ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
มัชฌิมาปฏิปทา มรรคมีองค์แปด ทางสายเดียว http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=41973 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | เสียงธรรม [ 04 พ.ค. 2012, 13:26 ] |
หัวข้อกระทู้: | มัชฌิมาปฏิปทา มรรคมีองค์แปด ทางสายเดียว |
![]() "มัชฌิมาปฏิปทา" คือ ทางสายกลาง หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ทำให้บรรลุนิพพานไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป ซึ่งประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติและสัมมาสมาธิ นิพพาน หรือ นิโรธ เป็นความสุขที่คนในสังคมอินเดียโบราณต่างมุ่งแสวงหา เพราะถือว่าเป็นความสุข สงบที่เป็นอมตะ ไม่ผันแปร ในการแสวงหานั้น มีหลักความเชื่ออยู่ 2 อย่าง คือความเชื่อที่ว่า การจะบรรลุถึงนิพพานได้นั้น มีได้ด้วยการทรมานตนเองให้ลำบาก กับความเชื่อที่ว่าการจะบรรลุถึงนิพพานนั้น มีได้ด้วยการทำตนเองให้พร้อมพรั่งด้วยสิ่งอำนวยความสุขต่างๆ เมื่อเกิดความเชื่อเช่นนั้น จึงทำให้เกิดการปฏิบัติต่างๆ ติดตามมา ผู้ที่เชื่อว่าการบรรลุนิพพาน มีได้ด้วยการทรมานตนเองให้ลำบาก ก็ได้ทรมานตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิ อดอาหารจนร่างกายซูบผอม นอนบนหนาม เอาขี้เถ้าทาตัว และไม่อาบน้ำ ส่วนผู้ที่เชื่อว่า การบรรลุนิพพาน มีได้ด้วยการทำตนเองให้พร้อมพรั่งด้วยสิ่งอำนวยความสุขต่าง ๆ ก็ได้แสวงหาสะสม และหมกมุ่นอยู่กับการเสพสุข แล้วในที่สุดผู้ที่มีความเชื่อ 2 อย่างนั้น ก็ไม่ได้บรรลุนิพพานอย่างที่หวังไว้ เพราะฝ่ายแรกตึงเกินไป และฝ่ายหลังหย่อนเกินไป เพราะเริ่มต้นมาจากการปฏิบัติผิดนั่นเอง พระพุทธเจ้า ก่อนตรัสรู้ทรงปฏิบัติตามข้อปฏิบัตินี้มาแล้ว ครั้นทรงเห็นว่าไม่ใช่ทาง หรือข้อปฏิบัติให้ได้บรรลุนิพพาน จึงทรงแสวงหาทางสายใหม่ ในที่สุดก็ทรงพบอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ 8 คือ อริยมรรค อริยมรรค มีองค์ 8 "อริยมรรค" คือ หนทางที่ประเสริฐ (อริยะ =ประเสริฐ มรรค = หนทาง) หนทางที่ประเสริฐ ตามความหมายในพระพุทธศาสนา หมายถึง หนทางที่ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 8 อย่าง หากเปรียบเหมือนถนนหนึ่งเส้น ก็จะมี 8 เลนในเส้นทางเดียว 1. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ 3. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ การทำงานชอบ 5. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ 6. สัมมาวายามะ เพียรชอบ 7. สัมมาสติ ระลึกชอบ 8. สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นชอบ ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | asoka [ 04 พ.ค. 2012, 16:56 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มัชฌิมาปฏิปทา มรรคมีองค์แปด ทางสายเดียว |
![]() มรรค 8 อีกสำนวนหนึ่ง ![]() มรรค ๘ เป็นหลักปฏิบัติธรรมที่เป็นทางสายกลางเพราะเจริญ ปัญญา ศีล สติ สมาธิ ไปพร้อมๆกันสนับสนุนซึ่งกันและกันไปจนกว่าจะถึงที่หมายปลายทางคือ นิพพาน แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม- ก..ปัญญามรรค มี ๒ ข้อ คือ ๑.สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ความเห็นถูกต้อง คือเห็นอริสัจ ๔ และเห็นว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างเป็น อนัตตา ในทางปฏิบัติคือตาปัญญาที่ไป เห็น ดู รู้ ๒.สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ความคิดถูกต้อง คือคิดออกจากความยินดี ยินร้ายและการเบียดเบียนในทางปฏิบัติคือตาปัญญาที่ไปสังเกต พิจารณา ข. ศีลมรรค มี ๓ ข้อ คือ ๓.สัมมาวาจา การพูดจาชอบ คือไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ในทางปฏิบัติคือการพูดแต่เรื่องอนัตตาและวิธี ที่จะทำให้เข้าถึงอนัตตาและนิพพาน ๔.สัมมากัมมันตะ การทำการงานชอบ คือการงานที่ไม่ผิดศีล ๕ ในทางปฏิบัติ คือการเจริญมรรคทั้ง ๘ ทำงานค้นหาอนัตตา ปล่อยวางอัตตาจนกว่าจะเข้าถึงนิพพานได้โดยสมบูรณ์ ๕.สัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพชอบ คืออาชีพที่ไมผิดและไม่สนับสนุนให้ทำผิดศีล ๕ ในทางปฏิบัติคือการทำมาหาเลี้ยงชีพให้มีชีวิตรอดมาทำสัมมากัมมันตะคือเจริญมรรค ๘ เพื่อให้เข้าถึงนิพพานได้โดยเร็ว ค.สมาธิมรรค มี ๓ ข้อ คือ ๖.สัมมาวายามะ ความพากเพียรชอบ แบ่งออกอีกเป็น ๔ ข้อย่อย เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า สัมมัปปทาน ๔ คือ ๑.บาปอกุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรละ ๒.บาปอกุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรระวัง ไม่ให้เกิด ๓.กุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรรักษาและทำให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น ๔.กุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรทำให้เกิด กุศลใหม่ในที่นี้หมายถึง มรรค ๔ มรรคยังไม่เคยเกิดขึ้นในใจเพียรทำให้เกิด มรรค ๔ มรรคคือ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามีมรรค อนาคามีมรรค และ อรหัตมรรค ๗.สัมมาสติ ความระลึกชอบ คือการเจริญสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม นั่นเลยทีเดียว ในทางปฏิบัติความรู้ทันปัจจุบันอารมณ์นับเป็นสัมมาสติ ![]() |
เจ้าของ: | wic [ 10 พ.ค. 2012, 16:00 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มัชฌิมาปฏิปทา มรรคมีองค์แปด ทางสายเดียว |
มรรค ๘ สำนวนพระพุทธเจ้า พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗) [๒๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิ ของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังสัมมาสมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ หาอ่านเต็มๆได้ใน http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0 |
เจ้าของ: | วังโพธิสัตว์ [ 10 พ.ค. 2012, 16:59 ] |
หัวข้อกระทู้: | ทางสายเดียว |
สุดท้ายแล้วเมื่อเวลาจิตจะประหารกิเลสทุกอย่างจะรวมเป็นหนึ่งเดียวที่จิต บารมีสร้างมาแค่ไหนจะตัดสินกันตอนนั้นเองโดยเราไม่ไช่คนเลือกแต่เป็นไปตามธรรมชาติ และเป็นไปโดยอัตตโนมัติ |
เจ้าของ: | จัทร์เพ็ญ [ 13 พ.ค. 2012, 09:00 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มัชฌิมาปฏิปทา มรรคมีองค์แปด ทางสายเดียว |
อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้และทุกท่านคะ ![]() |
เจ้าของ: | student [ 13 พ.ค. 2012, 14:35 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มัชฌิมาปฏิปทา มรรคมีองค์แปด ทางสายเดียว |
![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | asoka [ 20 พ.ค. 2012, 07:18 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ทางสายเดียว |
วังโพธิสัตว์ เขียน: สุดท้ายแล้วเมื่อเวลาจิตจะประหารกิเลสทุกอย่างจะรวมเป็นหนึ่งเดียวที่จิต บารมีสร้างมาแค่ไหนจะตัดสินกันตอนนั้นเองโดยเราไม่ไช่คนเลือกแต่เป็นไปตามธรรมชาติ และเป็นไปโดยอัตตโนมัติ ![]() ถูกแล้วครับ "เราไม่ใช่คนเลือก" ธรรมะเขาจัดสรรเอง แต่การที่จะดำเนินมาจนถึงเวลาที่[b] "ปัญญา จะประหารกิเลสใหญ่ คือความเห็นผิดและความยึดผิด" จิตและสติปัญญาจะต้องถูกอบรมมาให้อยู่ในทางอันถูกต้องเสียก่อนเป็นสำคัญ[/b] ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |