วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2012, 11:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ต.ค. 2011, 14:22
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ว่าเวลาเราเดินไปเหยียบสัตว์เล็กๆ ตาย หรือขับรถชนสัตว์ตายโดยไม่ได้ตั้งใจนั้น เขาว่าไม่ได้เป็นบาปเพราะเราไม่ได้ตั้งใจ แต่เป็นกรรม หากเราบอกกล่าวทำนองขอโทษเพื่อขออโหสิกรรม ต่อไปก็คงไม่ใช้กรรมนั้นอีก จึงขอถามว่า........( 1 ) คำที่ว่า “หากเราบอกกล่าวทำนองขอโทษเพื่อขออโหสิกรรม ต่อไปก็คงไม่ใช้กรรมนั้นอีก เป็นการเข้าใจถูกต้องหรือไม่ครับ ( 2 ) คำว่า “บาป กับ กรรม” เหมือนหรือต่างกันอย่างไรครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2012, 15:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑. คำที่ว่า "หากเราบอกกล่าวทำนองขอโทษเพื่อขออโหสิกรรม
ต่อไปก็คงไม่ใช้กรรมนั้นอีก เป็นการเข้าใจถูกต้องหรือไม่ครับ .."

การขอโทษ ขออโหสิกรรม ช่วยป้องกันความอาฆาต พยาบาทได้
ถ้าเราไม่มีเจตนาที่จะ "ทำให้สัตว์ตาย" แต่สัตว์นั้นตายเพราะเราเป็นเหตุ
ไม่ถือว่าเป็นกรรมหนัก แต่ก็ทำให้เราเกิดความไม่สะบายใจ การทำบุญอุทิศกุศลให้
ในบางช่วงเวลา จะช่วยบรรเทาความไม่สะบายใจลงได้ระดับหนึ่งนะครับ ..

๒. คำว่า “บาป กับ กรรม” เหมือนหรือต่างกันอย่างไรครับ

บาป = สิ่งชั่วร้าย ไม่ดีงาม สิ่งที่เศร้าหมอง ไม่สะบายใจ
กรรม = การกระทำ มุ่งเอา "เจตนา" เป็นสำคัญ

:b12:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2012, 19:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


(1)....
ทีเอ็งข้าไม่ว่า....ทีข้าเอ็งอย่าโวย
นี้ตัวอย่าง...

มันก็จองเวรกันไปไม่สิ้นสุด...อย่างนี้แล้วผลกรรมจะไปสิ้นสุดตรงไหน

แต่...หากให้อโหสิกรรม...แก่กันซะ....ไม่จองเวรกันแล้ว....ผลกรรมมันมีวันสิ้นสุด

แต่ผลกรรมที่เกิดจากการกระทำ(ครั้งสุดท้าย) นั้น...ก็ยังต้องรับอยู่

รับแล้วมันก็สุด...มันหมดไปได้...อย่างนี้....อาจจะเรียกว่าหมดกรรม..ก็ได้

คือ..กรรมมันมีวันหมด...

และ..กรรมก็ไม่เกี่ยวกับเจ้ากรรม...แม้เจ้ากรรมไม่เอาเรื่อง...แต่กรรมก็ทำงานตามระบบของมัน

สารภาพอาจลดโทษเหลือกึ่งหนึ่ง....(ขออโหสิกรรม)
อีกทั้งยังได้ช่วยเหลือโจทย์เป็นอย่างดี (อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้เจ้ากรรม )
โทษจำคุกให้รอลงอาญา..(กรรมหนักกลายมาเป็นกรรมเบา )
ให้มารายงานตัวต่อศาลทุก ๆ 3เดือน ( กรรมเบายังต้องรับอยู่ )

แต่ที่เข้าใจว่า...จะไม่ต้องใช้กรรมเลย...อันนี้...ดูจะขี้โกงเกินไป :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2012, 19:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


(2).....
วิริยะ เขียน:
๒. คำว่า “บาป กับ กรรม” เหมือนหรือต่างกันอย่างไรครับ

บาป = สิ่งชั่วร้าย ไม่ดีงาม สิ่งที่เศร้าหมอง ไม่สะบายใจ
กรรม = การกระทำ มุ่งเอา "เจตนา" เป็นสำคัญ

:b12:


ง่ายดี... :b13: :b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2012, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
(2).....
วิริยะ เขียน:
๒. คำว่า “บาป กับ กรรม” เหมือนหรือต่างกันอย่างไรครับ

บาป = สิ่งชั่วร้าย ไม่ดีงาม สิ่งที่เศร้าหมอง ไม่สะบายใจ
กรรม = การกระทำ มุ่งเอา "เจตนา" เป็นสำคัญ

:b12:


ง่ายดี... :b13: :b13: :b13:

:b32:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2012, 11:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


คนบนเขา เขียน:
ที่ว่าเวลาเราเดินไปเหยียบสัตว์เล็กๆ ตาย หรือขับรถชนสัตว์ตายโดยไม่ได้ตั้งใจนั้น เขาว่าไม่ได้เป็นบาปเพราะเราไม่ได้ตั้งใจ แต่เป็นกรรม หากเราบอกกล่าวทำนองขอโทษเพื่อขออโหสิกรรม ต่อไปก็คงไม่ใช้กรรมนั้นอีก จึงขอถามว่า........( 1 ) คำที่ว่า “หากเราบอกกล่าวทำนองขอโทษเพื่อขออโหสิกรรม ต่อไปก็คงไม่ใช้กรรมนั้นอีก เป็นการเข้าใจถูกต้องหรือไม่ครับ ( 2 ) คำว่า “บาป กับ กรรม” เหมือนหรือต่างกันอย่างไรครับ

อโหสิกรรม หมายความถึง กรรมที่ได้เกิดมีขึ้นแล้ว ผู้ขออโหสิกรรมก็คือ ผู้ทำกรรมอันได้เกิดมีขึ้นนั้นด้วยเจตนาที่ไม่มุ่งร้ายอาฆาตพยาบาทต่อกรรมนั้น จึงขออภัย ขออดโทษต่อผู้ได้รับผลกรรมจากการกระทำของตน อโหสิกรรมดังกล่าว จึงมีสองฝ่าย คือ ผู้ทำกรรม และผู้รับผลของกรรม เมื่อมีสองฝ่ายการจะก่อเวรหรือไม่ก่อเวรก็ย่อมเป็นไปกับด้วยสองฝ่าย ดังพระพุทธภาษิตว่า เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร อันนี้คือ เวร เวรที่หมายถึง การกระทำที่มุ่งจะกระทำตอบ แต่กรรมนั้นก็ยังเป็นการกระทำจะมีการมุ่งกระทำตอบหรือไม่จึงอยู่ที่การจองเวรหรือไม่จองเวร เพราะฉะนั้น กรรมจึงเป็นกรรม มีกรรมจึงมีเวร ไม่มีเวรก็หมดเวรที่จะกระทำตอบ จะว่าหมดกรรมไปเลยเสียเดียวอันนี้คงจะแย้งกับความเป็นจริง เพราะหมดกรรมก็หมายความถึงพระอริยบุคคล เรื่องนี้มีมีคำกล่าวสอนของหลวงปู่หลุย จันทสาโร มาเป็นข้อเทียบเคียงว่า ท่านกล่าวไว้มีความว่า ภิกษุท่านหนึ่งกำลังเย็บจีวร ขณะนั้นมีเล็นตัวหนึ่งหลบอยู่ในจีวร ท่านไม่ทันระวังเข็มเย็บผ้าจึงแทงเล็นตัวนั้นตาย...ชาติต่อมาท่านก็ไปหลบอยู่ใต้พุ่มไม้ริมทาง มีชายผู้หนึ่งทิ้งหอกไปที่พุ่มไม้นั้นโดนท่านตาย ณ ที่นั้นเอง ดังนี้ กรรมจึงเป็นกรรม ขอท่านผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาโดยอัธยาสัย.... บาปก็หมายความถึง อกุศล ความชั่ว สิ่งเศร้าหมองทั้งหลาย กรรมก็หมายความถึง การกระทำ แบ่งเป็นกรรมหยาบ กรรมละเอียด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2012, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 14:17
โพสต์: 260

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนบนเขา เขียน:
ที่ว่าเวลาเราเดินไปเหยียบสัตว์เล็กๆ ตาย หรือขับรถชนสัตว์ตายโดยไม่ได้ตั้งใจนั้น เขาว่าไม่ได้เป็นบาปเพราะเราไม่ได้ตั้งใจ แต่เป็นกรรม หากเราบอกกล่าวทำนองขอโทษเพื่อขออโหสิกรรม ต่อไปก็คงไม่ใช้กรรมนั้นอีก จึงขอถามว่า........( 1 ) คำที่ว่า “หากเราบอกกล่าวทำนองขอโทษเพื่อขออโหสิกรรม ต่อไปก็คงไม่ใช้กรรมนั้นอีก เป็นการเข้าใจถูกต้องหรือไม่ครับ ( 2 ) คำว่า “บาป กับ กรรม” เหมือนหรือต่างกันอย่างไรครับ


บาป เป็นปฐมกรรม
กรรม เป็นทุติยกรรม

เช่นเมื่อคุณไปตบหัวคน เป็นบาป และเป็นการสะสมกรรมครั้งแรก เมื่อคุณไปตบหัวใครอีกครั้ง คราวนี้กรรมก็จะสะสมเพิ่มขึ้นเป็นสองครั้ง คุณไปตบใครกี่ครั้ง กรรมก็จะสะสมเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ

เหมือนการฝากเงินในธนาคารไง บาป คือการฝากเงินครั้งแรก เงินที่ฝากคือกรรมครั้งแรก หากฝากเงินเพิ่มคือทำบาปเพิ่ม กรรมในบัญชีก็จะสะสมยอดเพิ่มไปเรื่อยๆไง

บาป คือการกระทำเป็นจำนวนครั้ง
กรรม คือผลสะสมของบาปที่เคยก่อไว้

อโหสิกรรม คือการขอโทษในสิ่งที่เคยล่วงเกิน

การให้อโหสิกรรม คือ การที่คุณยกโทษให้คนอื่น
การขออโหสิกรรม คือ การที่คุณขอร้องให้ผู้อื่นยกโทษให้


การทำบาป จะทำโดยเจตนา หรือไม่เจตนา ก็บาป ซึ่งผลกรรมก็จะอยู่ที่ว่าเจ้ากรรมนายเวรจะยอมอโหสิให้หรือไม่

หากกระทำโดยไม่เจตนา ถือเป็นลหุโทษบาป เจ้ากรรมนายเวรก็อาจจะยกโทษให้ หรือไม่ยกโทษก็ได้นะ
แต่ถ้าเป็นบาปที่กระทำโดยเจตนาและกระทำการโดยรู้ตัว ถือเป็นอาญาบาป อันนี้ไม่สามารถยอมความได้ ถึงเจ้ากรรมนายเวรจะไม่เอาเรื่อง แต่ก็ยังคงต้องรับกรรมอยู่ดี

แล้วคุณไปทำกรรมอะไรไว้เหรอ ถึงไก้กล๊วกลัว

ฮาฮ๊าฮา

.....................................................
สิ่งใดในโลกล้วน อนิจจัง คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรัง ตรึงแน่ อยู่นา ตามแต่บุญบาปแล้ ก่อเกื้อ รักษา

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2012, 02:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม กรรมคือการกระทำ และแบ่งเป็น 2ประเภท คือ กรรมดีและกรรมชั่วนะเจ้าค่ะ ในกรณีที่เราทำบาปโดยไม่ได้เจตนา(เผลอไปเหยียบมดรึสัตว์ตาย) ไม่ใช่ว่าไม่บาปนะเจ้าค่ะ แต่เป็นบาปบริสุทธิ์ เพราะยังไงเราก็ต้องมีเจ้ากรรมหรือนายเวร(คู่กรณี) แต่การขออโหสิกรรมจะทำให้กรรมที่เราทำเบาบางลงแต่เราต้องมีหิริโอตัปปะอยู่ในใจเสมอ จากที่ต้องรับกรรมเต็มๆก็อาจจะลดลงเหลือเพียงครึ่งเดียว แต่มันก็ขึ้นยอู่กับเจ้ากรรมนายเวรของเราด้วยแหละเจ้าค่ะ ถ้ากรรมหนักมาก(แค่อโหสิกรรมอย่างเดียวไม่พอ ต้องแก้กรรมแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศล จะมีหนังสือธรรมบอกวิธีแก้กรรมเจ้าค่ะ) นี่เป็นความรู้ความเข้าใจในเรื่องกรรมของดิฉันเองเจ้าค่ะ อย่างกรรมที่ไปขับรถชนคนตายโดยไม่เจตนา(บาปหนัก)เจ้ากรรมนายเวรอาฆาตแรงนะ ถึงแม้เราจะไม่เจตนาแต่เราก็ต้อง พยายาม ทำบุญแผ่เมตตา ขออโหสิกรรมให้เจ้ากรรมนายเวรนั้นไปสู่สุขคติจนกว่าเจ้ากรรมนายเวรจะยอมอโหสิกรรมให้เรา กรรมนั้นถึงจะสิ้นสุด ก็เหมือนกับ มีคนมาตบหัวแล้วคนที่โดนตบหัวโกรธมากแล้วไม่ยอมยกโทษให้ แม้จะพูดว่าขอโทษก็ไม่ยอมยกโทษให้ จะตบหัวคืนถึงจะยอมยกโทษถือว่าหายกัน หรือเราต้องพยายามขอโทษอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะใจอ่อนยอมยกโทษให้อะไรประมาณนี้แหละเจ้าค่ะ การจะขออโหสิกรรมใจต้องเป็นกุศลมีเมตตา ละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำบาป นั่นคือหิริโอตัปปะเจ้าค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2021, 18:20 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2021, 11:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนบนเขา เขียน:
ที่ว่าเวลาเราเดินไปเหยียบสัตว์เล็กๆ ตาย หรือขับรถชนสัตว์ตายโดยไม่ได้ตั้งใจนั้น เขาว่าไม่ได้เป็นบาปเพราะเราไม่ได้ตั้งใจ แต่เป็นกรรม หากเราบอกกล่าวทำนองขอโทษเพื่อขออโหสิกรรม ต่อไปก็คงไม่ใช้กรรมนั้นอีก จึงขอถามว่า........( 1 ) คำที่ว่า “หากเราบอกกล่าวทำนองขอโทษเพื่อขออโหสิกรรม ต่อไปก็คงไม่ใช้กรรมนั้นอีก เป็นการเข้าใจถูกต้องหรือไม่ครับ ( 2 ) คำว่า “บาป กับ กรรม” เหมือนหรือต่างกันอย่างไรครับ

cool
โอ้โหหัวข้อนี้ตั้งแต่ปี2012ปีนี้2021นานถึง9ปีเลยทีเดียวแต่คำตอบก็คือขณะนี้เองค่ะ
พระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมโดยละเอียดให้ทราบการทำงานของจิตภายในกายใจตน
จิตเกิดเองดับเองภายใจจิตตนและจิตไม่เกิดนอกรูปกายตนเองดังนั้นไม่มีใครทำร้ายจิตใครได้
มีแต่กิเลสตัณหาอวิชชาพาลพาหลงผิดคิดว่ามีคนสัตว์วัตถุมารองรับอารมณ์ชอบไม่ชอบใจของตน
และในจิตทุก1ขณะเป็นกรรมในตนเองอยู่แล้วแต่วิบากกรรมทำให้เกิดมารับผลของกรรมตามนิมิตขณะนี้
นิมิตคือภาพมายาภพภูมิปัจจุบันนี้แหละกำลังมีอุปาทานหลงผิดคิดไปเองว่ามีตัวตนตัวเองและมีคนสัตว์วัตถุ
คิดว่าเรามีรูปร่างเดินทางไปไหนมาไหนได้ทำกิจธุระต่างๆตามแต่จะปรากฏนิมิตให้รู้ว่ามีอยู่แห่งหนตำบลใด
คน/สัตว์เป็น2ภพภูมิที่ต่างกันที่ปฏิสนธิจิตขณะแรกคือคนเกิดด้วยกุศลวิบากจิต สัตว์เกิดด้วยอกุศลวิบากจิต
แต่ก็มีธาตุ4ขันธ์5มีวิถีจิตและอายตนะ6เหมือนกันคือเป็นจิตเจตสิกรูปเกิดดับตรงตามปรมัตถธรรม(อภิธรรม)
ต่างกรรมกันต่างวาระจิตของตนตามเหตุปัจจัยจะปรากฏนิมิตอะไรเลือกให้จิตทำงานตามบังคับบัญชาไม่ได้
สัตว์ถูกเหยียบตายเพราะได้รับผลของอกุศวิบากจิตพอดีกับคุณขับรถผ่านไปพอดีบังเอิญเหยียบสัตว์นั้นตาย
ถ้าสัตว์นั้นเป็นคนคุณต้องถูกตามตัวถูกจับขึ้นศาลพิจารณาโทษตามคำสารภาพและถ้าเป็นชนวัวก็แล้วแต่ค่ะ
ถ้าเป็นแมลงบินชนรถคุณตายนับร้อยตัวคุณก็ไม่ได้จงใจฆ่าก็ไม่ได้ผิดเพราะเลือกให้เกิดหรือไม่เกิดไม่ได้นะ
รู้ได้เมื่อสิ่งนั้นเกิดแล้วและธรรมของพระพุทธเจ้าก็ต้องรู้ความจริงที่เกิดแล้วในขณะนี้ตรงปัจจุบันว่าคืออะไร
ถ้าไม่ได้ศึกษาสิ่งที่กำลังปรากฏตรงปัจจุบันตามคำสอนเพื่อรู้ความจริงในขณะนี้ก็สะสมแต่อวิชชาพาไปเกิด
เมื่อจิตเกิดเองดับเองเป็นกรรมในตัวเอง(เจ้ากรรมนายเวรคืออวิชชาตัวเองค่ะ)ไม่ทราบว่าพอจะชัดเจนหรือไม่
:b12:
อันนี้ก็ตอบแบบสั้นค่ะ...เข้าไปสนทนาธรรมกับผู้รู้และศึกษาพระธรรมให้ละเอียดสอบถามได้ที่มศพ.ค่ะ
http://www.dhammahome.com
onion onion onion


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 03 ธ.ค. 2021, 21:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2021, 12:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes
ส่วน บาป และ กรรม เป็น ธรรม ค่ะ
ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนภพภูมิใดทั้งสิ้น
ภพภูมิคือนิมิตการปรากฏตามกิเลสตนเอง
บาป=อกุศล + กรรม=เจตสิก กรรมชั่วคือ อกุศลเจตสิก
ประเภทของอกุศลเจตสิกคือสังขารขันธ์คือธรรมฝ่ายเลว
ส่วนโสภณ(ดีงาม)เจตสิกคือสังขารขันธ์คือธรรมฝ่ายดี
จิตเกิดดับทีละ1ขณะ กุศลจิตไม่เกิดพร้อมอกุศลจิต
ดังนั้นถ้าต้องการปัญญารู้จักกรรมตรงตามคำสอน
ของพระพุทธเจ้าต้องศึกษาและฟังเพื่อเข้าใจทีละคำ
เพื่อรู้สึกตัวตามไปด้วยเพราะคำจริงที่ผู้รู้กล่าวจะทำให้รู้สึกตัวทันที
ตามความจริงที่กำลังมีซึ่งต้องอาศัยการฟังยาวนานมากมีธรรมอยู่กับตัวตลอดเวลา
มีตามปกติในชีวิตประจำวันแล้วค่ะคุณคือคนใหม่คือจิตดวงใหม่ที่เกิดดับอยู่แล้วเป็นแล้วไม่ได้ทำค่ะ
มีศรัทธาฟังคำสอนเพื่อศึกษาความจริงที่กำลังมีที่กายใจตนเองจากฟังหรือเปล่าคิดเองไม่ได้แน่นอนค่ะ
viewtopic.php?f=1&t=56010
:b12:
:b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2022, 11:50 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร