ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ละสังขารแล้ว http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44376 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | สาวิกาน้อย [ 19 ม.ค. 2013, 13:15 ] |
หัวข้อกระทู้: | หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ละสังขารแล้ว |
![]() หลวงปู่จาม มหาปุญโญ พระวิปัสสนาจารย์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร ได้ละสังขารด้วยอาการสงบตามเยี่ยงอย่างปฏิปทาของพระอริยเจ้าแล้ว หลังอาพาธด้วยโรคปอดติดเชื้อและโรคชรา เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๙ มกราคม พุทธศักราช๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๙ น. ขณะนำตัวส่งโรงพยาบาลมุกดาหารอินเตอร์เนชั่นแนล จ.มุกดาหาร สิริรวมอายุได้ ๑๐๒ ปี ๘ เดือน พรรษา ๗๓ ปิดอีก ๑ ตำนานพระป่าสายหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล-หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ![]() ![]() ![]() กำหนดการพระราชพิธีน้ำหลวงอาบศพหลวงปู่จาม มหาปุญโญ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ในพระราชานุเคราะห์ วันอาทิตย์ที่ ๒๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๖ เวลา ๑๔.๓๐ น. ณ ศาลาการเปรียญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม จ.มุกดาหาร เวลา ๑๔.๐๐ น. - พระสงฆ์ พุทธศาสนิกชนพร้อมกัน ณ ศาลาการเปรียญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม เวลา ๑๔.๓๐ น. - นายสกลสฤษฎ์ บุญประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ประธานฝ่ายฆราวาส เดินทางถึงบริเวณพิธี - พระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสฺสโก จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย - พระสงฆ์, แม่ชี, ผู้่ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร, ข้าราชการที่ปกติขาวไว้ทุกข์ และเหล่าพุทธศาสนิกชน สรงน้ำศพหลวงปู่จาม มหาปุญโญ ตามลำดับ - พระสงฆ์อาวุโสสูงสุด ประธานฝ่ายสงฆ์ สรงน้ำหลวงอาบศพหลวงปู่จาม มหาปุญโญ - นำสรีระสังขารหลวงปู่จาม มหาปุญโญ เข้าบรรจุในหีบศพไม้สักทอง เสร็จพิธี หมายเหตุ ข้าราชการสวมชุดปกติขาวไว้ทุกข์ ประชาชนทั่วไปแต่งกายไว้ทุกข์ ![]() โอวาทธรรมหลวงปู่จาม มหาปุญโญ ตัวของเราบัดเดี๋ยวนี้ ยังทำตัวเองให้เดือดร้อนอยู่เสมอ เพราะเหตุใด ? ก็เพราะตนเองทำตนให้เป็นข้าศึกแก่ตน เคยได้ตรวจดูตนเองหรือยังว่า... อะไรคือสาเหตุที่ให้ตนเดือดร้อน แล้วจะแก้ไขตนเองอย่างไร ? เรื่องของจิตที่รับอารมณ์นี่ หากยังหวั่นไหวหรือกระเทือนอยู่กับทุกๆ อารมณ์ ก็ให้เข้าใจว่า มาจากภายในที่่ไม่สงบ ![]() ![]() ![]() • ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่จาม มหาปุญโญ” http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=24254 • รวมคำสอน “หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ” http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=50221 • กำหนดการประชุมเพลิงสรีระสังขารครูบาอาจารย์ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44511 ![]() ![]() ![]() ภาพการเคลื่อนย้ายสรีระสังขาร “หลวงปู่จาม มหาปุญโญ” ที่มาของรูปภาพ : https://www.facebook.com/ataesuwan ![]() ![]() ลายมือของพระธมฺมธโร (ครูบาแจ๋ว) รก. เจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ที่มาของรูปภาพ : https://www.facebook.com/sthammachai ![]() ![]() ![]() ทั้งน้อมระลึกถึงคุโณปการยิ่งที่ท่านมีต่อพระพุทธศาสนาและมวลมนุษย์ชาติ กรรมใดที่ลูกได้ประมาทพลั้งเผลอล่วงเกินองค์หลวงปู่ ไม่ว่าด้วยกาย วาจา ใจ ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่เจตนา หรือด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ตาม กราบขอองค์หลวงปู่ได้โปรดเมตตาอโหสิกรรมและงดโทษให้ด้วยเทอญเจ้าค่ะ |
เจ้าของ: | student [ 19 ม.ค. 2013, 15:08 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ละสังขารแล้ว |
![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 19 ม.ค. 2013, 15:50 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ละสังขารแล้ว |
... ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | สาวิกาน้อย [ 20 ม.ค. 2013, 06:42 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ละสังขารแล้ว |
![]() หลวงปู่จาม มหาปุญโญ เป็น “พระนิยตโพธิสัตว์” ท่านปรารถนาพระโพธิญาณ และได้รับการพยากรณ์แล้ว ตอนที่ ๑๙ รู้แจ้งประจักษ์อนาคตอันไกลโพ้น หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ได้เดินธุดงค์ไปจังหวัดเชียงใหม่ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโรงธรรม อำเภอสันกำแพง อยู่กับ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ๒ พรรษา ในช่วงนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ท่านจึงอยู่ที่นี่เป็นหลัก ในบางโอกาสก็ออกไปหาวิเวกตามดอยต่างๆ ต่อมาได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ ในช่วงนั้นได้มีการทิ้งระเบิดในเมืองบ่อยครั้ง จึงเป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะปลอดภัย หลวงปู่สิมจึงชวนหลวงปู่จามออกไปอยู่ที่จอมทองระยะหนึ่ง การปฏิบัติธรรมเจริญจิตภาวนาที่จอมทองแห่งนี้ ได้พบกับความแปลกใหม่ของจิตตัวเอง เพราะเป็นสถานที่สัปปายะเหมาะสมแก่การบำเพ็ญพากเพียร และบุคคลสัปปายะเนื่องด้วยหลวงปู่สิมเคยเป็นสามเณรอยู่ด้วยกัน ขณะที่อยู่กับหลวงปู่มั่น จึงมีความเข้าใจสนิทสนมกันดี ในช่วงแรกของการภาวนา จิตไม่สงบแส่ส่ายออกนอกเกิดสัญญาปรุงแต่งลักษณะเดียวกันกับที่เคยปรากฏมาก่อนแล้ว แม้ว่าจิตจะเคยสงบถึงขั้นอัปปนาสมาธิหลายครั้งแล้วก็ตาม เกิดเสื่อมลงอย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งๆ ที่ได้ใช้อุบายต่างๆ แก้ไขมาหลายครั้งต่อหลายหนแล้ว บางคืนจิตร้อนรนเสมือนว่ากิเลสไม่เบาบางเลยทั้งๆ ที่ปกติธรรมดาจะไม่ปรากฏ แต่พอเริ่มอธิฐานจิตเข้าที่ภาวนาจะเกิดอาการลักษณะนี้ขึ้นมา คิดทบทวนเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่บำเพ็ญพากเพียรอย่างจริงจัง แต่ผลที่ได้ดูเหมือนไม่คุ้มค่า รู้สึกว่าเกือบหมดกำลังใจ แต่เนื่องด้วยอุปนิสัยของท่านเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นไม่ย่อท้อ ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ท่านระลึกถึงหลวงปู่มั่น ตลอดจนครูบาอาจารย์ที่เคยให้คำแนะนำสั่งสอน และปฏิปทาของท่านเหล่านั้นแล้ว จึงเกิดพลังใจตั้งสัจจะอธิฐานว่า “ถ้าจิตจะสงบหรือไม่สงบก็ไม่ว่า จะเกิดหรือไม่เกิดอะไรก็ไม่ว่า เราไม่หวังอะไรอีกแล้ว ต่อไปนี้จะเอาเฉพาะพุทโธให้แนบแน่นกับลมหายใจที่ตรงหัวใจของเรา จะไม่ยอมให้หนีไปไหน” ต่อจากนั้นอีกไม่นาน จิตค่อยๆ สงบละเอียดรวมลงเป็นสมาธิ กายเบาจนไม่มีกายเหลือแต่จิตดวงเดียว เกิดนิมิตภาพเจดีย์ปรักหักพังมากมาย พระพุทธรูปเก่าแก่ปางต่างๆ มากมาย ต้นโพธิ์ ต้นจิก และอื่นๆ เป็นภาพแล้วภาพเล่า ต่อจากนั้นก็เห็นภาพตนเองในอดีตชาติเกิดขึ้นมาจนนับไม่ไหว ท่านได้กำหนดรู้ในภาพนิมิตที่เกิดขึ้นมาโดยลำดับ ปัญญารู้แจ้งในแต่ละชาติในอดีตทั้งกรรมดีกรรมชั่วคละเคล้าปะปนกันไป ตลอดจนบุญบารมีที่สร้างไว้แต่อดีตชาติ ทั้งขึ้นสูงและลงต่ำ สวรรค์ นรก มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน การพิจารณากลับไปกลับมาปรากฏความรู้แจ้งชัดขึ้นมาว่า การที่มุ่งทำความเพียรเพื่อละกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นเพื่อความหลุดพ้นทุกข์ในชาตินี้ คงเป็นไปไม่ได้เสียแล้ว เสมือนว่ามีอะไรสักสิ่งหนึ่งปิดกั้นไว้ ปัญญาไม่ทะลุแจ้ง ฉุกคิดถึงแนวทางปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ที่ปรารถนาพุทธภูมิมาแล้ว ชะรอยเราจะเคยปรารถนา................ มาแล้วกระมัง ท่านจึงถอนจิตออกจากสมาธิแล้วไปที่หน้าองค์พระพุทธรูป ห่มผ้าจีวรจรดไหล่เรียบร้อย กราบแล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า “ถ้าได้เคยปรารถนา................ ที่บำเพ็ญมาเพื่อการเป็น................ ในภายภาคหน้าแล้วก็ขอให้จิตสงบเยือกเย็นขอให้ภาพนิมิตเหล่านั้นหายไปและให้เกิดความรู้แจ้งเห็นชัดเป็นที่ประจักษ์เถิด” จึงได้พักผ่อนหลับ ในคืนต่อมาการภาวนาได้ผลดี จิตสงบรวดเร็ว จิตใจที่เคยร้อนมีแต่เยือกเย็น เบาสบาย จิตรวมลงถึงฐานอัปปนาสมาธิ พักในสมาธิเพื่อให้เกิดพลังเต็มที่แล้วจิตถอนขึ้นมาเองอยู่ในขั้นอุปจารสมาธิ เกิดญาณทัศนะสามารถรู้เห็นเหตุการณ์ต่างๆ อย่างที่ไม่เคยรู้เห็นมาก่อน หยั่งรู้เข้าใจภาพนิมิตที่เคยปรากฏมาแล้วอย่างปราศจากข้อสงสัย รู้แจ้งแล้วว่าชาตินี้ยังไม่สามารถบำเพ็ญพากเพียรให้สิ้นอาสวะกิเลสได้ ได้รู้เห็นจิตใจของตนในส่วนลึกอย่างละเอียดว่า ได้เคยอธิษฐานตั้งความปรารถนา................ ไว้แล้วในอดีตชาติและได้รับการ................ แล้ว ไม่สามารถถอนออกได้ จึงจะต้องบำเพ็ญบารมีเพิ่มขึ้น จะต้องเกิดตายอีกหลายชาติ จนกว่าบารมีจะเต็ม และถึงระยะเวลาที่จะต้องลงมาอีกเพื่อการ................ ที่จะต้องมาโปรดสัตว์ที่โลกกำลังร้อนระอุ ซึ่งเป็นระยะเวลาอีกนานเท่าใดไม่สามารถจะประมาณได้ การสั่งสมอุปนิสัยบุญบารมีในแนวทางของความเป็น................ และได้รับการ................ แล้วนั้น ก็เป็นเรื่องเฉพาะตน การจะบำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นใครก็เป็นเรื่องเฉพาะของการเป็นใครคนนั้น กรณีบำเพ็ญสาวกบารมีก็จะเป็นสาวก บำเพ็ญอัครสาวกบารมีก็จะเป็นอัครสาวก บำเพ็ญปัจเจกบารมีก็เป็นปัจเจกพุทธเจ้า ถ้าบำเพ็ญพุทธบารมีก็ต้องเป็นพระพุทธเจ้า ผู้เขียน (พระอาจารย์อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก) ได้ถามหลวงปู่ว่า “เกิดตายอีกหลายชาติไม่เบื่อหรือ” ท่านตอบว่า “เบื่อไม่ได้เพราะเป็นหน้าที่ต้องมาเกิดตายจนกว่าจะหมดภาระหน้าที่นั้น” ![]() ในช่วงธุดงค์ไป อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ กับ หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=24254 ![]() “เมื่อกูตายแล้ว สูจะเอาสัตว์มาฆ่าทำลาบทำแกงเลี้ยงคน อีนี้เป็นคนไปซื้อมา บักนี้เป็นคนฆ่า อีนี้เป็นคนฟักลาบทำแกง ไอ้นี้เป็นคนชิม อีนี้เป็นคนตักกิน เป็นบาปเป็นกรรมกับสัตว์ กูหน๋าไม่อยากตายกับสูเจ้า อยากไปตายกับเวสสุวัณอยู่ป่าหิมพานต์ ตายแล้วให้เขาเอาเตโชธาตุเผา ไม่เป็นบาปเป็นกรรมเป็นโทษไปกับสัตว์ หมู ไก่ ปลา งัว ควาย ดูแต่เพิ่นอาจารย์มั่น นอนป่วยอยู่หนองผือนาใน แล้วทีนี้ก็รีบจัดแจงให้เขาหามออกไปใส่ทางรถ ขึ้นรถจากพรรณานิคม เข้าสุทธาวาส แล้วก็นิพพาน จึงปลอดภัยจากการเอาชีวิตสัตว์มากินของผู้คนมาส่งศพ การเลือกที่จะตายนั้นเลือกได้ของพระอรหันตเจ้าผู้ได้วิชชา พิจารณาตัวอย่างรอบคอบ เพราะเพิ่นรักษาสัตว์โลกไว้ตามกรรม อันนี้พอกูตาย สูเจ้าก็เอาสัตว์มาฆ่าลาบกินกันจนตลอด โห...จะเก็บไว้เท่าใดวัน ก็กินกันไปเท่านั้น กินกันทั้งวัน กินแล้วขี้ ส้วมขี้เต็มสูบทิ้ง อึกทึกกันอยู่ทั้งวัด ฆ่าไปกินไป ขณะองค์หลวงปู่จามเล่า ลูกหลานชาวบ้านก็หัวเราะกัน ต่างก็ปฏิเสธว่าจะไม่ให้มีการฆ่าสัตว์และจะไม่เก็บศพเอาไว้นาน (๒๕๔๙)” ![]() วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=24254 ![]() |
เจ้าของ: | McArowana [ 20 ม.ค. 2013, 15:49 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ละสังขารแล้ว |
![]() |
เจ้าของ: | สาวิกาน้อย [ 21 ม.ค. 2013, 04:17 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ละสังขารแล้ว |
พิธีสรงน้ำและขอขมาสรีระสังขาร
“หลวงปู่จาม มหาปุญโญ” ![]() สรีระสังขารหลวงปู่จาม มหาปุญโญ ![]() พระธมฺมธโร (ครูบาแจ๋ว) รก. เจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ![]() พระอาจารย์อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก และพระธมฺมธโร (ครูบาแจ๋ว) ![]() ![]() พระอาจารย์อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก พร้อมหมู่สงฆ์ ประกอบพิธีขอขมาสรีระสังขารหลวงปู่จาม มหาปุญโญ ![]() หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีห์พนมประชาคม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ![]() หลวงพ่อนิพนธ์ อภิปสันโน วัดป่าศาลาน้อย อ.ด่านซ้าย จ.เลย และหลวงปู่นวล วัดสมเด็จภูเรือ อ.ภูเรือ จ.เลย ![]() หลวงพ่อนิพนธ์ อภิปสันโน วัดป่าศาลาน้อย อ.ด่านซ้าย จ.เลย ก้มกราบสรีระสังขารหลวงปู่จาม เป็นเวลานานมาก |
เจ้าของ: | สาวิกาน้อย [ 21 ม.ค. 2013, 04:32 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ละสังขารแล้ว |
![]() หลวงปู่ล้วน จันทสาโร วัดศรีมงคลเหนือ อ.เมือง จ.มุกดาหาร ![]() พระครูสุทธิพรหมคุณ (หลวงพ่อสุทธิพงศ์ ชนุตฺตโม) [ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสุทธิธรรมโสภณ] เจ้าอาวาสวัดป่าวังเลิง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม และเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม ฝ่ายธรรมยุต ![]() ![]() ![]() เครื่องบริขารและเครื่องใช้ต่างๆ ของหลวงปู่จาม มหาปุญโญ ![]() น้ำหลวงสรงสรีระสังขารหลวงปู่จาม มหาปุญโญ ![]() ![]() หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีห์พนมประชาคม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร และหลวงปู่ล้วน จันทสาโร วัดศรีมงคลเหนือ อ.เมือง จ.มุกดาหาร |
เจ้าของ: | ปลีกวิเวก [ 22 ม.ค. 2013, 08:06 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ละสังขารแล้ว |
![]() |
เจ้าของ: | สาวิกาน้อย [ 09 มี.ค. 2014, 17:45 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ละสังขารแล้ว |
ในงานพิธีพระราชทานเพลิงฯ หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ณ เมรุปราสาทพญานกหัสดีลิงค์ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ![]() ![]() ![]() • ขอเชิญร่วมงานพระราชทานเพลิงหลวงปู่จาม มหาปุญโญ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=46974 • หลวงปู่จาม มหาปุญโญ เป็น “พระนิยตโพธิสัตว์” http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=48339 ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() พระภิกษุสงฆ์นำกล่าวขอขมาสรีระสังขาร องค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ เป็นครั้งสุดท้าย ![]() ![]() ![]() ขอน้อมถวายอภิสัมมานสักการะ องค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ สู่พระสัคคนฤพาน ![]() ![]() ![]() เมรุปราสาทพญานกหัสดีลิงค์ โครงสร้างของ “เมรุปราสาทพญานกหัสดีลิงค์” ทั้งหมดยึดถือตามแบบโบราณ นับตั้งแต่สะพานเชื่อมไปยังตัวปราสาท เพื่อใช้เคลื่อนย้ายโลงแก้วที่บรรจุสรีระสังขาร ทำด้วยไม้ไผ่แบบโบราณโดยใช้วิธีการขัดสานเป็นรูปร่าง ลักษณะพิเศษของ “เมรุปราสาทพญานกหัสดีลิงค์” มีรูปร่างโครงสร้างส่วนหัวและลำตัวทำจากโครงไม้ ตกแต่งด้วยกระดาษตะกั่วหลากสีสัน ทำลวดลายเป็นเกล็ด บริเวณส่วนหัวช้างมีความพิเศษคือสามารถขยับเคลื่อนไหวไปมาได้ โดยชิ้นส่วนคอและหัวต้องเคลื่อนไหวหมุนไปมา ใบหูสามารถพับกระพือไปมาได้ ดวงตาทั้ง ๒ ข้างต้องมีลักษณะกลมมน ขอบตาสีแดง ขนตายาวงอนสวยงาม และกะพริบได้ตลอดเวลาเสมือนมีชีวิตจริงๆ ในส่วนของปีกสามารถขยับขึ้นลงได้เหมือนจังหวะการบินของนก บริเวณส่วนหางทำจากเสื่อไม้ไผ่ ตัดเป็นรูปให้มีลักษณะเหมือนหางหงส์ มีลวดลายสวยงาม ให้ความรู้สึกอ่อนช้อยสวยงามเมื่อได้พบเห็น นอกจากนั้นบริเวณงวงยังยืดหดได้ โดยทำจากผ้าเย็บเป็นทรงกระบอกเลียนแบบงวงช้าง มีเชือกร้อยอยู่ด้านในสำหรับดึงเคลื่อนไหวได้ โดยส่วนนี้จะติดตั้งคนละส่วนกับลำตัว มีกลไกใช้เชือกชักให้เคลื่อนไหวได้ ด้านหน้ามีขันเล็กๆ บรรจุข้าวตอกไว้เพื่อโปรย ลักษณะเหมือนช้างใช้งวงโปรยข้าวตอกเพื่อความเป็นสิริมงคล หลังการจุดไฟประชุมเพลิงเผาศพปราสาทแล้ว ศรัทธาญาติโยมรวมทั้งลูกศิษย์ลูกหาของพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ถึงแก่มรณภาพ จะรอแย่งผ้าเพดานซึ่งเป็นผ้าสังฆาฏิที่ขาดปลิวลงมาถึงพื้น เพื่อเก็บเป็นเครื่องบูชาสักการะหรือเป็นวัตถุมงคลไว้ติดตัว ส่วนท้องจะติดกับพื้นดินตามธรรมชาติของนกในป่า ขณะที่ส่วนยอดจะสร้างปราสาทตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามครอบบนตัวนกอีกชั้นหนึ่ง บริเวณส่วนยอดมียอดปราสาทฉัตร ๙ ชั้น ซึ่งถือเป็นเครื่องประดับตามสมณศักดิ์ของพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ถึงแก่มรณภาพตามความเชื่อของชาวล้านนา โดย ๓ ชั้นแรก หมายถึง พระพุทธานุภาพ พระธรรมานุภาพ พระสังฆานุภาพ อีก ๕ ชั้นต่อมา หมายถึง พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ได้แก่ พระกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโกนาคมโนสัมมาสัมพุทธเจ้า พระกัสสโปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโคตโมสัมมาสัมพุทธเจ้า พระศรีอาริยเมตไตรโยสัมมาสัมพุทธเจ้า และชั้นที่ ๙ หมายถึง พระนวโลกุตรธรรมเจ้าเก้าประการ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑ ทั้งนี้ โดยรอบเมรุปราสาทพญานกหัสดีลิงค์ทั้ง ๔ ทิศ จะมีเพดานที่ทำจากเสาไม้ไผ่สูง และขึงด้วยผ้าสังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่าของพระภิกษุสงฆ์) โดยเสาไม้ไผ่ทั้ง ๔ ต้นดังกล่าวเปรียบแทน “สีลวิสุทธิ” ซึ่งเป็นศีลของพระภิกษุสงฆ์ที่เรียกว่า “จตุปริสุทธิศีล” กล่าวคือ ศีลเป็นเหตุให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ ได้แก่ ๑. ปาฏิโมกขสังวรศีล การสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์ ๒. อินทรียสังวรศีล การสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ๓. อาชีวปาริสุทธิศีล การเลี้ยงชีพในทางที่ชอบธรรม ๔. ปัจจัยสันนิสิตศีล การบริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา ส่วนผ้าสังฆาฏิที่ขึงอยู่กับเสาไม้ไผ่ทั้ง ๔ ต้น ลอยกระพือโบกสะบัดอยู่เหนือยอดปราสาทนั้น เปรียบผ้ากาสาวพัสตร์เป็นดั่งธงชัยแห่งพระอรหันต์ที่อยู่เหนือโลก เหนือวัฏฏสงสารการเวียนว่ายตายเกิด สำหรับฟืนที่จะใช้ในงานพิธีพระราชทานเพลิงสรีระสังขารนั้น ได้เลือกไม้มงคล ๗ ชนิดมาประกอบพิธีตามหลักพระอภิธรรม ได้แก่ ๑. ไม้ดอกแก้ว ๒. ไม้ขนุน ๓. ไม้จำปา ๔. ไม้จำปี ๕. ไม้ตุ้มคำ (ไม้มงคลท้องถิ่น) ๖. ไม้จันทน์ และ ๗. ไม้กฤษณา ซึ่งไม้บางชนิดหาได้ยากมาก ในวันงานพิธีพระราชทานเพลิงสรีระสังขารจะมีประชาชนเหล่าพุทธบริษัทเดินทางมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากชาวล้านนาเชื่อกันว่าการได้มาร่วมงานศพของพระสงฆ์ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ เป็นสิริมงคลยิ่ง จะทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรืองทั้งกายและใจ นกหัสดีลิงค์ เป็นนกใหญ่ตัวโตเท่าช้าง เรียกชื่อตามเจ้าของภาษาว่า “หัตถิลิงคะสะกุโณ” เรียกตามภาษาของเราว่า “นกหัสดีลิงค์” ตามประวัติศาสตร์ล้านนาเล่าขานสืบต่อกันมาว่า พญานกหัสดีลิงค์ เป็นหนึ่งในสัตว์ในเทวคติของชาวล้านนา อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ มีความพิเศษคือมีเพศเพียงดั่งช้าง เป็นนกที่มีหัวเป็นช้าง มีหางเป็นหงส์ มีพละกำลังดั่งช้างเอราวัณ ๓-๕ เชือกรวมกัน ซึ่งเป็นสัตว์คู่บารมีของกษัตรา เจ้าเมืองผู้มีอำนาจบารมีสูง เชื่อกันว่าพญานกหัสดีลิงค์จะคาบเอาสังขารร่างของผู้วายชนม์เข้าไปยังดินแดนแห่งสรวงสวรรค์แห่งป่าหิมพานต์ ด้วยความเชื่อดังกล่าว ชาวล้านนาโบราณจึงนำมาเกี่ยวข้องกับพิธีศพ มีการสร้าง “เมรุปราสาทพญานกหัสดีลิงค์” ขึ้นในพิธีศพ โดยเชื่อกันว่าพญานกหัสดีลิงค์ซึ่งมีพละกำลังมีความแข็งแรงมากจะเป็น “พาหนะ” นำส่งดวงวิญญาณผู้วายชนม์ไปสู่สวรรค์ชั้นฟ้าได้โดยสะดวก ความเชื่อของชาวล้านนาแต่อดีตกาลนิยมสร้าง “เมรุปราสาทพญานกหัสดีลิงค์” เพื่อบรรจุศพของกษัตริย์เจ้านายฝ่ายเหนือที่สิ้นชีพตักษัย รวมถึง พระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ถึงแก่มรณภาพ เพื่อให้พิธีศพสง่างาม สมฐานะบารมี และเป็นการส่งดวงวิญญาณไปสู่ชาติสรวงสวรรค์ชั้นพรหมโลก เทวโลก แต่ในปัจจุบัน เมรุปราสาทพญานกหัสดีลิงค์นิยมสร้างเพื่อใช้ในพิธีศพของพระเถระชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น ในอดีตเมื่อเจ้านายฝ่ายเหนือสิ้นชีพตักษัย การจัดประเพณีศพของเจ้านายสมัยนั้นจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ และสมเกียรติ ด้วยการสร้างบุษบกสวมทับพระโกศตั้งบนหลังพญานกหัสดีลิงค์ ฉุดลากด้วยช้าง และให้ชาวบ้านชาวเมืองเดินตามขบวนแห่ไปยังสุสาน ปัจจุบันพิธีศพเช่นนี้นำมาใช้กับพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ด้วย ทั้งนี้ มีพงศาวดารโยนกตอนหนึ่ง จุลศักราช ๙๔๐ ปีขาล สัมฤทธิศก เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ความว่า “นางพระญาวิสุทธิเทวี ต๋นนั่งเมืองนครพิงค์ ถึงสวรรคต พระญาแสนหลวงจึงแต่งการพระศพ ทำเป๋นวิมานบุษบกตั้งอยู่บนหลังนกหัสดินทร์ตั๋วใหญ่ แล้วฉุดลากไปด้วยแฮงจ๊างคชสาร จาวบ้าน จาวเมืองเดินตวยก้น เจาะก๋ำแปงเมืองออกไปตางต่งวัดโลกโมฬี และทำก๋ารถวายพระเพลิง ณ ตี้นั้น เผาตึงฮูปนกหัสฯ และวิมานบุษบกนั้นตวย” การสร้างเมรุปราสาทพญานกหัสดีลิงค์ ไม่ได้มีแต่ในอาณาจักรล้านนาตามที่หลายคนเข้าใจ แต่ยังมีความเชื่อเดียวกันนี้ในเมืองเชียงตุง ประเทศพม่า แต่รูปลักษณะตามจินตานาการจะแตกต่างกับทางล้านนา เมรุปราสาทพญานกหัสดีลิงค์ที่ว่านี้ สร้างขึ้นเพื่อถวายเกียรติให้สมฐานะบารมีแก่พระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ถึงแก่มรณภาพ ซึ่งเป็นที่เคารพรักยิ่งแก่มวลหมู่มนุษย์และเทพเทวา ไฟพระราชทานเพลิงศพนั้นเป็นพระเมตตาของพระมหากษัตริย์ที่ทรงแสดงความเคารพรัก ความศรัทธา และเชิดชูเกียรติแก่พระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่นั้นๆ พญานกหัสดีลิงค์ก็เท่ากับว่าเป็นพานรองรับไฟพระราชทานเพลิงศพของพระมหากษัตริย์นั่นเอง ดอกไม้มีพานเป็นภาชนะรองรับฉันใด พญานกหัสดีลิงค์ก็ใช้เป็นที่รองรับสรีระสังขารของพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ผู้เป็นที่เคารพรักฉันนั้น ก่อนหน้างานพิธีพระราชทานเพลิงสรีระสังขารหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ บนเมรุปราสาทพญานกหัสดีลิงค์ ณ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม จ.มุกดาหาร เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา ได้มีงานพิธีพระราชทานเพลิงสรีระสังขารของพ่อแม่ครูบาอาจารย์องค์อื่นๆ บนเมรุปราสาทพญานกหัสดีลิงค์มาก่อน อาทิเช่น พระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ) ณ วัดสามัคคีบุญญาราม (วัดคีรีสุบรรพต) จ.ลำปาง เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๘ และพระพุทธพจนวราภรณ์ (หลวงปู่จันทร์ กุสโล) ณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จ.เชียงใหม่ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๓ ซึ่งทั้ง ๓ งานดังกล่าวนี้ได้รับการดูแล และให้คำปรึกษาโดยพระเทพวิสุทธิญาณ (หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล) แห่งวัดอนาลโยทิพยาราม จ.พะเยา หากสงสัยว่าทำไมหลวงปู่จามซึ่งเป็นพระทางอีสานจึงใช้ประเพณีแบบล้านนา ก็ขอตอบว่า ท่านเคยไปบำเพ็ญสมณธรรมอยู่รุกขมูลที่เมืองเหนือมากกว่าครึ่งชีวิตขององค์ท่าน ดังนั้น หลวงปู่จามท่านจึงได้รับการยกย่องบูชาเทียบเท่ากับพระฝ่ายเหนือ นอกจากนี้ยังมีพระทางอีสานบางรูปได้มีงานพิธีพระราชทานเพลิงสรีระสังขารบนเมรุปราสาทพญานกหัสดีลิงค์ ประเพณีแบบล้านนา เช่น พระครูสิริธรรมากร (หลวงพ่อบุดดา สุภทฺโท) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีโพธิ์ชัย จ.อุบลราชธานี และอดีตเจ้าคณะอำเภอตระการพืชผล ซึ่งมีการจัดงานพิธีพระราชทานเพลิงฯ ณ วัดศรีตระการ จ.อุบลราชธานี (อันเป็นวัดที่หลวงพ่อท่านได้ลงมือก่อสร้างด้วยตัวเอง) เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ![]() ![]() ![]() - บทความเรื่อง เมรุปราสาทพญานกหัสดีลิงค์ และตำนานล้านนา อรรถาธิบายโดย พระครูสิริศีลสังวร (ครูบาน้อย เตชปญฺโญ) วัดศรีดอนมูล - บทความเรื่อง “พญานกหัสดีลิงค์” สัตว์ป่าหิมพานต์กับ...พิธีศพของล้านนา หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก ออนไลน์ ฉบับวันศุกร์ที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๓ |
เจ้าของ: | deecup [ 10 มี.ค. 2014, 18:54 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ละสังขารแล้ว |
![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | sirinpho [ 20 พ.ย. 2015, 10:25 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ละสังขารแล้ว |
ปีติมากๆ ที่มีโอกาสไปเยือนวัดป่าวิเวกวัฒนาราม วัดหลวงปู่จามค่ะ ![]() |
เจ้าของ: | AAAA [ 13 มิ.ย. 2019, 06:14 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ละสังขารแล้ว |
4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ ![]() ![]() ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |