วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 23:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2012, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 เม.ย. 2012, 17:37
โพสต์: 37

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
ขอถามความคิดเห็น ในมุมมองของท่านกัลญามิตรทั้งหลายค่ะ
คุณคิดว่ากิเลสใน4ข้อ รัก-โลภ-โกรธ-หลง นี้
คุณคิดว่ากิเลสตัวไหน ที่จะทำให้คนเข้าถึงธรรมะได้ช้าค่ะ
คือเหมือนในลักษณะแบบไไม่ค่อยจะก้าวหน้าน่ะค่ะ (พูดไม่ถูกค่ะ) :b1: :b41: :b48: :b55:


สำหรับตัวผม คิดว่าตัวหลงครับ เพราะว่าจะรู้ทันหรือพิจารณาตัวหลงนี้ยากและละเอียด เหมือนเส้นผมบังภูเขา เช่นการเจริญภาวนา บางครั้งมีปิติก็หลงเข้าเป็นมีความสุขกับปิติ บางครั้งเห็นนิมิตก็หลงตามดูนิมิต จะเป็น มิจฉาทิฎฐิ บางครั้งทำให้การเข้าถึงธรรมเนิ้นช้า เพราะยังหลงไปตามดูผลอยู่

:b12: :b12: :b12: :b8:
ด้วยความเคารพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2012, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
ขอถามความคิดเห็น ในมุมมองของท่านกัลญามิตรทั้งหลายค่ะ
คุณคิดว่ากิเลสใน4ข้อ รัก-โลภ-โกรธ-หลง นี้
คุณคิดว่ากิเลสตัวไหน ที่จะทำให้คนเข้าถึงธรรมะได้ช้าค่ะ
คือเหมือนในลักษณะแบบไไม่ค่อยจะก้าวหน้าน่ะค่ะ (พูดไม่ถูกค่ะ) :b1: :b41: :b48: :b55:


ข้าพเจ้าจะตอบให้ตามประสบการณ์ และความรู้ ตามหลัก เหตุและปัจจัย หรือตาม มรรคผล ไม่ใช่ตอบตามมุมมอง ว่า

กิเลสทั้ง ๔ ข้อ รัก,โลภ,โกรธ,หลง ทั้ง ๔ อย่าง ทำให้คนเข้าถึงธรรมะได้ช้าทุกขัอ
อัน รัก.โลภ,โกรธ,หลง เกิดจากความคิด เมื่อได้รับการสัมผัสทางอายตนะฯ แต่ผลที่เกิดขึ้นในจิตใจจะแตกต่างกันไป โกรธ เพราะ หลง , รัก เพราะ หลง, โลภ เพราะ หลง,หลง เพราะโกรธ, หลง เพราะโลภ , หลงเพราะรัก สภาพสภาวะจิตใจ ของ รัก,โลภ ,โกรธ ,หลง ก็จะมี อารมณ์ความรู้สึกที่แตกต่างกันไป
มนุษย์ (หมายเอาเฉพาะมนุษย์) ย่อมต้องมี รัก,โลภ,โกรธ,หลง แต่หากรู้จักและเข้าใจว่า สิ่งเหล่านั้น คือ ความคิด ทำให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึก การระลึกนึกถึง นั่นคือความพอดี นั่นคือความรู้จริง รู้แจ้ง มีกิเลสแต่พองามตามการครองเรือน ไม่เบียดเบียนและทำความเดือนร้อนให้กับสังคม แลคนรอบข้าง นั่่นคือ มนุษย์ ขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2012, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
เคยถามตัวเองบ้างมั้ย?....ทำไมถึงมี..รัก...โลภ...โกรธ....หลง..

มีคนเขาบอกว่า....ถ้าเรารู้ว่าไอ้ที่ถืออยู่เป็นขี้..นะ...มันทิ้งไปเองไม่ต้องให้ใครมาจ้ำจี้จ้ำไซ...หรอก

ก็เลยได้คิดว่า...อ่อ....เพราะเรายังไม่เห็นว่ามันเป็นทุกข์....จริง..ๆ...ซะละมั้ง

ถ้าเราเห็นทุกข์.....เราต้องอยากรู้ว่าอะไรเป็นเหตุให้เดทุกข์นั้น

ถ้าเรารู้อะไรว่าเป็นเหตุ....ก็ย่อมจะรู้ว่าความดับทุกข์มีอยู่....ทางดับทุกข์ต้องดับที่เหตุอันนั้น

ดังนั้น้ราต้องรู้ว่า...สภาวะที่เจอขณะนั้นมันทุกข์มั้ย....ทุกข์เพราะอะไร...

ก็คิดค้นไปตามสายทางของเรา.....จะไปเอาตำราว่า...แบบนี้เรียกว่าทุกข์นะ...มันก็ทุกข์ของตำรา....ยังไม่ใช่ทุกข์จริงของเรา..

ทุกข์.....จึงต้องรู้...


:b8: :b8: สาธุ คุณกบนอกกะลา

แต่แล้วทำไมกันนะ กับบางเรื่องมองเท่าไรๆก็ยังไม่รู้ว่ามันทุกข์ซะที

หรือเราจะมองไม่เป็น มองไม่ถูกวิธี?

หรือเราจะชินกับการมองว่ามันสุข?

ทำยังไงดี

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2012, 23:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
แต่แล้วทำไมกันนะ กับบางเรื่องมองเท่าไรๆก็ยังไม่รู้ว่ามันทุกข์ซะที


s002

ผมก็......กำลัง...อยู่..นะ..นะ :b9:

แต่ก่อนก็ฟังมานานแล้วนะ...เรื่องแบบนี้...แต่มันไม่เข้าหัว...

เพิ่งจะ....เออใช่....เออใช่....ไม่นานมานี้เอง :b15:

บางเรื่อง...ก็เห็นง่าย

แต่พอเจออีกเรื่อง....ทั้งกดทั้งขย่ม...ก็ไม่ลงที่ทุกข์ซะทีเหมือนกัน... s002

อ้างคำพูด:
หรือเราจะมองไม่เป็น มองไม่ถูกวิธี?

หรือเราจะชินกับการมองว่ามันสุข?

ทำยังไงดี
..

ผมก็ไม่มีอะไรจะแนะนำว่าต้องทำอย่างไรแบบไหนนะ...

เอาเป็นว่า...แค่แนวคิดที่ผมกำลังทำก็แล้วกัน...ว่า

"ใช้เรื่องที่เจอในชีวิตประจำวันนี้แหละ...ฝึกมองไปเรื่อย ๆ...เสมอ ๆ.."

มองให้เห็นอริยะสัจทั้ง 4 ให้ได้....ก็คงเริ่มที่เรื่องง่าย ๆ ก่อนละมั้งครับ..

ทำเรื่อย ๆ...ให้มันชินกับวิธีการคิดการมอง...แรก ๆ อาจจะช้า....หลัง ๆ ชินแล้วก็คงรวดเร็วไปเอง...

แล้วมันจะพบคีย์เวิร์ดของตนเอง...เป็นคำสั้น ๆ ...แต่แทนความเข้าใจอริยะสัจ 4 ของเราทั้งหมด
...
หากมีอะไร..เห็นอะไร...ก็ลองมาเล่าแลกเปลี่ยนกันดู....ผมว่าก็ดีนะ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2012, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


คุนน้องขอแชร์ประสบการณ์ความเห็น ที่จิตเราไม่เห้นทุกข์..แล้วยังมองว่ามันยังสุขอยู่นั้น
เพราะเรายังไม่เจอสภาวะจริง.. สภาวะที่ไม่ใช่สมมติ..แต่เหตุสภาวะจริงที่เกิดขึ้น....ตามด้วยทุกข์ของจริง..จิตเข้าถึงสภาวะความเป็นจริง
เหมือนเราคิดว่าซักวันต้องจากกันกับคนที่ตนรัก(แต่ตอนนี้เขายังอยู่)..กับสภาวะเขาจากไปแล้วไม่มีแล้วตอนนี้..
อาการปรุงแต่งกับสภาวะจริง..มันต่างกันมากนะ..เหมือนเราคิดว่าโดนตีมันต้องเจ็บ..กับคนโดนตีแล้วเจอสภาวะเจ็บจริงๆไม่ได้ปรุงแต่ง..มันเลยแตกต่างกัน..แต่เมื่อใดเจอสภาวะเหตุแห่งทุกข์ของจริง..เมื่อนั้นแหละ
ท่านจะรู้สภาวะทุกข์ของจริง..เหตุแห่งทุกข์..ต้องลงจิตลงใจ..ถึงจะเบื่อหน่ายคลายจางได้จริง :b8:
คุนน้องไม่เคยเชื่อผู้ใหญ่เลยนะ เวลาท่านห้ามไม่ให้ทำอย่างงั้นอย่างงี้ โดยเฉพาะเรื่องความรัก เพราะเราไม่เคยรู้ว่าผิดตรงไหน ทำไมหรอ มันจิตใจของเรานะ.. แต่เมื่อเราเจอมากับตัว เราถึงรู้และเข้าใจที่ท่านพูดที่ท่านบอกเรา ..
เพราะท่านเคยอาบน้ำร้อนมาก่อน :b43: :b43:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 01:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
เคยถามตัวเองบ้างมั้ย?....ทำไมถึงมี..รัก...โลภ...โกรธ....หลง..

มีคนเขาบอกว่า....ถ้าเรารู้ว่าไอ้ที่ถืออยู่เป็นขี้..นะ...มันทิ้งไปเองไม่ต้องให้ใครมาจ้ำจี้จ้ำไซ...หรอก

ก็เลยได้คิดว่า...อ่อ....เพราะเรายังไม่เห็นว่ามันเป็นทุกข์....จริง..ๆ...ซะละมั้ง

ถ้าเราเห็นทุกข์.....เราต้องอยากรู้ว่าอะไรเป็นเหตุให้เดทุกข์นั้น

ถ้าเรารู้อะไรว่าเป็นเหตุ....ก็ย่อมจะรู้ว่าความดับทุกข์มีอยู่....ทางดับทุกข์ต้องดับที่เหตุอันนั้น

ดังนั้น้ราต้องรู้ว่า...สภาวะที่เจอขณะนั้นมันทุกข์มั้ย....ทุกข์เพราะอะไร...

ก็คิดค้นไปตามสายทางของเรา.....จะไปเอาตำราว่า...แบบนี้เรียกว่าทุกข์นะ...มันก็ทุกข์ของตำรา....ยังไม่ใช่ทุกข์จริงของเรา..

ทุกข์.....จึงต้องรู้...


:b8: :b8: สาธุ คุณกบนอกกะลา

แต่แล้วทำไมกันนะ กับบางเรื่องมองเท่าไรๆก็ยังไม่รู้ว่ามันทุกข์ซะที

หรือเราจะมองไม่เป็น มองไม่ถูกวิธี?

หรือเราจะชินกับการมองว่ามันสุข?

ทำยังไงดี


ลองมองว่า มัน สุขไม่จริง สุขไม่ยั่งยืน สุขนิดเดียวที่ทำให้วนเวียนไม่จบสิ้น ดูนะครับ ดูตอนที่ท่านคิดว่ามันกำลัง สุขสุดๆ นั้นแหละ เดียวมันก็ดับลงในความรู้สึกเอง
คิดไว้ด้วยว่า สุขกับทุกข์มันสิ่งเดียวกัน

แต่อย่างคุณน้องคองว่า บางท่านต้องเจอความรู้สึก ทุกข์แบบสุดตีนก่อน (ประมาณว่าตายเสียดีกว่าอยู่)เป็นแรงพลักดัน ว่าสุขก็ไม่เอาแย้ว (รวมทั้งกระผม)

เราเพียรปฏิบัติเพื่อเหนือสุขเหนือทุกข์ จริงมั้ยครับ

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 04:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
คุณโฮฮับเขียน
อ้างคำพูด:
คนที่กล่าวว่า รัก-โลภ-โกรธ-หลง เป็นกิเลส นั้นแหล่ะเป็นคนที่เข้าถึงธรรมะได้ช้า
ไม่ค่อยก้าวหน้า
คนที่กล่าวคำพูดนั้น แสดงว่ายังไม่รู้ถึง สมุทัยแห่งทุกข์ที่แท้จริง

ขอความรู้ตรงนี้หน่อยสิค่ะ :b8:

รัก-โลภ-โกรธและหลง มันเกิดมาพร้อมกับรูปนามหรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ
มนุษย์ทุกคนย่อมมีรัก-โลภ-โกรธและหลง สิ่งที่ว่ามันเป็นกระบวนการขันธ์ห้า
มันเกิดตามเหตุปัจจัย เหตุปัจจัยของกระบวนการขันธ์ก็คือรูปและนาม
รัก โลภ โกรธและหลงเป็นอาการของจิตเป็นปกติธรรมดาของมนุษย์

จิตที่เป็นกิเลสคือ จิตที่มีอาการรัก โลภ โกรธและหลงไปยึดเอาตัณหาในกระบวนการปฏิจสมุบาท
จนทำให้สังขารขันธ์เปลี่ยนเป็น อุปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์ตัวนี้แหล่ะที่เรียกว่า จิตมีกิเลส

และการไม่ให้จิตที่มีความโลภโกรธและหลง ไปยึดตัวตัณหาได้ ก็ด้วยวิธีการเปลี่ยน
ตัวโลภ โกรธ หลงให้เป็นสติ นั้นหมายความว่า เมื่อเกิดความโลภ โกรธและหลงขึ้นมา
ก็ให้รู้ทันอารมณ์ที่ว่า สติก็จะเกิด ตัณหาก็ไม่สามารถมาบ่งการจิตได้

สังเกตุให้ดี อารมณ์รัก โลภ โกรธและหลงมันเป็นคนละตัวกับ ตัณหา
โลภ โกรธ หลง เป็นอาการของจิตเกิดตามเหตุปัจจัย นั้นก็คือ เวทนาและสัญญา
ส่วนสติก็เป็นอากรของจิตเช่นกัน มีไว้คอยระลึกรู้ไม่ให้ความโลภ โกรธและหลง
ไปยึดตัณหา การจะมีสติได้ต้องอาศัยอารมณ์ที่เกิดปัจจุบันนั้น เช่น จะดับความ
โลภ โกรธและหลง ก็ต้องอาศัยไปรู้ ความโลภ โกรธและหลง
ตามที่บอกมาความรักโลภ โกรธและหลง จึงจะยังไม่ใช่กิเลส ตัวกิเลสที่แท้คือ ตัณหา

จิตที่มี รัก โลภ โกรธและหลง ถ้ามีสติระลึกรู้ทัน จิตก็ยังเป็นจิตประภัสสร
แต่ถ้าจิตเกิด รัก โลภโกรธและหลงไปยึดตัณหาเข้า จึงจะเรียกว่า จิตมีกิเลส

พูดถึงทุกข์ ความรัก โลภ โกรธหลง ก็ไม่ใช่เหตุที่แท้จริง มันเป็นเพียงเหตุปัจจัยร่วม
มันยังต้องอาศัยเหตุปัจจัยอื่นมาร่วมนั้นก็คือ ตัณหา
ถ้าจิตเกิด รัก โลภ โกรธและหลงแต่อย่างเดียวมันก็ไม่ทุกข์

ทุกข์ในความหมายของพระพุทธเจ้า นั้นก็คือ การอยู่ภายใต้กฎวัฏสงสาร
การทุกข์กายทุกข์ใจไม่ใช่ตัวทุกข์ในความหมายของพระพุทธเจ้า

และอีกอย่างที่บอกว่าทุกข์กายมันไม่ถูก กายทุกข์ไม่ได้ กายเป็นได้แค่
อายตนะรับรู้ความรู้สึก ความทุกข์จึงเกิดได้ทีใจเพียงอย่างเดียว

ทุกข์ใจเป็นเหตุให้เกิด วัฎสงสาร
เราจะแยกความทุกข์ทางใจได้อย่างไร ดูได้จากเกิดการคิดนึกปรุงแต่งไปต่างๆนาๆ
จินตนาการไปนอกเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในกระบวนการขันธ์ห้า นั้นแหล่ะกำลังทุกข์ใจ
และมันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ของวัฏสงสาร

สาเหตุที่เราไปเข้าใจผิดในเรื่องกิเลสแต่ต้น หลงไปเข้าใจว่า รัก โลภ โกรธหลงเป็น
กิเลส จึงทำให้ไม่ยอมรับอารมณ์ที่ว่า แท้จริงแล้วมันเป็นเพียงอาการของจิต เกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัยแห่งรูปนามมันหลีกเลี่ยงไม่ได้(แต่ดับได้)

ดังนั้นด้วยเหตุผลที่กล่าวมา ทำให้เราหลงไปปฏิบัติผิดที่ผิดทาง
โดยไม่รู้ว่า ความรัก โลภ โกรธ หลง เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติ
มันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 05:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
เคยถามตัวเองบ้างมั้ย?....ทำไมถึงมี..รัก...โลภ...โกรธ....หลง..

มีคนเขาบอกว่า....ถ้าเรารู้ว่าไอ้ที่ถืออยู่เป็นขี้..นะ...มันทิ้งไปเองไม่ต้องให้ใครมาจ้ำจี้จ้ำไซ...หรอก

ก็เลยได้คิดว่า...อ่อ....เพราะเรายังไม่เห็นว่ามันเป็นทุกข์....จริง..ๆ...ซะละมั้ง

ถ้าเราเห็นทุกข์.....เราต้องอยากรู้ว่าอะไรเป็นเหตุให้เดทุกข์นั้น

ถ้าเรารู้อะไรว่าเป็นเหตุ....ก็ย่อมจะรู้ว่าความดับทุกข์มีอยู่....ทางดับทุกข์ต้องดับที่เหตุอันนั้น

ดังนั้น้ราต้องรู้ว่า...สภาวะที่เจอขณะนั้นมันทุกข์มั้ย....ทุกข์เพราะอะไร...

ก็คิดค้นไปตามสายทางของเรา.....จะไปเอาตำราว่า...แบบนี้เรียกว่าทุกข์นะ...มันก็ทุกข์ของตำรา....ยังไม่ใช่ทุกข์จริงของเรา..

ทุกข์.....จึงต้องรู้...

ความสำคัญไม่ใช่อยู่กับคำว่า "ขี้" มันขึ้นอยู่กับใจที่ไปอยู่กับสิ่งที่ถือ
ถ้าใจมองดูขี้ในมือเป็นทองมันก็เป็นทอง ถ้าใจมองขี้เป็นขี้ มันก็ก็เป็นขี้
รัก โลภ โกรธหลงก็เช่นกัน ดูให้เกิดประโยชน์มันก็เกิดประโยชน์
ดูให้เป็นโทษมันก็เป็นโทษ

จะดู"ขี้"ต้องดูว่า มันสามารถทำให้เป็นปุ๋ยได้ เราต้องหาวิธีมาทำขี้ให้เป็นปุ๋ย
เช่นเดียวกัน การดูรัก โลภ โกรธและหลง ต้องดูแล้วเอามาทำให้เกิดประโยชน์
ทำให้เกิดสติ เกิดปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 05:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
:b8: :b8: สาธุ คุณกบนอกกะลา

แต่แล้วทำไมกันนะ กับบางเรื่องมองเท่าไรๆก็ยังไม่รู้ว่ามันทุกข์ซะที

หรือเราจะมองไม่เป็น มองไม่ถูกวิธี?

หรือเราจะชินกับการมองว่ามันสุข?

ทำยังไงดี

เอะอะจะมองแต่ผล มันต้องมองเหตุก่อนซิ
อะไรมันทำให้เกิดทุกข์ มันใช่ความไม่แน่นอนหรือเปล่า
และความไม่แน่นอน มันใช่การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปหรือเปล่า
ไปหาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปให้เจอซะก่อน
แล้วจึงค่อยมาพูดถึงทุกข์ ไม่งั้นจะเข้าตำรา คนตาบอดกำลังบรรยาย
สรรพคุณของแว่น คนหัวล้านกำลังพูดคุณสมบัติของยาสระผม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
เคยถามตัวเองบ้างมั้ย?....ทำไมถึงมี..รัก...โลภ...โกรธ....หลง..

มีคนเขาบอกว่า....ถ้าเรารู้ว่าไอ้ที่ถืออยู่เป็นขี้..นะ...มันทิ้งไปเองไม่ต้องให้ใครมาจ้ำจี้จ้ำไซ...หรอก

คุนน้องเคยอยู่กับสามี ไม่เคยนึกว่าสามีคือขี้เลย.. เห็นแต่เป็นเทวดาบางครั้งก็เห็นเป็นผีแล้วแต่อารมณ์
บางครั้งก็เห็นเป็นสิ่งของ เพราะเวลาสามีแอบไปมีผู้หญิงคนอื่นก็โกรธแล้ว หาว่าสามีไม่รักตน ทั้งที่ความจริงแล้ว
รักไม่ใช่สิ่งที่ครอบครองเป็นเจ้าของ แต่ดันไปโกรธเขาที่เขาไปมีคนอื่น..ไม่เค๊ยไม่เคยเห็นขี้ว่าเหม็นเห็นเป็นของหอม กินอยู่กับขี้..นอนอยู่กับขี้..เกลือกกลั๊วะอยู่กับขี้ สุดท้ายขี้ก็กลายเป็นขี้เถ้า ถึงเห็นสัจธรรมความจริงว่า เออทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรแน่นอน สิ่งที่แน่นอนคือ ความไม่มีตัวตน แม้แต่ขี้ที่เคยคิดว่าหอม ตอนนี้ก็ยังไม่มี แต่ท่านกบอาจจะมีขี้ที่คิดว่าหอมอยู่ :b32: :b32:

จะแนะนำน้องคิงคองครับ เวลาไหนที่มองสามีเป็นเทวดา เราต้องระลึกว่า เราเคยมอง
สามีเป็นผียามเมื่อเราโกรธ หรือเมื่อยามที่เราโกรธสามีแล้วมองมองสามีเป็นผี
เราต้องระลึกถึงว่าเราเคยเห็นสามีเป็นเทวดาตอนที่เรารัก

บทสรุปเราจะมองสามีเป็นกุศลเป็นกลางๆ นั้นก็คือจะมองสามีเป็นครูสอนอารมณ์
เป็นแบบทดลองให้เห็นอารมณ์ที่เกิดดับในใจตัวเองครับ

อย่าลืมมองดีต้องมองชั่วด้วย มองชั่วต้องมองดีด้วย
เอาธรรมที่เป็นคู่มาผสมกัน มันจะเกิดเป็นธรรมเดียวขึ้นมา
ธรรมเดียวนั้นแหล่ะคือปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 07:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายของคำว่า"กิเลส"

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า" เครื่องทำให้ใจเศร้าหมอง ได้แก่ โลภ โกรธ หลง เช่น ยังตัดกิเลสไม่ได้ กิเลสหนา กิริยามารยาท ในคำว่า กิเลสหยาบ"

พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตโต) ให้ความหมายว่า " สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง, ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์"

พุทธทาสภิกขุ ให้ความหมายว่า "ความยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวกูก็ตาม เป็นของกูก็ตาม นี่แหละคือ แม่บทของกิเลสทั้งปวง"

พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ ให้ความหมายว่า " คำว่ากิเลสตรงกับคำว่าโรค กิเลสเป็นโรคของจิต หมายถึงสิ่งที่ทำให้จิตเสื่อมโทรมนั่นเอง"

สุชีพ ปุญญานุภาพ ให้ความหมายว่า " คือความไม่ดีไม่งาม หรือความเศร้าหมองในจิตใจ อันกล่าวโดยย่อ ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และความหลง"

ดังพุทธพจน์ที่ว่า " ปภสรมิทํ ภิกขเว จิตตํอาคนตุเกหิ อุปกิเลเสหิ อุปกิลิฎฐํ" แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส ถูกกิเลสที่จรมาทำให้เศร้าหมอง

มีหลายศัพท์ที่มีความหมายเดียวกันกับกิเลสหรือเป็นไวพจน์องกิเลส เช่น ตัณหา โอฆะ สังโยชน์ คันถะ โยคะ อาสวะ เป็นต้น

ประเภทของกิเลส

พระพุทธเจ้าตรัสแสดงกิเลสไว้มากมายหลายประเภท โดยต่างเวลา สถานที่ และบุคคล จึงไม่อาจทราบจำนวนทั้งหมดของกิเลสว่ามีจำนวนเท่าใด อาจเป็นไปได้ว่าการที่พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสจำนวนสุทธิของกิเลสนั้น เพราะว่ากิเลสมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วนและสรรพสัตว์มีกิเลสแตกต่างกันและไม่เท่าเทียมกันตามระดับของสภาพจิตที่ไม่เหมือนกัน สังเกตได้จากหลักธรรมที่ทรงแสดงนั้นอนุกูลหรือเหมาะแก่จริตหรืออัชฌาศัยของผู้ฟังเป็นอย่างยิ่งทั้งนี้เป็นเพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงตรวจดูอัชฌาศัยของผู้ฟังก่อนแสดงธรรม เหตุนี้ทำให้ผู้ฟังบรรลุธรรม คงเป็นเพราะเหตุนี้ กิเลสจึงถูกแสดงไว้ตามที่ปรากฎในหลายสูตรและมีหลายหมวดหมู่เหมือนกันบ้างต่างกันบ้าง

ในพุทธปรัชญา คำว่า " กิเลส " เป็นคำที่มีความหมายกว้าง หมายถึงสภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมองทุกประเภท

แต่กิเลสที่เป็นอกุศลมูลหรือต้นเค้าของกิเลสทั้งหมด มี ๓ ประเภท คือ:

-โลภะ คือ ความทะยานอยาก

-โทสะ คือ ความคับแค้น

-โมหะ คือ ความลุ่มหลง
ระดับของกิเลส

เกี่ยวกับระดับของกิเลสนี้ ท่านจำแนกไว้ ๓ ระดับ คือ :

๑. กิเลสอย่างหยาบ (วีติกกมกิเลส) คือ กิเลสระดับต้นที่เป็นเหตุให้แสดงพฤติกรรมที่เร่าร้อนและรุนแรงทางกายและวาจาของบุคคลผู้หมุกมุ่นในกามคุณ ๕ อย่างรุนแรง กิเลสระดับนี้ ได้แก่ อกุศลกรรมบท ๑๐ อย่าง มี การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ เป็นต้น กิเลสระดับนี้กำจัดได้ด้วยศีล

๒. กิเลสอย่างกลาง ( ปริยุฎฐานกิเลส) คือ กิเลสระดับกลางที่เป็นปฎิปักข์ต่อความสงบแห่งใจ คอยขัดขวางไม่ให้ใจเกิดสมาธิ กิเลสระดับนี้ ได้แก่ นิวรณ์ ๕ มี กามฉันทะ พยาบาท เป็นต้น และอุปกิเลส ๑๖ มีความโกรธ ความถือตัว เป็นต้น กิเลสระดับนี้กำจัดได้ด้วยสมาธิ

๓. กิเลสอย่างละเอียด (อนุสัยกิเลส) คือ กิเลสระดับสูงสุดที่หมักหมมนอนเนื่องแนบแน่นในส่วนลึกแห่งใจจนเกิดความรู้สึกว่ากิเลสหมดแล้ว แต่ความจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ต่อเมื่อใจถูกอารมณ์อันเป็นปฎิปักข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ กิเลสระดับนี้จะปรากฎขึ้นทันที เปรียบเหมือนตะกอนที่นอนนิ่งในน้ำ หากน้ำถูกรบกวนอยางรุนแรงมันจะฟูฟุ้งขึ้นทันทีตามแรงกระทบของน้ำนั้นๆ กิเลสระดับนี้ ได้แก่ อนุสัยกิเลส ๗ มี กามราคะ ปฎิฆะ เป็นต้น วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ มี โอภาส ญาณ เป็นต้น กิเลสระดับนี้กำจัดได้ด้วยปัญญา

ลอกมาให้อ่านครับ


แก้ไขล่าสุดโดย ฝึกจิต เมื่อ 19 ก.ค. 2012, 07:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 07:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ตัณหาแบ่งออกเป็น 3 อย่าง
1. กามตัณหา คือ ความอยากหรือไม่อยาก ใน สัมผัสทั้ง 5
2. ภวตัณหา คือ ความอยากทางจิตใจ เมื่อได้สิ่งนั้นมาแล้ว ไม่ต้องการให้มันเปลี่ยนแปลง
3. วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากทางจิต ความคิดที่ผิด (อุจเฉททิฐิ)
ตัณหา 6 หมวด ได้แก่
1. รูปตัณหา คือ อยากได้รูป (ที่มองเห็นด้วยตา)
2. สัททตัณหา คือ อยากได้เสียง
3. คันธตัณหา คือ อยากได้กลิ่น
4. รสตัณหา คือ อยากได้รส
5. โผฏฐัพพตัณหา คือ อยากได้โผฏฐัพพะ (ความรู้สึกทางกายสัมผัส)
6. ธัมมตัณหา คือ อยากในธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต
๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
๘. มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง;
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.ph ... 2%AA%B9%EC

เจตสิก 52 (ธรรมที่ประกอบกับจิต,
สภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกันกับจิต,
อาการและคุณสมบัติต่างๆ ของจิต )

โมหะ โทสะ โลภะ
ล้วนเป็นตัวเจตสิก
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=355


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลสสามารถทำให้เกิด อาการของจิตได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล
การเกิดกิเลสตัวใดขึ้น แล้วรู้ตัว อาการของจิตก็เป็นกุศล
ตรงข้ามถ้าเกิดกิเลสแล้วหลงไปปรุงแต่ง อาการของจิตเป็นอกุศล

อย่าลืมกิเลสเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2012, 12:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
ขอถามความคิดเห็น ในมุมมองของท่านกัลญามิตรทั้งหลายค่ะ
คุณคิดว่ากิเลสใน4ข้อ รัก-โลภ-โกรธ-หลง นี้
คุณคิดว่ากิเลสตัวไหน ที่จะทำให้คนเข้าถึงธรรมะได้ช้าค่ะ
คือเหมือนในลักษณะแบบไไม่ค่อยจะก้าวหน้าน่ะค่ะ (พูดไม่ถูกค่ะ) :b1: :b41: :b48: :b55:

กิเลสไม่ว่าจะเรียกประเภทไหน ถ้าทำให้จิตใจหลงถุกครอบงำไม่มีสติไม่มีความรู้ตัวในขณะใด ก็พึงละตัวนั้นในขณะนั้น ตัวหลงนั้นแหละ ที่เป็นตัวชักจูงให้สัตว์โลกวนเวียนอยู่ในวัฏฏะสงสารอย่างไม่สิ้นสุด


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร