ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
เอามาฝาก (2) http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=41949 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 02 พ.ค. 2012, 18:47 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | เอามาฝาก (2) | ||
lc_kukko เขียน: มือของผู้ให้ อยู่สูงกว่ามือของผู้รับ ชื่อของผู้ให้ น่าจดจำกว่าชื่อของผู้ขอ เกียรติของผู้ให้ กรุ่นหอมอยู่เหนือกาลสมัย ยิ่งกว่าเกียรติศักดิ์ของนักรบและปวงวีรบุรุษ การให้ แค่เพียงคิดจะทำ ใจก็ยังเป็นสุข ครั้นได้ให้แล้ว จิตใจก็แช่มชื่นเบิกบาน เมื่อวันเวลาผ่านไป หวนกลับไปรำลึกถึงดวงหน้าอันเปี่ยมสุขของผู้รับ ความปิติสุขก็ย้อนกลับมาทำให้หัวใจอิ่มเอม การให้ จึงเป็นความสุขแท้ ทั้งเวลาก่อนให้ ขณะที่ให้และหลังจากได้ให้ไปแล้ว http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=41719 ![]()
|
เจ้าของ: | ฝึกจิต [ 02 พ.ค. 2012, 18:49 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เอามาฝาก (2) |
วิริยะ เขียน: lc_kukko เขียน: มือของผู้ให้ อยู่สูงกว่ามือของผู้รับ ชื่อของผู้ให้ น่าจดจำกว่าชื่อของผู้ขอ เกียรติของผู้ให้ กรุ่นหอมอยู่เหนือกาลสมัย ยิ่งกว่าเกียรติศักดิ์ของนักรบและปวงวีรบุรุษ การให้ แค่เพียงคิดจะทำ ใจก็ยังเป็นสุข ครั้นได้ให้แล้ว จิตใจก็แช่มชื่นเบิกบาน เมื่อวันเวลาผ่านไป หวนกลับไปรำลึกถึงดวงหน้าอันเปี่ยมสุขของผู้รับ ความปิติสุขก็ย้อนกลับมาทำให้หัวใจอิ่มเอม การให้ จึงเป็นความสุขแท้ ทั้งเวลาก่อนให้ ขณะที่ให้และหลังจากได้ให้ไปแล้ว http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=41719 ![]() สาธุ สาธุ สาธุ ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 04 พ.ค. 2012, 11:19 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: เอามาฝาก (2) | ||
poivang เขียน: การให้ผลของกรรมเปรียบกับวัตถุที่ตกจากที่สูง วัตถุที่ตกจากที่เดียวกันเวลาใกล้เคียงกัน แต่วัตถุไหนหนักกว่าก็จะตกถึงพื้นก่อนวัตถุที่เบากว่า เปรียบดังกับกรรมทั้งสองอย่างคือ กรรมดีและกรรมไม่ดี กระทำในเวลาใกล้เคียงกัน กรรมที่หนักกว่าจะเป็นกรรมที่ดีหรือไม่ดีก็ตามย่อมส่งผลก่อน กรรมที่เบากว่าย่อมส่งผลที่หลังและย่อมส่งผลทั้งสองแน่นอนไม่เร็วก็ช้า ไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้า ไม่ชาติหน้าก็ชาติต่อไป ต่อไป อาจจะอีกกหลายภพหลายชาติก็ได้ แล้วแต่เหตุปัจจัย เพราะกรรมไม่ใช่สิ่งที่ลบเลือนได้ด้วยกาลเวลา จะนานสักเพียงไรกรรมก็ยังตามส่งให้ผลอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นกรรมหนักกรรมเบาก็ตาม กรรมจึงมีอำนาจเหนืออำนาจทั้งปวง viewtopic.php?f=4&t=24624 ![]()
|
เจ้าของ: | วิริยะ [ 05 พ.ค. 2012, 07:00 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: เอามาฝาก (2) | ||
viewtopic.php?f=7&t=41835 ![]()
|
เจ้าของ: | ฝึกจิต [ 05 พ.ค. 2012, 07:18 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เอามาฝาก (2) |
วิริยะ เขียน: http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=41835 ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 10 พ.ค. 2012, 08:47 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เอามาฝาก (2) |
ทัพหลวง เขียน: ชายใดปรารถนาเป็นบุรุษทุกๆ ชาติไป ก็พึงเว้นภรรยาผู้อื่นเสีย เหมือนบุคคลล้างเท้าสะอาด แล้วเว้นเปือกตม ฉะนั้น หญิงใดปรารถนาเป็นบุรุษทุกๆ ชาติไป ก็พึงยำเกรงสามี เหมือนนางเทพอัปสรผู้เป็นบาทบริจาริกา ยำเกรงพระอินทร์ ฉะนั้น http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16383 ![]() |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 12 พ.ค. 2012, 07:30 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: เอามาฝาก (2) | ||
ฟ้าใสใส เขียน: ... การให้อภัย อาจพูดง่าย แต่ทำยาก แม้จะเป็นเรื่องยาก เพราะใจไม่อยากทำ แต่ก็สามารถทำได้เมื่อเราฝืนใจทำและจะเป็นความสุขใจในภายหลังเมื่อครวญคำนึง มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเล่าให้ข้าพเจ้าฟัง เป็นเรื่องที่มีอุทาหรณ์และคติน่าคิดมาก เกี่ยวกับเรื่องของคนที่ไม่ยอมให้อภัยใครและเป็นคนผูกโกรธ ผูกเกลียด ผูกอาฆาตพยาบาท มองเห็นคนอื่นเป็นศัตรูคู่ต่อสู้ตลอดเวลา กระทั่งวันหนึ่งตายไปพร้อมกับจิตใจที่ขุ่นมัวและผูกอาฆาต ท่านเล่าว่า เขาอธิษฐานไปเกิดเป็นลูกของศัตรู เพื่อจะได้ทำร้ายจิตใจอย่างใกล้ชิด แนบเนียนที่สุด จะได้เผาผลาญคนนั้นให้ถึงที่สุดให้ทุกข์ที่สุด ให้สาละวนอยู่กับเรื่องทุกข์ตลอดเวลา เขาเป็นลูกเกเร ผลาญทรัพย์ ทำลายวงศ์สกุล นำความทุกข์เดือดร้อนเข้าบ้านทุกวัน ... viewtopic.php?f=7&t=41755 ![]()
|
เจ้าของ: | วิริยะ [ 14 พ.ค. 2012, 08:27 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: เอามาฝาก (2) | ||
viewtopic.php?f=7&t=20080 ![]()
|
เจ้าของ: | วิริยะ [ 15 พ.ค. 2012, 08:42 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เอามาฝาก (2) |
eragon_joe เขียน: อาสวะที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ นั้น เพราะอาศัยการเพ่งโทษ ถ้าเราจักตั้งใจไม่เพ่งโทษใคร ๆ อาสวะก็จะเกิดได้ด้วยยากเหมือนกัน เมื่อบุคคลตามมองดู ซึ่งโทษของผู้อื่น เป็นบุคคลมีความหมายจะยกโทษเป็นนิตย์ อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญขึ้นแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้นเป็นผู้ห่างไกลจากธรรมที่สิ้นอาสวะ ถ้าฟังตามคาถาพระพุทธภาษิตก็จะทำให้เราชัดได้ว่า อาสวะนั้นมีมาในเวลาที่เพ่งโทษ เรายังไม่เพ่งโทษ อาสาวะก็ยังไม่มีมา หรือเมื่อจิตที่ประกอบด้วยอาสวะคราวนั้นดับไปแล้ว อาสวะก็ดับไปด้วย ก็เป็นอันไม่มีเหมือนกัน การที่เห็นว่าอาสวะมีอยู่เสมอจึงเป็นความเห็นผิด viewtopic.php?f=7&t=42041 ![]() |
เจ้าของ: | ให้ทาง [ 15 พ.ค. 2012, 13:30 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เอามาฝาก (2) |
สาธุ ขออนุโมทนาครับ พระท่านจึงสอนให้เราเพ่งโทษตัวเอง มากกว่าไปเพ่งโทษผู้อื่น ![]() ![]() |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 25 พ.ค. 2012, 08:49 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เอามาฝาก (2) |
FLAME เขียน: ขันติ คือ ความไม่โกรธ ในเมื่อเขาด่าอยู่ ประหารอยู่ เย้ยหยันอยู่ Dhamma panja เขียน: ผู้ใดรู้ว่าคนอื่นโกรธแล้ว มีสติ ระงับได้ ผู้นั้น ชื่อว่าบำเพ็ญประโยชน์แก่คนถึง ๒ คน คือ ทั้งแก่ตนเอง และแก่คนอื่น viewtopic.php?f=1&t=41958&start=15 ![]() |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 27 พ.ค. 2012, 07:35 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เอามาฝาก (2) |
กรัชกาย เขียน: ทั้งที่ความเป็นอนิจจัง ทุกข์ และอนัตตานี้ เป็นลักษณะสามัญของสิ่งทั้งหลาย เป็นความจริงที่แสดงตัวของมันเองอยู่ตามธรรมดาตลอดทุกเวลา แต่คนทั่วไปก็มองไม่เห็น ทั้งนี้เพราะเป็นเหมือนมีสิ่งปิดบัง คอยซ่อนคลุมไว้ ถ้าไม่ มนสิการ คือ ไม่ใส่ใจพิจารณาอย่างถูกต้อง ก็มองไม่เห็น สิ่งที่เป็นเหมือนเครื่องปิดบังซ่อนคลุมเหล่านี้ คือ 1. สันตติ บัง อนิจจลักษณะ 2. อิริยาบถ บัง ทุกขลักษณะ 3. ฆนะ บัง อนัตตลักษณะ สันตติ - ความสืบต่อ หรือ ความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง อิริยาบถ - ความยักย้ายเคลื่อนไหวร่างกาย ฆนะ - ความเป็นแท่ง เป็นก้อนเป็นชิ้น เป็นอัน เป็นมวล หรือเป็นหน่วยรวม viewtopic.php?f=2&t=34495 ![]() |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 29 พ.ค. 2012, 08:54 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เอามาฝาก (2) |
student เขียน: วิบัติ ของ เมตตาคือ ความลำเอียงครับ เช่น บางคนรักแมวแต่ไม่ชอบหมา เราชอบคนนั้น แต่ไม่ชอบอีกคนเพราะนิสัยไม่ดี นี่คือ วิบัติ ของความเมตตา วิบัติ ของความกรุณา คือ ความเศร้าโศกเสียใจครับ อยากให้เขาพ้นทุกข์แต่ไม่สำเร็จ ก็เกิดวิบัติ ของความกรุณา วิบัติ ของมุทิตา คือ ความพยาบาท วิบัติ ของอุเบกขา คือ ความขี้เกียจ ไม่กระตือรือร้น ครับผม viewtopic.php?f=1&t=41787&start=15 ![]() |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 01 มิ.ย. 2012, 11:07 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: เอามาฝาก (2) | ||
Hanako เขียน: คนเราก็มี "จิตกับกาย" เป็นของคู่กัน กายไม่ใช่ของสำคัญนักเพราะไม่ใช่ของถาวร "เมื่อร่างกายตาย" ธาตุทั้ังสี่ซึ่งประกอบด้วยดิน น้ำ ลม ไฟ เหล่านี้ก็แตกสลายไปสู่สภาพเดิมของมัน ส่วน "จิต" เป็นของสำคัญ เพราะเป็นสิ่งถาวร เป็นตัวธาตุแท้ที่อาศัยอยู่ในรูปกาย เป็นตัวก่อชาติก่อภพ เป็นตัวเสวยสุข เสวยทุกข์ มิได้แตกสลายไปตามร่างกายด้วย ย่อมมีอยู่ ตั้งอยู่ในโลก แต่เป็นสิ่งอัศจรรย์ที่มองไม่เห็น viewtopic.php?f=7&t=42145 ![]()
|
เจ้าของ: | วิริยะ [ 17 มิ.ย. 2012, 18:08 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: เอามาฝาก (2) | ||
ตรงประเด็น เขียน: พอจิตเป็นสมาธิ มีความสงบ มันอิ่มอารมณ์ ไม่เสียดายในความคิดความปรุงไปทางรูป ทางเสียง ทางกลิ่น ทางรสต่างๆ พอใจอยู่กับความสงบใจของตนนั้น เรียกว่าจิตมีสมาธิ จิตอิ่มอารมณ์ คือไม่อยากคิดกับอารมณ์นั้นอารมณ์นี้ อาศัยความสงบเย็นใจ ความแน่นหนามั่นคงของสมาธินั้นเป็นเรือนอยู่ของใจ จิตขั้นนี้ เวลามันสงบมีกำลังมากๆ แล้วมันจะรำคาญในการคิด การปรุงต่างๆ ซึ่งแต่ก่อนมันหิวโหยมาก ไม่ได้คิดได้ปรุงอยู่ไม่ได้ ดีดดิ้นอยากคิดอยากปรุง พอจิตมีความสงบเป็นจิตแน่นหนามั่นคง เรียกว่าเป็นสมาธิเต็มที่แล้วนั้น ไม่อยากคิด ความคิดเป็นการรบกวนตัวเอง จิตที่อยู่แน่วมีแต่ความรู้ที่เด่นอยู่ภายในตัวนั้น ถือว่า เป็นความสะดวกสบาย ไม่มีอะไรมากวนใจ เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีสมาธิ จึงมักติดในสมาธิ หรือติดในสมาธิ เพราะสมาธินี้ก็เป็นอารมณ์กล่อมใจได้ดี viewtopic.php?f=2&t=29413 ![]()
|
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |