเรียกว่าข้ามขั้นตอนก็ว่าได้
กรัชกาย เขียน:
เรื่องของผู้ปฏิบัติใหม่หรือปุถุชน สิ่งแรกที่ควรทำก็คือ ทานศีลและภาวนา (ไม่ใช่วิปัสนา)

สงสัยคำพูดที่ว่า "เรื่องของผู้ปฏิบัติใหม่ หรือ ปุถุชน" ปุถุชน ได้แก่ ผู้ปฏิบัติใหม่ แสดงว่า ผู้ปฏิบัติเก่าคือ ปฏิบัติมานานแล้ว เป็นอริยชนเข้าใจถูกไหมครับ :b10: และปุถุชนนี่ไม่ควรทำวิปัสสนา ควรทำทานศีลและภาวนา ใช่ไหมครับ :b10:

กรุณาสังเกตุคำว่า"หรือ"ด้วยครับ ผู้ปฏิบัติใหม่ก็คือ คนที่ยังไม่เคยลงมือปฏิบัติ
ส่วนผู้ปฏิบัติเก่าก็คือ ผู้ที่ปฏิบัติผิดมานานแล้วครับ ไม่ได้หมายถึงอริยชน

การทำวิปัสสนา ต้องอาศัยธัมมวิจยะโดยมีสัมมาทิฐิเป็นตัวนำ
ถ้าผู้ใดไม่มีสัมมาทิฐิ ก็ไม่สามารถใช้ธัมมวิจยะได้ สิ่งที่ได้ก็เป็นเพียงจินตนาการ
ไม่ใช่ความจริงครับ

สมถกรรมฐานก็เช่นกันต้องมีสัมมาทิฐินำหน้า ทำการพิจารณากายเพื่อ
หาเหตุแห่งทุกข์ แล้วละมันเสีย จากนั้นจึงจะทำสมถกรรมฐานต่อเพื่อ
ดับทุกข์ ต้องเข้าใจนะครับว่า การทำสมถกรรมฐานต้องอาศัยกายเป็นเหตุปัจัย
ดังนั้นจะต้องทำการละกายไม่ยึดถือกายเสียก่อน จึงจะสามารถทำสมถได้
ไม่เช่นนั้นจิตจะไปยึดกายเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาครับ

ส่วนผู้ปฏิบัติใหม่หรือผู้ปฏิบัติผิด จึงต้องปฏิบัติแนวทางเจริญสติ
หมั่นมีสติจนเกิดสมาธิในงานที่ทำ ทำบ่อยๆ จะทำให้เกิดสติและสมาธิที่ตั้งมั่น
มันเป็นเหตุให้เห็นไตรลักษณ์ครับ

โปรดสังเกตุผมบอกการเจริญสติ คือการมีสมาธิที่ตั้งมั่นในงานนะครับ
ไม่ใช่การนั่งกรรมฐาน


กรัชกาย เขียน:
การเจริญสติไม่ใช่การมานั่งกรรมฐาน
การเจริญสติไม่ใช่มานั่งกรรมฐาน นี่ก็มีปัญหาทางความเข้าใจของคนพูด เข้าใจว่าการนั่งเป็นกรรมฐานไปอีก :b7:
ถึงได้บอกว่า ไม่เข้าใจแม้แต่คำว่า กรรมฐาน

กรรมฐานที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเป็นการสอนเพื่อเจริญอริยมรรคและปัญญาวิมุติครับ
อย่างเช่น การทำอานาปานสติ
การปฏิบัติที่ว่าเป็นกรรมฐานที่รวม วิปัสสนาและสมถไว้ด้วยกันครับ

ถามหน่อยครับ คนที่ยังไม่มีสัมมาทิฐิ ยังมีวิจิกิจฉาอยู่
มันจะเข้าใจสิ่งที่ผมพูดมั้ยครับ ประโยคนี้ให้ท่านกรัชกายเถียงมาครับ
อย่าลืมถ้าเข้าใจต้องพูดได้ว่า ผมพูดผิดถูกอย่างไร ไม่ใช่พูดได้แต่คำว่าผมมั่วครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2012, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วิปัสสนา กรรมฐาน สมถะ สภาวะ อารมณ์



ศัพท์ทางศาสนาเหล่านั้น แต่ละตัวๆ (ศัพท์ๆ) ได้แก่อะไร มีความหมายอย่างไร :b1: บอกตามความเข้าใจของคุณโฮมาก่อน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2012, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแสดงความคิดเห็นนิดหนึ่งนะค่ะ ในฐานะที่ดิฉันเป็นผู้ปฎิบัติใหม่ ดิฉันว่าคุนโฮฮับพูดมานั้นมันมีส่วนคล้ายคลึงกับสิ่งที่ดิฉันกำลังปฏิบัติอยู่นะค่ะ สิ่งแรกที่ผู้ปฏิบัติใหม่ควรจะเริ่มทำก่อนคือเริ่มต้นจากศีล5(ศีล5จะทำให้เราหลุดพ้นจากอบายภูมิ)ต่อไปก็คือทานเป็นกุศล ผลบุญ สวดมนต์ ภาวนาเพื่อให้จิตใจเราสงบและเราจะเกิดสมาธิ สติ ปัญญาตามา และหลังจากนั้นเราก็ค่อยปฏิบัติศึกษาและลงมือปฏิบัติในปลีกย่อยและ ทำความเข้าใจกับบัญญัติไปทีละขั้นตอน ดิฉันเข้าใจถูกต้องหรือไม่กรุณาชี้แจงด้วยนะค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2012, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
ขอแสดงความคิดเห็นนิดหนึ่งนะค่ะ ในฐานะที่ดิฉันเป็นผู้ปฎิบัติใหม่ ดิฉันว่าคุนโฮฮับพูดมานั้นมันมีส่วนคล้ายคลึงกับสิ่งที่ดิฉันกำลังปฏิบัติอยู่นะค่ะ สิ่งแรกที่ผู้ปฏิบัติใหม่ควรจะเริ่มทำก่อนคือเริ่มต้นจากศีล5(ศีล5จะทำให้เราหลุดพ้นจากอบายภูมิ)ต่อไปก็คือทานเป็นกุศล ผลบุญ สวดมนต์ ภาวนาเพื่อให้จิตใจเราสงบและเราจะเกิดสมาธิ สติ ปัญญาตามา และหลังจากนั้นเราก็ค่อยปฏิบัติศึกษาและลงมือปฏิบัติในปลีกย่อยและ ทำความเข้าใจกับบัญญัติไปทีละขั้นตอน ดิฉันเข้าใจถูกต้องหรือไม่กรุณาชี้แจงด้วยนะค่ะ


การปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เริ่มปฏิบัติธรรมใหม่ๆ หรือจะเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรมมานาน ก็ตามที ล้วนต้องมีปัจจัยหรือเครื่องมืออันเป็น มรรค หรือ หนทางชนิดหนึ่ง ซึ่งจะนำทางให้แก่บุคคลเหล่านั้นไปถึงจุดหมาย นั่นก็คือ
๑.สมาธิ
๒.สติ
๓.สัทธา(ศรัทธา)
๔.วิริยะ
๕.ปัญญา
ทั้ง ๕ ข้อ ก็คือ พละ ๕ นั่นเอง
เมื่อบุคคลมีมรรค หรือมีปัจจัย ครบถ้วนแล้ว ก็จะบังเกิดผล คือข้อปฏิบัติที่ควรศึกษา หรือ ไตรสิกขา ศีล,สมาธิ,ปัญญา
การปฏิบัติธรรมนั้น ในทางที่เป็นจริงแล้ว จะปฏิบัติตามข้อธรรมะใดใดหรือธรรมะในหมวดใดใดก็ได้ทั้งนั้น หรือจะถือตาม ไตรสิกขาก็ได้ เพราะในไตรสิกขาข้อ ศีล นั้น แท้จริงแล้ว เป็น ผลและเหตุที่ทำให้เกิดธรรมะหรือเกิดจากธรรมะ เนื่องจากเกียวข้องกับวิถีการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล ศีล เป็นผลและเหตุ จากธรรมะหลายหมวดหลายข้อ เช่น "พรหมวิหาร๔","สัปปุริสธรรม",อิทธิบาท ๔" และอื่นๆอีกมากมาย
ศาสนาต่างๆ ล้วนมีข้อปฏิบัติ และข้อห้าม เหมือนกันทุกศาสนา เพราะข้อปฏิบัติ และข้อห้ามทั้งหลายเหล่านั้น จะสร้างสภาพสภาวะจิตใจ ที่เรียกว่า อดทน,ซื่อตรง,กตัญญู,กตเวที,ความละอาย,เกรงกลัวต่อบาป, ฯลฯ
และในศาสนาต่างๆ ก็จะมีหลักธรรม หรือ หลักความจริงที่มีอยู่ในจิตใจมนุษย์
พุทธศาสนา มีหลักธรรมมากมาย มีวิธีการปฏิบัติ วิธีการฝึก วิธีการคิดพิจารณา อย่างครบถ้วน ละเอียด ตั้งแต่ภายในไปจนถึงภายนอก
ดังนั้น การปฏิบัติธรรม ในทาง พุทธศาสนา จึงมักถูกบิดเบือน ไปตามความรู้ ความเข้าใจของบุคคลที่ได้เล่าเรียน ได้จดจำ ได้ศึกษา จากตำราต่างๆ
การปฏิบัติธรรม ในแต่ละบุคคลตามการครองเรือน หรือตามบทบาทหน้าที่ของแต่กลุ่มบุคคล จึงแตกต่างกันไป เช่น
ฆราวาส จะถือศีล ปฏิบัติตามข้อศีลก็ได้ หรือจะ ปฏิบัติตามหลักธรรมข้อใดข้อหนึ่ง หมวดใดหมวดหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวก ความง่าย เวลา และสมองสติปัญญา
เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านได้ศึกษาสิ่งที่ข้าพเจ้าได้เขียนไปแล้วข้างต้น คงพอจะอนุมานได้ว่า การปฏิบัติธรรม นั้น ไม่จำเป็นต้องผูกติดกับหลักการมากนัก แต่ก็ต้องยึดถือหลักการเอาไว้บ้าง เพราะหลักการปฏิบัติธรรมนั้น มีเพียงรูปแบบเดียว หรือวิธีเดียวที่ถูกต้อง เช่น
การฝึกกัมมัฏฐาน ซึ่งท่านทั้งหลายจะรู้กันในนามของการปฏิบัติสมาธินั่นแหละ
กัมมัฎฐาน แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ สมถกัมมัฏฐาน ๑.(อุบายทำให้ใจสงบ) ,วิปัสสนากัมมัฏฐาน๑.(อุบายเรื่องปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญา)
อุบายทำให้ใจสงบ(สมถะกัมมัฏฐาน) ได้แก่ "กสิณ ๑๐ ,อสุภะ๑๐,อนุสติ ๑๐ ,พรหมวิหาร๔, อรูป๔,อาหารเรปฏฺิกูลสัญญา๑,จตุธาตุววัตถาน ๑,อรูป๔ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญา ได้แก่ "กสิณ ๑๐ ,อสุภะ๑๐,อนุสติ ๑๐ ,พรหมวิหาร๔, อรูป๔,อาหารเรปฏฺิกูลสัญญา๑,จตุธาตุววัตถาน ๑,อรูป๔ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)

กัมมัฏฐาน ทั้ง ๔๐ กอง สามารถใช้เป็นเครื่องมือทำ อุบายให้ใจสงบก็ได้,หรือจะเป็นเครื่องมือทำ อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญาก็ได้เช่นกัน
และยังมีหมวดธรรมะ เช่น โพธิปักขิยธรรม อันหมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ประการคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘(พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
เพื่อบุคคลที่ต้องการจะศึกษา หรือปฏิบัติธรรมให้สู่จุดสูงสุดในทางพุทธศาสนา คือ นิพพาน อย่างนี้เป็นต้น
ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวอธิบายไปทั้งหมดข้างต้น ดูเหมือนจะเป็นการยากที่จะเล่าเรียนหรือปฏิบัติได้หมด ท่านทั้งหลาย ก็ลองอ่านบทความเรื่อง "ไตรลักษณ์ ทางลัดของผู้ที่ไม่ต้องการคิดมาก" ก็จะปฏิบัติได้ง่ายขึ้น ขอรับ

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๗ มีนาคม ๒๕๕๕
ผู้เขียน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 01:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
วิปัสสนา กรรมฐาน สมถะ สภาวะ อารมณ์



ศัพท์ทางศาสนาเหล่านั้น แต่ละตัวๆ (ศัพท์ๆ) ได้แก่อะไร มีความหมายอย่างไร :b1: บอกตามความเข้าใจของคุณโฮมาก่อน

ถ้าจะให้ผมบอกศัพท์แต่ละตัว ตามความเข้าใจของผม ก็ได้ครับ
แต่ไม่ใช่บอกไปแล้วเอาคำที่ผมอธิบาย ไปเทียบกับคนอื่นแล้วว่าผมมั่วนะครับ

*กรรมฐาน* หมายถึง การปฏิบัติธรรมโดยใช้สติในเรื่องของ วิปัสสนาและสมถ

*วิปัสสนา* หมายถึง การพิจารณธรรมเพื่อหาเหตุแห่งทุกข์ กล่าวให้เข้าใจก็คือ
การใช้ความคิด(ธัมมวิจยะ) ไล่หาเหตุที่มาแห่งทุกข์

*สมถ* หมายถึง การทำจิตให้สงบนิ่งโดยใช้ฐานกาย วิธีนี้เป็นการดับทุกข์
พึ่งสังเกตุว่า สมถจะทำได้ต่อเมื่อ รู้ทุกข์และไล่หาเหตุแห่งทุกข์แล้ว(วิปัสสนา)

ที่กล่าวมาอย่าลืมว่า ผู้ที่จะปฏิบัติให้ตรงกับสิ่งที่ผมอธิบาย
จะต้องเป็นผู้มีสัมมาทิฐิ คือเห็นไตรลักษณ์มาแล้ว ละสังโยชน์สามแล้ว


*สภาวะ* หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นโดยมีมีเหตุปัจจัยมาจากรูปนาม
สิ่งที่เกิดตามหลังผัสสะรวมเรียกว่าสภาวะ

*อารมณ์* หมายถึง สิ่งที่เกิดจากการปรุงแต่งแล้ว เช่นดีใจ เสียใจฯลฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 02:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
การปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เริ่มปฏิบัติธรรมใหม่ๆ หรือจะเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรมมานาน ก็ตามที ล้วนต้องมีปัจจัยหรือเครื่องมืออันเป็น มรรค หรือ หนทางชนิดหนึ่ง ซึ่งจะนำทางให้แก่บุคคลเหล่านั้นไปถึงจุดหมาย นั่นก็คือ

พูดคำว่า"จุดมุ่งหมาย" แต่อธิบายความมามันคนละเรื่อง จ่ารู้ตัวมั้ยว่า
จ่าไม่มีสมาธิในการแสดงความเห็น การตอบคำถามมันเลยเป็นลักษณะ
เหมือนจ่ากำลังสับสนในตัวเอง

คำว่า"จุดมุ่งหมาย" เราต้องมีการกระทำให้ถึงจุดมุ่งหมายนั้น
และธรรมที่จะทำให้ถึงจุดมุ่งหมายนั้นก็คือ อิทธิบาทสี่นะครับไม่ใช่พละห้า


เนี่ยแค่เริ่มจ้อมันก็ผิดแล้ว ลองคิดดูไอ้ส่วนที่เหลือสมควรจะอ่านมั้ย :b13:
พละห้าที่จ้อมานั้นน่ะ ไก่ออกลูกเป็นตัวหรือ มันต้องเป็นไข่ก่อน
จะมีพละห้าได้มันต้องมีอินทรีย์ห้าก่อนถึงจะถูก

มีกำลังแต่ไม่มีเจ้าของกำลัง ตลกดีครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถ้าจะให้ผมบอกศัพท์แต่ละตัว ตามความเข้าใจของผม ก็ได้ครับ
แต่ไม่ใช่บอกไปแล้ว เอาคำที่ผมอธิบาย ไปเทียบกับคนอื่นแล้วว่าผมมั่วนะครับ




ขอบคุณจากใจ ที่บอกศัพท์ทางศาสนาที่ตนนำมาพูดโยงไปโยงมาคือนำศัพท์นี้ๆไปผูกโยงเข้ากับศัพท์โน่นๆ เป็นความเข้าใจพุทธศาสนาเฉพาะตัวโฮฮับเองก็ว่าไป สมกับที่กล่าวก่อนหน้าว่า
อ้างคำพูด:
“เรื่องศัพท์แสงมันไม่สำคัญ...ใครจะตีความหมายไปทางไหนก็ได้”


คราวนี้ไม่ว่ามั่วแล้วครับ ไม่รู้จะว่าไง ยังนึกไม่ออกเกินคำบรรยายครับ เท่าที่นึกได้ตอนนี้ก็ว่า “น่ากลัว” ครับ อันตราย เพราะซ่อนยาพิษไว้

ขอเวลาทำใจหน่อย แล้วกรัชกายจะว่าความหมายของศัพท์คือตามความหมายดั้งเดิมของเค้า หมายใจว่าพุทธศาสนิกชนจะได้นำไปเทียบเคียงเองตามสติกำลังของตนๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 08:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
sriariya เขียน:
การปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เริ่มปฏิบัติธรรมใหม่ๆ หรือจะเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรมมานาน ก็ตามที ล้วนต้องมีปัจจัยหรือเครื่องมืออันเป็น มรรค หรือ หนทางชนิดหนึ่ง ซึ่งจะนำทางให้แก่บุคคลเหล่านั้นไปถึงจุดหมาย นั่นก็คือ

พูดคำว่า"จุดมุ่งหมาย" แต่อธิบายความมามันคนละเรื่อง จ่ารู้ตัวมั้ยว่า
จ่าไม่มีสมาธิในการแสดงความเห็น การตอบคำถามมันเลยเป็นลักษณะ
เหมือนจ่ากำลังสับสนในตัวเอง

คำว่า"จุดมุ่งหมาย" เราต้องมีการกระทำให้ถึงจุดมุ่งหมายนั้น
และธรรมที่จะทำให้ถึงจุดมุ่งหมายนั้นก็คือ อิทธิบาทสี่นะครับไม่ใช่พละห้า


เนี่ยแค่เริ่มจ้อมันก็ผิดแล้ว ลองคิดดูไอ้ส่วนที่เหลือสมควรจะอ่านมั้ย :b13:
พละห้าที่จ้อมานั้นน่ะ ไก่ออกลูกเป็นตัวหรือ มันต้องเป็นไข่ก่อน
จะมีพละห้าได้มันต้องมีอินทรีย์ห้าก่อนถึงจะถูก

มีกำลังแต่ไม่มีเจ้าของกำลัง ตลกดีครับ :b13:


ฮ๋า...ฮ่า...ฮ่า...... ขออภัยนะขอรับ....ผู้ที่ใช้ชื่อว่า โฮฮับ ...น่าสมเพชในความคิดและสมองสติปัญญา ที่ขอบโอ้อวดความฉลาดออกมาด้วยความรู้เท่าไม่ถึงกาล อย่างคุณเข้าตำราที่ว่า "มือถือสาก ปากถือศีล" ดีแต่เขียนกล่าวเรื่องศัพท์ภาษา ต่างๆนานา แต่เจ้าผู้ใช้ชื่อว่า โฮฮับ กลับไม่รู้ความหมายของภาษาไทยอะไรนักเลย ไม่รู้ว่าจะโอ้อวด หา..ทำไมกัน
คำว่า "จุดหมาย " คืออะไรกันหรือ เจ้าผู้ใช้ชื่อว่า โฮฮับ จะต้องเปิดพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แล้วนำมาให้เจ้าได้อ่านอีกไหม แล้วใครเขียนคำว่า "จุดมุ่งหมาย" อ่านแล้วยังหน้าด้านไปเติมความให้เสียความหมายซะอีก
ฮ่า ฮ่า ฮ่า ...กลับไปอ่านใหม่ซะ แล้วอย่าทำตัวเป็นคนที่ชอบอวดรุ้ แล้วอวดฉลาด แบบคนปัญญาอ่อน (ไม่ได้ด่านะขอรับ เปรียบเทียบเท่านั้น) คิดเอา สิ่งเล็กๆน้อยมาเป็นเครื่องทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น เจ้าผู้ใช้ชื่อว่า โฮฮับ รูัจักอายซะบ้าง แล้วกลับไปอ่านซิว่า ข้าพเจ้าเขียนว่า อะไรกัน อีกประการหนึ่ง คำว่า "ฯลฯซึ่งจะนำทางให้แก่บุคคลเหล่านั้นไปถึงจุดหมาย" กับคำว่า "จุดมุ่งหมาย" ก็มีความหมายเดียวกัน ซึ่งทั้งสองข้อความหมายถึง "ความพยายาม หรือความตั้งใจ ที่จะเดินทาง หรือทำหรือกระทำเพื่อให้ถึงจุดที่ตั้งใจจะไปให้ถึง (คัดความขยายความจากพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 11:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ถ้าจะให้ผมบอกศัพท์แต่ละตัว ตามความเข้าใจของผม ก็ได้ครับ
แต่ไม่ใช่บอกไปแล้ว เอาคำที่ผมอธิบาย ไปเทียบกับคนอื่นแล้วว่าผมมั่วนะครับ




ขอบคุณจากใจ ที่บอกศัพท์ทางศาสนาที่ตนนำมาพูดโยงไปโยงมาคือนำศัพท์นี้ๆไปผูกโยงเข้ากับศัพท์โน่นๆ เป็นความเข้าใจพุทธศาสนาเฉพาะตัวโฮฮับเองก็ว่าไป สมกับที่กล่าวก่อนหน้าว่า
อ้างคำพูด:
“เรื่องศัพท์แสงมันไม่สำคัญ...ใครจะตีความหมายไปทางไหนก็ได้”


คราวนี้ไม่ว่ามั่วแล้วครับ ไม่รู้จะว่าไง ยังนึกไม่ออกเกินคำบรรยายครับ เท่าที่นึกได้ตอนนี้ก็ว่า “น่ากลัว” ครับ อันตราย เพราะซ่อนยาพิษไว้

ขอเวลาทำใจหน่อย แล้วกรัชกายจะว่าความหมายของศัพท์คือตามความหมายดั้งเดิมของเค้า หมายใจว่าพุทธศาสนิกชนจะได้นำไปเทียบเคียงเองตามสติกำลังของตนๆ

เรียนคุนกรัชกายค่ะตอนแรกที่ดิฉันอ่านก้มีความคิดเอียนเอนกับคุนกรัชกายเช่นกันค่ะ แต่เพื่อความเป็นกลางดิฉันเลยไปอ่านที่คุนโฮเขียนอีกรอบและก็เข้าใจแจ่มแจ้งคุนคัดเอาถ้อยคำบางส่วนมา..ทั้งที่ประโยคเต็มๆมันคือเรื่องศัพท์แสงมันไม่สำคัญเท่ากับหลักการปฏิบัติหรอกครับ
ศัพท์ใครจะตีความหมายไปทางไหนก็ได้ แต่หลักการปฏิบัติจะต้อง
ตรงกับที่พระพุทธเจ้าสอน



จากความคิดเห็นส่วนตัวดิฉันว่าคุนโฮคงไม่ได้มีเจตนาซ่อนยาพิษอะไรที่คุนกรัชกล่าวหรอกมั้งค่ะ และดิฉันอยากจะบอกว่าดิฉันไม่ได้ออกตัวปกป้องคุนโฮแต่ดิฉันพูดในสิ่งที่มีมูลและเป็นความจริงดิฉันกับคุนโฮก็เคยมีเหตุผลไม่ลงรอยกันแต่พูดไปก็คือจบไม่ได้เก็บมาอคติเคียดแค้นต่อกัน:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 11:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2011, 10:31
โพสต์: 36


 ข้อมูลส่วนตัว


ไตรลักษณะ พูดกันได้ง่ายว่าเห็น แต่ใจไม่ค่อยยอม ไตรลักณะด้วย นี่ซิปัญหา

:b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 11:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้เชิญจ่ากับคุณกรัชกาย ตามสะดวกครับผมไปล่ะ
แล้วผมจะไปยั่วไอ้ตัวความเคยชินของจ่าในกระทู้อื่นอีกนะครับ :b13:

น้องคิงคองครับ อยู่ห่างๆสองท่านนี้ไว้นะครับ
แต่ละคนด่าเป็นไฟแลบ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 11:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
nongkong เขียน:
ขอแสดงความคิดเห็นนิดหนึ่งนะค่ะ ในฐานะที่ดิฉันเป็นผู้ปฎิบัติใหม่ ดิฉันว่าคุนโฮฮับพูดมานั้นมันมีส่วนคล้ายคลึงกับสิ่งที่ดิฉันกำลังปฏิบัติอยู่นะค่ะ สิ่งแรกที่ผู้ปฏิบัติใหม่ควรจะเริ่มทำก่อนคือเริ่มต้นจากศีล5(ศีล5จะทำให้เราหลุดพ้นจากอบายภูมิ)ต่อไปก็คือทานเป็นกุศล ผลบุญ สวดมนต์ ภาวนาเพื่อให้จิตใจเราสงบและเราจะเกิดสมาธิ สติ ปัญญาตามา และหลังจากนั้นเราก็ค่อยปฏิบัติศึกษาและลงมือปฏิบัติในปลีกย่อยและ ทำความเข้าใจกับบัญญัติไปทีละขั้นตอน ดิฉันเข้าใจถูกต้องหรือไม่กรุณาชี้แจงด้วยนะค่ะ


การปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เริ่มปฏิบัติธรรมใหม่ๆ หรือจะเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรมมานาน ก็ตามที ล้วนต้องมีปัจจัยหรือเครื่องมืออันเป็น มรรค หรือ หนทางชนิดหนึ่ง ซึ่งจะนำทางให้แก่บุคคลเหล่านั้นไปถึงจุดหมาย นั่นก็คือ
๑.สมาธิ
๒.สติ
๓.สัทธา(ศรัทธา)
๔.วิริยะ
๕.ปัญญา
ทั้ง ๕ ข้อ ก็คือ พละ ๕ นั่นเอง
เมื่อบุคคลมีมรรค หรือมีปัจจัย ครบถ้วนแล้ว ก็จะบังเกิดผล คือข้อปฏิบัติที่ควรศึกษา หรือ ไตรสิกขา ศีล,สมาธิ,ปัญญา
การปฏิบัติธรรมนั้น ในทางที่เป็นจริงแล้ว จะปฏิบัติตามข้อธรรมะใดใดหรือธรรมะในหมวดใดใดก็ได้ทั้งนั้น หรือจะถือตาม ไตรสิกขาก็ได้ เพราะในไตรสิกขาข้อ ศีล นั้น แท้จริงแล้ว เป็น ผลและเหตุที่ทำให้เกิดธรรมะหรือเกิดจากธรรมะ เนื่องจากเกียวข้องกับวิถีการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล ศีล เป็นผลและเหตุ จากธรรมะหลายหมวดหลายข้อ เช่น "พรหมวิหาร๔","สัปปุริสธรรม",อิทธิบาท ๔" และอื่นๆอีกมากมาย
ศาสนาต่างๆ ล้วนมีข้อปฏิบัติ และข้อห้าม เหมือนกันทุกศาสนา เพราะข้อปฏิบัติ และข้อห้ามทั้งหลายเหล่านั้น จะสร้างสภาพสภาวะจิตใจ ที่เรียกว่า อดทน,ซื่อตรง,กตัญญู,กตเวที,ความละอาย,เกรงกลัวต่อบาป, ฯลฯ
และในศาสนาต่างๆ ก็จะมีหลักธรรม หรือ หลักความจริงที่มีอยู่ในจิตใจมนุษย์
พุทธศาสนา มีหลักธรรมมากมาย มีวิธีการปฏิบัติ วิธีการฝึก วิธีการคิดพิจารณา อย่างครบถ้วน ละเอียด ตั้งแต่ภายในไปจนถึงภายนอก
ดังนั้น การปฏิบัติธรรม ในทาง พุทธศาสนา จึงมักถูกบิดเบือน ไปตามความรู้ ความเข้าใจของบุคคลที่ได้เล่าเรียน ได้จดจำ ได้ศึกษา จากตำราต่างๆ
การปฏิบัติธรรม ในแต่ละบุคคลตามการครองเรือน หรือตามบทบาทหน้าที่ของแต่กลุ่มบุคคล จึงแตกต่างกันไป เช่น
ฆราวาส จะถือศีล ปฏิบัติตามข้อศีลก็ได้ หรือจะ ปฏิบัติตามหลักธรรมข้อใดข้อหนึ่ง หมวดใดหมวดหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวก ความง่าย เวลา และสมองสติปัญญา
เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านได้ศึกษาสิ่งที่ข้าพเจ้าได้เขียนไปแล้วข้างต้น คงพอจะอนุมานได้ว่า การปฏิบัติธรรม นั้น ไม่จำเป็นต้องผูกติดกับหลักการมากนัก แต่ก็ต้องยึดถือหลักการเอาไว้บ้าง เพราะหลักการปฏิบัติธรรมนั้น มีเพียงรูปแบบเดียว หรือวิธีเดียวที่ถูกต้อง เช่น
การฝึกกัมมัฏฐาน ซึ่งท่านทั้งหลายจะรู้กันในนามของการปฏิบัติสมาธินั่นแหละ
กัมมัฎฐาน แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ สมถกัมมัฏฐาน ๑.(อุบายทำให้ใจสงบ) ,วิปัสสนากัมมัฏฐาน๑.(อุบายเรื่องปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญา)
อุบายทำให้ใจสงบ(สมถะกัมมัฏฐาน) ได้แก่ "กสิณ ๑๐ ,อสุภะ๑๐,อนุสติ ๑๐ ,พรหมวิหาร๔, อรูป๔,อาหารเรปฏฺิกูลสัญญา๑,จตุธาตุววัตถาน ๑,อรูป๔ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญา ได้แก่ "กสิณ ๑๐ ,อสุภะ๑๐,อนุสติ ๑๐ ,พรหมวิหาร๔, อรูป๔,อาหารเรปฏฺิกูลสัญญา๑,จตุธาตุววัตถาน ๑,อรูป๔ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)

กัมมัฏฐาน ทั้ง ๔๐ กอง สามารถใช้เป็นเครื่องมือทำ อุบายให้ใจสงบก็ได้,หรือจะเป็นเครื่องมือทำ อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญาก็ได้เช่นกัน
และยังมีหมวดธรรมะ เช่น โพธิปักขิยธรรม อันหมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ประการคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘(พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
เพื่อบุคคลที่ต้องการจะศึกษา หรือปฏิบัติธรรมให้สู่จุดสูงสุดในทางพุทธศาสนา คือ นิพพาน อย่างนี้เป็นต้น
ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวอธิบายไปทั้งหมดข้างต้น ดูเหมือนจะเป็นการยากที่จะเล่าเรียนหรือปฏิบัติได้หมด ท่านทั้งหลาย ก็ลองอ่านบทความเรื่อง "ไตรลักษณ์ ทางลัดของผู้ที่ไม่ต้องการคิดมาก" ก็จะปฏิบัติได้ง่ายขึ้น ขอรับ

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๗ มีนาคม ๒๕๕๕
ผู้เขียน

ดิฉันเรียนท่านตามตรงเลยนะค่ะว่า อ่านถึงแค่พละ๕ ดิฉันก็หยุดอ่านเพราะท่านไม่ได้เอาความรู้และภาคปฏิบัติจริงมาชี้แนะดิฉัน แต่ท่านไปก๊อปเอาของผู้อื่นมาแล้วเอามาเป็นแนวทางให้ดิฉันแล้วดิฉันจะเชื่อได้อย่างไรว่าตัวท่านเองเข้าใจในพระธรรมจริงแล้วที่สำคัญไปกว่านั้นคำพูดของท่านทีส่อเสียดผู้อื่นทำให้ดิฉันเองหมดความเชื่อถือในตัวท่านไปโดยปริยาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 15:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:

เรียนคุนกรัชกายค่ะตอนแรกที่ดิฉันอ่านก้มีความคิดเอียนเอนกับคุนกรัชกายเช่นกันค่ะ แต่เพื่อความเป็นกลางดิฉันเลยไปอ่านที่คุนโฮเขียนอีกรอบและก็เข้าใจแจ่มแจ้งคุนคัดเอาถ้อยคำบางส่วนมา..ทั้งที่ประโยคเต็มๆมันคือเรื่องศัพท์แสงมันไม่สำคัญเท่ากับหลักการปฏิบัติหรอกครับ
ศัพท์ใครจะตีความหมายไปทางไหนก็ได้ แต่หลักการปฏิบัติจะต้อง
ตรงกับที่พระพุทธเจ้าสอน



จากความคิดเห็นส่วนตัวดิฉันว่าคุนโฮคงไม่ได้มีเจตนาซ่อนยาพิษอะไรที่คุนกรัชกล่าวหรอกมั้งค่ะ และดิฉันอยากจะบอกว่าดิฉันไม่ได้ออกตัวปกป้องคุนโฮแต่ดิฉันพูดในสิ่งที่มีมูลและเป็นความจริงดิฉันกับคุนโฮก็เคยมีเหตุผลไม่ลงรอยกันแต่พูดไปก็คือจบไม่ได้เก็บมาอคติเคียดแค้นต่อกัน:b1:


อ้างคำพูด:
เรื่องศัพท์แสงมันไม่สำคัญเท่ากับหลักการปฏิบัติหรอกครับ
ศัพท์ใครจะตีความหมายไปทางไหนก็ได้ แต่หลักการปฏิบัติจะต้อง
ตรงกับที่พระพุทธเจ้าสอน


ก็ในเมื่อตั้งโจทก์ผิด ผลลัพธ์ได้เท่าไหร่ยังไงผิดหมด กล่าวคือถ้าเข้าใจคำศัพท์ทางธรรมคำบาลีผิดไปจากของเดิมเขาแล้วเนี่ยมันผิดหมดครับนำไปปฏิบัติก็ผิดครับ คุณ nong ...

ที่ตัดมาแล้ว...ไว้ก็เพื่อให้เห็นว่าโฮฮับไม่ให้ความสำคัญศัพท์ธรรมคำบาลี ยกศัพท์นี้ไปพูดโยงศัพท์โน้นโยงให้เข้ากับความเห็นของตน ใช้ไม่ได้

รอแป๊บกำลังพิมพ์ความหมายของศัพท์นั้นๆอยู่ ใจเย็นๆอย่าดิ้นเลยครับเหนื่อยเปล่าๆ บอกตรงๆเห็นจนเบื่อแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 15:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยกตัวอย่างง่ายๆสั้นๆช่วงนี้

ที่โฮฮับเข้าใจศัพท์กรรมฐานผิดแล้วพูดโยงให้เข้ากับความเห็นของตน

อ้างคำพูด:
โปรดสังเกตุผมบอกการเจริญสติ คือการมีสมาธิที่ตั้งมั่นในงานนะครับ
ไม่ใช่การนั่งกรรมฐาน


...ไม่ใช่การ "นั่งกรรมฐาน" จะให้คนอ่านเข้าใจยังไง พอท้วงก็แถอย่างที่เห็น ถึงเร้าให้บอกความหมายกรรมฐานเป็นต้น...จึงรู้โฮฮับเข้าใจคำว่า กรรมฐาน เป็นต้นผิด ไม่ตรงกับความหมายดั้งเดิมของเขา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 153 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร