วันเวลาปัจจุบัน 15 พ.ค. 2024, 11:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2013, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
ปัญญาที่นำไปเพื่อแสวงหา กลับทำให้ยิ่งห่างไกล ปัญญาที่ทำให้หยุดแสวงหา กลับทำให้ถึง :b8:

นิพพานไม่ต้องปฏิบัติหรือครับ แล้วการปฏิบัติในหลักของอิทธิบาทสี่เพื่อสัมมาญาณ
ไม่เรียกว่าแสวงหาหรือครับ

พูดธรรมแบบนี้ ในโลกอินเตอร์เนต มีตัวอย่างให้ดู ไม่เคยเห็นหรือ
พระสงฆ์องค์เจ้า ถูกฆราวาสโจมตี หาว่าปาราชิก หาว่าอาบัติ เป็นโลกวัชชะ
ดูซิครับ พระสงฆ์ยังโดนเลย แล้วคุณเป็นใครครับ :b6:



สภาวะนิพพาน คือสภาวะไม่ต้องทำอะไรเลย .... ครับ
ละอกุศลธรรม เจริญกุศลธรรม ให้ละเอียดขึ้นๆๆ

:b8:

คุณรู้จัก...กิริยาจิตของพระอรหันต์มั้ย :b32:

สภาวะนิพพาน ไม่ใช่กุศลและอกุศล
ดันบอกว่า ละอกุศล เจริญกุศลธรรม ให้ละเอียด
ผมว่าแล้วคุณต้องเมาตัวหนังสือ :b32:



สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความ
เพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่ เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละ
อกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยัง ไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่
ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า
สัมมาวายามะ ฯ
:b8: :b8: :b8:

ฝึกจิตที่ยกมาอ้างน่ะ มันเป็นขั้นตอนการปฏิบัติของ....เสขะบุคล
เสขะไม่ใช่อรหันต์น่ะฝึกจิตเข้าใจไว้ด้วย การจะเป็นอรหันต์ได้
ต้องอริยมรรคมีองค์แปดมาประชุมพร้อมกัน ไม่ใช่มีตัวใดตัวหนึ่ง แล้วมาบอกเป็นพระอรหันต์

สัมมาวายามะหมายถึงความเพียรพยายาม แล้วเพียรอะไร ก็คือเพียรพยายามใน
สัมมัปปธาน เพียรในอิทธิบาท เพียรในสติปัฎฐาน เพียรในอินทรีย์ เพียรในพละ
และเพียรในโพชฌงค์ .....
เมื่อปฏิบัติได้ดังนี้ ความเพียรในธรรมที่กล่าวมาทั้งหมดเรียกว่า..."สัมมาวายามะ"

ที่สำคัญก่อนจะมาเป็นสัมมาวายามะได้นั้น จะต้องปฏิบัติธรรมสุดท้ายของโพชฌงค์
นั้นก็คือ.......อุเบกขาหรือการวางธรรมทั้งหมด

ที่กล่าวมาข้างบนเป็นแค่อริยมรรคเพียงองค์เดี่ยว ยังไม่ใช่พระอรหันต์
การจะเป็นพระอรหันต์ได้ ก่อนจะมาเป็นอริยมรรคแต่ละองค์ จะต้องผ่านการวาง อุเบกขา
ในโพชฌงค์เสียก่อน เมื่อครบองค์แปดแล้ว นั้นเป็นการวางธรรมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นกุศล
และอกุศล เราเรียกธรรมที่วางทั้งหมดนี้ว่า........สัมมาญาณ เป็นสัมมาวิมุตติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2013, 10:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
ปัญญาที่นำไปเพื่อแสวงหา กลับทำให้ยิ่งห่างไกล ปัญญาที่ทำให้หยุดแสวงหา กลับทำให้ถึง :b8:

นิพพานไม่ต้องปฏิบัติหรือครับ แล้วการปฏิบัติในหลักของอิทธิบาทสี่เพื่อสัมมาญาณ
ไม่เรียกว่าแสวงหาหรือครับ

พูดธรรมแบบนี้ ในโลกอินเตอร์เนต มีตัวอย่างให้ดู ไม่เคยเห็นหรือ
พระสงฆ์องค์เจ้า ถูกฆราวาสโจมตี หาว่าปาราชิก หาว่าอาบัติ เป็นโลกวัชชะ
ดูซิครับ พระสงฆ์ยังโดนเลย แล้วคุณเป็นใครครับ :b6:



สภาวะนิพพาน คือสภาวะไม่ต้องทำอะไรเลย .... ครับ
ละอกุศลธรรม เจริญกุศลธรรม ให้ละเอียดขึ้นๆๆ

:b8:

คุณรู้จัก...กิริยาจิตของพระอรหันต์มั้ย :b32:

สภาวะนิพพาน ไม่ใช่กุศลและอกุศล
ดันบอกว่า ละอกุศล เจริญกุศลธรรม ให้ละเอียด
ผมว่าแล้วคุณต้องเมาตัวหนังสือ :b32:






สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความ
เพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่ เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละ
อกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยัง ไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่
ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า
สัมมาวายามะ ฯ
:b8: :b8: :b8:

ฝึกจิตที่ยกมาอ้างน่ะ มันเป็นขั้นตอนการปฏิบัติของ....เสขะบุคล
เสขะไม่ใช่อรหันต์น่ะฝึกจิตเข้าใจไว้ด้วย การจะเป็นอรหันต์ได้
ต้องอริยมรรคมีองค์แปดมาประชุมพร้อมกัน ไม่ใช่มีตัวใดตัวหนึ่ง แล้วมาบอกเป็นพระอรหันต์

สัมมาวายามะหมายถึงความเพียรพยายาม แล้วเพียรอะไร ก็คือเพียรพยายามใน
สัมมัปปธาน เพียรในอิทธิบาท เพียรในสติปัฎฐาน เพียรในอินทรีย์ เพียรในพละ
และเพียรในโพชฌงค์ .....
เมื่อปฏิบัติได้ดังนี้ ความเพียรในธรรมที่กล่าวมาทั้งหมดเรียกว่า..."สัมมาวายามะ"

ที่สำคัญก่อนจะมาเป็นสัมมาวายามะได้นั้น จะต้องปฏิบัติธรรมสุดท้ายของโพชฌงค์
นั้นก็คือ.......อุเบกขาหรือการวางธรรมทั้งหมด

ที่กล่าวมาข้างบนเป็นแค่อริยมรรคเพียงองค์เดี่ยว ยังไม่ใช่พระอรหันต์
การจะเป็นพระอรหันต์ได้ ก่อนจะมาเป็นอริยมรรคแต่ละองค์ จะต้องผ่านการวาง อุเบกขา
ในโพชฌงค์เสียก่อน เมื่อครบองค์แปดแล้ว นั้นเป็นการวางธรรมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นกุศล
และอกุศล เราเรียกธรรมที่วางทั้งหมดนี้ว่า........สัมมาญาณ เป็นสัมมาวิมุตติ



ท่านเข้าใจตรงนี้ ก็น่าจะเข้าใจที่ผมกล่าวว่า ----ผลกุศลธรรมที่ทำแล้ว หาประมาณมิได้ คือ กุศลธรรมที่เกิดจากการกระทำอันไม่มีผู้รับผลนั้น เพราะผลกุศลธรรมนั้นจะแผ่ไพศาลไปทั้วทุกทิศ เพื่อทุกผู้ทุกนาม


ไม่มีผู้รับ จากผู้สร้างกุศลธรรมนั้น

และการไม่ยึดมั่นถือมั่นในกุศลธรรม ไม่ใช่ให้หยุดทำ หรือ ละการกระทำ กุศลธรรม นะครับ
:b8:
ท่านโฮ แนะนำหน่อย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ทำอย่างไร เพื่ออะไร ต่างจากอุเบกขาในองค์สมาธิมั้ย ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2013, 11:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
ท่านเข้าใจตรงนี้ ก็น่าจะเข้าใจที่ผมกล่าวว่า ----ผลกุศลธรรมที่ทำแล้ว หาประมาณมิได้ คือ กุศลธรรมที่เกิดจากการกระทำอันไม่มีผู้รับผลนั้น เพราะผลกุศลธรรมนั้นจะแผ่ไพศาลไปทั้วทุกทิศ เพื่อทุกผู้ทุกนาม

ม่ายช่ายๆ ความสำคัญมันอยู่ที่ผู้กระทำไม่ใช่ผู้รับ ฝึกจิตเข้าใจคำว่า กรรมเกิดจากเจตนามั้ย
เจตนาของใคร มันก็เป็นของผู้กระทำ และเจตนาอะไร ก็เจตนาในกุศลและอกุศล

พระอรหันต์ทำอะไรไม่มีกรรม นั้นคือไม่มีเจตาในสิ่งที่ทำแล้ว
เรียกการกระทำของพระอรหันต์ว่า....กิริยาจิต

ส่วนผู้รับ จะคิดว่าสิ่งที่ได้รับจากพระอรหันต์เป็นกุศล มันเป็นเรื่องของผู้รับ
ไม่เกี่ยวข้องกับพระอรหันต์

อีกอย่างผู้รับที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ เมื่อรับธรรมจากพระอรหันต์
ธรรมนั้นย่อมเป็นกุศลกับผู้รับซิ มันไม่มีผลต่อพระอรหันต์ผู้ให้
แต่มีผลต่อผู้รับ
ฝึกจิต เขียน:
และการไม่ยึดมั่นถือมั่นในกุศลธรรม ไม่ใช่ให้หยุดทำ หรือ ละการกระทำ กุศลธรรม นะครับ
:b8:

การยึดหรือไม่ยึดมันอยู่ที่จิต การกระทำทางกายหรือวาจาก็ทำไป
แต่จิตไม่ได้ยืดการกระทำนั้นว่า เป็นกุศล สิ่งที่ทำ ทำไปตามเหตุตามผลของมัน
ตัวอย่าง พระอรหันต์เห็นคนกำลังจมน้ำ พระอรหันต์ว่ายน้ำเป็น ก็ลงไปช่วย
ช่วยแล้วก็ไม่ได้คิดอะไร ความหมายก็คือท่านคิดไว้ก่อนจะช่วยแล้วว่า ท่านว่ายน้ำเป็น
และพอช่วยคนจมน้ำได้ แบบนี้จึงเรียกว่าเป็นแค่กิริยาจิต
หรือตรงข้ามพระอรหันต์เห็นคนกำลังจมน้ำ ท่านว่ายน้ำไม่เป็น
และท่านก็คิดว่า ถ้าลงไปช่วยต้องจมไปด้วยกันทั้งคู่ ท่านจึงไม่ช่วย
แบบนี้ไม่เป็นอกุศลแต่เป็นกิริยาจิตของพระอรหันต์

กิริยาจิตก็คือ การกระทำตามเหตุตามผลนั้นเอง
ฝึกจิต เขียน:
ท่านโฮ แนะนำหน่อย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ทำอย่างไร เพื่ออะไร ต่างจากอุเบกขาในองค์สมาธิมั้ย ครับ

ต่างกันซิ มันคนละเรื่องเดียวกันเลย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นธรรมสุดท้าย
เพื่อการตรัสรู้ เพื่อการดับกิเลสโดยสิ้นเชิง

แต่อุเบกขาในองค์สมาธิ มันเป็นเรื่องของการเอากิเลสเบี้องสูง มาข่มหรือกดกิเลสเบื้องต่ำไว้
กิเลสสังโยชน์ต่างๆมันยังไม่ได้โดนละหรือโดนกำจัด เพียงแต่มันไม่ได้แสดงอาการ
เพราะถูกกิเลสสังโยชน์เบื้องสูงกดข่มไว้ (เรื่องนี้อย่าให้พูดมาก เดี๋ยวไปกระทบครูบาอาจารย์คนอื่น)

เอาง่ายๆก็คือ.........
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นผลการการทำ วิปัสสนา
อุเบกขาในสมาธิ เป็นผลจากการทำ สมถ

ว่าโดยความสำคัญแล้ว วิปัสนาต้องอาศัยสมถ ในการดับกิเลส
นั้นก็คือต้องทำสมถในกิเลสอ่อนแรงลงก่อน จึงใช้วิปัสนาเข้าไปดับกิเลสได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2013, 12:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
ท่านเข้าใจตรงนี้ ก็น่าจะเข้าใจที่ผมกล่าวว่า ----ผลกุศลธรรมที่ทำแล้ว หาประมาณมิได้ คือ กุศลธรรมที่เกิดจากการกระทำอันไม่มีผู้รับผลนั้น เพราะผลกุศลธรรมนั้นจะแผ่ไพศาลไปทั้วทุกทิศ เพื่อทุกผู้ทุกนาม

ม่ายช่ายๆ ความสำคัญมันอยู่ที่ผู้กระทำไม่ใช่ผู้รับ ฝึกจิตเข้าใจคำว่า กรรมเกิดจากเจตนามั้ย
เจตนาของใคร มันก็เป็นของผู้กระทำ และเจตนาอะไร ก็เจตนาในกุศลและอกุศล

พระอรหันต์ทำอะไรไม่มีกรรม นั้นคือไม่มีเจตาในสิ่งที่ทำแล้ว
เรียกการกระทำของพระอรหันต์ว่า....กิริยาจิต

ส่วนผู้รับ จะคิดว่าสิ่งที่ได้รับจากพระอรหันต์เป็นกุศล มันเป็นเรื่องของผู้รับ
ไม่เกี่ยวข้องกับพระอรหันต์

อีกอย่างผู้รับที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ เมื่อรับธรรมจากพระอรหันต์
ธรรมนั้นย่อมเป็นกุศลกับผู้รับซิ มันไม่มีผลต่อพระอรหันต์ผู้ให้
แต่มีผลต่อผู้รับ
ฝึกจิต เขียน:
และการไม่ยึดมั่นถือมั่นในกุศลธรรม ไม่ใช่ให้หยุดทำ หรือ ละการกระทำ กุศลธรรม นะครับ
:b8:

การยึดหรือไม่ยึดมันอยู่ที่จิต การกระทำทางกายหรือวาจาก็ทำไป
แต่จิตไม่ได้ยืดการกระทำนั้นว่า เป็นกุศล สิ่งที่ทำ ทำไปตามเหตุตามผลของมัน
ตัวอย่าง พระอรหันต์เห็นคนกำลังจมน้ำ พระอรหันต์ว่ายน้ำเป็น ก็ลงไปช่วย
ช่วยแล้วก็ไม่ได้คิดอะไร ความหมายก็คือท่านคิดไว้ก่อนจะช่วยแล้วว่า ท่านว่ายน้ำเป็น
และพอช่วยคนจมน้ำได้ แบบนี้จึงเรียกว่าเป็นแค่กิริยาจิต
หรือตรงข้ามพระอรหันต์เห็นคนกำลังจมน้ำ ท่านว่ายน้ำไม่เป็น
และท่านก็คิดว่า ถ้าลงไปช่วยต้องจมไปด้วยกันทั้งคู่ ท่านจึงไม่ช่วย
แบบนี้ไม่เป็นอกุศลแต่เป็นกิริยาจิตของพระอรหันต์

กิริยาจิตก็คือ การกระทำตามเหตุตามผลนั้นเอง
ฝึกจิต เขียน:
ท่านโฮ แนะนำหน่อย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ทำอย่างไร เพื่ออะไร ต่างจากอุเบกขาในองค์สมาธิมั้ย ครับ

ต่างกันซิ มันคนละเรื่องเดียวกันเลย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นธรรมสุดท้าย
เพื่อการตรัสรู้ เพื่อการดับกิเลสโดยสิ้นเชิง

แต่อุเบกขาในองค์สมาธิ มันเป็นเรื่องของการเอากิเลสเบี้องสูง มาข่มหรือกดกิเลสเบื้องต่ำไว้
กิเลสสังโยชน์ต่างๆมันยังไม่ได้โดนละหรือโดนกำจัด เพียงแต่มันไม่ได้แสดงอาการ
เพราะถูกกิเลสสังโยชน์เบื้องสูงกดข่มไว้ (เรื่องนี้อย่าให้พูดมาก เดี๋ยวไปกระทบครูบาอาจารย์คนอื่น)

เอาง่ายๆก็คือ.........
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นผลการการทำ วิปัสสนา
อุเบกขาในสมาธิ เป็นผลจากการทำ สมถ

ว่าโดยความสำคัญแล้ว วิปัสนาต้องอาศัยสมถ ในการดับกิเลส
นั้นก็คือต้องทำสมถในกิเลสอ่อนแรงลงก่อน จึงใช้วิปัสนาเข้าไปดับกิเลสได้



:b8: ทำไปๆ เดียวก็รู้เอง อย่าหยุดเพียรก็พอ ความรู้จากสัญญา จะทำให้ยิ่งหลง ตัวเอง ปัญญาในธรรมทำให้ไม่ยึดมั่นถือมั่น :b8:

ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2013, 13:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


สุญญตาสูตรข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง
ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมมีกถาอันปฏิสังยุตต์ด้วยนิพพาน ก็ภิกษุเหล่านั้น
กระทำให้มั่น มนสิการแล้วน้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับ
นั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะวิญญาณัญจายตนะ
อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้าพระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายเราย่อมไม่กล่าวซึ่งอาตนะนั้นว่า เป็นการมา (วิตก) เป็น
การไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป
หาอารมณ์ มิได้นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ

........................................................................................
ความจริงแล้ว ก็ไม่มีสัตว์ใดๆเป็นผู้บรรลุสำเร็จแก่อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเลย

พระพุทธองค์ : “ ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ถ้ามีบุคคลใดบำเพ็ญทานบริจาคด้วยสัปตรัตนะอันเต็มเปี่ยมทั่วมหาตรีสหัสโลกธาตุ บุคคลนั้นจักได้เสวยบุญกุศลอันมากมายกระนั้นฤาหนอ”
สุภูติ : “ มากมายนั้นแล้วพระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะว่าบุญกุศลนั้นโดยความจริงแล้วก็ปราศจากสภาวะอันใดที่เป็นกุศล ฉะนั้นพระตถาคตเจ้าจึงตรัสว่าได้บุญกุศลมากมาย

....
พระพุทธองค์ : “ กุลบุตร กุลธิดาใดๆผู้บังเกิดจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ ควรจักปฏิบัติตั้งจิตของตนอย่างนี้ ควรจักควบคุมบำราบจิตของตนอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้โปรดสรรพสัตว์ให้สำเร็จแก่อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แลสรรพสัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จแก่อนุปาทิเสสนิพพานธาตุแล้วก็จริง แต่โดยความจริงแล้วก็มิได้มีสัตว์ใดๆแม้สักผู้หนึ่งได้ดับขันธนิพพานเลย ข้อนั้นเพราะเหตุใดฤา สุภูติ ถ้าพระโพธิสัตว์ยังมีความยึดถือผูกพันในอาตมะลักษณะ ปุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ นั่นก็หาใช่พระโพธิสัตว์ไม่ ทั้งนี้ด้วยเหตุเป็นไฉน สุภูติ โดยความจริงแล้ว ก็ไม่มีสภาวะธรรมที่จะ(เป็นผู้) บังเกิดจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนั่นเอง

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2013, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:

:b8: ทำไปๆ เดียวก็รู้เอง อย่าหยุดเพียรก็พอ ความรู้จากสัญญา จะทำให้ยิ่งหลง ตัวเอง ปัญญาในธรรมทำให้ไม่ยึดมั่นถือมั่น :b8:

ขอบคุณครับ

พุทโธ่! คุยกันตั้งนาน ดันเอาสิ่งที่ผมว่า คุณไว้แล้วก็อธิบายให้ฟัง
ทำไมเอามาย้อนผมล่ะ
ถ้าจะไม่เข้าใจ ที่ผมว่่าคุณว่า .......ใจมีเครื่องซีร็อกซ์ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2013, 15:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


..."ภิกษุ ท.! ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา,เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟังย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนจึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ? ” ดังนี้. ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยัง ไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้.".............................................

จากพระสูตรนี้ ขอความเมตตาจากท่านทั้งหลาย นำคำตถาคตที่ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา มาทำตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสั่งไว่เถอะ ครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 34 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร