ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาไม่ใช่แค่สุขหรือสวรรค์
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44088
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  ขณะจิต [ 17 ธ.ค. 2012, 14:31 ]
หัวข้อกระทู้:  จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาไม่ใช่แค่สุขหรือสวรรค์

จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาแค่ไม่ใช่สุขหรือสวรรค์ เพราะสุขนั้นเป็นแค่เวทนาอย่างหนึ่ง

เป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ห้า ประกอบกันแล้วหลงยึดถือว่าเป็นตน เป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ร้อยรัด

แต่สุขมีประโยชน์เป็นเครื่องเยียวยาในโลกนี้ แต่ที่แท้ต้องว่างจากทุกข์และสุข

พระพุทธองค์ทรงสอนเสมอ ให้ละอภิชชา(ยินดีในสุข)และโทมนัส(ยินร้ายในทุกข์)เสีย

เป็นจิตประถัสสร จิตที่เกลี้ยงเกลาเป็นประภัสสรนั้น เป็นสภาวะสะอาด สว่าง สงบ ที่ปราศจากทุกข์

คนเรามักหลงติดสุขกันถูกล่ามพัวพันไว้ด้วยสุข ไม่อาจพ้นไปได้ง่าย

ออกจากทุกข์ด้วยสุข ออกจากสุขด้วยว่าง จึงถึงความเกลี้ยงเกลาประภัสสร

อยู่ด้วยสติและธรรมหมุนไป

มีแต่ธรรมที่เกิดขึ้น คงอยู่ และดับไปอย่างปราศจากตัวตนจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต :b30:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 17 ธ.ค. 2012, 14:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาไม่ใช่แค่สุขหรือสวรรค์

อยากฟังความเห็นพี่โฮฮับ :b1:

เจ้าของ:  eragon_joe [ 17 ธ.ค. 2012, 14:47 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาไม่ใช่แค่สุขหรือสวรรค์

:b6: :b6: :b6:

ไม่อนุโมทนา ไม่ได้

smiley smiley smiley

:b4: :b4: :b4:

เจ้าของ:  เปลี่ยนชื่อใหม่ [ 17 ธ.ค. 2012, 15:35 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาไม่ใช่แค่สุขหรือสวรรค์

Kiss :b8:

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 18 ธ.ค. 2012, 01:35 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาไม่ใช่แค่สุขหรือสวรรค์

กรัชกาย เขียน:
อยากฟังความเห็นพี่โฮฮับ :b1:

มันเหนื่อยรู้มั้ยที่ต้องคอยจ้ำจี้จ้ำไชกับ คนที่ชอบเอาบทลครเวทีมาพูด
แล้วบอกว่าเป็น พระธรรมของพระพุทธเจ้า
เอาน่ะ! ไหนๆก็ไหนๆ ร่วมด้วยช่วยซะเล็กน้อย :b32:

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 18 ธ.ค. 2012, 02:19 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาไม่ใช่แค่สุขหรือสวรรค์

ขณะจิต เขียน:
จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาแค่ไม่ใช่สุขหรือสวรรค์ เพราะสุขนั้นเป็นแค่เวทนาอย่างหนึ่ง
เป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ห้า ประกอบกันแล้วหลงยึดถือว่าเป็นตน เป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ร้อยรัด

ใครบอกคุณกันครับว่าสุข คือเวทนาอย่างหนึ่ง นี่แหล่ะผลของการศึกษาธรรมะจากบทความ
ทำให้เอาบัญญัติของคนโน้นที คนนี่ทีมาผสมปนเปกันจนสับสนวุ่นวาย

ฟังกันให้ชัดๆนะครับว่าความสุข ความทุกข์และเวทนาคืออะไร

ความสุขมันเป็นกิเลสตัณหาหรือสังโยชน์อย่างหนึ่ง
มันเป็นเป็นเป็นเหตุทำให้เกิดกระบวนการชันธ์ห้าหรืออุปาทานขันธ์
แล้วมันมาเกิดในจิตในใจได้อย่างไร ก็เพราะเราไปรับมันเข้ามาพร้อมกับ
อายตนะภายนอกเมื่อเกิดการกระทบของสฬายตนะ

ความทุกข์ ในความหมายของพระพุทธเจ้านั้นก็คือ
การ เกิด แก่ เจ็บ ตายวนเวียนกันไม่รู้จบสิ้น แบบนี้จึงเรียกว่า...ความทุกข์

ส่วนเวทนา คือการรับรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น
อารมณ์ที่ว่านี้ มันไม่ใช่ ความสุขหรือความทุกข์ มันเป็นเพียงสภาวะที่เกิดจากผัสะ
ผลของผัสสะหรือสภาวะต่างๆที่ได้รับจากทวารแต่ละทวารของทวารทั้งหกต่อเมื่อเกิดสัญญาขึ้น
นั้นก็คือการจำได้หมายรู้ในลักษณะที่เคยเกิดการกระทบในอดีต
คือ เย็น ร้อน อ่อนแข็ง.....ฯลฯ สิ่งที่ตามมาก็คือ อาการของจิตสังขาร คือ....
โมหะ โทสะและโลภะ

ที่เราเข้าใจว่า เป็นสุข เป็นทุกข์นั้น แท้จริงเป็นการเข้าใจผิดมาก
มันเป็นอาการของจิตที่เกิดความหลง เกิดเป็นโทสะและโมหะสลับสับเปลี่ยนกันของจิต

เมื่อเกิดอกุศลจิตสาม มันทำให้เกิดขันธ์ห้านี่แหล่ะ

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 18 ธ.ค. 2012, 02:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาไม่ใช่แค่สุขหรือสวรรค์

ขณะจิต เขียน:
แต่สุขมีประโยชน์เป็นเครื่องเยียวยาในโลกนี้ แต่ที่แท้ต้องว่างจากทุกข์และสุข

นี่ก็ใช้บัญญัติจนเคลื้ม ความสุขเป็นเครื่องเยียวยาในโลกนี้ ถ้าพูดภาษาบ้านๆ ความสุขมันเป็นผล
มันต้องมีเหตุซะก่อน อยู่ดีๆจะเอาความสุขมาเยียวยา พูดไปเรื่อยเหมือนหลี่ไป่นักกวีจีนกำลังพร่าม
เพราะฤทธิ์สุรา

สิ่งที่จะเอามาเยียวยาโลกคือความรัก แบบนี้เขาเรียกว่าเหตุมันทำให้เกิดผลที่เรียกว่า...สุข
แต่เนื่องด้วยความรักและความสุข มันเป็นกิเลส มันจะส่งผลให้เกิดทุกข์(วัฏสงสาร)
พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ใช้ พรหมวิหารสี่มาเยียวยาโลก เพราะเราต้องวางอุเบกขา
ต่อความรักและความสุขนั้น

ขณะจิต เขียน:
พระพุทธองค์ทรงสอนเสมอ ให้ละอภิชชา(ยินดีในสุข)และโทมนัส(ยินร้ายในทุกข์)เสีย

เป็นจิตประถัสสร จิตที่เกลี้ยงเกลาเป็นประภัสสรนั้น เป็นสภาวะสะอาด สว่าง สงบ ที่ปราศจากทุกข์

คนเรามักหลงติดสุขกันถูกล่ามพัวพันไว้ด้วยสุข ไม่อาจพ้นไปได้ง่าย

ออกจากทุกข์ด้วยสุข ออกจากสุขด้วยว่าง จึงถึงความเกลี้ยงเกลาประภัสสร

อยู่ด้วยสติและธรรมหมุนไป

มีแต่ธรรมที่เกิดขึ้น คงอยู่ และดับไปอย่างปราศจากตัวตนจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต :b30:

เละตุ้มเป่ะ! ออกจากทุกข์ด้วยสุข พูดให้นักปฏิบัติเขาปวดหัว.......
มันต้องออกจากสุขแล้วจะพ้นทุกข์ มันถึงจะถูก

เจ้าของ:  ขณะจิต [ 18 ธ.ค. 2012, 23:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาไม่ใช่แค่สุขหรือสวรรค์

ผมยังยืนยันว่า สุข เป็นเวทนาอย่างหนึ่งครับ จะเป็นกิเลสก็ต่อเมื่อหลงปรุงเป็นตัณหาจึงเป็นกิเลส

ถ้าไม่ปรุงก็เป็นแค่เวทนาเฉยๆ เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป :b30:

ที่สุขเป็นเครื่องเยียวยาในโลกนั้นเพราะสุขทำให้ดำรงชีวิตอยู่ในโลกง่ายขึ้น เหมือนยารักษาอาการชั่วคราว

ทำให้หมู่สัตว์เกิดความปรารถนา ดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้

ที่ออกจากทุกข์ด้วยสุขหมายถึงคนที่เป็นทุกข์อยู่ เดือดร้อนอยู่ต้องคลายทุกข์คลายความเดือดร้อนแล้ว

มีจิตชุ่มชื่นแล้วเขาย่อมยินดีที่จะรับรู้ถึงสิ่งที่ยิ่งกว่า เมื่อเขาเห็นความไม่เที่ยงในสุขแล้ว

จึงจะยอมรับสิ่งที่ยิ่งกว่าคือว่าง(นิพพาน) แต่นิพพานไม่ใช่สุขเวทนา แต่เป็นสภาวะที่เป็นสุข

เพราะปราศจากเครื่องร้อยรัด เป็นอิสระ ปราศจากทุกข์กระทบเข้าถึง :b30:

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 19 ธ.ค. 2012, 04:20 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาไม่ใช่แค่สุขหรือสวรรค์

ขณะจิต เขียน:
ผมยังยืนยันว่า สุข เป็นเวทนาอย่างหนึ่งครับ จะเป็นกิเลสก็ต่อเมื่อหลงปรุงเป็นตัณหาจึงเป็นกิเลส
ถ้าไม่ปรุงก็เป็นแค่เวทนาเฉยๆ เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป :b30:

แล้วที่คุณบอกว่า..........
ขณะจิต เขียน:
จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาแค่ไม่ใช่สุขหรือสวรรค์
เพราะสุขนั้นเป็นแค่เวทนาอย่างหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ห้า
ประกอบกันแล้วหลงยึดถือว่าเป็นตน เป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ร้อยรัด


ถามหน่อยที่บอกเวทนาเป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ห้า ขันธ์ห้ามันไม่ใช่การปรุงแต่งหรอกหรือ
จะบอกให้กระบวนการขันธ์ห้ามันเกิดจาก มีเหตุปัจจัยไปปรุงแต่งกิเลสตัณหา มันจึงทำให้เกิดขันธ์ห้า
ถ้าเรามีปัญญารู้เห็นสภาพสังขารเกิด ตั้งอยู่ ดับไปตามความเป็นจริง มันก็จะไม่เกิดขันธ์ห้า
ที่เราเกิดขันธ์ห้า เพราะเรายังไม่เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
ที่คุณพูดๆอยู่นี่มันไม่ใช่การเห็นตามความเป็นจริง มันเป็นลักษณะพูดตามจินตนาการ


ขณะจิต เขียน:
ที่สุขเป็นเครื่องเยียวยาในโลกนั้นเพราะสุขทำให้ดำรงชีวิตอยู่ในโลกง่ายขึ้น
เหมือนยารักษาอาการชั่วคราวทำให้หมู่สัตว์เกิดความปรารถนา ดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้

จิตของคนมันไม่มีอาการที่เรียกว่า เป็นสุข อาการจิตที่แท้จริงมันคือความหลง
ถ้ามันเกิดกับปุถุชน มันจะเป็นอาการของ โลภะและโทสะ สลับกันไป

คุณพูดพระธรรมเหมือน ตาเฒ่านักกวีบางคน พูดจาอะไรชาวบ้านแม้กระทั้งพระพุทธเจ้า
ยังฟังไม่รู้เรื่อง จินตนาการซะก้อนหินกลายเป็นทอง
ขณะจิต เขียน:
ที่ออกจากทุกข์ด้วยสุขหมายถึงคนที่เป็นทุกข์อยู่ เดือดร้อนอยู่ต้องคลายทุกข์คลายความเดือดร้อนแล้ว
มีจิตชุ่มชื่นแล้วเขาย่อมยินดีที่จะรับรู้ถึงสิ่งที่ยิ่งกว่า เมื่อเขาเห็นความไม่เที่ยงในสุขแล้ว
จึงจะยอมรับสิ่งที่ยิ่งกว่าคือว่าง(นิพพาน) แต่นิพพานไม่ใช่สุขเวทนา แต่เป็นสภาวะที่เป็นสุข
เพราะปราศจากเครื่องร้อยรัด เป็นอิสระ ปราศจากทุกข์กระทบเข้าถึง :b30:

ที่คุณพูดมันเป็นการเอาบัญญัติมาจินตนาการ ตามใจตามกิเลสตนเอง
พูดออกนอกลู่นอกทางพระธรรมของพระพุทธเจ้า

ความหมายของ "สุข"ตามพระธรรมมันคือความทุกข์
เราต้องเห็น"สุข"เป็นทุกข์ให้ได้ จิตมันจะได้เลิกไขว่คว้าหาสุข
แบบนี้เรียกว่า จิตวางอุเบกขาหรือปล่อยวาง

ขณะจิต เขียน:
จึงจะยอมรับสิ่งที่ยิ่งกว่าคือว่าง(นิพพาน) แต่นิพพานไม่ใช่สุขเวทนา แต่เป็นสภาวะที่เป็นสุข
เพราะปราศจากเครื่องร้อยรัด เป็นอิสระ ปราศจากทุกข์กระทบเข้าถึง :b30:


เห็นพูดได้พูดดีไอ้คำว่า "ว่าง" ถ้างั้นอรหันต์ที่มีอารมณ์นิพาน สงสัยต้องอยู่นิ่งๆเป็นแท่งปูน
ห้ามเดินไปไหน ยิ่งในกรุงเทพนี่ยิ่งห้ามเดิน เดี๋ยวจะเดินตกท่อกทมเข้า :b32:

คุณยังไม่รู้เลยว่า ทุกข์ของปุถุชนคืออะไร ดันไปรู้สภาวะนิพพาน
ผมถามหน่อย คุณเชื่อในสิ่งที่คุณพูดหรือเปล่า :b32:

เจ้าของ:  ขณะจิต [ 19 ธ.ค. 2012, 08:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาไม่ใช่แค่สุขหรือสวรรค์

โฮฮับ เขียน:
ขณะจิต เขียน:
จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาแค่ไม่ใช่สุขหรือสวรรค์
เพราะสุขนั้นเป็นแค่เวทนาอย่างหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ห้า
ประกอบกันแล้วหลงยึดถือว่าเป็นตน เป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ร้อยรัด


ถามหน่อยที่บอกเวทนาเป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ห้า ขันธ์ห้ามันไม่ใช่การปรุงแต่งหรอกหรือ
จะบอกให้กระบวนการขันธ์ห้ามันเกิดจาก มีเหตุปัจจัยไปปรุงแต่งกิเลสตัณหา มันจึงทำให้เกิดขันธ์ห้า
ถ้าเรามีปัญญารู้เห็นสภาพสังขารเกิด ตั้งอยู่ ดับไปตามความเป็นจริง มันก็จะไม่เกิดขันธ์ห้า
ที่เราเกิดขันธ์ห้า เพราะเรายังไม่เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
ที่คุณพูดๆอยู่นี่มันไม่ใช่การเห็นตามความเป็นจริง มันเป็นลักษณะพูดตามจินตนาการ


:b32:


ขอบคุณท่านโฮที่เข้ามาซักค้าน ผมขออภิบายความเห็นของผมดังนี้

ขันธ์ห้าย่อมดำรงค์อยู่ตราบที่ยังไม่ตายกายแตกสลายไปเพราะกายเป็นเครื่องประคองกองขันธ์ไว้

แต่กระบวนการขันธ์จะทำงานสมบูรณ์เมื่อเกิดการกระทบปรุงแต่งปัจจัยนอก-ใน

แม้เรามีปัญญาตราบที่ยังไม่ตายกองขันธ์นี้ทำงานก็ยังต้องใช้กระบวนการขันธ์นี้

พูดทำ นึกคิด กระบวนขันธ์ก็ยังต้องทำงานอยู่ แต่ทำงานในลักษณะที่พอดี เย็นไม่เป็นทุกข์

เพราะหมดสิ้นปัจจัยภายในฝ่ายกิเลสแล้ว

โฮฮับ เขียน:


จิตของคนมันไม่มีอาการที่เรียกว่า เป็นสุข อาการจิตที่แท้จริงมันคือความหลง
ถ้ามันเกิดกับปุถุชน มันจะเป็นอาการของ โลภะและโทสะ สลับกันไป

คุณพูดพระธรรมเหมือน ตาเฒ่านักกวีบางคน พูดจาอะไรชาวบ้านแม้กระทั้งพระพุทธเจ้า
ยังฟังไม่รู้เรื่อง จินตนาการซะก้อนหินกลายเป็นทอง
:b32:


โฮฮับ เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ที่คุณพูดมันเป็นการเอาบัญญัติมาจินตนาการ ตามใจตามกิเลสตนเอง
พูดออกนอกลู่นอกทางพระธรรมของพระพุทธเจ้า

ความหมายของ "สุข"ตามพระธรรมมันคือความทุกข์
เราต้องเห็น"สุข"เป็นทุกข์ให้ได้ จิตมันจะได้เลิกไขว่คว้าหาสุข
แบบนี้เรียกว่า จิตวางอุเบกขาหรือปล่อยวาง



:b32:


ถ้าไม่เรียกสิ่งนั้นว่าสุขก็ถูก แต่จะปฏิเสธสิ่งที่รู้สึกน่าพอใจเต็มอยู่ในดวงงใจของปถุชนว่าอย่างไร

ผมขอเรียกมันว่าสุขตามที่เคยเรียกกันมาก็แล้วกัน

จนวันหนึ่งเมื่อเขารู้ว่าจริงๆแล้วเหล่านั้นเป็นทุกข์อีกรูปแบบหนึ่ง เขาย่อมละวางมันเอง

โฮฮับ เขียน:
ที่คุณพูดมันเป็นการเอาบัญญัติมาจินตนาการ ตามใจตามกิเลสตนเอง
พูดออกนอกลู่นอกทางพระธรรมของพระพุทธเจ้า

เห็นพูดได้พูดดีไอ้คำว่า "ว่าง" ถ้างั้นอรหันต์ที่มีอารมณ์นิพาน สงสัยต้องอยู่นิ่งๆเป็นแท่งปูน
ห้ามเดินไปไหน ยิ่งในกรุงเทพนี่ยิ่งห้ามเดิน เดี๋ยวจะเดินตกท่อกทมเข้า :b32:

คุณยังไม่รู้เลยว่า ทุกข์ของปุถุชนคืออะไร ดันไปรู้สภาวะนิพพาน
ผมถามหน่อย คุณเชื่อในสิ่งที่คุณพูดหรือเปล่า :b32:



ท่านโฮยังไม่รู้จักความว่างดีพอ ว่างไม่ได้หมายความว่าไม่ทำอะไรเลย

สภาวะที่ว่าง คือสภาวะที่ปราศจากทุกข์

ว่างคือการปราศจากการถูกครอบงำโดยอำนาจใดๆ

กายก็ว่าง จิตก็ว่าง ธรรมชาติที่ว่าง ล้วนเป็นอิสระต่อกัน

เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ด้วยกาย-จิตที่อิสระถึงที่สุด

ทำอะไรตามสมควรแก่เหตุ-ปัจจัย

ตามสติปัญญา จนสุดท้ายเมื่อสิ้นเหตุปัจจัย(ตาย)

ย่อมสู่ความว่างโดยสมบูรณ์(นิพพาน) :b42:

เจ้าของ:  เปลี่ยนชื่อใหม่ [ 19 ธ.ค. 2012, 09:27 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาไม่ใช่แค่สุขหรือสวรรค์

เหมือนมาดูการต่อสู้ทางภาษา

เจ้าของ:  nongkong [ 19 ธ.ค. 2012, 10:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาไม่ใช่แค่สุขหรือสวรรค์

มาฟังการเทศนานักเจรจา ฉายาใบไม้นอกกำมือ รองอันดับหนึ่ง(เหรียญเงิน)บ้างนะเจ้าค่ะ :b32: มนุษย์เราไม่ว่าจะสุขหรือจะทุกข์ เราทุกคนต้องประสบชะตากรรมเดียวกัน คือ เกิด แก่ เจ็บตาย ต่อให้สุขแค่ไหนความสุขนั้นก็ย่อมไม่จีรังยั่งยืน สักวันเราก็ตาย แต่ความทุกข์นี่สิ เมื่อใครประสบพบเจอแล้วมีใครบ้างอยากจะทนรับสภาพทุกข์นั้น แทบอยากจะวิ่งหนี คลานหนีตะเกียกตะกากก็ว่าไป เพราะฉะนั้น พุทธศาสนาสอนให้รู้ ทุกข์ ในอริยสัจสี่ ความจริงที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่เราไม่ได้มีปัญญาเทียบเท่าพระพุทธองค์ที่จะสามารถตรัสรู้ได้ในชาติปัจจุบัน เพราะเหตุนี้สิ่งที่เราควรจะทำและปฏิบัติให้ตรงต่อพุทธศาสนาก็คือ ทาน ศีล ภาวนา onion

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 19 ธ.ค. 2012, 10:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาไม่ใช่แค่สุขหรือสวรรค์

ขณะจิต เขียน:
ขอบคุณท่านโฮที่เข้ามาซักค้าน ผมขออภิบายความเห็นของผมดังนี้
ขันธ์ห้าย่อมดำรงค์อยู่ตราบที่ยังไม่ตายกายแตกสลายไปเพราะกายเป็นเครื่องประคองกองขันธ์ไว้

บุคคลหรือพระอริยะยังมีขันธ์ห้า แตพระอรหันต์ไม่มีแล้ว
พระอริยะที่ยังมีขันธ์อยู่เป็นเพราะ ยังละกิเลสสังโยชน์ได้ไม่หมด
กิเลสสังโยชน์เป็นเหตุแห่งทุกข์ เหตุการปรุงแต่งให้เกิดขันธ์ห้า ก็มาจากกิเลสสังโยชน์ที่ว่านี้

พระอรหันต์มีเพียงรูปกับนามที่ไม่มีเหตุมาปรุงแต่งแล้ว เมื่อไม่ปรุงแต่งย่อมต้อง
ไม่มีกระบวนการขันธ์ห้า

รูปของพระอรหันต์เป็นเพียงกายที่มีธาตุสี่มาประชุมกัน นามของพระอรหันต์ไม่ไปยึดรูปมาปรุงแต่ง
มันจึงไม่เกิดรูปขันธ์ และนามที่เกิดจากผัสสะหรือกายที่เป็นธาตุสี่ เป็นเพียงกิริยาจิตหรือเป็นเพียง
จิตผู้รู้ เป็นนามแต่ไม่ใช่นามขันธ์

กายของพระอรหันต์ไม่ได้ประคองอะไร ไม่ได้ประคองจิต ยิ่งบอกประคองขันธ์ยิ่งไม่ใช่
พระอรหันต์ย่อมรู้ว่า .....จิตหรือนามมันเกิดขึ้นมาตามเหตุปัจจัย
เกิดแล้วก็ดับ และเหตุปัจจัยที่ว่าก็คือ ทวารทั้งหกหรือกาย เมื่อกายแตกสลายลง
ย่อมต้องหมดเหตุ จิตก็ย่อมหมดไปตามกายที่ว่านั้น วัฏฏะแห่งรูปนามก็หมดไปด้วย

ขณะจิต เขียน:
แต่กระบวนการขันธ์จะทำงานสมบูรณ์เมื่อเกิดการกระทบปรุงแต่งปัจจัยนอก-ใน
แม้เรามีปัญญาตราบที่ยังไม่ตายต้องกองขันธ์นี้ทำงานก็ยังต้องใช้กระบวนการขันธ์นี้
พูดทำ นึกคิด กระบวนขันธ์ก็ยังต้องทำงานอยู่ แต่ทำงานในลักษณะที่พอดี เย็นไม่เป็นทุกข์
เพราะหมดสิ้นปัจจัยภายในฝ่ายกิเลสแล้ว

ที่คุณพูดมันเป็นลักษณะของปุถุชน ขันธ์ห้าเป็นกองทุกข์
ถ้าคุณไปดูในวงปฏิจสมุบาท ไล่ตั้งแต่อวิชามาจนถึงชรา มรณะ
ทั้งหมดรวมเรียกว่ากองทุกข์ ขันธ์ห้าก็คือกองทุกข์ในปฏิจฯ
เมื่อยังมีขันธ์ห้า แล้วมันจะไปตัดวงจรปฏิจจ์ฯได้อย่างไร

เพราะพระอรหันต์ ไม่มีขันธ์ห้าแล้ว จึงไม่มีกองทุกข์ในวงปฎิจจ์ฯ
เมื่อไม่มีกองทุกข์ วงจรปฏิจจ์ย้อมขาดลง วัฏสงสารย่อมต้องหมดไปด้วย
หมดการเวียนว่ายตายเกิดครับ

เจ้าของ:  เปลี่ยนชื่อใหม่ [ 19 ธ.ค. 2012, 10:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาไม่ใช่แค่สุขหรือสวรรค์

ถ้าเรามอง พระอรหันต์ เราจะเห็นท่านเหมือนคนเราทั่วๆไป มีเนื้อ หนัง มีขันธ์ แบบนี้ใช่ไหมครับ

แต่ถ้าพระอรหันต์ มองตัวท่านเอง ท่านรู้ว่าไม่มีขันธ์อะไรอีกต่อไป

:b8:

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 19 ธ.ค. 2012, 11:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาไม่ใช่แค่สุขหรือสวรรค์

ขณะจิต เขียน:
ถ้าไม่เรียกสิ่งนั้นว่าสุขก็ถูก แต่จะปฏิเสธสิ่งที่รู้สึกน่าพอใจเต็มอยู่ในสองใจของปถุชนว่าอย่างไร
ผมขอเรียกมันว่าสุขตามที่เคยเรียกกันมาก็แล้วกัน
จนวันหนึ่งเมื่อเขารู้ว่าจริงๆแล้วเหล่านั้นเป็นทุกข์อีกรูปแบบหนึ่ง เขาย่อมละวางมันเอง

จิตที่เป็นขันธ์ห้าในปุถุชน มันจะเกิดกระบวนการเริ่มต้น ตั้งแต่ได้รับกิเลสทางทวารทั้งห้า
เมื่อได้รับกิเลสมาทางทวารใดทวารหนึ่งแล้ว ย่อมต้องต้องเกิดเป็นกระบวนการขันธ์

กระบวนการขันธ์จากผัสสสะนั้นจะมาจบที่ สังขารขันธ์(อาการของจิต)
อาการของจิตที่เป็นอกุศล(โมหะ โทสะและโลภะ) มันจะเกิดการปรุงแต่งต่อ
ในรูปของ ธัมมารมณ์นั้นก็คือก็เกิดการคิดขึ้นที่สมองหรือหทัยวัตถุ

เรื่องราวที่เกี่ยวกับความสุขที่คุณพูด มันเป็นเพียงความคิด
มันเป็นเพียงผัสสะตัวหนึ่งเท่านั้นเอง
ขณะจิต เขียน:
ท่านโฮยังไม่รู้จักความว่างดีพอ ว่างไม่ได้หมายความว่าไม่ทำอะไรเลย
สภาวะที่ว่าง คือสภาวะที่ปราศจากทุกข์

ผมว่าคุณนั้นแหล่ะที่ไม่รุ้จัก ความว่างมันจะเกิดขึ้นได้มันต้องปิดทวารทั้งหก
ปิดเพี่อไม่ให้เกิดผัสสะ เมื่อไม่มีผัสสะจิตก็ว่าง แบบนี้มันเป็นธรรมชาติหรือเปล่าล่ะ
แล้วบอกว่า เป็นสภาวะที่ปราศจากทุกข์ ที่คุณพูดแบบนี้เพราะ คุณยังไม่รู้จัก ทุกข์
ยังไม่เห็นทุกข์ ความว่างที่คุณว่า มันเป็นกิเลสที่เรียกว่า สุขหรือเรียกว่าอรูปราคะ
คุณกำลังหลงกิเลส อรูปราคะหรือที่คุณเรียกว่าสุข เลยไม่เห็นคิดว่าปราศจากทุกข์
ขณะจิต เขียน:
ว่างคือการปราศจากการถูกครอบงำโดยอำนาจใดๆ
กายก็ว่าง จิตก็ว่าง ธรรมชาติที่ว่าง ล้วนเป็นอิสระต่อกัน
เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ด้วยกาย-จิตที่อิสระถึงที่สุด
ทำอะไรตามสมควรแก่เหตุ-ปัจจัย
ตามสติปัญญา จนสุดท้ายเมื่อสิ้นเหตุปัจจัย(ตาย)
ย่อมสู่ความว่างโดยสมบูรณ์(นิพพาน) :b42:

บอกมาได้ว่าเป็นอิสระ เป็นธรรมชาติ คุณเข้าใจผิดตั้งแต่แรก การพูดให้เหตุผล
มันเลยผิดตามกันไปหมด

ทวารทั้งหกยังอยู่ ถ้าปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ไปบังคับมัน
จิตมันจะว่างได้ไง คุณไม่เข้าใจเรื่องจิตวางอุเบกขากับจิตว่าง
มันเลยทำให้คุณสับสน นึกว่าพระอรหันต์จิตว่าง ท่านยังมีทวารทั้งหกอยู่
ท่านยังใช้ทวารนั้น ท่านใช้แล้ววางอุเบกขา ไม่ใช่ ไม่ใช้แล้วบอกว่าจิตว่าง
หรือบอกว่าใช้แต่จิตว่าง ถ้าจิตว่างแล้วท่านจะรู้เรื่องจะสื่อสารได้ไง

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/