วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 57 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2012, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


ส่วนมากเรามักจะเข้าใจกันว่า การรู้ธรรมเห็นธรรมคือต้องเห็นสังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นโครงกระดูกแล้วรู้ว่า เป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เราไปหมายเอาหมวดใหญ่ที่ท่านเขียนเอาไว้ในคัมภีร์
การตีความหมายอย่างนั้นก็ไม่ผิด เป็นการถูกต้องกับการรู้ธรรมเห็นธรรมโดยธรรมชาติที่จิตมันจะรู้เองด้วยพลังของสติสัมปชัญญะ แต่เราจะไปรู้ในกฎเกณฑ์ที่ท่านวางไว้เป็นแบบฉบับเท่านั้นไม่ได้ การรู้ธรรมเห็นธรรมโดยธรรมชาติมันจะต้องรู้ขึ้นมาเอง เป็นกระท่อนกระแท่น ไม่ติดต่อสืบเนื่องกันเป็นเรื่องยืดยาว การรู้ธรรมเห็นธรรมขอกำหนดหมายอย่างนี้

๑. คือการรู้ว่าจิตของเราคืออะไร เห็นว่าจิตของเราคืออะไร เป็นเบื้องต้น
๒. เมื่อจิตสัมผัสรู้อารมณ์ก็รู้ว่าจิตสัมผัสรู้อารมณ์
๓. เมื่อจิตสัมผัสรู้อารมณ์แล้วมีอะไรเกิดขึ้น จิตของเรายินดีไหม จิตของเรายินร้ายไหม จิตของเราพอใจไหม หรือเกลียดในอารมณ์นั้น ในเมื่อรู้ว่ายินดีหรือยินร้ายเกลียดหรือชอบ ก็ดูต่อไปว่าความเกลียดและความชอบบังเกิดขึ้นภายในจิตเป็นอย่างไร ทำให้จิตร้อนหรือเย็น ทำให้จิตสุขหรือทุกข์ ถ้าหากว่าจิตรู้สึกสุขก็ผ่านไป แต่ถ้าจิตของเรารู้สึกทุกข์ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นมานั้นเป็นความร้อนภายในจิต เรารู้ความร้อนของจิตในเมื่อเรารู้ความร้อนของจิตแล้ว ความร้อนเป็นทุกข์ เราจะต้องถามหาเหตุว่าทุกข์นั้นเกิดมาจากอะไร

ในเมื่อจิตรู้ว่าความทุกข์นั้นเกิดขึ้นมาจากอำนาจของโลภะ เกิดมาจากอำนาจของโทสะ เกิดมาจากอำนาจของโมหะ จิตมันก็จะยอมรับว่าไฟ คือ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นอันว่าจิตรู้ธรรมเห็นธรรม คือเห็นทุกข์ในจิต เห็นสุขในจิต
ในเมื่อจิตเห็นทุกข์คือจิตร้อน เพราะไฟโลภะ โทสะ โมหะ ผู้ปฏิบัติควรจะทำอย่างไร เราจะไล่ความร้อนของไฟโลภะ โทสะ โมหะ ให้หายไปอย่างนั้นหรือ เราไม่มีทางจะไปตั้งใจไล่ เพราะจิตของเราเกิดความชินชาต่อการปรุงกิเลส ให้เกิดไฟโลภะ โมหะ โทสะ แล้วถ้าไม่มีทางที่จะขับไล่ ไม่มีทางที่จะละ เราจะทำอย่างไร เราก็ทำสติกำหนดรู้ คือรู้ว่ามันเป็นไฟโลภะ โทสะ โมหะ รู้ว่าฤทธิ์ของโลภะ โทสะ โมหะ มันทำจิตให้ร้อน ให้ดูความร้อนที่มีอยู่ในจิต ดูความเย็นที่มีอยู่ในจิต จนกระทั่งจิตรู้ซึ้งเห็นจริงลงไป แล้วจิตยอมรับความเป็นจริงว่า ฤทธิ์ของโลภะ โทสะ โมหะนี้เป็นไฟเผาให้ร้อน มันร้อนอย่างนี้หนอ เมื่อจิตยอมรับความจริงแล้วก็เกิดความเข็ดหลาบในตัวของมันเอง ภายหลังมันก็จะไม่สร้างเหตุเดือดร้อนให้เกิดขึ้นมาอีก เปรียบเหมือนคนเรา ที่เราว่าถ่านไฟมันร้อน เมื่อมีใครนำถ่านไฟร้อนมาวางไว้ตรงหน้าเรา แล้วบอกกับเราว่า ดูซิ ถ่านไฟนี้มันสวย ดูซิมันเย็น แต่เรารู้แล้วว่าถ่านไฟนี้มันร้อน เราก็จะไม่ไปจับถ่านไฟนั้น ในทำนองเดียวกัน ในเมื่อจิตมันรู้ฤทธิ์ของโลภะ โทสะ โมหะ อย่างแท้จริงแล้ว ยอมรับสภาพความเป็นจริงแล้ว มันก็จะไม่ก่อเรื่องให้เกิด โลภะ โทสะ โมหะ ขึ้นมาอีก มีแต่ค่อยพิจารณาปลดเปลื้องโลภะ โทสะ โมหะ ของเก่าที่มีอยู่ให้ลดน้อยลง เบาบางลงไป
การปฏิบัติธรรมสำคัญอยู่ที่การทำจิตให้มีสิ่งรู้ ทำสติให้มีสิ่งระลึก การภาวนาพุทโธก็ทำพุทโธให้เป็นสิ่งรู้ของจิต เป็นสิ่งระลึกของสติ การภาวนายุบหนอ-พองหนอ ก็ทำยุบหนอ-พองหนอให้เป็นสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ การภาวนาสัมมาอรหัง ก็ทำสัมมาอรหังเป็นสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ ทั้งหลายเหล่านี้ หรืออย่างอื่นๆก็ตาม ใครภาวนาแล้ว เมื่อจิตเป็นสมาธิ ก็ต้องทำจิตให้เป็นวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาเหมือนกัน
สมาธิเป็นสัจธรรม เป็นของจริง ในเมื่อสัจธรรมของจริงคือสมาธิมีอยู่ ใครจะรู้แตกต่างกัน ไม่เหมือนกัน เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายอย่าไปยึดมั่นอยู่เพียงวิธีการเท่านั้น ขอให้ทุกท่านพิจารณาดูความจริงที่จะเกิดขึ้นภายในจิตใจของเรา ในขณะที่เราภาวนา สมาธินี้เป็นของจริง ใครจะภาวนาแบบไหน อย่างไร จะเกิดมีแนวโน้มเป็นอย่างเดียวกันทั้งหมด และขอเตือนไว้อีกอย่างหนึ่งว่า การรู้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ก็ดี สิ่งที่เราเห็นในระหว่างจิตมีสมาธิ สงบ สว่าง เราเห็นนิมิตต่างๆ เกิดอุทานธรรมขึ้นมาก็ดี สิ่งนั้นเป็นเพียงสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ เมื่อเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วให้เราทำสติไว้ให้ดี.

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2012, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: :b48: :b41: :b42: :b44:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2012, 22:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


คุ้น...ๆ...ว่าเป็นของหลวงพ่อพุธ..นะ s006 s006 s006

หากไปก๊อปปี๊เขามา...ก็ให้อ้างอิงเจ้าของคำพูดใว้หน่อย
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2012, 12:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
ที่คุณพุทธคุณกล่าวถึงทั้งหมดนั้นคือวิธีการและตัวอย่างปฏิบัติการของการเดินทางไปสู่ความเห็นธรรมและความถึงธรรมซึ่งในที่สุดก็ต้องไปลงรู้ในสิ่งที่คุณพุทธคุณเริ่มต้นไว้คือ "การรู้ธรรมเห็นธรรมคือต้องเห็นสังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา"จากนั้นเมื่อปัญญารู้ธรรมตามความเปนจริงเช่นนี้แล้วจึงจะเป็นปัจจัยให้เกิด "นิพพิทาญาณ"คือความเบื่อหน่ายคลายจางในธาตุขันธ์อันจะต่อไปทำให้เกิด การละวางความเห็นผิดยึดผิด แล้วสลัดคืนทุกสิ่งให้กลับคืนสู่ธรรมชาติเดิมแท้ นั่นจึงจะถึงวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายสูงสุดของการปฏิบัติธรรม

การพยายามเน้นชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของสมาธินั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ยังไม่ใช่ประเด็นหลักที่สำคัญ ไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริงของการปฏิบัติธรรม เป็นส่วนหนึ่งของมรรค 8 แต่ยังไม่เข้าประเด็นสำคัญของอริยสัจ 4 ซึ่งจะทำให้เกิดผลของความเข้าใจและเห็นธรรมอย่างถูกต้อง
:b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2012, 12:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


...เป็นส่วนหนึ่งของมรรค8 แต่ไม่เข้าประเด็นสำคัญของอริยะสัจ4....
ฮา...อะไรจะปานนั้น
:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2012, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธคุณ เขียน:

การปฏิบัติธรรมสำคัญอยู่ที่การทำจิตให้มีสิ่งรู้ ทำสติให้มีสิ่งระลึก
การภาวนาพุทโธก็ทำพุทโธให้เป็นสิ่งรู้ของจิต เป็นสิ่งระลึกของสติ
การภาวนายุบหนอ-พองหนอ ก็ทำยุบหนอ-พองหนอให้เป็นสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ
การภาวนาสัมมาอรหัง ก็ทำสัมมาอรหังเป็นสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ ทั้งหลายเหล่านี้ หรืออย่างอื่นๆก็ตาม ใครภาวนาแล้ว เมื่อจิตเป็นสมาธิ ก็ต้องทำจิตให้เป็นวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาเหมือนกัน


ถามว่า "เราจะเข้าใจและเห็นธรรมได้อย่างถูกต้องได้อย่างไร"

ตอบ "ต้องเห็นตามที่มันเป็น" ไม่ใช่เห็นตามที่เราอยากตามที่เราต้องการให้มันเป็น

หมายความว่า ขณะนั้นมันเป็นยังไงก็รู้ยังงั้น ขณะนั้นรู้สึกยังไงก็รู้ยังงั้น ตามนั้นตามที่เป็นตามที่รู้สึก :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2012, 12:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
...เป็นส่วนหนึ่งของมรรค8 แต่ไม่เข้าประเด็นสำคัญของอริยะสัจ4....
ฮา...อะไรจะปานนั้น
:b32: :b32: :b32:

:b12:
มองไม่เห็นหรือสติปัญญาส่องไม่ถึงบ่เรื่องนี้ ท่านกบ?

ยิงปืนต้องหมายกลางเป้าที่คะแนนเต็มสิบ อย่าไปเล็งที่ขอบเป้าหรือนอกเป้าจะเปลืองเวลาและกระสุนเด้อเจ้า
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2012, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


กรัชกาย เขียน:
พุทธคุณ เขียน:

การปฏิบัติธรรมสำคัญอยู่ที่การทำจิตให้มีสิ่งรู้ ทำสติให้มีสิ่งระลึก
การภาวนาพุทโธก็ทำพุทโธให้เป็นสิ่งรู้ของจิต เป็นสิ่งระลึกของสติ
การภาวนายุบหนอ-พองหนอ ก็ทำยุบหนอ-พองหนอให้เป็นสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ
การภาวนาสัมมาอรหัง ก็ทำสัมมาอรหังเป็นสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ ทั้งหลายเหล่านี้ หรืออย่างอื่นๆก็ตาม ใครภาวนาแล้ว เมื่อจิตเป็นสมาธิ ก็ต้องทำจิตให้เป็นวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาเหมือนกัน


ถามว่า "เราจะเข้าใจและเห็นธรรมได้อย่างถูกต้องได้อย่างไร"

ตอบ "ต้องเห็นตามที่มันเป็น" ไม่ใช่เห็นตามที่เราอยากตามที่เราต้องการให้มันเป็น

หมายความว่า ขณะนั้นมันเป็นยังไงก็รู้ยังงั้น ขณะนั้นรู้สึกยังไงก็รู้ยังงั้น ตามนั้นตามที่เป็นตามที่รู้สึก :b1:


ผมรู้สึกสัมผัสได้ว่าบางท่านที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นในกระทู้นี้ ยังไม่ได้อ่านและทำความเข้าใจกับบทความที่ผมนำเสนอนี้ หรืออ่านผ่านๆพอให้ผ่านสายตาไปอย่างรวดเร็วโดยมิได้มีความเข้าใจประเด็นที่นำเสนอ เพียงเพื่ออยากมีส่วนร่วมในระทู้เท่านั้น

ก็พอจะมีความเข้าใจอยู่เป็นบางท่านนะครับ ที่เห็นได้ชัดก็คุณ กรัชกาย

ที่คุณกรัชกาย อ้างอิงมานั้น เป็นเพียงการยกตัวอย่างของกระทู้ครับ

ส่วนประเด็นหลักๆของกระทู้ ผมว่าคุณกรัชกาย เข้าใจดีอยู่แล้วครับ

อนุโมทนาครับ

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2012, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


asoka เขียน:
:b8:
ที่คุณพุทธคุณกล่าวถึงทั้งหมดนั้นคือวิธีการและตัวอย่างปฏิบัติการของการเดินทางไปสู่ความเห็นธรรมและความถึงธรรมซึ่งในที่สุดก็ต้องไปลงรู้ในสิ่งที่คุณพุทธคุณเริ่มต้นไว้คือ "การรู้ธรรมเห็นธรรมคือต้องเห็นสังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา"จากนั้นเมื่อปัญญารู้ธรรมตามความเปนจริงเช่นนี้แล้วจึงจะเป็นปัจจัยให้เกิด "นิพพิทาญาณ"คือความเบื่อหน่ายคลายจางในธาตุขันธ์อันจะต่อไปทำให้เกิด การละวางความเห็นผิดยึดผิด แล้วสลัดคืนทุกสิ่งให้กลับคืนสู่ธรรมชาติเดิมแท้ นั่นจึงจะถึงวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายสูงสุดของการปฏิบัติธรรม

การพยายามเน้นชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของสมาธินั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ยังไม่ใช่ประเด็นหลักที่สำคัญ ไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริงของการปฏิบัติธรรม เป็นส่วนหนึ่งของมรรค 8 แต่ยังไม่เข้าประเด็นสำคัญของอริยสัจ 4 ซึ่งจะทำให้เกิดผลของความเข้าใจและเห็นธรรมอย่างถูกต้อง
:b16:


ประเด็นของกระทู้ไม่ได้นำเสนอเรื่องการปฏิบัติครับ แต่ที่คุณอ้างอิงมาและอธิบายไว้นั้น คือการยกตัวอย่างประกอบครับ ซึ่งเป็นเรื่องของการปฎิบัติ เป็นคนละประเด็นกับกระทู้ครับ จริงๆแล้วกระทู้นี้ก็
ไม่ได้นำเสนอในเรื่องลึกซึ้งอะไรเลยครับ เป็นเพียงเรื่องพื้นๆเองครับ แต่คุณไปตีความให้มันลึก และ
กว้างขึ้นไปอีกนิด

อนุโมทนาครับ

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2012, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


กบนอกกะลา เขียน:
...เป็นส่วนหนึ่งของมรรค8 แต่ไม่เข้าประเด็นสำคัญของอริยะสัจ4....
ฮา...อะไรจะปานนั้น
:b32: :b32: :b32:


คุุณไปหัวเราะคุณ asoka เขา แสดงว่าที่เขาพูดมาผิดหรือว่าถูกล่ะครับ
หากผิดแล้วที่ถูกควรจะเป็นยังไงครับช่วยอธิบายในสิ่งที่คุณคิดว่าถูกต้อง
ให้เขาดูได้หรือเปล่าครับ ผมก็อยากรู้นะ

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2012, 18:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
...เป็นส่วนหนึ่งของมรรค8 แต่ไม่เข้าประเด็นสำคัญของอริยะสัจ4....
ฮา...อะไรจะปานนั้น
:b32: :b32: :b32:

:b12:
มองไม่เห็นหรือสติปัญญาส่องไม่ถึงบ่เรื่องนี้ ท่านกบ?

ยิงปืนต้องหมายกลางเป้าที่คะแนนเต็มสิบ อย่าไปเล็งที่ขอบเป้าหรือนอกเป้าจะเปลืองเวลาและกระสุนเด้อเจ้า
onion


งั้น..มรรคของคุณ อโสกะ...เป็นมรรค 7 ไป๊....จะเรียก 8 ไปทำไม

ฮา...ฮา... :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2012, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
และขอเตือนไว้อีกอย่างหนึ่งว่า การรู้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ก็ดี สิ่งที่เราเห็นในระหว่างจิตมีสมาธิ สงบ สว่าง เราเห็นนิมิตต่างๆ เกิดอุทานธรรมขึ้นมาก็ดี สิ่งนั้นเป็นเพียงสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ เมื่อเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วให้เราทำสติไว้ให้ดี.



อยากถามว่าคุณพุทธคุณเขียนเองหรือปล่าวครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2012, 22:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สิ่งนั้นเป็นเพียงสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ


นี้เป็นสไตล์การพูดหนึ่ง...ของหลวงพ่อพุธ....ครับ
:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2012, 23:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธคุณ เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
...เป็นส่วนหนึ่งของมรรค8 แต่ไม่เข้าประเด็นสำคัญของอริยะสัจ4....
ฮา...อะไรจะปานนั้น
:b32: :b32: :b32:


คุุณไปหัวเราะคุณ asoka เขา แสดงว่าที่เขาพูดมาผิดหรือว่าถูกล่ะครับ
หากผิดแล้วที่ถูกควรจะเป็นยังไงครับช่วยอธิบายในสิ่งที่คุณคิดว่าถูกต้อง
ให้เขาดูได้หรือเปล่าครับ ผมก็อยากรู้นะ


ขอโทษครับ...ไม่ได้เจตนา....ไม่ตอบ...แต่ไม่เห็นจริง ๆ

คือคุณอโสกะ..แก่ไม่เอาสมถะ...สมาธิแก่เลยไม่เน้น....สมาธิมันถึงอยู่นอกเป้าหมายของแก่ไป

แต่ที่แก่ทำอยู่....กลับเป็นสมถะจ๋าเลย...แต่แก่ไม่รู้ :b32:

รู้ตัวทั่วพร้อม...รู้ปัจจุบัน...เฝ้าดูเกิดดับของแก่นั้นแหละ..สมถะจ๋าเลย

น่าขำมั้ยละ?

เลยแซวแก่เล่น ๆ ....เรียกมรรค7เลยไป๊..นั้นแหละ

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2012, 23:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: แวะมาดูจ้า .... :b16:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 57 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 39 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร