วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2012, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องของ "จิต" และ เรื่องของ "วิญญาณ"

เจริญในธรรมท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้เห็นผู้ใฝ่รู้ในทางพุทธศาสนา ถกเถียงกันในเรื่องของ จิต และ วิญญาณ กันมามากมาย บ้างก็เข้าใจผิด บ้างก็เข้าใจถูก เพราะต่างคนต่างรู้ ต่างคนต่างฉลาด แม้ตำราเรียนในระดับ มหาวิทยาลัยฯบางแห่ง ก็ยังเขียนในเรื่องของ จิต และ วิญญาณ ไปในทางที่ไม่ถูกต้อง

ข้าพเจ้าเคยเขียนบทความในเรื่อง "จิต เจตสิก รูป นิพพาน" โดยการใช้ศัพท์ภาษาปัจจุบัน ซึ่งเป็นการอธิบายในเรื่องของ "จิต"โดยรวม

ในบทความนี้ ข้าพเจ้าจักได้อธิบายในเรื่องของ "จิต" และ "วิญญาณ" ตามศัพท์ภาษาที่ได้นำมาจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตฺโต เพื่อให้ท่านทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ได้อ่าน ได้ศึกษา ได้ทำความเข้าใจ ได้คิด ได้พิจารณา ให้เป็นไปตามหลักความจริง ตามหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อจะได้ไม่ถกเถียงกัน เพื่อจะได้ไม่บิดเบือนหลักธรรมคำสอน และท่านทั้งหลายจักได้มีความรู้ ความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน ดังต่อไปนี้.-

"จิต" หมายถึง ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ; ตามหลักฝ่ายอภิธรรม จำแนกจิตเป็น ๘๙ (หรือพิสดารเป็น ๑๒๑) แบ่ง โดยชาติ เป็นอกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗) วิปากจิต ๓๖ (๕๒) และ กิริยาจิต ๒๐; แบ่ง โดยภูมิ เป็นกามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต ๘ (พิสดารเป็น ๔๐)

ความหมายของคำว่า "จิต"ข้างต้นนั้น เป็นความหมายที่นำมาจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ ซึ่ง ในความหมายข้างต้น
จิต หมายถึง ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ,สภาพที่นึกคิด,ความคิด,ใจ ซึ่งได้มีคำอธิบายเพิ่มเติมในการจำแนกจิตเอาไว้ เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้คิดพิจารณา ถ้าหากท่านทั้งหลายได้คิดพิจารณา ย่อมจักเกิดความเข้าใจได้ดีว่า
จิต ในทางพุทธศาสนา หมายถึง ใจ และ สมอง อีกทั้งยังหมายรวมไปถึง ระบบประสาท ที่เกี่ยวข้องกับการรู้อารมณ์ ความคิด สภาพที่นึกคิด เพราะ การที่มนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) จะสามารถรู้อารมณ์ การนึกคิด หรือ ความคิด ได้นั้น จะต้องอาศัยข้อมูลความจำที่มีอยู่ในสมอง ซึ่งสมองจะทำงานร่วมกับหัวใจ รวมไปถึงอวัยวะส่วนอื่นๆ อันเป็นปัจจัยหรือเหตุที่จะทำให้มนุษย์เกิด ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ สภาพที่นึกคิด ความคิด ขึ้นมาได้

คำว่า "ธรรมชาติที่รู้อารมณ์" หมายถึง ธรรมชาติแห่ง สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์
รวมไปถึง ความคิด สภาพที่นึกคิด อันเกิดจากการปรุงแต่งของระบบการทำงานของร่างกาย เกิดจากการปรุงแต่งของข้อมูลความจำที่มีอยู่ในสมองและหัวใจ
ดังนั้น "จิต" ก็คือ หัวใจและสมอง (รวมไปถึงอวัยวะส่วนอื่นๆ) ที่เป็นหน่วยทำงานทำให้เกิด ธรรมชาติที่รู้อารมณ์,สภาพที่นึกคิด,ความคิด

"วิญญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต, ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน เช่น รูปอารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตา เป็นต้น ได้แก่ การเห็น การได้ยินเป็นอาทิ; วิญญาณ ๖ คือ
๑.จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา(เห็น)
๒.โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู (ได้ยิน)
๓.ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก(ได้กลิ่น)
๔.ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น(รู้รส)
๕.กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย (รู้สิ่งต้องกาย)
๖.มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)


"วิญญาณ" เป็นหน่วยย่อยของ "จิต" ถึงแม้ว่า ความหมายของคำว่า วิญญาณ จะหมายถึง จิต (ตามพจนานุกรมฯ) เพราะ "จิต"เป็นหน่วยใหญ่ในการทำงาน โดยมี หน่วยย่อย คือ "วิญญาณ" หลายๆหน่วยประกอบกันทำให้เกิด "ความรู้แจ้งในอารมณ์" ถ้าหากจะอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น ก็คือ
การที่บุคคลจะมองเห็นได้ จะต้องประกอบไปด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น ภาพ แสง ดวงตา ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนย่อยต่างๆมากมายภายในดวงตา เส้นประสาทตา สมอง หัวใจ อย่างนี้เป้นต้น
การได้ยิน(เสียง) ,ได้กลิ่น,รู้รส,รู้สิ่งต้องกาย(โผฏฐัพพะ),รู้เรื่องในใจ(ธรรมารมณ์) ก็เช่นเดียวกัน

ดังนั้น "วิญญาณ" จึงเป็นส่วนย่อยของ"จิต"
"จิต" จะมีความหมาย ในเรื่องของ ระบบความจำ ความคิด การปรุงแต่งของระบบการทำงานของร่างกาย และระบบการปรุงแต่ง ทางข้อมูลความจำ และปรุงแต่งทางด้านความคิด
"วิญญาณ" จะมีความหมาย ในเรื่องของ ส่วนย่อยของ จิต คือเป็นส่วนในรายละเอียดของ อวัยวะต่างๆของร่างกายที่รับสัมผัส ซึ่ง"จิต" จะทำให้เกิดการรับรู้อารมณ์ "วิญญาณ" จะทำให้รู้แจ้งในอารมณ์ที่ได้รับรู้มา

สรุป ในเรื่องของ "จิต" และ "วิญญาณ" จิต กับ วิญญาณ มีความหมายคนละอย่าง แต่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ต่อเนื่องกัน
จิต เป็นเรื่องของ ระบบส่วนใหญ่ วิญญาณ เป็นเรื่องของ ระบบส่วนย่อย

จิต เป็น สภาพธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์
วิญญาณ เป็น สภาพที่ทำให้รู้แจ้งในสิ่งที่รับรู้อารมณ์ ต่อเนื่องจาก จิต ยกตัวอย่างเช่น มองเห็น เป็น จิต ส่วน วิญญาณ ทำให้รู้แจ้งว่า สิ่งที่มองเห็นนั้น เป็น ต้นไม้ อย่างนี้เป็นต้น


จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
ผู้เขียน
๑๓ กันยายน ๒๕๕๕


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2012, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


[๑๐๘๖] จิต ๗ เป็นไฉน
คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญ-
*ญาณธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ
เหล่านี้เรียกว่า จิต ๗
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโน-
*ธาตุ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... 240&Z=1498


ขยายความ

จักขุวิญญาณ เป็น จิต เป็น วิญญาณขันธ์ มี 2 ดวง
โสตวิญญาณ เป็น จิต เป็น วิญญาณขันธ์ มี 2 ดวง
ฆานวิญญาณ เป็น จิต เป็น วิญญาณขันธ์ มี 2 ดวง
ชิวหาวิญญาณ เป็น จิต เป็น วิญญาณขันธ์ มี 2 ดวง
กายวิญญาณ เป็น จิต เป็น วิญญาณขันธ์ มี 2 ดวง
มโนธาตุ เป็น จิต เป็น วิญญาณขันธ์ มี 3 ดวง
มโนวิญญาณธาตุ เป็น จิต เป็น วิญญาณขันธ์ มี 89-13 = 76 ดวง (หรือว่าโดยพิศดาร 121-13 = 108 ดวง

จิต หรือ วิญญาณ นอกเหนือที่กล่าวมานี้ ..........ไม่มี

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2012, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 กล่าว....
ขยายความ
จักขุวิญญาณ เป็น จิต เป็น วิญญาณขันธ์ มี 2 ดวง
โสตวิญญาณ เป็น จิต เป็น วิญญาณขันธ์ มี 2 ดวง
ฆานวิญญาณ เป็น จิต เป็น วิญญาณขันธ์ มี 2 ดวง
ชิวหาวิญญาณ เป็น จิต เป็น วิญญาณขันธ์ มี 2 ดวง
กายวิญญาณ เป็น จิต เป็น วิญญาณขันธ์ มี 2 ดวง
มโนธาตุ เป็น จิต เป็น วิญญาณขันธ์ มี 3 ดวง
มโนวิญญาณธาตุ เป็น จิต เป็น วิญญาณขันธ์ มี 89-13 = 76 ดวง (หรือว่าโดยพิศดาร 121-13 = 108 ดวง

จิต หรือ วิญญาณ นอกเหนือที่กล่าวมานี้ ..........ไม่มี

sriariya ...ตอบ..
ข้าพเจ้าใคร่ขอถามคุณสักนิด (อย่าหาว่าข้าพเจ้าลองภูมิคุณเลยขอรับ เพราะสิ่งที่คุณขยายความมา ไม่สามารถสอนใครให้รู้ให้เข้าใจได้) ดังนี้
วิญญาณขันธ์ มี ๒ ดวง โดยรวมทั้งหมด มันคืออะไร อยู่ตรงส่วนไหนของร่างกายบ้าง
ที่ว่าล้วนเป็น "จิต" ล้วนเป็น "วิญญาณขันธ์" มี ๒ ดวงนั้น พิสูจน์หรือ อธิบายได้ไหมว่ามันสถิตอยู่ตรงไหน

คำเตือน "อย่าตอบว่า จักขุ มีจิต มีวิญาณขันธ์ อยู่ที่ตา ๒ ข้างนะขอรับ ถ้าตอบอย่างนั้น แสดงว่า คุณไม่ได้มีความรู้อะไรเลย เพียงอยากอวดรู้ แล้วไปนำความไม่รู้มาโพสเล่น โก้โก้ ว่างั้นเถอะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2012, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ทวิปัญจวิญญาณ10 ครับ
อ้างคำพูด:
จักขุวิญญาณกุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑

โสตวิญญาณกุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑

ฆานวิญญาณกุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑

ชิวหาวิญญาณกุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑

กายวิญญาณกุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑


คำว่า วิบาก คือ ผลของกรรม
เมื่อจังหวะที่กรรมให้ผล ก็เกิดจิตเห็น แล้วก็ดับไป
จิตเกิดที่ไหน ดับที่นั่น
ยกตัวอย่างเช่น กรรมดีให้ผล เกิดจิตเห็น(จักขุวิญญาณกุศลวิบาก) จิตเห็นนี้ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป

ถ้ากรรมไม่ดีให้ผล เกิดจิตเห็น(จักขุวิญญาณอกุศลวิบาก) จิตเห็นนี้ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป


จิตเห็นเกิดขึ้นที่ไหน ........... เกิดขึ้นที่จักขุปสาทรูป

ขณะที่มีจิตเห็นเกิดขึ้น ..................จิตอื่นๆ อีก 88 ดวง(หรือโดยพิศดาร 120 ดวง) ไม่เกิด

คือ จิตเกิดได้ทีละดวงเท่านั้น

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 19:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ฮ่า...ฮ่า..ฮ่า...ขออภัยนะขอรับ ผู้ที่ใช้ชื่อว่า "govit2552" คุณตอบไม่ตรงคำถามขอรับ
ข้าพเจ้าถามเรื่อง จิต และ วิญญาณ ไม่ได้ถาม ผลแห่ง จิต และ ผลแห่ง วิญญาณ ที่คุณกล่าวมานั้นมันเปฺ็น ผล ไม่ใช่ตัวจิต หรือถ้าจะกล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้น สิ่งที่คุณกล่าวมา เป็น "เจตสิก" คือ ธรรมที่ประกอบอยุ่ในจิต แถมยังนำมาไม่ครบ ยังขาด "อัพยากตะ" อีกตัวหนึ่ง
ข้าพเจ้าจะอธิบายให้ได้อ่านพอเข้าใจตามหลักที่คุณนำมา อ่านแล้วให้คิดพิจารณาให้ดีนะขอรับ

จักขุวิญญาณ เป็น จิต เป็น วิญญาณขันธ์ มี 2 ดวง
โสตวิญญาณ เป็น จิต เป็น วิญญาณขันธ์ มี 2 ดวง
ฆานวิญญาณ เป็น จิต เป็น วิญญาณขันธ์ มี 2 ดวง
ชิวหาวิญญาณ เป็น จิต เป็น วิญญาณขันธ์ มี 2 ดวง
กายวิญญาณ เป็น จิต เป็น วิญญาณขันธ์ มี 2 ดวง
มโนธาตุ เป็น จิต เป็น วิญญาณขันธ์ มี 3 ดวง

เหตุที่กล่าวดังข้างต้นนั้น มิได้มีความหมายว่า วิญญาณ กับ จิต เป็นต้วเดียวกัน แต่ ที่นับเป็น 2 ดวงนั้น หมายถึง จิต หนึ่ง ดวง ,วิญญาณ หนึ่ง ดวง จึงรวมมี สอง(2) ดวง
ส่วน มโนธาตุ นั้น ที่แบ่ง จัดไว้ มี 3 ดวง นั้น หมายถึง มโนธาตุ ที่ประกอบอยู่ในจิต หนึ่งดวง,จิตหนึ่งดวง,วิญญาณ หนึ่ง ดวง จึงรวมมี 3(สาม)ดวง ฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2012, 03:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นเอาเรื่องบัญญัติมาเถียงกัน มันก็ไม่มีปัญหาอะไรหรอก เพียงแต่อยากแนะนำว่า
จะเถียงกันในบัญญัติ จำเป็นอย่างยิ่งต้องเอาปรมัตถ์มาเทียบเคียง
มิฉะนั้นจะเถียงกันไม่รู้จบ มันก็ต่างคนจะแปลบัญญัติไปตามจริตตน

ถ้าพูดกันโดยสภาพตามปรมัตถ์ธรรมแล้ว แบ่งธรรมออกเป็นสองชนิด
นั้นก็คือ.....สังขตธรรมและอสังขตธรรม

.....สังขตธรรม ก็คือธรรมที่มีปัจจัยมาปรุงแต่ง หมดเหตุ ธรรมก็ดับไปพร้อมเหตุ
ได้แก่ จิต เจตสิกและรูป

.....อสังขตธรรม ก็คือ ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่แปรปรวน ไม่ทุกข์ หมดเหตุปัจจัยปรุงแต่ง
อสังขตธรรมได้แก่นิพพาน

กล่าวโดยสภาวะธรรมที่เป็นปรมัตถ์ ทั้งจิต เจตสิกและรูปมันเป็นเพียงสมมุติบัญญัติ(สัจจะ)
ที่เอามาใช้แทน สภาวะที่มีอยู่จริง สภาวะที่ว่าก็คือ เหตุปัจจัยต่าง

ดังนั้น ทั้งจิต เจตสิกและรูป เป็นเพียงสิ่งที่สมมุติขึ้นมา
ตัวตนจริงๆมันไม่มี มันเป็นเพียงแค่เหตุปัจจัยที่เกิดขึ้น หมดเหตุมันก็ดับ

แม้แต่สภาวะจริงยังเกิดแล้วก็ดับ ที่เรากำลังปฏิบัติอยู่ก็เพื่อดับเหตุแห่งการปรุงแต่ง
แล้วจะไปสร้างตัวสมมุติมันขึ้นมาให้เป็นเหตุอีกทำไม


สรุปให้ฟัง ที่เถียงกันอยู่ว่าตัวนี้เป็นนั้น ตัวนั้นเป็นนี้
แท้จริงแล้วมันก็เหมือนกัน นั้นก็คือเป็นสภาวะที่เกิดดับเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุ
และที่เราดูมันแตกต่างกันเป็นเพราะ การเปลี่ยนไป
จากเหตุกลายเป็นผล และจากผลกลายเป็นเหตุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2012, 16:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 20:59
โพสต์: 12


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตเป็นสิ่งที่ไปรับรู้วิญญาณ
วิญญาณเป็นสิ่งที่ให้จิตมาจับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2012, 05:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




imagesCAYWOP40.jpg
imagesCAYWOP40.jpg [ 7.89 KiB | เปิดดู 4569 ครั้ง ]
บุรุษผู้ตาบอดทั้ง 6 คน คลำช้างตัวเดียวกัน
ความเห็นแตกต่างกันไม่ลงรอยกัน
ยกวาทะของตนข่มคนอื่น ว่าพวกแกมันเหลวไหลทั้งนั้น
ส่วนตนคลำถูกอะไร และได้หมายไว้ว่าเหมือนกับอะไร ?
ก็ยกสิ่งนั้นขึ้นว่า ช้างมันเป็นอย่างนี้ๆ มันเหมือนสิ่งนี้ๆต่างหาก
... พวกแกใช้ไม่ได้ทั้งนั้น ต่างคนต่างวิวาทกันกับผู้ที่ไม่ลงความเห็นด้วยกับตน
ในเรื่องนี้ ก็น่าขัน ความจริงก็ถูกช้างด้วยกันทั้ง 6 คน
ไม่มีใครผิดเลย เป็นแต่ถูกโดยเอกเทศ คือ ถูกไม่เต็มตัวนั้นเอง
จึงเป็นเหตุเกิดมีปากเสียงกันขึ้น จนถึงแก่วิวาทกัน ถ้าถูกเต็มตัวด้วยกันแล้ว ก็ไม่ต้องวิวาทกันเลย!!!

ข้อนี้ฉันใด แม้ในหมู่พุทธบริษัท ที่ประพฤติและสั่งสอนธรรมกันอยู่ทุกวันนี้
ก็คล้ายกับคนตาบอดคลำช้างฉันนั้น เพราะรู้ธรรมไม่เต็มที่ รู้แต่เพียงเอกเทศของธรรม
เพราะธรรมเป็นของกลาง ใครเห็นอย่างไรก็ไม่รับไม่ปฏิเสธผู้เห็นอย่างใด ก็ยึดเอาเป็นถูกของตนอย่างนั้น!!!

จะยกตัวอย่าง ดังพวกที่ถือนามรูป ก็ยึดนามรูปเป็นที่พึ่ง
พวกถือขันธ์ 5 ก็ยึดขันธ์ 5 เข้าไว้เป็นที่พึ่ง
พวกนิยมธาตุ ก็ยึดธาตุเข้าไว้เป็นที่พึ่ง
พวกถืออายตนะ ก็ยึดอายตนะเข้าไว้เป็นที่พึ่ง
พวกถือ อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา ก็ยึดเข้าไว้เป็นที่พึ่ง
พวกถือ พุทโธ-อรหัง ก็ยึดเข้าไว้เป็นที่พึ่ง
ตลอดไปถึงพวกเพ่งกสิณ ต่างก็ยึดเข้าไว้ว่า เป็นที่พึ่งของตนๆ
ถ้าใครถือไม่ตรงกับตน ก็เป็นคนเห็นผิดถือผิดไปหมด ถูกแต่ตัวคนเดียวเท่านั้น!!!
แล้วสั่งสอนลูกศิษย์ตามลัทธิของตน ฝ่ายลูกศิษย์นั้น
ได้ความตามอาจารย์ของตน พลอยไปติพวกอื่นเขาด้วย ยกแต่อาจารย์ของตน
ว่าเป็นผู้รู้ถูกรู้ดีทั้งนั้น ส่วนพวกอื่นผิดหมด!!!....
จึงต้องวิวาทกับผู้ที่มีความเห็นไม่พ้องกับตน
บางพวกที่ยังงมงายมาก ถึงกับโกรธ หรือเกลียดแก่ผู้ไม่ลงความเห็นด้วยกับตน
เพราะความเห็นธรรมของตนเป็นแต่เพียงเอกเทศเท่านั้น!!!!
ถ้าหากเห็นพระธรรมเต็มโลกด้วยกันแล้ว ก็หมดวิวาทเท่านั้น !!!!

คิดดูก็ขันๆ คนหูดี ตาดี กลายเป็นเหมือน"คนตาบอดคลำช้าง"ไปได้
น่าสังเวชใจยิ่งนัก ความจริงผู้ประพฤติธรรม ถูกด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีผู้ใดผิดเลย
เป็นแต่ถูกส่วนมาก หรือถูกโดยส่วนน้อยเท่านั้น เอวังก็มี ด้วยประการฉะนี้ ฯ.......

ในพวกเราเองนี้มีบ้างไหมเอ่ย?

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 53 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร