ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

กิเลส กับตัณหา ต่างกันอย่างไร
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=41370
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  สุรวุฒิ [ 03 มี.ค. 2012, 23:58 ]
หัวข้อกระทู้:  กิเลส กับตัณหา ต่างกันอย่างไร

เรียนถามท่านผู้รู้ คำว่ากิเลส กับคำว่าตัณหา สองคำนี้ต่างกันอย่างไรและเกี่ยวโยงกันอย่างไรครับผม อีกอย่างคำว่าราคะ จัดอยู่ในคำใหนครับ พบเห็นส่วนมากพูดรวมๆกันไป

เจ้าของ:  student [ 04 มี.ค. 2012, 01:51 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กิเลส กับตัณหา ต่างกันอย่างไร

สุรวุฒิ เขียน:
เรียนถามท่านผู้รู้ คำว่ากิเลส กับคำว่าตัณหา สองคำนี้ต่างกันอย่างไรและเกี่ยวโยงกันอย่างไรครับผม อีกอย่างคำว่าราคะ จัดอยู่ในคำใหนครับ พบเห็นส่วนมากพูดรวมๆกันไป


จัดในหมวดปฏิจจสมุปบาทครับ กิเลสคือ ปฏิจจสมุปบาทสายเกิดครับ มีอวิชชาเป็นต้นกำเนิด ส่วน ตัญหา คือ ความติดใจใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และ อารมณ์

เกี่ยวข้องกันโดยตรงครับ เพราะในปฏิจจสมุปบาทสายดับ หากดับตัญหาลง กิเลสก็จะดับไปด้วยครับ ถ้าสายเกิดตัญหามีเชื้อก็จะเป็นเหตุของอุปาทานครับ

เจ้าของ:  govit2552 [ 04 มี.ค. 2012, 06:52 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กิเลส กับตัณหา ต่างกันอย่างไร

จาก ขันธ์5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

กิเลสทั้งปวง จัดอยู่ใน สังขารขันธ์ ครับ

ตัณหา ราคะ เหล่านี้ ล้วนเป็นกิเลส เป็นองค์ธรรม ในสังขารขันธ์ ครับ

ในสังขารขันธ์ มีทั้ง กุศล และอกุศล

คือในสังขารขันธ์ มีทั้งที่เป็นกิเลส และไม่ใช่กิเลสครับ

หรือกล่าว ได้ว่า ในสังขารขันธ์ มีทั้งส่วนที่ดีๆ และส่วนที่ไม่ดี

ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ อุปบัติ
หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ข้อนี้ไม่เป็น
ฐานะที่จะมีได้.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0

เจ้าของ:  govit2552 [ 04 มี.ค. 2012, 07:03 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กิเลส กับตัณหา ต่างกันอย่างไร

Quote Tipitaka:
[๒๕๙] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ
วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ
อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริโอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา
จิตตหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา
กายุชุกตา จิตตุชุกต สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรม
ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้
ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

[๙๑] สังขารขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ
อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ
จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา
กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา
ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 1%B9%B8%EC


เป็นการกล่าวถึง สังขารขันธ์ อันเป็นฝ่ายกุศล ลองนับดูครับ .......50 องค์ธรรม

เวลา แจกแจง สังขารขันธ์ อันเป็นฝ่ายอกุศล อโลภะ ก็น่าจะ เป็น โลภะ
อโทสะ ก็ เป็น โทสะ
อโมหะ ก็เป็น โมหะ

แล้ว ตัณหา อยู่ที่ไหน ตัณหา จัดอยู่ใน โลภะ อีกทีครับ

นั่นคือ คำว่า โลภะ กินความหมายรวม ถึงตัณหา ถึงราคะ

เจ้าของ:  govit2552 [ 04 มี.ค. 2012, 07:06 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กิเลส กับตัณหา ต่างกันอย่างไร

[๖๙๑] อกุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน?
โลภะ โทสะ โมหะ.
บรรดาอกุศลเหตุ ๓ นั้น โลภะ เป็นไฉน?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความเพลิดเพลิน
ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสยบ
ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป
ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอัน
ร้อยรัด ธรรมชาติอันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือน
เส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง ปณิธาน
ธรรมชาติผู้นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย
ความห่วงใย ความผูกพัน การหวัง กิริยาที่หวัง ความหวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง
ความหวังกลิ่น ความหวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความ
หวังบุตร ความหวังชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบยิ่ง
การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ความกระซิบ การละโมบ กิริยาที่ละโมบ ความละโมบ
ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ความใคร่ในอารมณ์ดีๆ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความ
โลภเกินขนาด ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ
[คือราคะที่สหรคต ด้วยอุจเฉททิฏฐิ] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง
เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุมีอย่าง
ต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดน
แห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร
อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า โลภะ.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

เจ้าของ:  วิริยะ [ 04 มี.ค. 2012, 15:20 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กิเลส กับตัณหา ต่างกันอย่างไร

สุรวุฒิ เขียน:
กิเลส กับตัณหา ต่างกันอย่างไร

ถ้าจะเปรียบกิเลสกับตัณหาเหมือนต้นไม้
ราก คือ กิเลส
ลำต้น กิ่ง ก้าน คือ ตัณหา

ราคะ จัดอยู่ใน โมหะ

:b12:

เจ้าของ:  govit2552 [ 04 มี.ค. 2012, 15:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กิเลส กับตัณหา ต่างกันอย่างไร

อ้างคำพูด:
เมื่อว่าตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เรื่องกิเลส ๓ กอง หรือไฟ ๓ กอง ซึ่งใครๆ ก็พอเคยได้ยินได้ฟัง ตามสำนวนไทยๆ ก็คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ...ส่วนตามหลักคำสอน มี ๒ นัย คือ

นัยแรก... โลภะ โทสะ โมหะ

นัยหลัง... ราคะ โทสะ โมหะ

ทั้งสองนี้ ก็คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ตามสำนวนไทยๆ นี้เอง...แต่มีปัญหาว่า ทำไม จึงเป็น ราคะ บ้าง โลภะ บ้าง...

เรื่องนี้ เฉลยได้ว่า นัยแรก นั้น พระพุทธเจ้าตรัสสอนคฤหัสถ์คือชาวบ้าน ว่าไฟกองแรก คือ โลภะ เป็นความอยากได้ ซึ่งอยากได้โน้นได้นี้ ตามที่รู้ๆ กันอยู่...

ส่วน นัยหลัง นั้น พระพุทธเจ้าตรัสสอนบรรพชิตคือนักบวช ว่า ไฟกองแรก คือ ราคะ นั่นคือ ความกำหนดยินดีในอารมณ์ อาจมิใช่อยากได้โน้นได้นี้ตามประสาชาวบ้าน แต่ก็จัดเป็นความอยากเหมือนกัน..

ดังนั้น ราคะ และ โลภะ เป็นความอยากได้เหมือนกัน เป็นกิเลสตัวเดียวกัน แต่ปริมาณไม่เท่ากัน ทำนองนี้...


http://www.gotoknow.org/blogs/posts/77244

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 04 มี.ค. 2012, 23:47 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กิเลส กับตัณหา ต่างกันอย่างไร

สุรวุฒิ เขียน:
เรียนถามท่านผู้รู้ คำว่ากิเลส กับคำว่าตัณหา สองคำนี้ต่างกันอย่างไรและเกี่ยวโยงกันอย่างไรครับผม อีกอย่างคำว่าราคะ จัดอยู่ในคำใหนครับ พบเห็นส่วนมากพูดรวมๆกันไป

ตัณหา เป็นพฤติกรรมของจิต ที่มีความทะยานอยาก ด้วยอำนาจความติดใจยินดีความเพลิน (ซึ่งทะยานอยากออกไปรับอารมณ์ เสพอารมณ์)
ส่วนกิเลส คือการจำแนกความเศร้าหมองของจิตที่เกิดขึ้น จากความทะยานอยาก ของจิตด้วยอำนาจความติดใจยิน ความเพลินนั้น ...ให้เราได้รู้จักได้พิจารณา....จะเรียกอีกชื่อที่มีความหมายคล้ายกันคืออาสวะก็ยังได้

เจริญธรรม

เจ้าของ:  world2/2554 [ 05 มี.ค. 2012, 13:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กิเลส กับตัณหา ต่างกันอย่างไร

สุรวุฒิ เขียน:
เรียนถามท่านผู้รู้ คำว่ากิเลส กับคำว่าตัณหา สองคำนี้ต่างกันอย่างไรและเกี่ยวโยงกันอย่างไรครับผม อีกอย่างคำว่าราคะ จัดอยู่ในคำใหนครับ พบเห็นส่วนมากพูดรวมๆกันไป

กิเลสก็หมายความว่า อารมณ์เครื่องเศร้าหมอง อารมณ์ใดก็ตามครอบงำจิตให้เศร้าหมอง อารมณ์นั้น คือ กิเลส ตัณหา คือ ความอยาก อยากแล้วเห็นชัด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง คือชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้าง ก้เศร้าหมองเช่นกันแหละ ... ราคะ คือความกำหนัด กำหนัดแล้วก้หลง หลงแล้ว เป็นสุขบ้าง เป็นทุกบ้างนั่นแหละ .... ที่กล่าวมานี้ กิเลสทั้งนั้น

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 06 มี.ค. 2012, 20:01 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กิเลส กับตัณหา ต่างกันอย่างไร

สุรวุฒิ เขียน:
เรียนถามท่านผู้รู้ คำว่ากิเลส กับคำว่าตัณหา สองคำนี้ต่างกันอย่างไรและเกี่ยวโยงกันอย่างไรครับผม อีกอย่างคำว่าราคะ จัดอยู่ในคำใหนครับ พบเห็นส่วนมากพูดรวมๆกันไป


กิเลส หมายถึง สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง, ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์

ตัณหา หมายถึง ความทะยานอยาก, ความดิ้นรน, ความปรารถนา, ความเสน่หา มี ๓ คือ ๑.กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม อยากได้อารมณ์อันน่ารักใคร่ ๒.ภวตัณหา ความทะยากอยากในภพ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ ๓.วิภวตัณหา ความทะยานอยากในวิภพ อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากพรากพ้นดับสูญไปเสีย (จากพจนนุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก)

สรุป แล้ว ทั้ง กิเลส ทั้ง ตัณหา ก็คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
พอมี ตัณหา แล้วไม่ได้ตามตัณหา ก็เกิดสิ่งที่เรียกว่า กิเลส ว่างั้นเถอะ ที่กล่าวไปนี้ หมายเอาตามหนังสือที่เขียนนะขอรับ พอมี กิเลส ตัณหา ก็เกิดขึ้น ว่างั้นเถอะ ขอรับ

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 07 มี.ค. 2012, 03:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กิเลส กับตัณหา ต่างกันอย่างไร

เห็นท่านผู้รู้ตอบ แสดงความเห็นแล้ว ต้องพูดว่า ไม่ได้ไปไหนเลย แต่ละท่านมา
นั่งแปลบัญญัติกันอยู่ได้ ทำไมไม่อธิบายความให้จขกทเข้าใจให้มากกว่านี้
จะบอกให้ครับ ถ้าจขกทเขาอยากรู้คำศัพท์ผมว่าแกคงเปิด เว็บพจนานุกรมหาเองก็ได้


เข้าเรื่องครับ ที่ว่า "ตัณหาแตกต่างกับกิเลสตรงไหน" ผมเห็นท่านผู้รู้แต่ละคน
บอกอย่างโน้นบอกอย่างนี้แล้วมันน่าชวนหัวครับ

ตัณหามันจะไปแตกต่างจากกิเลสอย่างไร ไอ้ตัวตัณหามันก็เป็นกิเลสอย่างหนึ่ง
มันเป็นกิเลสที่มาจากความยึดมั่นถือมั่นของภพชาติที่แล้ว มันเป็นกระบวนการปฏิจจสมุบาท
เรื่องตัณหาท่านแสดงไว้ให้รู้ว่า อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดวัฏสงสารไม่สิ้นสุด
ตัณหาในปฏิจจสมุบาท มันเป็นกิเลสทั้งรวมความถึงกุศลและอกุศล ตัณหาที่หมายถึง
ความอยาก มันมีนัยไปถึงอยากเป็นคนดีด้วย นี่ก็เป็นกิเลส

สรุปก็คือ ตัณหาเป็นอนุสัยกิเลสที่ตามติดมาจากภพชาติที่แล้ว
ส่วนกิเลสที่เป็นสังขารขันธ์ เป็นกิเลสที่เกิดในภพชาติปัจจุบัน

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 07 มี.ค. 2012, 14:01 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กิเลส กับตัณหา ต่างกันอย่างไร

โฮฮับ เขียน:
เห็นท่านผู้รู้ตอบ แสดงความเห็นแล้ว ต้องพูดว่า ไม่ได้ไปไหนเลย แต่ละท่านมา
นั่งแปลบัญญัติกันอยู่ได้ ทำไมไม่อธิบายความให้จขกทเข้าใจให้มากกว่านี้
จะบอกให้ครับ ถ้าจขกทเขาอยากรู้คำศัพท์ผมว่าแกคงเปิด เว็บพจนานุกรมหาเองก็ได้


เข้าเรื่องครับ ที่ว่า "ตัณหาแตกต่างกับกิเลสตรงไหน" ผมเห็นท่านผู้รู้แต่ละคน
บอกอย่างโน้นบอกอย่างนี้แล้วมันน่าชวนหัวครับ

ตัณหามันจะไปแตกต่างจากกิเลสอย่างไร ไอ้ตัวตัณหามันก็เป็นกิเลสอย่างหนึ่ง
มันเป็นกิเลสที่มาจากความยึดมั่นถือมั่นของภพชาติที่แล้ว มันเป็นกระบวนการปฏิจจสมุบาท
เรื่องตัณหาท่านแสดงไว้ให้รู้ว่า อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดวัฏสงสารไม่สิ้นสุด
ตัณหาในปฏิจจสมุบาท มันเป็นกิเลสทั้งรวมความถึงกุศลและอกุศล ตัณหาที่หมายถึง
ความอยาก มันมีนัยไปถึงอยากเป็นคนดีด้วย นี่ก็เป็นกิเลส

สรุปก็คือ ตัณหาเป็นอนุสัยกิเลสที่ตามติดมาจากภพชาติที่แล้ว
ส่วนกิเลสที่เป็นสังขารขันธ์ เป็นกิเลสที่เกิดในภพชาติปัจจุบัน
:b9: :b9: :b19: :b19:

ความเห็นของ โฮฮับ และ โฮฮับแสดงความเห็น แตกต่างกันไหม?

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 08 มี.ค. 2012, 00:27 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กิเลส กับตัณหา ต่างกันอย่างไร

เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เห็นท่านผู้รู้ตอบ แสดงความเห็นแล้ว ต้องพูดว่า ไม่ได้ไปไหนเลย แต่ละท่านมา
นั่งแปลบัญญัติกันอยู่ได้ ทำไมไม่อธิบายความให้จขกทเข้าใจให้มากกว่านี้
จะบอกให้ครับ ถ้าจขกทเขาอยากรู้คำศัพท์ผมว่าแกคงเปิด เว็บพจนานุกรมหาเองก็ได้


เข้าเรื่องครับ ที่ว่า "ตัณหาแตกต่างกับกิเลสตรงไหน" ผมเห็นท่านผู้รู้แต่ละคน
บอกอย่างโน้นบอกอย่างนี้แล้วมันน่าชวนหัวครับ

ตัณหามันจะไปแตกต่างจากกิเลสอย่างไร ไอ้ตัวตัณหามันก็เป็นกิเลสอย่างหนึ่ง
มันเป็นกิเลสที่มาจากความยึดมั่นถือมั่นของภพชาติที่แล้ว มันเป็นกระบวนการปฏิจจสมุบาท
เรื่องตัณหาท่านแสดงไว้ให้รู้ว่า อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดวัฏสงสารไม่สิ้นสุด
ตัณหาในปฏิจจสมุบาท มันเป็นกิเลสทั้งรวมความถึงกุศลและอกุศล ตัณหาที่หมายถึง
ความอยาก มันมีนัยไปถึงอยากเป็นคนดีด้วย นี่ก็เป็นกิเลส

สรุปก็คือ ตัณหาเป็นอนุสัยกิเลสที่ตามติดมาจากภพชาติที่แล้ว
ส่วนกิเลสที่เป็นสังขารขันธ์ เป็นกิเลสที่เกิดในภพชาติปัจจุบัน
:b9: :b9: :b19: :b19:

ความเห็นของ โฮฮับ และ โฮฮับแสดงความเห็น แตกต่างกันไหม?

เอาอีกแล้วเล่นคำตีสำนวนอีกแล้ว ฟันธงลงไปเลยซิครับท่านผู้รู้
แล้วที่พูดมาเนี่ยเอามาจากตำราเล่มไหน จะได้คุยได้ถูก ไม่ใช่เอะอะไปต่อไม่ได้
ก็บอกว่าเราคุยตำราคนละเล่ม ตลกไร้เดียงสาดีครับ :b13:

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 08 มี.ค. 2012, 01:19 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กิเลส กับตัณหา ต่างกันอย่างไร

เช่นนั้น เขียน:
ตัณหา เป็นพฤติกรรมของจิต ที่มีความทะยานอยาก ด้วยอำนาจความติดใจยินดีความเพลิน (ซึ่งทะยานอยากออกไปรับอารมณ์ เสพอารมณ์

คุณเช่นนั้นครับ ที่ว่าตัณหา ขึ้นกับอำนาจความติดใจยินดีความเพลิน

ถ้าในปฏิจจสมุบาทในส่วนของเวทนาของผมเป็น ทุกข์เวทนา
จิตยังมีความติดใจยินดีตวามเพลินมั้ยครับ :b13:
เช่นนั้น เขียน:
ส่วนกิเลส คือการจำแนกความเศร้าหมองของจิตที่เกิดขึ้น จากความทะยานอยาก ของจิตด้วยอำนาจความติดใจยิน ความเพลินนั้น ...ให้เราได้รู้จักได้พิจารณา....จะเรียกอีกชื่อที่มีความหมายคล้ายกันคืออาสวะก็ยังได้

ตอบแบบนี้เขาเรียกว่า ครอบจักวาล ถูกบ้างผิดบ้างฉันไม่รู้ ขอแค่มีส่วนร่วม

ความหมายของกิเลสที่แท้จริงคือ ธรรมที่มัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์
และตัวกิเลสที่พระพุทธเจ้าทรงสอนก็คือ สังโยชน์10



การจำแนกความเศร้าหมองที่คุณบอกนั้นน่ะ
ความเศร้าหมองที่คุณบอกมันเป็นทุกข์เข้าใจมั้ย :b13:

เจ้าของ:  ปฤษฎี [ 08 มี.ค. 2012, 10:03 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กิเลส กับตัณหา ต่างกันอย่างไร

Quote Tipitaka:
[๖๙๑] อกุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน?
โลภะ โทสะ โมหะ.
บรรดาอกุศลเหตุ ๓ นั้น โลภะ เป็นไฉน?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความเพลิดเพลิน
ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสยบ
ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป
ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอัน
ร้อยรัด ธรรมชาติอันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือน
เส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง ปณิธาน
ธรรมชาติผู้นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย
ความห่วงใย ความผูกพัน การหวัง กิริยาที่หวัง ความหวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง
ความหวังกลิ่น ความหวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความ
หวังบุตร ความหวังชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบยิ่ง
การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ความกระซิบ การละโมบ กิริยาที่ละโมบ ความละโมบ
ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ความใคร่ในอารมณ์ดีๆ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความ
โลภเกินขนาด ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ
[คือราคะที่สหรคต ด้วยอุจเฉททิฏฐิ] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง
เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุมีอย่าง
ต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดน
แห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร
อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า โลภะ.


โลภะนี่กินความหมายกว้างครับ
ราคะ คือ ความกำหนัด ความติดใจ ก็เป็นโลภะ
ตัณหา อันยังให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยนันทิราคะคือความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ก็เป็นโลภะ
สรุป เป็นกิเลสทั้งนั้นครับ เพราะ เป็นธรรมชาติที่ทำให้จิตเศร้าหมอง เป็นดั่งธุลี

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/