วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2012, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


"ไตรลักษณ์ ทางลัดของผู้ที่ไม่ต้องการคิดมาก"
สวัสดี สหายทางธรรมทั้งหลาย บทความนี้ ไม่มีการด่านะขอรับ แต่จะแนะนำให้ จะอธิบายให้ท่านทั้งหลายได้เกิดความรู้ความเข้าใจ สำหรับบุคคลทั่วไป ทั้งที่สมองสติปัญญาดี ขยันหมั่นเพียร หรือสำหรับผู้ที่มีสมองสติปัญญาปานกลาง ขยันหมั่นเพียรบ้างแต่ไม่มากนัก รวมไปถึง ผู้ที่มีสมองสติปัญญาทึบ ขยันหมั่นเพียรน้อยสุดสุด และยังมีบุคคลอีกสามประเภท คือ "บุคคลผู้มีสมองสติปัญญาดี แต่ไม่ค่อยขยันหมั่นเพียรเลย และ ผู้มีสมองสติปัญญาปานกลาง แต่ขยันหมั่นเพียรมาก ส่วนประเภทที่สาม คือ บุคคลที่มีสมองสติปัญญาทึบ แต่มีความขยันหมั่นเพียรและมีความพยายามมาก"
อันหลักธรรมในทางพุทธศาสนานั้น มีมากมายหลายหมวด หลายข้อ จำกันแทบไม่หวาดไม่ไหว ถ้าอ่านได้ไปอ่านในพระไตรปิฎกด้วยแล้ว บางคนก็ออกอาการ งง ไม่เข้าใจ หรือบางคนก็เข้าใจตามที่พระไตรปิฎกเขียนไว้ หรือบางคนก็เกิดความเข้าใจที่บิดเบือนไปจากหลักความจริง ดังนั้น จึงได้เกิดมีธรรมโดยย่อ คือย่อเพื่อให้ผู้ที่นำไปคิดพิจารณาได้ง่ายขึ้น
ธรรมเหล่านั้นก็คือ "ไตรลักษณ์"
ไตรลักษณ์ คือ สามัญญลักษณะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ธรรมนิยาม"คือเป็นของแน่นอนเป็นกฎธรรมดา ไม่มีผู้ใดหลีกพ้น
ไตรลักษณ์ เป็น วิธีการคิดพิจารณา สติปัฏฐาน ๔ อย่างย่อ เป็นการลดหรือละหรือเลิก การยึดมั่นถือมั่นหรืออุปาทานทั้งหลายทั้งปวง แห่ง กาย,เวทน,จิต,ธรรม, ซึ่งยังมีรายละเอียดแจกแจงใน อุปาทานทั้งหลายเหล่านั้นอีกตามสมควร(ในที่นี้จะไม่แจกแจง ให้ท่านทั้งหลายไปอ่านหรือศึกษาในพระไตรปิฏก จะได้ผลดีกว่า)
ไตรลักษณ์ เป็นเหตุแห่งทุกข์ใช่หรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ใช่ แต่เป็นเพียงการกำหนด หรือ ย่อความ จากข้อความใหญ่หรือข้อความที่ยาว ให้เหลือสั้นลง และเกิดความรู้ความเข้าใจได้ง่ายขึ้น (ขยายความจากพจนานุกรมไทย ฉบับบัณฑิตยสถานฯ)
ไตรลักษณ์ สามารถทำให้ผู้ที่อ่านและเกิดความรู้ความเข้าใจหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ในระดับหนึ่ง ไปจนถึงระดับอริยะขั้นต้น
ไตรลักษณ์ หมายถึง ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง ได้แก่ ๑.อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ๒.ทุกขตา ความเป็นทุกข์หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้ ๓.อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตัวตนแสดงความตามบาลีดังนี้ ๑.สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ๒.สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ๓.สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัวตน; ลักษณะเหล่านี้มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์, ลักษณะเหล่านี้เป็นของแน่นอน เป็นกฎธรรมดา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ประยุตฺโต)
ยังมีอีกหลายๆท่าน ที่มีความเข้าใจไปในทางที่ผิดๆเกี่ยวกับ ไตรลักษณ์ ท่านทั้งหลายต้องทำความเข้าใจและต้องจดจำบันทึกเอาไว้ว่า การพิจารณาหรือท่องจำในไตรลักษณ์อยู่เป็นนิจนั้น จักทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจใน พฤติกรรม การกระทำ ทั้งทาง กาย วาจา ใจ ของบุคคลรอบข้าง รวมไปถึง สภาพแวดล้อมต่างๆที่อยู่รอบตัว จักทำให้ไม่ยึดติด หรือไม่หลงติดจนเกินควร ไม่โลภ โกรธ หลง จนเกินที่เกินเหตุ เท่ากับว่า "ไตรลักษณ์"เป็นหลักธรรมย่อที่สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดธรรมะต่างๆในสภาพสภาวะจิตใจได้
๑.สัพเพสังขารา อนิจจา สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง คำว่า "สังขาร"ในไตรลักษณ์ หมายถึง "๑.สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด, ตรงกับคำว่า สังขตะหรือสังขตธรรม ได้ในคำว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น ๒.สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล และที่กลาง ๆ เป็นอัพยากฤต ได้แก่เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวง เว้นเวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว, ตรงกับสังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น; อธิบายอีกปริยายหนึ่ง สังขารตามความหมายนี้ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือ เจตนาที่แต่งกรรมหรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่างคือ ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา ๓.จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา ๓.สภาพที่ปรุงแต่งชีวิตมี ๓ คือ ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร ๓.จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา" (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตโต)
ดังนั้น คำว่า สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง คือ ไม่คงที่ มีหมุนวนสับเปลี่ยน มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อยู่เสมอ จะหมุนวนสับเปลี่ยน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เร็ว หรือ ช้า ก็แล้วแต่ เหตุและปัจจัย ซึ่งตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ล้วนเป็นผลแห่งการพิจารณาชั้นสุดท้าย แห่ง สติปัฏฐาน ๔
๒.สัพเพ สังขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ คำว่า "ทุกข์" ในไตรลักษณ์ หมายถึง เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์คือ ๑.ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ๒.ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ๓.เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ ๔.แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ประยุตฺโต) นั่นก็หมายถึง สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่คงที่แล้ว ยังเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ เกิดทุกข์ เพราะ เราคิด เกิดขึ้นเพราะสังขารทั้งหลาย ดังนี้
๓.สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัวตน คำว่า "ธรรม" ในไตรลักษณ์ หมายถึง สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น
คำว่า "อนัตตา" ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน ได้แก่ ๑) เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ ๒) เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง ๓) ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ ๔) เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ ๕) โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ประยุตฺโต)
ดังนั้น "ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มิใช่ตัวตน" หมายถึง ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นเพียงการปรุงแต่งทางความคิด เป็นเพียงความจำ เป็นเพียงความว่างเปล่าคืออากาศธาตุ ไม่มีตัวตน
เมื่อท่านทั้งหลายได้พิจารณาในหลักไตรลักษณ์ ก็ย่อมทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจตามหลัก "สติปัฏฐาน๔" ไม่ยึดมั่นถือมั่นใน อุปาทาน ทั้งหลายตามหลักพุทธศาสนา โดยอัตโนมัติ และยังสามารถทำให้ท่านทั้งหลายดำรงชีวิตอยู่ในสังคมใดใดได้อย่างปกติสุข ตามอัตภาพ หรือสามารถมุ่งสู่จุดสูงสุดในทางพุทธศาสนา คือ นิพพาน ได้ในไม่ช้า
ท่านทั้งหลายอาจสงสัยว่า ทำไมข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า หากท่านทั้งหลายได้คิดได้พิจารณาในหลักไตรลักษณ์แล้ว จะสามารถท่านทั้งหลายดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ หลักสำคัญของ ไตรลักษณ์ เพียงเพื่อให้ผู้เรียนรู้ ได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยว ความเป็นกฎธรรมดา ความเป็นของแน่นอน หรือ ความเป็นธรรมชาติ ของ สังขารทั้งหลายทั้งปวง ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง ธรรมทั้งหลายทั้งปวง อันเป็นผลโดยย่อ หรือเป็นข้อพิจารณาโดยย่อ แห่ง สติปัฏฐาน ๔ ฉะนี้

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๒ มีนาคม ๒๕๕๕
ผู้เขียน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2012, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พี่เท ถามจริงๆ พี่พิมพ์หรือก๊อบมาจากไหนขอรับ

ถ้าพิมพ์ทั้งหมดนั่น คงต้องขอคารวะฮิ คือขยันพิมพ์จริงๆนิ

แต่ที่จั่วหัวว่าไม่ด่านั่นน่า เชื่อได้แค่ไหนขอรับ :b1:

คนเคยด่าจนติดแล้วเนี่ย พูดไปๆ เดี๋ยวก็ลงล๊อคมันอีก :b9:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2012, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาเนี่ย เป็นลักษณะสามัญของสิ่งทั้งหลาย เป็นความจริง

ที่แสดงตัวของมันเองอยู่ตามธรรมดาทุกเวลา แต่คนทั่วไปก็มองไม่เห็น ทั้งนี้เพราะเป็นเหมือนมีสิ่ง

ปิดบังคอยซ่อนคลุมไว้

ถ้าไม่มนสิการ คือ ไม่ใส่ใจพิจารณาอย่างถูกต้อง ก็มองไม่เห็น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2012, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ภาค ๑-หน้าที่ 682

อรรถกถาอุทยัพพยญาณนิทเทส

พระโยคาวจรนั้น เมื่อเห็นความเกิดและความเสื่อมของขันธ์ ๕ อย่างนี้

ย่อมรู้อย่างนี้ ว่า การรวมเป็นกองก็ดี การสะสมก็ดี ย่อมไม่มีแก่ขันธ์ที่ยังไม่

เกิดก่อนแต่ขันธ์เหล่านี้เกิด, ชื่อว่าการมา โดยรวมเป็นกอง โดยความ

สะสม ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่เกิดขึ้น, ชื่อว่าการไปสู่ทิศน้อยใหญ่ ย่อมไม่มีแม้

แก่ขันธ์ที่ดับ, ชื่อว่าการตั้งลงโดยรวมเป็นกอง โดยสะสม โดยเก็บไว้ในที่

แห่งหนึ่ง ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่ดับแล้ว. เหมือนนักดีดพิณ เมื่อเขาดีดพิณอยู่

เสียงพิณก็เกิด, มิใช่มีการสะสมไว้ก่อนเกิด, เมื่อเกิดก็ไม่มีการสะสม, การ

ไปสู่ทิศน้อยใหญ่ออกเสียงพิณที่ดับไปก็ไม่มี, ดับแล้วไม่ว่าที่ไหนก็ไม่สะสมตั้ง

ไว้, ที่แท้แล้วพิณก็ดี นักดีดพิณก็ดีอาศัยความพยายามอันเกิดแต่ความ

พยายามของลูกผู้ชายไม่มีแล้วยังมีได้, ครั้นมีแล้วยังเสื่อมได้ฉันใด, ธรรมมีรูป

และไม่มีรูปแม้ทั้งหมดก็ฉันนั้นไม่มีแล้วยังมีได้ ครั้นมีแล้วยังเสื่อมได้ พระ

โยคาวจรย่อมเห็นด้วยประการฉะนี้แล.

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2012, 23:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
สภาวะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาเนี่ย เป็นลักษณะสามัญของสิ่งทั้งหลาย เป็นความจริง

ที่แสดงตัวของมันเองอยู่ตามธรรมดาทุกเวลา แต่คนทั่วไปก็มองไม่เห็น ทั้งนี้เพราะเป็นเหมือนมีสิ่ง

ปิดบังคอยซ่อนคลุมไว้

ถ้าไม่มนสิการ คือ ไม่ใส่ใจพิจารณาอย่างถูกต้อง ก็มองไม่เห็น


:b8:

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2012, 13:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านว่าไตรลักษณ์มันแสดงตัวมันเองตลอดเวลา แต่เราไม่เห็น ท่านว่าเหมือนมีเครื่องปิดบังซ่อนคลุมไตรลักษณ์ไว้ไม่ให้เราเห็น

แล้วอะไรเอ่ย ? ที่คอยปิดบังไว้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2012, 14:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วที่ว่า ทางลัดคือไม่ต้องคิดมาก คิดแต่พอดีๆว่างั้น แล้วคิดขนาดไหนล่ะถึงจะพอดี ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2012, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ท่านว่าไตรลักษณ์มันแสดงตัวมันเองตลอดเวลา แต่เราไม่เห็น ท่านว่าเหมือนมีเครื่องปิดบังซ่อนคลุมไตรลักษณ์ไว้ไม่ให้เราเห็น

แล้วอะไรเอ่ย ? ที่คอยปิดบังไว้


สันตติ ความสืบต่อ ความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ปิดบังอนิจจลักษณะ
อิริยาบถ การเคลื่อนไหวของร่างกาย ปิดบังทุกขลักษณะ
ฆนะ (สันตติฆนะ สมูหฆนะ กิจจฆนะ อารัมมณฆนะ)ความเป็นกลุ่มก้อน ปิดบังอนัตตลักษณะ

ถูกหรือเปล่าคะ รบกวนท่านกรัชกายอรรถาธิบายรายละเอียดด้วยเจ้าค่ะ :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2012, 15:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


ไตรลักษณ์ คือ ความจริง
พอใจ ไม่พอใจ คือ ความเชื่อ ความไม่รู้
แล้วท่านจะเลือกทางไหนระหว่าง 2 ทางนี้ ถ้าท่านไม่เอาความจริงดับ ท่านก็คิดมาก คิดปรุงแต่ง นี้เรียกว่าการผัสสะทางใจ ทำให้เกิดพอใจ ไม่พอใจ สุดท้ายทุกข์ตามมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2012, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พี่เท ถามจริงๆ พี่พิมพ์หรือก๊อบมาจากไหนขอรับ

ถ้าพิมพ์ทั้งหมดนั่น คงต้องขอคารวะฮิ คือขยันพิมพ์จริงๆนิ

แต่ที่จั่วหัวว่าไม่ด่านั่นน่า เชื่อได้แค่ไหนขอรับ :b1:

คนเคยด่าจนติดแล้วเนี่ย พูดไปๆ เดี๋ยวก็ลงล๊อคมันอีก :b9:


อ้าว..เอาอีกแล้ว...เจ้ากรัชกาย ..เจ้าอ่านภาษาไทย ไม่รู้เรื่องหรืออย่างไร ที่เขียนเองก็มี
ที่จำต้องก๊อปปี้มาก็มี ที่วงเล็บว่านำมาจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ฯ นั่นแหละ คัดลอกมา
รับรองไม่ด่า ตามที่จั่วหัว ..ไอ้..ห....อ่านภาษาไทยแล้วไม่รู้เรื่อง โอ๊ะ ขออภัย เผลอตัวไปขอรับ ขออภัยทุกท่านขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2012, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
แล้วที่ว่า ทางลัดคือไม่ต้องคิดมาก คิดแต่พอดีๆว่างั้น แล้วคิดขนาดไหนล่ะถึงจะพอดี ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป :b10:


บะ..แล้วกัน ..ก็คิดขนาดเท่าที่บุคคลนั้นๆจะสามารถคิดได้ โดยไม่หมกหมุ่นจนเกินเหตุ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อบุคคลทั้งหลายได้อ่านบทความเรื่อง "ไตรลักษณ์ ทางลัดของผุ้ที่ไม่ต้องการคิดมาก" และเกิดความเข้าใจแล้ว ก็ไม่ต้องคิดอะไรมากอีกต่อไป เมื่อได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมต่างๆด้วยอายตนะภายนอกโดย อายตนะภายใน บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น ก็จะเกิดความเข้าใจในทันทีโดยไม่ต้องคิดอะไรให้ปวดเฮด..ปวดหัว.ปวดกบาล..เข้าใจหรือเปล่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2012, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พูดกับคนบ้าหลงโลกหลงชีวิตหลงกลางวันกลางยากจะเคลียร์ :b18: :b24:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2012, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปลีกวิเวก เขียน:
กรัชกาย เขียน:

แล้วอะไรเอ่ย ? ที่คอยปิดบังไว้


สันตติ ความสืบต่อ ความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ปิดบังอนิจจลักษณะ
อิริยาบถ การเคลื่อนไหวของร่างกาย ปิดบังทุกขลักษณะ
ฆนะ (สันตติฆนะ สมูหฆนะ กิจจฆนะ อารัมมณฆนะ)ความเป็นกลุ่มก้อน ปิดบังอนัตตลักษณะ

ถูกหรือเปล่าคะ รบกวนท่านกรัชกายอรรถาธิบายรายละเอียดด้วยเจ้าค่ะ



ถูกครับ


นำมาให้พิจารณาตรงนี้เพียง ข้อ 2 พอ ซึ่งเราพอจะสังเกตเห็นได้


2. อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ

ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความบีบคั้นกดดันที่มีอยู่ตลอดเวลา ก็ถูกอิริยาบถ คือ ความยักย้ายเคลื่อนไหวปิดบังไว้ ทุกขลักษณะจึงไม่ปรากฏ

ภาวะที่ทนอยู่มิได้ หรือ ภาวะที่คงสภาพเดิมอยู่มิได้ หรือ ภาวะที่ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้ ด้วยมีแรงบีบคั้น กดดันขัดแย้ง เร้าอยู่ภายในส่วนประกอบต่างๆนั้น จะถึงระดับที่ปรากฏแก่สายตา หรือความรู้สึกของมนุษย์ มักจะต้อง ใช้เวลาระยะหนึ่ง

แต่ในระหว่างนั้น ถ้ามีการคืบเคลื่อน ยักย้าย หรือ ทำให้แปรรูป เป็นอย่างอื่นไปเสียก่อนก็ดี สิ่งที่ถูกสังเกตเคลื่อนย้าย พ้นจากผู้สังเกตไปเสียก่อน (= สภาวธรรมเปลี่ยนแปรไปตามเหตุปัจจัยของมัน แต่โยคีไม่สังเกต) หรือผู้สังเกตแยกพรากจากสิ่งที่ถูกสังเกต ไปเสียก่อนก็ดี

ภาวะที่บีบคั้น กดดัน ขัดแย้งนั้น ไม่ทันปรากฏให้เห็น ปรากฏการณ์ส่วนใหญ่มักเป็นเช่นนี้ ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ


ในร่างกายของมนุษย์นี้แหละ ไม่ต้องรอให้ถึงขั้นชีวิตแตกดับดอก แม้ในชีวิตประจำวันนี้เอง ความบีบคั้น กดดัน ขัดแย้งก็มีอยู่ตลอดเวลา ทั่วองคาพยพ จนทำให้มนุษย์ไม่อาจอยู่นิ่งเฉย ในท่าเดียวได้

ถ้าเราอยู่ หรือ ต้องอยู่ ในท่าเดียวนานมากๆ เช่น ยืนอย่างเดียว นั่งอย่างเดียว เดินอย่างเดียว นอนอย่างเดียว ความบีบคั้น กดดันตามสภาวะ จะค่อยๆเพิ่มมากขึ้นๆ จนถึงระดับที่เกิดเป็นความรู้สึกบีบคั้นกดดัน ที่คนทั่วไปเรียกว่า ทุกข์ เช่นเจ็บ ปวด เมื่อย จนในที่สุดก็จะทนไม่ไหว และต้องยักย้ายเปลี่ยน ไปสู่ท่าอื่น ที่เรียกว่า อิริยาบถอื่น

เมื่อความบีบคั้น กดดัน อันเป็นทุกข์ตามสภาวะนั้นสิ้นสุดลง ความบีบคั้น กดดัน ที่เรียกว่าความรู้สึกทุกข์ ก็หายไปด้วย (ในตอนที่ความรู้สึกทุกข์หายไปนี้ มักจะมีความรู้สึกสบายที่เรียกว่า ความสุข เกิดขึ้นมาแทนด้วย แต่อันนี้ เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น ว่าโดยสภาวะแล้ว มีแต่ความทุกข์หมดไปอย่างเดียว เข้าสู่ภาวะปราศจากทุกข์)

ในความเป็นอยู่ประจำวันนั้น เมื่อเราอยู่ในท่าหนึ่ง หรืออิริยาบถหนึ่งนานๆ พอจะรู้สึกปวด เมื่อย เป็นทุกข์ เราก็ชิงเคลื่อนไหว เปลี่ยนไปสู่ท่าอื่น หรืออิริยาบถอื่นเสีย หรือ เรามักจะเคลื่อนไหว เปลี่ยนท่า เปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ จึงหนีรอด จากความรู้สึกทุกข์ ไปได้ เมื่อไม่รู้สึกทุกข์ ก็เลยพลอยมองข้าม ไม่เห็นความทุกข์ ที่เป็นความจริงตามสภาวะ ไปเสียด้วย ท่านจึงว่า อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ


ที่เหลือดูต่อที่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 107#msg107

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2012, 00:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2012, 15:49
โพสต์: 20

ชื่อเล่น: ทะเล
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชอบมากเลยครับสำหรับคำตอบของคุณปลีกวิเวก กระทัดรัด ตรง และเห็นได้เลย ขอให้สงบในความวิเวกครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2012, 02:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปลีกวิเวก เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ท่านว่าไตรลักษณ์มันแสดงตัวมันเองตลอดเวลา แต่เราไม่เห็น ท่านว่าเหมือนมีเครื่องปิดบังซ่อนคลุมไตรลักษณ์ไว้ไม่ให้เราเห็น

แล้วอะไรเอ่ย ? ที่คอยปิดบังไว้


สันตติ ความสืบต่อ ความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ปิดบังอนิจจลักษณะ
อิริยาบถ การเคลื่อนไหวของร่างกาย ปิดบังทุกขลักษณะ
ฆนะ (สันตติฆนะ สมูหฆนะ กิจจฆนะ อารัมมณฆนะ)ความเป็นกลุ่มก้อน ปิดบังอนัตตลักษณะ

ถูกหรือเปล่าคะ รบกวนท่านกรัชกายอรรถาธิบายรายละเอียดด้วยเจ้าค่ะ :b8:

ไปหยิบบทความสาธารณะมาตอบ มาถามแบบนี้มันจะเกิดประโยชน์อะไรครับ
คำตอบที่ได้จึงออกมาเป็น แบบที่ขาดความเข้าใจในเนื้อหา เพราะสิ่งที่ตอบเป็นประสบการณ์
ของคนอื่น

การตอบการถามเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ควรจะเอาประสบการณ์ของตัวเองเป็นที่ตั้ง
เราจะได้รู้ว่าสภาวะที่ถามเป็นอย่างไรและสามารถเอาคำตอบมาเทียบกับสภาวะของตัวเอง
มันจะได้เห็นจริงตามสภาวะ

คุณครับ เป็นเพราะคุณคิดว่า การได้มาซึ่งไตรลักษณ์จะต้องนั่งสมาธิทำกรรมฐาน
ความเห็นที่เกี่ยวกับไตรลักษณ์ของคุณ มันถึงได้ออกมาในลักษณะนั้น
แท้จริงแล้วสิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์ ก็มีเพียงตัวเดียวก็คือ โมหะ

การใช้ชีวิตจึงต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา เพราะสติและสมาธิที่ตั้งมั่น เป็นเหตุให้เห็นไตรลักษณ์
ปลีกวิเวก เขียน:
สันตติ ความสืบต่อ ความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ปิดบังอนิจจลักษณะ
อิริยาบถ การเคลื่อนไหวของร่างกาย ปิดบังทุกขลักษณะ
ฆนะ (สันตติฆนะ สมูหฆนะ กิจจฆนะ อารัมมณฆนะ)ความเป็นกลุ่มก้อน ปิดบังอนัตตลักษณะ
ถูกหรือเปล่าคะ รบกวนท่านกรัชกายอรรถาธิบายรายละเอียดด้วยเจ้าค่ะ :b8:

คงจะไม่มีใครกล้าตอบแบบฟันธงกับความเห็นของคุณ เพราะมันเป็นบทความสาธารณะ
แต่ผมกล้าครับ

สันตติ ที่คุณบอกว่า เป็นตัวปิดบัง อนิจจลักษณะ แบบนี้เป็นเพราะผู้ที่กล่าว
กล่าวตามเหตุผลตามตรรกะ ซึ่งมันใช้ไม่ได้ การเข้าไปรู้ อนิจจลักษณะ
ไม่ได้หมายถึง การเกิดดับของจิต แต่มันเป็นการแปลเปลี่ยนของสภาวะอารมณ์
อารมณ์ที่ว่า ก็คือ โลภ โกรธ หลงและราคะ

อิริยาบถ การเคลื่อนไหวของร่างกาย ปิดบังทุกขลักษณะ มันเกี่ยวอะไรกันครับ
การเลื่อนไหวของร่างกายหรือการเปลี่ยนอิริยาบท
เพราะทุกข์ต่ออิริยาบทเดิมจึงต้องเปลี่ยนอิริยาบท
นี่เป็นเพราะมันเกิดทุกข์ขึ้นแล้ว เกิดโมหะและโทสะ
มาปิดบังทุกข์ไว้

ฆนะ ไอ้ความต่อเนื่องหรือการเป็นกลุ่มก้อนนี่แหล่ะ เป็นเหตุให้เห็นไตรลักษณ์
ความเป็นกลุ่มก้อนของขันธ์ ทำให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงของขันธ์ได้
ฆนะ ไม่ได้มาปิดบัง อนันตลักษณะ แต่กลับมาช่วยให้เราเข้าใจ เรื่องอนันตลักษณะ
มากขึ้นครับ

สาเหตุที่บทความของคุณวิเวกออกมาอย่างนี้ เป็นเพราะผู้เขียนบทความ
เข้าใจไปว่า การไปรู้ไตรลักษณ์ คือการไปเห็นการเกิดดับของจิตแบบนี้คลาดเคลื่อน
มันกลับข้างกัน เป็นเพราะเราไปรู้ไตรลักษณ์ เราจึงรู้ว่าจิตมันเกิดดับครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 42 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron