ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
ความสัมพันธ์ระหว่างมโนทวารและวิญญาณในขณะนึกคิด http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44326 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 |
เจ้าของ: | SOAMUSA [ 15 ม.ค. 2013, 07:28 ] |
หัวข้อกระทู้: | ความสัมพันธ์ระหว่างมโนทวารและวิญญาณในขณะนึกคิด |
ความสัมพันธ์ระหว่างมโนทวารและวิญญาณในขณะนึกคิด มโนวิญญาณที่คิดนึก เข้าใจ และรับรู้นั้น เกิดจากการกระทบกันระหว่างจิตและธรรมารมณ์ (ความคิด หรือ สิ่งที่ใจนึกคิด) จิตซึ่งเป็นฐานที่เกิดของมโนวิญญาณ คือ ภวังคจิต (ภวังคจิต ซึ่งเกิดต่อจากปฏิสนธิจิตเป็นภวังคจิตดวงแรก และ ที่อุปาทักขณะของปฐมภวังค์นั้นมีจิตตชรูเกิดขึ้นครั้งแรก) ภวังคจิตซึ่งเกิดต่อจากปฏิสนธิขณะ และดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องด้วยอำนาจของกรรม ภวังคจิตเป็นที่ตั้งที่อาศัยของความเข้าใจและการรับรู้ ในเวลาที่เราหลับหรือเมื่อจิตของเราทำกิริยา อย่างอื่น ภวังคจิตจะทำหน้าที่สืบต่อกระแสแห่งชีวิต เมื่อมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งมากระทบ จะทำให้ภวังคจิตตื่นตัว เกิดความตั้งใจและรับรู้ เราจึงสามารถคิดและรับรู้ได้เพราะมีภวังคจิต เป็นฐานที่ตั้ง จริงอยู่ภวังคจิตจะดำรงอยู่ตลอดเวลา แม้ในขณะที่ไม่มีความตั้งใจไม่มีการรับรู้อารมณ์ แต่ภวังคจิตที่มีพลังเท่านั้นจึงจะเป็นปัจจัยให้เกิดวิถีจิตได้ ในขณะที่เรารู้สึกง่วงเราจะไม่สามารถคิดออกอะไรได้ แม้ในบางครั้งเราจะพยายามคิดเท่าไรก็ไม่สำเร็จ ทั้งนี้เป็นเพราะภวังคจิตอ่อนกำลัง โดยปกติภวังคจิตไม่มีบทบาทมากนัก แต่จะเริ่มเคลื่อนไหว เมื่อมี อารมณ์มากระทบ จึงเรียกภวังค์นี้ว่า ภวังคจลนะ(ภวังค์ไหว) ภวังคุปัจเฉทะ(ภวังค์ที่ถูกตัดกระแส) เมื่อภวังค์ถูกตัดไป ก็เป็นปัจจัยให้เกิดความตั้งใจและรับรู้ตามมา อาวัชชนจิต(จิตที่รับอารมณ์) เป็นฐานที่ตั้งของการกระทำทางจิตอีกด้วย เพราะเป็นจิตดวงแรก ในมโนทวารวิถีจิต(วิถีจิตทางมโนทวาร) อาวัชชนจิตทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ ถ้าอาวัชชนจิตมี ความว่องไวและคมชัดก็จะสามารถกำหนดรู้สภาวธรรมและอารมณ์ได้เป็นอย่างดี นักเขียนที่ดีจะเลือกเฟ้นข้อมูลสำคัญมาเขียนใส่ในหนังสือหรือนักพูดที่ดีย่อมเลือกใช้ถ้อยคำที่ เหมาะสม เพื่อให้หนังสือหรือสุนทรพจน์มีความสมบูรณ์อย่างไม่มีที่ติ อาวัชชนจิตก็เช่นเีดียวกัน ย่อมเป็นจุดเริ่มต้นของกุศลจิตหรืออกุศลจิตที่เป็นเหตุให้ทำกรรมดีหรือกรรมชั่ว แล้วแต่ว่าจิต มีความโน้มเอียงไปในทางกุศลหรืออกุศล ดังนั้น มโนวิญญาณในเรื่องนี้จึงหมายถึงชวนจิต(ชวนะ)ที่เสพอารมณ์ในทางดีหรือไม่ดี และจิตอันเป็นที่อาศัยเกิดของมโนวิญญาณ ก็ืคือ อาวัชชนจิตนั้นเอง ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดมโนวิญญาณ คือ ธรรมารมณ์(สิ่งที่จิตคิดคำนึง) ธรรมารมณ์จะเกิดขึ้น ทุกครั้งที่จิตคิดหรือใคร่ครวญเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หากขาดธรรมารมณ์การทำงานของจิตก็เป็นไปไม่ได้ เช่น ในบางครั้งเราต้องการจะคิดแต่คิดไม่ออกเพราะจำรายละเอียดที่สำคัญไม่ได้ ดังนั้นวิถีจิต จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัย ๓ อย่าง คือ ภวังคจิต อาวัชชนจิต และธรรมารมณ์ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เปรียบเหมือนแมงมุมชักใยไว้ดักแมลงแล้วมอบคอยอยู่ตรงกลาง เมื่อมีแมลงบินมาติดใย แมงมุมก็จะวิ่งไปกินเหยื่อ แล้วก็กลับมาหมอบที่กลางข่ายใยตามเดิม ภวังคจิตหรือมโนวิญญาณ ก็จะเช่นกัน มีหัวใจเป็นที่อยู่ที่อาศัยและมีโลหิตที่หัวใจสูบฉีดไปตามเส้นโลหิตทั่วร่างกายเป็นเครือข่าย เมื่อรูปารมณ์มากระทบประสาทตา ก็ทำให้ภวังคจิตที่อยู่ในหัวใจเคลื่อนไหว เปลี่ยนเป็นจักขุวิญญาณ เป็นต้นในจักขุทวารวิถี (วิถีทางจักขุทวาร) เมื่อวิถีจิตดับลงก็กลับสู่ภวังค์ใหม่อีก สำหรับสัททารมณ์ กับโสตปสาทรูป และคันธรมณ์กับฆานปสาทรูป เป็นต้น ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน ![]() เมื่อมีรูปารมณ์มากระทบจักขุปสาทรูป จักขุวิญญาณย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยตาเป็นที่ตั้ง จากนั้น มโนวิญญาณก็เกิดขึ้นพิจารณารูปารมณ์ ส่วนโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ และชิวหาวิญญาณ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน โดยมีหู จมูก และลิ้นเป็นที่ตั้ง สำหรับกายวิญญาณนั้น มีขอบเขต กว้างขวาง เพราะมีร่างกายทั้งหมดเป็นที่ตั้ง ![]() บางครั้งจึงเพลินอยู่กับความคิดจนกระทั่งไม่รับรู้อารมณ์อื่น การหมกมุ่นครุ่นคิดเรื่องสำคัญอาจทำให้ ถึงกับนอนไม่หลับได้ เพราะถูกครอบงำด้วยความคิดที่ผุดขึ้นมา เรื่องแล้วเรื่องเล่า โดยมีภวังคจิต อาวัชชนจิต และธรรมารมณ์เป็นปัจจัยปรุงแต่ง แต่สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมที่เจริญสติระลึกรู้สภาวธรรม การคิดในทุกขณะที่เกิดขึ้น จะเห็นว่าความคิดนั้นก็มีการเกิดดับเป็นช่วงๆ เช่นกัน ![]() ![]() ![]() จากหนังสือ ปฏิจจสมุปบาทเหตุผลแห่งวัฏสงสาร |
เจ้าของ: | SOAMUSA [ 15 ม.ค. 2013, 07:46 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความสัมพันธ์ระหว่างมโนทวารและวิญญาณในขณะนึกคิด |
แล้วจะมาพิมพ์ให้อ่านต่อนะคะ ![]() |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 15 ม.ค. 2013, 08:24 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความสัมพันธ์ระหว่างมโนทวารและวิญญาณในขณะนึกคิด |
มานอนรอครับ *(•ิ_•ิ)? ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ปลีกวิเวก [ 15 ม.ค. 2013, 08:46 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความสัมพันธ์ระหว่างมโนทวารและวิญญาณในขณะนึกคิด |
![]() เป็นกำลังใจให้น้อง SOAMUSA และคุณลุงหมานนะคะ ![]() ![]() จะติดตามอ่านทุกกระทู้...ยังคิดอยู่ว่าจะหาเวลาไปศึกษาพระอภิธรรมไม่รู้จะมีโอกาสเมื่อไร.. |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 15 ม.ค. 2013, 08:54 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความสัมพันธ์ระหว่างมโนทวารและวิญญาณในขณะนึกคิด |
ปลีกวิเวก เขียน: :b8: อนุโมทนาในความเมตตาที่ให้ธรรมะเป็นทานนะคะ เป็นกำลังใจให้น้อง SOAMUSA และคุณลุงหมานนะคะ ![]() ![]() จะติดตามอ่านทุกกระทู้...ยังคิดอยู่ว่าจะหาเวลาไปศึกษาพระอภิธรรมไม่รู้จะมีโอกาสเมื่อไร.. อยากรู้จักนะๆนี่...เล่นเฟรสบรุคป่าว |
เจ้าของ: | eragon_joe [ 15 ม.ค. 2013, 11:39 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความสัมพันธ์ระหว่างมโนทวารและวิญญาณในขณะนึกคิด |
ลุงหมาน เขียน: มานอนรอครับ *(•ิ_•ิ)? ![]() ![]() ลุงหมาน กระทู้โนน้เอกอนก็ ปูเสื่อนั่งกินมะม่วงน้ำปลาหวานรออยู่ หง่ะ กระทู้ อนัตตา หง่ะ ![]() |
เจ้าของ: | SOAMUSA [ 15 ม.ค. 2013, 14:23 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความสัมพันธ์ระหว่างมโนทวารและวิญญาณในขณะนึกคิด |
eragon_joe เขียน: ลุงหมาน เขียน: มานอนรอครับ *(•ิ_•ิ)? ![]() ![]() ลุงหมาน กระทู้โนน้เอกอนก็ ปูเสื่อนั่งกินมะม่วงน้ำปลาหวานรออยู่ หง่ะ กระทู้ อนัตตา หง่ะ ![]() ขออนุญาติตอบกระทู้โน้นล่ะกันนะคะ ![]() |
เจ้าของ: | SOAMUSA [ 15 ม.ค. 2013, 14:55 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความสัมพันธ์ระหว่างมโนทวารและวิญญาณในขณะนึกคิด |
ปลีกวิเวก เขียน: :b8: อนุโมทนาในความเมตตาที่ให้ธรรมะเป็นทานนะคะ เป็นกำลังใจให้น้อง SOAMUSA และคุณลุงหมานนะคะ ![]() ![]() จะติดตามอ่านทุกกระทู้...ยังคิดอยู่ว่าจะหาเวลาไปศึกษาพระอภิธรรมไม่รู้จะมีโอกาสเมื่อไร.. ขอบคุณค่ะที่เข้ามาอ่านค่ะ และเพื่อนๆ ทุกคนด้วยค่ะ ![]() ที่ อชว. วัดมหาธาตุ และ ทุกที่ขณะนี้อยู่ในระยะเริ่มเปิดเรียนค่ะ หากใครสนใจเข้าไป ดูที่เรียนที่ห้องพระอภิธรรมได้นะคะ อชว.วัดมหาธาตุ เปลี่ยนสถานที่เรียนจากตึกเดิมชั่วคราว ไปเรียนข้างในรอบโบสถ์ใหญ่ค่ะ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เชิญอ่านกันต่อค่ะ การคิดเกิดได้เพราะมีการประชุมกันของภวังคจิต ธรรมารมณ์ และ มโนวิญญาณจิต แล้วจึงมีมโนภาพปรากฏตามมา มโนภาพอาจเป็นสิ่งที่เคยประสบ หรือเป็นสิ่งที่คิดขึ้นจากจินตนาการ ผู้ที่เคยอ่านเรื่องราวต่างๆ เช่น นิทานชาดก เมื่ออ่านเรื่องแล้วมักจะวาดภาพเมืองหรือพระราชาขึ้น ในจินตนาการ ซึ่งเป็นไปตามความเชื่อหรือประเพณีในประเทศผู้อ่าน มโนภาพเหล่านี้ย่อมห่างไกล ความเป็นจริง เพราะผู้คนและสถานที่ในชาดกเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย จึงควรเป็นไปตามวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวอินเดีย นวนิยายสมัยใหม่ก่อให้เกิดมโนภาพเป็นเมือง หมู่บ้าน พระเอก นางเอก ผู้ร้าย เป็นต้น แม้ผู้อ่าน จะรู้อยู่ว่าเป็นเพียงนวนิยายที่ผู้เขียนจินตนาการขึ้น แต่ในขณะที่อ่านก็ยังรู้สึกว่าเป็นเหมือนจริง และพลอยรู้สึกดีใจ หรือเสียใจไปตามเรื่องราวด้วย ความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะมีการกระทบสัมผัส กับมโนภาพเป็นปัจจัย พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในพรหมชาลสูตรว่า " คำสอนและความเชื่อเหล่านี้เกิดจากการกระทบ สัมผัสกับจินตนาการที่ชัดเจนเหมือนจริง จึงทำให้คำสอนนั้นแจ่มแจ้งเป็นจริง หมายความว่า จินตนาการที่ชัดเจนเหมือนจริงเป็นสิ่งจำเป็น ไม่ว่าเราจะพูด เขียน เชื่อ หรือคิด หรือเพียงแต่ ปล่อยให้จิตล่องลอยไปอย่างอิสระก็ตาม จินตนาการเป็นเหตุให้เกิดความรู้สึก มโนภาพที่ดี ทำให้รู้สึกดี เช่น มโนภาพของความร่ำรวยในอดีตและที่คาดหวังในอนาคตทำให้รู้สึกเป็นสุข ในทางตรงกันข้าม มโนภาพที่ไม่ดีทำให้เป็นทุกข์ เช่น การคิดถึงความทุกข์ยากในอดีต ก็เท่ากับ เป็นการรื้อฟื้นความทรงจำที่เจ็บปวด หรือการคิดถึงปัญหาที่คาดว่าจะประสบในอนาคต ทำให้ วิตกกังวล เหตุของความทุกข์ต่างๆ นี้อาจเกิดจากการคาดคะเนหรือคิดไปเอง เหมือนกับผู้ที่ เศร้าโศกเพราะได้รับข่าวการเสียชีวิตของญาติ แต่ภายหลังทราบว่าญาติยังมีชีวิตอยู่ ส่วนมโนภาพที่เป็นกลาง ย่อมทำให้รู้สึกวางเฉย (อุเบกขาเวทนา) ไม่เป็นสุขหรือทุกข์ อันที่จริงอาจไม่ทันจะสังเกตด้วยว่ามีความรู้สึกอย่างใด เพราะอุเบกขาเวทนาเป็นความรู้สึกที่ ละเอียดอ่อน จึงสังเกตเห็นได้ยาก ในคัมภีร์อรรถกถาได้เปรียบอุเบกขาเวทนาเหมือนรอยเท้ากวาง ที่วิ่งไปบนแผ่นหิน ซึ่งมองไม่ออก แต่หากเห็นรอยเท้ากวางทั้งสองข้างของแผ่นหิน ก็ย่อม อนุมานรู้ได้ว่ากวางได้ผ่าน วิ่งไปบนแผ่นหินนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมก็เช่นเดียวกัน ย่อมสังเกตเห็นความ รู้สึกที่เป็นสุขหรือทุกข์ แต่จะไม่เห็นอุเบกขาเวทนา และไม่ใส่ใจกับสภาวธรรมอื่น เช่น การเห็น การได้ยิน เป็นต้นเท่านั้น ต่อเมื่อได้รับสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาใหม่ จึงจะพอรู้ได้ว่า เมื่อครู่ที่ผ่านมา นั้น มีอุเบกขาเวทนาในขณะที่ได้ใส่ใจกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นทางทวารอื่นๆ ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า " เพราะมีภวังคจิตและธรรมารมณ์ฺเป็นปัจจัย จึงเกิดมีมโนวิญญาณ การประชุมรวมกันของภวังคจิต ธรรมารมณ์ และมโนวิญาณ เป็นเหตุให้เกิดผัสสะ และเพราะมี ผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดมีเวทนา ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นกระบวนการของความเป็นเหตุเป็นผลกันของธรรมทั้งหลาย ไม่มีอัตตาตัวตน หรือพระเจ้าบันดาลให้เกิดขึ้น และไม่ได้บังเอิญเกิดขึ้นเอง ในภาษาบาลี ศัพท์ว่า ธรรมารมณ์ หมายถึง อารมณ์ ๕ มีรูปารมณ์เป็นต้นที่พบเห็นหรือได้ยินเป็นต้นและอารมณ์ที่นึกคิดทางใจล้วนๆ โดยที่อารมณ์เหล่านั้นมาปรากฏได้ทางมโนทวาร มโนวิญญาณจึงมีอารมณ์ ๖ ซึ่งหมายถึง สิ่งซึ่งได้เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส และสิ่งที่นึกคิด อารมณ์ทุกอย่างเป็นเหตุให้เกิด ผัสสะ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดเวทนา |
เจ้าของ: | SOAMUSA [ 15 ม.ค. 2013, 15:11 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความสัมพันธ์ระหว่างมโนทวารและวิญญาณในขณะนึกคิด |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บุคคลทั่วไปมักเห็นว่าความคิดต่างๆ เกี่ยวข้องกับอัตตา คือ มีตัวตนผู้ที่คิด ซึ่งแท้จริงเป็น ความหลงผิดที่ไม่เป็นไปตามหลักของปฏิจจสมุปบาท แต่ผู้ที่เจริญสติกำหนดรู้สภาวธรรม ทางจิตอยู่ ย่อมจะรู้ว่าการคิดเกิดขึ้นเพราะภวังคจิต อาวัชชนจิต และ ธรรมารมณ์ ดังนั้นเขา จึงรู้ประจักษ์ด้วยประสบการณ์ของตนเองว่า สภาวธรรมทางจิตเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเหตุ และผลเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับบุคคลตัวตน หรือความบังเอิญแต่อย่างใด ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมทราบด้วยว่า การคิดเป็นเหตุให้เกิดผัสสะซึ่งก่อให้เกิดเวทนา ความรู้อย่างนี้ ไม่ได้เกิดจากการศึกษาตำรา หากแต่เกิดจากการตามรู้เท่าทันสภาวธรรมการคิดในขณะที่ปรากฏขึ้น ถ้าจิตล่องลอยไปที่บ้านในขณะปฏิบัติธรรมอยู่ที่สำนักกรรมฐาน เขาย่อมสามารถกำหนดรู้จิต ของตนว่า มีการกระทบกันระหว่างจิตและอารมณ์ที่จิตรู้ นั่นคือมโนภาพของบ้าน ในทำนองเดียวกัน เขาย่อมกำหนดรู้เมื่อภาพของเจดีย์ชเวดากองหรือสถานที่อื่นซึ่งเคยพบเห็นมาก่อน ได้แทรกเข้ามา ในความคิด การกระทบกับธรรมารณ์นี้ เรียกว่า ผัสสะ (มโนสัมผัส) นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัิติธรรมย่อมรับรู้เวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัสได้ชัดเจนในขณะที่เจริญสติ เช่น รู้สึกยินดีเมื่อคิดถึงสิ่งที่รื่นรมย์ รู้สึกเศร้าเมื่อคิดถึงเหตุการณ์น่าเศร้า รู้สึกขบขันเมื่อคิดถึงเรื่องตลก เขาย่อมรู้ว่าเวทนาเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะมีผัสสะเป็นเหตุ และเมื่อเจริญสติกำหนดรู้รูปนามต่อไป ก็ย่อมอบรมสติและสมาธิให้แก่กล้ายิ่งขึ้น จนสามารถหยั่งเห็นความดับของอารมณ์ที่กำหนดรู้อยู่นั้น พร้อมทั้งความดับของจิตที่รู้ ดังนั้นเขาจึงสามารถบรรลุถึงวิปัสสนาญาณที่รู้แจ้งความไม่เที่ยงของ สภาวธรรมทางจิต ได้แก่ การคิด และความรู้สึก เป็นต้น ตลอดจนรู้แจ้งความเป็นทุกข์และความไม่อยู่ ในบังคับบัญชา ไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีแก่นสารของสภาวธรรมเหล่านั้น ปัญญาดังกล่าวนี้ คือความรู้ และความเข้าใจหลักปฏิจจสมุปบาทจากประสบการณ์ในการปฏิบัติของตนเอง ![]() ![]() ![]() จากหนังสือปฏิจจสมุปบาทเหตุผลแห่งวัฏสงสาร |
เจ้าของ: | SOAMUSA [ 15 ม.ค. 2013, 15:13 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความสัมพันธ์ระหว่างมโนทวารและวิญญาณในขณะนึกคิด |
ลุงหมาน เขียน: ปลีกวิเวก เขียน: :b8: อนุโมทนาในความเมตตาที่ให้ธรรมะเป็นทานนะคะ เป็นกำลังใจให้น้อง SOAMUSA และคุณลุงหมานนะคะ ![]() ![]() จะติดตามอ่านทุกกระทู้...ยังคิดอยู่ว่าจะหาเวลาไปศึกษาพระอภิธรรมไม่รู้จะมีโอกาสเมื่อไร.. อยากรู้จักนะๆนี่...เล่นเฟรสบรุคป่าว ลุงๆๆ หนูเล่นเฟรสบุคค่ะ ![]() |
เจ้าของ: | eragon_joe [ 15 ม.ค. 2013, 15:22 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความสัมพันธ์ระหว่างมโนทวารและวิญญาณในขณะนึกคิด |
SOAMUSA เขียน: ลุงหมาน เขียน: ปลีกวิเวก เขียน: :b8: อนุโมทนาในความเมตตาที่ให้ธรรมะเป็นทานนะคะ เป็นกำลังใจให้น้อง SOAMUSA และคุณลุงหมานนะคะ ![]() ![]() จะติดตามอ่านทุกกระทู้...ยังคิดอยู่ว่าจะหาเวลาไปศึกษาพระอภิธรรมไม่รู้จะมีโอกาสเมื่อไร.. อยากรู้จักนะๆนี่...เล่นเฟรสบรุคป่าว ลุงๆๆ หนูเล่นเฟรสบุคค่ะ ![]() ![]() ![]() ![]() เอกอนก็เล่นนนนนนน ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | govit2552 [ 15 ม.ค. 2013, 22:16 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความสัมพันธ์ระหว่างมโนทวารและวิญญาณในขณะนึกคิด |
อ้างคำพูด: อนุโมทนาในความเมตตาที่ให้ธรรมะเป็นทานนะคะ เป็นกำลังใจให้น้อง SOAMUSA และคุณลุงหมานนะคะ จะติดตามอ่านทุกกระทู้...ยังคิดอยู่ว่าจะหาเวลาไปศึกษาพระอภิธรรมไม่รู้จะมีโอกาสเมื่อไร.. http://www.baanaree.net/index.php?optio ... itstart=60 ดาวน์โหลด เสียง มาฟังที่บ้านได้เลยครับ ผมฟังไปได้ สองสามตอนแล้ว |
เจ้าของ: | ปลีกวิเวก [ 16 ม.ค. 2013, 08:14 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความสัมพันธ์ระหว่างมโนทวารและวิญญาณในขณะนึกคิด |
ลุงหมาน เขียน: ปลีกวิเวก เขียน: :b8: อนุโมทนาในความเมตตาที่ให้ธรรมะเป็นทานนะคะ เป็นกำลังใจให้น้อง SOAMUSA และคุณลุงหมานนะคะ ![]() ![]() จะติดตามอ่านทุกกระทู้...ยังคิดอยู่ว่าจะหาเวลาไปศึกษาพระอภิธรรมไม่รู้จะมีโอกาสเมื่อไร.. อยากรู้จักนะๆนี่...เล่นเฟรสบรุคป่าว ยินดีค่ะคุณลุง....แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้เล่น Face Book คุยกันในลานก็ได้นี่คะ.. แต่คุณลุงได้เพื่อนแล้วนะ...ท่านเอกอน...กับน้อง SOAMUSA... ![]() |
เจ้าของ: | ปลีกวิเวก [ 16 ม.ค. 2013, 08:15 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความสัมพันธ์ระหว่างมโนทวารและวิญญาณในขณะนึกคิด |
govit2552 เขียน: อ้างคำพูด: อนุโมทนาในความเมตตาที่ให้ธรรมะเป็นทานนะคะ เป็นกำลังใจให้น้อง SOAMUSA และคุณลุงหมานนะคะ จะติดตามอ่านทุกกระทู้...ยังคิดอยู่ว่าจะหาเวลาไปศึกษาพระอภิธรรมไม่รู้จะมีโอกาสเมื่อไร.. http://www.baanaree.net/index.php?optio ... itstart=60 ดาวน์โหลด เสียง มาฟังที่บ้านได้เลยครับ ผมฟังไปได้ สองสามตอนแล้ว ![]() |
เจ้าของ: | SOAMUSA [ 18 ม.ค. 2013, 08:13 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความสัมพันธ์ระหว่างมโนทวารและวิญญาณในขณะนึกคิด |
อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ คุณโกวิท และคุณปลีกวิเวก ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ถ้าเรามีสติอยู่กับปัจจุบันที่เป็นสภาวธรรมรูปนาม ก็จะทำให้กิเลสรั่วรดใจของเราไม่ได้ สติเหมือนคนเฝ้าประตู สติทำหน้าที่เฝ้าประตูใจเพื่อไม่ให้กิเลสรั่วรดใจทางทวาร ๖ เหมือนคนเฝ้าประตูที่กีดกั้นไม่ให้คนชั่วผ่านประตูเข้าไปได้ วันหนึ่ง สติพบคนผ่านทาง จึงถามว่า คุณคือใคร ผมชื่อ นายโลภะ คุณมาทำอะไร ผมผูกพันร่างกายนี้มาก ถ้าไม่มีผมร่างกายนี้ก็มีไม่ได้ จึงอยากเข้าไปเหมือนก่อน ขอตรวจบัตรประจำตัวหน่อย โอเค ได้เลย สติตรวจบัตรประจำตัวแล้วพูดว่า คุณโลภะ ผมอนุญาตให้คุณเข้าไปไม่ได้ เพราะคุณจะทำให้ร่างกายยึดติดผูกพันจนทุกคนต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจ วิ่งไล่ไขว่คว้าแสวงหาตั้งแต่เกิดจนตาย (การตรวจบัตรประจำตัว คือ การพิจารณาถึงลักษณะเฉพาะของสภาวธรรม เช่น โลภะมีลักษณะยึดติด โทสะมีลักษณะดุร้าย) พอนายโทสะมา สติก็ไม่อนุญาตให้เข้าอีก เพราะเห็นว่าเขาทำให้ร่างกายนี้ต้องลุกเป็นไฟ เผาตัวเองไม่พอ ยังไม่เผาคนอื่นอีก ทำให้โลกนี้ต้องเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ดังนั้น ถ้าเรามีสติอยู่กับปัจจุบันที่เป็นสภาวธรรมรูปนาม ก็จะทำให้กิเลสรั่วรดใจของเราไม่ได้ https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%A ... 5358872763 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |