วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 72 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติธรรม แบบง่าย
การปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เริ่มปฏิบัติธรรมใหม่ๆ หรือจะเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรมมานาน ก็ตามที ล้วนต้องมีปัจจัยหรือเครื่องมืออันเป็น มรรค หรือ หนทางชนิดหนึ่ง ซึ่งจะนำทางให้แก่บุคคลเหล่านั้นไปถึงจุดหมาย นั่นก็คือ
๑.สมาธิ
๒.สติ
๓.สัทธา(ศรัทธา)
๔.วิริยะ
๕.ปัญญา
ทั้ง ๕ ข้อ ก็คือ พละ ๕ นั่นเอง
เมื่อบุคคลมีมรรค หรือมีปัจจัย ครบถ้วนแล้ว ก็จะบังเกิดผล คือข้อปฏิบัติที่ควรศึกษา หรือ ไตรสิกขา ศีล,สมาธิ,ปัญญา
การปฏิบัติธรรมนั้น ในทางที่เป็นจริงแล้ว จะปฏิบัติตามข้อธรรมะใดใดหรือธรรมะในหมวดใดใดก็ได้ทั้งนั้น หรือจะถือตาม ไตรสิกขาก็ได้ เพราะในไตรสิกขาข้อ ศีล นั้น แท้จริงแล้ว เป็น ผลและเหตุที่ทำให้เกิดธรรมะหรือเกิดจากธรรมะ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล ศีล เป็นผลและเหตุ จากธรรมะหลายหมวดหลายข้อ เช่น "พรหมวิหาร๔","สัปปุริสธรรม",อิทธิบาท ๔" และอื่นๆอีกมากมาย
ศาสนาต่างๆ ล้วนมีข้อปฏิบัติ และข้อห้าม เหมือนกันทุกศาสนา เพราะข้อปฏิบัติ และข้อห้ามทั้งหลายเหล่านั้น จะสร้างสภาพสภาวะจิตใจ ที่เรียกว่า อดทน,ซื่อตรง,กตัญญู,กตเวที,ความละอาย,เกรงกลัวต่อบาป, ฯลฯ
และในศาสนาต่างๆ ก็จะมีหลักธรรม หรือ หลักความจริงที่มีอยู่ในจิตใจมนุษย์
พุทธศาสนา มีหลักธรรมมากมาย มีวิธีการปฏิบัติ วิธีการฝึก วิธีการคิดพิจารณา อย่างครบถ้วน ละเอียด ตั้งแต่ภายในไปจนถึงภายนอก
ดังนั้น การปฏิบัติธรรม ในทาง พุทธศาสนา จึงมักถูกบิดเบือน ไปตามความรู้ ความเข้าใจของบุคคลที่ได้เล่าเรียน ได้จดจำ ได้ศึกษา จากตำราต่างๆ
การปฏิบัติธรรม ในแต่ละบุคคลตามการครองเรือน หรือตามบทบาทหน้าที่ของแต่กลุ่มบุคคล จึงแตกต่างกันไป เช่น
ฆราวาส จะถือศีล ปฏิบัติตามข้อศีลก็ได้ หรือจะ ปฏิบัติตามหลักธรรมข้อใดข้อหนึ่ง หมวดใดหมวดหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวก ความง่าย เวลา และสมองสติปัญญา
เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านได้ศึกษาสิ่งที่ข้าพเจ้าได้เขียนไปแล้วข้างต้น คงพอจะอนุมานได้ว่า การปฏิบัติธรรม นั้น ไม่จำเป็นต้องผูกติดกับหลักการมากนัก แต่ก็ต้องยึดถือหลักการเอาไว้บ้าง เพราะหลักการปฏิบัติธรรมนั้น มีเพียงรูปแบบเดียว หรือวิธีเดียวที่ถูกต้อง เช่น
การฝึกกัมมัฏฐาน ซึ่งท่านทั้งหลายจะรู้กันในนามของการปฏิบัติสมาธินั่นแหละ
กัมมัฎฐาน แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ สมถกัมมัฏฐาน ๑.(อุบายทำให้ใจสงบ) ,วิปัสสนากัมมัฏฐาน๑.(อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญา)
อุบายทำให้ใจสงบ(สมถะกัมมัฏฐาน) ได้แก่ "กสิณ ๑๐ ,อสุภะ๑๐,อนุสติ ๑๐ ,พรหมวิหาร๔, อรูป๔,อาหารเรปฏฺิกูลสัญญา๑,จตุธาตุววัตถาน ๑,อรูป๔ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญา ได้แก่ "กสิณ ๑๐ ,อสุภะ๑๐,อนุสติ ๑๐ ,พรหมวิหาร๔, อรูป๔,อาหารเรปฏฺิกูลสัญญา๑,จตุธาตุววัตถาน ๑,อรูป๔ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)

กัมมัฏฐาน ทั้ง ๔๐ กอง สามารถใช้เป็นเครื่องมือทำ อุบายให้ใจสงบก็ได้,หรือจะเป็นเครื่องมือทำ อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญาก็ได้เช่นกัน
และยังมีหมวดธรรมะ เช่น โพธิปักขิยธรรม อันหมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ประการคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘(พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
เพื่อบุคคลที่ต้องการจะศึกษา หรือปฏิบัติธรรมให้สู่จุดสูงสุดในทางพุทธศาสนา คือ นิพพาน อย่างนี้เป็นต้น
ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวอธิบายไปทั้งหมดข้างต้น ดูเหมือนจะเป็นการยากที่จะเล่าเรียนหรือปฏิบัติได้หมด ท่านทั้งหลาย ก็ลองอ่านบทความเรื่อง "ไตรลักษณ์ ทางลัดของผู้ที่ไม่ต้องการคิดมาก" ก็จะปฏิบัติได้ง่ายขึ้น ขอรับ

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๗ มีนาคม ๒๕๕๕
ผู้เขียน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


"ไตรลักษณ์ ทางลัดของผู้ที่ไม่ต้องการคิดมาก"
สวัสดี สหายทางธรรมทั้งหลาย บทความนี้ ข้าพเจ้าจะแนะนำให้ จะอธิบายให้ท่านทั้งหลายได้เกิดความรู้ความเข้าใจ สำหรับบุคคลทั่วไป ทั้งที่สมองสติปัญญาดี ขยันหมั่นเพียร หรือสำหรับผู้ที่มีสมองสติปัญญาปานกลาง ขยันหมั่นเพียรบ้างแต่ไม่มากนัก รวมไปถึง ผู้ที่มีสมองสติปัญญาทึบ ขยันหมั่นเพียรน้อยสุดสุด และยังมีบุคคลอีกสามประเภท คือ "บุคคลผู้มีสมองสติปัญญาดี แต่ไม่ค่อยขยันหมั่นเพียรเลย และ ผู้มีสมองสติปัญญาปานกลาง แต่ขยันหมั่นเพียรมาก ส่วนประเภทที่สาม คือ บุคคลที่มีสมองสติปัญญาทึบ แต่มีความขยันหมั่นเพียรและมีความพยายามมาก"
อันหลักธรรมในทางพุทธศาสนานั้น มีมากมายหลายหมวด หลายข้อ จำกันแทบไม่หวาดไม่ไหว ถ้าอ่านได้ไปอ่านในพระไตรปิฎกด้วยแล้ว บางคนก็ออกอาการ งง ไม่เข้าใจ หรือบางคนก็เข้าใจตามที่พระไตรปิฎกเขียนไว้ หรือบางคนก็เกิดความเข้าใจที่บิดเบือนไปจากหลักความจริง ดังนั้น จึงได้เกิดมีธรรมโดยย่อ คือย่อเพื่อให้ผู้ที่นำไปคิดพิจารณาได้ง่ายขึ้น
ธรรมเหล่านั้นก็คือ "ไตรลักษณ์"
ไตรลักษณ์ คือ สามัญญลักษณะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ธรรมนิยาม"คือเป็นของแน่นอนเป็นกฎธรรมดา ไม่มีผู้ใดหลีกพ้น
ไตรลักษณ์ เป็น วิธีการคิดพิจารณา สติปัฏฐาน ๔ อย่างย่อ เป็นการลดหรือละหรือเลิก การยึดมั่นถือมั่นหรืออุปาทานทั้งหลายทั้งปวง แห่ง กาย,เวทน,จิต,ธรรม, ซึ่งยังมีรายละเอียดแจกแจงใน อุปาทานทั้งหลายเหล่านั้นอีกตามสมควร(ในที่นี้จะไม่แจกแจง ให้ท่านทั้งหลายไปอ่านหรือศึกษาในพระไตรปิฏก จะได้ผลดีกว่า)
ไตรลักษณ์ เป็นเหตุแห่งทุกข์ใช่หรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ใช่ แต่เป็นเพียงการกำหนด หรือ ย่อความ จากข้อความใหญ่หรือข้อความที่ยาว ให้เหลือสั้นลง และเกิดความรู้ความเข้าใจได้ง่ายขึ้น (ขยายความจากพจนานุกรมไทย ฉบับบัณฑิตยสถานฯ)
ไตรลักษณ์ สามารถทำให้ผู้ที่อ่านและเกิดความรู้ความเข้าใจหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ในระดับหนึ่ง ไปจนถึงระดับอริยะขั้นต้น
ไตรลักษณ์ หมายถึง ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง ได้แก่ ๑.อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ๒.ทุกขตา ความเป็นทุกข์หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้ ๓.อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตัวตนแสดงความตามบาลีดังนี้ ๑.สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ๒.สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ๓.สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัวตน; ลักษณะเหล่านี้มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์, ลักษณะเหล่านี้เป็นของแน่นอน เป็นกฎธรรมดา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ประยุตฺโต)
ยังมีอีกหลายๆท่าน ที่มีความเข้าใจไปในทางที่ผิดๆเกี่ยวกับ ไตรลักษณ์ ท่านทั้งหลายต้องทำความเข้าใจและต้องจดจำบันทึกเอาไว้ว่า การพิจารณาหรือท่องจำในไตรลักษณ์อยู่เป็นนิจนั้น จักทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจใน พฤติกรรม การกระทำ ทั้งทาง กาย วาจา ใจ ของบุคคลรอบข้าง รวมไปถึง สภาพแวดล้อมต่างๆที่อยู่รอบตัว จักทำให้ไม่ยึดติด หรือไม่หลงติดจนเกินควร ไม่โลภ โกรธ หลง จนเกินที่เกินเหตุ เท่ากับว่า "ไตรลักษณ์"เป็นหลักธรรมย่อที่สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดธรรมะต่างๆในสภาพสภาวะจิตใจได้
๑.สัพเพสังขารา อนิจจา สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง คำว่า "สังขาร"ในไตรลักษณ์ หมายถึง "๑.สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด, ตรงกับคำว่า สังขตะหรือสังขตธรรม ได้ในคำว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น ๒.สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล และที่กลาง ๆ เป็นอัพยากฤต ได้แก่เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวง เว้นเวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว, ตรงกับสังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น; อธิบายอีกปริยายหนึ่ง สังขารตามความหมายนี้ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือ เจตนาที่แต่งกรรมหรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่างคือ ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา ๓.จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา ๓.สภาพที่ปรุงแต่งชีวิตมี ๓ คือ ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร ๓.จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา" (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตโต)
ดังนั้น คำว่า สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง คือ ไม่คงที่ มีหมุนวนสับเปลี่ยน มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อยู่เสมอ จะหมุนวนสับเปลี่ยน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เร็ว หรือ ช้า ก็แล้วแต่ เหตุและปัจจัย ซึ่งตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ล้วนเป็นผลแห่งการพิจารณาชั้นสุดท้าย แห่ง สติปัฏฐาน ๔
๒.สัพเพ สังขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ คำว่า "ทุกข์" ในไตรลักษณ์ หมายถึง เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์คือ ๑.ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ๒.ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ๓.เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ ๔.แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ประยุตฺโต) นั่นก็หมายถึง สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่คงที่แล้ว ยังเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ เกิดทุกข์ เพราะ เราคิด เกิดขึ้นเพราะสังขารทั้งหลาย ดังนี้
๓.สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัวตน คำว่า "ธรรม" ในไตรลักษณ์ หมายถึง สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น
คำว่า "อนัตตา" ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน ได้แก่ ๑) เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ ๒) เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง ๓) ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ ๔) เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ ๕) โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ประยุตฺโต)
ดังนั้น "ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มิใช่ตัวตน" หมายถึง ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นเพียงการปรุงแต่งทางความคิด เป็นเพียงความจำ เป็นเพียงความว่างเปล่าคืออากาศธาตุ ไม่มีตัวตน
เมื่อท่านทั้งหลายได้พิจารณาในหลักไตรลักษณ์ ก็ย่อมทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจตามหลัก "สติปัฏฐาน๔" ไม่ยึดมั่นถือมั่นใน อุปาทาน ทั้งหลายตามหลักพุทธศาสนา โดยอัตโนมัติ และยังสามารถทำให้ท่านทั้งหลายดำรงชีวิตอยู่ในสังคมใดใดได้อย่างปกติสุข ตามอัตภาพ หรือสามารถมุ่งสู่จุดสูงสุดในทางพุทธศาสนา คือ นิพพาน ได้ในไม่ช้า
ท่านทั้งหลายอาจสงสัยว่า ทำไมข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า หากท่านทั้งหลายได้คิดได้พิจารณาในหลักไตรลักษณ์แล้ว จะสามารถท่านทั้งหลายดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ หลักสำคัญของ ไตรลักษณ์ เพียงเพื่อให้ผู้เรียนรู้ ได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ความเป็นกฎธรรมดา ความเป็นของแน่นอน หรือ ความเป็นธรรมชาติ ของ สังขารทั้งหลายทั้งปวง ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง ธรรมทั้งหลายทั้งปวง อันเป็นผลโดยย่อ หรือเป็นข้อพิจารณาโดยย่อ แห่ง สติปัฏฐาน ๔ ฉะนี้

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๒ มีนาคม ๒๕๕๕
ผู้เขียน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 13:38
โพสต์: 376

ชื่อเล่น: ต้น
อายุ: 0
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแสดงความคิดเสริมท่านศรีอริยะ

ที่ว่า มรรคๆๆกันนั้น มันอย่างไร มรรคแปลว่าหนทาง แล้วหนทางของใคร

ทุกๆคนก็มีมรรคเป็นของตนเอง จนบางท่านถึงกับเถียงกันว่าของฉันถูก ของคนอื่นผิด เช่น เรื่องตาบอดคลำช้าง

[๑๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้แล มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ครั้งนั้นแล พระราชาพระองค์นั้นตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ นี่แน่ะเธอ คนตาบอดในพระนครสาวัตถีมีประมาณเท่าใด ท่านจงบอกให้คนตาบอดเหล่านั้นทั้งหมดมาประชุมร่วมกัน บุรุษนั้นทูลรับพระราชดำรัสแล้ว พาคนตาบอดในพระนครสาวัตถีทั้งหมดเข้าไปเฝ้าพระราชาถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบบังคมทูลพระราชาพระองค์นั้นว่า ขอเดชะ พวกคนตาบอดในพระนครสาวัตถีมาประชุมกันแล้ว พระพุทธเจ้าข้า พระราชาพระองค์นั้นตรัสว่า แนะพนาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงแสดงช้างแก่พวกคนตาบอดเถิด บุรุษนั้นทูลรับพระราชดำรัสแล้วแสดงช้างแก่พวกคนตาบอด คือ แสดงศีรษะช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้ แสดงหูช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้ แสดงงาช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้ แสดงงวงช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้ แสดงตัวช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่งว่าช้างเป็นเช่นนี้ แสดงเท้าช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้ แสดงหลังช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้ แสดงโคนหางช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้ แสดงปลายหางช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล บุรุษนั้น ครั้นแสดงช้างแก่พวกคนตาบอดแล้ว เข้าไปเฝ้าพระราชาพระองค์นั้นถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า
ขอเดชะ คนตาบอดเหล่านั้นเห็นช้างแล้วแล บัดนี้ ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงทรงสำคัญเวลาอันควรเถิด พระเจ้าข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล พระราชาพระองค์นั้นเสด็จเข้าไปถึงที่คนตาบอดเหล่านั้น ครั้นแล้วได้ตรัสถามว่า ดูกร คนตาบอดทั้งหลาย พวกท่านได้เห็นช้างแล้วหรือ คนตาบอดเหล่านั้น กราบทูลว่าขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้เห็นแล้ว พระเจ้าข้า ฯ
รา. ดูกรคนตาบอดทั้งหลาย ท่านทั้งหลายกล่าวว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้เห็นช้างแล้ว ดังนี้ ช้างเป็นเช่นไร ฯ
คนตาบอดพวกที่ได้ลูบคลำศีรษะช้าง ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือนหม้อ พระเจ้าข้า คนตาบอดพวกที่ได้ลูบคลำหูช้างได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือนกะด้ง พระเจ้าข้า คนตาบอดพวกที่ได้ลูบคลำงาช้างได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ช้างเป็นเช่นนี้คือ เหมือนผาล พระเจ้าข้า คนตาบอดพวกที่ได้ลูบคลำงวงช้างได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือนงอนไถ พระเจ้าข้า คนตาบอดพวกที่ได้ลูบคลำตัวช้างได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือนฉางข้าว พระเจ้าข้า คนตาบอดพวกที่ได้ลูบคลำเท้าช้างได้กราบทูลอย่างนี้ว่าขอเดชะ ช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือนเสา พระเจ้าข้า คนตาบอดพวกที่ได้ลูบคลำหลังช้างได้กราบทูลว่าอย่างนี้ ขอเดชะ ช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือนครกตำข้าวพระเจ้าข้า คนตาบอดพวกที่ได้ลูบคลำโคนหางช้างได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือนสาก พระเจ้าข้า คนตาบอดพวกที่ได้ลูบคลำปลายหางช้าง ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือนไม้กวาดพระเจ้าข้า คนตาบอดเหล่านั้นได้ทุ่มเถียงกันและกันว่า ช้างเป็นเช่นนี้ ช้างไม่ใช่
เป็นเช่นนี้ ช้างไม่ใช่เป็นเช่นนี้ ช้างเป็นเช่นนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พระราชาพระองค์นั้นได้ทรงมีพระทัยชื่นชมเพราะเหตุนั้นแล ....ฯลฯ
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 22:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 13:38
โพสต์: 376

ชื่อเล่น: ต้น
อายุ: 0
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


เดี๋ยวผมจะแสดงธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรับรองไว้ว่าไม่ผิด ๓ ข้อ

อปัณณกสูตร

[๔๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด และชื่อว่าเธอปรารภปัญญาเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลายธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ๑ เป็นผู้ประกอบความเพียร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้วไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ถือเอาโดยนิมิต โดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ฉันอาหารไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อจะมัวเมา ไม่ใช่เพื่อจะประดับ ไม่ใช่เพื่อจะประเทืองผิว เพียงเพื่อกายนี้ตั้งอยู่ เพื่อจะให้กายนี้เป็นไปเพื่อจะกำจัดความเบียดเบียนลำบาก เพื่อจะอนุเคราะห์พรหมจรรย์ด้วยคิดเห็นว่าเราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความที่กายจักเป็นไปได้นาน ความเป็นผู้ไม่มีโทษและความอยู่สำราญจักเกิดมีแก่เรา ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดินจงกรมด้วยการนั่งตลอดยามต้นแห่งราตรี ตลอดยามกลางแห่งราตรี ย่อมสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำความหมายในอันจะลุกขึ้นไว้ในใจ ย่อมลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปัจฉิมยาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรอย่างนี้แล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลย่อมชื่อว่าเป็น
ผู้ปฏิบัติไม่ผิด และชื่อว่าเธอปรารภปัญญาเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ฯ

http://84000.org/tipitaka/read/?20/455/142


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2012, 02:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
การปฏิบัติธรรม แบบง่าย
การปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เริ่มปฏิบัติธรรมใหม่ๆ หรือจะเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรมมานาน ก็ตามที ล้วนต้องมีปัจจัยหรือเครื่องมืออันเป็น มรรค หรือ หนทางชนิดหนึ่ง ซึ่งจะนำทางให้แก่บุคคลเหล่านั้นไปถึงจุดหมาย นั่นก็คือ
๑.สมาธิ๒.สติ๓.สัทธา(ศรัทธา)๔.วิริยะ๕.ปัญญา
ทั้ง ๕ ข้อ ก็คือ พละ ๕ นั่นเอง

การปฏิบัติธรรมแบบง่ายๆที่จ่าบอก มันไม่ได้หมายความว่า นึกจะพูดอะไรก็พูดไปเรื่อยเปื่อย
ไม่สนใจว่าสิ่งที่พูดหรือธรรมที่มาแสดง มันจะตรงกับที่พระพุทธเจ้าสอนหรือไม่

คำว่า"จุดหมายปลายทาง" แปลความก็คือสิ่งที่บุคคลต้องการทำให้สำเร็จในสิ่งที่ตั้งใจ
และการกระทำให้สำเร็จผล การกระทำนั้นเขาเรียกว่าการงานครับ

ธรรมที่ใช่ประกอบในการทำงานเป็นธรรมที่เรียกว่า อิทธิบาทสี่

จ่าไม่รู้หรอกหรือว่า ธรรมที่จ่าเอามาบอกชาวบ้าน มันคลาดเคลื่อน
เอ๊ะ! ไม่ใช่ซิฟันธงเลยดีกว่า "จ่าธรรมที่จ่าเอามาอวด มันผิดใช้ไม่ได้ครับ"

มันผิดทั้งขึ้นทั้งล่อง ตอนขึ้นผิดให้ดูจากข้างบน ตอนล่องผิดให้ดูจากตรงนี้ครับ

จ่ารู้มั้ยว่า พละห้ามันเป็นธรรมที่ใช้ประกอบ อินทรีย์ห้า
จ่าเอาพละห้ามากล่าวลอยๆได้ไง พละมันแปลว่ากำลัง กำลังมันต้องมีประธาน
หรือเจ้าของ ยกตัวอย่างคนเป็นประธาน คนมีกำลัง ถ้าไม่มีคนก็ย่อมไม่มีกำลัง
ดังนั้นอินทรีย์ห้าก็เปรียบเหมือนเจ้าของกำลังหรือพละห้า ถ้าไม่มีอินทรีย์ห้า
พละห้าก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เข้าใจมั้ยล่ะจ่าเทวฤทธิ์ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2012, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"การปฏิบัติธรรมแบบง่าย"

คือ ทำบุญทั่วๆไป เอาเห็นๆ เช่น สร้างสะพาน สร้างศาลา เลี้ยงเด็กอนาถา เลี้ยงอาหารคนแก่ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สร้างห้องน้ำวัด-โรงเรียน ปิดทองฝังลูกนิมิต ไหว้พระ ๙ วัด ปล่อยนก ปล่อยปลา ปล่อยเต่า ปล่อยปลาไหล เวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันมาฆบูชา เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2012, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณผู้ใช้ชื่อว่า tonnk กล่าวเสริมได้ดีมากๆ เพราะข้าพเจ้าเอง ไม่ค่อยจะมีความรู้เกี่ยวกับพระไตรปิฏกมากนัก พออ่านทีไร ก็เกิดอาการ เวียนหัว คลื่นใส้ เกือบทุกครั้ง (เรื่องจริงนะขอรับ) พอคุณมาเสริม ถ้าบุคคลใดที่มีสมองสติปัญญา เพียงปานกลางไม่ต้องกับดีเลิศ ได้คิดได้พิจารณาโดยรอบ ก็จะเกิดความเข้าใจได้ว่า
คำว่า "มรรค" หรือหนทางนั้น ไม่ได้มีเพียง แค่ มรรค มันมี องค์ ๘ แต่เพียงอย่างเดียว เพราะในชีวิตจริงของมนุษย์มีบทบาทหน้าที่ต่างๆมากมาย "มรรค"หรือหนทาง ในการดำเนินชีวิตนั้น ก็จะเป็นไปตามบทบาทหน้าที่นั้นๆ ในทางพุทธศาสนา จึงเกิดมีคำ คำหนึ่งว่า "สำเร็จ มรรค ผล สู่ นิพพาน" ดังนั้น "คำว่า มรรค จึงคู่กับ ผล" ซึ่งในแต่ละหลักธรรมหรือหลักธรรมแต่ละข้อ หรือหลักธรรมในแต่ละหมวด ย่อมมี มรรค และ ผล เสมอ

ธรรมะทุกหมวด ทุกข้อ ล้วนใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่ว่า ธรรมะข้อนั้น จะต้องใช้กับอันนั้นอันนี้ คิดอย่างนั้น คือคิดอย่างผู้ที่ใช้ชื่อ "โฮฮับ" นั้น เป็นความคิดของคนประเภทปัญญาต่ำ แต่ชอบอวดฉลาด (ขออภัยนะขอรับ นี้เป็นการกล่าวอย่างครงไปตรงมา ไม่ใช่การด่า หรือกล่าวส่อเสียด)

พละ ๕ เป็นเพียง หนทาง หรือ มรรค อย่างหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องไปอ้างว่าต้องมีประธาน มีโน่นมีนี่ เพราะบริบทของภาษาบ่งชี้ชัดเจนอยู่แล้ว สามารถคิดพิจารณาได้อยู่แล้วว่า การจะเกิดมี " สมาธิ,สติ,สัทธา,วิริย,ปัญญา "ได้ ก็ต้องร่างกายครบถ้วน หายใจได้ จะพิการหรือปกติ ก็มีพละ ได้ตามแต่สภาพสภาวะของจิตใจและร่างกาย มันเป็นเรื่องธรรมดา

ส่วนเจ้าเด็กน้อย กรัชกาย เริ่มเป็นผู้ใหญ่ขึ้นแล้ว ถึงแม้ว่าเจ้าจะคิดเพียงด้านเดียว และสิ่งที่เจ้าคิดเจ้าเขียนมานั้น เขาเรียกว่า "ทาน"คือการให้ ก็ถือว่าใช้ได้ดีทีเดียว
แต่การปฏิบัติธรรม แบบง่าย ที่ข้าพเจ้า กล่าวถึง ข้าพเจ้าได้อธิบายอย่างชัดเจนอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องใช้สมองสติปํญญาคิดพิจารณา จึงจะเกิด ความรู้ ความเข้าใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2012, 20:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




006.jpg
006.jpg [ 46.24 KiB | เปิดดู 4597 ครั้ง ]
sriariya เขียน:

ส่วนเจ้าเด็กน้อย กรัชกาย เริ่มเป็นผู้ใหญ่ขึ้นแล้ว ถึงแม้ว่าเจ้าจะคิดเพียงด้านเดียว และสิ่งที่เจ้าคิดเจ้าเขียนมานั้น เขาเรียกว่า "ทาน"คือการให้ ก็ถือว่าใช้ได้ดีทีเดียว

แต่การปฏิบัติธรรม แบบง่าย ที่ข้าพเจ้า กล่าวถึง ข้าพเจ้าได้อธิบายอย่างชัดเจนอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องใช้สมองสติปํญญาคิดพิจารณา จึงจะเกิด ความรู้ ความเข้าใจ



หากนำวิธีทำบุญแบบดังกล่าว น่าจะถกเถียงกันน้อยลง เพราะมองเห็นได้สัมผัสได้ ไม่ต้องใช้จินตนาการมากมายเหมือนนำศัพท์ธรรมคำบาลีมาพูด เช่น คำว่า จิต เจตสิก คือ สติ ปัญญา สมาธิ สมถะ วิปัสสนา เจตนา มนสิการ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นนามธรรมมองไม่เห็น เราได้แต่คาดเดาเอาทั้งสิ้น พูดถึงก้อนเมฆบนท้องฟ้าแล้วคิดวาดภาพว่าเป็นวิมาน เป็นภูเขา เป็นครุฑ เป็นนก เป็นหนู ฯลฯ ยังง่ายกว่า

อย่างตักบาตรพระประจำวันนั่นก็ง่ายมองเห็นอยู่ หรือจะปิดทองรอยพระบาทก็ดี ตอนนี้เขาคิชฌกูฏมีงานประจำปิปิดทองรอยพระบาท

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2012, 03:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
ธรรมะทุกหมวด ทุกข้อ ล้วนใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่ว่า ธรรมะข้อนั้น จะต้องใช้กับอันนั้นอันนี้ คิดอย่างนั้น คือคิดอย่างผู้ที่ใช้ชื่อ "โฮฮับ" นั้น เป็นความคิดของคนประเภทปัญญาต่ำ แต่ชอบอวดฉลาด (ขออภัยนะขอรับ นี้เป็นการกล่าวอย่างครงไปตรงมา ไม่ใช่การด่า หรือกล่าวส่อเสียด)

เอ! จ่านี่ยังไงเสียแล้ว ไอ้ที่จ่าชอบด่าชาวบ้านผมว่า มันไม่ใช่ความเคยชินเสียแล้ว
สงสัยน้ำทำไมท่วม สันดอนปากอ่าวก็ขุดแล้ว มันต้องมีอะไรสักอย่างที่ขุดไม่ได้
มันไปขวางทางน้ำเป็นแน่ :b13:
sriariya เขียน:
พละ ๕ เป็นเพียง หนทาง หรือ มรรค อย่างหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องไปอ้างว่าต้องมีประธาน มีโน่นมีนี่ เพราะบริบทของภาษาบ่งชี้ชัดเจนอยู่แล้ว สามารถคิดพิจารณาได้อยู่แล้วว่า การจะเกิดมี " สมาธิ,สติ,สัทธา,วิริย,ปัญญา "ได้ ก็ต้องร่างกายครบถ้วน หายใจได้ จะพิการหรือปกติ ก็มีพละ ได้ตามแต่สภาพสภาวะของจิตใจและร่างกาย มันเป็นเรื่องธรรมดา

จ่าถามหน่อย ถ้าผมไม่เข้ามาแย้ง จ่าจะพูดประโยคที่ผมอ้างอิงมั้ย
อย่างไหนผิด ก็ยอมรับและแก้ไขซะทำไมต้องออกมา
เฉไฉด่าทอ ถ้าอายุยังน้อยเขาเรียกเด็กดื้อ แต่อย่างจ่าต้องเรียก ตาเฒ่าหัวรั้นมั้งครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2012, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




13311868351331195730l.jpg
13311868351331195730l.jpg [ 17.15 KiB | เปิดดู 4570 ครั้ง ]
เบื้องต้นมนุษย์ควรใช้วัตถุที่มองเห็นได้ดังว่านั่นเป็นที่ยึดที่เกาะก่อน จะเรียกว่าทาน (การให้) ก็ว่าไป เพราะเห็นสัมผัสได้ด้วยตาเนื้อ จิตใจก็มีหลักเกาะ ไม่ล่องลอยเคว้งคว้างตุรัดตุเหร่ จับอะไรไม่ติดคิดฟุ้งซ่านจินตนาการเหมือนเก่าก่อน
หรือจะเพ่งก้อนเมฆนั่นก็ได้วาดภาพสิว่าเป็นอะไร :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2012, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
คำว่า "อนัตตา" ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน ได้แก่ ๑) เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ ๒) เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง ๓) ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ ๔) เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ ๕) โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ประยุตฺโต)
ดังนั้น "ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มิใช่ตัวตน" หมายถึง ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นเพียงการปรุงแต่งทางความคิด เป็นเพียงความจำ เป็นเพียงความว่างเปล่าคืออากาศธาตุ ไม่มีตัวตน



................ผิด ก็ตรงอักษรสีแดง ข้อที่4 นี่แหละครับ.....................



การแปลคำว่า อนัตตานั้น ใช้ได้ทั้งคำว่า ไม่มีอัตตา, ไม่มีตัวตน, มิใช่อัตตา, มิใช่ตัวตน เพราะ
สามารถแปลเข้ากันได้กับพระพุทธพจน์ที่ว่า "สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา, สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา, สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา - สังขาร (ขันธ์ 5) ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นสิ่งไม่เที่ยง,สังขาร (ขันธ์ 5) ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นตัวทุกข์, สรรพสิ่งทุกสิ่งทุกอย่าง (ขันธ์ 5, นิพพาน, บัญญัติ) มันไม่ใช่ตัวตน"ดังนี้.

ซึ่งในพระคัมภีร์ต่างๆ เช่น อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 8 และ อภิธัมมาวตาร บัญญัตินิทเทส เป็นต้น ท่านได้ระบุไว้ว่า ไม่มีอะไรพ้นไปจาก ขันธ์ 5, นิพพาน, บัญญัติ ดังนั้นขันธ์ 5 จังไม่ใช่ตัวตน เพราะตัวตนไม่มีอยู่ในที่ใดๆเลย.

สามารถแปลเข้ากันได้กับสักกายทิฏฐิ 4 หรือ 20 ดังที่ทรงตรัสไว้ทั้ง 4 อย่าง คือ
ความเข้าใจผิดว่า ขันธ์ 5 เป็นตัวตนเราเขา,
ความเข้าใจผิดว่า ตัวตนเราเขามีขันธ์ 5 อยู่,
ความเข้าใจผิดว่า มีขันธ์ 5 อยู่ในตัวตนเราเขา,
ความเข้าใจผิดว่า มีตัวตนเราเขาในขันธ์ 5[1]
ในทิฏฐิวิสุทธินิทเทส คัมภีร์วิสุทธิมรรค ก็กล่าวปฏิเสธิอัตตาให้ไม่มีอยู่ในที่ใดๆโดยประการทั้งปวง.
ฉะนั้น พึงทราบว่า สามารถแปลได้ทั้งคำว่า อนัตตตา แปลว่า ไม่มีอัตตา , ไม่มีตัวตน , มิใช่อัตตา, และ มิใช่ตัวตน ดังอธิบายมานี้.
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD% ... 5%E0%B8%B2

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2012, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
nongkong เขียน:
ดิฉันเรียนท่านตามตรงเลยนะค่ะว่า อ่านถึงแค่พละ๕ ดิฉันก็หยุดอ่านเพราะท่านไม่ได้เอาความรู้และภาคปฏิบัติจริงมาชี้แนะดิฉัน แต่ท่านไปก๊อปเอาของผู้อื่นมาแล้วเอามาเป็นแนวทางให้ดิฉันแล้วดิฉันจะเชื่อได้อย่างไรว่าตัวท่านเองเข้าใจในพระธรรมจริงแล้วที่สำคัญไปกว่านั้นคำพูดของท่านทีส่อเสียดผู้อื่นทำให้ดิฉันเองหมดความเชื่อถือในตัวท่านไปโดยปริยาย

อนิจจา...ความคิดความเข้าใจของคน
ข้าพเจ้าไปคัดลอกมาจาก พระไตรปิฎก หรือจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ มันก็เป็นหลักธรรมคำสอนของพระสมณโคดม และเป็นหลักความจริง หลักธรรมชาติ คุณคิดว่า พละ ๕ ไม่มีในตัวบุคคลอย่างนั้นหรือ คุณคิดผิด เพราะคุณหลงผิด คุณจะเชื่อถือในตัวข้าพเจ้าหรือไม่ก็ไม่สำคัญ มันสำคัญอยู่ตรงที่ว่า คุณอ่านแล้ว คุณไม่ได้ใช้สมองสติปัญญาคิดพิจารณาใตร่ตรอง ให้เป็นไปตามหลักความจริงในตัวคุณ
คุณคิดว่าข้าพเจ้าส่อเสียดผู้อื่น แล้วสิ่งที่คุณเขียนมา เป็นการส่อเสียดผู้อื่นหรือไม่ หัดใช้สมองอันน้อยนิดคิดพิจารณาดูให้ดี
คุณจำไว้อย่างหนึ่งนะ "คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล" ถ้าคิดได้ ก็เกิดปัญญา ถ้าหลงผิด เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ก็แล้วแต่ตัวคุณ ความคิดของคุณ สมองสติปัญญาของคุณ ข้าพเจ้าห้ามไม่ได้ดอกขอรับ

เรียนจ่าเทวฤทธิ์ ผู้เป็นจขกท ทราบ เนื่องด้วยผมเห็นจ่าไปยกเอาข้อความในกระทู้
ที่ผมได้ไปแสดงความเห็นไว้ จ่าย้ายเอามากระทู้นี้ ผมก็ขอถือโอกาสแสดงความเห็น
โดยอ้างอิงจากกระทู้ก่อนหน้าของจ่าครับ ที่สำคัญผมต้องออกมาปกป้องน้องคิงคองเขาครับ
เพราะเห็นว่า เขาพึ่งปฏิบัติใหม่ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2012, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
อนิจจา...ความคิดความเข้าใจของคน
ข้าพเจ้าไปคัดลอกมาจาก พระไตรปิฎก หรือจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ มันก็เป็นหลักธรรมคำสอนของพระสมณโคดม และเป็นหลักความจริง หลักธรรมชาติ

จ่าครับผมว่าจ่าเริ่มเป๋ไปเป๋มาแล้วนะครับ จะบอกให้ครับว่า จ่าเป๋ตรงไหน
จ่าบอกว่า ขอความที่จ่าโพสเอามาจากพระไตรปิฎก มันใช่หรือครับ จ่าแค่ไปลอกเอา
คำศัพท์ของหลวงพ่อปยุตมา แล้วก็ละเลงความคิดตัวเองลงไป แบบนี้เรียกว่า
ลอกมาจากพระไตรปิฎกหรือครับ อ้างพระพุทธองค์ อ้างหลวงพ่อปยุต แบบไม่ละอายใจ

จะบอกให้ครับคุณจ่ากำลังทำให้หลวงพ่อปยุตท่านเสื่อมเสียนะครับ
เดี๋ยวคนอื่นไม่รู้คิดว่าบทความบทนี้เป็นของท่าน

sriariya เขียน:
คุณคิดว่า พละ ๕ ไม่มีในตัวบุคคลอย่างนั้นหรือ คุณคิดผิด เพราะคุณหลงผิด คุณจะเชื่อถือในตัวข้าพเจ้าหรือไม่ก็ไม่สำคัญ มันสำคัญอยู่ตรงที่ว่า คุณอ่านแล้ว คุณไม่ได้ใช้สมองสติปัญญาคิดพิจารณาใตร่ตรอง ให้เป็นไปตามหลักความจริงในตัวคุณ

ไม่มีใครคิดผิดหรอกครับ มันมีแต่จ่าครับที่คิดผิด มิหน่ำซ้ำทำให้เสียไปถึงครูบาอาจารย์
หยิบบัญญัติคำแปลของท่านมาใช้ผิดที่ผิดทาง

อย่างเช่น การสู่จุดมุ่งหมาย จะต้องใช้หลักธรรมอิทธิบาทสี่
และต้องประกอบด้วย อินทรีย์ห้า แต่คุณจ่าไม่รู้เหนือรู้ใต้บอกว่า
เราจะถึงจุดหมายได้ด้วยพละห้า แบบนี้แหล่ะครับที่เรียกว่า ไม่ได้ใช้สมองสติปัญญา
คุณจ่าอย่าไปว่าคนอื่นเลยครับ มันเข้าตัวเองครับ

sriariya เขียน:

คุณคิดว่าข้าพเจ้าส่อเสียดผู้อื่น แล้วสิ่งที่คุณเขียนมา เป็นการส่อเสียดผู้อื่นหรือไม่ หัดใช้สมองอันน้อยนิดคิดพิจารณาดูให้ดี

จ่าไม่ได้ส่อเสียดผู้ผู้อื่นหรอกครับ แต่จ่ากำลังใช้โทสะบ่งการคำพูดอยู่
วาจาของจ่าแต่ละคำผู้ชายฟังแล้วต้องบอกว่า "กล้าถอดเครื่องแบบมั้ย" :b13:
sriariya เขียน:

คุณจำไว้อย่างหนึ่งนะ "คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล" ถ้าคิดได้ ก็เกิดปัญญา ถ้าหลงผิด เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ก็แล้วแต่ตัวคุณ ความคิดของคุณ สมองสติปัญญาของคุณ ข้าพเจ้าห้ามไม่ได้ดอกขอรับ

ที่แน่ๆ คุณคิงคองแกไม่ได้คบผมครับ ที่แกเข้ามาแสดงความเห็น
เพราะแกไม่เห็นด้วยกับคุณจ่า และที่สำคัญคุณคิงคองก็ไม่ได้คุยเรื่องนี้
กับผมเลยสักแอะ จะว่าแกมาคบผมไม่ได้นะครับ

ก็เห็นแกคุยกับจ่านั้นแหล่ะครับ แต่ลักษณะการคุยเหมือนแกจะรู้ครับว่า
คนพาลเป็นยังไง กงจักเป็นอย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2012, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ถ้าจะให้ผมบอกศัพท์แต่ละตัว ตามความเข้าใจของผม ก็ได้ครับ
แต่ไม่ใช่บอกไปแล้ว เอาคำที่ผมอธิบาย ไปเทียบกับคนอื่นแล้วว่าผมมั่วนะครับ

ขอบคุณจากใจ ที่บอกศัพท์ทางศาสนาที่ตนนำมาพูดโยงไปโยงมาคือนำศัพท์นี้ๆไปผูกโยงเข้ากับศัพท์โน่นๆ เป็นความเข้าใจพุทธศาสนาเฉพาะตัวโฮฮับเองก็ว่าไป สมกับที่กล่าวก่อนหน้าว่า
อ้างคำพูด:
“เรื่องศัพท์แสงมันไม่สำคัญ...ใครจะตีความหมายไปทางไหนก็ได้”


คราวนี้ไม่ว่ามั่วแล้วครับ ไม่รู้จะว่าไง ยังนึกไม่ออกเกินคำบรรยายครับ เท่าที่นึกได้ตอนนี้ก็ว่า “น่ากลัว” ครับ อันตราย เพราะซ่อนยาพิษไว้

ขอเวลาทำใจหน่อย แล้วกรัชกายจะว่าความหมายของศัพท์คือตามความหมายดั้งเดิมของเค้า หมายใจว่าพุทธศาสนิกชนจะได้นำไปเทียบเคียงเองตามสติกำลังของตนๆ

คุณกัดกายครับผมสู้อุตสาห์ ออกตัวไว้แต่แรกว่าอย่างไร สงสัยเป็นอัลไซเมอร์
แล้วไอ้นิสัยเจ้าเล่ห์เมื่อไรจะเลิกซักทีครับ สงสัยไม่เข้าใจที่อธิบายความไว้ก่อนแสดงความเห็น
นี่ก็อีกแล้ว ตัดใจความสำคัญออกซะงั้น เชื่อเขาเลย

ผมแค่เข้ามาแสดงความเห็นนะครับ ไม่ได้มาสอนธรรมใคร
ถึงจะได้มียาพิษ ถ้าผมไปตั้งสำนักหรือเปิดเว็บไซด์เป็นของตัวเองก็ว่าไปอย่าง

อยากคุยธรรมกับผมยาวๆ ผมก็ไม่รังเกียจครับ
แต่ยังไงก็ตั้งสติหน่อยก็แล้วกันครับ โลภ โกรธหลงเก็บใส่ลิ้นชักไว้ก่อนก็ดีนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2012, 15:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ความหมายหรือคำแปลคำว่า กรรมฐาน เป็นต้น ตามความหมายดั้งเดิมของเขา
-กรรมฐาน (หมายถึง) แปลว่า ที่ทำงานของจิต หรือที่ให้จิตทำงาน
-วิปัสสนา (หมยถึง) แปลว่า การเห็นแจ้งนามรูป (หรือชีวิตหรือกายใจนี้)
-สมถะ (หมายถึง) แปลวา ความสงบ

-สภาวะ (เรียกเต็มว่าสภาวธรรม) (หมายถึง) แปลว่า ความเป็นเอง สิ่งที่มันเป็นของมันเอง คือ มันเป็นของมันเองตามเหตุปัจจัย (ไม่มีผู้สร้างผู้บันดาล)

ตอบแบบนี้ชาวบ้านเขาจะเข้าใจมั้ย

กรัชกาย เขียน:

-อารมณ์ (หมายถึง) แปลว่า สิ่งอันเป็นที่สำหรับจิตมาหน่วงอยู่ หรือ สิ่งสำหรับยึดหน่วงของจิต แปลง่ายๆว่า สิ่งที่ถูกรับรู้ หรือสิ่งที่ถูกรู้นั่นเอง

(อารมณ์ มี 6 คือ รูปารมณ์ สัทธารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และธรรมารมณ์)

แน่ใจหรือว่า ที่บอกมาเป็นอารมณ์ ที่บอกมานั้นน่ะ เขาอธิบายที่มาของอารมณ์
เวลาเกิดผัสสะขึ้นที่อายตนะใด มันหยุดแค่ตรงผัสสะหรือครับ กระบวนการขันธ์ห้า
มันมีอะไรบ้างรู้หรือเปล่า มันต้องดูการปรุงแต่งตัวสุดท้าย ที่คุณบอกมานั้นน่ะ
เขาจะบอกว่าอารมณ์ที่เกิดนั้น มาจากเหตุปัจจัยอะไร

คุณกัดกายครับ การศึกษาพระธรรม ไม่ใช่สักแต่ว่าอ่านคำแปลแต่อย่างเดียว
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พิจารณาถึงเหตุที่มาด้วย แบบนี้ถึงเรียกการพิจารณาธรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 72 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร