ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

การปฏิบัติธรรม จำเป็นต้องยึดถือหลักการปฏิบัติ(เพิ่มเติม)
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=42600
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 06 ก.ค. 2012, 19:42 ]
หัวข้อกระทู้:  การปฏิบัติธรรม จำเป็นต้องยึดถือหลักการปฏิบัติ(เพิ่มเติม)

การปฏิบัติธรรม จำเป็นต้องยึดถือหลักการปฏิบัติ
ในบทความนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวอรรถาธิบาย ให้ได้รู้ให้ได้เข้าใจถึงหลักการปฏิบัติธรรม การที่มีผู้ไม่รู้ ไม่เข้าใจแต่ทำเป็นอวดรู้ อวดฉลาด สอนหรือแนะนำกันไปในทางที่ผิดๆ บิดเบือน หลักการเรียนการสอน ในทางศาสนา อาจทำให้ศาสนาห่างไกลจิตใจผู้คนออกมากไปกว่าเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ อนึ่่งการเล่าเรียนศึกษาในทางพุทธศาสนา มักมีกลุ่มบุคคลหรือบางบุคคลที่มักนำเอาข้อความที่มีอยู่ในพระไตรปิฏกมากล่าวอ้าง หรือมาตีความ ถกเถียง โดยความรู้เท่าไม่ถึงกาล ด้วยความไม่รู้จริงไม่รู้แจ้งตามหลักธรรมชาติ ก็จักทำให้พระไตรปิฏกเสื่อมเสีย เสื่อมโทรมขาดความน่าเชื่อถือ ซึ่งในทางที่เป็นจริงนั้น ความในพระไตรปิฏกทุกอย่างล้วนเป็นข้อคิดข้อพิจารณา อันยากที่มนุษย์บางกลุ่มบางคนจะทำความเข้าใจได้โดยง่าย ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้ถอดความบางส่วนบางตอนจากหลักธรรมคำสอนในพระไตรปิฏก นำมาอธิบายให้ได้เกิดความรู้ความเข้าใจที่เป็นไปตามหลักความจริง ดังต่อไปนี้.-
ในการทำงาน หรือการปฏิบัติ ในกิจการงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์ ที่มีอาชีพการงานใดใดก็ดึ หรือจะเป็น บรรพชิต แห่งศาสนาใดใดก็ดี จำต้องยึดถือหลักปฏิบัติแห่งอาชีพการงาน แลศาสนานั้นๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ในที่นี้จะขอกล่าวเพียงการปฏิบัติในศาสนา ที่จำต้องยึดถือหลักปฏิบัติที่มีอยู่เป็นแนวทางในการปฏิบัติธรรม

การปฏิบัติธรรม ทุกชนิด ทุกรูปแบบ จำเป็นต้องยึดถือหลักการปฏิบัติที่มีอยู่อย่างแม่นมั่น เพราะหลักการปฏิบัติในแต่ละชนิดจะเป็นแนวทางทำให้เกิด สภาพสภาวะจิตใจที่มั่นคง สภาพสภาวะจิตใจที่ดีงาม รวมไปถึง ความคิดที่ดี การประพฤติตนทางกายที่ดี

สภาพสภาวะจิตที่มั่นคง แห่งบุคคลนั้นๆ ย่อมได้มาจากการฝึกตนหรือปฏิบัติ สมาธิ,ภาวนา,หรือ สมถกรรมฐาน อันเป็นชั้นพื้นฐาน ของสภาพสภาวะแห่งจิตใจมนุษย์ จริงอยู่ แม้มนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) จะมีสภาพสภาวะจิตใจที่มั่นคงตามธรรมชาติ แต่เมื่อมีความศรัทธาในศาสนา ก็ย่อมต้องมีการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความมั่นคงแห่งสภาพสภาวะจิตใจเพิ่มเติมเพื่อให้จิตใจมั่นคงแข็งแรงยิ่งขึ้นกว่าที่มีอยู่ การปฏิบัติ สมาธิ ,ภาวนา,หรือ สมถกรรมฐาน ในแต่ละบุคคล ก็ย่อมต้องขึ้นอยู่กับ สภาพเศรษฐกิจ สังคม และ เวลา ของแต่ละบุคคล รู้จักแบ่งเวลา ปฏิบัติไปตามเวลาที่อำนวยให้อยู่เป็นประจำ เพื่อเพิ่ม ความมี สติ (ผลแห่งการปฏิบัติสมาธิ,ภาวนา,หรือสมถกรรมฐาน) ให้กับสภาพสภาวะจิตใจ

สภาพสภาวะจิตใจที่ดีงาม รวมไปถึง ความคิดที่ดี การประพฤติตนทางกายที่ดี บ้างก็เป็นธรรมชาติของแต่ละบุคคลอันได้รับการขัดเกลาทางสังคมและสิ่งแวดล้อม หากบุคคลเหล่านั้นมีความศรัทธาในศาสนาใดใด แลได้รับการขัดเกลาจากศาสนา เช่น ได้รับการอบรม ได้รับการศึกษา ได้เรียนรู้หลักศีลธรรมต่างๆแห่งศาสนา และยังต้องมีสภาพสภาวะจิตใจของบุคคลนั้นๆเป็นปัจจัยประกอบอันสำคัญยิ่ง แห่งการเรียนรู้ จดจำ จึงจะเกิดการนำไปปฏิบัติอยู่เสมอในการดำรงชีวิตประจำวัน นั่นก็แสดงให้เห็นว่า บุคคลต้องยึดถือหลักปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นหลักปฏิบัติทางฝึกใจให้สงบ หรือฝึกให้เกิดความดีงามทางจิตใจ ความคิด และการประพฤติทางกาย

เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านบทความธรรมะข้างต้นดีแล้ว ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้ใช้สมองสติปัญญาคิดพิจารณาให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง หากมีสิ่งใดใคร่รู้ก็ขอให้ถาม ถ้าข้าพเจ้าสามารถตอบได้ก็จะตอบให้ตามความรู้ที่มีอยู่ หากตอบไม่ได้ ก็จะค้นคว้า ค้นหา ศึกษา มาตอบให้ท่านทั้งหลายได้รับความรู้ความเข้าใจ ฉะนี้

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้สอน)
๒ กรกฎาคม ๒๕๕๕

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/