วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 15:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2012, 21:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ต.ค. 2012, 20:20
โพสต์: 6


 ข้อมูลส่วนตัว


ในวัยเด็ก ผมโดนพ่อแม่ทำลายจิตใจอยู่บ่อยๆ แต่ก็ไม่ทุกข์แค่นั่งร้องไห้ก็จบ ไม่คิดมาก แต่พอโตขึ้นเราได้รับการศึกษา เรียนรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม มากขึ้น กับทุกข์มากขึ้น เรารับผิดชอบดูแลครอบครัวดูแลพ่อแม่ อยู่ในศีล5 แต่คนที่ทำให้เราทุกข์กับเป็นพ่อแม่เรา มีคู่ชีวิตก็ทำให้ทุกข์ พอปล่อยวาง อยู่เงียบๆ คนใกล้ตัวก็นำเรื่องทุกข์มาให้เสมอ ผมกลายเป็นคนเงียบๆ เวลามีสมาธิคืออยู่ในงาน เวลาอยู่่ใกล้เพื่อนร่วมงาน พวกเค้าก็มีแต่เรื่องทุกข์มาเล่าให้ฟัง จนผมไม่อยากคุยกะใครเลย มีธรรมะข้อใดบ้าง ที่ทำให้ผมไม่ทุกข์สิ่งที่ได้รับทั้งที่ไม่เป็นคนทำ และทำใจอย่างไรเมื่อพ่อแม่ทำให้เราทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2012, 00:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


เขาเอาเพชรมาให้ ทำไมไม่รับไว้?

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2012, 02:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


โค้ด:
ที่ทำให้ผมไม่ทุกข์สิ่งที่ได้รับทั้งที่ไม่เป็นคนทำ และทำใจอย่างไรเมื่อพ่อแม่ทำให้เราทุกข์


ก่อนอื่นขอถามให้คุณได้คิดก่อนว่า คุณแน่ใจเหรอว่าที่คุณทุกข์เป็นเพราะคนอื่นทำคุณ ไม่ใช่เพราะคุณทำตัวคุณเอง

ทุกข์ ท่านให้กำหนดรู้ ให้ยอมรับ ว่าเรากำลังทุกข์อยู่ อย่าหลอกตัวเอง อย่าหลบหนีความทุกข์

ข้อนี้คุณกำหนดรู้แล้ว

เมื่อกำหนดรู้ทุกข์แล้ว ต่อไปท่านให้คิดหาสาเหตุของทุกข์ ลองคิดดูสิครับว่าอะไรทำให้คุณทุกข์ เพราะเมื่อเรารู้เหตุแล้ว กำจัดเหตุนั้นเสีย ทุกข์ก็จะหายไป

เหตุแห่งทุกข์บางอย่างเกินวิสัยของเราที่จะแก้ไข เช่น นิสัยใจคอ การกระทำของคนต่างๆรอบตัวเรา เราจะไปบังคับเขาให้ทำทุกอย่างให้ถูกใจเราไม่ได้ คนเรานิสัยแตกต่างกัน ใจใครใจมัน นี่เป็นสัจธรรม เป็นเรื่องธรรมดาของโลก เป็นธรรมะ

ครูบาอาจารย์ท่านตั้งประเด็นไว้น่าคิดว่า ถ้าเราสามารถเปลี่ยนนิสัยคนอื่นให้เป็นคนดีได้ พระพุทธเจ้าและพระอรหันตเจ้าซึ่งดีงามบริสุทธิ์ไปทั้งใจแล้วคงเปลี่ยนทุกคนให้ดีไปแล้ว โลกจะได้ดีงามมีแต่ความสุข แต่ท่านเหล่านั้นก็ไม่ได้ทำ เพราะมันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

ดังนี้นจึงเป็นความคิดเราที่อยากจะไปบังคับคนเหล่านั้นให้เป็นไปตามใจต่างหากที่ผิด ที่ฝืนธรรมชาติ ความคิดแบบนี้ไม่สอดคล้องกับความจริง โลกเขามีทั้งด้านดีและไม่ดี เราจะเอาแต่ด้านดีอย่างเดียวแบบนี้โลกเขาให้เราไม่ได้ เพราะความคิดเราผิดอยู่แบบนี้ ฝืนโลกแบบนี้ เราจึงรู้สึกว่าโลกฝืนใจเรา

พิจารณาดูดีๆ จะเห็นว่าส่วนมากเรื่องทุกข์ใจทั้งหลาย(ยกเว้นทุกข์ทางกาย)ล้วนมีสาเหตุมาจากความคิดเราเองทั้งนั้นเลย มาจากความคิดผิดของเราที่พยายามจะเปลี่ยนโลกให้เป็นไปตามที่เราต้องการ

ถ้าเอาอันนี้ออกได้ ทุกข์จากความเห็นผิดนี้ก็จะหายไป เมื่อรู้อย่างนี้นี่คือเริ่มมีความเห็นตรงแล้ว เมื่อคิดได้แบบนี้เราจะทุกข์ไม่นาน แต่อย่างไรก็ตามนี่ก็ยังเป็นแค่ขั้นแรก แค่คิดได้แบบนี้จะให้ไม่ทุกข์ในเรื่องนี้อีกเลยยังเป็นไปไม่ได้

เรื่องความรู้สึกทุกข์ในใจ อันนี้แค่มีความเห็นตรงแก้ไม่หาย เพราะใจเรามันชินเสียแล้ว พอเจอเรื่องขัดใจ ใครเอาทุกข์มาให้เข้าหน่อย ใจเราก็สร้างความรู้สึกทุกข์ขึ้นมาทุกที เหมือนเราถนัดขวา อยู่ๆจะให้เขียนหนังสือมือซ้าย ถึงจะเข้าใจวิธีการเขียนดีแค่ไหน ก็เขียนให้ดีทันทีไม่ได้ เพราะมันฝืนความเคยชิน อันนี้ครูบาอาจารย์ท่านสอนให้ตั้งสติไว้ตลอดเวลา ให้ระวังใจไว้เสมอ ศึกษาใจตัวเอง ว่าในสภาวะปกติใจเรามีอาการเป็นอย่างไร ตอนทุกข์ ใจมีอาการเป็นอย่างไร ตอนสุข ใจมีอาการเป็นอย่างไร แยกสามสภาวะนี้ให้ออก จำแต่ละสภาวะให้แม่น และดูใจคอยระวังไว้ให้บ่อยที่สุดทุกครั้งที่มีสตินึกได้ เมื่อเกิดเจอเรื่องขัดใจ หรือใครมาทำให้เราทุกข์ใจ ใจเราจะเริ่มออกอาการก่อน ใจจะดิ้นรนมีอาการผิดไปจากตอนที่ใจเป็นปกติ ถ้าเรารู้ทันเราจะมีโอกาสได้เอาความคิดอย่างข้างบนเข้าสอนใจก่อนที่มันจะสร้างความทุกข์ขึ้นมา หากทำอย่างนี้ได้บ่อยๆใจเราจะเริ่มเกิดความเคยชินใหม่ ในที่สุดก็จะลบล้างความเคยชินเก่าได้ หายทุกข์โดยสมบูรณ์

หากอยากหายทุกข์ การคิดพิจารณาไตร่ตรองกับการมีสติ ขาดไม่ได้

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2012, 09:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


หมีน้อยคอยรัก เขียน:
มีธรรมะข้อใดบ้าง ที่ทำให้ผมไม่ทุกข์สิ่งที่ได้รับทั้งที่ไม่เป็นคนทำ และทำใจอย่างไรเมื่อพ่อแม่ทำให้เราทุกข์


มี

ใจไม่ได้ทุกข์
แต่ที่ทำให้มันรู้สึกเป็นทุกข์ คือ ความหลงไปในความคิด
ที่เดี๋ยวก็คิดไปในทางสุข ทางทุกข์ ทางไม่สุขไม่ทุกข์

ก็ ถ้าเห็น
ก็...อุเบกขากับมันซะ

สุขก็สุข ทุกข์ก็ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ไม่สุขไม่ทุกข์
วางสิ่งที่เข้าไปยึดเกาะอยู่ซะ
ก็จะรับรู้ถึงการตั้งอยู่ของการรู้ที่ไม่ได้เข้าไปยึดเกาะกับสิ่งที่ถูกรู้

และเราก็แค่รู้ว่าสภาวะนั้นมีอยู่
และก็ไม่ใช่สภาวะที่เราจะยึดครองมันเอาไว้ได้เช่นกัน

เมื่อรู้ มันก็ปล่อยวางจากสภาวะนั้นไปอีก

:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2012, 09:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ตอนเด็ก ๆ
เราก็มักจะเคยงอแงกับเรื่องที่ดูจะงี่เง่า...ใช่ม๊ะ

จริง ๆ นะ
ตอนเด็ก ๆ เอกอนก็เคยร้องไห้และคิดจะผูกคอตาย
เพราะพี่ชายกินไข่เจียวหมด
ทั้ง ๆ ที่กับอย่างอื่นยังเหลือ
แต่เอกอนจะกินไข่
แบบว่า กินไม่ทันเขาน่ะ

:b9: :b9: :b9:

กว่าชีวิตจะรอดมาถึงวันนี้... :b9:

พี่ชายก็น่ารักนะ ไม่ห้าม...
บอกว่า
"เออดี เมริงตาย ๆ ไปซะ แม่จะได้รักกรูคนเดียว..."

:b14: :b14:
:b13: :b13: :b13:

555 ก็เลยอยู่เป็นก้างขวางคอมันต่อไป...ดีกว่า

:b55: :b41: :b41: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2012, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


หมีน้อยคอยรัก เขียน:
ในวัยเด็ก ผมโดนพ่อแม่ทำลายจิตใจอยู่บ่อยๆ แต่ก็ไม่ทุกข์แค่นั่งร้องไห้ก็จบ ไม่คิดมาก แต่พอโตขึ้นเราได้รับการศึกษา เรียนรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม มากขึ้น กับทุกข์มากขึ้น เรารับผิดชอบดูแลครอบครัวดูแลพ่อแม่ อยู่ในศีล5 แต่คนที่ทำให้เราทุกข์กับเป็นพ่อแม่เรา มีคู่ชีวิตก็ทำให้ทุกข์ พอปล่อยวาง อยู่เงียบๆ คนใกล้ตัวก็นำเรื่องทุกข์มาให้เสมอ ผมกลายเป็นคนเงียบๆ เวลามีสมาธิคืออยู่ในงาน เวลาอยู่่ใกล้เพื่อนร่วมงาน พวกเค้าก็มีแต่เรื่องทุกข์มาเล่าให้ฟัง จนผมไม่อยากคุยกะใครเลย มีธรรมะข้อใดบ้าง ที่ทำให้ผมไม่ทุกข์สิ่งที่ได้รับทั้งที่ไม่เป็นคนทำ และทำใจอย่างไรเมื่อพ่อแม่ทำให้เราทุกข์

ทาน จขกท มีชะตากรรม คล้ายกับคุนน้องมากเลยนะเจ้าค่ะ พอทุกข์ถาโถมเข้ามาเราจะกลายเป็นคนไม่พูดไม่จากับใคร ใบหน้าก็ดูเศร้าหมองตลอดเวลา ทุกข์นี่แหละเจ้าค่ะคือมิตรแท้ ทำให้เราเห็นความเปลี่ยนแปลงของตัวเราและธรรมชาติบนโลกใบนี้ อดทนต่อไปเจ้าค่ะแล้วท่าน จขกท จะหาหนทางออกเอง ทุกข์เกิดที่ใจเกิดที่ความรู้สึกของเราเพราะเราไปยึดกับเหตุนั้นทำให้เราเป็นทุกข์ พ่อกับแม่ไม่ได้ทำให้เราทุกข์ แต่รูปกับนามทำให้เราทุกข์ เพราะเราไปยึดมั่นถือมั่นว่าท่านมีตัวตน และเราก็มีตัวตน เราเลยทุกข์ บางครั้งเราอยู่เฉยๆก็ทุกข์เพราะจิตใจเราเอง เมื่อนามธรรมกระทบกับนามธรรมก็เกิดทุกเวทนาทางใจจนยากจะหลีกเลี่ยง ลองใช้ชีวิตอยู่กับ ลมหายใจ อานาปานสติ เวลาทุกข์ก็กลับมาอยู่ที่ฐานกายอยู่กับลมหายใจ อยู่กับปัจจุบันขณะ ฝึกสติสัมปชัญญะให้ไวต่อ ขันธ์ห้า เพราะอุปทานขัน์ห้าทั้งหลายทั้งปวงล้วนแล้วแต่เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง เกิดดับ onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2012, 08:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




creamcuisine-27112010-21.jpg
creamcuisine-27112010-21.jpg [ 194.58 KiB | เปิดดู 4640 ครั้ง ]
eragon_joe เขียน:
แต่ตอนเด็ก ๆ
เราก็มักจะเคยงอแงกับเรื่องที่ดูจะงี่เง่า...ใช่ม๊ะ

จริง ๆ นะ
ตอนเด็ก ๆ เอกอนก็เคยร้องไห้และคิดจะผูกคอตาย
เพราะพี่ชายกินไข่เจียวหมด
ทั้ง ๆ ที่กับอย่างอื่นยังเหลือ
แต่เอกอนจะกินไข่
แบบว่า กินไม่ทันเขาน่ะ

:b9: :b9: :b9:


อยากกินข้าวไข่เจียวอ่ะ ห้ามแย่งนะ .. อิอิ :b22: :b22:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2012, 09:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:

อันนี้ครูบาอาจารย์ท่านสอนให้ตั้งสติไว้ตลอดเวลา ให้ระวังใจไว้เสมอ ศึกษาใจตัวเอง ว่าในสภาวะปกติใจเรามีอาการเป็นอย่างไร ตอนทุกข์ ใจมีอาการเป็นอย่างไร ตอนสุข ใจมีอาการเป็นอย่างไร แยกสามสภาวะนี้ให้ออก จำแต่ละสภาวะให้แม่น และดูใจคอยระวังไว้ให้บ่อยที่สุดทุกครั้งที่มีสตินึกได้ เมื่อเกิดเจอเรื่องขัดใจ หรือใครมาทำให้เราทุกข์ใจ ใจเราจะเริ่มออกอาการก่อน ใจจะดิ้นรนมีอาการผิดไปจากตอนที่ใจเป็นปกติ ถ้าเรารู้ทันเราจะมีโอกาสได้เอาความคิดอย่างข้างบนเข้าสอนใจก่อนที่มันจะสร้างความทุกข์ขึ้นมา หากทำอย่างนี้ได้บ่อยๆใจเราจะเริ่มเกิดความเคยชินใหม่ ในที่สุดก็จะลบล้างความเคยชินเก่าได้ หายทุกข์โดยสมบูรณ์

หากอยากหายทุกข์ การคิดพิจารณาไตร่ตรองกับการมีสติ ขาดไม่ได้


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2012, 04:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
ก่อนอื่นขอถามให้คุณได้คิดก่อนว่า คุณแน่ใจเหรอว่าที่คุณทุกข์เป็นเพราะคนอื่นทำคุณ ไม่ใช่เพราะคุณทำตัวคุณเอง

ผมไม่แน่ใจว่าคุณกำลังบอกคำสอนของใครอยู่ ถ้าคุณบอกว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
ผมว่าคุณกำลังเข้าใจผิดหรือขาดความเข้าใจใน.....อริยสัจจ์สี่

ทุกข์มันไม่มีใครทำเรา หรือเราไปทำใคร ทุกข์มันมีมาตั้งแต่เราเกิดแล้ว
พระพุทธองค์บอกว่า ....ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่ ความเจ็บและตายล้วนเป็นทุกข์
คนธรรมดาๆ เขียน:
ทุกข์ ท่านให้กำหนดรู้ ให้ยอมรับ ว่าเรากำลังทุกข์อยู่ อย่าหลอกตัวเอง อย่าหลบหนีความทุกข์
ข้อนี้คุณกำหนดรู้แล้ว

ที่คุณบอกว่า"อย่าหลบหนีความทุกข์" ที่พูดแบบนี้เป็นเพราะเข้าใจในเรื่องทุกข์ผิดไปจาก
ความเป็นจริง ทุกข์ไม่ใช่สิ่งที่คุณกำลังเข้าใจ พระพุทธองค์ให้รู้ทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์
และปฏิบัติให้พ้นทุกข์ มันไม่ใช่การยอมรับหรือหลีกหนี
สรุปก็คือคุณใช้คำพูดที่ผิดไปจากความเป็นจริง
คนธรรมดาๆ เขียน:
ข้อนี้คุณกำหนดรู้แล้ว
เมื่อกำหนดรู้ทุกข์แล้ว ต่อไปท่านให้คิดหาสาเหตุของทุกข์ ลองคิดดูสิครับว่าอะไรทำให้คุณทุกข์ เพราะเมื่อเรารู้เหตุแล้ว กำจัดเหตุนั้นเสีย ทุกข์ก็จะหายไป

คุณธรรมดาครับ เป็นเพราะคุณเข้าใจความหมายของคำว่าทุกข์ผิดครับ
เลยคิดว่า รู้ทุกข์แล้ว ตามความเป็นจริงแล้ว ทุกข์ก็คือ ความไม่คงทนเกิดขึ้น
ตั้งอยู่และดับไปของสังขารหรือเรียกว่า....ความเป็นอนิจจังของสังขาร

สิ่งที่คุณและจขกทกำลังพูดไม่ใช่การรู้ทุกข์ แต่กำลังเป็นทุกข์
เพราะทั้งคู่กำลังปรุงแต่งสังขารขันธ์ห้า อยากบอกคุณธรรมดาครับว่า...
ทั้งความดีและความชั่วล้วนเป็นสังขาร ความดีก็ปรุงแต่ง ความชั่วก็ปรุงแต่ง
ทั้งหมดทั้งมวลล้วนเป็นทุกข์


การจะเอาคำสอนของพระพุทธเจ้า มาสอนการดับทุกข์ให้ผู้อื่น
ตัวผู้สอนจะต้องมีความเข้าใจในคำสอนนั้นๆด้วย ไม่งั้นคำสอนจะออกนอกลู่นอกทาง
ผมอยากจะบอกให้ครับว่า...ให้ผู้รับคำสอนไม่เข้าใจในสิ่งที่เราพูดยังดีซะกว่าให้เขา
เข้าใจผิด


ฉะนั้นอย่าเอาบัญญัติที่เกิดจากการปรุงแต่ง มาทำให้พุทธพจน์ขยายความจน
ไกลความความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2012, 04:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
เหตุแห่งทุกข์บางอย่างเกินวิสัยของเราที่จะแก้ไข เช่น นิสัยใจคอ การกระทำของคนต่างๆรอบตัวเรา เราจะไปบังคับเขาให้ทำทุกอย่างให้ถูกใจเราไม่ได้ คนเรานิสัยแตกต่างกัน ใจใครใจมัน นี่เป็นสัจธรรม เป็นเรื่องธรรมดาของโลก เป็นธรรมะ

ครูบาอาจารย์ท่านตั้งประเด็นไว้น่าคิดว่า ถ้าเราสามารถเปลี่ยนนิสัยคนอื่นให้เป็นคนดีได้ พระพุทธเจ้าและพระอรหันตเจ้าซึ่งดีงามบริสุทธิ์ไปทั้งใจแล้วคงเปลี่ยนทุกคนให้ดีไปแล้ว โลกจะได้ดีงามมีแต่ความสุข แต่ท่านเหล่านั้นก็ไม่ได้ทำ เพราะมันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

ดังนี้นจึงเป็นความคิดเราที่อยากจะไปบังคับคนเหล่านั้นให้เป็นไปตามใจต่างหากที่ผิด ที่ฝืนธรรมชาติ ความคิดแบบนี้ไม่สอดคล้องกับความจริง โลกเขามีทั้งด้านดีและไม่ดี เราจะเอาแต่ด้านดีอย่างเดียวแบบนี้โลกเขาให้เราไม่ได้ เพราะความคิดเราผิดอยู่แบบนี้ ฝืนโลกแบบนี้ เราจึงรู้สึกว่าโลกฝืนใจเรา

พิจารณาดูดีๆ จะเห็นว่าส่วนมากเรื่องทุกข์ใจทั้งหลาย(ยกเว้นทุกข์ทางกาย)ล้วนมีสาเหตุมาจากความคิดเราเองทั้งนั้นเลย มาจากความคิดผิดของเราที่พยายามจะเปลี่ยนโลกให้เป็นไปตามที่เราต้องการ

ถ้าเอาอันนี้ออกได้ ทุกข์จากความเห็นผิดนี้ก็จะหายไป เมื่อรู้อย่างนี้นี่คือเริ่มมีความเห็นตรงแล้ว เมื่อคิดได้แบบนี้เราจะทุกข์ไม่นาน แต่อย่างไรก็ตามนี่ก็ยังเป็นแค่ขั้นแรก แค่คิดได้แบบนี้จะให้ไม่ทุกข์ในเรื่องนี้อีกเลยยังเป็นไปไม่ได้

แก่นธรรมของศาสนาพุทธ มันอยู่ตรงที่...กายใจของเรา
การปฏิบัติต้องต้องปฏิบัติที่กายใจของเรา สิ่งต่างๆภายนอกกายใจ ไม่ว่าคน สัตว์สิ่งของ
ล้วนแล้วแต่เป็น สฬายตนะ หรือเป็นอายตนะภายนอกและภายในมากระทบกัน

คนหรือสัตว์ที่เห็นก็คือรูปเหมือนกัน คำด่าหรือคำชมก็เป็นแค่เสียงและอีก...ฯลฯ
มันไม่ใช่เรื่องไปบังคับให้คนอื่นทำหรือไม่ทำ คือมันเป็นความเข้าใจผิด
ในหลักธรรมของคุณแต่ต้นแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2012, 06:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


ถือว่าเป็นโอกาสได้สนทนาธรรมแลกเปลี่ยนความเห็นกันก็แล้วกันนะครับ

อ้างคำพูด:
ทุกข์ก็คือ ความไม่คงทนเกิดขึ้น
ตั้งอยู่และดับไปของสังขารหรือเรียกว่า....ความเป็นอนิจจังของสังขาร


ถ้าทุกข์ในอริยสัจ คือทุกข์ในไตรลักษณ์แล้วเราจะพ้นทุกข์ได้อย่างไรละครับ เพราะอะไรๆที่เกิดขึ้นมาก็ตกอยู่ไต้พระไตรลักษณ์ทั้งนั้น

ทุกข์ที่ผมพูดถึงทั้งหมด (และทุกข์ที่ผมเข้าใจว่าเป็นทุกข์ที่คุณเจ้าของกระทู้กำลังประสบ) ผมหมายถึงทุกข์ที่เราหลีกเลี่ยงได้ จึงหมายถึงความทุกข์ใจ หรือทุกขเวทนาทางใจเพียงอย่างเดียว ไม่รวมถึงทุกข์เวทนาทางกาย หรือทุกขลักษณ์ในพระไตรลักษณ์ ซึ่งเราๆผู้ศึกษาพระธรรมคงทราบดีว่าไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้

ทุกข์ในพระไตรลักษณ์เป็นลักษณะสามัญของสังขาร ซึ่งสังขารในที่นี้ผมไม่ได้หมายถึงแค่ความคิดหรือจิตสังขาร แต่ผมหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นผมเห็นด้วยที่คุณโฮฮับบอกว่าทุกขลักษณ์มีมาตั้งแต่เราเกิดแล้ว

แต่ทุกขเวทนาทางใจ ไม่ได้มีมาตั้งแต่เกิด ทุกข์เวทนาทางใจจะเกิดก็ต่อเมื่อเราประสบกับสิ่งที่เราไม่ชอบใจ ซึ่งมีสาเหตุมาจากเรามีความอยากให้ทุกอย่างเป็นไปตามใจเรา ซึ่งมีสาเหตุมาจากความไม่เข้าใจพระไตรลักษณ์อีกทีหนึ่ง

ที่ผมบอกว่าอย่าหลบหนีความทุกข์ อันนี้เพราะบางคนเมื่อกำลังทุกข์ใจ แทนที่จะยอมรับว่าตัวเองทุกข์ใจ กลับหลอกตัวเองว่าไม่ทุกข์ หรือกลับเอาความสนใจไปไว้ที่อื่น หรือไปทำอย่างอื่นเสีย เพื่อให้ตัวเองลืมความทุกข์ที่กำลังเกิดกับใจอยู่

หากคนเราไม่ยอมรับเสียก่อนว่าตัวเองทุกข์ แล้วคนๆนั้นจะมีแรงผลักให้ค้นหาเหตุเห่งทุกข์ได้อย่างไร

การทำหนดรู้ทุกข์จึงเป็นเหตุเริ่มของการดำเนินมรรค เพราะเมื่อคนรู้ตัวและยอมรับจากใจแล้วว่าทุกข์ เมื่อนั้นคนๆนั้นจึงจะเริ่มพยายามพาตัวเองออกจากทุกข์ การกำหนดรู้ทุกข์จึงเป็นเหตุให้คนเราพิจารณาหาสมุทัย ซึ่งเมื่อพบแล้วละเสียได้ ทุกข์จากสมุทัยนัันๆก็จะหมดไป

มีอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้ผมคิดว่าทุกข์ในอริยสัจไม่น่าจะหมายถึงทุกขลักษณ์ แต่หมายถึงทุกขเวทนาทางใจ เพราะว่าทุกข์ในพระไตรลักษณ์ คือความจริง คือสัจธรรม เป็นอยู่อย่างนั้นมาตลอด เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ ถ้าอย่างนั้น อะไรเล่าจะมาเป็นเหตุเกิดของทุกขลักษณ์ได้ หากทุกข์ในอริยสัจหมายถึงทุกขลักษณ์แล้ว อะไรเล่าจะเป็นสมุทัย

กิเลสจะมีหรือไม่มี ทุกขลักษณ์ก็จะยังคงมีอยู่ในทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกไม่ใช่หรือ

อ้างคำพูด:
แก่นธรรมของศาสนาพุทธ มันอยู่ตรงที่...กายใจของเรา การปฏิบัติต้องต้องปฏิบัติที่กายใจของเรา


ข้อนี้ผมก็เห็นด้วย และจริงๆแล้วทุกอย่างที่ผมเขียนให้คุณเจ้าของกระทู้ มีแต่เรื่องการแก้ไขความคิดของตัวเองทั้งนั้น ไม่มีเรื่องการแก้ผู้อื่นเลย

แต่หากพูดถึงการปฏิบัติกายใจ ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อไม่ให้ทุกข์เวลากระทบต่อสิ่งต่างๆในโลกหรือ ถ้าไม่ทุกข์เราคงไม่ต้องปฏิบัติพัฒนาอะไรเพิ่มแล้ว แต่ทำอย่างที่เราเคยทำมาก็น่าจะเพียงพอแล้ว

กายเราอาจจะไม่ได้บังคับคนอื่น คำพูดเราอาจจะไม่ส่อถึงการบังคับคนอื่น แต่ใจเราละ มีความอยากให้บางสิ่งบางอย่างเป็นไปอย่างที่ใจต้องการไม่ใช่หรือ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2012, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
ถือว่าเป็นโอกาสได้สนทนาธรรมแลกเปลี่ยนความเห็นกันก็แล้วกันนะครับ

อ้างคำพูด:
ทุกข์ก็คือ ความไม่คงทนเกิดขึ้น
ตั้งอยู่และดับไปของสังขารหรือเรียกว่า....ความเป็นอนิจจังของสังขาร


ถ้าทุกข์ในอริยสัจ คือทุกข์ในไตรลักษณ์แล้วเราจะพ้นทุกข์ได้อย่างไรละครับ เพราะอะไรๆที่เกิดขึ้นมาก็ตกอยู่ไต้พระไตรลักษณ์ทั้งนั้น

ผมถึงได้บอกว่าคุณไม่เข้าใจไงครับ ก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจเรื่องอริยสัจจ์สี่เสียก่อน
ต้องไม่สับสน การไม่รู้อริยสัจจ์สี่นั้นคือ ยังมีอวิชา ดังนั้นเราจะต้องรู้อริยสัจจ์สี่เสียก่อน
และรู้ไม่ใช่การอ่านบัญญัติ การรู้ที่เป็น..วิชชาจะต้องรู้สภาวะตามความเป็นจริง นั้นคือเห็นไตรลักษณ์

ไตรลักษณ์เป็นวิชชา นั้นคือ การรู้ทุกข์ในอริยสัจจ์ ทุกข์ที่แท้จริงคือ..อนิจจัง
ส่วนทุกข์ในไตรลักษณ์มันไม่ใช่ทุกข์ในอริยสัจจ์ แต่มันเป็นสมุทัยหรือเหตุแห่งทุกข์
ดังคำที่พระพุทธองค์บอกว่า....สังขารหรือความไม่เที่ยงเป็นทุกข์

กรุณาแยกแยะให้ดีนะครับ...
ทุกข์ในอริยสัจจ์ก็คือ อนิจจังในไตรลักษณ์ ถ้าเป็นวิชชาเรียกว่า...รู้ทุกข์
เหตุแห่งทุกข์ในอริยสัจจ์ก็คือ ทุกขังในไตรลักษณ์ ถ้าเป็นวิชชาเรียกว่า...รู้สมุทัย

ง่ายๆสั้นๆนะครับ ไอ้ความทุกข์ที่เกิดในใจเรา แท้จริงแล้วไม่ไม่ใช่ความจริง
มันเพราะเพราะเราไปปรุงแต่งขึ้นมา สร้างจินตนาการมาเอง
และการปรุงแต่งเหล่านี้ เป็นเหตุแห่งการยึดมั่น การยึดมั้นถือมั่น
เป็นตัวทำให้เกิดทุกข์ที่แท้จริงครับ และตัวทุกข์ที่แท้จริงก็คือ....วัฏฏะสงสาร


ธรรมชาติและนิพพานไม่ได้ตกอยู่ในกฎแห่งไตรลักษณ์
แต่ตกอยู่ในกฎแห่ง...อนันตาเพียงอย่างเดียว

คนธรรมดาๆ เขียน:
ทุกข์ที่ผมพูดถึงทั้งหมด (และทุกข์ที่ผมเข้าใจว่าเป็นทุกข์ที่คุณเจ้าของกระทู้กำลังประสบ) ผมหมายถึงทุกข์ที่เราหลีกเลี่ยงได้ จึงหมายถึงความทุกข์ใจ หรือทุกขเวทนาทางใจเพียงอย่างเดียว ไม่รวมถึงทุกข์เวทนาทางกาย หรือทุกขลักษณ์ในพระไตรลักษณ์ ซึ่งเราๆผู้ศึกษาพระธรรมคงทราบดีว่าไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้

ที่ว่าหลีกเลี่ยงได้ มันหลีกไม่ได้ ที่คุณสองคนกำลังทุกข์เพราะสังขาร
สังขารมันเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล การจะไม่ให้ทุกข์จะต้องไม่ให้เกิดสังขาร
นั้นหมายความว่า จะต้องดับเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการปรุงแต่ง ตัวต้นเหตุที่เป็นปัจจัย
ให้เกิดสังขารก็คือ กิเลสตัณหา ซึ่งการดับกิเลสต้องดับเป็นขั้นเป็นตอน คือการดับของ
สังโยชน์สิบ

ไอ้สติที่คุณแนะนำจขกทไป มันเป็นแค่การระงับไม่ให้เกิดกายสังขารและวจีสังขาร
ไอ้ตัวต้นเหตุที่ทำให้เกิดสังขารยังอยู่ เมื่อเกิดผัสสะหรือกลับไปคิดมันก็ทุกข์อีก

อนี่งคุณอย่าเข้าใจผิดว่า ทุกขลักษณะในไตรลักษ์เป็นทุกข์
ที่คุณกล่าวมาไม่ใช่ทุกข์ แต่ไตรลักษณ์มันเป็นการรู้ทุกข์และเหตุแห่งทุกข์
อีกทั้งยังเป็นแนวทางแห่งมรรคด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2012, 12:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
ทุกข์ในพระไตรลักษณ์เป็นลักษณะสามัญของสังขาร ซึ่งสังขารในที่นี้ผมไม่ได้หมายถึงแค่ความคิดหรือจิตสังขาร แต่ผมหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นผมเห็นด้วยที่คุณโฮฮับบอกว่าทุกขลักษณ์มีมาตั้งแต่เราเกิดแล้ว

ในไตรลักษณ์ ที่กล่าวเรื่องทุกข์ไว้ มันไม่ใด้ตีความหมายว่าเป็นทุกข์
ในพระไตรลักษณ์ ท่านกำลังอธิบายความว่า ความทุกข์ในใจเราแท้จริงแล้ว
มันไม่ใช่ความจริง มันเกิดจากการปรุงแต่ง หลงเข้าไปยึดผัสสะจนเป็นอุปาทาน
ถ้าเราไม่เข้าไปยึดเพราะเรารู้กฎแห่งไตรลักษณ์ว่า สังขารหรือสิ่งที่ปรุงแต่ง
มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
ความทุกข์ในใจก็เป็นสังขารที่เราไปปรุงแต่งมันขึ้นมาเอง
เมื่อปรุงแต่งมันเมื่อเกิดแล้ว มันก็จะดับไปเองตามกฎพระไตรลักษณ์

คนธรรมดาๆ เขียน:
แต่ทุกขเวทนาทางใจ ไม่ได้มีมาตั้งแต่เกิด ทุกข์เวทนาทางใจจะเกิดก็ต่อเมื่อเราประสบกับสิ่งที่เราไม่ชอบใจ ซึ่งมีสาเหตุมาจากเรามีความอยากให้ทุกอย่างเป็นไปตามใจเรา ซึ่งมีสาเหตุมาจากความไม่เข้าใจพระไตรลักษณ์อีกทีหนึ่ง

สงสัยคุณเข้าใจผิดเรื่อง เวทนานะครับ เวทนามันไม่ได้หมายความว่า ความทุกข์นะครับ
ความหมายของเวทนา คือ การปรุงแต่งของผัสสะที่มากระทบ
จนเกิดเป็นอารมณ์ที่ชอบหรือไม่ชอบ มันไม่ใช่ความสุขหรือความทุกข์

คุณต้องเข้าใจนะครับว่า ความสุขไม่ใช่สิ่งที่ตรงข้ามกับความทุกข์
แท้จริงแล้ว ความสุขเป็นกิเลสมันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความหลงหรือทุกข์

คนธรรมดาๆ เขียน:
ที่ผมบอกว่าอย่าหลบหนีความทุกข์ อันนี้เพราะบางคนเมื่อกำลังทุกข์ใจ แทนที่จะยอมรับว่าตัวเองทุกข์ใจ กลับหลอกตัวเองว่าไม่ทุกข์ หรือกลับเอาความสนใจไปไว้ที่อื่น หรือไปทำอย่างอื่นเสีย เพื่อให้ตัวเองลืมความทุกข์ที่กำลังเกิดกับใจอยู่
หากคนเราไม่ยอมรับเสียก่อนว่าตัวเองทุกข์ แล้วคนๆนั้นจะมีแรงผลักให้ค้นหาเหตุเห่งทุกข์ได้อย่างไร

ที่คุณพูดแบบนี่เป็นเพราะคุณยังไม่เข้าใจ ความหมายของคำว่าทุกข์ เหตุแห่งทุกข์
การรู้ทุกข์แบบคุณมันผิดครับ ทุกข์จะดับได้ก็ด้วยดับกิเลสตัณหา(สังโยชน์)
เมื่อยังไม่มีปัญญามาดับกิเลส เราต้องหาวิธีมาข่มไว้ชั่วคราว นั้นก็คือ ต้องหลบหนีไว้ก่อน
หรือที่เรียกว่าอย่าไปคิดเรื่องนั้น หันไปคิดเรื่องอื่นแทน อาจทำสมถะกรรมฐานก็ได้
คนธรรมดาๆ เขียน:
หากคนเราไม่ยอมรับเสียก่อนว่าตัวเองทุกข์ แล้วคนๆนั้นจะมีแรงผลักให้ค้นหาเหตุเห่งทุกข์ได้อย่างไร

ใครเขาให้ยอมรับทุกข์ครับ ถ้ายอมรับทุกข์แล้วเราจะมาปฏิบัติให้พ้นทุกข์ทำไม
จะยอมรับไม่ยอมรับมันไม่เกี่ยว เพราะทุกข์มันมีของมันอยู่แล้ว มีรูปนามมันก็มีทุกข์

ทุกข์เขาไม่ได้ให้ยอมรับ เขาให้รู้ตามความเป็นจริงว่า ทุกข์คืออะไร แล้วให้หาเหตุ
แห่งทุกข์เพื่อดับมันเสีย

ปุถุชนที่เป็นอยู่นี่เพราะไม่รู้ว่าอะไรคือทุกข์
อะไรคือเหตุแห่งทุกข์ การที่ปุถุชนยังคิดว่าความไม่สบายใจคือทุกข์
นั้นแสดงว่า...ยังไม่รู้ทุกข์ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2012, 12:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโฮฮับ เราไปคุยกันสดๆในลานสนทนากันไหมครับ ผมจะรอที่ลาน 4 นะครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2012, 12:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
การทำหนดรู้ทุกข์จึงเป็นเหตุเริ่มของการดำเนินมรรค เพราะเมื่อคนรู้ตัวและยอมรับจากใจแล้วว่าทุกข์ เมื่อนั้นคนๆนั้นจึงจะเริ่มพยายามพาตัวเองออกจากทุกข์ การกำหนดรู้ทุกข์จึงเป็นเหตุให้คนเราพิจารณาหาสมุทัย ซึ่งเมื่อพบแล้วละเสียได้ ทุกข์จากสมุทัยนัันๆก็จะหมดไป

ปัญหามันไม่ได้อยู่ตรงกำหนดรู้ทุกข์ แต่ปัญหามันอยู่ตรง...รู้ไม่ถูก
ถ้ารู้ผิด มันก็หาเหตุที่จะละไม่ได้

คุณต้องเข้าใจ ธรรมบางที่มีเหตุเกิดแล้วทำให้รู้ผล ไอ้ผลที่เกิดยังสามารถทำให้เป็นเหตุ
เพื่อทำให้เกิดผลตัวใหม่ ที่สำคัญเราจะต้องดับเหตุตัวแรกเสียก่อน มันจึงจะเกิดผลสุดท้าย

สิ่งที่คุณกำลังเข้าใจว่า ทุกข์นั้นน่ะ แท้จริงแล้วมันไม่ใช่
มันเป็นเพียงเหตุที่ทำให้รู้ผลสุดท้าย คือรู้ทุกข์ที่แท้จริงว่าคืออะไร

ทุกข์ทางใจที่คุณกำลังเข้าใจว่าเป็นทุกข์ แท้จริงแล้วมันไม่ใช่ แต่มันเป็นเหตุทำให้เกิดทุกข์
มันเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเวียนว่าย ตายเกิดอีก

คนธรรมดาๆ เขียน:
มีอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้ผมคิดว่าทุกข์ในอริยสัจไม่น่าจะหมายถึงทุกขลักษณ์ แต่หมายถึงทุกขเวทนาทางใจ เพราะว่าทุกข์ในพระไตรลักษณ์ คือความจริง คือสัจธรรม เป็นอยู่อย่างนั้นมาตลอด เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ ถ้าอย่างนั้น อะไรเล่าจะมาเป็นเหตุเกิดของทุกขลักษณ์ได้ หากทุกข์ในอริยสัจหมายถึงทุกขลักษณ์แล้ว อะไรเล่าจะเป็นสมุทัย

นี่อีกที่เป็นความไม่เข้าใจของคุณ อริยสัจจ์กับไตรลักษณ์มีความสัมพันธ์กัน
ถ้าไม่รู้ไตรลักษณ์ ก็ไม่รู้อริยสัจจ์ การไม่รู้อริยสัจจ์เรียกว่าอวิชา ดังนั้นถ้าเราต้องการรู้อริยสัจจ์
เราต้องทำอวิชาให้เป็นวิชชา นั้นก็หมายความว่าหาตัวไตรลักษณ์มาเพื่อรู้อริยสัจจ์
ถ้าไม่รู้ไตรลักษณ์ก็ไม่รู้อริยสัจจ์
คนธรรมดาๆ เขียน:
กิเลสจะมีหรือไม่มี ทุกขลักษณ์ก็จะยังคงมีอยู่ในทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกไม่ใช่หรือ

รูปนามใดที่ปราศจากกิเลสตัณหาโดยสิ้นเชิง รูปนามนั้นย่อมต้องไม่มีไตรลักษณ์
แต่มีอนัตตาเพียงอย่างเดียว

กิเลสเป็นปัจจัยแห่งการปรุงแต่งหรือสังขาร เมื่อหมดกิเลสย่อมหมดปัจจัยแห่งการปรุงแต่ง
นั้นคือไม่มีสังขาร เมื่อไม่มีสังขารย่อมไม่มีอนิจจัง เมื่อไม่มีอนิจจังย่อมไม่มีทุกข์
เหลือไว้แต่อนันตา ดังพุทธพจน์ที่ว่า...
สังขารล้วนเป็นอนิจจัง
สังขารล้วนเป็นทุกข์
สรรพสิ่งล้วนเป็นอนัตตา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 132 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร