วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 03:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 114 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2012, 15:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
[๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คือโพชฌงค์ ๗ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติ
สัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภาย
ในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง สติ
สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติ
สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น
ด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง
เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปีติสัมโพชฌงค์
มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภาย
ในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ
อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขา
สัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ
ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด
ประการนั้นด้วย ดังพรรณนาฉะนี้
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง
ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
ความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมใน
ธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียง
สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย
อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ
ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุ
ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อยู่ ฯ
จบโพชฌงคบรรพ


นี่เป็นแง่การพิจารณา ธรรมในธรรม ในเรื่อง โพชฌงค์
ไม่ใช่ขั้นตอนในการ ทำโพชฌงค์ให้เจริญ แล้วนะ
มันเหมือนว่า มันเป็นขั้นที่ต้องพิจารณาเห็นความเจริญ และความเสื่อม แล้วนะ
ใน ธรรม ที่ประกอบอยู่ใน จิต
เพื่อยกจิตให้อยู่เหนือ โพชฌงค์ ที่เคยยึดมั่น ขึ้นไปอีก

รึเปล่า...

:b14: ขอโทษที่ถ้าหากเหมือนเอกอนอาจจะตีความแปลก
เพราะ แนวโนม้การสอนสติปัฎฐาน 4 โดยมากจะออกแนว เข้าไปยึดมั่นในธรรม

พระองค์สอนธรรมแยกหมวดเอาไว้มาก ให้สาวกเจริญในธรรม
แต่ที่สุด พระองค์ก็สอนให้ทำลายธรรมทุกหมวดลง...ด้วย
และก็ยกเป็นทางสายเอก

รึเปล่า...

:b14:

อันนี้ไม่ต้องมีใครตอบก็ได้ เพราะคำตอบ
อาจจะถูกนำไปใช้ได้ในแง่ทั้งเป็นประโยชน์ และเป็นภัย

เพราะยังไง หลัก ๆ พระองค์ก็สอนให้ ทำความดี ละเว้นความชั่ว
ส่วนปล่ายทางจะบรรลุผลอย่างไร ก็สุดแต่ กรรม

:b9: :b9: :b9:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 09 ธ.ค. 2012, 21:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2012, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



อนุโมทนาครับ
s002


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2012, 13:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Rotala เขียน:
อนุโมทนาครับ
s002


:b5: :b32:

ปกติจะเคยเห็นแต่ อนุโมนทา แบบ Kiss smiley :b20:
เพิ่งเคยเห็น

อนุโมทนา แบบ s002

:b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2012, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:

ปกติจะเคยเห็นแต่ อนุโมนทา แบบ Kiss smiley :b20:
เพิ่งเคยเห็น

อนุโมทนา แบบ s002

:b9:
:b9: :b9: อิอิ .. ช่างสังเกตุจิ๊ง ..จิ๊งงงง .. :b32: :b32:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2012, 12:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎกเล่มที่ 31 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 23
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มาติกา

มาติกา
ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ [ญาณอันสำเร็จ มาแต่การฟัง]
๑ ปัญญาในการฟังธรรมแล้ว สังวรไว้ เป็นสีลมยญาณ [ญาณอันสำเร็จมาแต่ศีล]
๑ ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็นภาวนามยญาณ [ญาณอันสำเร็จมาแต่การเจริญสมาธิ]
๑ ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรม ฐิติญาณ [ญาณในเหตุธรรม]
๑ ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลายทั้งส่วนอดีต ส่วนอนาคตและส่วนปัจจุบันแล้วกำหนดไว้
เป็นสัมมสนญาณ [ญาณในการพิจารณา]
๑ ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมส่วนปัจจุบัน
เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ [ญาณในการพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม]
๑ ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็นวิปัสนาญาณ
[ญาณในความเห็นแจ้ง]
๑ ปัญญาในการปรากฏโดยความเป็นภัย เป็นอาทีนวญาณ
[ญาณในการเห็นโทษ]
๑ ปัญญาในความปรารถนาจะพ้นไปทั้งพิจารณาและวางเฉย อยู่ เป็นสังขารุเบกขาญาณ
๑ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิต ภายนอก เป็นโคตรภูญาณ
๑ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ
๑ ปัญญาในการระงับประโยค เป็นผลญาณ
๑ ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ
๑ ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุม ในขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ
๑ ปัญญาในการกำหนดธรรมภายใน เป็น วัตถุนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งวัตถุ]
๑ ปัญญาในการกำหนดธรรม ภายนอก เป็นโคจรนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งโคจร]
๑ ปัญญาในการ กำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งจริยา]
๑ ปัญญา ในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งภูมิ]
๑ ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ เป็นธรรมนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งธรรม]
๑ ปัญญาที่รู้ยิ่ง เป็นญาตัฏฐญาณ [ญาณในความว่ารู้]
๑ ปัญญาเครื่องกำหนดรู้ เป็นตีรณัฏฐญาณ [ญาณในความว่าพิจารณา]
๑ ปัญญาในการละ เป็น ปริจจาคัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสละ]
๑ ปัญญาเครื่องเจริญ เป็นเอกรสัฏฐญาณ [ญาณในความว่ามีกิจเป็นอันเดียว]
๑ ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณ [ญาณในความว่าถูกต้อง]
๑ ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอัตถปฏิสัมภิทาญาณ
๑ ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ
๑ ปัญญา ในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
๑ ปัญญาในความต่างแห่ง ปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
๑ ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็น วิหารัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องอยู่]
๑ ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติ เป็นสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสมาบัติ]
๑ ปัญญาในความต่างแห่งวิหาร สมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าวิหารสมาบัติ]
๑ ปัญญา ในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ให้ฟุ้งซ่าน เป็น
อานันตริกสมาธิญาณ [ญาณในสมาธิอันมีในลำดับ]
๑ ทัสนาธิปไตย ทัสนะมี ความเป็นอธิบดี วิหาราธิคม คุณเครื่องบรรลุ คือวิหารธรรมอันสงบ และปัญญา
ในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต เป็นอรณวิหารญาณ
[ญาณในวิหารธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นข้าศึก]
๑ ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วย
พละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖
และด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นนิโรธสมาปัตติญาณ [ญาณในนิโรธสมาบัติ]
๑ ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็น ปรินิพพานญาณ
๑ ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาด
โดยชอบและในนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมอันสงบและธรรม อันเป็นประธาน]
๑ ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่างๆ และเดช
เป็นสัลเลขัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องขัดเกลา]
๑ ปัญญาในความ ประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เป็นวิริยารัมภญาณ
๑ ปัญญาในการ ประกาศธรรมต่างๆ เป็นอรรถสันทัสนญาณ [ญาณในการเห็นชัดซึ่งอรรถธรรม]
๑ ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกันในการแทงตลอดธรรมต่างกัน
และธรรมเป็นอันเดียวกัน เป็นทัสนวิสุทธิญาณ
๑ ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏ โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น เป็นขันติญาณ
๑ ปัญญาในความถูกต้องธรรมเป็นปริโยคาหนญาณ [ญาณในความย่างเข้าไป]
๑ ปัญญาในการรวมธรรม เป็นปเทสวิหารญาณ [ญาณในวิหารธรรมส่วนหนึ่ง]
๑ ปัญญาในความมีกุศลธรรม เป็นอธิบดีเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยปัญญาที่รู้ดี]
๑ ปัญญา ในธรรมเป็นเหตุละความเป็นต่างๆ เป็นเจโตวิวัฏฏญาณ
[ญาณในการหลีกออก จากนิวรณ์ด้วยใจ]
๑ ปัญญาในการอธิษฐาน เป็นจิตตวิวัฏฏญาณ [ญาณในความ หลีกไปแห่งจิต]
๑ ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณ [ญาณใน ความหลีกไปด้วยญาณ]
๑ ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปแห่งจิตด้วยวิโมกข์]
๑ ปัญญาในความว่าธรรมจริง เป็นสัจจวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยสัจจะ]
๑ ปัญญาในความ สำเร็จด้วยการกำหนดกาย [รูปกายของตน] และจิต [จิตมีญาณเป็นบาท]
เข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งความตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญา [สัญญาประกอบด้วย
อุเบกขาในจตุตถฌานเป็นสุขละเอียด] และลหุสัญญา [สัญญาเบาเพราะพ้นจาก
นิวรณ์และปฏิปักขธรรม] เป็นอิทธิวิธญาณ [ญาณในการแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ]
๑ ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียวด้วยสามารถการ
แผ่วิตกไป เป็นโสตธาตุวิสุทธิญาณ [ญาณอันหมดจดแห่งโสตธาตุ]
๑ ปัญญา ในการกำหนดจริยาคือ วิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต
๓ ประเภท และด้วยสามารถแห่งความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็น
เจโตปริยญาณ [ญาณในความกำหนดรู้จิตผู้อื่นด้วยจิตของตน]
๑ ปัญญาในการ กำหนดธรรมทั้งหลายอันเป็นไปตามปัจจัย ด้วยสามารถความแผ่ไปแห่งกรรม
หลายอย่างหรืออย่างเดียว เป็นบุพเพนิวาสานุสสติญาณ [ญาณเป็นเครื่อง
ระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้]
๑ ปัญญาในความเห็นรูปเป็นนิมิตหลายอย่าง หรืออย่างเดียว ด้วยสามารถแสงสว่าง เป็นทิพจักขุญาณ
๑ ปัญญาในความ เป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณ
[ญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย]
๑ ปัญญาในความกำหนดรู้ เป็นทุกขญาณ
๑ ปัญญาในความละ เป็นสมุทยญาณ
๑ ปัญญาในความทำให้แจ้ง เป็น นิโรธญาณ
๑ ปัญญาในความเจริญ เป็นมรรคญาณ
๑ ทุกขญาณ [ญาณ ในทุกข์]
๑ ทุกขสมุทยญาณ [ญาณในเหตุให้เกิดทุกข์]
๑ ทุกขนิโรธญา[ญาณในความดับทุกข์]
๑ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ [ญาณในข้อปฏิบัติ เครื่องให้ถึงความดับทุกข์]
๑ อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ
๑ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
๑ อินทริยปโรปริยัติญาณ [ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย]
๑ อาสยานุสยญาณ [ญาณในฉันทะเป็นที่มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย]
๑ ยมกปาฏิหิรญาณ [ญาณในยมกปาฏิหาริย์]
๑ มหากรุณาสมาปัตติญาณ ๑
สัพพัญญุตญาณ ๑ อนาวรณญาณ ๑
ญาณเหล่านี้รวมเป็น ๗๓ ญาณ ในญาณทั้ง ๗๓ นี้ ญาณ ๖๗
[ข้างต้น] ทั่วไปแก่พระสาวก ญาณ ๖ [ในที่สุด] ไม่ทั่วไปด้วยพระสาวก
เป็นญาณเฉพาะพระตถาคตเท่านั้น ฉะนี้แล ฯ

จบมาติกา
-----------


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2012, 14:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญญาวรรค สติปัฏฐานกถา
สาวัตถีนิทานบริบูรณ์
[๗๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นกายในกาย มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เป็นผู้
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต เป็นผู้
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้แล ฯ
[๗๒๗] ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไร ฯ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกองธาตุดิน โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็น
ทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด
ไม่กำจัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์
ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญา
ได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัด
ได้ เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืนย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณา
เห็นกายโดยอาการ ๗ นี้ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกการ
พิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา ด้วยความว่าธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียว
กัน ๑ ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไปซึ่งความเพียร อันสมควรแก่ความที่ธรรม
ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกันนั้น ๑ ด้วยความว่าเป็น
ธรรมที่เสพ ๑ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกองอาโปธาตุ กองเตโช-
*ธาตุ กองวาโยธาตุ กองผม กองขน กองผิว กองหนัง กองเนื้อ กองเอ็น
กองกระดูก กองเยื่อในกระดูก โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดย
ความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความ
เป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา
ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด
ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละ
นิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อ
พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละ
ความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้ เมื่อดับย่อมละสมุทัยได้
เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายด้วยอาการ ๗ นี้
กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น
กายนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นกาย
ในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็นธรรมที่
เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างนี้ ฯ
[๗๒๘] ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างไร ฯ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อ
สละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ นี้
เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นเวทนานั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็นธรรมที่
เสพ ฯลฯ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขม-
*สุขเวทนา จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เมื่อสละคืน
ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ นี้ เวทนา
ปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนา
นั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็นธรรมที่
เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างนี้ ฯ
[๗๒๙] ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไร ฯ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตมีราคะ โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือ
มั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ
เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ ๗ นี้
จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิต
นั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นจิตในจิต
ว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความเป็นธรรมที่เสพ
ฯลฯ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตอันปราศจากราคะ จิตมีโทสะ
จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น
มหรคต จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่น
จิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา-
*วิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณา
เห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละ
ความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ ๗ นี้ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ
สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสติและญาณนั้น
เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นจิตในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่าเป็นธรรม
ที่เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างนี้ ฯ
[๗๓๐] ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างไร ฯ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เว้นกาย เวทนา จิตเสียแล้ว ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมทั้งหลายที่เหลือจากนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดย
ความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็น
สุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา
ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด
ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละ
นิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อ
พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม
ละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้ เมื่อดับ ย่อมละ
สมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ทั้งหลายด้วยอาการ ๗ นี้ ธรรมทั้งหลายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย
เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะ
เหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายว่า สติปัฏฐาน-
*ภาวนา ฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา ด้วยความว่า
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจ
เป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไป ซึ่งความเพียรอันสมควรแก่
ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกันนั้น ๑
ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ ๑ ฯลฯ ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายอยู่อย่างนี้ ฉะนี้แล ฯ
จบสติปัฏฐานกถา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2012, 14:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญญาวรรค วิปัสสนากถา
สาวัตถีนิทานบริบูรณ์
[๗๓๑] ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขาร
ไรๆ โดยความเป็นของเที่ยงอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่
เป็นฐานะที่จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตติยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดา-
*ปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่
เที่ยงอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบ
ด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่
สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล
หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ฯ
[๗๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารไรๆ
โดยความเป็นสุข จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่
จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล
อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นทุกข์อยู่ จักเป็นผู้ประกอบ
ด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่
สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่ง
โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่
มีได้ ฯ
[๗๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นธรรมไรๆ
โดยความเป็นอัตตาอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่
จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็น
ฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นธรรมไรๆ โดยความเป็นอนัตตาอยู่ จักเป็น
ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ
จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำ
ให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็น
ฐานะที่มีได้ ฯ
[๗๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นนิพพานโดย
ความเป็นทุกข์อยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมี
ได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล
อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
นั้นหนอ พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุขอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลม
ขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม
ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ฯ
[๗๓๕] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร ย่างลงสู่สัมมัตต
นิยามด้วยอาการเท่าไร ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ ย่างลงสู่สัมมัตต
นิยามด้วยอาการ ๔๐ ฯ
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม
ด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ฯ
ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ๑ เป็นทุกข์ ๑
เป็นโรค ๑ เป็นดังหัวฝี ๑ เป็นดังลูกศร ๑ เป็นความลำบาก ๑ เป็นอาพาธ ๑
เป็นอย่างอื่น ๑ เป็นของชำรุด ๑ เป็นเสนียด ๑ เป็นอุบาทว์ ๑ เป็นภัย ๑
เป็นอุปสรรค ๑ เป็นความหวั่นไหว ๑ เป็นของผุพัง ๑ เป็นของไม่ยั่งยืน ๑
เป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ๑ เป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ๑ เป็นของไม่เป็น
ที่พึ่ง ๑ เป็นของว่าง ๑ เป็นของเปล่า ๑ เป็นของสูญ ๑ เป็นอนัตตา ๑ เป็น
โทษ ๑ เป็นของมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ๑ เป็นของหาสาระมิได้ ๑ เป็น
มูลแห่งความลำบาก ๑ เป็นดังเพชฌฆาต ๑ เป็นความเสื่อมไป ๑ เป็นของ
มีอาสวะ ๑ เป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ๑ เป็นเหยื่อแห่งมาร ๑ เป็นของมีความ
เกิดเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความป่วยไข้
เป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความเศร้าโศกเป็น
ธรรมดา ๑ เป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความคับแค้นใจเป็น
ธรรมดา ๑ เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ๑ เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับ
แห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเที่ยง ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจารณาเห็น
เบญจขันธ์โดยความเป็นทุกข์ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความ
ดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นสุข ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจารณา
เห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นโรค ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์
เป็นนิพพานไม่มีฝี ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังลูกศร ... เมื่อ
พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีลูกศร ... เมื่อพิจารณา
เห็นเบญจขันธ์โดยความลำบาก ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น
นิพพานไม่มีความลำบาก ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอาพาธ ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์ เป็นนิพพานไม่มีอาพาธ ... เมื่อ
พิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอื่น ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่ง
เบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีสิ่งอื่นเป็นปัจจัย ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย
ความเป็นของชำรุด ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความชำรุดเป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นเสนียด ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีเสนียด ... เมื่อ
พิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอุบาทว์ ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่ง
เบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุบาทว์ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็น
ภัย ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานอันไม่มีภัย ...
เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอุปสรรค ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความ
ดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุปสรรค ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย
ความเป็นของหวั่นไหว ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น
นิพพานไม่มีความหวั่นไหว ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของ
ผุพัง ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความ
ผุพัง ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่ยั่งยืน ... เมื่อพิจารณา
เห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความยั่งยืน ... เมื่อพิจารณาเห็น
เบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับ
แห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นที่ต้านทาน ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความ
เป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น
นิพพานเป็นที่ป้องกัน ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มี
ที่พึ่ง ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นที่พึ่ง ...
เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของว่าง ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความ
ดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ว่าง ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความ
เป็นของว่างเปล่า ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
เปล่า ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของสูญ ... เมื่อพิจารณาเห็น
ว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานสูญอย่างยิ่ง ... เมื่อพิจารณาเห็น
เบญจขันธ์โดยความเป็นอนัตตา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์
เป็นนิพพานเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็น
โทษ ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีโทษ ...
เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของแปรปรวนเป็นธรรมดา ... เมื่อ
พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความไม่แปรปรวนเป็น
ธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของหาสาระมิได้ ... เมื่อ
พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีสาระ ... เมื่อพิจารณาเห็น
เบญจขันธ์โดยความเป็นมูลแห่งความลำบาก ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับ
แห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีมูลแห่งความลำบาก ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์
โดยความเป็นดังเพชฌฆาต ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น
นิพพานไม่เป็นดังเพชฌฆาต ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของ
เสื่อมไป ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความ
เสื่อมไป ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีอาสวะ ... เมื่อ
พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอาสวะ ... เมื่อพิจารณา
เห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความ
ดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์
โดยความเป็นเหยื่อแห่งมาร ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น
นิพพานไม่เป็นเหยื่อแห่งมาร ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมี
ความเกิดเป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน
ไม่มีความเกิด ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความแก่เป็น
ธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความ
แก่ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความป่วยไข้ ...
เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ... เมื่อ
พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความตาย ... เมื่อ
พิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ... เมื่อ
พิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเศร้าโศก ... เมื่อ
พิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณา
เห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความร่ำไร ... เมื่อพิจารณาเห็น
เบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความคับแค้นเป็นธรรมดา ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความคับแค้น ย่อม
ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเศร้า
หมองเป็นธรรมดา ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่ง
เบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเศร้าหมอง ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ฯ
[๗๓๖] การพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น
อนิจจานุปัสนา โดยความเป็นทุกข์ เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นโรค เป็น
ทุกขานุปัสนา โดยความเป็นดังหัวฝี เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นดังลูกศร
เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นความลำบาก เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็น
อาพาธ เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นอย่างอื่น เป็นทุกขานุปัสนา โดยความ
เป็นของชำรุด เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นเสนียด เป็นทุกขานุปัสนา
โดยความเป็นอุบาทว์ เป็นทุกขาปัสนา โดยความเป็นภัย เป็นทุกขานุปัสนา
โดยความเป็นอุปสรรค เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของหวั่นไหว เป็น
อนิจจานุปัสนา โดยความเป็นของผุพัง เป็นอนิจจานุปัสนา โดยความเป็นของไม่
ยั่งยืน เป็นอนิจจานุปัสนา โดยความเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน เป็นทุกขานุ-
*ปัสนา โดยความเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็น
ของไม่มีที่พึ่ง เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของว่าง เป็นทุกขานุปัสนา
โดยความเป็นของเปล่า เป็นอนัตตานุปัสนา โดยความเป็นของสูญ เป็นอนัตตา-
*นุปัสนา โดยความเป็นอนัตตา เป็นอนัตตานุปัสนา โดยความเป็นโทษ เป็น
ทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เป็นอนิจจานุปัสนา
โดยความเป็นของหาสาระมิได้ เป็นอนัตตานุปัสนา โดยความเป็นมูลแห่งความ
ทุกข์ เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นดังเพชฌฆาต เป็นทุกขานุปัสนา โดย
เป็นความเสื่อมไป เป็นอนิจจานุปัสนา โดยความเป็นของมีอาสวะ เป็นทุกขานุ-
*ปัสนา โดยเป็นของมีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นอนิจจานุปัสนา โดยความเป็นเหยื่อ
แห่งมาร เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา เป็น
ทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา
โดยความเป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็น
ของมีความตายเป็นธรรมดา เป็นอนิจจานุปัสนา โดยความเป็นของมีความ
เศร้าโศกเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา
เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความคับแค้นเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา
โดยความเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา ฯ
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ นี้ ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม
ด้วยอาการ ๔๐ นี้ ฯ
ภิกษุผู้ได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ นี้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการ ๔๐ นี้ มีอนิจจานุปัสนาเท่าไร มีทุกขานุปัสนาเท่าไร มีอนัตตานุปัสนา
เท่าไร ฯ
ท่านกล่าวว่า มีอนิจจานุปัสนา ๕๐ มีทุกขานุปัสนา ๑๒๕
มีอนัตตานุปัสนา ๒๕ ฉะนี้แล ฯ
จบวิปัสสนากถา ฯ
-----------------------------------------------------


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2012, 14:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
[๗๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นนิพพานโดย
ความเป็นทุกข์อยู่ ....


เห็นข้อนี้แล้ว อึ้งนิด ๆ

เอกอนไปตั้งกระทู้บ้างนะ ท่านมูอย่าลืมไปร่วมเจิม เอ้ย แจมนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2012, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ :b8:

:b12: :b6: :b12:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 114 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 181 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron