วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 20:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 107 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบาย เรื่อง "การปฏิบัติธรรมแบบง่าย"
มูลเหตุเกิดจากการเสวนากันถึงเรื่อง "การปฏิบัติธรรม แบบง่าย" ต่างก็มีความคิดเห็นกันไปต่างๆนานา โดยไม่ได้รู้จักไม่ทำความเข้าใจในหัวข้อบทความ และไม่ได้รู้จักทำความเข้าใจในบริบทและความหมายของภาษาที่ข้าพเจ้าได้เขียนไป ข้าพเจ้าจึงจำเป็นต้องแปลภาษาไทย เป็นภาษาไทย ให้ได้ท่านที่สนใจได้ทำความเข้าใจกันอีกครั้งว่า

"การปฏิบัติธรรมแบบง่าย" ที่ข้าพเจ้าได้สอนไปมีความมุ่งหมายที่ต้องการจะให้ท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เริ่มจะปฏิบัติธรรม หรือเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรมมานาน ได้ปฏิบัติเพื่อสามารถที่จะขจัดอาสวะได้ อาจจะสามารถขจัดอาสวะได้ในระดับหนึ่ง จนไปถึง อาจบรรลุถึงชั้นโสดาบัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยและเหตุ(สองคำนี้ไม่ฝึกทำความเข้าใจว่าอะไรหรือปัจจัย อะไรคือเหตุ จะได้รู้แจ้ง) ของตัวบุคคลนั้นๆ
การปฏิบัติธรรมที่แสดงเป็นพฤติกรรมภายนอกต่อสังคมนั้น เช่นการ ทาน การบริจาค หรือพฤติกรรมอื่นๆในทางที่เป็นกุศล แม้จะเป็นการปฏิบัติธรรม แต่ก็เป็นเพียงผลทึ่เกิดจากการปฏิบัติธรรมเพื่อขจัดอาสวะ นั่นก็หมายความว่า "การปฏิบัติธรรมแบบง่าย"ที่ข้าพเจ้าได้สอนไปนั้น เป็นการปฏิบัติธรรมแบบ "วิปัสสนา กรรมฐาน"รูปแบบหนึ่ง
การปฏิบัติธรรมแบบ วิปัสสนา กัมมัฎฐาน นั้น ผู้ปฏิบัติ จะต้องมี ๑.สมาธิ ๒.สติ ๓.สัทธา(ศรัทธา) ๔.วิริยะ ๕.ปัญญา นั่นก็หมายความว่า บุคคลที่จะปฏิบัติ วิปัสสนา จักต้อง มีการปฏิบัติ สมาธิ หรือ ฝึก "สมถะ กัมมัฎฐาน"มาตามกำลังอยู่บ้างแล้ว เมื่อฝึก สมาธิ มาดีพอใช้ได้แล้ว สติ คือ ความระลึกได้ หรือความนึกได้ ฯ พร้อมสัมปชัญญะก็ย่อมเกิดมีเพิ่มพูนขึ้นกว่าปกติอันเป็นธรรมชาติของแต่ละบุคคลอยู่แล้ว
เมื่อบุคคล มี สมาธิ มี สติ พร้อมมูล ความ สัทธา คือ ความเชื่อ ฯ อันเกิดเนื่องจาก การได้เรียนรู้ จดจำ ได้ยินได้ฟัง ได้ประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา ก็ย่อมบังเกิดขึ้นในจิตใจ ซึ่งจักเป็นตัวนำหรือเป็นแรงจูงใจให้เกิด วิริยะ คือ ความขยันหมั่นเพียร ในอันที่จะ ศึกษา ค้นคว้า คิด พิจารณา หรือ ปฏิบัติ ตามความรู้ หรือ ปัญญา เมื่อบุคคลนั้นๆ ได้ ศึกษา ค้นคว้า คิด พิจารณา หรือ ปฏิบัติ ตามความรู้ หรือปัญญา อันจำต้องใช้สมาธิ สติ สัทธา และวิริยะ ก็จักเกิด ปัญญาเพิ่มพูนขึ้น มีความเข้าใจมากขึ้น รอบรู้มากขึ้น รู้แจ้งมากขึ้น
ความรู้ ซึ่งแท้จริง ก็คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นในตัวท่านทั้งหลายเมื่อได้อ่าน ได้เล่าเรียน ได้ศึกษา เป็นปัญญาชั้นพื้นฐาน ตามตำรา หรือเป็นปัญญาแรกสุดที่เกิดขึ้นในตัวท่านทั้งหลาย ต่อเมื่อท่านทั้งหลายได้คิด ได้พิจารณา ได้ทำความเข้าใจจนเกิดความเข้าใจในความรู้หรือปัญญาชั้นพื้นฐานทั้งหลายได้กว้างขวาง แตกฉาน แยกแยะรายละเอียด จนเกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน นั่นแสดงว่า ปัญญา ได้เกิดขึ้นในตัวท่านทั้งหลายอีกระดับหนึ่ง ซึ่งก็ย่อมขึ้นอยู่กับ ปัจจัยและเหตุ ของแต่ละบุคคล
ในเมื่อข้าพเจ้าเขียนหัวข้อเอาไว้ว่า "การปฏิบัติธรรม แบบง่าย" ข้าพเจ้าก็ต้องมีหลักการที่จะทำให้เกิดความง่ายกว่าการปฏิบัติแบบปกติ ทั่วไป ด้วยเหตุนี้เอง ข้าพเจ้าจึงได้อรรถาธิบาย เอาไว้ว่า
เมื่อบุคคลมีมรรค หรือมีปัจจัย ครบถ้วนแล้ว ก็จะบังเกิดผล คือข้อปฏิบัติที่ควรศึกษา หรือ ไตรสิกขา ศีล,สมาธิ,ปัญญา
การปฏิบัติธรรมนั้น ในทางที่เป็นจริงแล้ว จะปฏิบัติตามข้อธรรมะใดใดหรือธรรมะในหมวดใดใดก็ได้ทั้งนั้น หรือจะถือตาม ไตรสิกขาก็ได้ เพราะในไตรสิกขาข้อ ศีล นั้น แท้จริงแล้ว เป็น ผลและเหตุที่ทำให้เกิดธรรมะหรือเกิดจากธรรมะ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล ศีล เป็นผลและเหตุ จากธรรมะหลายหมวดหลายข้อ เช่น "พรหมวิหาร๔","สัปปุริสธรรม",อิทธิบาท ๔" และอื่นๆอีกมากมาย
ศาสนาต่างๆ ล้วนมีข้อปฏิบัติ และข้อห้าม เหมือนกันทุกศาสนา เพราะข้อปฏิบัติ และข้อห้ามทั้งหลายเหล่านั้น จะสร้างสภาพสภาวะจิตใจ ที่เรียกว่า อดทน,ซื่อตรง,กตัญญู,กตเวที,ความละอาย,เกรงกลัวต่อบาป, ฯลฯ
และในศาสนาต่างๆ ก็จะมีหลักธรรม หรือ หลักความจริงที่มีอยู่ในจิตใจมนุษย์
พุทธศาสนา มีหลักธรรมมากมาย มีวิธีการปฏิบัติ วิธีการฝึก วิธีการคิดพิจารณา อย่างครบถ้วน ละเอียด ตั้งแต่ภายในไปจนถึงภายนอก
ดังนั้น การปฏิบัติธรรม ในทาง พุทธศาสนา จึงมักถูกบิดเบือน ไปตามความรู้ ความเข้าใจของบุคคลที่ได้เล่าเรียน ได้จดจำ ได้ศึกษา จากตำราต่างๆ
การปฏิบัติธรรม ในแต่ละบุคคลตามการครองเรือน หรือตามบทบาทหน้าที่ของแต่กลุ่มบุคคล จึงแตกต่างกันไป เช่น
ฆราวาส จะถือศีล ปฏิบัติตามข้อศีลก็ได้ หรือจะ ปฏิบัติตามหลักธรรมข้อใดข้อหนึ่ง หมวดใดหมวดหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวก ความง่าย เวลา และสมองสติปัญญา
เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านได้ศึกษาสิ่งที่ข้าพเจ้าได้เขียนไปแล้วข้างต้น คงพอจะอนุมานได้ว่า การปฏิบัติธรรม นั้น ไม่จำเป็นต้องผูกติดกับหลักการมากนัก แต่ก็ต้องยึดถือหลักการเอาไว้บ้าง เพราะหลักการปฏิบัติธรรมนั้น มีเพียงรูปแบบเดียว หรือวิธีเดียวที่ถูกต้อง เช่น
การฝึกกัมมัฏฐาน ซึ่งท่านทั้งหลายจะรู้กันในนามของการปฏิบัติสมาธินั่นแหละ
กัมมัฎฐาน แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ สมถกัมมัฏฐาน ๑.(อุบายทำให้ใจสงบ) ,วิปัสสนากัมมัฏฐาน๑.(อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญา)
อุบายทำให้ใจสงบ(สมถะกัมมัฏฐาน) ได้แก่ "กสิณ ๑๐ ,อสุภะ๑๐,อนุสติ ๑๐ ,พรหมวิหาร๔, อรูป๔,อาหารเรปฏฺิกูลสัญญา๑,จตุธาตุววัตถาน ๑,อรูป๔ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญา ได้แก่ "กสิณ ๑๐ ,อสุภะ๑๐,อนุสติ ๑๐ ,พรหมวิหาร๔, อรูป๔,อาหารเรปฏฺิกูลสัญญา๑,จตุธาตุววัตถาน ๑,อรูป๔ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)

กัมมัฏฐาน ทั้ง ๔๐ กอง สามารถใช้เป็นเครื่องมือทำ อุบายให้ใจสงบก็ได้,หรือจะเป็นเครื่องมือทำ อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญาก็ได้เช่นกัน
และยังมีหมวดธรรมะ เช่น โพธิปักขิยธรรม อันหมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ประการคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘(พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
เพื่อบุคคลที่ต้องการจะศึกษา หรือปฏิบัติธรรมให้สู่จุดสูงสุดในทางพุทธศาสนา คือ นิพพาน อย่างนี้เป็นต้น
ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวอธิบายไปทั้งหมดข้างต้น ดูเหมือนจะเป็นการยากที่จะเล่าเรียนหรือปฏิบัติได้หมด ท่านทั้งหลาย ก็ลองอ่านบทความเรื่อง "ไตรลักษณ์ ทางลัดของผู้ที่ไม่ต้องการคิดมาก" ก็จะปฏิบัติได้ง่ายขึ้น ขอรับ

ถึงอย่างไรก็ตาม การปฏิบัติธรรมแบบง่าย ก็ย่อมสามารถที่จะปฏิบัติ ตามหลัก กัมมัฎฐาน ๔๐ กอง ซึ่ง ก็ถือว่าไม่ยากนักสำหรับผู้ที่มีเวลา หรือรู้จักแบ่งเวลา
แต่ถ้าหากเวลามีไม่มาก หรือมีเวลาไม่พอ หรือไม่รู้จักแบ่งเวลา ก็ใช้หลัก ไตรลักษณ์ ทางลัดของผู้ที่ไม่ต้องการคิดมาก เป็นหลักการในการปฏิบัติธรรม แบบง่าย ก็ย่อมได้ คือ คิดพิจารณาไม่มากนัก สั้นๆก็สามารถขจัดอาสวะได้เช่นกัน แต่จะขจัดอาสวะได้ในระดับใด ก็ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยและเหตุ ของบุคคลนั้นๆ

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๑๔ มีนาคม ๒๕๕๕
ผู้เขียน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2012, 02:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
อธิบาย เรื่อง "การปฏิบัติธรรมแบบง่าย"
มูลเหตุเกิดจากการเสวนากันถึงเรื่อง "การปฏิบัติธรรม แบบง่าย" ต่างก็มีความคิดเห็นกันไปต่างๆนานา โดยไม่ได้รู้จักไม่ทำความเข้าใจในหัวข้อบทความ และไม่ได้รู้จักทำความเข้าใจในบริบทและความหมายของภาษาที่ข้าพเจ้าได้เขียนไป ข้าพเจ้าจึงจำเป็นต้องแปลภาษาไทย เป็นภาษาไทย ให้ได้ท่านที่สนใจได้ทำความเข้าใจกันอีกครั้งว่า

จ่าประทวนครับ จะบอกอะไรให้ ที่จ่าว่าคนอื่นไม่รู้จักทำความเข้าใจหัวข้อบทความ
ผมว่าเป็นจ่าเองทั้งนั้นแหล่ะ ริอาจจะเขียนบทความแต่ขาดการเข้าใจในการใช้ภาษา
ชอบอ้างคำศัพท์โดยไม่รู้เนื้อหาที่แท้จริง นี่ขนาดมีแม่แบบให้ดู ยังเอาใช้ผิดกาละเทศะ

จ่าครับ ถ้าจ่าอยากเป็นครูอยากเป็นอาจารย์สอนคน ผมขอล่ะครับอย่ามาสอนธรรมเลย
อย่างจ่าเป็นได้แค่ ครูสอนหรือฝึกทหารเกณท์ทำซ้ายหันขวาหันเท่านั้นเองครับ

ผมอ่านความเห็นของจ่าแล้ว ผมว่าอย่าเรียกมันว่า บทความเลยครับ
เรียกมันว่า เด็กหัดเขียนเรียงความพอได้ครับ


ผมได้เห็นหัวข้อกระทู้ของจ่าแล้ว เลยมีความคิดเห็น
อยากแนะนำและอ้อนวอน ขอให้จ่าเทวฯ ช่วยไปปฏิบัติธรรมแบบง่ายๆ
ที่สามจังหวัดชายแดนใต้
ไม่ใช่ให้จ่าไปสู้รบตบมือกับใคร แค่ให้จ่าเทวฯไปช่วยเดินตามพระสงฆ์
ตอนที่พระออกบิณฑบาตในตอนเช้า และในเวลาว่างถ้าจ่าอยากเป็นครูสอนธรรมะ
ก็สามารถสอนพวกโจรใต้ ให้กลับเนื้อกลับตัวมีเมตตา แบบนี้จ่าเทวฯทำได้มั้ยครับ
ความเห็นผม ผมว่ามันเหมาะกับจ่าที่สุด ทั้งความรู้และบุคคลิกภาพของจ่าเทวฯครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2012, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 14:17
โพสต์: 260

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุ้ยๆๆ!!! หลวงพี่แอ๊ด ท่านไปดักรออยู่หน้าวัดแล้ว ไม่เป็นไร วัดมีหลายประตู เข้าประตูข้างก็ได้


:b13: :b13: :b13:

.....................................................
สิ่งใดในโลกล้วน อนิจจัง คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรัง ตรึงแน่ อยู่นา ตามแต่บุญบาปแล้ ก่อเกื้อ รักษา

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2012, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้พี่เทฮอตจิงๆ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2012, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 14:17
โพสต์: 260

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กระทู้พี่เทฮอตจิงๆ :b32:


ฮอท ที่แปลว่าได้รับความนิยม หรือ
ฮอท ที่แปลว่าร้อน ล่ะ น่าจะอย่างหลัง

ร้อนจริงๆร้อนจริงๆร้อนจริงๆ
ร้อนจริงๆร้อนจริงๆร้อนไปหมด
วิธีแก้ร้อนให้เอาน้ำแข็งมาผสมน้ำอาบชำระร่างกาย
หากร้อนใจ ให้เอาน้ำแข็งมาผสมน้ำอาบชำระล้างร่างใจ อุ้ย!!!

ฮาฮ๊าฮา จุ๊ฟ :b12: :b12: :b12:

.....................................................
สิ่งใดในโลกล้วน อนิจจัง คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรัง ตรึงแน่ อยู่นา ตามแต่บุญบาปแล้ ก่อเกื้อ รักษา

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2012, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช้านี้อากาศพอเย็นสบายๆ ไม่ค่อยร้อนเหมือนช่วงกลางวันนะขอรับ :b1:

อย่าคิดมากครับ ชาวพุทธด้วยกันพี่น้องกันทั้งนั้น เกิด แก่ เจ็บตาย ร่วมกัน :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2012, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย บุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขสุขเวทนาบ้าง อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ก็ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขสุขเวทนาบ้าง ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนั้น อะไรเป็นความพิเศษ เป็นความแปลก เป็นข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ กับ บุถุชนผู้มิได้เรียนรู้”


“ภิกษุทั้งหลาย บุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ย่อมเศร้าโศก คร่ำครวญ ร่ำไห้ รำพัน ตีอกร้องไห้ หลงใหลฟั่นเฟือนไป เขาย่อมเสวยเวทนาทั้ง 2 อย่าง คือ เวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ”


“เปรียบเหมือนนายขมังธนู ยิงคนด้วยลูกศรดอกหนึ่ง แล้วยิงซ้ำด้วยลูกศรดอกที่ 2 อีก เมื่อเป็นเช่นนี้ คนนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรทั้ง 2 ดอก คือ ทั้งทางกาย ทั้งทางใจ ฉันใด บุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ก็ฉันนั้น...ย่อมเสวยเวทนาทั้ง 2 อย่าง คือ เวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ”


“อนึ่ง เพราะถูกทุกขเวทนานั้นกระทบ เขาย่อมเกิดความขัดใจ เมื่อเขามีความขัดใจ เพราะทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาก็ย่อมนอนเนื่อง
เขาถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ก็หันเข้าระเริงกับกามสุข เพราะอะไร ?

เพราะบุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ย่อมไม่รู้ทางออกจากทุกขเวทนา นอกไปจากกามสุข และเมื่อเขาระเริงอยู่กับกามสุข ราคานุสัยเพราะสุขเวทนาย่อมนอนเนื่อง
เขาย่อมไม่รู้เท่าทันความเกิดขึ้น ความสูญสลาย ข้อดีข้อเสีย และทางออก ของเวทนาเหล่านั้นตามที่มันเป็น
เมื่อเขาไม่รู้...ตามที่มันเป็น อวิชชานุสัยเพราะอทุกขสุขเวทนา ย่อมนอนเนื่อง
ถ้าได้เสวยสุขเวทนา เขาก็เสวยอย่างถูกมัดตัว
ถ้าเสวยทุกขเวทนา เขาก็เสวยอย่างถูกมัดตัว
ถ้าเสวยอทุกขมเวทนา เขาก็เสวยอย่างถูกมัดตัว
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เรียกว่าบุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ผู้ประกอบด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราเรียกว่าผู้ประกอบด้วยทุกข์”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2012, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่คร่ำครวญ ไม่ร่ำไร ไม่รำพัน ไม่ตีอกร้องไห้ ไม่หลงใหลฟั่นเฟือน เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ”

“เปรียบเหมือนนายขมังธนู ยิงคนด้วยลูกศร แล้วยิงซ้ำด้วยลูกศรดอกที่ 2 ผิดไป เมื่อเป็นเช่นนี้ คนนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรดอกเดียว ฉันใด อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ก็ฉันนั้น...ย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ”

“อนึ่ง เธอย่อมไม่มีความขัดใจเพราะทุกขเวทนานั้น เมื่อไม่มีความขัดใจเพราะทุกขเวทนานั้น ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนานั้น ย่อมไม่นอนเนื่อง
เธอถูกทุกขเวทนากระทบ ก็ไม่หันเข้าระเริงกับกามสุข เพราะอะไร ?
เพราะอริยสาวกผู้เรียนรู้แล้ว ย่อมรู้ทางออกจากทุกขเวทนา นอกจากกามสุขไปอีก
เมื่อเธอไม่ระเริงอยู่กับกามสุข ราคานุสัยเพราะสุขเวทนานั้น ก็ไม่นอนเนื่อง
เธอย่อมรู้เท่าทันความเกิดขึ้น ความสูญสลาย ข้อดี ข้อเสีย และทางออกของเวทนาเหล่านั้นตามที่มันเป็น
เมื่อเธอรู้...ตามที่มันเป็น อวิชชานุสัยเพราะอทุกขสุขเวทนา ก็ไม่นอนเนื่อง
ถ้าเสวยสุขเวทนา เธอก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว
ถ้าเสวยทุกขเวทนา เธอก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว
ถ้าเสวยอทุกขมเวทนา เธอก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ผู้ปราศจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราเรียกว่าผู้ปราศจากทุกข์”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2012, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ เป็นความแปลก เป็นข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ กับบุถุชนผู้มิได้เรียนรู้”

(สํ.สฬ.18/369-372/257-260)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2012, 09:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:
แต่...ใจ...มันร้อนยังงัยก็ไม่รู้

ความกังวล...เป็นทุกข์

มีร่างกาย..เป็นภาระ
cry


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2012, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หวังว่า คุณ nong คงจะเห็นคำขอโทษนี้

กรัชกายขอโทษนะขอรับ เมื่อวานว่าคุณ nong แรงไม่หน่อย ขอโทษจริงๆ ยกโทษให้กรัชกายนะขอรับ :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2012, 09:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว





ดวงดาววับวาวเคยเด่นพราวยังหล่น
เมฆลอยเบื้องบนยังตกลงสู่ดิน
หมู่มวลนกกามีปีกหลีกปืนของพรานโผบิน
ไม่วายร่วงดินลงตาย

ทะเลลึกมีมวลหมู่ปลามากอยู่
ทั่วบึงหนองคูมวลหมู่ปลามากมาย
ก็ยังมิวายโดนเบ็ดเด็ดชีวิตมันถึงตาย
ละม้ายคล้ายชีวิตคน
มืดมัวเด่นดีเพียงใด ร่ำรวยหรือเข็ญใจอับจน
ไม่มีวันพ้นความตาย สุดที่หมายเคียงกัน

เป็นคนทั้งทีควรให้มีประโยชน์
ชาติไทยของเราควรรุ่งโรจน์เท่าทัน
อย่ามัวระเริงความสุข ส่วนตัวเห็นเป็นสำคัญ
ชีวิตคนสั้นนิดเดียว.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2012, 11:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เรียกว่าบุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ผู้ประกอบด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราเรียกว่าผู้ประกอบด้วยทุกข์”

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ผู้ปราศจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราเรียกว่าผู้ปราศจากทุกข์”



ชาติ เริ่มแต่ปฏิสนธิวิญญาณที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับพลังแห่งกรรมนั้น ปฏิสนธิขึ้นในภพที่สมควรกับกรรม บังเกิดเป็นขันธ์ 5 ขึ้นพร้อม เริ่มกระบวนการแหงชีวิตให้ดำเนินต่อไป คือ เกิดนามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนาขึ้นหมุนเวียนวงจรอีก และเมื่อการเกิดมีขึ้นแล้ว ย่อมเป็นการแน่นอนที่จะต้องมี

=> ชรามรณะ ความเสื่อมโทรม และแตกดับแห่งกระบวนการของชีวิตนั้น

สำหรับบุถุชน ชรามรณะนี้ ย่อมคุกคามบีบคั้นทั้งโดยชัดแจ้ง และแฝงซ่อนอยู่ในจิตส่วนลึกตลอดเวลา ดังนั้น ในวงจรชีวิตของบุถุชน ชรามรณะจึงพ่วงมาพร้อมด้วย

-โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ซึงเรียกรวมว่าความทุกข์นั่นเอง

คำสรุปของปฏิจจสมุปบาทจึงมีว่า “กองทุกข์ทั้งปวง จึงเกิดมีด้วยอาการอย่างนี้”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2012, 11:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ดี ในฐานะที่เป็นวัฏฏะ หรือวงจร ความสิ้นสุดจึงไม่มี ณ ที่นี้
แท้จริง องค์ประกอบช่วงนี้ กลับเป็นขั้นตอนสำคัญอย่างยิ่งอีกตอนหนึ่งที่วงจรจะหมุนเวียนต่อไป กล่าวคือ

โสกะ (ความแห้งใจ)
ปริเทวะ (ความร่ำไร)
ทุกข์ โทมนัส (ความเสียใจ)
อุปายาส (ความผิดหวังคับแค้นใจ)

เป็นอาการสำแดงออกของการมีกิเลสที่เป็นเชื้อหมักตองอยู่ในจิตสันดาน ที่เรียกว่า อาสวะ อันได้แก่ความใฝ่ใจในสิ่งสนองความอยากทางประสาททั้ง 5 และทางใจ (กามาสวะ)

ความเห็นยึดถือต่างๆ เช่น ยึดถือว่า รูปเป็นเรา รูปเป็นของเรา เป็นต้น (ทิฏฐาสวะ)

ความชื่นชอบอยู่ในใจว่าภาวะแห่งชีวิตอย่างนั้นอย่างนี้เป็นสิ่งดีเลิศ ประเสริฐ มีความสุข หวังใจใฝ่ฝันที่จะได้อยู่ครองภาวะชีวิตนั้นเสวยสุขให้นานแสนนาน หรือตลอดไป (ภวาสวะ) และ

ความไม่รู้สิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น (อวิชชาสวะ)

ชรามรณะ เป็นเครื่องหมายแห่งความเสื่อมสิ้นสลาย ซึ่งขัดกับอาสวะเหล่านี้ เช่น

ในด้าน กามาสวะ ชรามรณะทำให้บุถุชนเกิดความรู้สึกว่า ตนกำลังพลัดพราก หรือหมดหวังจากสิ่งที่ชื่นชอบที่ปรารถนา

ในด้าน ทิฏฐาสวะ เมื่อยึดถืออยู่ว่า ร่างกายเป็นตัวเราเป็นของเรา พอร่างกายแปรปรวนไป ก็ผิดหวังแห้งใจ

ในด้าน ภวาสวะ ทำให้รู้สึกตัวว่า จะขาด พลาด พราก ผิดหวัง หรือหมดโอกาสที่จะครองภาวะแห่งชีวิตที่ตัวชื่นชอบอย่างนั้นๆ

ในด้าน อวิชชาสวะ ก็คือขาดความรู้ความเข้าใจมูลฐานตั้งต้นแต่ว่า ชีวิต คือ อะไร ความแก่ชรา คือ อะไร ควรปฏิบัติอย่างไรต่อความแก่ชรา เป็นต้น

เมื่อขาดความรู้ความคิดในทางที่ถูกต้อง พอนึกถึง หรือ เข้าเกี่ยวข้องกับ ชรามรณะ ก็บังเกิดความรู้สึกและแสดงอาการในทางหลงงมงาย ขลาดกลัว และเกิดความซึมเซาหดหู่ต่างๆ

ดังนั้น อาสวะ จึงเป็นเชื้อ เป็นปัจจัยที่จะให้ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เกิดขึ้นได้ทันทีที่ชรามรณะเข้ามาเกี่ยวข้อง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2012, 15:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โสกะ เป็นต้นเหล่านี้ แสดงถึงอาการมืดมัวของจิตใจ เวลาใดความทุกข์เหล่านี้เกิดขึ้น จิตใจจะพร่ามัวร้อนรนอับปัญญา เมื่อเกิดอาการเหล่านี้ ก็เท่ากับพ่วงอวิชชาเกิดขึ้นมาด้วย อย่างที่กล่าวในวิสุทธิมัคค์ว่า “โสกะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ไม่แยกไปจากอวิชชา และธรรมดาปริเทวะ ก็ย่อมมีแก่คนหลง เหตุนั้น โสกะเป็นต้น สำเร็จแล้ว อวิชชาก็ย่อมเป็นอันสำเร็จแล้ว”

ว่า “ในเรื่องอวิชชา พึงทราบว่า ย่อมเป็นอันสำเร็จมาแล้วแต่ธรรมมีโสกะเป็นต้น”
และว่า “อวิชชา ย่อมยังเป็นไปตลอดเวลาที่โสกะเป็นต้นเหล่านั้นยังเป็นไปอยู่”

โดยนัยนี้ ท่านจึงกล่าวว่า “เพราะอาสวะเกิด อวิชชาจึงเกิด” และ

สรุปได้ว่า ชรามรณะของปุถุชน ซึ่งพ่วงด้วยโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชา หมุนวงจรต่อไปอีกสัมพันธ์กันไม่ขาดสาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 107 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 126 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร