ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

เรื่องของจิตและใจ
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=41487
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  สุรวุฒิ [ 11 มี.ค. 2012, 12:43 ]
หัวข้อกระทู้:  เรื่องของจิตและใจ

เรียนขอทั้งความเห็นและความรู้ เรื่องคำว่า"จิต" และคำว่า"ใจ"ครับ
ผมเข้าใจว่าคำว่า"ใจ" ไม่มีในคำสอนของพระพุทธเจ้า "ใจ"เป็นกาษาชาวบ้าน มีความหมายสองอย่างคือ หนึ่ง ความหมายแบบเดียวกับจิต เช่นที่เราพูดว่า "ตามใจ" "ใจสกปรก" สอง "ใจ"ที่มีความหมายแบบ mental self คือบุคลิกภาพ เช่น "น้อยเป็นคนใจดี"
ส่วนคำว่า"จิต" หมายถึงตัวรู้ ซึ่งรวม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน ทั้งสี่ขันธ์
อย่างนี้ถูกมั๊ยครับ?

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 11 มี.ค. 2012, 22:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องของจิตและใจ

สุรวุฒิ เขียน:
เรียนขอทั้งความเห็นและความรู้ เรื่องคำว่า"จิต" และคำว่า"ใจ"ครับ
ผมเข้าใจว่าคำว่า"ใจ" ไม่มีในคำสอนของพระพุทธเจ้า "ใจ"เป็นกาษาชาวบ้าน มีความหมายสองอย่างคือ หนึ่ง ความหมายแบบเดียวกับจิต เช่นที่เราพูดว่า "ตามใจ" "ใจสกปรก" สอง "ใจ"ที่มีความหมายแบบ mental self คือบุคลิกภาพ เช่น "น้อยเป็นคนใจดี"
ส่วนคำว่า"จิต" หมายถึงตัวรู้ ซึ่งรวม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน ทั้งสี่ขันธ์
อย่างนี้ถูกมั๊ยครับ?


สวัสดี คุณสุรวุฒิ...
ธรรมธาตุที่บริสุทธิ์ ประการหนึ่ง อันไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง คือวิญญาณธาตุ ธาตุรู้ ซึ่งเป็นอสังขตธาตุประการหนึ่ง ภาษาชาวบ้านปัจจุบันก็เรียกว่า "จิต" (เป็นธาตุรู้)
V
สภาวะธรรม ประการหนึ่งอันเป็นอาการของ วิญญาณธาตุ ซึ่งเป็นสังขตธรรมประการหนึ่ง คือวิญญาณ ภาษาชาวบ้านปัจจุบันก็เรียกว่า "จิต" หรือ "ใจ" (เป็นสภาวะธรรม ที่รู้อารมณ์)
V
สภาวะธรรมหลายๆประการ ประกอบเข้ากับสภาวะธรรมหนึ่ง เป็นอาการของวิญญาณธาตุ โดยรวม เป็นสังขตภาวะ คือ "นาม" ภาษาชาวบ้านปัจจุบัน เรียกว่า นโม หรือ ใจ คือความน้อมออกไปของวิญญาณธาตุ
ใน "นาม" นั้น ก็แยกเป็นส่วนย่อยๆ ให้ศึกษา คือ เป็น เวทนา สัญญา สังขาร ประกอบเข้าด้วยกับ วิญญาณ ก็เป็น ขันธ์ 4 ขันธ์
V
เมื่อกายกับจิต ประกอบกัน การแสดงออกของกายกับจิตก็สัมพันธ์กัน
คนจิตใจดี นั้นเกิดจากการสั่งสม ทำบ่อยๆของจิตจนเป็นความเคยชินเป็นอุปนิสสัย เป็นวาสนา จนแสดงออกมาได้ว่าเป็นคนใจดี
คนใจสกปรก ก็เช่นกันเกิดจากการสั่งสมทำบ่อยๆของจิตจนเป็นความเคยชินเป็นอุปนิสสัย เป็นวาสนา เช่นกัน จนแสดงออกมาว่าเป็นคนใจสกปรก

เจริญธรรม

เจ้าของ:  ปฤษฎี [ 12 มี.ค. 2012, 05:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องของจิตและใจ

มนะ ในภาษาไทยก็เรียกว่า ใจ เป็นการแปลศัพท์เท่านั้นครับ

จิตเป็นสังขตธาตุ
จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นดวงหนึ่งดับไป ในกลางวัน และกลางคืน ปุถุชนที่ไม่ได้สดับย่อมไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัดหลุดพ้นในจิตนั้นได้เลย เพราะได้ยึดถือซึ่งจิต ด้วยตัณหา และทิฏฐิ ว่าเป็นเรา ของเรา เป็นอัตตาของเรา มาเป็นเวลาช้านาน

ธรรมที่เป็นจิต
ได้แก่ จักขุวิญญาณ
โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ
กายวิญญาณ
มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ
ธรรมเหล่านี้เป็นจิต

อสังขตธาตุนั้นเป็นธรรมที่ไม่เป็นจิต


ส่วน เวทนา สัญญา สังขาร เป็นเจตสิกธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่เกิดร่วมกับจิต ประกอบกับจิต

เจ้าของ:  ไม่เที่ยง เกิดดับ [ 13 มี.ค. 2012, 11:53 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องของจิตและใจ

จิต หรือ ใจ คือสิ่งเดียวกัน
จิตใจ

จิต คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
นรก สวรรค์ ก็อยู่ในจิตนี่แหละ ไม่มีจิตก็ไม่มีนรกสวรรค์

เจ้าของ:  govit2552 [ 14 มี.ค. 2012, 07:35 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องของจิตและใจ

[๙๖] จิต มนะ มานัส หทัย ธรรมชาติขาวผ่อง อายตนะคือใจ อินทรีย์คือใจ
วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ชื่อว่า ใจ ในอุเทศว่า "มนสานาวิโล สิยา".
จิต เป็นธรรมชาติขุ่นมัว ยุ่งไป เป็นไป สืบต่อ หวั่นไหว หนุนไป ไม่สงบ เพราะกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ
มายา สาเฐยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ จิต เป็นธรรมชาติขุ่นมัว
ยุ่งไป เป็นไป สืบต่อไป หวั่นไหว หนุนไป ไม่สงบ เพราะกิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง
ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง.
คำว่า พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว ความว่า พึงเป็นผู้ไม่ขุ่นมัว คือ ไม่ยุ่งไป ไม่เป็นไป
ไม่สืบต่อไป ไม่หวั่นไหว ไม่หนุนไป สงบแล้วด้วยจิต คือ พึงละ สละ บรรเทา กระทำให้มี
ในที่สุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งกิเลสทั้งหลายอันทำความขุ่นมัว พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออกไป
สลัด สงบ ระงับ หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับกิเลสทั้งหลายอันทำความขุ่นมัว พึงเป็นผู้มีใจปราศจาก
เขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัวอยู่.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =170&Z=643

[๓๑๙] ชื่อว่า ใจ ในคำว่า คิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ ความว่า ใจ คือ จิต ใจ
มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณ
ธาตุที่เกิดแต่ผัสสะเป็นต้นนั้น. ท่านคิดนึกถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยจิตว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่
เที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า คิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 568&Z=4022

[๖๓๐] .........ฯลฯ....... จิต ใจ มนัส หทัย จิตขาว มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุอันเกิดแต่วิญญาณขันธ์ ปรารภถึงพระผู้มีพระภาค ชื่อว่า มโน.

[๖๓๘] จิต ใจ มนัส หทัย จิตขาว มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันเกิดแต่วิญญาณขันธ์นั้น ชื่อว่า มนะ ในอุเทศว่า มโน หิ
เม พฺราหฺมณ เตน ยุตฺโต ดังนี้.
คำว่า ท่านพราหมณ์ ... ประกอบแล้วด้วยทิศาภาคที่ประทับนั้น ความว่า ใจของ
อาตมาประกอบ ประกอบดีแล้วด้วยทิศที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ท่านพราหมณ์ ใจของอาตมานี่แหละประกอบแล้วด้วยทิศาภาคที่ประทับนั้น. เพราะเหตุนั้น พระ-
*ปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า
กายของอาตมาผู้แก่แล้ว มีเรี่ยวแรงทุรพล ย่อมไม่ได้ไปใน
สำนักที่พระพุทธเจ้าประทับนั้นนั่นแล. แต่อาตมาย่อมถึงเป็น
นิตย์ด้วยความดำริถึง. ท่านพราหมณ์ ใจของอาตมานี่แหละ
ประกอบแล้วด้วยทิศาภาคที่ประทับอยู่นั้น.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 120&Z=6138


จิต ..................................น่าจะแปลมาจากบาลีว่า ........... จิตัง
ใจ ..................................น่าจะแปลมาจากบาลีว่า .............มโน

ไม่แน่ใจครับ

เจ้าของ:  ปฤษฎี [ 14 มี.ค. 2012, 12:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องของจิตและใจ

มโน หรือ ใจ
จิตตัง หรือ จิต
ถึงแม้จะเขียนต่าง แต่ก็หมายความถึงอย่างเดียวกัน

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 14 มี.ค. 2012, 19:21 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องของจิตและใจ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ ได้ให้ความหมายของคำว่าจิตเอาไว้ว่า

จิต หมายถึง ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ; ตามหลักฝ่ายอภิธรรม จำแนกจิตเป็น ๘๙ (หรือพิสดารเป็น ๑๒๑) แบ่ง โดยชาติ เป็นอกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗) วิปากจิต ๓๖ (๕๒) และ กิริยาจิต ๒๐; แบ่ง โดยภูมิ เป็นกามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต ๘ (พิสดารเป็น ๔๐)

เจ้าของ:  toichi [ 18 มี.ค. 2012, 16:51 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องของจิตและใจ

FLAME เขียน:
มนะ ในภาษาไทยก็เรียกว่า ใจ เป็นการแปลศัพท์เท่านั้นครับ

จิตเป็นสังขตธาตุ
จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นดวงหนึ่งดับไป ในกลางวัน และกลางคืน ปุถุชนที่ไม่ได้สดับย่อมไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัดหลุดพ้นในจิตนั้นได้เลย เพราะได้ยึดถือซึ่งจิต ด้วยตัณหา และทิฏฐิ ว่าเป็นเรา ของเรา เป็นอัตตาของเรา มาเป็นเวลาช้านาน

ธรรมที่เป็นจิต
ได้แก่ จักขุวิญญาณ
โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ
กายวิญญาณ
มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ
ธรรมเหล่านี้เป็นจิต

อสังขตธาตุนั้นเป็นธรรมที่ไม่เป็นจิต


ส่วน เวทนา สัญญา สังขาร เป็นเจตสิกธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่เกิดร่วมกับจิต ประกอบกับจิต


:b8: :b8: :b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  วิริยะ [ 21 มี.ค. 2012, 12:17 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรื่องของจิตและใจ

สุรวุฒิ เขียน:
เรียนขอทั้งความเห็นและความรู้ เรื่องคำว่า"จิต" และคำว่า"ใจ"ครับ

"จิต" กับ "ใจ" หลวงปู่เทสก์ ฯ ท่านกล่าว่า "จิตอันใดใจอันนั้น"
จิตกับใจ เปรียบเหมือนน้ำในมหาสมุทร

น้ำที่สงบ คือ ใจ
ระลอกคลื่น คือ จิต
จิต ที่สงบ คือ ใจ

:b12:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/