วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 08:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2012, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิบัติหรือฝึก “สติปัฏฐานสี่” อย่างไรจึงถูกต้อง
เจริญในธรรมท่านทั้งหลาย ที่มีจิตศรัทธาในศาสนา มีความคิด มีความภูมิใจในศาสนาที่ตนเองนับถือ สืบทอดต่อๆกันมาหลายร้อยปี ด้วยเหตุของกาลเวลา ด้วยเหตุอันเกิดจากมนุษย์ จึงเป็นเรื่องธรรมดาของความเสื่อมอันเกิดจาก กาลเวลา และมนุษย์ ข้าพเจ้าเคยเห็นและประสบพบมามาก เกี่ยวกับการฝึกหรือการปฏิบัติทางด้านศาสนา โดยเฉพาะ ฝึกหรือปฏิบัติตามหลัก “สติปัฏฐานสี่” แต่ข้าพเจ้าเองไม่เคยได้ปฏิบัติหรือฝึกฝนตามที่เคยเห็นหรือที่พบประสบมา ข้าพเจ้าฝึกหรือปฏิบัติตามแนวทางของข้าพเจ้า อันได้รับการแนะแนวทางจาก อาจารย์นายแพทย์ โรงพยาบาลสวนดอกเชียงใหม่(มหาราช) ในข้อที่ว่า “จะดูมันทำไมกับซากศพมนุษย์ที่เสียชีวิตไปแล้ว ดูและสนใจร่างกายที่ยังมีชีวิตจะมีประโยชน์กว่า” ดังนั้นการฝึกหรือการปฏิบัตของข้าพเจ้าเป็นการฝึกหรือการปฏิบัติอันเป็นไปตามหลักธรรมชาติ เป็นไปตามหลักศาสนา โดยที่ไม่ต้องไปศึกษาจากตำราใดใดเลย ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นการสมควร ที่จะเปิดเผย หรือแนะนำ หรือสอน วิธีคิด วิธีพิจารณา หรือ ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ต่อผู้ที่ศรัทธาในศาสนาทั้งหลาย ในที่นี้หรือบทความนี้ ข้าพเจ้าจักจะอธิบายให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการปฏิบัติหรือการฝึกตามหลัก สติปัฏฐานสี่ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกทางพุทธศาสนา ท่านทั้งหลายจงได้ใช้วิจารณญาณ ในการอ่านในการศึกษา ใช้สมองสติปัญญา คิดพิจารณา ให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ จะเชื่อตามที่ข้าพเจ้าสอน หรือไม่เชื่อตามที่ข้าพเจ้าจะสอนต่อไปนี้ ก็ตามแต่สมองสติปัญญาของพวกท่านเถิด.-
หลักสติปัฏฐานสี่ ที่มีปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎกนั้น เป็นเพียงข้อแนะแนวทางในการปฏิบัติ หรือการฝึก หรือการพิจารณาหรือจะเรียกว่า เป็นเคล็ดวิธีสำหรับการปฏิบัติหรือการฝึก เพื่อให้เกิดสติ คือ ความระลึกได้ หรือความตามหวลระลึก ความไม่เผลอ หรือการรู้จักควบคุมจิตใจตัวเองไว้ในการกระทำกิจใดใด มิให้หลงลืม มิให้เผลอเรอ หรือรู้จักควบคุมจิตใจตัวเองให้เอาใจจดจ่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่วอกแวกหรือฟุ้งซ่าน ซึ่งสิ่งที่ได้กล่าวไปล้วนเป็นธรรมทั้งหลาย คำว่า “ธรรมทั้งหลาย”นั้น ย่อมหมายรวมถึงทุกสิ่งที่มีการเขียนหรือปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก หากท่านผู้ใดไม่เคยได้อ่านหรือไม่เคยได้ศึกษาจากพระไตรปิฎก ก็สามารถหาหรือค้นคว้าศึกษาได้จากเวบธรรมะต่างๆที่มี พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย หรือหากท่านทั้งหลายไม่มีเวลาที่จะหาค้นคว้าศึกษา ก็สามารถคิดพิจารณาตามคำแนะนำ หรือคำสอนแห่งข้าพเจ้านี้ก็ได้เช่นกัน
เท่าที่ข้าพเจ้าได้เห็นหรือพบประสบมาเกี่ยวกับการปฏิบัติหรือการฝึกสติปัฏฐานสี่นั้น เหล่าบรรดาท่านผู้รู้ทั้งพระสงฆ์ ทั้งฆราวาส โดยรวมแล้ว ก็คงสอนกันไปตามตำรา ที่มีอยู่ พิจารณากายฯ ,พิจารณาเวทนาฯ, พิจารณาจิตฯ,พิจารณาธรรมฯ บ้างก็สอนกันไปตามความเข้าใจว่า การพิจารณากายฯ ต้องรู้ว่าเดิน ย่างซ้าย ย่างขวา ก้าวซ้ายหนอ ก้าวขวาหนอ ลุกหนอ นั่งหนอ ยืนหนอ ฯลฯ อันเป็นความรู้ความเข้าใจ และเป็นการปฏิบัติหรือการฝึกที่ไม่ถูกต้อง ในที่นี้ ข้าพเจ้าจะไม่อธิบายหรือสาธยายว่า ไม่ถูกต้องอย่างไร เพราะข้าพเจ้าเคยได้เขียนเกี่ยวกับความไม่ถูกต้องของการปฏิบัติหรือการฝึกแบบดังกล่าวไปหลายครั้งแล้ว แต่ก็จะกล่าวเพียงสั้นๆว่า “ที่ไม่ถูกต้อง เพราะมันผิดหลักธรรมชาติของร่างกายมนุษย์”
หากท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะอยู่สถานะใด หรือหน้าที่ แลบทบาทใด ไม่ว่าจะครองเรือนในเพศใด มีความศรัทธาในพุทธศาสนา แลมีความต้องการ ที่จะเรียนรู้ ฝึกฝนปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐานสี่ที่ถูกต้อง ก็ให้เตรียมสมอง ตั้งสมาธิ เตรียมความพร้อมที่จะศึกษา ตามที่ข้าพเจ้าจะได้แนะนำ หรือสอนเพิ่มเติม จากที่ท่านทั้งหลายเคย ได้เรียนรู้มาจากพระไตรปิฎกกันมา ต้องขอบอกเอาไว้อีกครั้งหนี่งว่า หลักการฝึกหรือปฏิบัติ สติปัฏฐานสี่ นั้น เป็นเพียงข้อแนะนำ หรือเคล็ดวิธีการในการฝึกหรือปฏิบัติ หรือคิดพิจารณาในธรรมทั้งหลาย ซึ่งคำว่า “ธรรมทั้งหลาย”นั้นย่อมหมายถึง “ กาย ,เวทนา,จิต,ธรรม”
-ขั้นตอนการเรียนรู้ และทำความเข้าใจในการฝึกหรือการปฏิบัติสติปัฏฐานสี่นั้น
-อันดับแรก ท่านทั้งหลายต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจก่อนว่า กาย คือ อะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง สิ่งใดบ้างที่เรียกว่า กาย สิ่งที่อยู่นอกเหนือจากตัวเราเรียกว่า กาย ด้วยหรือไม่
-สอง ท่านทั้งหลายต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจว่า เวทนา คือ อะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเหตุใดจึงเกิด เวทนา ผลของการเกิด เวทนา คือ อะไร
-สาม ท่านทั้งหลายต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจว่า จิต คือ อะไร จิตเป็นกายหรือไม่ จิตในทางพุทธศาสนาคือ อวัยวะใด จิตในทางหลักวิชาการ หมายถึงอะไรเป็นอวัยวะใดบ้าง
-สี่ ท่านทั้งหลายต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจว่า “ธรรม” คือ อะไร ประกอบด้วยอะไร กายเป็นธรรมหรือไม่ เวทนาเป็นธรรมหรือไม่ จิตเป็นธรรมหรือไม่ อย่างนี้เป็นต้น

- การพิจารณากายฯ นั้น ต้องรู้จักร่างกายของตัวเอง ต้องรู้และทำความเข้าใจให้หมุนวนเป็นวัฏจักร ต้องทำความเข้าใจว่า กาย ทำให้เกิดการกระทำในกิจกรรมใดใดได้อย่างไรกายเกี่ยวข้อง กับ เวทนา จิต ธรรม อย่างไร
-การพิจารณาเวทนาฯ นั้น ต้องรู้จักอารมณ์ของตัวเอง เพราะเวทนาจะเป็นตัวก่อให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึกหรือเวทนา เกิดขึ้นได้อย่างไร ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจว่า ผลแห่งเวทนาหรือความรู้สึกที่เกิด คืออะไรบ้าง
-การพิจารณาจิตฯ นั้น ต้องรู้จักความคิดของตัวเอง เพราะจิตจะเป็นตัวสั่งการให้เกิดความคิดตามหรือไม่คิดตาม หรือเกิดอารมณ์ความรู้สึก คือต้องรู้จักควบคุมจิตฯมิให้ไหลตามกายที่ได้รับการสัมผัส, จิตทำให้เกิด เวทนา หรือเกิดอารมณ์ เกิดความคิด เกิดการระลึกนึกถึง อันเกิดต่อเนื่องจากกาย เมื่อกายได้รับการสัมผัส ทางอายตนะทั้งหลาย
-การพิจารณาธรรมฯทั้งหลายที่เกิดขึ้นในกาย ในเวทนา ในจิต ย่อมมีทั้งธรรมที่เป็น กุศล และธรรมที่เป็น อกุศล ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เกิดขึ้นใน กาย,เวทนา,จิต,ธรรม + ตั้งอยู่ ใน กาย,เวทนา,จิต,ธรรม + ดับไปจาก กาย,เวทนา,จิต,ธรรม ด้วยเหตุใด เพราะอะไร หรือ ได้อย่างไร
สำรับการพิจารณาธรรมนั้น ยังต้องแยกแยะรายละเอียดเกี่ยวกับ หลักธรรม ทั้งหลายที่มีปรากฎอยู่ในหลักพุทธศาสนา ว่ามี หลักธรรมใดบ้าง ข้าพเจ้าจะแนะนำแนวทางให้ว่า หลักธรรมในทางหลักพุทธศาสนานั้น ความจริงแล้ว ก็มีเพียงไม่กี่ข้อ นอกนั้นเป็นเพียงการแยกแยะรายละเอียดเพื่อให้ผู้ศรัทธาได้ปฏิบัติสำหรับการดำรงชีวิตในชีวิตประจำวันและที่สำคัญ เป็นเพียงหลักธรรมสำหรับการหลุดพ้นหรือเพื่อความสงบสันติในการครองเรือนแบบปุถุชน หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง หรือชุมชนใดชุมชนหนึ่งเท่านั้น มิใช่เป็นหลักธรรมที่จะทำให้บรรลุธรรมชั้นอริยะบุคคล หรือธรรมบางข้อบางหมวด ก็เป็นเพียงคำบอกเล่า บางหมวดธรรมก็เปรียบเป็น เครื่องมือ ว่าควรใช้เครื่องมือ(ธรรมะ)ใด ในการที่จะฝึกหรือปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในที่นี้จะไม่ยกตัวอย่างให้เห็น
ท่านทั้งหลาย เมื่อได้อ่าน ได้ศึกษาแล้ว ก็ให้ใช้สมองสติปัญญา คิดพิจารณา ไตร่ตรอง อย่างรอบคอบถี่ถ้วน เพราะหลักธรรมที่จะนำพาให้บรรลุสู่ชั้นอริยบุคคลนั้นย่อมมีอยู่ ในที่นี้จะไม่กล่าวถึง เพราะข้าพเจ้าเพียงเขียนแนะนำ หรือสอน หรืออธิบาย เพื่อให้ท่านผู้ศรัทธา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในพุทธศาสนา ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ การฝึกหรือ การปฏิบัติ หรือการคิดพิจารณา เกี่ยวกับ “สติปัฏฐานสี่”
ซึ่ง “สติปัฏฐานสี่”นั้น แท้จริงแล้ว ก็เป็นเพียงวิธีการ หรือข้อแนะแนวทางให้กับผู้ศรัทธาในพุทธศาสนาได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักหรือเคล็ดวิธีการ ในการปฏิบัติ หรือการฝึก และข้าพเจ้าก็ได้เพิ่มเติมหลักธรรม หรือข้อสำคัญ อันเป็นสิ่งที่จักทำให้การฝึกหรือการปฏิบัติ ในหลัก “สติปัฏฐานสี่” อย่างถูกต้อง ตามหลักการหรือวิธีการของข้าพเจ้า เพื่อท่านทั้งหลายจักบรรลุผลได้ในระดับหนึ่ง หรืออาจบรรลุผลได้ในหลายๆระดับขึ้นอยู่ความรู้ ความเข้าใจ และสมองสติปัญญา ของท่านทั้งหลายฉะนี้
จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์(ผู้เขียน)
๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2012, 09:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12:

:b16: :b16: :b16:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 33 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร